โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

“อรรถกร”ร่วมหารือภาคส่วนราชการ เร่งแก้ปัญหานำน้ำเข้า ต.หนองยาว – ต.ใกล้เคียง ช่วยเกษตรกรมีน้ำใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

,

“อรรถกร”ร่วมหารือภาคส่วนราชการ เร่งแก้ปัญหานำน้ำเข้า ต.หนองยาว – ต.ใกล้เคียง ช่วยเกษตรกรมีน้ำใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร ศิริลัทยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา ตนได้ร่วมประชุมปรึกษาหาทางออกในการแก้ปัญหาการนำน้ำเข้ามาภายในตำบลหนองยาวและตำบลใกล้เคียง เพื่อให้เกษตรกรทุกภาคส่วนมีน้ำใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ นายคเชนทร์ บุญประเสริฐ นายก อบต.หนองยาว นายพีระ ตั้งชูทวีทรัพย์ สมาชิกสภาจังหวัด(ส.จ.)ฉะเชิงเทรา นายดำรัจ พุทธรักษา ส.จ.อ.ราชสาส์น และนางพิศมัย ตั้งชูทวีทรัพย์ กำนันตำบลหนองยาว พร้อมด้วยผู้นำชุมชนตำบลหนองยาว และกลุ่มเกษตรกรตำบลหนองยาว

ทั้งนี้ได้มีการประสานงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการ กรมชลประทานบางพลวง,กรมชลประทานคลองส่งน้ำพระองค์เจ้าไชยยานุชิต,กรมชลประทานคลองส่งน้ำแควสียัด/ระบม,กรมชลประทบางปะกง,กรมชลประทานฉะชิงเทรา,กรมทรัพยากรน้ำ,สหกรณ์การเกษตร, ปศุสัตว์,ประมง,เกษตรจังหวัดฉะชิงเทราและประธานบริหารลุ่มน้ำบางปะกง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กันยายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ดันตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ แก้ปัญหา PM2.5 -ไฟป่า เร่งกวดขันส่งหน่วยลาดตระเวณคุมพื้นที่ ตรวจจับใช้กม.เข้ม พร้อมแก้ที่ทำกินสปก.ชงคทช.เพื่อปชช.

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ดันตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ แก้ปัญหา PM2.5 -ไฟป่า เร่งกวดขันส่งหน่วยลาดตระเวณคุมพื้นที่ ตรวจจับใช้กม.เข้ม พร้อมแก้ที่ทำกินสปก.ชงคทช.เพื่อปชช.

วันที่ 16 กันยายน 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการประชุมรับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมา ที่ด่านศุลกากรแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ อยากให้มีการยกระดับคณะกรรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 รวมถึงปัญหาหมอกควันไฟป่า เป็น คณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เห็นผลอย่างรวดเร็วนั้น ตนได้สั่งการอย่างเร่งด่วน ให้ยกระดับคณะกรรมการแห่งชาติ ในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต

“พร้อมให้มีแผนการดำเนินงาน ทั้งมาตรการระยะยาว และมาตรการเร่งด่วน เช่น ปิดป่าในส่วนที่มีสถานการณ์ไฟป่าอยู่ในระดับวิกฤต หรือ เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในขั้นรุนแรง รวมถึงสั่งระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า เครือข่ายอาสาสมัครดับไฟป่า อุปกรณ์ เครื่องมือ และอากาศยาน ในการลาดตระเวนเฝ้าระวัง และปฏิบัติการดับไฟอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ ยังห้ามเผาในที่โล่งในช่วงนี้ และให้บรูณาการหน่วยงานในพื้นที่ ร่วมกันลาดตระเวนเฝ้าระวังการเผา ป้องกันไม่ให้มีการเผาอย่างเข้มข้น ให้ทุกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผา หรือ ผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด พร้อมให้ทุกหน่วยงานเน้นการสื่อสารผลการดำเนินงานของภาครัฐในการป้องกันแก้ไขปัญหา หมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละออง ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย” พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีปัญหาที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ของตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำแม่คำ ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่สลวงฝั่งซ้าย นั้น พบว่า พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่กฤษฎีกำหนดเขตในเป็นเขตปฎิรูปที่ดิน แต่ไม่สามารถออกเอกสารแสดงการครอบครองที่ดิน สปก.ให้กับประชาชนได้ เนื่องจากพบว่า พื้นที่นี้ มีภาระผูกพันการใช้ประโยชน์ของกองทัพบกอยู่ รวมถึงมีความลาดชันสูงกว่าร้อยละ 35 ตนจึงสั่งการให้ กรมป่าไม้ และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) ประสานกับ อบต.แม่สลองนอก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลงพื้นที่สำรวจแปลงที่พบปัญหา เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของพื้นที่ เพื่อกันคืนจาก สปก. ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติในการคืนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กลับคืนกรมป่าไม้ พ.ศ.2538 เพื่อที่กรมป่าไม้ จะได้นำพื้นที่ดังกล่าวมาดำเนินการแก้ไขปัญหาประชาชน ด้วยการเข้าโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับชุมชน หรือ คทช.ต่อไป

“ผมจะสนับสนุนคุณภาพในการดำรงชีวิต ให้สามารถอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 และ 2 พร้อมกับอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนการอนุญาต เพื่อให้มีการพัฒนาสาธารณูปโภค และใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน ภายใต้การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หรือ คทช. ซึ่งเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 และ 2 ทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือไม่ก็ตาม เพราะผมเข้าใจปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เร่งแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ์ ประสานกระทรวงทรัพยากรฯ เดินหน้าพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินทำกิน พร้อมผลักดันสร้างอัตลักษณ์ทุเรียนทรายขาว สร้างรายได้ให้เกษตรกร

,

“รมว.ธรรมนัส” ลง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เร่งแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ์ ประสานกระทรวงทรัพยากรฯ เดินหน้าพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินทำกิน พร้อมผลักดันสร้างอัตลักษณ์ทุเรียนทรายขาว สร้างรายได้ให้เกษตรกร

วันนี้ (16 กันยายน 2566) ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างวันที่ 16 – 17 ณ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และจ.นราธิวาส พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับฟังปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ณ มัสยิดโบราณบาโงยลางา ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยมีประเด็นสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่
1) ปัญหาที่ดินทําการเกษตรที่เป็นเอกสารสิทธิ์ ส.ค.1
2) การส่งเสริมทุเรียนทรายขาวให้เป็นทุเรียนคุณภาพ สร้างอัตลักษณ์ให้กับอำเภอทรายขาว และเป็นจุดขาย
3) ปัญหาประมงพื้นบ้าน และ
4) การเพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

ร.อ. ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาที่ดินทําการเกษตรที่เป็นเอกสารสิทธิ์ ส.ค.1 เป็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันดับต้นๆ ใน จ.ปัตตานี โดยได้ขอให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งรัดแก้ไขพื้นที่ทำกินในเขตตำบลทรายขาว และตำบลใกล้เคียง เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 2,000 ครัวเรือน เพราะพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันมีการกำหนดให้เป็นเขตป่าไม้ ก่อนและหลังที่ประชาชนเข้าไปทำประโยชน์ เพื่อปลูกยางพารา ปลูกทุเรียน และที่อยู่อาศัย โดยในเรื่องนี้ ตนได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทยแล้ว โดยจะหารือร่วมกันถึงแนวทางแก้ไข เพราะชาวบ้านไม่สามารถเข้าทำการปรับปรุงพื้นที่เพื่อทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะการปลูกทุเรียนทรายขาวซึ่งเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร อย่างไรก็ตาม จะต้องเร่งรัดดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์ว่าเป็นของประชาชนจริงหรือไม่ ก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยาน โดยจะขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริให้คนอยู่คู่กับป่าไม้ และเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้รับสิทธิการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้

นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ผลิตทุเรียนทรายขาวให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับอำเภอทรายขาว และเป็นจุดขาย ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยส่งเสริมการผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุน ซึ่งตำบลทรายขาว มีทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก พื้นที่ปลูกทุเรียนในปี 2566 ทั้งหมด จํานวน 836.5 ไร่ เกษตรกร จํานวน 497 ครัวเรือน ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จํานวน 545 ตัน ทั้งนี้ ยังพบปัญหาการระบาดของศัตรูพืช หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรในการป้องกัน รวมทั้งส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการป้องกันกําจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิต กระทบต่อคุณภาพของผลผลิตทุเรียน และสร้างความความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค

สำหรับปัญหาชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี พบว่า ยังขาดเครื่องมืออุปกรณ์ องค์ความรู้สําหรับใช้ในการดําเนินงานในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโอรังปันตัย โดยในเรื่องนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยินดีให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการทําประมงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะนําไป สู่การสร้างงาน สร้างรายได้พร้อมๆ ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อีกทั้ง ได้ผลักดันในเรื่องของการเพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำ เนื่องจากปัตตานีมีน้ำต้นทุนน้อย จึงมอบหมายให้กรมชลประทานศึกษาร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาน้ำอย่างเป็นระบบให้ครอบคลุมทั้ง 12 อำเภอในจังหวัดปัตตานี

“วันนี้ผมได้นำทีมครอบครัวกระทรวงเกษตรฯ ลงมาเพื่อรับฟังปัญหาในพื้นที่โดยตรง แล้วจะรีบนำไปแก้ไข และ จะรายงานปัญหาทั้งหมดในพื้นที่ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ เพื่อเดินหน้าทำงานอย่างบูรณาการ ยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรให้กินดี อยู่ดี” รมว.เกษตรฯ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

“สส.บุญชัย” เร่งรุดเข้าพื้นที่ดูแลปชช.รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก!!!

,

“สส.บุญชัย” เร่งรุดเข้าพื้นที่ดูแลปชช.รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก!!!

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เปิดเผยว่า 2 หมู่บ้าน ต.ตาดกลอย อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ หลังรับแจ้งได้เกิดน้ำป่าไหลลากท่วมบ้านในช่วงเวลา 02.00 น.ของวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา พร้อมประสานหน่วยงานท้องถิ่นเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน พบประชาชนบ้านตาดข่า ม.5 จำนวน 27 หลังเรือน บ้านกกกล้วยนวล ม.7 จำนวน 50 หลังคาเรือนโดย ได้นำน้ำดื่มและข้าวกล่องแจกจ่ายพี่น้องประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

“สส.อนุรัตน์ พปชร.” ร่วมหารือแก้ไขปัญหารุกที่ดินปิดทางเข้าแหล่งน้ำประสานที่ดินรางวัดพิสูจน์สิทธิเปิดทางให้เกษตรกร

,

“สส.อนุรัตน์ พปชร.” ร่วมหารือแก้ไขปัญหารุกที่ดินปิดทางเข้าแหล่งน้ำประสานที่ดินรางวัดพิสูจน์สิทธิเปิดทางให้เกษตรกร

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง ส.ส. เขต2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จ.พะเยาเปิดเผยว่า เข้าร่วมประชุมชวาบ้าน ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งน้ำ ที่ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ จากการรุกที่ดินของนายทุน จึงประสานสำนักงานที่ดินเข้าทำการรางวัดและชี้แนวเขตพื้นที่ใหม่ เพื่อพิสูจน์สิทธิอีกครั้ง และพบว่าการบุกรุกจริง จึงได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปได้ด้วยดี ส่งผลให้ชาวบ้านสามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อการสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกได้แล้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

“สส.ปกรณ์ สส.พปชร.” รุดเข้าพื้นที่อุทกภัยอำเภอเมืองดูแลประชาชน เก็บข้อมูลประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหา ป้องภัยธรรมชาติ

,

“สส.ปกรณ์ สส.พปชร.” รุดเข้าพื้นที่อุทกภัยอำเภอเมืองดูแลประชาชน เก็บข้อมูลประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหา ป้องภัยธรรมชาติ

นายปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขต 1 จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อให้กำลังและเยี่ยมพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมทั้งได้มอบ นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ ยังได้สอบถามปัญหาเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อนำไปประสานกับหน่วยงาน หาแนวทาฃช่วยเหลือและแก้ปัญหาระยะยาวให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไป

ทั้งนี้ ในพื้นที่จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลจากลมมรสุม มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ที่พัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในช่วงวันที่ 5,8และ14 กันยายนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณสะสมในพื้นที่สูง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน และทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

สส.ใต้ พปชร.-ปชป.-สว. เสนอรัฐบาล ถอดนกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์สงวน เชื่อเพิ่มโอกาสสร้างอาชีพเพาะพันธ์ุนก รักษางานศิลป์ผลิตกรง ชูอัตลักษณ์คนใต้

,

สส.ใต้ พปชร.-ปชป.-สว. เสนอรัฐบาล ถอดนกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์สงวน เชื่อเพิ่มโอกาสสร้างอาชีพเพาะพันธ์ุนก รักษางานศิลป์ผลิตกรง ชูอัตลักษณ์คนใต้

นายชนนพัฒน์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า กลุ่ม สส.ภาคใต้ ที่มี พล.ต.อ.สุรินทร์ ปานาเร่ สส.สงขลา เขต 8 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นแกนนำและ สส.พปชร. สส.ภูมิใจไทย และวุฒิสมาชิก ภาคใต้ ประกอบด้วย นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 3 นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต2 และตน รวมถึง นายซาการียา สะอิ สส.นราธิวาส เขต 4 พรรคภูมิใจไทยและ นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล วุฒิสมาชิก ได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางที่จะผลักดันและยื่นญัติต่อสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการถอดนกกรงหัวจุก ออกจากบัญชีสัตว์สงวน เนื่องจากสถานการณ์ของนกกรงหัวจุกสามารถเพาะและขยายพันธ์ุได้แล้วในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับปริมาณนกในธรรมชาติ ทำให้จะสามารถส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนภาคใต้ได้ รวมทั้งการเลี้ยงนกกรงหัวจุกยังเป็นวีถีที่สืบทอดกันมายาวนาน และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ และต่างประเทศด้วย

“ทางกลุ่ม สส.ภาคใต้เห็นว่า หากสามารถการถอดออกจากบัญชีสัตว์สงวน และส่งเสริมให้เกิดการเพาะเลี้ยง จะช่วยให้รักษาหรืออนุรักษ์นกหัวจุกในแหล่งธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันผู้เพาะเลี้ยงประสบปัญหาในการขอใบอนุญาติจากหน่วยงานราชการ ทำให้เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมอาชีพเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุก ที่ยังมีความต้องการของตลาดอีกเป็นจำนวนมาก”

นายชนนพัฒน์ กล่าวต่อว่า การเลี้ยงนกกรงหัวจุกยังสามารถส่งเสริมให้เป็นกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับจังหวัดไปจนถึงระดับประเทศ ทางกลุ่มจึงเห็นว่า นอกจากจะสามารถส่งเสริมเป็นอาชีพเพาะเลี้ยงแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมของชาวบ้านในการผลิตกรงที่มีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่จะสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน และจัดเป็นซอฟเพาเวอร์อีกแขนงหนึ่งของคนไทย ในด้านอัตลักษณ์วิถีของชาวใต้ให้สืบสานต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 กันยายน 2566

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พร้อมเดินหน้าภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

,

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พร้อมเดินหน้าภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 11 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงสาธารณสุข ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์(สส.)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ให้การต้อนรับ ในเวลา 7.09 น.ได้ทำพิธีบูชาพระพุทธนิรามัย พระพรหม พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนมและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร เพื่อความเป็นสิริมงคล

โดยนายสันติ กล่าวว่า ตนพร้อมเข้าปฏิบัติภารกิจ ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณชีวิต และระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กันยายน 2566

ร่วมระดมแก้ปัญหาน้ำ 3 จังหวัด !!! “รมว.ธรรมนัส”ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เยี่ยมปชช.รับฟังปัญหา เร่งหน่วยงานแก้ไขผลกระทบจากอุทกภัย หลังลงพื้นที่จ.ขอนแก่นร่วมกับนายกรัฐมนตรี

,

ร่วมระดมแก้ปัญหาน้ำ 3 จังหวัด !!! “รมว.ธรรมนัส”ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เยี่ยมปชช.รับฟังปัญหา เร่งหน่วยงานแก้ไขผลกระทบจากอุทกภัย หลังลงพื้นที่จ.ขอนแก่นร่วมกับนายกรัฐมนตรี

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ด่วนเพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธ์โดยลงพื้นที่อ.ห้วยผึ้ง และอ.กุชินารายณ์ และ ต.เชียงใหม่

รมว.เกษตรฯกล่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงประชาชนและพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จึงได้กำชับให้ทางกระทรวงเกษตรฯ สั่งหน่วยงานในสังกัดช่วยเหลือบรรเทาความเดือดูร้อนประชาชนอย่างเต็มที่

ในส่วนจ.กาฬสินธ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดโดยเฉพาะสำนักงานชูลประทานที่ 6 จัดเตรียมเครื่องจักร และเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือระบายน้ำอย่างเร่งด่วน และเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหลากที่อาจจะลงมาอีกหากมีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งให้มีการรายงานสถานการณ์ทุกระยะ และขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน กระทรวงเกษตรฯ จะ
เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเรงด่วน ต่อไป

ต่อจากนั้นได้เดินทางไปจ.เชียงใหม่ เข้าร่วม โดยพบปะ รับฟังปัญหาของกลุ่มสภาอาชีพเกษตรกร (สอก.) จำนวนกว่า 400 ราย และรับฟังปัญหาของเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำอำเภอดอยหล่อ และกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการอ่างเก็บน้ำแม่วาง โอกาสนี้ กลุ่มเกษตรกรได้ยื่นหนังสือเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยเป็นเรื่องสำคัญที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยปี 2563 ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ซึ่งเคยได้ศึกษาการแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยแล้ว โดยจะมอบหมายให้กรมชลประทานศึกษาภาพใหญ่และถอดแบบเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยทั้งระบบ ภายหลังจากที่แถลงนโยบายรัฐบาล ในวันจันทร์ที่ 11 ก.ย. 66 จากนั้น จะเรียกประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายงานและวางแผนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

“ในวันนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น ติดตามการบริหารจัดการน้ำและป้องกันภัยแล้งที่เขื่อนอุบลรัตน์ จากนั้น ลงพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ให้กำลังใจ มอบถุงยังชีพให้กับเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย และ จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังปัญหาจากเครือข่ายภาคเกษตรกร ขอฝากถึงพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ นายกฯ ได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิต เป็นเรื่องที่ผมมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามารับผิดชอบ ทั้งด้าน ราคาพืชผล ต้นทุนการผลิต รวมถึงการตลาด และจะเร่งขับเคลื่อนการทำงานในมิติใหม่ ลงพื้นที่เข้าถึงเกษตรกร นำปัญหาจากรากหญ้า สู่การแก้ไขให้มากที่สุด สำหรับข้อเสนอของพี่ร้องเกษตรกรใรวันนี้ จะรับเรื่องไว้และมอบหมายให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการทันที หลังวันที่ 11 ก.ย. นี้” รมว.ธรรมนัส กล่าว

จากนั้น รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานการปรับปรุงระบบผันน้ำฝายแม่ตื่น ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ ก่อนจะลงพื้นที่ติดตามรับฟังผลการดำเนินงานขุดลอกอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ และพบปะกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำบ้านโป่งจ้อ / สถานีสูบด้วยไฟฟ้าในเขต อ.ดอยหล่อ เพื่อรับทราบปัญหาความต้องการ
ณ อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่บ้านโป่งจ้อ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ อาทิ 1. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ความจุอ่างฯ 2.029 ล้านลูกบาศก์เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 1,226 ครัวเรือน ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกฤดูฝน 4,268 ไร่ 2. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่วาง ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ความจุอ่างฯ 25.415 ล้าน ลบ.ม. หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 38,209 ไร่ ในฤดูฝนและ 20,488 ไร่ในฤดูแล้ง 3. โครงการประตูระบายน้ำวังหิน พร้อมระบบส่งน้ำ ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือในพื้นที่ บ้านหาดนาค หมู่ที่ 7 บ้านหนองอาบช้าง หมู่ที่ 9 บ้านดงหาคนาคหมู่ที่ 17 และ บ้านพุทธมิตร หมู่ที่ 18 ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค จำนวน 1,028 ครัวเรือน ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝนได้ประมาณ 4,180 ไร่ และในฤดูแล้ง 1,980 ไร่ และ 4. โครงการปรับปรุงระบบผันน้ำฝายแม่ตื่น – อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีความคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 96 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและพื้นที่การเกษตรกว่า 5,000 ไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ 1.6 ล้าน ลบ.ม./ปี ในช่วงฤดูน้ำหลาก

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเร่งดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด เพื่อให้สามารถใช้เก็บกักน้ำ เป็นแหล่งน้ำต้นทุน สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และยังช่วยหน่วงชะลอน้ำในช่วงอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กันยายน 2566

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ลุยงานหนักทั้งสภาฯ-พื้นที่ เผย 3 เดือนของการทำหน้าที่ สส.แม้จะเป็นเรื่องใหม่ เดินหน้าทำเพื่อชาวบ้านเต็มที่ พร้อมชนทุกอุปสรรค

,

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ลุยงานหนักทั้งสภาฯ-พื้นที่ เผย 3 เดือนของการทำหน้าที่ สส.แม้จะเป็นเรื่องใหม่ เดินหน้าทำเพื่อชาวบ้านเต็มที่ พร้อมชนทุกอุปสรรค

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.เขต 2 จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่ ต.ทุ่งรวงทวง อ.จุน เพื่อรับฟังปัญหาของแม่พี่น้องประชาชน และพบปะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เทศบาลตำบลทุ่งรวงทอง รวมถึงได้มีการประชุมกับนายกเทศบาลทุ่งรวงทอง พร้อมคณะบริหาร เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการขอทำฝนเทียมในพื้นที่ เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำไม่เพียงพอที่จะใช้ในการทำเกษตร รวมถึงการขาดแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้อีกด้วย

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนได้พบกับกลุ่มแม่บ้าน ต.ทุ่งรวงทอง ซึ่งได้รับมอบผลิตภัณฑ์ในตำบล เพื่อขอให้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตำบลให้มีช่องทางทางการตลาด และทางกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ได้ร่วมกันมอบหนังสือโครงการขอสร้างอ่างเก็บน้ำในตำบล เพื่อไว้ใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ว โดยทั้ง 2 เรื่องที่ตนได้รับข้อเสนอมา ตนก็จะเดินหน้าผลักดันให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ให้มากขึ้น หรือปัญหาน้ำไม่เพียงพอในการทำการเกษตร

“จากการทำหน้าที่ สส.มา 3 เดือน ถือว่าชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเพราะไม่เคยเป็น สส.มาก่อน แต่ก็ถือว่าได้เข้าสภาฯไปเรียนรู้แล้วมีประสบการณ์มากขึ้น นอกจากงานในสภาฯแล้ว ผมก็ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาของพี่น้องเราทุกวัน อย่างล่าสุด ผมต้องขอกราบขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาส่วนรวมอย่าง ถนนสายหลักของพ่อแม่พี่น้องบ้าน แม่ทะลาย ต.พระธาตุขิงแกง ระยะทางเกือบ 5 km. ผมและพ่อไพรัตน์ ตันบรรจง ได้นำยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 40 ตัน ร่วมกับ นายกสิทธิ์ พ่อหลวงบ้าน รวมถึงผู้ช่วยและทีมงานในหมู่บ้าน รวมถึงอาสาสมัครที่มาร่วมแรงร่วมใจกันล้างผิวถนน และซ่อมหลุมลึกบนถนนสายนี้ ผมซึ้งใจและขอบคุณทุกท่านที่เราไม่ทอดทิ้งกันยามลำบาก และร่วมกันเอาชนะอุปสรรคแบบนี้ต่อไป ซึ่งจากนี้ผมจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหางบมาซ่อมสร้างถนนเส้นนี้ให้ได้”นายอนุรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กันยายน 2566

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

,

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวถึงปัญหาพืชผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ เช่นเงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียนบ้านโดยราคาปลายน้ำของผลไม้เหล่านี้มีราคาสูง แต่ก็สมเหตุสมผล เพราะผลไม้มีรสชาติที่ดี มีผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้จากทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ฝ่าฝน ฝ่าแดด รอดมาถึงมือผู้บริโภคได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ราคาต้นน้ำ ก็คือราคาหน้าสวนของเกษตรกรมันตกต่ำเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“ล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ท่าน ได้ลงไปดูเรื่องราคามังคุดที่ตกต่ำ และได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ซึ่งผมได้มีโอกาสติดตามท่านไปด้วย จึงทราบว่าราคามังคุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ที่บ้านของผมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราคามังคุดต่อกิโลกรัมแค่ 10 บาท ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 2 บาท ในเวลาที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมาล้นตลาด ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น เงาะในราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่ง 3 บาทต้องจ้างคนมาเก็บค่าจ้างกิโลละ 2 บาท เจ้าของสวนได้แค่บาทเดียว ลองกองก็เช่นกัน ช่อไซด์ขนาดครึ่งแขน เกรดA+ ตาสีตาสาแถวบ้านผม ไม่มีโอกาสได้กินหรอก ส่งออกในภาคกลาง และต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ในกรุงเทพต่ำๆ กิโลนึง 80-90 บาท แต่หน้าสวนกิโลกรัมละ 10 บาท”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ตนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชาวบ้านเลือกมาให้เป็นปากเสียงแทน ดีใจที่ตอนนี้เรามีนายก เราเพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรี ประเทศจะได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตนหวังอย่างยิ่งว่ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และที่สำคัญคือ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร อย่างการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลไม้อบแห้ง

“ผลไม้อีกอย่างหนึ่งที่สร้างมูลค่าได้ดี ก็คือ ทุเรียนกวน เราสามารถส่งออกต่างประเทศได้ เราทำให้เป็นรูปธรรม มีตราฮาลาล ผลิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกไปขายยังประเทศแทบตะวันออกกลาง หรือประเทศโลกมุสลิม ซึ่งประเทศเหล่านี้นิยมผลไม้จากประเทศไทยเป็นอย่างมาก และสามารถแก้ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแน่นอน”นายอามินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ นายอามินทร์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง สภาเกษตรกรที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาเหมือน สส.ที่อยู่ในสภาฯแห่งนี้ แต่หน่วยงานนี้กลับไม่ได้รับความสำคัญ ไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับการเพิ่มบทบาท เพิ่มศักยภาพเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความรู้ความสามารถ รู้ปัญหา รู้เรื่องเกษตรกรเป็นอย่างดี ตนจึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน
เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

วันนี้ (8 กันยายน 2566) เวลา 10.00 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ร่วมพบปะพี่โดยน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงโดยได้พูดคุย รับฟัง และพร้อมสะสางปัญหาของน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนด้านการเกษตรจากโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณชิงเขาพนมดงรักษ์ อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จ.สุรินทร์ โครงอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปลูกป่าทับที่ทำกินที่ป่าภูแลนคา ด้านทิศเหนือ อ.แก่งค้อ จ.ชัยภูมิ ได้รับผล กระทบจากการก่อสร้างเขื่อนเขื่อนราษีไศล ผู้เดือดร้อนจากโครงการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญทับที่อาศัย และที่ทำกิน ผู้เดือนร้อนจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยขนาดมอญ อ.สังขะจ.สุรินทร์ จากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ เขื่อน โครงการฝ่าย รวมถึงโครงการเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่สะสมมานาน

จากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ร่วมพบปะพี่น้องเกษตรกรพร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ติดตามประเด็นปัญหาภัยแล้งผลกระทบจากเอลณีญ พื้นที่ทำกิน การบริหารจัดการน้ำ โดยปัญหาหลักที่เกษตรกรอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไข ได้แก่ปัญหาความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคอีสาน ปัญหาการพักหนี้เกษตรกรและปัญหาที่ดินทำกิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566