โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส.อัคร ทองใจสด

“สส.อัคร” ปลื้ม เป็นตัวแทนอภิปรายในฐานะยุวสมาชิก บนเวทีประชุม 149th IPU ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผย ได้เปิดมุมมองใหม่ นำมาใช้ในการทำงานการเมือง

,

“สส.อัคร” ปลื้ม เป็นตัวแทนอภิปรายในฐานะยุวสมาชิก บนเวทีประชุม 149th IPU ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผย ได้เปิดมุมมองใหม่ นำมาใช้ในการทำงานการเมือง
     
นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ตนได้เป็นตัวแทนของรัฐสภาไทย เดินทางไปประชุมสหภาพรัฐสภาที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 11-18 ต.ค.ที่ผ่านมา และได้เป็นตัวแทนขึ้นอภิปรายในฐานะยุวสมาชิกในหัวข้อ “Science Technology and Innovation” ในการประชุม 149th IPU ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการได้รับเกียรติขึ้นอภิปรายในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 แล้วบนเวทีโลกแห่งนี้

“นอกจากการประชุมในเวทีรัฐสภาโลกแล้วยังได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนสส.ในอีกหลายๆประเทศ ซึ่งได้มีการยกประเด็นยุวสมาชิกและนโยบายที่อาจเป็นประโยชน์ต่อแต่ละประเทศมาหารืออีกด้วยครับ” นายอัคร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ตุลาคม 2567

“สส.อัคร”ถาม รัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำ แก้วิกฤตน้ำท่วม-ภัยแล้ง จ.เพชรบูรณ์ อย่างไร ชี้ ที่ผ่านมาระบบยังไม่ดีพอ แถมน้ำประปายังไม่พอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

,

“สส.อัคร”ถาม รัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำ แก้วิกฤตน้ำท่วม-ภัยแล้ง จ.เพชรบูรณ์ อย่างไร ชี้ ที่ผ่านมาระบบยังไม่ดีพอ แถมน้ำประปายังไม่พอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภา ฯ นายนายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ ได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี โดยได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถึงแนวทางการแก้ปัญหาน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างเป็นระบบว่า ตนได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนและได้พบว่า ปัญหาหลักของเพชรบูรณ์คือ ระบบการจัดการน้ำ ซึ่งประสิทธิภาพยังไม่ดีพอที่จะรองรับต่อการใช้งานได้อย่างทั่วถึงในอีกหลาย ๆ พื้นที่ของจังหวัด ปัญหาการขาดแคลนน้ำนับเป็นสิ่งที่เร่งด่วนและสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก

นายอัคร กล่าวต่อว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้ปริมาณของน้ำฝนที่ตกนั้นไม่แน่นอน และยากต่อการคาดเดา บางปีฝนตกน้อยก็เกิดภัยแล้ง บางปีฝนตกหนักก็น้ำท่วม ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกร แม้ว่าเพชรบูรณ์จะมีอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 11 แห่ง แต่กลับไม่เพียงพอ แสดงให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องของปริมาณน้ำในอ่างต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ มีประชากรเกือบๆ 200,000 คนซึ่งคิดเป็นประมาณเกือบ 20% จากประชากรทั้งจังหวัด แต่กลับมีเพียง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางห้วยเล็งเพียงที่เดียว ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีน้ำไม่เพียงพอที่จะไปเพาะปลูกพืชผล และในปี 2566 อำเภอวิเชียรบุรีมีพืชผลเสียหายกว่า 1,000 ไร่ ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรลดลง ชาวบ้านเดือดร้อนมาก

นายอัคร กล่าวต่ออีกว่า ตนยังได้รับการร้องเรียนจากประชาชน หมู่ 13 ต.ศรีเทพ อ.ศรีเทพ ว่า น้ำประปาไม่ไหลและไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แถมน้ำที่ใช้ได้กลับเป็นน้ำสกปรก มีกลิ่นเหม็น และมีสีแดงขุ่น ตนคิดว่า ควรหาทางแก้สำหรับเรื่องนี้ และนี่เป็นเพียงแค่ปัญหาภัยแล้งในเพชรบูรณ์ ยังไม่รวมถึงปัญหา อุทกภัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ ช่วงทางน้ำผ่าน หรือขนาดของลำน้ำป่าสักที่แคบและตื้น ทำให้รองรับน้ำได้อย่างจำกัด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม

โดยในปี 2565 เกิดฝนตกหนักในจังหวัด พื้นที่อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ มีน้ำท่วมขัง สูงถึง 150 เซนติเมตร ประชาชนในหลายตำบลได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ทรัพย์สิน หรือพืชผล
ทางการเกษตร เราได้เรียนรู้มากมายจากภัยธรรมชาติที่เกิดในอดีต ปัจจุบัน เราควรนำมาถอดบทเรียน เพื่อวางแผนการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบสำหรับอนาคตของเพชรบูรณ์

”ผมจึงอยากทราบว่ารัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำรวมถึงแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการบรรเทาอุทกภัยและบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร รวมถึงความก้าวหน้าโครงการฝายยางบ้านท่า ในอำเภอศรีเทพ อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว สุดท้าย ผมขอให้จังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน“

ต่อมา รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ตอบคำถามของนายอัคร โดยชี้แจงถึงความคืบหน้าโครงการฝายทั้ง 2 แห่งว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการจะแล้วเสร็จช่วงปี 2568-2570 ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภค และเกษตรกรจะมีน้ำใช้ในการเพาะปลูก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2567

”สส.อัคร“เผย โครงการขุดเจาะบ่อบาดาล หมู่ 2 บ้านหนองหมู เสร็จพร้อมใช้แล้ว เชื่อ บรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำให้ ปชช.พร้อมเพิ่มแหล่งน้ำดิบให้เกษตรกรใช้เพาะปลูกได้

,

”สส.อัคร“เผย โครงการขุดเจาะบ่อบาดาล หมู่ 2 บ้านหนองหมู เสร็จพร้อมใช้แล้ว เชื่อ บรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำให้ ปชช.พร้อมเพิ่มแหล่งน้ำดิบให้เกษตรกรใช้เพาะปลูกได้

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการขุดเจาะน้ำบาดาลของ อบจ.เพชรบูรณ์ ต.ประดู่งาม หมู่ที่2 บ้านหนองหมู อ.ศรีเทพ ตามการร้องขอจากองค์การบริหารส่วนตำบลประดู่งาม เนื่องจากภัยแล้งทิ้งช่วงเป็นระยะยาวนาน จึงได้บูรณาการการทำงานร่วมกันในการจัดหาน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

ที่ผ่านมาพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยมาโดยตลอด ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์มีครัวเรือนทั้งหมดเกือบ 300,000 ครัวเรือน ทำอาชีพเกษตรกรรมไปแล้วเกือบ 100,000 ครัวเรือน ถือว่าเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ ทุกคนต่างหวังว่าน้ำฝนจะตกมาในปริมาณที่พอเพียง และตกตามฤดูกาล แต่ฝนกลับไม่ตกและ น้ำก็กักเก็บไม่พอ ทำให้พืชผลเสียหายทางการเกษตรเสียหายหนัก

“สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีแม่น้ำป่าสักเป็นหัวใจหลัก ซึ่งมีความยาวราว 350 กิโลเมตร ไหลผ่านตั้งแต่เหนือสุดไปถึงใต้สุดของจังหวัดก็จริง แต่ปัญหาคือความลาดชันของแม่น้ำป่าสัก จุดสูงสุดของความลาดชันอยู่ที่ 190 เมตรส่วน จุดต่ำสุดอยู่ที่อำเภอศรีเทพ อยู่ที่ประมาณ 40 เมตร จากความลาดชันนี้ทำให้อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ ไม่สามารถเก็บกักได้จากแม่น้ำป่าสักและไหลออกไปจังหวัดอื่นเกือบหมด ดังนั้น จึงเกิดความยากลำยากที่จะหาน้ำมาบริโภคและทำการเกษตร ซึ่งผมเชื่อว่า โครงการขุดเจาะบ่อบาดาล จะสามารถเพิ่มแหล่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในการเกษตรในช่วยหน้าแล้งได้“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 สิงหาคม 2567

“สส.อัคร”ขอ กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบซ่อมแซมดูแลถนน 3 เส้นหลัก ปชช.เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จนได้รับบาดเจ็บหนัก

,

“สส.อัคร”ขอ กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบซ่อมแซมดูแลถนน 3 เส้นหลัก ปชช.เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จนได้รับบาดเจ็บหนัก

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาถนนชำรุดในพื้นที่ เส้นที่ 1 คือ ถนนบ้านสระกรวด หมู่ 1 ถึงบ้านวังขาม หมู่ที่ 3 ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ถนนเส้นสายนี้เป็นถนนสายหลักของตำบลสระกรวด และชาววังขาม มีทางที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

เส้นที่ 2 คือถนนสายท่าโรง บึงกระจับ ระยะทาง 3 กิโลเมตร โดยบึงกระจับเป็นตำบลปิดมีเส้นทางหลักในการเข้าสู่ตำบลเพียงไม่กี่เส้นทาง ซึ่งท่าโรง บึงกระจับนี้ถือว่า เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมระหว่าง 2 ตำบล แต่สภาพถนนสายนี้เป็นหลุมกว้าง บ่อก็ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความเสียหายทางด้านทรัพย์สินและร่างกาย หรือเกิดอันตรายต่อผู้คนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมาก

เส้นที่ 3 คือถนนสระประดู่ โคกหนองแจง อ.วิเชียรบุรีถนนสายนี้เป็นหลุมเป็นบ่อมานาน และที่สำคัญในบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรีและชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านโคกหนองแจง หรือท่าจรวด ต่างได้รับความเดือดร้อนจากถนนเส้นนี้เป็นอย่างมาก มอเตอร์ไซค์เสียหาย บางท่านก็เกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหนัก จึงขอให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยจัดสรรงบประมาณดูแล 3 เส้นนี้อย่างเร่งด่วน

“จากการที่ได้หารือเมื่อครั้งที่แล้ว ผมขอขอบคุณกรมทางหลวง แขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ เขตที่ 2 ที่ได้จบปัญหาของถนนเส้น 2275 บ้านคลองม่วง ถึงบ้านนาสนุ่น ที่เป็นหลุมเป็นบ่อมานาน วันนี้ได้รับการซ่อมแซมแล้ว”นายอัคร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กรกฎาคม 2567

พปชร.ยืนยัน ใช้งบประมาณปี 68 ที่มาจากภาษีของ ปชช.อย่างคุ้มค่า โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

,

พปชร.ยืนยัน ใช้งบประมาณปี 68 ที่มาจากภาษีของ ปชช.อย่างคุ้มค่า โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

วันนี้(22 มิ.ย.)นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 ในฐานะทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่ให้ความร่วมมือในการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 68 ที่ทำให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และต้องขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ที่ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะนำมาเป็นแนวทางพิจารณา โดยให้สอดคล้องกับงบประมาณ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและประชาชน ต่อไป

“ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐที่มีรัฐมนตรีดูแลอยู่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข จะนำงบประมาณที่ผ่านสภาฯ ไปใช้อย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสู่ประชาชนโดยตรงอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐทุกท่าน ก็ได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้วยการลงพื้นที่รับฟังและติดตามปัญหาของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะใช้งบประมาณไปแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากที่สุด“นายอัคร กล่าว

นายอัคร กล่าวต่อว่า ในส่วนของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2568 ในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐที่มีตัวแทนจำนวน 5 คน คือ นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 , น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 1 , นายวิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร เขต 1 , นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 และ นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 โดย พปชร.จะพิจารณาเงินภาษีของประชาชนอย่างรอบคอบ โดยเอาประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 มิถุนายน 2567

“สส.อัคร”ร่วมประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถกปัญหาน้ำขาดแคลน-ถนนชำรุด สู่การแก้ไขอย่างมีระบบและยั่งยืน

,

“สส.อัคร”ร่วมประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถกปัญหาน้ำขาดแคลน-ถนนชำรุด สู่การแก้ไขอย่างมีระบบและยั่งยืน

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้เข้าร่วมการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ของอำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพ ซึ่งมีการพูดคุยกันถึงปัญหาเรื้อรังที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและยั่งยืน เช่น ปัญหาในช่วงหน้าแล้ง น้ำประปาไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภคและบริโภค รวมถึงปัญหาถนนหนทางชำรุด ทรุดโทรม ไม่สะดวกในการสัญจรไปมา ที่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก

นายอัคร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้หารือกันถึงแนวทางการแก้ไขในหลาย ๆ ปัญหา อย่างเช่น การแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบของจังหวัดเพชรบูรณ์ ต้องเร่งสร้างแหล่งเก็บน้ำ โดยจะนำไปปรึกษาและเสนอต่อกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ที่ได้นำเสนอเรื่องไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลสระบุรี เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค ในพื้นที่ที่มีปัญหาแล้ว รวมถึงการขอฝนหลวง แก้ปัญหา น้ำแล้ง และเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำให้เพียงพอ ในส่วนของการขุดเจาะบ่อบาดาลเบื้องต้น ได้ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ในเรื่องของการขุดเจาะบาดาล โดยเร่งด่วนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องถนนนั้น นายอัคร กล่าวว่า เราจะติดตามงบประมาณของ กรมทางหลวง และ กรมทางหลวงชนบท ในการก่อสร้างถนน และ ซ่อมแซม ถนนที่ชำรุดเสียหาย และประสานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อนำปัญหาของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและลำบากในการใช้ถนนในจุดที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งการจะแก้ปัญหานี้ได้ ต้องมีการบด อัด เกรดผิวถนน ให้ใช้สัญจรได้สะดวกโดยเร็ว และซ่อมสร้างถนนใหม่ ให้ทันตามงบประมาณที่ได้จัดสรรมา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 04 พฤษภาคม 2567

“อัคร ทองใจสด”เผย “พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ’ ฉบับใหม่ คือความหวังของครูทั้งประเทศ เชื่อ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย

,

“อัคร ทองใจสด”เผย “พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ’ ฉบับใหม่ คือความหวังของครูทั้งประเทศ เชื่อ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนได้ร่วมงานประชุมสามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 ของอำเภอวิเชียรบุรี ซึ่งจากการรับฟังและพูดคุยกับคุณครูหลายๆท่าน ทางคุณครูกำลังรอคอยพรบ.การศึกษาฉบับใหม่ที่เป็นความหวังของข้าราชการครู เพราะจะเน้นในเรื่องของคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นการเรียนแบบ Active Learning ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

นายอัคร กล่าวต่อว่า การเรียนในยุคต่อไปต้องวัดกันที่ภูมิปัญญาของเด็ก วัดความถนัดของเด็ก โดยหน้าที่ของครูจะเปลี่ยนจาก Teacher มาเป็น Coaching เพื่อให้เด็กเห็นในสิ่งที่ตนเองถนัด และสอนในเชิงแนะแนวว่า คุณควรเดินทางไปทางไหนในชีวิต โดยเรื่องนี้ตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหาก พรบ.ฉบับนี้ผ่าน สิ่งที่ต้องขอฝากทางกระทรวงศึกษาธิการก็คือ กระบวนการพัฒนาครูให้เข้าสู่ระบบการสอนในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย และอนาคตของเยาวชนไทย

นายอัคร ยังกล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกันปัญหาของครูที่ได้รับเสียงสะท้อนมาก็คือ เงินเดือนครูธุรการที่ได้รับไม่เท่ากัน และการที่คุณครูธุรการ1 คนมีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบหลายโรงเรียน ซึ่งเรื่องนี้ตนจะหาข้อมูลและดำเนินการประสานกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเร่งแก้ปัญหา ทั้งนี้ ตนต้องขอขอบคุณคุณครูทุกๆท่านที่คอยเสียสละ และอบรมสั่งสอนเด็กๆให้เป็นเยาวชนที่ดีเพื่อเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศเราต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 พฤศจิกายน 2566

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

,

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผย ว่า ได้หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดี เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ทางชาวไร่อ้อยจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต่างรอคอยเงิน 120 บาทต่อ ไร่ ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เคยจะจัดสรรให้จากการตัดอ้อยสด แล้วก็ยังมีอีกหนึ่งปัญหาก็คือ จากการที่ ครม .หรือทางกระทรวงอุตสาหกรรม จะตัดเงินที่อ้อยไฟไหม้ สำหรับใครที่ส่งอ้อยไปให้ทางโรงงานน้ำตาลแล้ว จะตัด 90 บาทต่อ 1 ตัน หรือการปนเปื้อนปัญหานี้

นายอัคร ยังกล่าวถึงปัญหาถนนสายบ้านหินด่าน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรทาง ทางหลวงหมายเลข 2068 เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และถนนบ้านตึกหวายไปหนองบัว ตำบลท่าโรงหมู่ที่ 3 และ ตำบลหมูราง หมู่ที่ 19 มีระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยครั้ง เกิดอุบัติเหตุและสัญจรไม่สะดวก

นอกจากนี้ปัญหาความปลอดภัยของชุมชนบ้านโคกสะอาด ซึ่งเด็กนักเรียนจะต้องข้ามถนน 8 ช่องจราจร ซึ่งมีความอันตรายมาก และยังมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กระทรวงอุตสาหกรรม และทางหลวงชนบทช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

สส.เพชรบูรณ์ พปชร.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่สร้างรอยยิ้มให้คนไทย หลัง “เมืองโบราณศรีเทพ” จ. เพชรบูรณ์ เป็น “มรดกโลก”เชื่อจะสร้างรายได้ ความเจริญให้ท้องถิ่น

,

สส.เพชรบูรณ์ พปชร.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่สร้างรอยยิ้มให้คนไทย หลัง “เมืองโบราณศรีเทพ” จ. เพชรบูรณ์ เป็น “มรดกโลก”เชื่อจะสร้างรายได้ ความเจริญให้ท้องถิ่น

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก World Heritage ว่า ตนในฐานะผู้แทนของชาวศรีเทพ ชาววิเชียรบุรี และชาวเพชรบูรณ์ ต้องขอแสดงความยินดีกับมรดกโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทยที่เราต่างรอคอยมานานกว่า 30 ปี ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐบาลและคณะกรรมการมรดกโลก ที่มาช่วยขับเคลื่อนงานภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่ทำให้ประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ในรอบ 7 ปี ซึ่งตนเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้คนไทยยิ้มกว้างได้

นายอัคร กล่าวต่อว่า การขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ เป็นความภาคภูมิใจของไทยและถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในระดับสากลต่อคุณค่า และความสำคัญของแหล่งเมืองโบราณศรีเทพในฐานะมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ถือเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของไทย สะท้อนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

“ผมหวังว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้จะสร้างรายได้ ความเจริญให้กับท้องถิ่น คนในชุมชน และประเทศของเราต่อไป โดยจะยังคงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่สวยงามของคนบ้านเราและไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ จากนี้ไปถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู คุ้มครอง และป้องกันเมืองโบราณศรีเทพให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสมบัติของคนรุ่นใหม่และคนทั้งโลกต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์”วอน หน่วยงาทที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย แนะ เพิ่มแหล่งเก็บน้ำ และขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

,

“อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์”วอน หน่วยงาทที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย แนะ เพิ่มแหล่งเก็บน้ำ และขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เราปฎิเสธไม่ได้ว่าน้ำ เป็นต้นกำเนิดทุกสิ่ง น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่เราใช้บริโภคอุปโภคกันทุกคน แต่เมื่อน้ำน้อยเกินไปก็เกิดปัญหาภัยแล้ง เมื่อน้ำมากเกินไปก็เกิดปัญหาอุทกภัย 2 ปัญหานี้เกิดขึ้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำป่าสักเป็นหัวใจหลัก ซึ่งมีความยาวราว 350 กิโลเมตร ไหลผ่านตั้งแต่เหนือสุดไปถึงใต้สุดของจังหวัด ปัญหาคือความลาดชันของแม่น้ำป่าสัก จุดสูงสุดของความลาดชันอยู่ที่ 190 เมตรส่วน จุดต่ำสุดอยู่ที่อำเภอศรีเทพ อยู่ที่ประมาณ 40 เมตร จากความลาดชันนี้ทำให้อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ ไม่สามารถเก็บกักได้จากแม่น้ำป่าสักและไหลออกไปจังหวัดอื่นเกือบหมด

นายอัคร กล่าวต่อว่า ตนจึงอยากหารือ2 ประเด็นหลักคือ ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วม สำหรับปัญหาภัยแล้ง จังหวัดเพชรบูรณ์มีครัวเรือนทั้งหมดเกือบ 300,000 ครัวเรือน โดยทำอาชีพเกษตรกรรมไปแล้วเกือบ 100,000 ครัวเรือน คิดเป็น 38% ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ ทุกคนต่างหวังว่าน้ำฝนจะตกมาในปริมาณที่พอเพียง และตกตามฤดูกาล แต่ฝนกลับไม่ตกและ น้ำก็กักเก็บไม่พอ เช่น พื้นที่ในอำเภอวิเชียรมี พืชผลเสียหายทางการเกษตรกว่าพันไร่ เกษตรกรเสียหายหนัก โดยเฉพาะข้าว ข้าวโพด เช่น ตำบลทรัพย์สมบูรณ์ตำบล วัดประดู่และตำบลพุเตย ถ้าประเมินค่าความเสียหายถ้าเป็นข้าวก็ตกประมาณ 1000 ไร่ ตกอยู่ที่ 7.9 ล้านบาท ถ้าเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ตกอยู่ที่ 11.2 ล้านบาท

“สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าเกษตรกรมีรายได้ลดลงจากการขายพืชผลทางการเกษตร แทนที่มีเงินจะไปจ่ายค่าเทอมลูก แทนที่จะมีเงินไปจ่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือว่าจ่ายหนี้สิน ผมจึงฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเพิ่มแหล่งเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ถ้ามีวิธีที่ไวกว่านี้ผมก็ยินดีอย่างยิ่ง”นายอัคร กล่าว

นายอัคร กล่าวต่อถึงปัญหาอุทกภัย อาจจะดูย้อนแย้งจากปัญหาแรก แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง แต่ในหลายปีที่ผ่านมาความรุนแรงของปัญหานี้ทวีคูณยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของอำเภอเชียรบุรีและอำเภอศรีเทพ ตั้งอยู่ช่วงทางผ่านน้ำ และเป็นจุดที่ต่ำกว่าอำเภออื่นๆ ทำให้น้ำจากตอนเหนือไหลลงมาท่วม 2 อำเภอนี้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับแม่น้ำป่าสักนั้นตื้นเขิน จึงไม่สามารถจุน้ำทั้งหมดไว้ได้ การระบายน้ำจึงเป็นไปได้ยากและช้ามาก รถไม่สามารถสัญจรได้ ต้องใช้เรือในการนำส่งอาหาร และส่งของใช้จำเป็น จากเหตุการณ์นี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของบ้านเรือน พืชผลทางการเกษตร ผมจึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566