โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ

“บิ๊กป๊อด”ตั้งเป้าพัฒนาดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่านโครงการรักษ์ 72 หาดไทย

,

“บุณณดา”เผย “บิ๊กป๊อด”ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพประเทศไทย ดึงดูดนักท่องเที่ยว ผ่านโครงการรักษ์ 72 หาดไทย เทิดไท้องค์ราชันย์

น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฝ่ายการเมือง) กล่าวว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ดำเนินโครงการรักษ์ 72 หาดไทย และโครงการ Phuket Sandbox ต้นแบบอนุรักษ์หาดไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

น.ส.บุณณดา กล่าวต่อว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล จึงเป็นที่มาของการจัดโครงการดังกล่าว เพื่อคืนความสมบูรณ์ และสมดุลของระบบนิเวศ สร้างความยั่งยืนแก่ชายหาดและท้องทะเล รวมถึงปัจจุบันยังมีปัญหาขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งบริเวณชายหาดและไหลลงสู่ทะเล เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่แก้ได้ยาก เพราะไม่สามารถหาทางเก็บขยะพลาสติกออกจากทะเลได้ทั้งหมด กลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ดังนั้น เราต้องสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน ในเรื่องการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะสามารถลดขยะพลาสติกลงไปได้มาก

“พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยที่จะทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทะเลถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย หากเราร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะ ซึ่งเป็นมลพิษทางทะเล และสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและสวยงามให้คงอยู่ต่อไปก็จะสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งให้ความสำคัญกับ ทรัพยากรธรรมชาติ และลงมือทำร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม“ น.ส.บุณณดา กล่าว

ทั้งนี้ ในวันที่ 30 ก.ค.เวลา 09.45 น. ณ บริเวณโถงกลาง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล จะมีการเปิดตัวโครงการ นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร่วมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ที่มา: https://www.nationtv.tv/news/378946398
วันที่: 29 กรกฎาคม 2567

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน

,

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน… คือ

1. ให้พิจารณาสิทธิชาวบ้านในการถือครองที่ดินซับซ้อน ส.ป.ก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมือง ถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน
2. ให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยมาดั้งเดิมกว่า 40 ปี เพื่อรับสิทธิที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพื่อจะกันพื้นที่ให้ชัดเจนลดความคัดแย้งที่มีมายาวนาน
3. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จะไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไป เพราะต้องรักษาผืนป่าไว้ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

บทสรุปคือ… พื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นที่เป็นชุมชนดั้งเดิม พื้นที่จะไม่ถึงกว่า 2.6 แสนไร่…. !!

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส.กาญจนา”ขอบคุณ“ พล.ต.อ.พัชรวาท”ไม่เคยลืมชาวชัยภูมิ หลังลงพื้นที่ อ. หนองบัวแดง ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ช่วยเกษตรกรมีน้ำต้นทุนทำเกษตรตลอดทั้งปี

,

“สส.กาญจนา”ขอบคุณ“ พล.ต.อ.พัชรวาท”ไม่เคยลืมชาวชัยภูมิ หลังลงพื้นที่
อ. หนองบัวแดง ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ช่วยเกษตรกรมีน้ำต้นทุนทำเกษตรตลอดทั้งปี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตอบกระทู้ของนายกฤช ศิลปชัย สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ที่สอบถามความคืบหน้าข้อเสนอนโยบายประมงทะเล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านไทย ว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้ฝากมาขอโทษที่ท่านไม่ได้มาตอบกระทู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจ แต่ท่านเล็งเห็นถึงความตั้งใจและให้ความสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง โดยเฉพาะพี่น้องประมงพื้นบ้าน และได้กำชับให้มาตอบกระทู้ของท่าน สส.

ทั้งนี้ต้องขอบคุณ สส.พรรคก้าวไกลที่มีความห่วงใยให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และท่านก็มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่ประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพของชาวประมงขณะนี้มีต้นทุนมากกว่า 50% โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตร ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาประมงทะเล และได้ทำการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1ชุด เพื่อที่จะพิจารณาข้อเสนอตามนโยบายการประมงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางกรมประมงได้เสนอช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 1,275 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ยังมีข้อกังวลในการสนับสนุนค่าน้ำมันสำหรับการดำเนินโครงการนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 45,000 ราย ใช้งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การใช้งบประมาณจะเกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวประมงที่รับเงินอุดหนุนแล้วจะนำไปซื้อน้ำมันจริง หากไม่ได้นำเงินไปซื้อน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของการอนุมัติโครงการนี้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า ควรจะให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ดังนั้นทางกรมประมง จึงผลักดันแนวทางในการที่จะสนับสนุนน้ำมันผ่านทางการเติมเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่อุดหนุนช่วยเหลือพี่น้องประมงพื้นบ้าน จะถูกนำไปซื้อน้ำมันตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

“ในเรื่องนี้ ร.อ.ธรรมนัส ท่านมีความกังวล และห่วงใย เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐเรามีการช่วยเหลือน้ำมันเขียว หรือว่าน้ำมันต่างๆที่มีราราคาถูกกว่าโดยเฉพาะให้กับผู้ประกอบการประมงที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ความช่วยเหลือดัวกล่าว ถ้าเทียบกับพี่น้องประมงพื้นบ้านแล้วความช่วยเหลือต่างๆมีความเหลื่อมล้ำพอสมควร ดังนั้นแนวทางการทำงานของกรมประมง จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประมงพื้นบ้านได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยกรมประมงจะนำประเด็นนี้ไปหารือกับคณะทำงานเพื่อดำเนิน โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงพื้นบ้านในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร โดยมีตัวแทน จากกรมประมงเข้าไปเป็นในคณะทำงานนี้ด้วย

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ จะนำไปหารือ สมาคม สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปรับฟังความเห็นจาก ถ้ามีความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าต่อได้เต็มที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ทำประมงพื้นบ้านด้วย รวมทั้งกระทรวงได้ตั้งงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดประสงค์เพื่อจะอุดหนุนไปยังองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมประมง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มการผลิตด้านประมง ซึ่งโครงการต่างๆ องค์กรชุมชน จะได้รับอุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ส่วนปี 2568 จะได้รับจัดสรรงบประมาณมาประมาณ 200 กองทุน ดังนั้นองค์กรชุมชนท้องถิ่นจะสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับสัตว์น้ำ เรื่องของธนาคารสัตว์น้ำ การพัฒนาอาชีพทางด้านการประมง หรือการเปลี่ยนและซ่อมแซมเครื่องมือประมงได้

“ในส่วนความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกในส่วนของกองทุนประกันภัยแก่ประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยเหลือในกรณีอุบัติเหตุหรือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขในกรมธรรม์อาจจะยังไม่เป็นที่พอใจสำหรับพี่น้องที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น การชดเชยความสูญเสียจากธรรมชาติหรือว่าภัยพิบัติ จะต้องดูในเรื่องของระเบียบทางราชการ ซึ่งต้องเป็นการประกาศภัยพิบัติระดับจังหวัดเท่านั้น ถ้าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ผมเชื่อว่าทางจังหวัดก็ไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติได้ ทำให้ไม่สามารถรับค่าสินไหมทดแทนได้ แต่ขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถครอบคลุม หรือว่าดูแลเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น“

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า กรมประมงกำลังทำร่างใหม่ เพื่อเสนอไปที่กรมบัญชีกลาง เช่น ชดเชยเวลาเกิดความเสียหาย ก็ชดเชยตามความยาวของเรือ แต่ที่เรากำลังจะนำเสนอเป็นการชดเชยตามปริมาตรความจุของเรือ หรือแม้แต่เรื่องของอัตราการช่วยเหลือในกรณีที่เสียหาย จะจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท แต่เราจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 การช่วยเหลือเยียวยาประมาณ 10,000 แล้วก็ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท หรือแม้แต่ในกรณีที่เรือจมนะที่สามารถจ่ายได้ไม่เกิน 66,000 บาท แต่ร่างใหม่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็นจ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น กรมประมงมีนโยบายในการที่จะดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านมาตลอด โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเหลือดำเนินการในพื้นที่ ๆ จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนแล้วก็พัฒนาให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารปูม้า สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมง สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมเรือ หรือแม้แต่กิจกรรมในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ เราจะต้องลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการหาทางออก ที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ โดยไม่ผิดกฎหมาย

“ร.อ.ธรรมนัส ให้ความสำคัญและลงไปประชุมกับพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องการที่จะขายเรืออยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่า อยู่ในกระบวนการในการที่จะหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก็คงจะใช้เวลาสักนิดนึง แต่ผมเรียนด้วยความเคารพว่า พวกผมก็ต้องต่อสู้ในฐานะเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัส ก็เป็นนักการเมือง เราก็ต่อสู้เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิ่งที่เขาสามารถได้รับกลับมาให้เหมาะสม ท่านไม่ต้องกังวลใจ เราในฐานะกระทรวงเกษตรฯ เราจะทำตรงนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและรอบคอบที่สุด” นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กรกฎาคม 2567

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ปลื้มค่าฝุ่น PM 2.5 ทั่วประเทศลดลงเทียบ ปี 66 เร่งแผนแก้มลพิษฉบับ 2 ชงนายก-ครม.พิจารณา

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ปลื้มค่าฝุ่น PM 2.5 ทั่วประเทศลดลงเทียบ ปี 66 เร่งแผนแก้มลพิษฉบับ 2 ชงนายก-ครม.พิจารณา

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการมลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคนที่ 1นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ตัวแทนรองประธานคนที่ 2นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชัยวัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

โดย พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงาน ภายใต้มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 ว่า สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นตามเป้าหมาย จากการทำงานหนัก ทั้งค่าเฉลี่ยฝุ่น PM 2.5 ที่ลดลง จำนวนวันฝุ่นเกินค่ามาตรฐานลดลง และจำนวนจุดความร้อนลดลง เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งนี้หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมาสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และจุดความร้อนคลี่คลาย PM 2.5 ทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกภาค แต่หมอกควันภาคใต้จะเข้าสู่ช่วงเฝ้าระวังตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย.สาเหตุจากป้าพรุ และหมอกควันข้ามแดน พบจำนวนจุดความร้อนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตร ดังนั้น ขอให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมป่าไม้ เฝ้าระวังการเกิดไฟในป่าพรุ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบจุดความร้อนที่สูงขึ้นในพื้นที่เกษตร และกำชับหน่วยงานในสังกัดและผู้ว่าฯ ควบคุมอย่างเข้มงวด

พล.ต.อ.พัซรวาท กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบแนวทางการจัดทำแผนขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2และแผนเฉพาะกิจประจำปี 2568 โดยได้มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดฯ ถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหา และส่งรายงานผลส่งให้กรมควบคุมมลพิษ ในเดือน มิ.ย.และให้กรมควบคุมมลพิษ เร่งจัดทำและนำแผนทั้ง 2 ฉบับไปรับฟังความคิดเห็น และนำกลับมาเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 มิถุนายน 2567

“พัชรวาท” ปลื้มค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลง เมื่อเทียบปี 2566 ลุยต่อทันที สั่งถอดบทเรียนเร่งจัดทำแผนแก้มลพิษฉบับ 2 ก่อนชง นายกฯ – ครม. พิจารณาต่อไป

,

“พัชรวาท” ปลื้มค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลง เมื่อเทียบปี 2566 ลุยต่อทันที สั่งถอดบทเรียนเร่งจัดทำแผนแก้มลพิษฉบับ 2 ก่อนชง นายกฯ – ครม. พิจารณาต่อไป

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 67 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการมลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคนที่ 1 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ตัวแทนรองประธานคนที่ 2 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

โดย พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงาน ภายใต้มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 ว่า สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นตามเป้าหมาย จากการทำงานหนัก ทั้งค่าเฉลี่ยฝุ่น PM 2.5 ที่ลดลง จำนวนวันฝุ่นเกินค่ามาตรฐานลดลง และจำนวนจุดความร้อนลดลง เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งนี้ หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และจุดความร้อนคลี่คลาย PM 2.5 ทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกภาค แต่หมอกควันภาคใต้จะเข้าสู่ช่วงเฝ้าระวังตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย.สาเหตุจากป่าพรุ และหมอกควันข้ามแดน พบจำนวนจุดความร้อนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตร ดังนั้น ขอให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมป่าไม้ เฝ้าระวังการเกิดไฟในป่าพรุ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบจุดความร้อนที่สูงขึ้นในพื้นที่เกษตร และกำชับหน่วยงานในสังกัดและผู้ว่าฯ ควบคุมอย่างเข้มงวด

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบแนวทางการจัดทำแผนขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2 และแผนเฉพาะกิจประจำปี 2568 โดยได้มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดฯ ถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหา และส่งรายงานผลส่งให้กรมควบคุมมลพิษ ในเดือน มิ.ย.และให้กรมควบคุมมลพิษ เร่งจัดทำและนำแผนทั้ง 2 ฉบับ ไปรับฟังความคิดเห็น และนำกลับมาเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

Line today

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 พฤษภาคม 2567

การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิญเข้าร่วมพร้อมรับชม “พิธีเปิดงาน 24 พฤษภาคม วันป่าชุมชนแห่งชาติ” จ.กาฬสินธุ์ ประจำปี2567

,

การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิญเข้าร่วมพร้อมรับชม “พิธีเปิดงาน 24 พฤษภาคม วันป่าชุมชนแห่งชาติ” จ.กาฬสินธุ์ ประจำปี2567

วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปีถือเป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกับทางภาครัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ ในการฟื้นฟูรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนและให้ชุมชนดูแลรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศอย่างสมบูรณ์ยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมป่าไม้ได้จัดงาน วันป่าชุมชนแห่งชาติประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์รณรงค์การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าชุมชน ตลอดจนทุกภาคส่วนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในด้านการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่า และใช้ประโยชน์จากป่าตามทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งในวันนี้ (24 พฤษภาคม 2567) ถือเป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติประจำปี 2567 ได้มีการจัดงาน “พิธีเปิดงาน 24 พฤษภาคม วันป่าชุมชนแห่งชาติ” โดยได้รับเกียรติจาก พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมริมปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ เวลา 13.00 น. โดยประชาชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ตามปกติ หรือ รับชมผ่าน Live ได้ที่ เฟสบุ๊ค ป่าชุมชนออนไลน์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 พฤษภาคม 2567

พัชรวาท ตรวจฝุ่น ภาคอุตสาหกรรม-เกษตรกรรม ชมผู้ว่าฯปทุมธานี จัดการปัญหาแบบเอาอยู่

,

“พัชรวาท” ตรวจฝุ่น PM2.5 ภาคอุตสาหกรรม-เกษตรกรรม ปทุมธานี ชื่นชมผู้ว่าฯ จัดการปัญหาแบบเอาอยู่ ยกสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต้นแบบจัดการสิ่งแวดล้อม ขอบคุณชาวนาตื่นตัวลดการเผา

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวง น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงานของโครงการสวนอุตสาหกรรมบางกะดี มีนายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารจังหวัดปทุมธานี ให้การต้อนรับ ภายหลังเยี่ยมชมสวนอุตสากรรมบางกะดีแล้วเสร็จ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม โรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ของบริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด และแปลงนาสาธิตการทำนาปลอดการเผา

พล.ต.อ.พัชรวาท เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาตรวจเยี่ยมและติดตามปัญหาปัญหาฝุ่น PM2.5 ของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งบริหารจัดการได้ดีมาก ภายใต้การดูแลของผู้ว่าฯปทุมธานี โดยที่ปทุมธานีมีพื้นที่การทำนาถึง 67 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งมีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 3,400 แห่ง แต่ยังสามารถบริหารจัดการคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะสวนอุตสาหกรรมที่มี 38 โรงงาน แต่สามารถบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีระบบบำบัดอากาศทำให้ไม่ส่งผลกระทบด้านฝุ่น สามารถอยู่ร่วมกับชุมชน และยังเป็นต้นแบบโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ส่วนการดูงานโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด สนับสนุนให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยนำเศษวัสดุการเกษตร ได้แก่ ฟางข้าว ใบอ้อย ไม้ไผ่ต้นและซังข้าวโพด เปลือก มะพร้าว และ เศษต้นไม้อื่นๆ มาอัดเม็ด ทำให้สามารถลดปริมาณฝุ่นและส่งขายให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส่วนแปลงนาปลอดการเผานับเป็นความร่วมมือที่ดีจากชาวนาปทุมธานี เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้กับกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ พยายามบูรณาการแก้ปัญหากับทุกภาคส่วนเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ควบคู่กับการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมปลอดการเผาอย่างเป็นอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด เป็นแนวทาวช่วยลดการเผา ขณะเดียวกันปัญหานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายด้วย”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4501142
วันที่ 30 มีนาคม 2567

รมว.ทส. ถก ผู้ว่า 17 จว.ภาคเหนือ ยกระดับมาตรการสูงสุด แก้ฝุ่น PM2.5 ภาคเหนือ

พัชรวาท เรียกประชุมหน่วยงานด้านป่าไม้ และ 17 จังหวัดภาคเหนือ สั่งยกระดับมาตรการที่เข้มงวดสูงสุด ปรับรูปแบบ การจัดกำลัง ดับไฟป่า แก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ

วันนี้ (10 มี.ค. 67) พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรียกประชุมหน่วยงานด้านป่าไม้ และ 17 จังหวัดภาคเหนือ สั่งการยกระดับมาตรการที่เข้มงวด ปรับรูปแบบ การจัดกำลัง ดับไฟป่า “ปิดป่า” ห้ามบุคคลเข้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่สถานการณ์รุนแรง บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการด้วยความ “แม่นยำ รวดเร็ว ทันท่วงที มีประสิทธิภาพ”

พลตำรวจเอก พัชรวาทฯ กล่าวว่า สถานการณ์ไฟป่าทวีความรุนแรงมากขึ้น ทุกหน่วยงานจะต้องนำมาตรการแก้ไขปัญหา ฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงสถานการณ์วิกฤต ไปปฏิบัติอย่างเร่งด่วน ทันทีอย่างเต็มที่ โดยต้องพยายามควบคุมกำกับดูแลการจัดการไฟในพื้นที่ป่า โดยเฉพาะพื้นที่มุ่งเป้า ทั้ง 11 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวน รวมถึงพื้นที่เกษตรเผาไหม้ซ้ำซากในพื้นที่สูง และในพื้นที่ราบของ 17 จังหวัดภาคเหนือ ดังนี้

1. ปรับรูปแบบ การจัดกำลัง ดับไฟป่า ด้วยยุทธวิธี ผสมผสานทั้งการตรึงพื้นที่ด้วยจุดเฝ้าระวังและการ ลาดตระเวน การส่งกำลัง และดับไฟโดยอากาศยาน เข้าถึงไฟให้เร็ว ควบคุมไม่ให้ขยายวงกว้าง คุมแนวไฟและดับให้สนิท ให้วอร์รูมบัญชาการชุดปฏิบัติการดับไฟป่าตลอดเวลาที่มีการเข้าพื้นที่

2. ติดตามสถานการณ์จุดความร้อน สนธิกำลังพลทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง และเครือข่าย ทั้งระดับภาคพื้นและอากาศยาน ลาดตะเวน เฝ้าระวัง อย่างเข้มข้น เมื่อพบต้องเร่งปฏิบัติการเพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์โดยทันทีแต่ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ งดการใช้อาสาสมัครที่ไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสีย

3. สนับสนุนและบูรณาการทำงานอย่างเต็มที่เป็นหนึ่งเดียว กับศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลาง

4. “ปิดป่า” ห้ามมิให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่สถานการณ์รุนแรง บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด ยกระดับการจับกุมดำเนินคดีกับผู้ลักลอบจุดไฟเผาป่า

5. พื้นที่เกษตร ต้องติดตามเฝ้าระวังประสานงานกับฝ่ายปกครองอย่างใกล้ชิด เพื่อลดและควบคุมไม่ให้เกิดการเผาและหากเกิดต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว

6. สื่อสาร แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างทั่วถึง ทันท่วงทีเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง สร้างความรู้ทำความเข้าใจกับประชาชนให้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการด้วยความ “แม่นยำ รวดเร็ว ทันท่วงที มีประสิทธิภาพ”และคำนึงถึง ความปลอดภัย และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่ทำงานด้วยความเหน็ดเหนื่อยเพื่อพี่น้องประชาชน

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลมีข้อห่วงใยในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง แต่ในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดริมชายแดนมีค่าค่อนข้างสูง ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อนสูง เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา ทำให้ค่าฝุ่นละออง PM2.5 ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ มีการปฏิบัติงานในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง และตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 ได้อนุมัติงบกลาง เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินประมาณ 272 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก็จะทำให้การปฏิบัติงานในพื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายจตุพร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง จะต้องได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยจากนโยบายพลตำรวจเอก พัชรวาทฯ ให้ดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมกับภาครัฐได้ดำเนินการร่วมกับ BOI ออกประกาศให้สิทธิและประโยชน์กับภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมสนับสนุนการจัดการป่าเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อย่างยั่งยืน สำหรับการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ที่ผ่านมาได้มีการยกระดับการหารือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้กลไกความมั่นคงและความสัมพันธ์ระดับชายแดน เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 ได้ประชุมกับกัมพูชา เพื่อจัดตั้ง Hotline ระหว่าง 2 ประเทศ และกำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมภายในเดือนเมษายน สำหรับประเทศเมียนมา กระทรวงทรัพยากรฯ อยู่ระหว่างการเจรจาโดยใช้กลไกคณะกรรมการชายแดนระดับผู้บัญชาการทหารสูงสุด

“ภาพรวมสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในขณะนี้ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีถึงปานกลาง (สีเขียว/สีเหลือง) เริ่มมาตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ จากมาตรการยกระดับน้ำมันยูโร 5 (EURO 5) การควบคุมการเผาในที่โล่งของพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯ และการควบคุมแหล่งต้นตอฝุ่น สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ มีค่าเกินมาตรฐาน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) แต่แนวโน้มค่ารายชั่วโมงเริ่มลดลงในหลายจังหวัด จังหวัดที่ยังคงต้องเฝ้าระวังคือ น่าน แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ซึ่งอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) สถานการณ์มีแนวโน้มที่จะบรรเทาลงช่วงวันที่ 10-13 มีนาคม 2567 แต่จะต้องเฝ้าระวังอีกครั้งระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2567 เนื่องจากลมเปลี่ยนทิศ ลมที่ปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนจะเปลี่ยนเป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกเข้าสู่ประเทศอีกครั้ง ดังนั้น หากสถานการณ์จุดความร้อนในประเทศและนอกประเทศยังคงมีจำนวนที่มากในช่วงเวลาดังกล่าว สถานการณ์อาจทวีความรุนแรงขึ้นได้อีก ในด้านการจัดการไฟในพื้นที่ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช และกรมป่าไม้ ภายใต้การสนธิกำลังกับจังหวัด ฝ่ายปกครอง มีการยกระดับการแก้ไขปัญหา ภาพรวมจุดความร้อนลดลงกว่า 40% มีการปรับกำลังของกระทรวงทรัพย์ฯ จากภูมิภาคอื่นมาอยู่ภาคเหนือหมดแล้ว และหลังจากได้รับการจัดสรรงบกลางจะมีการวางกำลังตามจุดสกัดในพื้นที่เป้าหมายมุ่งเป้าได้เพิ่มขึ้น เน้นการสร้างความเข้าใจให้กับเครือข่ายและให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง และสื่อสารกับประชาชนขอความร่วมมือไม่เผาป่า” นายจตุพร กล่าว

ที่มา : bangkokbiznews
วันที่ : 10 มีนาคม 2567

“พัชรวาท” ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายจากเรือล่ม พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อำนวยความสะดวก – ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

,

“พัชรวาท” ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายจากเรือล่ม พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อำนวยความสะดวก – ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีที่เกิดอุบัติเรือท่องเที่ยวจมเนื่องจากคลื่นลมแรงในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมบูรณาการการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่ประสบภัย ตลอดจนนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวตามจุดต่างๆ ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งขอให้รับฟังข่าวสารการประกาศแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

“สำหรับการค้นหานักท่องเที่ยว 2 รายที่ยังสูญหายนั้น ก็ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานและขอให้ปฏิบัติการสำเร็จพบตัวผู้สูญหายโดยเร็วและปลอดภัยทุกคน”

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานยอดดอย ถือเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสอากาศหนาวกันเป็นจำนวนมาก ก็อยากขอให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ช่วยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว ให้ได้ท่องเที่ยวกันอย่างมีความสุข รวมถึงเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าในช่วงอากาศแห้งแล้งนี้ด้วย ทั้งนี้มีรายงานว่า เกิดปรากฎการณ์น้ำค้างแข็งหรือ “เหมยขาบ” บริเวณลานจอดรถหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ อน.5 (ยอดดอย) ซึ่งนับเป็นการเกิดเหมยขาบครั้งที่ 6 ของฤดูกาลนี้ ขณะเดียวกันสภาพอากาศบริเวณยอด “ดอยอินทนนท์” มีอุณหภูมิต่ำสุด 6 องศาเซลเซียส ที่จุดชมวิว “กิ่วแม่ปาน” อุณหภูมิที่วัดต่ำสุด อยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุณภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 7 องศาเซลเซียส ก็ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยไปท่องเที่ยวสัมผัสอากาศหนาวเย็นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศเราด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าอ.จอมบึง จ.ราชบุรี สส.พปชร ร่วมดึงปชช.อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าอ.จอมบึง จ.ราชบุรี
สส.พปชร ร่วมดึงปชช.อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

24 ธค 2566 นายอรรถกร ศิริลัทยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และผู้บริหารระกับสูงของกระทรวง ได้ร่วมเปิดงานงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2566ด้วยแนวคิด “Save wildlife for your life : รักษาธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย” พื้นที่ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 เขาประทับช้าง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โดยมี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เขต2 นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ เขต 3 นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ เขต 5 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จ.ราชบุรี ทั้ง3 เขต ให้การต้อนรับ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ ในการรณรงค์ให้ประชาชน ร่วมดูแลรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ยังเป็นพื้นที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ พร้อมกับการรณรงค์และป้องปราบ ปราบปราม ผู้กระทำผิด เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ เนื่องพันธ์สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และ ความเป็นอยู่ของประชาชน

“ความสำเร็จในการอนุรักษ์สัตว์ป่า จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการดูแลและคุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การป้องกันสัตว์ป่ามิให้ถูกล่าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์ให้หยุดการซื้อ-ขายสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ พปชร.โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ต่อการสร้างระบบนิเวศที่ต้องให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อต่อยอดพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ“

นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ขับเคลื่อนให้เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่กระทรวงทรัพย์จะดำเนินการปราบปรามทั่วประเทศ โดยเฉพาะการลักลอบฆ่าสัตว์ป่า หรือสัตว์สงวนที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันดำเนินในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อร่วมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของไทยให้คงอยู่ และมีความยั่งยืน ขณะเดียวกันการที่ผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะมีส่วนสำคัญต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะมีส่วนช่วยลดโลกร้อน และจะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ มุ่งเป้าหมายไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธ์เป็นศูนย์ ตามเป้าหมายของไทย ที่กำหนดไว้ใน ปี 2593

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เผย คกก.แก้มลพิษฯ เห็นชอบเสนอ ครม.ของบฯกลาง 67 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ พร้อมตั้งงบฯแผนงานยุทธศาสตร์ฯ ปี 68 เพื่อบูรณาแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน ลั่นฝุ่นพิษ – จุดความร้อนต้องลดลง พร้อมเห็นชอบ “ชัชชาติ” นั่ง ผอ.ศูนย์ฯ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กทม.

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เผย คกก.แก้มลพิษฯ เห็นชอบเสนอ ครม.ของบฯกลาง 67 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ พร้อมตั้งงบฯแผนงานยุทธศาสตร์ฯ ปี 68 เพื่อบูรณาแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน ลั่นฝุ่นพิษ – จุดความร้อนต้องลดลง พร้อมเห็นชอบ “ชัชชาติ” นั่ง ผอ.ศูนย์ฯ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กทม.

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 2/2566 มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมการ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เมื่อเข้าสู่การประชุม น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานวาระการประชุม ให้ที่ประชุมรับทราบ

ภายหลังการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการขอรับการจัดสรรงบกลางในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง จำนวน 10 โครงการ เพื่อของบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2567 อาทิ โครงการสนับสนุนการดับไฟป่าโดยใช้อากาศยานปีกหมุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างเป็นระบบโดยศูนย์ปฎิบัติการดับไฟป่า โดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์การป้องกันผลกระทบสุขภาพจากปัญหามลพิษทางอากาศ กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โครงการจัดหาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ แบบครบวงจร โดย กรมควบคุมมลพิษ โครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ กรมป่าไม้ โครงการปฎิบัติภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยศูนย์ปฎิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ

ขณะเดียวกันยังมีการจัดตั้งงบประมาณ “แผนงานยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5” ในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกในการบูรณาการบริหารจัดการแก้ไข ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ต้องลดลงและจำนวนจุดความร้อนต้องลดลง ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้สำนักงบประมาณเพิ่มเติม “แผนงานยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5” ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศกรุงเทพมหานคร โดยมี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่จัดตั้งไว้แล้วใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 5 จังหวัดในปริมณฑล เพราะพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่สำคัญของประเทศที่ประสบวิกฤตฝุ่น PM2.5 และได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเชื่อมโยงศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PHEOC) กับศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศฯ เพื่อให้มีการบูรณาการและสื่อสารข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกมิติทั้งในการการแก้ไขปัญหาฝุ่นและด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 ธันวาคม 2566

“พัชรวาท” ร่วมส่ง “โนบิตะ – ชิซุกะ- ไบรอัล” 3 อุรังอุตัง กลับบ้านเกิดอินโดนีเซีย หลังจบคดีค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ กระชับสัมพันธ์ไทย – อิเหนา รอบ 73 ปี แสดงควาวมมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

,

“พัชรวาท” ร่วมส่ง “โนบิตะ – ชิซุกะ- ไบรอัล” 3 อุรังอุตัง กลับบ้านเกิดอินโดนีเซีย หลังจบคดีค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ กระชับสัมพันธ์ไทย – อิเหนา รอบ 73 ปี แสดงควาวมมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายระห์หมัด บูดีมัน เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันส่งลิงอุรังอุตังของกลางที่สิ้นสุดทางคดีแล้วจำนวน 3 ตัว กลับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

โดยลิงอุรังอุตังทั้ง 3 ตัว เป็นของกลางที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยึดได้จากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ดูแลและตรวจสุขภาพลิงอุรังอุตัง ซึ่งเป็นสายพันธุ์สุมาตราทั้ง 3 ตัว ไว้ ณ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (ประทับช้าง) จังหวัดราชบุรี ได้แก่ 1.ลิงอุรังอุตัง ชื่อ ไบรอัล เพศผู้ ปัจจุบันอายุ 5 ปี 2.ลิงอุรังอุตัง ชื่อโนบิตะ (Nobita) เพศผู้ และ3. ลิงอุรังอุตัง ชื่อชิซุกะ (Shisuka) เพศเมีย ปัจจุบันอายุ 7 ปี

ก่อนหน้านี้วันที่ 2 มี.ค.2566 นายระห์หมัด พร้อมคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายอรรถพล ในเรื่องนี้ จากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และที่ประชุมมีมติเห็นควรให้ส่งลิงอุรังอุตัง จำนวน 3 ตัว ดังกล่าว กลับถิ่นกำเนิด สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้ประสานงานกับสายการบิน Garuda Indonesia Airline เที่ยวบิน GA867 ในการขนส่งและขอความร่วมมือทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ช่วยดำเนินการตรวจสุขภาพของลิงอุรังอุตัง โดยทางสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

การส่งลิงอุรังอุตัง กลับถิ่นกำเนิด ในครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนต่อผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้ง 9 ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียและฝ่ายไทย ได้ประชุมร่วมกันระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค. 2561 ณ เมืองยอกจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งการประชุมดังกล่าว ได้มีการทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 8 ในหัวข้อที่ 30 ระบุไว้ว่าที่ประชุมสนับสนุนต่อความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายและการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาไซเตส

ทั้งนี้ การส่งลิงอุรังอุตัง จำนวน 3 ตัว คืนประเทศถิ่นกำเนิดในครั้งนี้ ถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ ในโอกาสครบรอบ 73 ปี ความสัมพันธ์ไทย – อินโดนีเซีย เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับนานาชาติในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า รวมถึงแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของประเทศไทย ในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของ พล.ต.อ. พัชรวาท ที่ให้ความเห็นชอบส่งลิงอุรังอุตัง ไปยังสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตามระยะเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี 2556 – 2560 ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งลิงอุรังอุตัง ที่ตกเป็นเหยื่อการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จำนวน 14 ตัว กลับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งการส่งมอบลิงอุรังอุตังกลับถิ่นกำเนิด ถูกดำเนินการมาแล้วรวม 5 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2549 รวมทั้งสิ้น 71 ตัว ถือเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาไซเตส เช่นเดียวกับความร่วมมือทวิภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการอยู่ การส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า และการต่อต้านอาชญากรรมสัตว์ป่าผ่านความพยายามร่วมกัน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ให้เกิดความยั่งยืนในระดับสากล

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566