โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ผู้เขียน: pprpadmin

“พล.อ.ประวิตร” มอบนโยบาย สนทช.เดินแผนยุทธศาสตร์มือภัยพิบัติน้ำ ระดมทุกภาคส่วนร่วมยกระดับความมั่นคงแหล่งน้ำทั่วประเทศ

“พล.อ.ประวิตร” มอบนโยบาย สนทช.เดินแผนยุทธศาสตร์มือภัยพิบัติน้ำ ระดมทุกภาคส่วนร่วมยกระดับความมั่นคงแหล่งน้ำทั่วประเทศ

เมื่อ 25 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงาน เสวนาวิชาการ และมอบนโยบาย ” 5 ปีที่ผ่าน ย่างก้าวสู่ปีที่ 6 ของ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ” ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม. โดย พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รอง นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
ในโอกาส ที่สทนช. จัดต้ังหน่วยงานครบรอบ 5ปีเต็มในวันนี้ ได้มีหน่วยงานเข้ามาร่วมเสวนา เพื่อจะให้มีการแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน), กรมชลประทาน, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, กรมทรัพยากรน้ำ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) ,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ

ทั้งนี้ในการเสวนาในวันนี้มีความมุ่งหวังในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ทั้งระบบ ทั่วประเทศ และให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน และประเทศชาติ เป็นสำคัญสูงสุด

พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณ สทนช. และทุกหน่วยงานที่ได้ปฏิบัติงานด้วยดี มาโดยตลอด5ปีที่ผ่านมา และย้ำว่า สทนช. ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการนำนโยบายด้านน้ำ และผลจากการเสวนาในครั้งนี้ ไปสู่การปรับปรุงแผนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี โดยบูรณาการการทำงาน จากทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาชน อย่างใกล้ชิด ให้มีเอกภาพเพื่อยกระดับ ความมั่นคงด้านน้ำ ของประเทศ และสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำให้กับประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน พร้อมทั้งให้มีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจควบคู่ ไปกับการสร้างความร่วมมือของประชาชนต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2565

รมว.สุชาติ เผยทิศทางแรงงานพร้อมขับเคลื่อนระบบศก. เปิด4 ภารกิจหนุนจ้างงานพัฒนาทักษะรับการเปลี่ยนแปลง

รมว.สุชาติ เผยทิศทางแรงงานพร้อมขับเคลื่อนระบบศก.
เปิด4 ภารกิจหนุนจ้างงานพัฒนาทักษะรับการเปลี่ยนแปลง

วันนี้ (23 ตุลาคม 2565) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “บทบาทและนโยบายที่สำคัญของกระทรวงแรงงานในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับผู้ใช้แรงงาน” ในงานสัมมนากรรมการบริหารและสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย โดยมี นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ฯ ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมที่สวนนงนุช พัทยา จ.ชลบุรี

นายสุชาติกล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ สังคม สร้างการเคลื่อนย้ายของภาคแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระทั่งถึงวันนี้ ประเทศได้ประกาศโควิด-19 อยู่ในระดับเฝ้าระวัง ซึ่งการดำเนินการดูแลภาคแรงงานในช่วงดังกล่าว ถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มองเห็นความสำคัญของภาคธุรกิจและภาคแรงงาน ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้ให้การสนับสนุนผ่านมาตรการต่างๆ จนสามารถนำพาประเทศก้าวข้ามวิกฤต จนหลายอย่างของประเทศในวันนี้เริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น แรงงานสามารถทำงานได้ ธุรกิจไม่ต้องปิดตัว ทำให้ประเทศมีสินค้าสำหรับการส่งออก เป็นการช่วยพยุงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้

นายสุชาติกล่าวว่า ขณะเดียวกัน สถานการณ์ด้านแรงงานมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวนผู้ว่างงานเดือนสิงหาคม 2565 ลดลงมาก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

“ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ คือ พี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นเสมือนคนในครอบครัว ประกอบกับไตรภาคีของกระทรวงแรงงาน ทั้งภาครัฐ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง คอยสนับสนุนให้การดำเนินงานของกระทรวงแรงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี” นายสุชาติกล่าว

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวถึงผลการดำเนินงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ว่า ยกตัวอย่างมาตรการที่สำคัญๆ อาทิ มาตรการให้ความช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากโครงการแฟคทอรี แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) สามารถสนับสนุนการผลิตสินค้า รักษาการส่งออกของประเทศได้ในขณะที่บางประเทศทำไม่ได้ ทำให้การส่งออกเติบโตสูงสุดในรอบ 11 ปี การช่วยเหลือเยียวยาลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน โครงการเยียวยาภายใต้ พ.ร.ก.เงินกู้ฯ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การส่งเสริมการมีงานทำ การส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว การช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการที่กู้เงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานช่วงโควิด-19 การช่วยเหลือการยกระดับทักษะฝีมือให้มีอาชีพ การใช้มาตรา 75 เพื่อรักษาการจ้างงาน โครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง การจ่ายเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ การประกาศการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวถึงภารกิจที่กระทรวงแรงงานจะดำเนินการในอนาคต ว่า ในโลกปัจจุบันเป็นโลกยุคดิจิทัล โครงสร้างการประกอบธุรกิจและการทำงานมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การส่งเสริมการจ้างงานและพัฒนาทักษะต้องเป็นไปอย่างมีระบบปรับเปลี่ยนให้ทันต่อรูปแบบการทำงานและอาชีพใหม่ๆ

“การทำงานในระยะต่อไป ผมยังมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือดูแลพี่น้องแรงงานและผู้ประกอบการ โดยมีนโยบาย 1.ส่งเสริมการมีงานทำและการจ้างงาน โดยผลักดันการขยายตลาดแรงงานไปต่างประเทศ กระตุ้น ส่งเสริม รักษาการจ้างงาน รวมถึงบริการจัดหางานออนไลน์ สนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการใช้ระบบประกันสังคมเป็นแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม (สปส.) อยู่ระหว่างดำเนินการให้มีสถาบันทางการแพทย์เพื่อผู้ประกันตน และการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประกันตน รวมถึงบ้านพักคนชราตามมาตรา 33 2.ยกระดับฝีมือและพัฒนาทักษะแรงงาน ให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับเศรษฐกิจใหม่ เร่งรัดมาตรการยกระดับผลิตภาพแรงงาน เร่งสนับสนุนการพัฒนาแรงงานที่มีสมรรถนะสูง ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเศรษฐกิจระดับชุมชน 3.เร่งรัดการดูแลแรงงานนอกระบบ แรงงานสูงอายุ และแรงงานคนพิการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 4.เร่งรัดการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน” นายสุชาติกล่า


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปัญหาแรงงานชายแดนใต้ มอบศอ.บต.เน้นส่งเสริมทักษะเยาวชนสร้างตลาดแรงงานเพิ่ม

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปัญหาแรงงานชายแดนใต้
มอบศอ.บต.เน้นส่งเสริมทักษะเยาวชนสร้างตลาดแรงงานเพิ่ม

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคลและคณะ ได้เดินทางลงใต้ จ.ยะลา และจ.ปัตตานี เพื่อ ติดตามขับเคลื่อนงานพัฒนาและความมั่นคงในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ หรือ จชต .โดยมี เลขา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอบต.) ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำรอง นายกรัฐมนตรี กล่าว่า พล.อ.ประวิตร’และคณะ ได้เข้าเยี่ยมชม นิทรรศการท้องฟ้าจำลอง จากการจัดตั้ง “หอเฉลิมพระเกียรติรายอกีตอ” ตามพระราชดำริ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ และได้ติดตามการช่วยเหลือแรงงานไทยจากสถานการณ์โควิด-19 และการเตรียมการจัดแรงงานไทยจาก จัวหวัดชายแดนใต้ไปทำงานประเทศซาอุดิอาระเบีย โดย ศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนใต้

นอกจากนี้ยังได้ทำพิธีเปิด “มหกรรมแรงงานไทยจาก จชต. สู่ตลาดแรงงานที่มีทักษะโลกมุสลิม” และพบปะแรงงานที่ประสงค์เดินทางไปต่างประเทศ จากนั้น ได้ติดตามการขับเคลื่อนงานพัฒนาและความมั่นคงในพื้นที่ จชต. โดยรับทราบการเปิดสถาบันภาษานานาชาติ เน้นการเรียนรู้ ทั้งภาษาไทย มลายู อาหรับ ตุรเคีย มลายู จีนและอังกฤษ พร้อมทั้งเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนภาษา 4 ภาษา

พล.อ.ประวิตร’ ได้แสดงความขอบคุณ ศอ.บต.และ โรงงานที่ร่วมแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนในพื้นที่ ระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ได้กว่า 14,500 ราย และขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงาน ไทย-ซาอุดิอาระเบีย และประเทศมาเลเซีย ได้กว่า 30,000 ตำแหน่งงาน โดยสั่งการ ศอ.บต.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรียนรู้และการพัฒนาตามช่วงวัยของเด็กเล็ก ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ไม่มีงานทำและขาดรายได้ ทั้งการส่งเสริมอาชีพและจัดหางาน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อให้สามารถดำรงชีพและช่วยเหลือครอบครัวได้อย่างมั่นคง
โดยได้ประสานกับ กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนางานระดับหมู่บ้านชุมชนที่เปิดให้เอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุน และให้เร่งพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจนราธิวาสและเมืองต้นแบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเร็วขึ้น โดยต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชน เช่น อุตสาหกรรมฮาลาล และ BCG และให้มีการเชื่อมต่อกับต่างประเทศ ภายใต้ศักยภาพทุนมนุษย์และทรัพยากรในพื้นที่ที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ในลักษณะมีส่วนร่วมไปพร้อมกัน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” รุกสานต่อนโยบายเศรษฐกิจประชารัฐ วาง 5 แนวทางเพิ่มรายได้ให้ปชช.ดึงเอกชนร่วมขับเคลื่อน

“พล.อ.ประวิตร” รุกสานต่อนโยบายเศรษฐกิจประชารัฐ
วาง 5 แนวทางเพิ่มรายได้ให้ปชช.ดึงเอกชนร่วมขับเคลื่อน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบาย 3 พันธกิจหลัก ของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน “เศรษฐกิจประชารัฐ” จึงเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่มีเป้าหมายในการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นทั่วประเทศให้สอดรับกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี และสังคม โดยขับเคลื่อนนโยบายควบคู่ไปกับการสร้างสวัสดิการประชารัฐ ผ่านกลไกความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งในรูปแบบกองทุนรวม และการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน( PPP) โดยรัฐทำหน้าที่ให้การส่งเสริมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

“นโยบายเศรษฐกิจของพปชร.มีเป้าหมายในการทำให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีศักยภาพในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร สินค้าท้องถิ่น ด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนชุมชน ใช้การตลาดนำการผลิต เพิ่มช่องทางกระจายสินค้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนได้มีบทบาทสนับสนุน ทั้งการพัฒนาสินค้าและหาตลาด หรือพื้นที่กระจายสินค้า เป็นต้น”พล.อ.ประวิตรกล่าว

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประชารัฐ 5 มิติ ประกอบด้วย
1. เกษตรประชารัฐ ที่มุ่งลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการแปรรูป
2. เศรษฐกิจฐานราก เน้นกระจายรายได้ สร้างโอกาสด้วยการท่องเที่ยวในชุมชน และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สนับสนุนธุรกิจฐานนวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
4. เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว( BCG) ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
5. ส่งเสริม SME Startup และ Social Enterprise เพื่อสร้างโอกาสการริเริ่มธุรกิจ ที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่

“ ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีคนรุ่นใหม่ที่มีพลังในความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตสินค้า และบริการ แต่ยังขาดพื้นที่และโอกาส เศรษฐกิจประชารัฐ มีเป้าหมายระยะยาวในการสร้างความสามารถ และโอกาสที่เท่าเทียม นำไปสู่พลังที่เข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยที่จะช่วยให้ประชาชน กินดีอยู่ดี “พล.อ.ประวิตร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ตุลาคม 2565

ยึดมั่นไม่เปลี่ยนแปลง “โฆษกพปชร.” ย้ำจุดยืนพลังประชารัฐ เทิดทูน 3 สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ค้านแก้ม. 112 “บิ๊กป้อม” เดินหน้า 3 พันธกิจประชารัฐ

ยึดมั่นไม่เปลี่ยนแปลง “โฆษกพปชร.” ย้ำจุดยืนพลังประชารัฐ เทิดทูน 3 สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ค้านแก้ม. 112 “บิ๊กป้อม” เดินหน้า 3 พันธกิจประชารัฐ

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต 2 ในฐานะโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงจุดยืนของพรรค ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการแก้ไข มาตรา 112 ที่เป็นบทบัญญัติ ในการคุ้มครองประมุขของรัฐ ซึ่งเราชัดเจนมาโดยตลอด ต่อการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยพรรคพลังประชารัฐ จะยึดมั่นแนวทางนี้ ไม่มีเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยังมุ่งมั่นให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขจัดความเหลื่อมล้ำ และสานต่อพันธกิจเพื่อประชาชน คือสวัสดิการประชารัฐ ดูแลประชาชนทุกคนให้เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ด้วยแนวคิด “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน” ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่จะดูแลประชาชน ในทุกช่วงชีวิต รวมถึงเศรษฐกิจประชารัฐ ด้วยการสร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม ตลอดจนสังคมประชารัฐ ที่มุ่งขับเคลื่อนสังคมให้สงบสุข เข้มแข็ง และแบ่งปัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เข้มแผนลดอุบัติภัยบนท้องถนน ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเน้นความปลอดภัย ปชช.

“พล.อ.ประวิตร” เข้มแผนลดอุบัติภัยบนท้องถนน ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเน้นความปลอดภัย ปชช.

เมื่อ 20 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน แห่งชาติ ครั้งที่2/2565 ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบ ความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 เพื่อปรับปรุงมาตรการทางกฏหมาย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้รถใช้ถนน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการขับขี่ เช่น การกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก การเพิ่มโทษผู้ทำผิดซ้ำ การขับรถขณะเมาสุรา การป้องกันการแข่งรถ เป็นต้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 ก.ย.65 รวมทั้งระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ.2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9 ม.ค.66 และรับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กำหนดให้วันที่ 21 ม.ค.ของทุกปี เป็น”วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” เพื่อย้ำเตือนผู้ขับขี่ยานพาหนะ จะต้องระมัดระวังความปลอดภัย สืบเนื่องจากเหตุการณ์ วันที่ “หมอกระต่าย” หรือ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ถูกรถจักรยานยนต์ชนบนทางม้าลาย เมื่อ 21 ม.ค.65 ที่ผ่านมาแล้ว

จากนั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบ แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ.2566 โดยช่วงเทศกาลปีใหม่และวันสงกรานต์ ปี66 กำหนดชื่อโครงการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” และเห็นชอบ (ร่าง)แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ปี65-70 ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การสัญจรทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ มท. สตช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยเคร่งครัด เพื่อลดการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ให้ได้อย่างต่อเนื่อง และจากแนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนที่ลดลง ในขณะนี้ ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานอย่างได้ผล แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องเพิ่มการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้มีใครต้องเสียใจ เพราะคนในครอบครัวเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ จากอุบัติเหตุ โดยเน้นมาตรการเชิงรุก วิเคราะห์จุดเกิดเหตุซ้ำควบคู่ประชาสัมพันธ์ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัจจัยเสี่ยงด้าน คน ถนน และยานพาหนะ ซึ่งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย 100% พร้อมสร้างการรับรู้ ควบคู่การบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มข้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ยานพาหนะ และผู้ใช้ถนนร่วมกัน ทุกคน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ถก กนช.ไฟเขียวร่างแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี เปิด10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2566

,

“พล.อ.ประวิตร” ถก กนช.ไฟเขียวร่างแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี
เปิด10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2566

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการ กนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566–2580) ที่ปรับปรุงกรอบแนวทางและค่าเป้าหมายตามกรอบวิสัยทัศน์ “ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” โดยได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 13 กระทรวง 51 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำ ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แผนงานภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมทั้งได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจำนวน 7 พื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ และภาคประชาชน เพื่อให้ร่างแผนแม่บทดังกล่าวมีความสมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

สำหรับการปรับปรุงแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี ได้นำประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำ เช่น สถานการณ์ของโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เศรษฐกิจหมุนเวียนและการฟื้นตัว การเชื่อมโยงตัวชี้วัดและเป้าหมายกับแผนระดับชาติและแผนระดับนานาชาติ การปรับปรุงกรอบแนวทางการพัฒนา จากเดิม 6 ด้าน เป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีการควบรวมแผนแม่บทฯ เดิมด้านจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดินเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมระบบนิเวศของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และ 5.การบริหารจัดการ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำเรื่องการกำหนดเป้าหมายแต่ละระยะโดยนำงบประมาณมาพิจารณาประกอบ รวมถึงการปรับปรุงจำนวนกลยุทธ์ โดยเพิ่มกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดกลุ่มกลยุทธ์แผนแม่บทด้านบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านน้ำ เช่น การส่งเสริมองค์กรและการมีส่วนร่วม การจัดทำเครื่องมือในการบริหารจัดการ การจัดทำงบประมาณและการเงิน ทั้งกลุ่มโครงการที่สามารถดำเนินการได้เลย ให้ขับเคลื่อนผ่านช่องทางปกติ และโครงการที่ดำเนินการจำเป็นต้องขับเคลื่อน แต่ต้องให้มีการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบ หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้การขับเคลื่อนงานตามแผนแม่บทฯ เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและติดตามประเมินผลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุม กนช. ยังได้เห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ประกอบด้วย 1.เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท 2.เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 3.ปฏิบัติการเติมน้ำ 4.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 5.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร 6.เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง 7.เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ 8.เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน 9.สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ และ 10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งเห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 แนวคิดในการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมเชิงระบบ โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และข้อเสนอการยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

” รองหน.พปชร.” ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร’ จ.นครราชสีมา เตรียมแผนป้องกัน เร่งการระบายน้ำ ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”

,

” รองหน.พปชร.” ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร’ จ.นครราชสีมา
เตรียมแผนป้องกัน เร่งการระบายน้ำ ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”

นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จ.นครราชสีมา ลงพื้นที่ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) เนื่องจากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ทำให้เกิดฝนตกสะสมเป็นปริมาณมาก และเต็มพื้นที่ลุ่มน้ำของลำเชียงไกร ทำให้มีปริมาณน้ำท่า ไหลลงลำห้วย ลำน้ำต่างๆ เป็นจำนวนมาก และจากการติดตามฯ พบว่า มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 31.88 ล้านลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 2.83 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.13 เมตร ซึ่งระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก แต่อยู่ในสภาวะที่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ได้แนะนำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการป้องกัน พร้อมทั้งปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ พิจารณาระบายน้ำ โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายหรือกระทบน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

,

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 3/2565

โดยที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศและตลาดโลก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของอินโดนีเซียที่ได้มีการประกาศยกเลิกภาษีส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มทั้งหมด แต่จากสถานการณ์ภัยแล้งในทวีปอเมริกาทำให้ราคาน้ำมันพืชชนิดต่างๆ รวมถึงน้ำมันปาล์มยังทรงตัว ไม่ปรับลดลงมากนัก สำหรับสถานการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ คาดว่า ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในภาคบริโภคและอุตสาหกรรม จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.09 ล้านตันต่อเดือน เนื่องจากภาวะการค้าและการบริโภคยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่ภาคพลังงานปรับเพิ่มขึ้นหลังจากมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 เห็นชอบ การกำหนดเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลจาก บี5 เป็น บี7 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ในคราวนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบการเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม คราวละ 3 ปี (ปี 2566 – 2568) และขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เป้าหมาย 150,000 ตัน โดยขยายระยะเวลาส่งออกเป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 และขยายระยะเวลาโครงการให้สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 ยิ่งไปกว่านั้น ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565 – 2566 โดยให้เริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ งวดที่ 1 ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 เพื่อให้มีความต่อเนื่องจากโครงการฯ ปี 2564 – 2565 นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติแทนที่ชุดเดิมซึ่งหมดวาระในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน และผู้ประกอบการสวนปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกร จำนวน 3 ท่าน

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานให้คำนึงถึงเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ไม่ไห้ได้ผลกระทบ หรือ ได้ผลกระทบน้อยที่สุด จากการดำเนินการของรัฐบาล โดยเน้นมาตรการระยะยาวแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้ปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งยังได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 8 ชนิด ส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีภาคเอกชนหลายรายเริ่มลงทุนแล้ว ต้องยอมรับว่า ผลงานการบริหารราคาน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นเป็นที่ประจักษ์ภายใต้การดูแลของพล.อ.ประวิตรทำให้ชาวเกษตรกรสวนปาล์มชื่นชมถึงความทุ่มเทในการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ให้ “กินดีอยู่ดี” อย่างยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66 “พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66 “พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

"พล.อ.ประวิตร"ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร”ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

,

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) เปิดเผยถึง นโยบาย 3 พันธกิจหลักของพรรคพลังประชารัฐ ที่ประกอบด้วย 1.สวัสดิการประชารัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ 2.เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม และ 3.สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน โดยการดำเนินการในส่วนของ สวัสดิการประชารัฐ เป็นหนึ่งในเสาหลัก และนโยบายที่พรรคผลักดันให้เกิดขึ้นในรัฐบาลปัจจุบัน นับเป็นความสำเร็จ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนช่วงนี้ อยู่ระหว่างการเปิดให้ลงทะเบียนรอบใหม่ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประชาชนให้ความสนใจ มีการลงทะเบียนจำนวนมาก เพราะเป็นแนวทางที่ประชาชนได้ประโยชน์ สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ได้รับการดูแล ทั้งในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลเบี้ยยังชีพของผู้สูงวัย ตลอดจนผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มเปราะบาง

สำหรับการขับเคลื่อน และสานต่อ นโยบายสวัสดิการประชารัฐ พปชร. เล็งเห็นความสำคัญ ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับสวัสดิการที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต สามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม มองว่าเป็นนโยบายที่ตอบสนองคนไทยทุกคน นับแต่วันแรกที่มีลมหายใจ จนถึงวันสุดท้ายของลมหายใจ จึงเป็นที่มาของแนวคิด จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน สวัสดิการประชารัฐ

ทั้งนี้ได้แบ่งการดูแลสวัสดิประชารัฐตาม ช่วงวัย ดังนี้

  1. ช่วงอยู่ในครรภ์ จนถึง 6 ปี ต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพ โภชนาการครบถ้วน พัฒนาการตามวัย
  2. อายุ 7-18 ปี : การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียม เพิ่มทางเลือกทางการศึกษาให้เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนไป
  3. อายุ 18-40 ปี : สวัสดิการคุ้มครองแรงงานในและ นอกระบบ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะ รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
  4. อายุ 40-60 ปี : ดูแลสวัสดิการเสริมด้านสุขภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกคน
  5. อายุ 60 ปีขึ้นไป : เบี้ยยังชีพ บ้านพัก และสวัสดิการผู้สูงอายุ

    อย่างไรก็ตามเป้าหมายต่อไปที่จะผลักดันการใช้ สวัสดิการประชารัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพ พรรคพลังประชารัฐไม่ได้เน้นเพียงกลุ่มเปราะบางเท่านั้น แต่ต้องการให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน สนับสนุนให้เกิดฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ๊กดาต้าด้านสวัสดิการ เพื่อออกแบบสวัสดิการสำหรับคนต่างกลุ่ม ต่างวัย ได้อย่างครอบคลุม และถูกฝาถูกตัว ผ่านบัตรประชาชน

“เป้าหมายสำคัญ คือ ลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน และสร้างความเท่าเทียมให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย เพราะพรรคพลังประชารัฐห่วงใยและพร้อมดูแลพี่น้องประชาชนอย่างครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”พล.อ.ประวิตรกล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ ​พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

"พล.อ.ประวิตร"ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

“รมว.สุชาติ” เตรียมจับมือ 15 สถานประกอบการ หนุนจ้างงานคนพิการ ปี’66 เพิ่ม 20%

,

“รมว.สุชาติ” เตรียมจับมือ 15 สถานประกอบการ หนุนจ้างงานคนพิการ ปี’66 เพิ่ม 20%

วันนี้ (18 ตุลาคม 2565) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับนโยบายของกระทรวงแรงงานด้านการมุ่งเน้นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ เพื่อให้มีหลักประกันทางสังคม ยกระดับให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งกระทรวงฯ ได้มีการจัดทำโครงการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม โดยประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนนายจ้าง สถานประกอบการที่เคยใช้สิทธิตามมาตรา 34 ในการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เปลี่ยนมาให้สิทธิตามมาตรา 35 ประเภทการจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ โดยจ้างงานคนพิการเข้าไปปฏิบัติงานสนับสนุนหน่วยงานสาธารณะประโยชน์ในท้องถิ่น เช่น โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ เป็นต้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับคนพิการโดยตรง ช่วยให้คนพิการในพื้นที่ห่างไกลได้รับโอกาสมีอาชีพ มีรายได้ สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

“ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นอย่างดี ขอบคุณที่มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาส และขับเคลื่อนให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 กระทรวงฯ มีการขยายเป้าหมายการมีงานทำให้คนพิการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จำนวน 1,800 คน ซึ่งผมได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานเชิญชวนนายจ้าง/สถานประกอบการ เข้าร่วมโครงการฯเพิ่ม” นายสุชาติ กล่าว

ทั้งนี้กระทรวงแรงงาน ได้ เชิญชวนสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม สอดรับกับการเพิ่มเป้าหมายให้คนพิการมีงานทำ โดยได้เชิญเอกชนเข้าร่วมโครงการ อาทิ บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานสำโรง (สำนักงานใหญ่) พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางร่วมกัน จากเดิมที่ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ให้เปลี่ยนมาใช้สิทธิมาตรา 35 ซึ่งทางบริษัทฯให้ความสนใจโครงการฯ ดังกล่าวอย่างมาก

นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคม กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. มีเป้าหมายเข้าพบหารือสถานประกอบการเอกชน โดยมีผู้ตรวจราชการกรมลงพื้นที่ เพื่อแนะนำและเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ 15 แห่ง เช่น ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเตม จำกัด เป็นต้น

“โครงการนี้ฯ ก่อให้เกิดรายได้กับผู้พิการโดยตรง นอกเหนือไปจากเบี้ยยังชีพคนพิการ โดยสามารถทำงานได้ที่หน่วยงานใกล้บ้าน เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและครอบครัวให้ดีขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ โดยทางกรมฯ อำนวยความสะดวกสถานประกอบการให้สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิผ่านระบบ E-service นอกจากนี้ยังมีทีมงานในการติดตามประเมินผลเพื่อดูแลคนพิการแทนสถานประกอบการด้วย”
สำหรับสถานประกอบการที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสอบถามติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิผ่านระบบ E-service กรมการจัดหางาน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ผนึกหน่วยงานส่งเสริมองค์ความรู้จัดการน้ำอย่างยั่งยืน เสริมศักยภาพชุมชนร่วมคิด วางแผน พัฒนาใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

,

“พล.อ.ประวิตร”ผนึกหน่วยงานส่งเสริมองค์ความรู้จัดการน้ำอย่างยั่งยืน
เสริมศักยภาพชุมชนร่วมคิด วางแผน พัฒนาใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“พลเอก ประวิตร” เป็นประธานลงนามบันทึกความเข้าใจ “พัฒนาองค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน”ยกระดับความเข้มแข็งของการดำเนินงานร่วมกัน จัดการทรัพยากรน้ำตั้งแต่ต้นทาง – ปลายทาง

วันนี้ (18 ตุลาคม 65) เวลา 14.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ กล่าวถึงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน และผู้บริหารจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย กล่าวถึงแผนการดำเนินงาน และลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ณ ห้องราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ที่มุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความมั่นคง และเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน นับว่าเป็นการยกระดับความเข้มแข็งของการดำเนินงานร่วมกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สนับสนุนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการร่วมลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในครั้งนี้ และในโอกาสนี้ ขอเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญของชาติ โดยปัจจุบันมี “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)” ทำหน้าที่ในการบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีเอกภาพ อย่างไรก็ตาม จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะต้องพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการที่จะร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนาและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพื่อประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

โดยที่ผ่านมาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ดำเนินงานตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พุทธศักราช 2561 มีเจตนารมณ์ที่จะให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความประสานสอดคล้องกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การลงนามบันทึกความเข้าใจของทั้ง 3 หน่วยงานในการที่จะร่วมกันบูรณาการความร่วมมือในครั้งนี้ จึงสอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และคาดหวังว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์คือประโยชน์สุขของประชาชน อันเกิดจากการบริหารจัดการน้ำของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2565