โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 15 พฤษภาคม 2025

“ธีระชัย” ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงเลขากฤษฎีกา ผู้ว่าธปท. กรณีรัฐบาลออก G-Token ขัดกฎหมาย ปล่อยผ่านอาจสร้างผลกระทบกับประเทศและประชาชน

,

“ธีระชัย” ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงเลขากฤษฎีกา ผู้ว่าธปท. กรณีรัฐบาลออก G-Token ขัดกฎหมาย ปล่อยผ่านอาจสร้างผลกระทบกับประเทศและประชาชน

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ  พปชร. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตนได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) เพื่อทั้งสองหน่วยงานกลับมา พิจารณาอย่างรอบครอบอีกครั้ง
ในด้านของกฎหมาย เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token: G-Token) ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนด   หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ  โดยปรากฏในรายงานการประชุมสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นชอบและไม่ขัดข้อง

    อย่างไรก็ตาม ตนมีความเป็นห่วงว่าการพิจารณากฎหมายบางประเด็นอาจเป็นตัวอย่างสำหรับการปฏิบัติที่จะก่อความเสี่ยงต่อฐานะการคลังและการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต จึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาดำเนินการขั้นต่อไป ดังนี้

1. พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ไม่ได้รองรับโทเคนดิจิทัล ถึงแม้มาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ที่ระบุว่า “การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทําเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้ หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ” แต่คำว่า “วิธีการอื่นใด” ไม่สามารถตีความรวมไปถึงโทเคนดิจิทัลได้ เพราะยี่สิบปีก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2548 ยังไม่ได้มีการสร้างบิตคอยน์เกิดขึ้น ยังไม่มีธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

       นอกจากนี้ ในร่างพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561  ที่บัญญัติคำว่าโทเคนดิจิทัลนั้น เกิดขึ้นสิบสามปีภายหลัง และได้ระบุหลักการและเหตุผลว่า ตราขึ้นเพื่อกํากับหรือควบคุมการนำคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนและค้าขายระหว่างเอกชน จึงเป็นวัตถุประสงค์เพื่อจัดระเบียบในธุรกิจเอกชน แต่มิใช่การตรากฎหมายเพื่อใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะแต่อย่างใด

     ดังนั้นตนจึงมีความเห็นว่ายังไม่มีกฎหมายใดที่อาจตีความได้ว่าให้อำนาจกระทรวงการคลังในการออกโทเคนดิจิทัลในกระบวนการบริหารหนี้สาธารณะตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2548 ที่จะส่งผลให้โทเคนดิจิทัลของรัฐบาลเข้าข่ายพระราชบัญญัติเงินตรา

     รวมทั้งในพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ที่บัญญัติว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล”หมายความว่า คริปโทเคอร์เรนซีและเคนดิจิทัล โดย “คริปโทเคอร์เรนซี” มีลักษณะเป็นเงินตราอย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 นั้น ถึงแม้กระทรวงการคลังแถลงข่าวว่าสิ่งที่ออก G-Token เป็นโทเคนดิจิทัลและมิได้หมายจะให้เป็นเงินตรา แต่จนขอเรียนว่าพฤติกรรมการใช้งานโดยประชาชนจะทำให้ G-Token กลายสภาพเป็นคริปโทเคอร์เรนซีซึ่งเป็นเงินตราโดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลดังนี้

ก)  ผู้ออกเป็นกระทรวงการคลังซึ่งมีเครดิตและความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยเป็นประกัน จึงจะเป็นที่เชื่อมั่นจะนิยมโดยประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งแตกต่างจากโทเคนดิจิทัลที่ออกโดยนิติบุคคลเอกชนเนื่องจากมีขอบเขตการใช้งานที่จำกัด

ข)  โทเคนดิจิทัลที่ออกโดยนิติบุคคลเอกชนไม่อาจนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตัวอื่นได้ จึงไม่มีสภาพเป็นเงินตรา แต่ G-Token มีความน่าเชื่อถือสูงที่จะสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตัวอื่นได้ จึงมีสภาพเป็นคริปโทเคอร์เรนซีซึ่งเป็นเงินตรา

ค)  ถึงแม้กระทรวงการคลังอาจมิได้มีความประสงค์ที่จะให้ประชาชนใช้ G-Token เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าบริการหรือสิทธิอื่นใดในทำนองคริปโทเคอร์เรนซี แต่ในทางปฏิบัติประชาชนจะเชื่อถือและยอมรับการใช้ G-Token ในการชำระหนี้ระหว่างกัน อันจะทำให้มีสภาพข้อเท็จจริงตามเนื้อหาทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราอย่างหนึ่งโดยอัตโนมัติ

      ดังนั้นตนจึงเห็นว่าการออก G-Token โดยรัฐบาลจะกระทบการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าข่ายฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 10 ซึ่งให้อำนาจกระทรวงการคลังเฉพาะจัดทําและนําออกใช้ซึ่งเหรียญกษาปณ์ ส่วนในมาตรา 14 อำนาจในการจัดทำ จัดการ และนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลนั้นเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย และขอเรียนว่าภาพพจน์ที่รัฐบาลไทยจะสามารถดำเนินการเสมือนหนึ่งพิมพ์เงินตราได้เองเพื่อชดเชยรายจ่ายงบประมาณที่ขาดดุลจะก่อความกังวลต่อเสถียรภาพของระบบการเงินไทยในสายตาของชาวโลกอย่างหนัก
ตนจึงขอปฏิบัติหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามมาตรา 50 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แจ้งข้อมูลนี้เพื่อประโยชน์แก่ท่านเพื่อพิจารณาให้คำแนะนำต่อรัฐบาลอันจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประเทศชาติและประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2568

“โฆษกพปชร.” ชี้รัฐปล่อยจอย ปราบปรามเครือข่ายพนันออนไลน์ลุกลาม ล่อล่วงพระชั้นผู้ใหญ่ ไร้ความน่าเชื่อถือเปิดกาสิโนในไทย

,

“โฆษกพปชร.” ชี้รัฐปล่อยจอย ปราบปรามเครือข่ายพนันออนไลน์ลุกลาม ล่อล่วงพระชั้นผู้ใหญ่ ไร้ความน่าเชื่อถือเปิดกาสิโนในไทย

         พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ   กล่าวถึง กรณีศาลอาญาออกหมายจับ “เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง” ปมยักยอกเงินวัดเล่นพนันออนไลน์  และพระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน บก.ปปป. เพื่อ ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปนั้น   พล.ต.ท.ปิยะฯกล่าวว่า “

  เรื่องนี้สะเทือนวงการสงฆ์ และสะเทือนใจชาวพุทธทั้งประเทศ ที่พระผู้ใหญ่ระดับ “เจ้าคุณ” ต้องตกเป็นเหยื่อการพนันออนไลน์จนกระทั่ง ยักยอกเงินวัด 300 ล้าน ไปใช้หนี้นั้น  กรณีนี้ เป็นตัวอย่างเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศไทยยังไม่มีความเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการพนันและการพนันออนไลน์  หากรัฐบาลยังคงดึงดันผลักดัน”กาสิโน“เสรี ยิ่งจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม  เยาวชน และบุตรหลาน ไปมากกว่านี้”

         “ การที่ท่านนายกฯ อ้างว่า จะมีระบบ dual track ในการควบคุมกาสิโนเพื่อป้องกันการฟอกเงินและคอรัปชั่น  และ การกระทำผิดองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ  เพื่อป้องกันผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยนั้น  เป็นเพียงภาพลวงตาหลอกประชาชนไปวันๆเท่านั้น  แต่สิ่งที่ประชาชนเห็น  ในทุกๆวันคือ บ่อนการพนัน  หวยใต้ดิน  สลากกินแบ่งเกินราคา  การพนันออนไลน์ เงินกู้นอกระบบ ระบาดไปทั่วทุกชุมชน  ติดโฆษณาทุกเสาไฟฟ้า ไป ที่ไหนก็เจอแต่มาเก๊า 888  ไฮด้า 888  บราซิล 999 เฮง 36 ฯลฯ ท่านนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ซึ่งคุมทั้งนโยบายและคุมทั้ง ข้าราชการตำรวจกว่า 200,000 คนทั่วประเทศมีปัญญา  มีความสามารถ หรือความสนใจในความเดือดร้อนของประชาชนตรงนี้หรือไม่   ท่านไม่ต้องไปปราบใคร  ไกลที่ไหน แค่คนใกล้ตัวท่านและใกล้เครือญาติท่าน  คนที่ท่านหรือคนใกล้ตัวท่านเคยไปงานบวช   คนใกล้ตัวที่ร่วมรัฐบาล  สารวัตรหนีคดีที่อยู่ใกล้ๆ  จัดการสิ่งเหล่านี้ให้เรียบร้อยก่อน  จะเป็นคุณูปราการ อย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติและ ประชาชน“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2568

”เลขาธิการพปชร.“ เผยพล.อ.ประวิตร ลงนามแต่งตั้ง ”ทีมเศรษฐกิจสุดแกร่ง”   อย่างเป็นทางการ     ”ธีระชัย-กรกสิวัฒน์” นำทีม ดึง”คนรุ่นใหม่“เข้าร่วม พร้อมเดินหน้าตรวจสอบนโยบายเศรษฐกิจ รัฐบาล  ขาดการดูแลปากท้องประชาชน

,

”เลขาธิการพปชร.“ เผยพล.อ.ประวิตร ลงนามแต่งตั้ง ”ทีมเศรษฐกิจสุดแกร่ง”   อย่างเป็นทางการ     ”ธีระชัย-กรกสิวัฒน์” นำทีม ดึง”คนรุ่นใหม่“เข้าร่วม พร้อมเดินหน้าตรวจสอบนโยบายเศรษฐกิจ รัฐบาล  ขาดการดูแลปากท้องประชาชน

 นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ภายหลังจากที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ  ได้ลงนามในคำสั่งพรรคพลังประชารัฐที่ 15/ 2568 แต่งตั้งทีมเศรษฐกิจพรรคพลังประชารัฐ อย่างเป็นทางการ  อาศัยอำนาจตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ.2561 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (1) ทั้งนี้ทีมเศรษฐกิจพรรคพลังประชารัฐโดย ประกอบไปด้วย 1. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ  2.หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรคเป็นรองหัวหน้าหัวทีมเศรษฐกิจ 3. นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จ. เพชรบูรณ์ เขต 6 เป็นทีมเศรษฐกิจ 4. น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สส. จ. เพชรบูรณ์ เขต1   เป็นทีมเศรษฐกิจ. 5. ดร.บุณณดา สุปิยะพันธุ์ สมาชิกพรรค เป็นทีมเศรษฐกิจ  และ 6.ดร.มนูญ พรหมลักษณ์ เป็นทีม เศรษฐกิจ

      ทีมเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่ ติดตามการทำงาน วิเคราะห์นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งติดตาม สถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งภายในและนอกประเทศ ที่จะนำไปสู่การวางแนวทางในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่จะนำไปสู่การแถลงจุดยืนของพรรค  การตอบโต้ในแต่ละประเด็นให้ประชาชนได้รับทราบ ทักท้วงนโยบายที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  ผ่านกลไกรัฐสภา และสื่อสารมวลชน รวมทั้งปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าพรรค นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของพรรค ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งบุคลากรของพรรค ล้วนเป็นคุณภาพพร้อมทำงานด้านเศรษฐกิจได้ทันที

  นายไพบูลย์กล่าวย้ำว่า  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค มีความเป็นห่วงในสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนจาก นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกและประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะกระทบต่อการส่งออก ยังไม่รวมถึงปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างหนัก ที่รัฐบาลเพิกเฉย และไม่ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเลย  ที่สำคัญคือ ปัญหาระหว่างพรรคร่วมของรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีความขัดแย้งจนหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า   จะมีการคว่ำงบประมาณ และยุบสภา ในอนาคตอันใกล้ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อรัฐบาลไทย

 
 “พปชร.จึงได้เฟ้นหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจ มาทำหน้าที่ทีมเศรษฐกิจ คอยติดตามสถานการณ์การบริหารราชการ ด้านเศรษฐกิจ ของรัฐบาล เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ  โดยทีมเศรษฐกิจของพรรค พปชร.ล้วนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ เป็นบุคลากรที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในสนามเศรษฐกิจจริงมาแล้ว มีผลงานในอดีตเป็นที่ประจักษ์ โดยนายธีระชัย เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ คลัง และ ดร.มล.กรกสิวัฒน์ ก็มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน และหลาย ๆ เรื่อง มาผสมกับคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ สามารถสะท้อนปัญหาได้อย่างครอบคลุม และพร้อมที่จะเดินหน้าตรวจสอบการบริหารประเทศของรัฐบาลด้วย“”นายไพบูลย์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2568

“สุรเดช“ลงพื้นที่รับฟังปัญหา ปชช.หลังเดือดร้อนหนักจากราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ รายได้ท่องเที่ยวหาย เตรียมชง กก.บห.พรรค ถกแนวทางเร่งแก้ปัญหาด่วน

,

“สุรเดช“ลงพื้นที่รับฟังปัญหา ปชช.หลังเดือดร้อนหนักจากราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ รายได้ท่องเที่ยวหาย เตรียมชง กก.บห.พรรค ถกแนวทางเร่งแก้ปัญหาด่วน

นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้รับการประสานจาก นายผจญ ใจกล้า และนายผจญ ใจกล้าว่าที่ผู้สมัคร สส.อดีตสาธารณสุข อำเภอแม่จัน ถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจากสถานการณ์ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ เนื่องจากต้นทุนในการเพาะปลูกที่สูงขึ้น รวมถึงตัวแทนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากรายได้ด้านการท่องเที่ยวที่ลดลง ตนในฐานะที่ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จึงได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะประชาชน และผู้นำหมู่บ้าน เพื่อรับฟังปัญหาดังกล่าว

“ผมจะนำเสนอปัญหาของประชาชนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อนำไปสู่การเรียกร้องผ่านกลไกของรัฐ และสภาฯ ในการวางแนวทางช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค มีความเป็นห่วงเรื่องการแก้ไขปัญหาปากท้อง และการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนของพี่น้องเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นนโยบายหลักของพรรคที่ให้ความสำคัญในการเพิ่มรายได้ สร้างอาชีพ เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน”นายสุรเดช กล่าว

นายสุรเดช ยังกล่าวถึงแนวทางของพรรคที่มีการปรับโฉมโลโก้ใหม่ว่า พปชร.มีฝเป้าหมายในการขับเคลื่อนพรรคเพื่อให้เป็นพรรคการเมืองที่ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง ตามสโลแกน “ พรรคอนุรักษ์นิยมทันสมัย”  ที่เดินหน้าปกป้องสถาบัน พัฒนาเศรษฐกิจทันสมัย ให้ประชาชนมีชีวิตที่สดใส

ทั้งนี้ นายสุรเดช ยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมนักฟุตบอล และทีมฟุตบอลอาวุโส จังหวัดเชียงราย ณ สนามฟุตบอลหญ้าเทียม เอ็กซ์อารีน่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พร้อมพบปะชมรมฟุตบอลประจำจังหวัด  เพื่อให้ขวัญกำลังใจในการพัฒนาฟุตบอลในพื้นที่จังหวัด เป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์สอดคล้องกับแนวทางของพรรคที่ต้องการส่งเสริมการกีฬา ทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับประเทศ​

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2568

“ธีระชัย” จี้รัฐ หยุดตีความกฎหมาย สร้างความชอบธรรมออก “จีโทเคน” ไร้ช่องทางเอื้อรัฐเป็นผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล

,

“ธีระชัย” จี้รัฐ หยุดตีความกฎหมาย สร้างความชอบธรรมออก “จีโทเคน” ไร้ช่องทางเอื้อรัฐเป็นผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล

วันนี้ (15 พ.ค. 2568) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ  พปชร. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังจะกู้หนี้สาธารณะโดยออกโทเคนดิจิทัล G-Token ว่า จะไม่ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมาย

นายธีระชัยกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2548 ที่มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 นั้น เป็นเวลายี่สิบปีมาแล้ว ในขณะนั้นกฎหมายไทยยังไม่มีพื้นฐานใดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติการออก G-Token โดยอ้างว่าเป็น “วิธีการอื่น” ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า
“การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ“ นายธีระชัยเห็นว่าเจตนารมย์ของกฎหมายดังที่บรรยายไว้ก่อนหน้าว่าจะทำเป็นสัญญาหรือจะออกตราสารหนี้ก็ได้นั้น คือต้องการให้มีหลักฐานแห่งหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าหนี้ของรัฐ ดังนั้น “วิธีการอื่น” ที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งได้ ก็จะต้องเป็นวิธีการที่มีหลักฐานแห่งหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรในทำนองเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ที่มีการตราพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่อนุญาตให้มีการออกโทเคนดิจิทัลได้นั้น ก็เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนารมย์ของกฎหมายนั้นเพื่ออนุญาตให้ภาคเอกชนเป็นผู้ออก ดังระบุในมาตรา 17 ว่า
“ในการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชน ผู้ออกโทเคนดิจิทัลที่ประสงค์จะเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และให้กระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ” ในขณะนั้น จึงชัดเจนว่ามิได้มีความคิดที่จะใช้หลักการโทเคนดิจิทัลสำหรับการกู้เงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอ ครม. ให้อนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการอกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Govemment Token: G-Token) อันเป็นการอ้างว่าสามารถนำเอาวิธีการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นภายหลังในปี พ.ศ. 2561 มาใช้กับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2548 นั้น นายธีระชัยเห็นว่า เป็นการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากหลักการและเหตุผลในพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล ระบุชัดเจนว่าเพื่อจัดระเบียบการทำธุรกิจในสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างเอกชนเป็นสำคัญ ส่วนการจะพิจารณานำไปใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะหรือไม่ หรือสมควรใช้โดยมีเงื่อนไขอย่างไร จำเป็นจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังชัดเจนและกำหนดกฎกติกาให้รัดกุมเสียก่อน

นอกจากนี้ ในรายงานการประชุม ครม. ที่ระบุว่า ”สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า หาก กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพรัพย์
พ.ศ. 2535 แล้ว ก็สามารถดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
พ.ศ. 2561 “ นั้น ก็เป็นการผูกมัดชัดเจนว่ากระทรวงการคลังเห็นว่าโทเคนดิจิทัลไม่ถือเป็นตราสารหนี้ จึงไม่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง เป็นการย้ำว่าสมควรจะมีการแก้ไขกฎหมายให้เรียบร้อยเสียก่อน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2568

“ม.ล.กรกสิวัฒน์” ส่งสัญญาณข้าราชการ คอจะขึ้นเขี่ยง หนุนรัฐบาลออก จีโทเคน ระบุไม่มีนิยามใดในกฎหมายเข้าข่ายให้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเอกสารแห่งหนี้

,

“ม.ล.กรกสิวัฒน์” ส่งสัญญาณข้าราชการ คอจะขึ้นเขี่ยง หนุนรัฐบาลออก จีโทเคน ระบุไม่มีนิยามใดในกฎหมายเข้าข่ายให้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเอกสารแห่งหนี้

วันนี้ (15 พ.ค. 2568) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี รองหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกรรมการบริหาร  พปชร. กล่าวว่า กรณีที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอคณะรัฐมนตรีจะออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคนดิจิทัล G-Token เตือนให้ข้าราชการกระทรวงการคลังระวังจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ ในกรณีที่ กระทรวงการคลังตีความว่า การออกโทเคนดิจิทัลซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เข้าข่ายปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 นั้น ไม่น่าถูกต้อง เพราะในการออกพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ในปี พ.ศ. 2548 เมื่อ 20 ปีก่อน ยังไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล แต่เพิ่งจะมีพระราชกำหนดในปี พ.ศ. 2561

รวมทั้ง การพิจารณาในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จะเห็นคำนิยามสำหรับ ตราสารหนี้ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตร ซึ่งล้วนเป็นเอกสารแห่งหนี้ แต่ไม่มีสิ่งใดที่สามารถตีความได้ว่า เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเลย

ส่วนการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ครม. ว่าสามารถใช้มาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ในการออกโทเคนดิจิทัล G-Token ได้นั้น ก็น่าจะเป็นการตีความที่ผิด เพราะมาตรานี้บัญญัติว่า “การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้” คำว่า “วิธีการอื่นใด” ย่อมต้องหมายถึงวิธีการที่มีเอกสารแห่งหนี้เช่นเดียวกับเอกสารสัญญาหรือตราสารหนี้

แต่ทั้งนี้ ถึงแม้นิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 กำหนดให้เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการได้มาซึ่งสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง แต่ก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงสิทธิ ไม่ได้มีสภาพเป็นเอกสารแห่งหนี้

ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวว่า ในเรื่องนี้ ครม. อาจจะรอดจากความผิด เพราะในมติที่อนุมัติ มีการระบุว่าให้เป็นไปตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 แต่ผู้ที่ต้องรับความเสี่ยงเต็มที่ ก็คือข้าราชการ กระทรวงการคลังนั่นเอง ดังนั้น จึงขอแนะนำว่า ข้าราชการควรเสนอเรื่องแย้งเพื่อให้รัฐมนตรีคลังเป็นผู้สั่งการในเรื่องดังกล่าว และเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2568