โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 19 กันยายน 2024

“สส.อัคร”ถาม รัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำ แก้วิกฤตน้ำท่วม-ภัยแล้ง จ.เพชรบูรณ์ อย่างไร ชี้ ที่ผ่านมาระบบยังไม่ดีพอ แถมน้ำประปายังไม่พอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

,

“สส.อัคร”ถาม รัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำ แก้วิกฤตน้ำท่วม-ภัยแล้ง จ.เพชรบูรณ์ อย่างไร ชี้ ที่ผ่านมาระบบยังไม่ดีพอ แถมน้ำประปายังไม่พอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภา ฯ นายนายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ ได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี โดยได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถึงแนวทางการแก้ปัญหาน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างเป็นระบบว่า ตนได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนและได้พบว่า ปัญหาหลักของเพชรบูรณ์คือ ระบบการจัดการน้ำ ซึ่งประสิทธิภาพยังไม่ดีพอที่จะรองรับต่อการใช้งานได้อย่างทั่วถึงในอีกหลาย ๆ พื้นที่ของจังหวัด ปัญหาการขาดแคลนน้ำนับเป็นสิ่งที่เร่งด่วนและสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก

นายอัคร กล่าวต่อว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้ปริมาณของน้ำฝนที่ตกนั้นไม่แน่นอน และยากต่อการคาดเดา บางปีฝนตกน้อยก็เกิดภัยแล้ง บางปีฝนตกหนักก็น้ำท่วม ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกร แม้ว่าเพชรบูรณ์จะมีอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 11 แห่ง แต่กลับไม่เพียงพอ แสดงให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องของปริมาณน้ำในอ่างต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ มีประชากรเกือบๆ 200,000 คนซึ่งคิดเป็นประมาณเกือบ 20% จากประชากรทั้งจังหวัด แต่กลับมีเพียง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางห้วยเล็งเพียงที่เดียว ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีน้ำไม่เพียงพอที่จะไปเพาะปลูกพืชผล และในปี 2566 อำเภอวิเชียรบุรีมีพืชผลเสียหายกว่า 1,000 ไร่ ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรลดลง ชาวบ้านเดือดร้อนมาก

นายอัคร กล่าวต่ออีกว่า ตนยังได้รับการร้องเรียนจากประชาชน หมู่ 13 ต.ศรีเทพ อ.ศรีเทพ ว่า น้ำประปาไม่ไหลและไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แถมน้ำที่ใช้ได้กลับเป็นน้ำสกปรก มีกลิ่นเหม็น และมีสีแดงขุ่น ตนคิดว่า ควรหาทางแก้สำหรับเรื่องนี้ และนี่เป็นเพียงแค่ปัญหาภัยแล้งในเพชรบูรณ์ ยังไม่รวมถึงปัญหา อุทกภัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ ช่วงทางน้ำผ่าน หรือขนาดของลำน้ำป่าสักที่แคบและตื้น ทำให้รองรับน้ำได้อย่างจำกัด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม

โดยในปี 2565 เกิดฝนตกหนักในจังหวัด พื้นที่อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ มีน้ำท่วมขัง สูงถึง 150 เซนติเมตร ประชาชนในหลายตำบลได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ทรัพย์สิน หรือพืชผล
ทางการเกษตร เราได้เรียนรู้มากมายจากภัยธรรมชาติที่เกิดในอดีต ปัจจุบัน เราควรนำมาถอดบทเรียน เพื่อวางแผนการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบสำหรับอนาคตของเพชรบูรณ์

”ผมจึงอยากทราบว่ารัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำรวมถึงแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการบรรเทาอุทกภัยและบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร รวมถึงความก้าวหน้าโครงการฝายยางบ้านท่า ในอำเภอศรีเทพ อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว สุดท้าย ผมขอให้จังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน“

ต่อมา รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ตอบคำถามของนายอัคร โดยชี้แจงถึงความคืบหน้าโครงการฝายทั้ง 2 แห่งว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการจะแล้วเสร็จช่วงปี 2568-2570 ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภค และเกษตรกรจะมีน้ำใช้ในการเพาะปลูก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2567

“สส.บุญชัย”ขอ มท.แก้ปัญหาบุคลากรท้องถิ่นจำนวนน้อย ต้องแบกรับดูแลประชาชนจำนวนมาก พร้อมขอกรมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดงบเร่งซ่อมแซมถนนในพื้นที่

,

“สส.บุญชัย”ขอ มท.แก้ปัญหาบุคลากรท้องถิ่นจำนวนน้อย ต้องแบกรับดูแลประชาชนจำนวนมาก พร้อมขอกรมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดงบเร่งซ่อมแซมถนนในพื้นที่

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายม้ง มีจำนวนประชากร กว่า 16,000 คน  4,000 กว่าครัวเรือน ซึ่งในจำนวนนี้มี 2 หมู่บ้าน ที่มีประชากรมากกว่า 2,000 คน 500 กว่าครัวเรือน  คือหมู่ที่ 10 และ หมู่ที่ 12  ทำให้ผู้นำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย อบต. ทำงานค่อนข้างหนัก ในการช่วยเหลือดูแลแก้ไขปัญหาต่างๆ ของพี่น้องในหมู่บ้าน ทั้งปัญหาเรื่องโรคระบาด และปัญหายาเสพติด
จึงขอให้กระทรวงมหาดไทย เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ด้วย

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนหมู่บ้านศิลา อำเภอหล่มเก่า ถึงความเดือดร้อนของการใช้ถนนสายทาง พช  2052  บ้านศิลา ห้วยผักกูด ตอนที่ 2 กม5+490 – กม7+130 ระยะทางประมาณ 1,640 เมตร ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อลึก และเป็นสภาพเช่นนี้มา หลายปีแล้ว ถนนสายนี้มีประชากรที่ใช้ผ่านอยู่ทั้งหมด  7 หมู่บ้าน และยังต้องใช้ในการขนส่งสินค้าทางการเกษตร และส่งนักเรียน และตำบลตาดกลอย ถนนสายทาง พช45-003 สายตาดกลอยใต้ ถึงวังเวินพัฒนา ระยะทาง 2 กิโลเมตร ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ และไม่ได้รับการซ่อมแซมมาเป็นเวลาหลายปีเช่นกัน จึงขอให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยจัดสรรงบประมาณซ่อมแซมถนนทั้ง 2 สายด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2567

“พล.อ.ประวิตร“ลงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จ.หนองคาย มอบถุงยังชีพบรรเทาทุกข์ หลายชุมชนในเขตเมือง จี้ รัฐบาลใส่ใจความเดือดร้อนของ ปชช.พร้อมจัดงบประมาณเยียวยาเร่งด่วน

,

“พล.อ.ประวิตร“ลงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จ.หนองคาย มอบถุงยังชีพบรรเทาทุกข์ หลายชุมชนในเขตเมือง จี้ รัฐบาลใส่ใจความเดือดร้อนของ ปชช.พร้อมจัดงบประมาณเยียวยาเร่งด่วน

  19 กันยายน 2567  เวลา 11.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์  รองหัวหน้าพรรค  นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค นส.ตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค   นายชัยมงคล ไชยรบ รองหัวหน้าพรรค นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ รองหัวหน้าพรรค  นส.กาญจนา จังหวะ  รองเลขาธิการพรรค พลเอก กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค   นายวราเทพ รัตนากร  ผู้อำนวยการพรรค   พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรค นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 และกรรมการบริหารพรรค อาทินาย สุธรรม สุจริตงาม   พร้อมด้วยสมาชิกพรรค นส. พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ สส.เพชรบูรณ์ เขต1  และ นายวิริยะ ทองผา สส. มุกดาหาร เขต 1    ร่วมลงพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.หนองคาย โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.เมือง ที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง จากอิทธิพลของพายุที่เกิดขึ้นในหลายระลอก รวมทั้งปริมาณน้ำจากลำน้ำโขง ที่เพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน ส่งผลให้พี่น้องประชาชนในชุมชนต่างๆ ได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพได้ตามปกติ  

โดย พล.อ.ประวิตร มีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน จึงได้ลงพื้นที่พร้อมกับคณะทีมผู้บริหารพรรคไปพบปะประชาชน และติดตามสถานการณ์ ในพื้นที่ประสบภัย เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูล และเตรียมความพร้อมเสนอผ่านระบบสภาฯ โดยระหว่างการลงพื้นที่วันนี้ ได้มีประชาชนฝากข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลจำนวนมาก ซึ่งพรรคพลังประชารัฐในฐานะพรรคฝ่ายค้าน ก็ขอเป็นกระบอกเสียงแทนพี่น้องประชาชน ขอให้รัฐบาลใส่ใจในความเดือดร้อนและเร่งหามาตรการที่จะเยียวยาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วย  

ทั้งนี้ จากสภาพอากาศ พรรคพลังประชารัฐ เชื่อว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงได้รับอิทธิพลจากมรสุมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณฝนตกมากกว่าปกติ ซึ่งปัญหาเรื่องน้ำทั้งภัยแล้งและอุทกภัย เป็นนโยบายหลักของ พปชร.และ พล.อ.ประวิตร ให้ความสำคัญมาโดยตลอด จากที่ผ่านมามีการผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาให้บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ประชาชน และเกษตร มีน้ำกินน้ำใช้ ลดภัยพิบัติอย่างเห็นผลมาแล้วในอดีต  สะท้อนภาพจำของ “ลุงป้อม“ที่มีต่อประชาชน  เป็นผู้ที่แก้ปัญหาน้ำ และสามารถเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะอยู่ห่างไกลแค่ไหนก็ตาม

อย่างไรก็ตาม  พล.อ.ประวิตร ได้นำถุงยังชีพมากกว่า 3,000 ชุด แจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนหนองบัว ชุมชนสระแก้ว (วัดศรีบุญเรือง) ชุมชนวัดธาตุใต้ ในเขตเทศบาลเมือง  เพื่อให้ประชาชนบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงวิกฤตินี้ไปได้ พร้อมทั้งกำชับให้ สส. ในพื้นที่ประสานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าทำการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในด้านต่างๆ การแจ้งเตือน การอพยพ หาแหล่งที่พักพิงให้เพียงพอ และให้นำข้อมูลมาเสนอต่อสภาฯ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณในการเยียวยาพี่น้องประชาชน เพื่อซ่อมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งจัดเตรียมแผนรับมือในการพัฒนาโครงการ เพื่อป้องกันอุทกภัยในอนาคต

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2567