โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ผู้เขียน: pprpadmin

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟรณรงค์หยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โชว์นวัตกรรมการแพทย์ HPV DNA Test แยก 14 สายพันธุ์ บริการสตรีเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง

,

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟรณรงค์หยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โชว์นวัตกรรมการแพทย์ HPV DNA Test แยก 14 สายพันธุ์ บริการสตรีเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการ “รณรงค์หยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย FINDING HPV STOPCERVICALCANCER” ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากการเก็บตัวอย่างด้วยตนเองด้วยวิธี HPV DNA Test แบบแยก 14 สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักให้สตรีไทย เห็นถึงความสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก พร้อมมอบสัญลักษณ์การดำเนินโครงการหยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ให้กับผู้แทนเขตสุขภาพ 13 เขต โดยมีนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายสันติ กล่าวว่า การประชุม Finding HPV Stop Cervical Cancer ค้นเชื้อมะเร็งปากมดลูกในวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายยกระดับ 30 บาท เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมีนโยบาย “มะเร็งครบวงจร” เป็น 1ใน 13 ประเด็นมุ่งเน้น ซึ่งดำเนินการครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน คัดกรอง วินิจฉัยรักษา ดูแลฟื้นฟูกายและใจ โดยเฉพาะมะเร็งซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกพบมาก 1 ใน 5 ของมะเร็ง ที่พบบ่อยในหญิงไทย สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเอชพีวี ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายการฉีดวัคซีนเอชพีวีให้กับหญิงอายุตั้งแต่ 11-20 ปีทุกคน ซึ่งที่ผ่านมามีการฉีดวัคซีนไปกว่า1ล้านคนแล้ว

นอกจากนี้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการป้องกันมะเร็ง โดยกระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้หญิงไทยที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี จึงขอเชิญชวนหญิงไทยอายุ 30 – 60 ปีบริบูรณ์ เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจหา HPV DNA จากการเก็บตัวอย่างด้วยตนเองแบบแยก 14 สายพันธุ์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาระยะเริ่มต้นและเพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาดได้ เพื่อให้สตรีไทยมีสุขภาพดี ปลอดจากมะเร็งปากมดลูก เพิ่มความเข้มแข็งด้านการดูแลสุขภาพประชาชน และส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

“โรคมะเร็งเป็นภัยร้ายแรงของพี่น้องชาวไทย และประชากรโลก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก ได้คุกคามสตรีไทยมาหลายสิบปี กระทรวงสาธารณสุขมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะตรวจมะเร็งให้กับสุภาพสตรีก่อนที่จะพบว่าเป็นมะเร็งแล้ว หรืออยู่ในระยะลุกลาม ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาตรวจคัดกรองได้ด้วยตนเอง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีอยู่ในเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้ตรวจคัดกรองตั้งแต่ ดีเอ็นเอว่า มีญาติที่น้องที่มีเชื้อจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้หรือไม่ และเมื่อตรวจเจอมะเร็งตั้งแต่เริ่มต้นสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ โดยในอดีตที่สุภาพสตรีต้องไปขึ้นขาหยั่งเพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกก็จะทำให้เขินอาย ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีชุดตรวจสามารถขอไปตรวจเองและส่งให้กับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อตรวจวิจัยและส่งผลกลับไปให้กับประชาชน เพื่อคัดกรองตั้งแต่เบื้องต้น ลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตได้” นายสันติ กล่าว

จากข้อมูลภาพรวมของประเทศสตรีไทยที่จะต้องตรวจคัดกรองภายใน 5 ปี (ปี 2564- ปี2568) จำนวน 15,677,638 คน โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา มีเป้าหมาย 3,135,528 คน แต่ได้รับการตรวจคัดกรองเพียง 613,254 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.6 เท่านั้น และพบว่ายังมีสตรีไทยที่ไม่เคยไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจภายในและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเลย จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน เนื่องจากมีความเขินอาย การขาดความรู้ความ และการเข้าไม่ถึงระบบประกันสุขภาพ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ธันวาคม 2566

“สัมพันธ์”ขอ รัฐบาล เร่งเยียวยา ช่วยเหลือชาวนราธิวาส เพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมหนัก เดือดร้อนแล้วกว่า 3 หมื่นคน

,

“สัมพันธ์”ขอ รัฐบาล เร่งเยียวยา ช่วยเหลือชาวนราธิวาส เพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมหนัก เดือดร้อนแล้วกว่า 3 หมื่นคน

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยังมีประสบอุทกภัยกินพื้นที่วงกว้าง ทำให้ขณะนี้รางรถไฟถูกตัดขาดบริเวณเส้นทางตันหยงมัส-ป่าไผ่ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงต้องงดบริการรถไฟทุกขบวนจากสุไหงโก-ลก รวมถึงเมื่อคืนที่ผ่านมาน้ำยังเข้าท่วมโรงเรียน บ้านเรือนประชาชน ใน อ.สุคิริน อ.แว้ง อ.เจาะไอร้อง อ.สุไหงปาดี ขณะที่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากฝนยังคงตกต่อเนื่อง

นายสัมพันธ์ จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้พื้นที่ 9 อำเภอ 44 ตำบล 196 หมู่บ้าน 9,558 ครัวเรือน 37,901 คน 4 ชุมชน โรงเรียน 11 แห่ง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ตนอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือและเยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่โดยด่วน เนื่องจากประชาชนสูญเสียรายได้หลายพันครัวเรือน ไม่สามารถออกไปประอาชีพได้ตามปกติ ขณะที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายหลายร้อยหลังคาเรือน

“ผม และ สส.พปชร.เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามสถานการณ์อยู่ตลอด แต่สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย และมีแนวโน้มจะยาวนาน เนื่องจากฝนยังตกอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำเก่ายังไหลมาสมทบ ทำให้น้ำยังคงท่วมขังบ้านเรือนประชาชน และสร้างผลกระทบขยายวงกว้างขึ้น ผมและสส.นราธิวาส อยากเสนอให้รัฐบาลมีแนวทางเพื่อเข้ามาเยียวยาให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยครั้งนี้โดยเร็ว”นายสัมพันธ์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ธันวาคม 2566

“พัชรวาท” ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายจากเรือล่ม พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อำนวยความสะดวก – ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

,

“พัชรวาท” ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายจากเรือล่ม พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อำนวยความสะดวก – ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีที่เกิดอุบัติเรือท่องเที่ยวจมเนื่องจากคลื่นลมแรงในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมบูรณาการการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่ประสบภัย ตลอดจนนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวตามจุดต่างๆ ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งขอให้รับฟังข่าวสารการประกาศแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

“สำหรับการค้นหานักท่องเที่ยว 2 รายที่ยังสูญหายนั้น ก็ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานและขอให้ปฏิบัติการสำเร็จพบตัวผู้สูญหายโดยเร็วและปลอดภัยทุกคน”

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานยอดดอย ถือเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสอากาศหนาวกันเป็นจำนวนมาก ก็อยากขอให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ช่วยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว ให้ได้ท่องเที่ยวกันอย่างมีความสุข รวมถึงเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าในช่วงอากาศแห้งแล้งนี้ด้วย ทั้งนี้มีรายงานว่า เกิดปรากฎการณ์น้ำค้างแข็งหรือ “เหมยขาบ” บริเวณลานจอดรถหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ อน.5 (ยอดดอย) ซึ่งนับเป็นการเกิดเหมยขาบครั้งที่ 6 ของฤดูกาลนี้ ขณะเดียวกันสภาพอากาศบริเวณยอด “ดอยอินทนนท์” มีอุณหภูมิต่ำสุด 6 องศาเซลเซียส ที่จุดชมวิว “กิ่วแม่ปาน” อุณหภูมิที่วัดต่ำสุด อยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุณภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 7 องศาเซลเซียส ก็ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยไปท่องเที่ยวสัมผัสอากาศหนาวเย็นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศเราด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร”ร่วมพิธีพุทธาภิเษก และครุฑธาภิเษก วัดครุฑธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

,

“พล.อ.ประวิตร”ร่วมพิธีพุทธาภิเษก และครุฑธาภิเษก วัดครุฑธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันนี้ (24 ธ.ค.66) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, น.ส.ตรีนุช เทียนทอง สส.สระแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ, พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ นายทะเบียนสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ, นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สส.สิงห์บุรี และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกและครุฑธาภิเษก ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส ณ มณฑลพิธี วัดครุฑธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดย พล.อ.ประวิตร ได้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมถวายเครื่องปัจจัยไทยธรรมแด่พระเถราจารย์นั่งปรก และพระพิธีธรรม และร่วมกรวดน้ำและรับพรจากพระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค9 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระเกจิคณาจารย์ จำนวน 36 รูปจากทั่วประเทศ ร่วมเมตตานั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลในครั้งนี้

สำหรับวัตถุมงคลพญาครุฑ รุ่น “สมบัติแผ่นดิน 140 ปี ไปรษณีย์ไทย” จัดทำขึ้นเพื่อสืบสานตำนานศิลป์ปฐมบท “ครุฑยุดแตรงอน” สัญลักษณ์ของกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งจำลองมาจากประติมากรรมที่ประดับบนอาคารไปรษณีย์กลาง ที่ได้รับการออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ได้รับการขนามนามว่าเป็นบิดาแห่งวงการศิลปะ

สำหรับ บรรยากาศบริเวณพิธีเต็มไปด้วยผู้มีจิตศรัทธา ผู้ว่าราชการจังหวัดอยุธยา ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน และสาธุชนที่มาให้การต้อนรับ พล.อ.ประวิตร และคณะ ได้เข้าร่วมพิธีสร้างบุญกุศลเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นจำนวนมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าอ.จอมบึง จ.ราชบุรี สส.พปชร ร่วมดึงปชช.อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าอ.จอมบึง จ.ราชบุรี
สส.พปชร ร่วมดึงปชช.อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

24 ธค 2566 นายอรรถกร ศิริลัทยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และผู้บริหารระกับสูงของกระทรวง ได้ร่วมเปิดงานงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2566ด้วยแนวคิด “Save wildlife for your life : รักษาธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย” พื้นที่ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 เขาประทับช้าง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โดยมี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เขต2 นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ เขต 3 นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ เขต 5 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จ.ราชบุรี ทั้ง3 เขต ให้การต้อนรับ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ ในการรณรงค์ให้ประชาชน ร่วมดูแลรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ยังเป็นพื้นที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ พร้อมกับการรณรงค์และป้องปราบ ปราบปราม ผู้กระทำผิด เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ เนื่องพันธ์สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และ ความเป็นอยู่ของประชาชน

“ความสำเร็จในการอนุรักษ์สัตว์ป่า จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการดูแลและคุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การป้องกันสัตว์ป่ามิให้ถูกล่าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์ให้หยุดการซื้อ-ขายสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ พปชร.โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ต่อการสร้างระบบนิเวศที่ต้องให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อต่อยอดพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ“

นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ขับเคลื่อนให้เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่กระทรวงทรัพย์จะดำเนินการปราบปรามทั่วประเทศ โดยเฉพาะการลักลอบฆ่าสัตว์ป่า หรือสัตว์สงวนที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันดำเนินในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อร่วมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของไทยให้คงอยู่ และมีความยั่งยืน ขณะเดียวกันการที่ผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะมีส่วนสำคัญต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะมีส่วนช่วยลดโลกร้อน และจะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ มุ่งเป้าหมายไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธ์เป็นศูนย์ ตามเป้าหมายของไทย ที่กำหนดไว้ใน ปี 2593

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ขึ้น เชียงใหม่ Kick Off “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” เดินหน้า 56 จังหวัด พื้นที่เสี่ยงต่อการเผา มุ่งลดฝุ่น PM 2.5 แก้ภาวะโลกร้อน

,

“รมว.ธรรมนัส” ขึ้น เชียงใหม่ Kick Off “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” เดินหน้า 56 จังหวัด พื้นที่เสี่ยงต่อการเผา มุ่งลดฝุ่น PM 2.5 แก้ภาวะโลกร้อน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” ที่จัดขึ้นโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีศูนย์กลางการจัดงาน ณ บ้านแม่กุ้งบก ตำบลสันกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอีก 55 จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการเผา (Hot Spot) ทั่วประเทศ โดยถ่ายทอดสดพร้อมกันผ่านระบบ Zoom Conference Meeting และ Facebook Live ผ่านเพจเฟซบุ๊กกรมพัฒนาที่ดิน โดย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วม Kick Off ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี และนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วม Kick Off ณ บ้านศิลาทอง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ซึ่งภายในงานมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน หมอดินอาสา เกษตรกร และประชาชน เข้าร่วมงานทั่วประเทศกว่า 20,000 ราย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการเผาพื้นที่ป่าไม้และวัสดุทางการเกษตรเพื่อเตรียมแปลงปลูกพืชในฤดูถัดไป ซึ่งเป็นการสร้างมลพิษทางอากาศนำไปสู่ภาวะโลกร้อน พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายโครงสร้างดินที่เหมาะสม และทำลายห่วงโซ่อาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) และให้บรรลุเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2613 ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ในเวทีโลก ซึ่งการจัดงานในวันนี้ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันเพื่อหยุดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาจากการเผาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรดิน จึงขอให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจ ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยต่อไป

ด้าน นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ตอซังข้าว ข้าวโพด และอื่น ๆ เปลี่ยนมาใช้วิธีไถกลบตอซังพืชแทนการเผา ซึ่งเศษวัสดุการเกษตรเหล่านี้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช แต่เกษตรกรยังขาดการจัดการที่เหมาะสม มีการเผาทิ้งหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินแล้ว ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป เนื้อดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำลายจุลินทรีย์ดินและแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และที่สำคัญเป็นสาเหตุทำให้เกิดหมอกควัน และฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน และรัฐบาลได้ประกาศให้ปัญหาหมอกควันเป็นปัญหาวิกฤติสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน การจัดงานรณรงค์ “ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” ประจำปีงบประมาณ 2567 ในวันนี้เพื่อปลุกจิตสำนึก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร ทำการเกษตรโดยไม่เผา หันมาไถกลบตอซัง เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน และสาธิตวิธีการไถกลบตอซังที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่เกษตรกรนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากการเผาตอซังพืช ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย สาธิตการไถกลบตอซังพืช โดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นผู้นำขบวนรถไถ เพื่อไถกลบตอซังพืชพร้อมกันทั่วประเทศ รวมทั้งมี

การแจกเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดให้เกษตรกรร่วมหว่านเมล็ดพันธุ์ในแปลงสาธิตอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เผย คกก.แก้มลพิษฯ เห็นชอบเสนอ ครม.ของบฯกลาง 67 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ พร้อมตั้งงบฯแผนงานยุทธศาสตร์ฯ ปี 68 เพื่อบูรณาแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน ลั่นฝุ่นพิษ – จุดความร้อนต้องลดลง พร้อมเห็นชอบ “ชัชชาติ” นั่ง ผอ.ศูนย์ฯ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กทม.

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เผย คกก.แก้มลพิษฯ เห็นชอบเสนอ ครม.ของบฯกลาง 67 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ พร้อมตั้งงบฯแผนงานยุทธศาสตร์ฯ ปี 68 เพื่อบูรณาแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน ลั่นฝุ่นพิษ – จุดความร้อนต้องลดลง พร้อมเห็นชอบ “ชัชชาติ” นั่ง ผอ.ศูนย์ฯ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กทม.

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 2/2566 มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมการ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เมื่อเข้าสู่การประชุม น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานวาระการประชุม ให้ที่ประชุมรับทราบ

ภายหลังการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการขอรับการจัดสรรงบกลางในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง จำนวน 10 โครงการ เพื่อของบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2567 อาทิ โครงการสนับสนุนการดับไฟป่าโดยใช้อากาศยานปีกหมุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างเป็นระบบโดยศูนย์ปฎิบัติการดับไฟป่า โดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์การป้องกันผลกระทบสุขภาพจากปัญหามลพิษทางอากาศ กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โครงการจัดหาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ แบบครบวงจร โดย กรมควบคุมมลพิษ โครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ กรมป่าไม้ โครงการปฎิบัติภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยศูนย์ปฎิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ

ขณะเดียวกันยังมีการจัดตั้งงบประมาณ “แผนงานยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5” ในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกในการบูรณาการบริหารจัดการแก้ไข ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ต้องลดลงและจำนวนจุดความร้อนต้องลดลง ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้สำนักงบประมาณเพิ่มเติม “แผนงานยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5” ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศกรุงเทพมหานคร โดยมี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่จัดตั้งไว้แล้วใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 5 จังหวัดในปริมณฑล เพราะพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่สำคัญของประเทศที่ประสบวิกฤตฝุ่น PM2.5 และได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเชื่อมโยงศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PHEOC) กับศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศฯ เพื่อให้มีการบูรณาการและสื่อสารข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกมิติทั้งในการการแก้ไขปัญหาฝุ่นและด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 ธันวาคม 2566

‘รมว.ธรรมนัส’ โชว์ผลงาน “เกษตรฯ 99 วันทำได้จริง! 6 โนบาย รุกช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ ใช้‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม หารายได้’ ยกระดับราคายาพารา ข้าว ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย

,

‘รมว.ธรรมนัส’ โชว์ผลงาน “เกษตรฯ 99 วันทำได้จริง! 6 โนบาย รุกช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ ใช้‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม หารายได้’ ยกระดับราคายาพารา ข้าว ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากนโยบายของ รัฐบาลด้านการเกษตร โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งกำหนดแนวทาง “ตลาด นำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของ รัฐบาลให้บรรลุเป้าหมาย โดยกำหนดนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างครอบคลุม ทั้งนโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเน้นโครงการพระราชดำริ นโยบายระยะสั้น ในการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนนโยบายระยะกลาง และ ระยะยาว เพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้าง คุณภาพชีวิต โดยมีผลการดำเนินงานในโครงการสำคัญ ระยะเวลา 99 วัน (ตั้งแต่ 1 กันยายน – 8 ธันวาคม 2566) ดังนี้

นโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริ ในโครงการจัดงานมหกรรมเพื่อเฉลิม พระเกียรติฯ และจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน ประชาชนได้รับความรู้ ไม่น้อยกว่า 3,000 ราย ดำเนินการเผย แพร่ แนวพระราชดำริและสร้างความตระหนักเรื่องดิน ผ่านกิจกรรม วันดินโลก ผู้ร่วมงานทั้ง Onsite และ Online ประมาณ 118,594 ราย จัดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารแล้ว 11 จังหวัด เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าใช้บริการไม่น้อยกว่า 1,100 ราย (เป้าหมายทั้งปี 77 จังหวัด 7,700 ราย) พร้อมจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ถวายเป็นพระราชกุศล 13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” จำนวน 700,000 ตัว ตลอดจนดำเนินโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อ เกษตรกร ตามพระราชดำริ (ธคก.) เกษตรกรได้รับการสนับสนุน โค-กระบือ จำนวน 2,120 ราย รวมโค- กระบือ จำนวน 2,368 ตัว คิดเป็นมูลค่า 66,348,000 บาท เกษตรกรได้รับมอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือ จำนวน 2,634 ราย โค-กระบือ จำนวน 3,517 ตัว คิดเป็นมูลค่า 71,928,850 บาท

2. นโยบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เร่งเตรียมมาตรการรองรับภัยพิบัติ โรคระบาดพืช และสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดการน้ำในช่วงวิกฤติภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ 40,387 ล้านลูกบาศก์เมตร วางแผน จัดสรรน้ำฤดูแล้ง 21,810 ล้านลูกบาศก์เมตร (อุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ เกษตรฤดูแล้ง อุตสาหกรรม) พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง 5.8 ล้านไร่ สำรองน้ำต้นฤดูฝน 18,577 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่ม ปริมาณฝนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร กระจายน้ำจากแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ได้ดำเนินการ ร่วมกับชุมชนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกษตรกรพื้นที่สูงได้รับประโยชน์ 5,350 ราย พื้นที่ 8,142 ไร่ อำนวยการรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดย ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร จำนวน 4,539 ราย จำนวนเงินช่วยเหลือ 25.630 ล้านบาท ตลอดจนให้การสนับสนุนเสบียงสัตว์ หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย จำนวน 675,820 กิโลกรัม เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือ 6,675 ราย และสนับสนุนอาหาร สัตว์ช่วยเหลือทั่วไป จำนวน 49,440 กิโลกรัม แก่เกษตรกร 949 ราย

ประกาศปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อน ดำเนินการตรวจสอบห้องเย็นทั่วประเทศ โดยบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งหมด 107 จุด ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด จันทบุรี ระยอง ระนอง กาญจนบุรี และสมุทรปราการ สำหรับการตรวจสอบห้องเย็นด้านปศุสัตว์ 2,437 แห่ง และด้านประมง 2,062 แห่ง มีการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการ จำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 จำนวน 159 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 4,573.25 ตัน มูลค่าของกลาง 472.29 ล้านบาท

แบ่งเป็น (1) สินค้าปศุสัตว์ลักลอบนำเข้า 18 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 1,151.05 ตัน มูลค่าของ กลาง 159.11 ล้านบาท (2) การกระทำผิดกฎหมายภายในประเทศ 141 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 3,422.20 ตัน มูลค่าของกลาง 313.18 ล้านบาท ปราบปรามปัจจัยผลิตทางการเกษตรผิดกฎหมาย มูลค่า กว่า 34 ล้านบาท อาทิ ด่านท่าเรือกรุงเทพฯ การลักลอบนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิด กฎหมาย จำนวน 208,000 ลิตร มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท จ.กาญจนบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและอายัดปุ๋ยผิดกฎหมาย (ปุ๋ยอินทรีย์ (ยางพารา) และปุ๋ยเคมี) จำนวน 614.75 ตัน มูลค่ากว่า 9 ล้านบาท และ จ.เชียงใหม่ จ.กาญจนบุรี และ กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบและอายัดวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิดกฎหมาย จำนวน 540.5 ลิตร และ 13.8 กิโลกรัม มูลค่า 554,300 บาท ปราบปรามยางพาราผิดกฎหมาย 99 วัน ทำทันที โดยอายัดยางพาราต้องสงสัยผ่านพรมแดน 104 ตัน มูลค่า 5 ล้านบาท โดยทีมเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยความมั่นคง ได้อายัดยางพาราที่ต้องสงสัยผ่านพรมแดน จ.กาญจนบุรี จำนวน 29 ตันมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท และ จ.ระนอง จำนวน 75 ตัน มูลค่ากว่า 3.75 ล้าน บาท ทำให้ราคายางพารา มีแนวโน้มสูงขึ้น สร้างความเชื่อมั่น และเสถียรภาพให้กับเกษตรกร ชาวสวนยาง

รวมทั้งจัดตั้งทีมเฉพาะกิจพญานาคราชเพื่อปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายและร่วมสนับสนุนภารกิจของ สารวัตรปศุสัตว์และสารวัตรประมง พร้อมจัดตั้งทีมสายลับยางจากเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ เกี่ยวข้องในพื้นที่ สอดส่องการลักลอบนำเข้ายางพาราผิดกฎหมาย

จัดตั้งสารวัตรเกษตรไซเบอร์ ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รับแจ้งเบาะแส และปราบปรามทางสื่อออนไลน์ การรวบรวมเอกสารเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความ ผิด รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรทำให้ได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ราคาสินค้า เกษตรเพิ่มขึ้น และลดปัญหาการนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย

สร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ จัดตั้งศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช 959 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อรับเรื่องราว ร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร เกษตรกรเข้ามาขอรับบริการจำนวน 2,566 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,798 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 462 เรื่อง ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการยกระดับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าพืช
ด้วยระบบ GAP โดยตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน GAP พืช ไม่น้อยกว่า 20,000 แปลง โครงการร้าน อาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q (Q Restaurant) โดยตรวจรับรองร้านอาหาร Q Restaurant 8 ร้าน ยกระดับร้านอาหารระดับพรีเมี่ยม 4 ร้าน

3. นโยบายสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต
การสร้างรายได้ภาคเกษตร ตามนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของรัฐบาล โดยมุ่งลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/2567 จำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงิน 34,437 ล้านบาท เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่ว ประเทศ ได้รับประโยชน์ 610,000 ราย โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบัน เกษตรกร ปี 2566/2567 วงเงิน 481.25 ล้านบาท สถาบันเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับรวบรวมข้าว เปลือกเพื่อจำหน่าย/แปรรูป 1 ล้านตันข้าวเปลือก สถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ 3.033 ล้านครัวเรือน โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพ ผลผลิตข้าว ปีการผลิต 2566/2567 เกษตรกรที่ขึ้น ทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4.68 ล้านครัวเรือน ได้รับการสนับสนุนไร่ละ 1,000 บาท/ครัวเรือน ครัว เรือนละไม่เกิน 20 ไร่

นอกจากนี้ ได้ผลักดันไหมอุตสาหกรรมรังเหลืองในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา สนับสนุนปัจจัยการผลิต 200 ราย เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาท/เดือน รวมทั้งส่ง เสริมให้เกษตรกรในพื้นที่แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นำนวัตกรรมมาใช้ในการปลูกถั่วเหลือง ทำให้ผลผลิตเพิ่ม จากเดิม 395 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 492 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้น 2,500 บาท/ไร่ ตลอดจนแก้ไข ปัญหาประมง โดยปรับปรุง แก้ไข และออกใหม่กฎหมายฉบับรอง 18 ฉบับ ทำให้การบังคับกฎหมาย สอดคล้องกับบริบทการทำประมงและลดภาระให้กับชาวประมง ตลอดจนเพิ่มวันทำการประมงเพื่อเปิดโอกาส ให้เกษตรกรสร้างรายได้เพิ่มการสร้างและขยายโอกาส

บริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกร โดยประกาศใช้ ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2 ฉบับ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เพื่อยกระดับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร และมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 9,820 ราย 11,060 แปลง เนื้อที่จำนวน 107,284 ไร่

สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย รมว.กษ. กับผู้แทนระดับรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต และผู้นำภาครัฐและเอกชนของประเทศญี่ปุ่น จีน นอร์เวย์ มาเลเซีย และผู้แทน FAOการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สนับสนุนการขายคาร์บอนเครดิต และลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และบำบัดน้ำเสียเพื่อกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำ เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำผักตบชวาหมักด้วยสารเร่ง พด.1 รวม 34,744 ตัน คิดเป็นมูลค่า 104.23 ล้านบาท ส่งเสริมการทำคาร์บอนเครดิต ในสวนยาง นำร่อง 45,000 ไร่ ใน จ.จันทบุรี จ.เลย และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อขอยื่นรับรองมาตรฐาน T-VER

การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร เป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชน เจรจา 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มสมัชชาคนจน (สคจ.) 2) กลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) และกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรอีสาน (สพอ.) 3) กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และ 4) กลุ่มขบวนการ ประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด จำนวน 66 จังหวัด และดำเนินโครงการตรวจประเมินการควบคุมภายในเพื่อป้องกันความเสี่ยงการทุจริตด้านดิจิทัลใน สหกรณ์ เพื่อป้องปรามปัญหาการทุจริต ในสหกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สหกรณ์ภาคการเกษตรดำเนินการแล้ว 1,500 แห่ง

สำหรับงานสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการในระยะต่อไป จะยังคงมุ่งเน้นตามนโยบาย อย่างครอบคลุม อีกมากกว่า 30 โครงการ ประกอบด้วย นโยบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ เร่งเตรียม มาตรการรองรับภัยแล้งรวมถึงภัยพิบัติ ในโครงการประกันภัยภาคการเกษตร มุ่งสร้างรายได้ เสริมอาชีพ ระหว่างการพักหนี้ ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โครงการพัฒนาสมรรถนะและยก ระดับความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรและบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ ประโยชน์ และสนับสนุน BCG Economy Model ด้วยโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โครงการส่งเสริมการจัดตั้งและบริหารจัดการ วิสาหกิจเกษตรฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการศึกษา แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เกษตรชีวภาพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร ในโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สินค้าเกษตรนโยบายระยะกลาง และระยะยาว“สร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต” ได้แก่ การสร้างรายได้ภาคเกษตร มุ่งลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยดำเนินโครงการสร้างผู้ประกอบการ เพื่อให้บริการทางการเกษตรอัจฉริยะ โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (ASP) โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตร โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้าน ประมง โครงการศูนย์แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพสูง โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรเมืองร้อน มูลค่าสูง สู่ตลาดโลก รวมถึงส่งเสริมการบริหารจัดการแบบแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ ด้วยโครงการยก

ระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ โครงการ พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ โครงการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ในสถาบันเกษตรกร โครงการ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“พัชรวาท” ร่วมส่ง “โนบิตะ – ชิซุกะ- ไบรอัล” 3 อุรังอุตัง กลับบ้านเกิดอินโดนีเซีย หลังจบคดีค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ กระชับสัมพันธ์ไทย – อิเหนา รอบ 73 ปี แสดงควาวมมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

,

“พัชรวาท” ร่วมส่ง “โนบิตะ – ชิซุกะ- ไบรอัล” 3 อุรังอุตัง กลับบ้านเกิดอินโดนีเซีย หลังจบคดีค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ กระชับสัมพันธ์ไทย – อิเหนา รอบ 73 ปี แสดงควาวมมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายระห์หมัด บูดีมัน เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันส่งลิงอุรังอุตังของกลางที่สิ้นสุดทางคดีแล้วจำนวน 3 ตัว กลับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

โดยลิงอุรังอุตังทั้ง 3 ตัว เป็นของกลางที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยึดได้จากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ดูแลและตรวจสุขภาพลิงอุรังอุตัง ซึ่งเป็นสายพันธุ์สุมาตราทั้ง 3 ตัว ไว้ ณ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (ประทับช้าง) จังหวัดราชบุรี ได้แก่ 1.ลิงอุรังอุตัง ชื่อ ไบรอัล เพศผู้ ปัจจุบันอายุ 5 ปี 2.ลิงอุรังอุตัง ชื่อโนบิตะ (Nobita) เพศผู้ และ3. ลิงอุรังอุตัง ชื่อชิซุกะ (Shisuka) เพศเมีย ปัจจุบันอายุ 7 ปี

ก่อนหน้านี้วันที่ 2 มี.ค.2566 นายระห์หมัด พร้อมคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายอรรถพล ในเรื่องนี้ จากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และที่ประชุมมีมติเห็นควรให้ส่งลิงอุรังอุตัง จำนวน 3 ตัว ดังกล่าว กลับถิ่นกำเนิด สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้ประสานงานกับสายการบิน Garuda Indonesia Airline เที่ยวบิน GA867 ในการขนส่งและขอความร่วมมือทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ช่วยดำเนินการตรวจสุขภาพของลิงอุรังอุตัง โดยทางสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

การส่งลิงอุรังอุตัง กลับถิ่นกำเนิด ในครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนต่อผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้ง 9 ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียและฝ่ายไทย ได้ประชุมร่วมกันระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค. 2561 ณ เมืองยอกจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งการประชุมดังกล่าว ได้มีการทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 8 ในหัวข้อที่ 30 ระบุไว้ว่าที่ประชุมสนับสนุนต่อความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายและการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาไซเตส

ทั้งนี้ การส่งลิงอุรังอุตัง จำนวน 3 ตัว คืนประเทศถิ่นกำเนิดในครั้งนี้ ถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ ในโอกาสครบรอบ 73 ปี ความสัมพันธ์ไทย – อินโดนีเซีย เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับนานาชาติในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า รวมถึงแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของประเทศไทย ในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของ พล.ต.อ. พัชรวาท ที่ให้ความเห็นชอบส่งลิงอุรังอุตัง ไปยังสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตามระยะเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี 2556 – 2560 ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งลิงอุรังอุตัง ที่ตกเป็นเหยื่อการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จำนวน 14 ตัว กลับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งการส่งมอบลิงอุรังอุตังกลับถิ่นกำเนิด ถูกดำเนินการมาแล้วรวม 5 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2549 รวมทั้งสิ้น 71 ตัว ถือเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาไซเตส เช่นเดียวกับความร่วมมือทวิภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการอยู่ การส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า และการต่อต้านอาชญากรรมสัตว์ป่าผ่านความพยายามร่วมกัน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ให้เกิดความยั่งยืนในระดับสากล

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.จำลอง”ขอไฟแดงที่สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ให้ ปชช.หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พร้อมขอ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

,

“สส.จำลอง”ขอไฟแดงที่สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ให้ ปชช.หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
พร้อมขอ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากนายกเทศบาลตำบลกุดจิกว่า สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ช่วงบ้านกุด ขอนแก่น เป็นสี่แยกวัดใจ อันเกิดจากการสัญจร ของประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ มีการล้มตายบ่อย ถนนเส้นนี้เป็นทางลัดจากอีสานกลางไปสู่อีสานเหนือ ไปลุ่มน้ำโขงได้ คนสัญจรจากกรุงเทพก็ชอบใช้เส้นทางนี้ ทำให้มีปริมาณรถเยอะมาก และไม่มีไฟแดง จึงขอให้ทางหลวง แขวงการทางไปติดตั้งไฟแดง ณ สี่แยกตรงนี้ด้วย

นายจำลอง ยังกล่าวต่อถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง โดยตอนนี้โครงการที่เสนอเกี่ยวกับน้ำ ที่จะลงทะเบียนใช้ระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูล
สำหรับบูรณาการแผนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ หรือ Thai Water Plan โดยเมื่อมีเปิดการลงทะเบียนกลับลงไม่ทัน จึงอยากฝากให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.วันเพ็ญ”เร่งรัด“กรมชลฯ”แจงแผนสร้างฝาย 3 โครงการพื้นที่เพชรบูรณ์ สร้างความมั่นใจมีแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประชาชน

,

“สส.วันเพ็ญ”เร่งรัด“กรมชลฯ”แจงแผนสร้างฝาย 3 โครงการพื้นที่เพชรบูรณ์
สร้างความมั่นใจมีแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประชาชน

นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการประสานจากผู้บริหารของ อบต. ท่าแดง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยขอให้ประสานงานไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเร่งรัดขอทราบความคืบหน้า ในการทำโครงการ 3 โครงการ คือ
1.ฝ่ายคลองลำกง -บ้านท่าเยียม ตำบลท่าแดง
2.ฝ่ายบ้านท่าสวาย ตำบลท่าแดง
3.แก้มลิงบึงไผ่ขวาง – บ้านเนินคนธา พร้อมอาคารประกอบอำเภอท่าแดง อำเภอหนองไผ่

“โดยทั้ง 3 โครงการนี้ กรมชลประทานได้ออกสำรวจ ออกแบบ เพื่อจะพิจารณาในการก่อสร้างต่อไป แต่ว่าพี่น้องประชาชนไม่ทราบว่า ความคืบหน้าในการดำเนิน งานนี้จะได้งบประมาณมาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เมื่อใด จึงฝากให้ดิฉันมาเรียนถามว่า ทั้ง 3 โครงการนี้ยังดำเนินการที่จะก่อสร้างให้หรือไม่”นางวันเพ็ญ

นางวันเพ็ญ กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเดือดร้อนในปัจจุบันก็คือ ฝายบ้านท่าสวาย ตอนนี้การประปาหนองไผ่ ซึ่งใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการทำผลิตเป็นน้ำประปาหล่อเลี้ยงพี่น้องชาวอำเภอหนองไผ่ จึงขอเร่งรัดการดำเนินโครงการทั้ง3 นี้ไปถึงกรมชลประทานด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.คอซีย์”ขอ “รมว.คมนาคม”สั่งการกรมทางหลวง เร่งก่อสร้างถนนทางหลวงเส้นหลัก 3 จุดหลัก หลัง ปชช.ได้รับความเดือดร้อน

,

“สส.คอซีย์”ขอ “รมว.คมนาคม”สั่งการกรมทางหลวง เร่งก่อสร้างถนนทางหลวงเส้นหลัก 3 จุดหลัก หลัง ปชช.ได้รับความเดือดร้อน

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึง ความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางคมนาคม ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ หนองจิก จังหวัดปัตตานี ทั้ง 3 จุด โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กรมทางหลวง ดำเนินการก่อสร้างเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีข้อเสนอจากพื้นที่แล้ว

จุดที่1 ขอให้เร่งรัดการก่อสร้าง ทางแยกต่างระดับ บริเวณทางหลวง หมายเลข 42 และ 43 สี่แยกตัดกัน หรือที่เรียกกันว่าสี่แยกดอนยาง ตำบลบ่อทองอำเภอ หนองจิก ที่ผ่านมาสี่แยกดังกล่าวมี อุบัติเหตุในปี 64 ถึงปี 66 จำนวน 29 ครั้ง ท่านนายกเทศมนตรีตำบล บ่อทอง พันจ่าเอกมาหามุ หวังจิ ได้เคยหารือ ร่วมกับหน่วยงานระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ขณะนี้รอเพียงการจัดสรรงบประมาณ จึงขอให้มีการเร่งรัดเป็นกรณีเร่งด่วน

จุดที่ 2 ขอให้เร่งรัดการขยายผิวจราจร ตอนนาจวก ถึงดอนยาง ช่วงบริเวณ แยกนาเกตุ ถึงศูนย์วิจัยข้าว ปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ กรมทางหลวง ได้มีการขยายช่องทางหลวง ถนนเดิมจาก 2 ช่องทางจราจร เป็น4 ช่องจราจรแล้ว บริเวณหน้าสนามบินบ่อทอง แต่ช่วงดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการ

จุดที่3 ขอให้เร่งรัดการขยายผิวจราจร ถนนสายทางหลวงหมายเลข 409 เป็น4 ช่องจราจร แยกนาเกตุถึง นาประดู่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ถนนสายดังกล่าว มีประชาชนใช้สัญจร จำนวนมากเพราะเป็น เส้นทางไปวัด ช้างให้น้ำตกทรายขาว มัสยิด 300 ปี และเป็นเส้นทาง สายเก่าไปยังจังหวัดยะลา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566