โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“ส.ส.สุชาติ” น้อมนำโครงการพระราชดำริทูลกระหม่อมหญิงฯ มอบถุงยังชีพ

,

“ส.ส.สุชาติ” น้อมนำโครงการพระราชดำริทูลกระหม่อมหญิงฯ มอบถุงยังชีพ 1,000 ชุดให้ผู้ประสบภัยพิบัติ ต.บางลายจ.พิจิตร

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 นายสุชาติ ศรีบุศกร ส.ส.พิจิตร เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร่วมกับ ดร.มนัส โนนุช กรรมการผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์, นายพงศ์สวัสดิ์ หินแก้ว ผู้จัดการ (ทีโอที) พิจิตร และคณะทำงาน น้อมนำโครงการตามพระราชดำริทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา ภายใต้โครงการ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือผู้ประสบภัย” โดยมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด ประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 9 ต.บางลาย ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ณ หอประชุมเอนกประสงค์ โรงเรียนบางลายพิทยาคม ต.บางลาย อ.บึงนาราง จ.พิจิตร

“การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องการดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีในช่วงประสบภัยพิบัติท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้วยความห่วงใยจากทีมงาน ส.ส. พลังประชารัฐ” นายสุชาติกล่าว

ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รอง ผวจ.พิจิตร, นางชุลี อัศวพิชยนต์ รองนายกเหล่ากาชาด จ.พิจิตร, นายแพทย์ วิศิษฐ์ อภิสิทธิ์วิทยา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, นายชินนาอาชว์ รสิอัครศักดิ์ นายอำเภอบึงนาราง, พ.ต.อ.กิตติกร ปานผล ผกก.สภ.บึงนาราง, นายจักรัตน์ จันทโรทัย สจ.เขต 2 อ.บึงนาราง, นายธรรมนูญ เทศน์อินทร์ กำนัน ต.บางลาย, นางนงนุช ชูยุทธ ปลัด อบต.บางลาย รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน พร้อมใจกันเข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้มาตรการความปลอดภัยของสาธารณุข สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และเว้นระยะห่างตลอดระยะเวลาการจัดงาน

#สุชาติศรีบุศกร
#ส.ส.พิจิตร
#พลังประชารัฐ
#พปชร.

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 14 พฤศจิกายน 2564

“ส.ส.เกษม” ลงพื้นที่ 6 ชุมชน มอบถุงยังชีพเติมกำลังใจผู้ป่วยติดเตียง

,

ไม่ได้ทอดทิ้งกัน “ส.ส.เกษม” ลงพื้นที่ 6 ชุมชน ทน.นครราชสีมา มอบถุงยังชีพเติมกำลังใจผู้ป่วยติดเตียง

นายเกษม ศุภรานนท์ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมทีมงานลงพื้นที่เยี่ยมบ้านครอบครัวกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองตามชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ประกอบด้วย ชุมชนรุ่งเรือง-บุญเรือง , ชุมชนสืบศิริพัฒนา , ชุมชนประสพสุข , ชุมชนอัมพวัน , ชุมชนมหาชัย-อุดมพร และ ชุมชนตะคองเก่า พร้อมมอบถุงยังชีพที่บรรจุด้วยผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้กำลังใจในการดำรงค์ชีวิตและบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น

“ขอบคุณทีมงาน ประธานชุมชน กรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกชุมชน ที่ทำงานกันเข้มแข็งมากครับ” นายเกษม

#ด้วยความปรารถนาดี
#และความห่วงใยจาก
*ท่าน ส.ส.เกษม ศุภรนนท์ *

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“พล.อ.ประวิตร” ระดมทีม ส.ส.พปชร.ลุยพื้นที่สกลนคร เร่งแผนพัฒนาหนองหาร

, ,

“พล.อ.ประวิตร” ระดมทีม ส.ส.พปชร.ลุยพื้นที่สกลนคร เร่งแผนพัฒนาหนองหารบริหารจัดการน้ำดูแลประชาชน

“พล.อ.ประวิตร” นำทัพ”ดร.นฤมล” พร้อมทีมส.ส.พปชร. ลงพื้นที่ติดตามภาพรวมการบริหารจัดการน้ำ จ.สกลนคร พร้อมเร่งขับเคลื่อนแผนพัฒนาหนองหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนในพื้นทั้งป้องกันน้ำท่วมช่วงฤดูฝนที่มีน้ำไหลหลาก และแก้ไขปัญหาการมีน้ำอุปโภคและบริโภคช่วงฤดูแล้งแบบยั่งยืน

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)พร้อมแกนนำพรรคพลังประชารัฐ อาทิ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคฯ , นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ กรรมการบริหารพรรคฯ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นราธิวาส เขต 2 ,นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรค ,นางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา เขต 8 พปชร.,นางทัศนียา รัตนเศรษฐ เขต7 จังหวัดนครราชสีมา พรรค พปชร., น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พปชร., นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พปชร., นายเอกราช ช่างเหลา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พปชร.และ นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส. พปชร เขต 7 จังหวัดขอนแก่น พปชร.ได้ลงพื้นที่ไปปฏิบัติราชการ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยมี นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมภูมิทัตโต โรงพยาบาลสกลนคร อ.เมือง จ.สกลนคร

จากนั้นพล.อ.ประวิตรได้รับฟังเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ที่นำเสนอสถานการณ์น้ำและแผนหลักการพัฒนาหนองหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานแผนหลักฯ หนองหาร อาทิ กรมประมง กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน และจังหวัดสกลนคร ก่อนลงพื้นที่ดูสภาพโดยรอบหนองหาร บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 ปี

“ พรรคพลังประชารัฐมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในด้านน้ำ ที่มีส่วนสำคัญในการทำเกษตรกรรมที่จะเลี้ยงชีพให้กับเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงได้มอบให้ส.ส.พปชร.ทุกพื้นที่ติดตามเรื่องน้ำใกล้ชิดในทุกช่วงฤดูเพื่อให้มีนำใช้ตลอดปี พร้อมกับแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในท้องที่เพื่อทำงานใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ”พล.อ.ประวิตรกล่าว

ทั้งนี้การลงพื้นที่ติดตามภาพรวมการบริหารจัดการน้ำของ จ.สกลนคร และติดตามความก้าวหน้าแผนหลักการพัฒนาหนองหารในครั้งนี้ พบว่าสามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนช่วยชะลอน้ำหลากในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ ปัจจุบันหนองหารมีปริมาณน้ำเก็บกักรวม 262 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 98% และเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านน้ำในพื้นที่หนองหารอย่างเป็นระบบ และใช้น้ำที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ได้มอบหมายให้ สทนช. กำกับและเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนหลักการพัฒนาหนองหาร พร้อมกำชับให้ทุกหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนแผนงานการปรับปรุง ฟื้นฟู และอนุรักษ์หนองหารอย่างเคร่งครัด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมตรงตามแผนหลักที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งให้จังหวัดสกลนคร กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดแผนงานแก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากโดยเร็ว เพื่อบรรเทาปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน เป็นไปตามเป้าหมายแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมกำชับทุกหน่วยงานบูรณาการแผนงานที่ต้องเร่งดำเนินการได้ในพื้นที่หนองหาร อาทิ เร่งกำจัดวัชพืชให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เร่งศึกษาความเหมาะสมเพื่อออกแบบการวางผังการขุดลอกตะกอนดิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและเพิ่มพื้นที่รับน้ำ เพื่อให้แก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมในพื้นที่ รวมทั้งเร่งตรวจสอบรายละเอียดของแผนงาน/โครงการให้มีความชัดเจน และเตรียมความพร้อมให้สามารถดำเนินการได้ทันตามกระบวนการของบประมาณปี 2566 ด้วย

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

งานประเพณีการทอดกฐินสามัคคีซึ่งเป็นงานบุญประจำทุกปี ณ วัดวังหอนพุธาราม

,

ด้วยความห่วงใยจึงมีน้ำใจร่วมเดินทางไปด้วยกันทุกที่

วันนี้ 13 พ.ย. 2564 ส.ส.นายอำเภออาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ ร่วมงานประเพณีการทอดกฐินสามัคคีซึ่งเป็นงานบุญประจำทุกปี ณ.วัดวังหอนพุธาราม ตำบลวังอ่าง และวัดโคกทราง ตำบลนางหลง ซึ่งได้ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รณณรงค์เรื่องโควิด-19 และมอบแมสให้กับผู้มาร่วมงาน และเจ้าหน้าที่ อ.ส.ม., หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น เสร็จจากงานทอดกฐิน ได้เดินทางเยี่ยมชาวบ้าน ม.6 ตำบลท่าประจะ สำรวจเรื่องน้ำและระหว่างทางได้มอบแมสเพื่อรณรงค์เรื่องโรคโควิด-19 ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาและผู้สนับสนุนสิ่งของต่างๆ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

ด้วยความห่วงใยจากใจ ส.ส.อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ

#มุ่งมั่น
#ตั้งใจ
#แก้ไขทุกปัญหาประชาชน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“บิ๊กป้อม” ห่วงใย เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ที่ได้รับผลกระทบของโรคโควิด-19

,

“บิ๊กป้อม” ห่วงใย เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ราคาลำไยตกต่ำขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น สั่งด่วน ‘ธรรมนัส’ ลงพื้นที่เชียงราย เพื่อนำข้อเรียกร้องขอเยียวยา
ไร่ละ 2,000 บาท เสนอรัฐบาลทันที

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.30 น. ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมผู้นำเกษตรกรผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด โดยมี นายมานพ จินะนา ประธานสภาอาชีพเกษตรกร (สอก.) กล่าวรายงาน และนำคณะ รวมถึงตัวแทนเกษตรกรชาวสวนลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก

โดย ร้อยเอก ธรรมนัสฯ กล่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่มีความห่วงใยพี่น้องชาวสวนลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ราคาลำไยตกต่ำ ขาดแคลนแรงงาน การส่งออกลำไยมีปัญหา ปุ๋ยยามีราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงมอบหมายให้ตนเอง มาพบปะพี่น้องเกษตรกรชาวสวน ซึ่งเปรียบเสมือน พี่น้องร่วมสายเลือด ‘คนเมืองลูกข้าวนึ่ง’ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ซึ่งลำไย คือ ‘เส้นเลือดใหญ่’ ของชาวภาคเหนือ มายาวนาน ดังนั้นเส้นเลือดใหญ่นี้ จะต้องได้รับการดูแล ฟูมฟักและพัฒนาลำไยให้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ เราต้องทำให้ได้

โดยวันนี้ ยังได้รับหลักฐานประจักษ์ชัด คือการลงลายมือชื่อของสมาชิกสภาอาชีพเกษตรกร(สอก.) ภาคเหนือทั้ง 8 จังหวัด มากถึง 111,000 รายชื่อ เพื่อขอทราบผลการเยียวยาไร่ละ 2,000 บาท และการเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ลำไย พ.ศ….อีกด้วย

ร้อยเอก ธรรมนัสฯ ยืนยันว่า จะเร่งนำข้อเสนอของสภาอาชีพเกษตรกร นำเสนอต่อพลเอก ประวิตรฯ โดยด่วนที่สุด เพื่อพิจารณาและประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาพี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไย ไร่ละ 2,000 บาท เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการผลิตลำไยฤดูกาลใหม่นี้ โดยคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 ให้แก่เกษตรกรชาวสวนลำไย และในฐานะเลขาธิการพรรค แกนนำรัฐบาล จะนำเสนอกฎหมาย พ.ร.บ.ลำไยให้รัฐสภาดำเนินการต่อไป

“ผมพร้อมเสมอที่จะรับฟังปัญหาทั้งด้านเกษตร ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ในทุกมิติ เพราะทุกข์ของเกษตรกรคือทุกข์ของแผ่นดิน ผมสำนึกเสมอว่าผมคือเลือดเนื้อเชื้อไขของลูกข้าวนึ่ง ผมและคณะพร้อมแก้ไขทุกปัญหาให้เกษตรกรพ้นทุกข์ และผมพร้อมจะนำพวกเราเดินทางร่วมกันก้าวไปข้างหน้า เพื่อชีวิตที่ดีกว่าต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัสฯ กล่าว

ด้าน นายมานพ จินะนา ประธานสภาอาชีพเกษตรกร(สอก.) กล่าวว่า เกษตรกรชาวสาวลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด มีเครือข่ายทั้งสิ้น 115 เครือข่าย ครอบคลุมทุกจังหวัด จำนวนสมาชิกมากกว่า 250, 000 ครอบครัว พื้นที่ปลูกรวมกันมากกว่า 1.2 ล้านไร่ มีผลผลิตรวมกันมากกว่า 1 ล้านตัน และในนาม สภาอาชีพเกษตรกร ของชาวสวนลำไยภาคเหนือได้ดำเนินการขอรับการช่วยเหลือเยียวยาภายหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้ราคาลำไยตกต่ำ ขาดแคลนแรงงาน การส่งออกลำไยมีปัญหา ปุ๋ยยามีราคาแพง ชาวสวนลำไยขาดทุนอย่างแสนสาหัส และได้นำปัญหาดังกล่าวเสนอต่อ คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมสภาผู้แทนราษฎร พร้อมยื่นหนังสืขอความช่วยเหลือเยียวยาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดใน 8 จังหวัดภาคเหนือ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา และในวันนี้พวกเราผู้นำเกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รวบรวมรายชื่อ 111,000 รายชื่อ เพื่อนำเสนอต่อ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะพรรคแกนนำหลักของรัฐบาล เพื่อขอทราบคำตอบดังนี้
1. เรื่องการเยียวยาให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 25 ไร่ ในฤดูกาล ปี 2564 นี้ จะได้รับการเยียวยาเมื่อใด เพื่อที่จะได้นำเงินไปเป็นตันทุนการผลิตลำไยคุณภาพในฤดูกาล ปี 2565 ต่อไป
2. พวกเราขอนำรายชื่อผู้นำ สมาชิกและครอบครัวจำนวน 111,000 รายชื่อ พร้อมกับ (ร่าง) พ.ร.บ.ลำไย พ.ศ….เสนอต่อพรรคการเมืองและรัฐบาล เพื่อพิจารณาดำเนินการในกระบวนการทางรัฐสภาโดยด่วนที่สุดต่อไป ให้สมกับคำว่า “ลำไยคือ พืชเศรษฐกิจของภาคเหนือ ข้าวภาคกลาง ยางภาคใต้ ลำไยภาคเหนือ”

“ทางสภาอาชีพเกษตรกร ขอขอบคุณ และขอส่งกำลังใจทั้งหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นดวงเป็นกำลังใจให้ท่านผ่านอุปสรรค์ทั้งปวง และให้ท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า “ลูกข้าวนึ่ง” ที่กล้าหาญและพร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้ามาสู่ภาคเหนือของเราอย่างเป็นรูปธรรม มีเอกภาพ มีผลงานที่จับต้องได้ โดยเฉพาะการเยียวยาชาวสวนลำไยไร่ละ 2,000 บาท ซึ่งในปีที่ผ่านมา ท่านได้ช่วยเหลือพวกเราในวงเงินสูงกว่า 3,400 ล้านบาท เราเชื่อมั่นใน สโลแกนของพรรค “ใจถึงพึ่งได้” และให้ความเชื่อมั่นในเลขาธิการพรรค ‘พูดคำไหน คำนั้น พร้อมกันนี้ขอขอบคุณท่านและคณะผ่านไปยังรัฐบาล ที่มองเห็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ และได้ให้การช่วยเหลือเป็นเบื้องต้นมาโดยลำดับ การเยียวยาเป็นการ “ต่อลมหายใจ และสร้างโอกาส” การตรากฎหมาย พ.ร.บ.ลำไย คือหัวใจของเกษตรกร” นายมานะ กล่าว

ที่มา : www.facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

ส.ส. อรุณ พปชร.เขต 4 สงขลา ฝากเรื่องด่วนถึง กรมชลฯ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

, ,

ส.ส.อรุณ พปชร.เขต 4 สงขลา ฝากเรื่องด่วนถึง กรมชลฯ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมรับมือกับมรสุมคลื่นลมแรงฝนตกหนัก เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำออกทะเลอ่าวไทย สร้างเชื่อมั่นปชช.ชาวใต้ไม่เกิดน้ำท่วมซ้ำอีกเช่นทุกปี

เมื่อเร็วๆนี้ ร้อยตำรวจเอก อรุณ สวัสดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 4 จังหวัดสงขลา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ว่าเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม ของทุกปีภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออกฝั่งอ่าวไทยจะเกิด ลมพายุ มรสุมคลื่นลมแรงฝนตกหนักโดยเฉพาะพื้นที่ 4 อำเภอคาบสมุทรสทิงพระ ของจังหวัดสงขลา จะเกิดน้ำท่วมทุกปี และเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
ดังนั้นตน ผู้นำท้องถิ่น และฝ่ายปกครอง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหา และหาทางแก้ไข..นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา และรับทราบถึงปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากฝนที่ตกหนัก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากการไหลผ่านของปริมาณน้ำที่มาจากจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ลงสู่ทะเลสาบสงขลา และส่งผลให้การระบายน้ำอาจจะไม่ทัน ทำให้น้ำล้นเข้าท่วมคาบสมุทรสทิงพระที่ครอบคลุมทั้ง 4 อำเภอดังกล่าว

ทั้งนี้ยังได้รับการรายงานจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ว่าฝนตกหนักเป็นเวลา 3 วันแล้ว ตอนนี้น้ำในคลองเริ่มเต็มลำคลอง และเอ่อล้น ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลานายเจษฎา จิตรัตน์ ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันภัยฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย

อีกทั้งตนยังได้เสนอแนะไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เร่งเข้ามาบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างเร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบให้กับพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงที โดยอยากให้กรมชลประทาน ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเครื่องสูบน้ำ มาติดตั้งตามปากคลองต่างๆ ประมาณ 8-9 จุด ได้แก่ ปากคลองปากระวะ ตำบลคลองแดน วัดศาลาหลวงที่ตำบลท่าบอน คลองโคกทองเส้นโรงพยาบาลระโนด คลองปากแตระ คลองพังยาง คลองพังเค็ม ตำบลบ่อตรุ คลองช้าง ตำบลดีหลวง คลองสนามชัย คลองปะโอ เเละฝั่งทะเลสาบสงขลา ตรงปากครองระโนด ปากคลองเฉียงพง คลองโรง คลองกาหรำ คลองโคกพระ คลองเชิงแส คลองโหน คลองทุ่งบัว ซึ่งหากติดตั้งแล้วเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยลดผลกระทบน้ำท่วมขังในพื้นที่ได้อย่างแน่นอน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“ส.ส.นิพันธ์” หารือผู้นำพื้นที่เมืองตรัง วางมาตรการคุมการระบาดโควิด-19

,

“ส.ส.นิพันธ์” หารือผู้นำพื้นที่เมืองตรัง วางมาตรการคุมการระบาดโควิด-19 พร้อมมอบถุงยังชีพส่งต่อความห่วยใยถึงปชช.

นายนิพันธ์ ศิริธร ส.ส.จังหวัดตรัง เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ

ให้การต้อนรับคณะกำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ ต.นาพละ ต.นาโยงใต้ และ ต.น้ำผุด อ.เมือง เพื่อหารือถึงมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.ตรัง ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอยู่ที่หลักร้อย กระจายในหลายตำบล พร้อมหาแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกนี้ด้วย

“ได้มอบถุงยังชีพซึ่งบรรจุด้วยเครื่องใช้อุปโภค บริโภค และยาเวชภัณฑ์มอบให้กับตัวแทนในแต่ละตำบลนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในแต่ละครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว ในโอกาสนี้ได้ให้กำลังใจผู้นำทุกท่านที่เสียสละตัวเองช่วยกันดูแลพี่น้องในประชาชนในพื้นที่ด้วย” นายนิพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรค และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ มีความห่วงใยประชาชนได้มอบหมายให้ ส.ส.ในพื้นที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเพื่อเข้าถึงการรักษาในระบบสาธารณสุข

ด้วยความห่วงใย นิพันธ์ ศิริธร ผู้แทนคนตรัง
ส.ส.ตรังเขต 1 พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“ส.ส.ทัศนาพร” แจกถุงยังชีพต่อเนื่อง บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม-โควิด-19

, ,

“ส.ส.ทัศนาพร” แจกถุงยังชีพต่อเนื่อง บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม-โควิด-19 ให้ชาวโคราช

นางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา เขต 8 พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ใน ต.ทองหลาง (4 หมู่บ้าน) อ.จักราช จ.นครราชสีมา พร้อมนำถุงยังชีพไปมอบให้ จำนวน 800 ชุด เพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และได้รับความเดือดร้อนการแพร่ระบาดโควิด-19 พื้นที่ นอกจากนี้ได้มอบหมวก เพื่อเป็นของที่ระลึก ให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่

อย่างไรก็ตามจะเร่งมอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เพื่อสร้างกำลังใจให้ประชาชนในพื้นที่ให้ก้าวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้ประสบภัยน้ำท่วมจึงมอบหมายให้ ส.ส.ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และนำถุงยังชีพที่พรรคสนับสนุนไปมอบให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 12 พฤศจิกายน 2564

“ดร.นฤมล” ผนึกทีม ส.ส.กรณิศ เดินหน้าช่วยเหลือชาวคลองเตย-วัฒนา

, ,

“ดร.นฤมล” ผนึกทีม ส.ส.กรณิศเดินหน้าช่วยเหลือชาวคลองเตย-วัฒนา เปิดโฉมว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. พร้อมทำงานเข้าพื้นที่แก้ปัญหาชุมชนตรงจุด

“ดร.นฤมล” พร้อมทีมงาน ลงพื้นที่ฟังเสียงสะท้อนประชาชนเขตคลองเตย-วัฒนา เพื่อแก้ปัญหาปากท้องให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวบรวมข้อมูลทุกประเด็น สู่การวางนโยบาย ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน พร้อมฝากตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เข้ามาทำงาน ดูแลประชาชนในพื้นที่

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะตัวแทนของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ,ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยนางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กรุงเทพฯ เขตคลองเตย-วัฒนา พรรคพลังประชารัฐ ได้ลงพื้นที่พร้อมกับนายต่อศักดิ์ ใหลสุวรรณ ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตคลองเตย และ นาย พลศักดิ์ แดงบัว ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)เขตวัฒนาพบปะประชาชนพูดคุย และรับฟังปัญหาความเดือดร้อนเรื่องปากท้องประชาชนซึ่งส่วนใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าว เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หาเช้ากินค่ำ และผู้ด้อยโอกาส ที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต้องแก้ปัญหาแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ด้วยการผลักดันให้เป็นนโยบายเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่ชาวชุมชนต้องการ

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ส.ส.ในพื้นที่ได้ดำเนินการด้านการส่งเสริมอาชีพ ควบคู่ไปกับการสร้างงานและการสร้างรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับโควิด 19 และยังดูแลด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงเข้าไปดำเนินการติดตั้งไฟส่องสว่าง ใช้ระบบโซล่าร์เซลล์ตามตรอกซอกซอยต่างๆ และ ยังช่วยเหลือการเข้าถึงระบบด้านสาธารณสุขในช่วงการแพร่ระบาด ด้วยการจัดหารถวีลแชร์ และบริการรถฉุกเฉินรับส่งผู้ป่วย เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

ศ.ดร.นฤมล กล่าวด้วยว่า ในอนาคตเชื่อว่าพรรคพลังประชารัฐจะสามารถเข้าถึงปัญหา และรับใช้ประชาชนได้มากขึ้นเพราะ ขณะนี้ พรรคอยู่ระหว่างการจัดทัพ เพื่อที่จะมีการวางตัว ส.ก. โดยผู้สมัครทุกเขต พรรคล้วนแต่คัดสรรบุคลากร ที่มีทั้งความรู้ ความสามารถ และมีความตั้งใจจริงที่จะเข้ามาดูแลประชาชนและพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ในพรรคได้มีการหารือ ร่วมกับ สส ทั้ง 12 คน ที่ต้องการให้มีการสนับสนุนผู้สมัคร สก และคนรุ่นใหม่ ที่มีความประสงค์จะเข้ามาทำงาน โดยจะเสนอไปยังพล.อ ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพปชร เพื่อนำไปสู่แผนการจัดทีมผู้สมัครในทุกเขต ผ่านการสนับสนุนของสส.และว่าที่สส. เพื่อจัดทีมการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่า ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่

นอกจากนี้ยังได้มอบถุงยังชีพ “เราจะไม่ทิ้งกัน” ให้กับชุมชนในพื้นที่ ประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ซึ่งแทนความห่วงใยจาก พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่มอบหมายให้ตนเองและคณะทีมงานเป็นตัวแทนในการมอบให้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

นางกรณิศ งามสุคณธ์รัตนา ส.ส. เขตคลองเตย -วัฒนา พปชร. กล่าวว่า ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. ทั้งสองคนพร้อมที่จะเข้ามาดูแลประชาชนทั้งสองเขต ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านความเป็นอยู่ และ ด้านสุขอนามัย ซึ่งพร้อมทำงานเป็นทีม เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ เห็นว่าการทำงานระดับชาติ และท้องถิ่นควรเป็นทีมเดียวกัน เวลาประชาชนร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจะได้มีการประสานในทีมเดียว จากท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติ เพราะรู้ว่า ชุมชน ใน 2 เขต นี้ต้องการอะไร มีเรื่องเดือดร้อน พร้อม แก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ขอขอบคุณหัวหน้าพรรคในการสนับสนุนถุงยังชีพ ถุงปันสุข ให้กับชุมชนเทพประทาน 1,000 ชุด ในครั้งนี้ เป็นการแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งชุมชนดังกล่าวมีทั้งผู้ติดเชื้อ และ ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งเรายังทำงานอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัย เป็น สก. มา 2 สมัย”

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 8 พฤศจิกายน 2564

ศ.ดร. นฤมล ลงพื้นที่บางพลัดฟังปัญหาน้ำท่วม หนุน ส.ส. จักรพันธ์ บูรณาการแผนฯ

, ,

“ศ.ดร.นฤมล” รวมพลังทีม ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ฝั่งธนบุรี รุดดูแลพบปะชุมชนย่านบางพลัด หลังเผชิญปัญหาน้ำท่วมฉับพลันจากน้ำทะเลหนุนสูงเข้าท่วมบ้านเรือน เร่งแผนบูรณาการประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก แนะบางพื้นที่ต้องเสริมแนวเขื่อนลดช่องโหว่น้ำทะลักเข้าพื้นที่

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ, นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางพลัด-บางกอกน้อย พรรคพลังประชารัฐ พร้อมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ประกอบด้วย พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง, นายศันสนะ สุริยะโยธิน, นายสิริณรินทร์ วินิจฉายะจินดา, นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา, นายอิทธิพัทธ์ เศรษฐยุกานนท์ และนายศุภวัฑฒ์ วัฒนมงคล ลงพื้นที่พบปะและตรวจเยี่ยมชุมชนในเขตบางพลัด โดยเฉพาะในชุมชนเจ้าพระสยาม, ชุมชนศาลเจ้าปุงเถ่ากง, ชุมชนจรัญฯ 66/1 และชุมชนวังเจ้าพร้อม ที่ประสบภัยน้ำท่วมจากภาวะน้ำทะเลหนุนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการประสานงานไปยังกรุงเทพมหานครและกรมชลประทาน ในการแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าในการรับมือกับมวลน้ำที่เกิดขึ้นให้

ทั้งนี้ พปชร. เรามีความพร้อมในเรื่องของ ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ในการเข้ามาดูแลและช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่ม ส.ส.ที่ทำหน้าที่ในปัจจุบัน และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการทำงานของพรรคฯ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก จำเป็นที่จะต้องเข้าบูรณาการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในฐานะที่ พปชร. เป็นแกนนำของรัฐบาล จะนำปัญหาต่างๆ เข้าสู่กระบวนการหาแนวทางช่วยเหลือในการวางแผนบริการจัดการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาวกับประชาชน

นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางพลัด-บางกอกน้อย พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ในพื้นที่เขตบางพลัดและพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการทำโครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ แต่ยังไม่สามารถทำได้ครบ 90 กิโลเมตร เนื่องจากมีบางพื้นที่เป็นของภาคเอกชน ดังนั้นอยากให้หน่วยงานรัฐโดยเฉพาะ กทม. ประสานขอความร่วมมือ เพื่อก่อสร้างเขื่อนปิดช่องว่างซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันทำได้เพียงแค่การกั้นกระสอบทรายเป็นเขื่อนชั่วคราว ซึ่งทำให้บางครั้งเกิดกระแสน้ำและคลื่นจากการสัญจรทางน้ำของเรือทำให้กระสอบทรายได้รับความเสียหาย ทำให้น้ำทะลักเข้าสู่บ้านเรือนประชาชน

ดังนั้น ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จะนำปัญหาเหล่านี้ไปสู่การเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี เพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้จัดถุงยังชีพในโครงการ “เราจะไม่ทิ้งกัน” ที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคฯ ที่มีความห่วงใยประชาชน และเน้นย้ำถึงปฏิบัติการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่ประชาชนได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

ที่มา : www.dailynews.co.th
เมื่อวันที่ : 9 พฤศจิกายน 2564

“ตรีนุช” เตรียมนำ 2 รมช. ศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้

, ,

“ตรีนุช” เตรียมนำ 2 รมช.ศึกษาธิการ แบ่ง 3 สาย ลงพื้นที่ตรวจการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ก่อนการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.กระบี่ กำชับตรวจราชการเรียบง่าย

​นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ณ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) ระหว่างวันที่ 15 – 16 พฤศจิกายน 2564 นั้น กระทรวงศึกษาได้แบ่งสายการตรวจราชการ ซึ่งสายแรกนำโดยตน ช่วงเช้าวันที่ 15 พ.ย.จะประชุมหัวหน้าส่วนราชการทางการศึกษาจังหวัดกระบี่ เพื่อติดตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และการให้บริการช่วยเหลือประชาชน โดยศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ณ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จากนั้นช่วงบ่ายจะเยี่ยมบ้านนักเรียน ตามโครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ของสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และตรวจติดตามการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และรับฟังปัญหาจากชุมชนโดยรอบโรงเรียนบ้านคลองม่วง อำเภอเมืองกระบี่

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า สายที่ 2 นำโดย คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ.ช่วงเช้าจะลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ และศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาวิชาพาณิชยกรรมและบริการฐานวิทยาศาสตร์ สาขางานเทคโนโลยีการท่องเที่ยว เยี่ยมชมห้องเรียน ห้องสปา และห้องฟิตเนส ที่วิทยาลัยเทคนิคพังงา ส่วนช่วงบ่ายร่วมติดตามภารกิจกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นางสาวตรีนุช กล่าวอีกว่า สายที่ 3 นำโดยนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ. จะลงพื้นที่ 2 วัน คือวันที่ 14 พ.ย.จะติดตามผลการขับเคลื่อนโครงการ NFE Data Map : ปักหมุดสร้างโอกาสทางการศึกษาของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสของพื้นที่จังหวัดระนอง และติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.)จังหวัดระนอง ที่ กศน.อำเภอกะเปอร์ จากนั้นไปเยี่ยมบ้านผู้พิการที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาของ กศน.ในอำเภอสุขสำราญ จากนั้นจะไปเยี่ยมบ้านผู้พิการที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาของ กศน. ในจังหวัดพังงา รวมทั้งตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนประจำภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ณ โรงเรียนประกอบธรรมอิสลาม อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ส่วนวันที่ 15 พ.ย. ช่วงเช้าจะติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย และการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสใน 5 จังหวัดกลุ่มอันดามัน ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดกระบี่ และประชุมติดตามการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน ณ โรงเรียนสังข์ทองวิทยา รวมถึงเปิดศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัยตำบลเหนือคลอง และห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด ตามโครงการพระราชดำริฯ ณ ศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

“ในวันที่ 16 พ.ย.2564 ดิฉันพร้อมด้วย 2 รมช.ศธ.จะเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ณ โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรากอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ดิฉันขอให้คำนึงถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และได้กำชับให้ส่วนราชการปฏิบัติตามนโยบายในการลงพื้นที่ตรวจราชการ 6 ข้อ คือ
1. จัดบุคลากรเข้าร่วมโดยให้มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนน้อยที่สุด
2. การลงพื้นที่ต้องไม่เป็นภาระของหน่วยงานในการต้อนรับ
3. ดำเนินการโดยประหยัดเท่าที่จำเป็นและเรียบง่าย
4. งดแผ่นป้ายที่ไม่จำเป็นในการต้อนรับ
5. การรายงานข้อมูล/การนำเสนอข้อมูลให้กระชับและตรงประเด็น
6. ไม่ต้องจัดให้มีของฝากหรือของที่ระลึก ”
รมว.ศธ.กล่าว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 11 พฤศจิกายน 2564

อธิรัฐ สั่งการเจ้าท่าคุมความเร็วเรือ และท่าเรือโดยสาร ลดผลกระทบช่วงน้ำทะเลหนุน

,

อธิรัฐ สั่งการเจ้าท่าคุมความเร็วเรือ และท่าเรือโดยสาร ลดผลกระทบช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากเหตุน้ำทะเลหนุนสูงประกอบกับน้ำเหนือไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในระยะนี้ ส่งผลให้หลายพื้นที่ตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ จ.นนทบุรี กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ และในลำคลองต่างๆ ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่ง เอ่อเข้าท่วมพื้นที่อยู่อาศัย บ้านเรือน และถนนหลายสาย ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชน ตนได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าเร่งดำเนินการ

1. กำหนด ควบคุม และลดความเร็วในการเดินเรือโดยเฉพาะพื้นที่ที่ระดับน้ำสูง เพื่อป้องกันคลื่นจากเรือกระทบบ้านเรือนประชาชนหรือกำแพงกระสอบทรายที่ใช้ในการป้องกันน้ำ ไม่ให้ได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย
2. จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ออกตรวจ พื้นที่ท่าเทียบเรือโดยสารให้มีความปลอดภัย และไม่กระทบต่อการให้บริการประชาชน แต่หากท่าเรือใดได้รับผลกระทบจากระดับน้ำขึ้นสูง บริเวณอาคารที่พักผู้โดยสาร ทางเดิน เพื่อขึ้นลงเรือ ทั้งท่าเรือเอกชนและท่าเรือสาธารณะ ให้จัดทำทางเดินชั่วคราวที่สะดวกและปลอดภัยในการขึ้นลงเรือ
3. ประสานกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรืออย่างใกล้ชิดเพื่อทราบข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลงล่วงหน้า สำหรับใช้ในการวางแผนเพื่อการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อประชาชน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 11 พฤศจิกายน 2564