โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ผู้เขียน: pprpadmin

“ส.ส.สัมพันธ์” จัดประชุมใหญ่สาขาพรรค พปชร. จ.นราธิวาส ให้ความรู้-รับฟังความคิดเห็นสมาชิก

“ส.ส.สัมพันธ์” จัดประชุมใหญ่สาขาพรรค พปชร. จ.นราธิวาส ให้ความรู้-รับฟังความคิดเห็นสมาชิก

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ กรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร่วมประชุมใหญ่สาขาพรรคพลังประชารัฐ ประจำปี 2565 จังหวัดนราธิวาส เขตเลือกตั้งที่ 2 โดยมีสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่กว่า 150 คน เข้าร่วมประชุม โดยมีวาระการประชุมการรับรองรายงานการประชุมใหญ่สาขาพรรค ปี 2564 และวาระรายงานการดำเนินการของพรรคและรายงานจำนวนสมาชิกพรรคสาขา

ทั้งนี้ ได้มีการบรรยายให้ความรู้แก่สมาชิกพรรค โดยวิทยากร จาก กกต.จังหวัดนราธิวาส นายอารีย์ บารู พนักงานสืบสวนและไต่สวนชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มงานสืบสวนสอบสวนและพรรคการเมือง และนายมัรวาน ดือราแม พนักงานการเลือกตั้งชำนาญการ จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จ.นราธิวาส ร่วมประชุมและให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกพรรค พร้อมกันนี้ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น เพื่อการมีส่วนร่วมในการประชุมใหญ่สาขาพรรค

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #สัมพันธ์มะยูโซ๊ะ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงสุราษฎร์สั่งรับมือฤดูมรสุมเข้าภาคใต้ ติดตามแก้ปัญหาราคาปาล์มหนุนเพิ่มมูลค่าช่วยชาวสวน

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงสุราษฎร์สั่งรับมือฤดูมรสุมเข้าภาคใต้
ติดตามแก้ปัญหาราคาปาล์มหนุนเพิ่มมูลค่าช่วยชาวสวน

วันที่ 17 ต.ค. 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย นายสันติ พร้อมพร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม นายวิรัช รัตนเศรษฐ สส.บัญชีรายชื่อ เดินทางลงจ. สุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและเตรียมการรับมือฤดูฝน รวมทั้งความคืบหน้าการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีสส.พปชร. อาทิ นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.จ.นครศรีธรรมราช เขต 2 นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นครศรีธรรมราช เขต 3 นายสายัณห์ ยุติธรรม ส.ส. นครศรีธรรมราช เขต 7 ณ ศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี และนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัด และ หัวหน้าราชการให้การต้อนรับ ทั้งนี้พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก ประจำ รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานสถานการณ์ภาพรวมปริมาณฝนที่กำลังเข้าสู่ฤดูฝนในพื้นที่ภาคใต้ ปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่มากขึ้น เสี่ยงต่อน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเกิดจากร่องมรสุมพาดผ่านและพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้ ส่งผลฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ในจ.ชุมพร ระนอง พังงาน กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสตูล

พล.อ.ประวิตร’ ได้ย้ำให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. จว.)และทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมการรับฤดูฝนภาคใต้ที่กำลังมาถึง พร้อมการบริหารจัดการลุ่มน้ำและโครงการแหล่งเก็บกักน้ำ พร้อมที่จะมุ่งแก้ปัญหาอุทกภัยเป็นหลักรวมถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งไปพร้อมกัน โดยเน้น 13 มาตรการรับมือฤดูฝน และให้ความสำคัญ สำรวจพื้นที่เสี่ยงและความพร้อมของสถานีสูบน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยให้บริหารจัดการน้ำ ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พร้อมทั้งขอให้มีการนำบทเรียน การป้องกันและแก้ปัญหา พื้นที่เสี่ยงปีที่ผ่านมา มาบริหารจัดการลดความเสี่ยงและผลความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย และต้องให้ความสำคัญ แจ้งเตือนและนำประชาชนออกจากพื้นที่ให้ทันเหตุการณ์ หากเกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมกันนี้ ขอให้ สทนช.เตรียมความพร้อมจัดตั้ง ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่ จว.สุราษฎร์ธานี โดยทันที

พล.อ.ประวิตรในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งชาติ (กปน.) ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการการบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน พร้อมพบปะประชาชนและพูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญและมีมาตรการต่างๆออกมาต่อเนื่อง ที่ส่งผลราคาปาล์มน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่องกว่า ร้อยละ 150 และสามารถทำสถิติส่งออกสูงสุด 6.2 แสนตันในปี 64 และคาดว่าราคาปาล์มน้ำมันในปี 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 บาท/กก.

โดยที่ผ่านมาได้แก้ไขปัญหาราคาปาล์ม ล้นตลาดและราคาปาล์มตกต่ำมาโดยตลอด จนสำเร็จเป็นรูปธรรมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สนับสนุนให้นำน้ำมันปาล์มดิบในสต๊อกส่วนเกินจำนวน 3.6 แสนตันไปผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ราคาปาล์มมีเสถียรภาพ โดยตั้งแต่ปี 2562 ราคาปาล์มน้ำมันไม่เคยต่ำกว่า 4 บาทจนถึงขณะนี้ จากบาทกว่ามาถึง 8 บาทกว่า จนเห็นได้ชัดว่าชาวสวนปาล์มมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ราคาปาล์มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.50 บาท คาดว่าทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 7.50 บาทถึง 8 บาท

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า การแก้ปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม รัฐบาลได้บริหารจัดการปาล์มน้ำมัน ผ่าน คณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มุ่งแก้ปริมาณปาล์มล้นตลาดและราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำมาตลอด โดยผลักดันการส่งออกและนำน้ำมันปาล์มส่วนเกินมาผลิตพลังงานผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน พร้อมทั้งติดมิเตอร์วัดน้ำมันปาล์มดิบป้องกันการลักลอบการนำเข้านำมันปาล์มเถื่อน ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้รัฐบาลยังได้เตรียมออกมาตรการระยะยาว โดยการนำน้ำมันปาล์มมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สำหรับ การบูรณาการพัฒนาปาล์มน้ำของ จว.สุราษฎร์ธานี ขอให้มุ่งเป้า Oil Palm City ที่ส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อให้เกิดความอย่างยั่งยืน และราคามีเสถียรภาพ กำหนดราคาซื้อขายปาล์มน้ำมันที่เป็นธรรม เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ทั่วถึง ในทุกพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนมาตรการปาล์ม้ำมันอย่างเป็นรูปธรรม

พล.อ.ประวิตร ได้เดินพบปะ จับมือทักทายเกษตรกรชาวสวนปาล์ม โดยมีกลุ่มเกษตรกรขอให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ซึ่งระหว่างการเยี่ยมประชาชน มีเด็กผู้ชาย 2 คน อายุประมาณ 3-4 ขวบ เข้าสวมกอดพล.อ.ประวิตร ท่ามกลางเสียงตะโกนของชาวบ้าน ให้กำลังใจว่า “ลุงป้อมสู้ๆ” โดยตลอดการเดินพบปะชาวบ้าน พล.อ.ประวิตรมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และโบกมือทักทายชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2565

รมช.อธิรัฐ ร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 อินโดนีเซีย มุ่งยกระดับคมนาคมในภูมิภาคก้างทันรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

,

รมช.อธิรัฐ ร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 อินโดนีเซีย
มุ่งยกระดับคมนาคมในภูมิภาคก้างทันรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2565 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ โดยการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ ๒๘ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง วันอาทิตย์ที่ 16 ต.ค.65 นั้นประกอบด้วย
การประชุมรัฐมนตรีขนส่งระหว่างอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 13 การประชุมรัฐมนตรีขนส่งระหว่างอาเซียน – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 20 และการประชุมรัฐมนตรีขนส่งระหว่างอาเซียน – จีน ครั้งที่ 21 โดยมี H.E. Mr. Budi Karya Sumadi รมว.คมนาคมของอินโดนีเซีย ทำหน้าที่ประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้ร่วมหารือความร่วมมือด้านการขนส่ง เพื่อพัฒนาการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค ที่สำคัญ ประจำปี 2566 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยาน และการจัดการบริการขนส่งโดยการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการขนส่งผู้โดยสารในอาเซียน และเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ในภูมิภาค ซึ่งสะท้อนให้เห็นความร่วมมือของอาเซียนในการมุ่งสู่การขนส่งอัจฉริยะ และการปรับตัวที่ยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19

ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ ๒๘ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้กล่าวถ้อยคำแถลงสนับสนุนการรับรองเอกสารต่าง ๆ
“โดยประเทศไทยพร้อมจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมสนับสนุนสาขาการขนส่งที่จะดำเนินการในปีถัดไป เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน หรือแผนยุทธศาสตร์กัวลาลัมเปอร์ เพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมขีดความสามารถด้านการขนส่งของประเทศไทย ตลอดจนอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนในประเทศไทยและอาเซียน”

ในโอกาสนี้ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับรัฐมนตรีขนส่งของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิก และเน้นย้ำเจตนารมณ์ในการดำเนินงานร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการยกระดับมาตรฐานการขนส่งในสาขาต่าง ๆ ของไทยให้มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน ครอบคลุม และมีความเป็นสากลทัดเทียมนานาประเทศอีกด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช”ลงพื้นที่น้ำท่วมให้กำลังใจชาวอุบลฯ

,

“ตรีนุช”ลงพื้นที่น้ำท่วมให้กำลังใจชาวอุบลฯ

วันนี้ ( 16 ตุลาคม 2565)
ที่จังหวัดอุบลราชธานี นางสาวตรีนุช เทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)
ลงพื้นที่ติดตามและให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบอุทกภัย ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)อุบลราชธานี เขต 3 , โรงเรียนบ้านเดื่อสะพานโดม และ เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
โดยมีพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม,นางสาวสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ
ที่ปรึกษา รมว.ศธ.,นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.), นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการร่วมลงพื้นที่

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยผู้บริหาร ศธ.ตั้งใจมาเยี่ยมให้กำลังใจครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาทุกคน ซึ่งปีนี้จังหวัดอุบลราชธานี ประสบกับอุทกภัยอย่างหนักและรุนแรง โดยตนได้รับรายงานว่า เฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี มีสถานศึกษา ในสังกัด ศธ.มากกว่า 92 แห่งได้รับความเสียหาย ทั้งอาคารเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ว่า หลังจากที่น้ำลดแล้วอาจจะต้องมีการซ่อมแซมโรงเรียน หรือวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับความเสียหาย ก็ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาได้จัดงบประมาณไปดูแลโดยเร่งด่วน เพื่อให้มีความพร้อมสามารถเปิดโรงเรียนจัดการเรียนการสอนได้ทัน การเปิดเทอมที่จะถึงนี้ หรือให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
และให้ดูแลครูผู้อยู่ในด่านหน้าได้รับขวัญกำลังใจ และได้รับการดูแลอย่างเต็มที่

“ ดิฉันพร้อมที่จะเป็นหลักในการช่วยเหลือสนับสนุนในทุกๆด้าน เพื่อทำให้โรงเรียน ทำให้เด็กๆของเรากลับมาสู่การเปิดภาคเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งในการช่วยเหลือนั้น หน่วยงานของ ศธ. ทุกหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่จะทำงานเชื่อมโยง บูรณาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อาชีวะช่วยประชาชน , กศน. จิตอาสา ซ่อม สร้าง ล้างใหม่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น และวันนี้ก็ได้รับการอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ได้มอบถุงยังชีพมาร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดิฉันขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านและเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คน ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปเร็ว ๆ ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพร่างกายจิตใจให้เข้มแข็งปลอดภัย เพื่อที่เราจะได้เป็นหลักในการทำงานให้กับลูกหลาน เยาวชน และครูของเราต่อไป” รมว.ศธ. กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยัง ได้รับเมตตาจากพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาได้จัดสรรพื้นที่ของวัด จัดเป็นโรงเรียนเอกชนขึ้น เพื่อดูแลเยาวชนของเราส่วนหนึ่งให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา มีการพัฒนานวัตกรรมในเรื่องการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อลดค่าไฟฟ้า , ช่วยระดมความช่วยเหลือจากชุมชนทุกด้านทำให้พวกเราบรรเทาทุกข์จากอุทกภัยในครั้งนี้ด้วย.


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ชูนโยบาย 3 แกนหลัก พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสานต่อช่วยประชาชน

,

“พล.อ.ประวิตร” ชูนโยบาย 3 แกนหลัก
พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสานต่อช่วยประชาชน

“พล.อ.ประวิตร”ประกาศเดินหน้า ขับเคลื่อนนโยบาย พปชร. สานต่อ 3 เสาหลัก พันธกิจ สวัสดิการประชารัฐ เศรษฐกิจประชารัฐ และสังคมประชารัฐ กลไกลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศรษฐกิจ สังคมเท่าเทียม ประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ถ้วนหน้า พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า ต่อยอดนโยบายส่งมอบสิ่งที่ดีให้ประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่จะนำเสนอให้กับพี่น้องประชาชน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ว พปชร. ยังเดินหน้าสานต่อนโยบาย 3 พันธกิจหลัก ที่ประกอบด้วย 1.สวัสดิการประชารัฐขจัดความเหลื่อมล้ำ 2.เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม และ 3.สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน โดยเป็นกรอบนโยบายที่จะมาช่วยเหลือประชาชน และตอบโจทย์ประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมนำพาประเทศไทยรวมถึงประชาชนให้มีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และช่วยเหลือชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ครอบคลุมประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิสวัสดิการของรัฐอย่างถ้วนหน้า

พล.อ. ประวิตร กล่าวต่อว่า นโยบายของพรรคพลังประชารัฐในครั้งนี้ เป็นการดำเนินนโยบาย เพื่อเป็นการต่อยอดจากการทำงาน และร่วมขับเคลื่อนนโยบายของพรรคในการบริหารราชการของรัฐบาลชุดนี้ เพราะเราต้องการต่อยอดนโยบายที่ดีและเป็นประโยชน์กับประชาชน พร้อมกับนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ประชาชนจะเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนนโยบาย โดยทุกนโยบายจะมีการพิจารณาถึงงบประมาณ สามารถชี้แจงแหล่งที่มาของงบประมาณได้แน่นอน เราเน้นทำได้จริง ไม่ขายฝัน เราฟังเสียงประชาชนว่ามีความเดือดร้อนอย่างไร จึงมาสู่การกำหนดเป็นนโยบาย

“พรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ต้องทำให้ทุกคน มีโอกาส มีอนาคต ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงการดูแลคนวัยทำงาน เพราะถือเป็นการสร้างอนาคตของประเทศ ถือเป็นการลงทุนทางสังคม เด็กทุกคนควรจะมีสิทธิเลือกว่าอยากมีอนาคตอย่างไร เด็กต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพที่ดี จึงเกิดเป็นนโยบายสวัสดิการประชารัฐ จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”ที่ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ด้วยมารดาประชารัฐ ฝากครรภ์ จนคลอด นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เราก็ไม่ทอดทิ้ง ต้องมีการดูแลสวัสดิภาพผู้สูงอายุ ยังสานต่อในเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บ้านพัก และสวัสดิการรักษาพยาบาล ไปจนถึงแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่เสียชีวิต “พลเอกประวิตร กล่าว

พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า นโยบายของพรรค ต้องคิดให้ละเอียดในการที่จะนำนโยบายไปใช้แต่ละพื้นที่ เพราะทุกพื้นที่มีความแตกต่างตามบริบทของท้องถิ่น แต่ยังคงยึด 3 เสาหลัก พรรคพลังประชารัฐ คือ สถาบันของการเมืองไทย เราคิดนโยบายเพื่อตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และตอบโจทย์ประชาชน เราจะเป็นพรรคที่ทำให้สังคมสงบสุข โดยจะก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยที่นโยบายของเราที่จะขับเคลื่อน เกิดขึ้นบนพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ที่ประชาชนเห็นด้วย และให้การตอบรับในการทำงานที่ผ่านมา และพร้อมที่จะทำต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลกับประชาชนอย่างแท้จริง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” โทรชื่นชมครอบครัววอลเลย์หญิงไทย นำความสุขสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติในเวทีโลก

,

“พล.อ.ประวิตร” โทรชื่นชมครอบครัววอลเลย์หญิงไทย นำความสุขสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติในเวทีโลก

วันที่ 14 ต.ค.65 เวลา 12.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้วิดีโอคอลไปยัง “โค้ชด่วน” นายดนัย ศรีวัชรเมธากุล หัวหน้าผู้ฝึกสอนและนักกีฬาวอลเลย์หญิงทีมชาติไทย เพื่อขอบคุณที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ในงาน “ครอบครัววอลเลย์บอล สร้างสุขทั่วไทย ได้ใจทั่วโลก” ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.65 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอรีน พระรามเก้า กรุงเทพฯ

โดยพลเอกประวิตร ได้กล่าวขอบคุณสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ผู้ฝึกสอน นักกีฬา ที่เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติรายการต่าง ๆ ตลอดปี 2022 รวมทั้งบุคลากรด้านอื่นๆ ที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ด้วยความเสียสละ อดทน ทําให้ทีมวอลเลย์บอลของไทยประสบผลสําเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ

สำหรับผลงานวอลเลย์บอลหญิงไทย 2022 โชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการคว้าแชมป์ซีเกมส์ (13 สมัยติด /นับเป็นสมัยที่ 15), เนชันส์ลีก 2022 อันดับ 8 (สร้างประวัติศาสตร์เข้ารอบไฟนอลเป็นครั้งแรก), อันดับ 3 เอวีซี คัพ 2022 (AVC CUP 2022), แชมป์วัน อาเซียน กรังด์ปรีซ์ 2022 ก่อนส่งท้ายปี 2022 ด้วยการจบอันดับ 15ในศึกวอลเลย์บอลหญิง ชิงแชมป์โลก 2022 จากการชนะ ตุรกี, โครเอเชีย, เกาหลีใต้ และโดมินิกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช” ถกประชุม รมต.ศึกษาอาเซียน พร้อมรับไม้ต่อปี67 ไทยเจ้าภาพชู “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล”

,

“ตรีนุช” ถกประชุม รมต.ศึกษาอาเซียน พร้อมรับไม้ต่อปี67 ไทยเจ้าภาพชู “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล”

เมื่อวานนี้ (13 ตุลาคม 2565) ที่โรงแรม MELIA Hanoi กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตน พร้อมด้วย นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Education Ministers Meeting: 12th ASED) ร่วมกับรัฐมนตรีศึกษาของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนและเลขาธิการอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางของแต่ละประเทศในการจัดการศึกษาในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และหารือถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคตร่วมกัน

“การประชุม 12th ASED นี้ จัดขึ้นในหัวข้อ ‘Joint efforts to recover learning and building resilience of education systems in ASEAN and beyond in the new context’ หรือ ‘ความพยายามร่วมกันในการพลิกโฉมการเรียนรู้และการสร้างความยืดหยุ่นของระบบการศึกษาในอาเซียนและในบริบทใหม่’ ซึ่งรัฐมนตรีศึกษาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการจัดการศึกษาที่ได้รับผลกระทบมาจากโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศไทย และประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้ครูเพื่อสามารถรองรับรูปแบบการสอนที่เปลี่ยนไปได้ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มกลางให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะการพาเด็กตกหล่นและหลุดออกกลางคันให้ได้กลับมาเรียนอีกครั้ง ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการพาเด็กที่หลุดออกจากระบบกลับมาให้มากที่สุด รวมถึงฟื้นฟูความรู้ในช่วงที่หายไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สนับสนุน ดังนั้น การเรียนรู้แบบผสมผสานที่เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนและครูต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ใหม่ด้านดิจิทัล เพราะตอนนี้การศึกษาได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งตนได้ขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนในการร่วมมือระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาในการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีทักษะด้านดิจิทัลพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2567 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASED ครั้งที่ 13 โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาในเรื่อง “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล” (Transforming Education to Fit in the Digital Era)

“ขอชื่นชมประเทศเวียดนามที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้และยินดีที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาไปด้วยกัน เพราะงานด้านการศึกษาไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง เราในฐานะเจ้าภาพการประชุมในครั้งต่อไป จะสานต่อความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะต้องมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม” นางสาวตรีนุช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2565

“รมต.อนุชา” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ จ.ชัยนาท ซ่อมแซมคันกั้นน้ำ-ลดผลกระทบพื้นที่การเกษตรเสียหาย

,

“สัณหพจน์” ชื่นชม ครม.อนุมัติ ปรับปรุงขยายประปา “ลุ่มน้ำปากพนัง” สืบสานพระราชปณิธาน ในหลวง ร.9 การบริหารจัดการน้ำ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 – นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายนที มนตริวัต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชัยนาท เดินทางลงพื้นที่ อ.เมือง จ.ชัยนาท เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำหลังได้รับรายงานน้ำในพื้นที่เพิ่มสูงจากปริมาณฝนตกหนักและน้ำเหนือไหลเข้าพื้นที่ ประกอบกับคันกั้นน้ำที่วัดลัดเสนาบดี (วัดเกาะ) ชำรุด ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย

ทั้งนี้ นายอนุชายังได้เดินทางไปยังวัดลัดเสนาบดี หมู่ที่ 1 ต.เขาท่าพระ อ.เมือง และบ้านดักคะนน ต.ธรรมามูล อ.เมือง เพื่อสำรวจความเสียหายจากผลกระทบคันกั้นน้ำชำรุด พบว่ามีปริมาณน้ำไหลแรงเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนและพื้นที่การเกษตรอย่างรวดเร็ว ถนนหนทางบางส่วนได้รับความเสียหายจากน้ำกัดเซาะ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทุกภาคส่วนให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนอย่างเต็มกำลัง และฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ สำหรับ จ.ชัยนาท พื้นที่ ต.ธรรมามูล และ ต.เขาท่าพระ เป็นพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเป็นพื้นที่สำคัญที่ต้องรักษาไม่ให้เกิดน้ำท่วมสูง เมื่อคันกั้นน้ำพังจะทำให้น้ำท่วมไปหลายตำบลและอาจส่งผลถึงจังหวัดใกล้เคียง ขณะนี้ตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนให้ความช่วยเหลือ โดยเร่งดำเนินการซ่อมแซมคันกั้นน้ำ เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่พี่น้องประชาชน คาดว่าหากไม่มีปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำจากแหล่งอื่นมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ

“ตอนนี้เราอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังและเสริมกำลังไปยังพื้นที่เปราะบาง เพื่อให้มีความมั่นคงในการป้องกันคันน้ำไม่ให้พังทลาย ในระยะยาวจะดำเนินการประสานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดและทางหลวงชนบทที่ดูแลถนนเส้นนี้ ให้ทำการยกระดับถนนให้ปลอดภัยจากน้ำท่วม และได้กำชับทางจังหวัดให้ดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทุกด้าน ทั้งชีวิตความเป็นอยู่และสุขอนามัย หากมีความเดือดร้อนเรื่องใดจะจัดชุดเคลื่อนที่เร็วให้ความช่วยเหลือประชาชนทันที” นายอนุชา กล่าว

ทั้งนี้ จ.ชัยนาท ประสบสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ 30 ตำบล 145 หมู่บ้าน 10 ชุมชน ประชาชนได้รับความเสียหาย 8,250 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 86,994 ไร่ โดยพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยรุนแรงมากที่สุดคือ อ.สรรพยา เบื้องต้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือและอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อนุชานาคาศัย
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 ตุลาคม 2565

พปชร.นครราชสีมา ส่งความห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.โนนสูง

,

พปชร.นครราชสีมา ส่งความห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.โนนสูง

นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 7 และ นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยทีมงานลงพื้นอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เยี่ยมเยียมพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยและได้รับผลกระทบจากพายุฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ยังได้ร่วมพูดคุยและรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะต่างๆ จากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ ศาลาบ้านผู้ใหญ่ บ้านหนองอ้อ ต.เมืองปราสาท, บ้านหนองอ้อ ต.เมืองปราสาท, วัดโนนคาม ต.เมืองปราสาท, ศาลาบ้านคล้า ต.เมืองปราสาท, บ้านโนนบ่อ ม.9 ต.ลำคอหงษ์, บ้านโนนพรม ม.1 ต.ลำคอหงษ์, บ้านโนนลาว ม.6 ต.ลำคอหงษ์ และบ้านกระถิน ม.8 ต.ลำคอหงษ์ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ทัศนียารัตนเศรษฐ # ทวิรัฐรัตนเศรษฐ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เคาะจังหวัดเร่งเยียวยาชาวอุบล-ศรีษะเกษ ประสานทุกหน่วยระดมแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด

,

“พล.อ.ประวิตร” เคาะจังหวัดเร่งเยียวยาชาวอุบล-ศรีษะเกษ
ประสานทุกหน่วยระดมแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด

วันที่12 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช. ) ได้เดินทางลง พื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ พร้อมคณะ พื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากภาวะน้ำท่วม โดยมี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดให้การต้อนรับ ณ สำนักงานชลประทานที่ 7 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ทั้งนี้ พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำและสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม จากอิทธิพลพายุโนรู และร่องมรสุมที่พัดผ่านประเทศไทยทำให้ฝนตกหนัก ต่อเนื่อง เป็นบริเวณกว้างส่งผลให้ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ที่มีน้ำคงค้างอยู่ก่อนแล้ว และมีปริมาณน้ำมากกว่า ทุกปี เฉลี่ยร้อยละ 25 แต่พื้นที่น้ำท่วมน้อยกว่าปี2554 และปี2562 เนื่องจากรัฐบาลได้นำ13มาตรการรับมือฤดูฝน มาใช้อย่างได้ผล

ขณะเดียวกัน จ.อุบลราชธานี ยังเป็นพื้นที่ที่มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยเพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วย ทั้งนี้ภาครัฐได้ระดมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อย่างเต็มที่ ทั้ง 19 อำเภอ ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ว และเตรียมแผนรองรับการเยียวยาหลังน้ำลด ไว้แล้ว

พล.อ.ประวิตร และคณะ ยังได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณแม่น้ำมูล ณ วัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และได้เยี่ยมเยียนพบปะให้กำลังใจ พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยัง จ.ศรีสะเกษ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน ณ บริเวณบ้านหนองบัวไชยวาน อ.กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เช่นกัน

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวมอบนโยบายแก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช. )กรมชลประทาน จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยย้ำว่า รัฐบาลมีความห่วงใยต่อความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น กับประชาชนทุกครัวเรือน และได้สั่งการให้ทุกหน่วยงาน เร่งดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน อย่างเข้มข้น ตลอดจนการเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือกำลังคน อย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้สถานการณ์กลับสู่ ภาวะปกติ โดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ กอนช. โดยศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานแผนการบริหารจัดการน้ำของกรรมการลุ่มน้ำ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดและการประกาศพื้นที่ประสบภัย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะเสี่ยงเกิดอุทกภัยและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด พร้อมมอบหมายให้กรมชลประทาน ดำเนินการตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมปี 2565 ตามที่ กนช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ และตามมติของคณะทำงานศูนย์ส่วนหน้าฯที่มีความเห็นร่วมกัน ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างทันท่วงที และเตรียมแผนการช่วยเหลือฟื้นฟู ภายหลังน้ำลดให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วต่อไปด้วย

อย่างไรก็ตามสทนช ได้เตรียมดำเนินการ สั่งศูนย์ส่วนหน้า ในการจัดทีม เข้าไป เพื่อฟื้นฟูร่วมกับเหล่าทัพ ข้าราชการหน่วยงานท้องถิ่น รวม 28 ทีม แบ่งเป็นทีมละ 15 คน เข้าไปเยียวยา โดยเร็วที่สุด


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงอีสานติดตามข้อมูลน้ำลุ่มน้ำชี-มูล เร่งแผนระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชนจ.อุบล-ศรีสะเกษ

,

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงอีสานติดตามข้อมูลน้ำลุ่มน้ำชี-มูล
เร่งแผนระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชนจ.อุบล-ศรีสะเกษ

“พล.อ.ประวิตร” ห่วงน้ำท่วมอีสาน ลงพื้นที่อุบลราชธานี – ศรีสะเกษ วางแผนจัดการบริหารลุ่มน้ำชี-มูล เร่งระบายออกแม่น้ำโขง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน หลังเจอผลกระทบจากพายุโนรู และร่องมรสุมหลายระลอก

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 12 ต.ค. 2565 เพื่อรับฟังรายงานบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำ และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่สำนักงานชลประทานที่ 7 อ.เมือง จากอิทธิพลของพายุโนรูที่เข้าภาคอีสานของไทย ในช่วงที่ผ่านมา และยังได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมที่พัดผ่านเข้าสู่ไทยหลายระลอก มีปริมาณฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีน้ำคงค้างอยู่แล้ว ซึ่งจนถึงขณะนี้สถานการณ์ก็ยังอยู่ในการเฝ้าระวังและต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประเมินความเสี่ยงที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำในลุ่มน้ำมูลขณะนี้สูงกว่าปี 2562 มากว่า 50 ซม. ทำให้บ้านเรือนและประชาชน ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ขณะที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ยังมีการเพิ่มการระบายน้ำจาก 50 ลบ.ม./วัน มาเป็น 52 ลบ.ม./วัน ทำให้ระดับน้ำชีสูงขึ้น

นอกจากนี้จะลงพื้นที่บริเวณวัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำว่าอยู่ในระดับใด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างไร เพื่อให้สามารถผันลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะสามารถระบายน้ำ ในการบรรเทาความเดือดร้อนในกับประชาชนในพื้นที่

นอกจากนี้ได้เดินทางต่อไปบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ บ้านหนองบัวไชยวาน ต.โนนสัง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ รับฟังถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ พร้อมพบปะพูดคุยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2565

“รมว.ตรีนุช” ลงพื้นที่หนองคาย ปลื้มผลงานขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-คลินิก 3R

,

“รมว.ตรีนุช” ลงพื้นที่หนองคาย ปลื้มผลงานขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-คลินิก 3R

วันนี้ ( 11 ต.ค.2565) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยได้ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) หนองคายเขต 2 จำนวน 2 โรงเรียน คือ ที่โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง ม.3 เป็นโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน ทั้ง 11 โรงเรียน มีนักเรียน รวม 1,227 คน ครูและบุคลากรรวม 105 คน โดยในปีงบประมาณ 2565 ก็ได้มีการจัดสรรงบลงทุนสร้างอาคารให้ และตนก็ไม่ผิดหวังที่ได้เห็นการขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพอย่างจริงจัง มีแผนงานที่จะพัฒนาและใช้ทรัพยากรร่วมกันกับโรงเรียนเครือข่าย สามารถดึงนักเรียนที่ออกจากระบบกลับมาเรียนได้หลายคน มีการสร้างทักษะอาชีพให้นักเรียน มีการดูแลความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า อาคาร และอุปกรณ์ต่างๆ เห็นถึงความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมจากการได้รับรางวัลของโรงเรียนและนักเรียน เห็นเพชรเม็ดงามในชนบท ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ก็จะเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนงบฯด้านต่างๆ เช่น ค่ารถในการนำเด็กจากโรงเรียนเครือข่ายมาเรียน และหาวิธีการขับเคลื่อนให้โรงเรียนเครือข่ายเกิดคุณภาพด้วย

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับโรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ป.6 ที่โรงเรียนนี้มีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ กิจกรรมสภานักเรียน ส่งเสริมประชาธิปไตย ,คลินิก 3R เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ, จัดห้องสมุดมีชีวิต โดยจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ซึ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศห้องสมุด 3 D และรางวัลชนะเลิศห้องสมุดส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2565 นอกจากนี้ยังมีโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ที่ส่งเสริมการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีสมรรถนะในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังส่งผลถึงชุมชน ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่ สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาผสมผสานกับงานด้านการเกษตรและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการฟาร์มได้

“ดิฉันมาลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของ ศธ. ให้กำลังใจครู บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเมื่อเห็นนักเรียนมีความสุขแล้วก็หายเหนื่อย และขอชื่นชมครู และผู้บริหารโรงเรียนทุกคนที่ได้ทุ่มเททำงานต่อเนื่องหลายปี ซึ่งนักเรียนทุกคน ก็คือ ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ในการทำงาน ดิฉันดีใจที่ได้เห็นเด็กๆได้ใช้ความรู้ที่เชื่อมโยงจากการอ่าน นำมาเป็นนิทาน และนำมาเป็นการแสดงออกต่างๆ อาทิ การฟ้อนรำนาฏศิลป์พื้นเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโนบาย Soft Skills ทักษะที่คนยุคใหม่ควรมี และสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเรียนการสอนที่มีกลไกในการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนแบบ active learning ที่เป็นเป้าหมายของ ศธ.ซึ่งดิฉันจะนำไปเล่าให้จังหวัดอื่นๆได้ดูเป็นแบบอย่าง และขอฝากให้โรงเรียนฝึกฝนเรื่องจริยธรรม ศีลธรรม และประชาธิปไตยให้แก่เด็กๆ ซึ่งปัจจุบันบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไปเด็กอยู่กับสื่อต่างๆในโลกโซเชียลเยอะ ดังนั้น ครู ต้องทำงานหนักมากขึ้นในการทำให้เด็กมีความมั่นคงและแข็งแกร่งในเรื่องของการมีจริยธรรม ศีลธรรม และ ที่สำคัญต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในมิติต่างๆ รวมถึงการคัดกรองบุคคลเข้าออกสถานศึกษา” รมว.ศธ.กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2565