โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

รมว.ธรรมนัส หารือร่วมกับ RSPO มุ่งยกระดับผลิตปาล์มน้ำมัน พร้อมผลักดันสินค้าจากปาล์มน้ำมันสู่การแข่งขันในตลาดโลก

, ,

รมว.ธรรมนัส หารือร่วมกับ RSPO มุ่งยกระดับผลิตปาล์มน้ำมัน พร้อมผลักดันสินค้าจากปาล์มน้ำมันสู่การแข่งขันในตลาดโลก

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ นาย โจเซฟ เดอ ครูซ ประธานบริหารของ Roundtable on Sustainable Palm Oil : RSPO โดยมี นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องรับรองพิเศษ 201 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำมันปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปลูกปาล์มน้ำมันยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Climate – friendly Palm Oil Production and Procurement in Thailand : SCPOPP) โดยกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในการผลิตน้ำมันปาล์ม เพิ่มความยั่งยืนในการผลิตน้ำมันปาล์มทั้งทางสิ่งแวดล้อมและสังคม และสนับสนุนเกษตรกรในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกษตรกร พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก

นอกจากนี้ RSPO มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันที่สอดคล้องกับโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะยกระดับมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศไทยอย่างยั่งยืน กระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะสนับสนันและยินดีร่วมมือกับ RSPO เพื่อประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร และเป็นแนวทางในการเปิดตลาดใหม่สำหรับน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต่อไป

ทั้งนี้ RSPO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปลูกและใช้ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และยังมีสำนักงานตัวแทนอยู่ในอินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ จีน และโคลัมเบีย ปัจจุบัน สมาชิกของ RSPO มากกว่า 5,000 ราย มาจากหลายภาคส่วนทั้งบริษัทผู้ปลูก ผู้ค้าและผู้ผลิตสินค้าแปรรูป สถาบันการเงินและ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากประเทศผู้ผลิตหรือใช้น้ำมันปาล์ม RSPO

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 เมษายน 2567

“รมว.ธรรมนัส” ขึ้น เชียงใหม่ Kick Off “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” เดินหน้า 56 จังหวัด พื้นที่เสี่ยงต่อการเผา มุ่งลดฝุ่น PM 2.5 แก้ภาวะโลกร้อน

,

“รมว.ธรรมนัส” ขึ้น เชียงใหม่ Kick Off “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” เดินหน้า 56 จังหวัด พื้นที่เสี่ยงต่อการเผา มุ่งลดฝุ่น PM 2.5 แก้ภาวะโลกร้อน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” ที่จัดขึ้นโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีศูนย์กลางการจัดงาน ณ บ้านแม่กุ้งบก ตำบลสันกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอีก 55 จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการเผา (Hot Spot) ทั่วประเทศ โดยถ่ายทอดสดพร้อมกันผ่านระบบ Zoom Conference Meeting และ Facebook Live ผ่านเพจเฟซบุ๊กกรมพัฒนาที่ดิน โดย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วม Kick Off ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี และนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วม Kick Off ณ บ้านศิลาทอง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ซึ่งภายในงานมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน หมอดินอาสา เกษตรกร และประชาชน เข้าร่วมงานทั่วประเทศกว่า 20,000 ราย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการเผาพื้นที่ป่าไม้และวัสดุทางการเกษตรเพื่อเตรียมแปลงปลูกพืชในฤดูถัดไป ซึ่งเป็นการสร้างมลพิษทางอากาศนำไปสู่ภาวะโลกร้อน พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายโครงสร้างดินที่เหมาะสม และทำลายห่วงโซ่อาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) และให้บรรลุเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2613 ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ในเวทีโลก ซึ่งการจัดงานในวันนี้ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันเพื่อหยุดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาจากการเผาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรดิน จึงขอให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจ ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยต่อไป

ด้าน นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ตอซังข้าว ข้าวโพด และอื่น ๆ เปลี่ยนมาใช้วิธีไถกลบตอซังพืชแทนการเผา ซึ่งเศษวัสดุการเกษตรเหล่านี้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช แต่เกษตรกรยังขาดการจัดการที่เหมาะสม มีการเผาทิ้งหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินแล้ว ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป เนื้อดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำลายจุลินทรีย์ดินและแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และที่สำคัญเป็นสาเหตุทำให้เกิดหมอกควัน และฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน และรัฐบาลได้ประกาศให้ปัญหาหมอกควันเป็นปัญหาวิกฤติสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน การจัดงานรณรงค์ “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” ประจำปีงบประมาณ 2567 ในวันนี้เพื่อปลุกจิตสำนึก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร ทำการเกษตรโดยไม่เผา หันมาไถกลบตอซัง เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน และสาธิตวิธีการไถกลบตอซังที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่เกษตรกรนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากการเผาตอซังพืช ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย สาธิตการไถกลบตอซังพืช โดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นผู้นำขบวนรถไถ เพื่อไถกลบตอซังพืชพร้อมกันทั่วประเทศ รวมทั้งมี

การแจกเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดให้เกษตรกรร่วมหว่านเมล็ดพันธุ์ในแปลงสาธิตอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” นั่งประธานแก้ปัญหาประมงทะเลเห็นชอบเพิ่มวันทำประมงสูงสุด 50 วัน 
เตรียมเดินหน้าโครงการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน มุ่งแก้หนี้พี่น้องเกษตร

,

“รมว.ธรรมนัส” นั่งประธานแก้ปัญหาประมงทะเลเห็นชอบเพิ่มวันทำประมงสูงสุด 50 วัน

เตรียมเดินหน้าโครงการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน มุ่งแก้หนี้พี่น้องเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 2/2566 โดยมีนายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบการเพิ่มวันทำการประมงให้กับเรือที่ใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระหนี้สินของชาวประมง รวมถึงเป็นการนำสัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามค่าปริมาณสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตทำการประมง ปีการประมง 2566 โดยแบ่งเป็น 1)ฝั่งอ่าวไทย กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์หน้าดินเพิ่มวันทำการประมง 50 วัน กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำเพิ่มวันทำการประมง 50 วัน และกลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตักเพิ่มวันทำการประมง 30 วัน 2)ฝั่งอันดามัน กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์หน้าดินเพิ่มวันทำการประมง 20 วัน กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำเพิ่มวันทำการประมง 30 วัน และกลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตักเพิ่มวันทำการประมง 50 วัน ซึ่งการจัดสรรวันทำการประมงเพิ่มเติมสำหรับเรือประมงแต่ละลำขึ้นอยู่กับจำนวนวันทำการประมงที่เหลืออยู่ของเรือประมงลำนั้น นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) กฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับภาคการประมง จำนวน 9 ฉบับ พร้อมสั่งการให้เร่งดำเนินการออกประกาศกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องชาวประมงอีกด้วย

ทั้งนี้ รมว.ธรรมนัส ได้ให้ความสำคัญกับการกำจัดกลไกการลักลอบนำเข้าสินค้าประมงผิดกฎหมายสู่ราชอาณาจักรไทย โดยกำชับการเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้า และการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าประมงตกต่ำ พร้อมทั้งเตรียมจัดทำโครงการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน โดยมอบหมายให้กรมประมงหารือร่วมกับพี่น้องชาวประมงทั้งประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ธันวาคม 2566

“กระแสร์” ขอบคุณ “รมว.ธรรมนัส” แทนชาวหนองคาย หลัง มอบ ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกรทั่วประเทศ

,

“กระแสร์” ขอบคุณ “รมว.ธรรมนัส” แทนชาวหนองคาย หลัง มอบ ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกรทั่วประเทศ

นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดหนองคายต้องขอขอบคุณ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้มาตรวจเยี่ยม พบปะเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ พร้อมมอบนโยบายเรื่องการปฏิรูปที่ดินการเกษตรและสหกรณ์ อีกทั้งยังได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกร จำนวน 30 ราย และมอบเมล็ดพันธุ์ผักและต้นกล้าผักให้กับตัวแทนชุมชน รวมถึงมอบเงินโครงการเกษตรกรชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อยกระดับด้วยเศรษฐกิจฐานราก

“ร.อ.ธรรมนัส ได้ชี้แจงเรื่องปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรให้ประชาชนเข้าใจ และท่านยังหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนชาวตำบลหาดคำ ที่เข้าพบเพื่อขอให้ช่วยเหลือเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดิน หลังจากอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวมานาน ซึ่งต้องขอขอบคุณที่กระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินนโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร เพราะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงสิทธิและแหล่งทุนมากขึ้น รวมทั้งมีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย“นายกระแสร์ กล่าว

นายกระแสร์ กล่าวต่อว่า อีกนโยบายหนึ่งที่น่าชื่นชมก็คือ จุดบริการรับยื่นคำร้องขอออกโฉนดเพื่อการเกษตร ที่จะช่วยเหลือให้ประชาชนมีที่ปรึกษาและเข้าใจในเรื่องกฎหมายได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่รัฐบาลแจกในครั้งนี้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ชิ้นสำคัญของเกษตรกรทั่วประเทศอย่างแท้จริง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่เขตหนองจอก แก้ ‘จน เจ็บ เจ๊ง’ ให้พี่น้องเกษตรกร เตรียมประกาศรับรอง 8 สายพันธุ์ข้าวปลูกได้ทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวไม่เกิน 95 วัน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่เขตหนองจอก แก้ ‘จน เจ็บ เจ๊ง’ ให้พี่น้องเกษตรกร เตรียมประกาศรับรอง 8 สายพันธุ์ข้าวปลูกได้ทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวไม่เกิน 95 วัน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะและรับฟังปัญหาจากเกษตรกร สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร พร้อมหว่านข้าวในแปลงนา โดยใช้โดรนเป็นนวัตกรรมใหม่ และปลูกต้นไม้มงคล ณ โรงสีข้าวชุมชน หมู่ 6 ก้าวหน้า คลองสิบสอง เขตหนองจอก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว เตรียมประกาศรับรอง 8 สายพันธุ์ ในเดือนเมษายน ปี 2567 ครอบคลุมข้าวหลายชนิด เช่น ข้าวพื้นนุ่ม ข้าวหอม ข้าวบาเล่ ข้าวสาลี และข้าวญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งทั้ง 8 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 95 วัน เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในเขตภาคกลางทั้งหมดจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับรองรับความต้องการ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่นาปรังทั้งหมด ประมาณ 6 ล้านไร่ อีกทั้งยังต้องการให้รับรองข้าวเจ้าหอม มช 10-1 ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นข้าวที่มีระยะเวลาการปลูกน้อย ผลผลิตเยอะ และมีความเป็นข้าวหอมมะลิถึง 92% มีกลิ่มหอม นุ่ม และรูปทรงสวยงาม ปัจจุบันสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีอยู่ระหว่างการทดลองและปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการรับของกรมการข้าวต่อไป

นอกจากนี้ ยังรับฟังและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ และราคาข้าว ที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องหามาตรการช่วยเหลือให้พี่น้องชาวนามีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ เขตหนองจอกเป็นเขตที่มีขนาดใหญ่สุดใน กทม. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ตามที่ตั้งแปลง ปี 2566/67 เขตหนองจอก จำนวน 2,047 ครัวเรือน พื้นที่ 49,485 ไร่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมนายกฯลงพื้นที่ กาญจนบุรี แก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนสร้างความมั่นคงในชีวิตปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมนายกฯลงพื้นที่ กาญจนบุรี แก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนสร้างความมั่นคงในชีวิตปชช.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ณ จุดรวมพลอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพี่น้องประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ยาเสพติด จัดสรรพื้นที่ทำกิน ค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความมั่นใจกับประชาชนว่ารัฐบาลจะทำงานแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่
จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เดินชมนิทรรศการสินค้า OTOP สินค้าวิสาหกิจชุมชน อาทิ น้ำอินทผลัมบาฮีผลสด เต่งเชียงปลายี่สก น้ำแกงส้มปรุงสำเร็จ ขนมกล้วยน้ำว้าแปรรูปบานาน่า ขนมทองโย๊ะหรือหมี่สิ รวมถึงคูหาจัดแสดงอัญมณีของจังหวัด (พลอย และนิล) ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้งรับฟังการนำเสนอแนวทางแก้ไขสำหรับการพัฒนาจังหวัด อาทิ แก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนโดยบูรณาการจากทุกภาคส่วนเพื่อจัดทำ One Map การเร่งรัดพิจารณาการจัดสรรที่ดินที่ไม่ได้ใช้งานให้เกษตรกร เร่งช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ เมื่อปี 2547 และขอผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับข้อเสนอของทางจังหวัด และมอบหมายให้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจรจาความร่วมมือกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทับซ้อนและดำเนินการจัดทำ One Map ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะได้เยี่ยมชมสะพานข้ามแม่น้ำแคว และได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้นักท่องเที่ยวสนใจเที่ยวเมืองรอง เนื่องจากกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และมีศักยภาพหลายด้าน สามารถยกระดับเป็นเมืองถ่ายทำภาพยนตร์ระดับโลกได้อีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 ธันวาคม 2566

รมว.ธรรมนัส พร้อมยกระดับ “ไหมไทย” เพิ่มมูลค่า สู่ Soft Power ร่วมงาน กรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี สืบสานภูมิปัญญสู่ความยั่งยืน

,

รมว.ธรรมนัส พร้อมยกระดับ “ไหมไทย” เพิ่มมูลค่า สู่ Soft Power ร่วมงาน กรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี สืบสานภูมิปัญญสู่ความยั่งยืน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน
วันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 14 ปี “14 ปี กรมหม่อนไหม สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่ความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 6 ธันวาคม 2566 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ กรมหม่อนไหม ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหม จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร อันนำมาสู่การสถาปนา กรมหม่อนไหมขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริม วิจัย และพัฒนาหม่อนไหมทั้งระบบ รวมถึงการอนุรักษ์สืบสานศิลปหัตถกรรม
ภูมิปัญญาไหม ให้คงอยู่คู่ประเทศไทย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ รวมถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและภารกิจสำคัญของกรมหม่อนไหมที่ดำเนินงานต่อไปในอนาคต ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหมได้ดำเนินงานภายใต้ภารกิจสำคัญเพื่อทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีอาชีพและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี และนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้การตลาดนำการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาสินค้าผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับมุ่งสู่ Soft Power ของไทย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยด้านหม่อนไหม พร้อมแสดงความยินดีถึงต้นแบบในการดำเนินการพัฒนางานด้านหม่อนไหม รวมทั้งมีส่วนช่วยเหลืองานด้านหม่อนไหมทั้งในระดับดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของกรมหม่อนไหม แนวทางการยกระดับ “หม่อนไหมพะเยา” สู่ความยั่งยืน การยกระดับผลิตภัณฑ์หม่อนไหมรองรับ BCG Model ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดหนองบัวลำภู (ผ้าหมี่สลับขิด) การพัฒนาผ้าไหมยกดอกลำพูน ด้วยภูมิปัญญาโดยใช้เส้นไหมไทย เทคโนโลยีพันธุ์ไหมที่เหมาะสมแก่การผลิตผ้าห่มใยไหม
การผลิตเส้นไหมไทยสาวมือ มกษ.5900-2565 Buriram Model และการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมระบบแปลงใหญ่ เป็นต้น รวมถึงภายในงานมีการจัดจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์หม่อนไหมจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่บึงกาฬ มอบนโยบายส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพ มุ่งเพิ่มผลผลิตสร้างราคาต่อไร่เพิ่มรายได้เกษตรยั่งยืน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่บึงกาฬ มอบนโยบายส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพ มุ่งเพิ่มผลผลิตสร้างราคาต่อไร่เพิ่มรายได้เกษตรยั่งยืน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมการดำเนินการของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวบึงกาฬ ณ ต.ดอนหญ้านาง อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวเป็นศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร โดยเป็นศูนย์บริการร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถามขอทราบข้อมูลด้านข้าว ดำเนินกิจกรรมในเรื่อง 1) การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวสู่เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างการผลิตข้าวคุณภาพดี สร้างความเข็มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวภายใต้โครงการและกิจกรรมของกรมการข้าว รวมถึงส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และควบคุม กำกับการใช้และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านการรับรอง โดยผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ กข22 พันธุ์ กข6 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 เป้าหมายการผลิตปี 2566 จำนวน 1,900,000 กิโลกรัม และ 2) เป็นโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้แก่กษตรกรในจังหวัดบึงกาฬได้ 3,814 ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ 39,624 ไร่ จำนวนเมล็ดพันธุ์ 578,000 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในอนาคตมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จากเดิม 1,900,000 กิโลกรัม เป็น 2,500,000 กิโลกรัม ภายในปี 2569 เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวและส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมทั้งการผลิตข้าวคุณภาพดี และการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวของเกษตรกร

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมการข้าว มีแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้คุณภาพ โดยในพื้นที่จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ มีศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวนหลายพันธุ์ อาทิ ข่าวเหนียวพันธุ์ กข 22 ผลผลิตเฉลี่ย 684 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวเจ้าคุณภาพพิเศษ พันธุ์ กข83 (มะลิดำหนองคาย 62) ผลผลิตเฉลี่ย 640 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นต้น ซึ่งการปรับปรุงเมล็ดข้าวพันธุ์ดี จะทำให้ชาวนามีผลผลิตข้าวต่อไร่เพิ่มขึ้น และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส“ เปิดปฏิบัติการ”พญานาคราช” ลุยตรวจป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย รักษาประโยชน์เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส“ เปิดปฏิบัติการ”พญานาคราช” ลุยตรวจป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย รักษาประโยชน์เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดปฏิบัติการพิเศษ “พญานาคราช” ป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งการจัดงานดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงจัดขึ้น เพื่อประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยภายในงานมีการมอบธงและปล่อยขบวนชุดปฏิบัติการพิเศษ 4 ชุด ได้แก่ พญานาคราช (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ฉลามขาว (กรมประมง) พญาไท (กรมปศุสัตว์) สารวัตรเกษตร (กรมวิชาการเกษตร) ออกปฏิบัติการฯ พร้อมเปิดทุกกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมง ตั้งแต่การ X-Ray ตู้สินค้าประมงนำเข้าเพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบสินค้าภายในตู้ และการเปิดตู้คอนเทนเนอร์เพื่อตรวจสอบสินค้าประมงนำเข้า ตลอดจนนำเสนอนิทรรศการกระบวนการตรวจสินค้าเกษตรนำเข้า (พืช ประมง ปศุสัตว์) ให้ได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง
“ต่อจากนี้ ชุดปฏิบัติการพิเศษ “พญานาคราช” จะดำเนินการตรวจสอบสินค้าภาคการเกษตรทุกประเภทที่นำเข้าสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย ที่ไม่ผ่านขั้นตอนของศุลกากร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมวิชาการเกษตร โดยจะใช้ชุดปฏิบัติการนี้ในการป้องกัน ปราบปราม ตรวจยึด และดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายผมและท่านไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเข้มข้น ซึ่งจะเห็นการปราบปรามอย่างจริงจังภายใต้การทำงานของทั้ง 4 หน่วยงาน ที่สามารถเข้าตรวจค้นได้ทุกที่โดยไม่ต้องขอหมายศาล” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว
ด้านนายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ (พญานาคราช) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพไทย สำนักงานอัยการสูงสุด กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร จำนวนกว่า 70 นาย เพื่อร่วมบูรณาการปราบปรามการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และกำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการในการขับเคลื่อนการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากการลักลอบนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยชุดปฏิบัติการพญานาคราช ภายใต้การกำกับดูแลและขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะดำเนินการเร่งรัด ตรวจสอบ ติดตาม จับกุมผู้ลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย เสริมทัพความเข้มแข็งให้กับชุดปฏิบัติการพิเศษ (เดิม) ของกรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และต้องมีการรายงานผลการทำงานให้รัฐมนตรีฯ ทราบทุก 15 วัน

สำหรับในปี 2565 ประเทศไทยมีผลผลิตประมงที่ได้จากการจับจากธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงทั้งหมด 2.39 ล้านตัน และมีการนำเข้าสินค้าประมงปริมาณ 2.19 ล้านตัน มูลค่า 158,431 ล้านบาท โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง ปริมาณ 808,539 ตัน ทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 727,709 ตัน หมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 182,049 ตัน เพื่อบริโภคภายในประเทศและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยมีปริมาณการส่งออกสินค้าประมงรวม 1.60 ล้านตัน มูลค่า 229,123 ล้านบาท ซึ่งสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง 76,633 ล้านบาท กุ้งและผลิตภัณฑ์ 52,623 ล้านบาท อาหารแมวและสุนัขกระป๋อง 18,063 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการสุ่มเปิดตรวจสินค้า พบการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมจำนวนทั้งสิ้น 6 คดีในปี 2565 และพบการกระทำผิด 9 คดี ในปี 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พ.ย. 66) โดยส่วนใหญ่เป็นคดีการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต
รองอธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทุกหน่วยงานพร้อมยกระดับการปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าเกษตรอย่างเข้มแข็ง โดยในส่วนของสินค้าประมงได้สั่งการให้ทุกด่านตรวจประมงเพิ่มประสิทธิภาพมาตรการตรวจสอบนำเข้าสินค้าอย่างเข้มงวด เปิดตรวจสินค้าสัตว์น้ำแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศเสี่ยงสูง 100 % (จากเดิมจะเปิดตรวจ 30%) โดยได้กำหนดไว้ 2 แนวทาง คือ (1) การเปิดตรวจ ณ ด่าน หรือ ท่าเทียบเรือ และ (2) การตรวจสอบ ณ สถานประกอบการ (โรงงานหรือห้องเย็น) ด้วยการซีล (Seal) ตู้คอนเทนเนอร์ไปยังสถานประกอบการ เพื่อควบคุมและตรวจสอบคัดแยกชนิดและปริมาณที่นำเข้าจริงตรงตามที่สำแดงในเอกสารจนมั่นใจว่าสัตว์น้ำนั้นเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต จึงจะอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการผลิตหรือจำหน่ายต่อไป รวมถึงจะมีการบูรณาการประสานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และ ปปง. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมสั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง หากตรวจสอบพบเจ้าหน้าที่รายใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำสินค้าทุกชนิดเข้าสู่ประเทศอย่างผิดกฎหมาย กรมประมงจะดำเนินการลงโทษทางวินัยอย่างถึงที่สุด
นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงสถานที่เก็บรักษา กรมประมงได้ออกประกาศ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 แจ้งขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบกิจการห้องเย็นเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ยังไม่ได้แจ้งการประกอบกิจการต่อกรมประมง ให้มาแจ้งต่อกรมประมง ณ สำนักงานประมงจังหวัดหรือประมงอำเภอในพื้นที่ ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2566 เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าประมงที่ผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นการกระทำผิดขอความร่วมมือแจ้งเบาะแสได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรมประมง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ถก สภาอุตฯตั้งกรอ.เกษตร เดินสู่เป้าหมาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส” ถก สภาอุตฯตั้งกรอ.เกษตร เดินสู่เป้าหมาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำโดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยกระดับภาคการเกษตรไทยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นกำลังสำคัญ จึงมีแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยถือเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร วันนี้จึงได้เชิญสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อหารือและเข้าร่วมในคณะ กรอ.กษ. โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการประสานหารือร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นสำคัญที่ร่วมหารือกันในครั้งนี้ นอกจากแนวทางการจัดตั้งคณะ กรอ.กษ. ร่วมกันแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังได้หารือร่วมในประเด็นการส่งเสริมอาชีพให้กับแรงงานเกษตรที่เดินทางกลับจากอิสราเอล ซึ่งได้มีการลงนาม MOU ร่วมกันเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงแรงงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอล สู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ อันเป็นการพัฒนาแรงงานเกษตรให้พร้อมเข้าสู่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเกษตร หรือมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคการเกษตรด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกหน่วยงานจะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในขณะนี้
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในคณะ กรอ.กษ. ชุดนี้ จะเป็นอีกพลังที่เข้มแข็งในการพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้โดยใช้ ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้วางเป้าหมายเพื่อยกระดับภาคเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรไทย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือการแก้ไขปัญหา การพัฒนา ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้กับแรงงานเกษตรที่เดินทางกลับจากอิสราเอลในขณะนี้ ตลอดจนการเสริมศักยภาพเกษตรกรและยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว
โอกาสนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน กรอ.กษ. นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังได้เสนอ 4 แนวทางเพื่อยกระดับภาคการเกษตรไทยร่วมกัน ได้แก่ 1) ยกระดับวัตถุดิบการเกษตร ใช้มาตรฐานของไทย เช่น GAP และส่งเสริมการสร้างผู้ตรวจประเมินในระบบ Supplier Audit

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off กิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา ในแม่น้ำลำคลองสายหลัก และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ณ บริเวณคลองระพีพัฒน์แยกตก วัดลำพระยา ตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอีก 16 จุดทั่วประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนจิตอาสา รวมถึงกำลังพลจิตอาสาของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเต็มศักยภาพในพื้นที่
ทั้งนี้ ผักตบชวาเป็นพืชที่มีการแพร่พันธุ์และเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 20 ลุ่มน้ำหลัก และ 359 ลุ่มน้ำสาขา ความยาวลำน้ำธรรมชาติประมาณ 522,455.73 กม. กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน มีคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำที่เชื่อมโยงกับลำน้ำธรรมชาติ รวมทั้งทางน้ำธรรมชาติที่ประกาศเป็นทางน้ำชลประทานตาม พรบ.ชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 5 และมาตรา 8 ซึ่งเป็นทางน้ำที่อยู่ในความดูแล รวมทั้งสิ้นจำนวน 10,004 สาย ความยาวประมาณ 59,412.03 กม. คิดเป็นร้อยละ 11.37 ของลำน้ำธรรมชาติทั้งหมด จึงได้เร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา โดยในระยะแรกนี้ จะดำเนินการพร้อมกัน 17 จุดทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 8,000 คน และมีเป้าหมายในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในไตรมาสแรกรวมประมาณ 546,000 ตัน ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานในปี 2566 ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ดำเนินการกำจัดวัชพืชกว่า 5,633,079 ตัน รวมพื้นที่กว่า 34,252 ไร่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ตามแนวพระราชดำริ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยเน้นการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของทุกภาคส่วน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อพัฒนาพื้นที่ด้านแหล่งน้ำในการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและความสุขต่อประชาชนและชุมชนส่วนรวมอย่างถาวร นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้อง เกิดความรู้สึกเคารพ รัก เทิดทูน และร่วมปกป้องสถาบันหลักของประเทศชาติ อันประกอบด้วยสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่อุตรดิตถ์ติดตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนผาจุก เร่งแก้ไขปัญหา สร้างความมั่นคงด้ายน้ำยั่งยืนให้พี่น้องประชาชน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่อุตรดิตถ์ติดตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนผาจุก เร่งแก้ไขปัญหา สร้างความมั่นคงด้ายน้ำยั่งยืนให้พี่น้องประชาชน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามความก้าวหน้าโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมพื้นที่อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ลับแล อ.ตรอน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.พรหมพิราม และอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ประมาณ 481,400 ไร่ (พัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนที่มีศักยภาพให้เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 304,000 ไร่ และส่งน้ำสนับสนุนและปรับเปลี่ยนระบบส่งน้ำจากเดิมโดยการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เป็นระบบส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงประมาณ 134,800ไร่ และพื้นที่โครงการชลประทานน้ำริด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 42,600 ไร่)

ทั้งนี้โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก ตั้งอยู่ในแม่น้ำน่าน บริเวณบ้านคลองนาพง หมู่ 7 ต.ผาจุก อ.เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันได้สร้างเขื่อนทดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบส่งน้ำ พร้อมอาคารประกอบ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ลับแล อ.ตรอน และอ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.พรหมพิราม และอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก รวมพื้นที่กว่า 481,400 ไร่
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำ และระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับลุ่มน้ำน่าน เพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนให้กับพี่น้องชาวอุตรดิตถ์ ได้มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ จ.อุตรดิตถ์ มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 447,618 ไร่ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือ เขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนการใช้น้ำให้กับจังหวัดต่าง ๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวม 22 จังหวัด ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯประมาณ 6,102 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ

“วันนี้ตั้งใจมารับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชน และได้มอบหมายกรมชลประทานเร่งแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องอย่างเร่งด่วน ปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้ให้ทำทันที ปัญหาไหนที่ยังทำไม่ได้ จะต้องกลับไปศึกษาและหาแนวทางแก้ไข รวมถึงให้บรรจุแผนดำเนินการในปีงบประมาณต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2566