โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. อรรถกร ศิริลัทธยากร

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

,

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ค่าความเค็มในแม่น้ำบางประกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตนจึงขอฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และกรมชลประทาน ให้ช่วยเตรียมรับมือกับค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ ตนยังได้รับการประสานงาน เรื่องถนนในหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ต.ศาลาแดง และช่วงคลอง 18 คลอง 19 ไฟถนนดับ เนื่องจากมีคนมาขโมยอุปกรณ์สายไฟ ซึ่งเรื่องนี้เกิดมานานแล้ว จึงขอฝากไปยังกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา ให้ส่งคนเข้าไปแก้ไขโดยด่วน

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับการร้องเรียน ให้เร่งสร้างประตูระบายน้ำหลังวัดจระเข้ตาย ที่อ. ราชสาส์น เนื่องจากเรื่องนี้มีการอนุมัติงบประมาณไปนานแล้วแต่มีความล่าช้า หลังจากอนุมัติงบประมาณแล้วมีการเปลี่ยนจุด ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนชุดก็ต้องเปลี่ยนแบบ และเมื่อมีการเปลี่ยนแบบแล้วก็ต้องหาผู้รับเหมา แม้ขนาดนี้จะได้ผู้รับเหมาแล้วแต่ ยังไม่ได้ลงมือทำ โดยเรื่องดังกล่าวค้างคามานานถึง 10 ปี หากเร่งสร้างประตูระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าวได้ จ่ายสามารถช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“อรรถกร”เผย‘รอ.ธรรมนัส’ลงพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหา ‘ปลากะพงขาว’ ราคาตกต่ำ พร้อมขับเคลื่อนงานจัดที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกร

,

“อรรถกร”เผย‘รอ.ธรรมนัส’ลงพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหา ‘ปลากะพงขาว’ ราคาตกต่ำ พร้อมขับเคลื่อนงานจัดที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกร

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เปิดเผยว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อตรวจราชการและเป็นประธานมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 70 ราย พร้อมทั้งรับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว นำโดย นายสุทธิ มะหะเลา นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย ณ ห้องประชุมมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้รับข้อร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว ถึงปัญหาราคาตกต่ำ ซึ่งสาเหตุจากมีการนำสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งมีการนำเข้าทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทำให้สัตว์น้ำของเกษตรกรที่เลี้ยงมีราคาตกต่ำ ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

โดย ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว ได้กล่าวขอบคุณ รมว.เกษตรฯ ที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งรัดแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งภายหลังจากที่กลุ่มได้ยื่นเรื่องร้องเรียนดังกล่าวต่อศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์จากเกษตรกร ทำให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือและผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขร่วมกัน สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดฉะเชิงเทรา มีกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งทะเล 5,754 ราย 5,829 ฟาร์ม พื้นที่ 64,550 ไร่ กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด 4,011 ราย 4,017 ฟาร์ม พื้นที่ 42,268 ไร่ กลุ่มผู้เลี้ยงปลาทะเล 503 ราย 503 ฟาร์ม พื้นที่ 9,467 ไร่ ในส่วนของปริมาณผลผลิตปลากะพงขาว ปี 2565 มีจำนวน 6,624.32 ตัน และในปี 2566 ประมาณการผลผลิต จำนวน 6,713.00 ตัน

ทั้งนี้ ร.อ.ธรรมนัส ได้มอบ ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 70 รายด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 พฤศจิกายน 2566

“อรรถกร”ร่วมหารือภาคส่วนราชการ เร่งแก้ปัญหานำน้ำเข้า ต.หนองยาว – ต.ใกล้เคียง ช่วยเกษตรกรมีน้ำใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

,

“อรรถกร”ร่วมหารือภาคส่วนราชการ เร่งแก้ปัญหานำน้ำเข้า ต.หนองยาว – ต.ใกล้เคียง ช่วยเกษตรกรมีน้ำใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร ศิริลัทยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา ตนได้ร่วมประชุมปรึกษาหาทางออกในการแก้ปัญหาการนำน้ำเข้ามาภายในตำบลหนองยาวและตำบลใกล้เคียง เพื่อให้เกษตรกรทุกภาคส่วนมีน้ำใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ นายคเชนทร์ บุญประเสริฐ นายก อบต.หนองยาว นายพีระ ตั้งชูทวีทรัพย์ สมาชิกสภาจังหวัด(ส.จ.)ฉะเชิงเทรา นายดำรัจ พุทธรักษา ส.จ.อ.ราชสาส์น และนางพิศมัย ตั้งชูทวีทรัพย์ กำนันตำบลหนองยาว พร้อมด้วยผู้นำชุมชนตำบลหนองยาว และกลุ่มเกษตรกรตำบลหนองยาว

ทั้งนี้ได้มีการประสานงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการ กรมชลประทานบางพลวง,กรมชลประทานคลองส่งน้ำพระองค์เจ้าไชยยานุชิต,กรมชลประทานคลองส่งน้ำแควสียัด/ระบม,กรมชลประทบางปะกง,กรมชลประทานฉะชิงเทรา,กรมทรัพยากรน้ำ,สหกรณ์การเกษตร, ปศุสัตว์,ประมง,เกษตรจังหวัดฉะชิงเทราและประธานบริหารลุ่มน้ำบางปะกง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กันยายน 2566

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

,

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ กำลังพิจารณาซึ่งมีญัตติทำนองเดียวกันอีก 11 ญัตติ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำมาพิจารณาพร้อมกัน จึงให้พิจารณารวมเป็น11ฉบับ ทั้งนี้ 1 ในญัตติที่เสรอต่อสภาเป็นของนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)

นายอรรถกร ได้กล่าวเสนอญัตติด่วนในที่ประชุมเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งตนต้องขอขอบคุณประธานสภาที่ท่านกรุณาบรรจุ และเปิดโอกาสให้ตนและเพื่อนสมาชิกได้มีโอกาสนำเสนอญัตติ ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง วันนี้พรรคพลังประชารัฐเรามีเลขาธิการของพรรคพลังประชารัฐ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ก็อยู่กับพวกเราด้วย ซึ่งทราบว่าเมื่อเช้ามีตัวแทนของผู้เลี้ยงกุ้งที่ตั้งความหวังรอการแก้ไขมาร่วมยื่นหนังสือ และพูดคุยถึงปัญหา ราคากุ้งตกต่ำ นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าญัตติของตนนั้นเป็นญัตติที่เร่งด่วนที่ต้องการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังมีเพื่อนสมาชิกที่ร่วมลงชื่อและยื่นญัตตินี้กับตนอีกหลายท่าน

ในขณะนี้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลางและขนาดย่อย ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่ราคากุ้งตกต่ำเกิดจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สินแม้ราคากุ้งจะถูกกำหนด โดยคณะบริหารจัดการ ห่วงโซ่ การผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ก็ตาม ราคาของกุ้งก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงขอให้รัฐบาลช่วยลดภาระของพวกเขา เช่น ค่าอาหาร ค่าปูน ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยตรง

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าอเมริกาญี่ปุ่นหรือประเทศทางยุโรปเริ่มชะลอการนำเข้าใช้กุ้งในสต๊อกของตนเอง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาตกต่ำอีกประเด็นปัญหาอำนาจในการต่อรองของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยน้อยมาก เมื่อเช้าจังหวัดฉะเชิงเทรามีการขายกุ้งจำนวน 2.8 ตันขายหมด ไม่พอแม่ค้ารับซื้ออย่างรวดเร็ว แต่เป็นการขายในราคาที่พี่น้องเกษตรกรไม่ได้กำไร และพ่อค้าแม่ค้า คนกลางไปขายต่อ ทำให้เป็นอีกปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ทั้งนี้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่มีแต่ประเทศไทย ประเทศเดียวเท่านั้น ในตลาดโลกเรามีหลายประเทศที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นเอกวาดอร์ อินเดียเวียดนาม รวมถึงอินโดนีเซีย ที่สามารถผลิตกุ้งได้เป็นจำนวนมาก แต่มีข้อแตกต่างตรงที่ว่า สามารถลดต้นทุนได้มากกว่าประเทศไทยทำให้มีความได้เปรียบในการส่งออก

“ข้อเรียกร้องต่างๆของพวกเขาคือ อยากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตกุ้งมีราคาลดลง รวมถึงชะลอการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศในทันท่วงทีโดยเฉพาะในช่วงราคากุ้งตกต่ำ และเงินชดเชยของเกษตรกรทุกคนต้องได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหญ่ บ่อกลาง และบอร์ดเล็ก สุดท้ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไขปัญหาจริงจังในระยะสั้น กลาง ระยะยาว โดยเริ่มต้นตั้งแต่ วันนี้ผมขอเสนอญัตติด้วยความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรให้มีการตั้งกรรมาธิการ แต่เมื่อดูจากระยะเวลา ถ้าเราทำเป็นรายงานส่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไข คงจะเป็นทางออกรวดเร็วที่สุด”นายอรรถกร กล่าว

ต่อมาเมื่อนายอรรถกรเสนอญัตติจบ และกำลังจะ เข้าสู่การอภิปรายของผู้เสนอเหรอญัตติคนถัดไป ปรากฎว่า ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติให้มีการนับองค์ประชุม โดยมีผู้รับรองถูกต้อง ทำให้สส.พรรคร่วมรัฐบาล พยายามขอร้องให้พรรคก้าวไกลถอนญัตติดังกล่าวออกไป แต่ไม่เป็นผล ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ รอสมาชิกแสดงตนพักใหญ่ แต่สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม จึงทำให้องค์ประชุมไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อได้

จากนั้น นายอรรถกร ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นว่า วันนี้เพื่อน สส.พร้อมใจที่จะมาร่วมกันอภิปราย เดินหน้าการประชุมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร โดยหวังว่า สภาฯจะได้ส่งปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไปให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไขโดยเร็วที่สุด แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ตนก็ต้องแสดงความเสียใจจริง ๆ แต่ในการประชุมสภาครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า ตนก็จะเดินหน้าให้ที่ประชุมสภาฯพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“ส.ส อรรถกร”ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯตั้ง กมธ.แก้ไขราคากุ้งตกต่ำ หาทางช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้าจาก ตปท.ย้ำ รัฐต้องเร่งจัดการก่อนปัญหาบานปลาย

,

“ส.ส อรรถกร”ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯตั้ง กมธ.แก้ไขราคากุ้งตกต่ำ หาทางช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้าจาก ตปท.ย้ำ รัฐต้องเร่งจัดการก่อนปัญหาบานปลาย

31 กรกฎาคม 2566 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้เสนอญัตติด่วน เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากในขณะนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งหลังจากการที่ คณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียเข้ามา โดยอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

“ปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สิน”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า แม้ราคากุ้งจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) แต่ราคาของจริงไม่ได้ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด จึงต้องการให้รัฐช่วยลดภาระต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เช่น ค่าอาหารกุ้ง ค่าปู่น ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หากภาครัฐไม่ดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาอาจบานปลายได้

“ผมจึงขอให้สภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยโดยเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดินและประชาชนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะรักษาความมั่นคง ของประเทศในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยญัตติที่ผมเสนอไปได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภาฯเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผมหวังว่าจะสามารถช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ทันท่วงที”นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 กรกฎาคม 2566

สส. อรรถกร วอนกรมชลแก้ปัญหาผักตบชวาล้นแม่น้ำบางปะกง ลดความเดือดร้อนประกอบอาชีพในลำน้ำของประชาชน

,

สส. อรรถกร วอนกรมชลแก้ปัญหาผักตบชวาล้นแม่น้ำบางปะกง ลดความเดือดร้อนประกอบอาชีพในลำน้ำของประชาชน

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ กล่าวหารือถึงความเดือดร้อนของพี่น้องจังหวัดฉะเชิงเทราในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่ได้รับความไม่สะดวกในการสัญจรไปมา โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน บนทางหลวงหมายเลข 3076 เส้นพนมสารคาม บ้านซ่า โดยเฉพาะในช่วง จากตำบลหนองยาวอำเภอ พนมสารคาม ไปถึงช่วงตำบลดงน้อย อำเภอราชสาน ว่าในช่วงเวลากลางคืนแสงสว่างไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดความไม่สะดวก และเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง จึงขอเรียนผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม ขอให้ติดตั้งไฟส่องสว่างเป็นช่วง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อถึงปัญหาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ช่วงถนนสายบางปะอิน หมู่ที่ 6 ตำบลบางกระเจ็ด ว่า ในบางช่วงของการใช้ไฟฟ้ามีเหตุการณ์เกิดไฟตกทำให้การใช้ชีวิตภายในบ้านไม่ปกติ หลายครั้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าก็เสียหาย่ จึงขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ช่วยขยายเฟสไฟใน ช่วงหมู่ที่6 ตำบลบางกระเจ็ดจาก 2 เฟสเป็น 3 เฟสทั้งหมดด้วย จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้เยอะ

“ส่วนเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วนอีกเรื่อง เนื่องจากในขณะนี้แม่น้ำบางประกง ในช่วงของตำบลกลางตลาด ช่วงตำบลบางขนาด และในบริเวณอำเภอคลองเขื่อน และที่เขตบางปะกง มีปัญหาผักตบชวาล้น ต้องเรียกว่ามวลมหาผักตบชวาก็เป็นไปได้ สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่มีวิถีชีวิตประมง ในลำน้ำ เพื่อมาเลี้ยงชีพ รวมถึง ปัญหาของการสัญจรไปมาในริมคลองแม่น้ำ ซึ่งเป็นปัญหาทุกปี ซึ่งในอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับความช่วยเหลือจากกรมชลประทาน องค์กรจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมไปถึงอำเภอกำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต และพี่น้องประชาชนช่วยกันป้องกันปัญหาผักตบชวาที่ต้องจัดการ โดยการต้องเรี่ยไรเงิน ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ผมขอให้กรมชลประทานช่วยระดมกำลังเครื่องไม้เครื่องมือ มาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กรกฎาคม 2566

ว่าที่ ส.ส.อรรถกร ขอบคุณเสียง ปชช.เขต 2 ฉะเชิงเทรา เร่ง ทำงานสางปัญหาราคากุ้งช่วยเกษตรกรรายย่อยทันที

,

ว่าที่ ส.ส.อรรถกร ขอบคุณเสียง ปชช.เขต 2 ฉะเชิงเทรา เร่ง ทำงานสางปัญหาราคากุ้งช่วยเกษตรกรรายย่อยทันที

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 หนึ่งในว่าที่ส.ส.พปชร. ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของชาวฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในผู้สมัครที่สามารถฝ่าการแข่งขันสูงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ตนขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความเชื่อมั่นให้ได้ทำงานต่อเนื่อง ตนพร้อมทำงานทันที เพราะยังมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งประสบปัญหาราคากุ้งไม่สอดคล้องกับต้นทุนการเพาะเลี้ยง ทั้งค่าอาหารและปูนในการเพาะเลี้ยงปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เข้าร่วมประชุมหารือ กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อวางแนวทางร่วมกัน ในการยกระดับราคากลางให้สูงขึ้น คุ้มค่ากับการลงทุนในการเพาะเลี้ยง ควบคู่กับการหาช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกรรายย่อยในระยะต่อไป เพื่อให้ได้ราคากุ้งที่เหมาะสมกับต้นทุน

“พื้นที่ฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งผลิตกุ้งเลี้ยง อีกแห่งหนึ่ง ถือเป็นเศรษฐกิจพื้นฐานของจังหวัด ต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาระยะยาว ให้เกษตรกรอยู่รอดได้”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เราต้องเร่งสานต่อนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องน้ำในจังหวัด ทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำเค็ม การจัดหาแหล่งน้ำจืด และลดปัญหาน้ำกร่อย พร้อมกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้น้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เพราะพื้นที่ฉะเชิงเทรา มีความหลากหลายทางอาชีพ นอกจากเกษตรกรรม ยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีการปริมาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 พฤษภาคม 2566

“ดร.ศันสนะ” ลุย เขตธนบุรี-คลองสาน พร้อมพัฒนายกระดับ ศักยภาพพื้นที่ เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดึงรายได้เข้าสู่ชุมชนสร้างศก.ประเทศ

,

“ดร.ศันสนะ” ลุย เขตธนบุรี-คลองสาน พร้อมพัฒนายกระดับ ศักยภาพพื้นที่
เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดึงรายได้เข้าสู่ชุมชนสร้างศก.ประเทศ

ดร.ศันสนะ สุริยะโยธิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การท่องเที่ยว ว่า ภายหลังจากจีนเปิดประเทศ และประเทศไทยคือจุดหมายปลายทางหลักที่นักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากให้ความสนใจที่จะเดินทางมา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญกับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่จะมีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ประเทศ และยังจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

ดร.ศันสนะ กล่าวต่อว่า ตนมองว่าการที่นักท่องเที่ยวจีนและอีกหลายประเทศเริ่มกลับเข้ามาในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีกับการท่องเที่ยวของไทย ที่จะทำให้เกิดเม็ดเงินไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่การท่องเที่ยวไทยต้องหยุดชะงักไปเพราะสถานการณ์โควิดมาหลายปี

“เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ผมจึงมีนโยบายเพื่อพัฒนาพื้นที่ในเขตธนบุรีและคลองสาน รวมถึงพื้นที่ทั่วทุกเขตในกรุงเทพฯให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก เพื่อสร้างอาชีพ และสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการผลักดัน softpower ด้านการท่องเที่ยวและทุนทางวัฒนธรรม ให้เกิดเป็นของดีฝั่งธนฯ โดยได้มีสร้างองค์ความรู้ภาษาจีน การจัดอบรมภาษาจีน การทำป้ายแหล่งท่องเที่ยวภาษาจีน รวมทั้งจัดอาสาสมัครไกด์ภาษาจีน เพื่อนำเที่ยวจุดต่างๆ ที่น่าสนใจทั่วกรุงเทพฯ โดยเฉพาะฝั่งธนบุรีที่เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ยาวนาน”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2566

“สส. อรรถกร” เสนอกรมชลประทาน เร่งอนุมัติงบซ่อมสายยางคลองท่าลาด หลังมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปี

,

“สส. อรรถกร” เสนอกรมชลประทาน เร่งอนุมัติงบซ่อมสายยางคลองท่าลาด หลังมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาสายยางระเบิดที่คลองท่าลาด ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปีแล้ว โดยตนทราบมาว่า สายยางปกติจะมีระยะอายุการใช้งานประมาณ 10 ปีเท่านั้น

“เบื้องต้นผมทราบมาว่า เจ้าหน้าที่ของชลประทาน ผมขอไม่เอ่ยนาม ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คือนำถุงทรายมาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ซึ่งมันไม่เพียงพอ ผมขอฝากไปยังกรมชลประทาน ขอให้อนุมัติเร่งด่วนงบเหลือจ่ายในการซ่อมสายยางที่คลองท่าลาดด้วย”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรรถกรศิริลัทธยากร
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“สส.อรรถกร” แนะหาแหล่งต้นทุนเพิ่ม เดินหน้าแก้ไขปัญหาแล้งอย่างยั่งยืน

,

“สส.อรรถกร” แนะหาแหล่งต้นทุนเพิ่ม เดินหน้าแก้ไขปัญหาแล้งอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งในประเทศไทย เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา พอถึงหน้าน้ำแล้งก็จะรณรงค์ให้ใช้น้ำน้อยๆ แต่นั่นคือการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จะต้องหาแหล่งต้นทุนน้ำเพิ่มเติม ถึงจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน

นายอรรถกร กล่าวถึงปัญหาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีความต้องการการใช้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้น้ำจืดไล่น้ำเค็ม ใช้น้ำเค็ม ไล่น้ำจืด หรือว่าปัญหาประปาเป็นสีส้ม สีน้ำตาล ตนจึงขอเสนอคำว่า เราควรหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณการใช้น้ำในกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา

“อีกหนึ่งวิธี ก็คือ การผลักดันโครงการผลักน้ำจากอ่างเก็บน้ำพระสะทึง จังหวัดสระแก้ว มายังอ่างเก็บน้ำคลอง 4 ยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจังหวัดสระแก้วมีปริมาณน้ำฝนตก มากกว่าปริมาณความจุของอ่างเก็บน้ำ ดังนั้นถ้าเราสามารถวางท่อ และนำน้ำจากที่พักสะทึงสระแก้วมาเก็บไว้ที่ 4 ยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จะช่วยพี่น้องประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรรถกรศิริลัทธยากร
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566