โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร” รองนายกฯ ประชุม คกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบ EIA รถไฟรางคู่ สุราษฎร์ฯ – หาดใหญ่ – สงขลา ย้ำคุณภาพน้ำต้องรักษาเตรียมรองรับระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนให้พอกับน้ำเสียที่เพิ่มขึ้น

“พล.อ.ประวิตร” รองนายกฯ ประชุม คกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบ EIA รถไฟรางคู่ สุราษฎร์ฯ – หาดใหญ่ – สงขลา ย้ำคุณภาพน้ำต้องรักษาเตรียมรองรับระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนให้พอกับน้ำเสียที่เพิ่มขึ้น

วันนี้ (19 มิถุนายน 2566) เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผ่านระบบ VTC ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยที่ประชุมรับทราบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย รายงานสถานการณ์มลพิษฯ ปี 2565 สรุป คุณภาพน้ำ ทั้งแหล่งผิวดิน น้ำทะเลชายและน้ำบาดาล โดยรวมอยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี คุณภาพอากาศและเสียงมีแนวโน้มดีขึ้นขยะมูลฝอยชุมชนของเสียและสารอันตรายพบว่าขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นมีการขัดแยกและกำจัดขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันของเสียอันตรายและวัตถุอันตรายมีปริมาณเพิ่มขึ้นกากอุตสาหกรรมที่มีอันตรายมีการแจ้งและนำเข้าสู่ระบบการจัดการเพิ่มขึ้นมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นและได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาและให้ความเห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี – ชุมทางหาดใหญ่ – สงขลา นอกจากนั้น ยังให้ความเห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า เพื่อควบคุมและแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

โดยรองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ร่วมกันทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นและมุมมองต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อเนื่องที่ผ่านมา พร้อมย้ำโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ขอให้ใช้ความรอบคอบทั้งหลักวิชาการและสภาพจริง รวมทั้งต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมและรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อย่างรอบด้าน

พร้อมกำชับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึงปัญหาสถานการณ์มลพิษ ทั้งคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง รวมทั้งขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียและวัตถุอันตราย บางพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม จำเป็นต้องให้น้ำหนักเข้าไปแก้ปัญหาให้ทั่วถึง สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปล่อยปริมาณน้ำเสียลงผิวดินเพิ่ม ประกอบกับระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนที่ไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องประสานการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยขอให้มีแผนงาน มาตรการรองรับและมีการกำกับที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำผลการประชุมดังกล่าว เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และดูแลกำกับโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 มิถุนายน 2566

" ,