โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 10 กรกฎาคม 2024

“สส.บุญชัย”ฝาก “กระทรวงคมนาคม-กรมเจ้าท่า”อนุมัติงบซ่อมแซมถนน พร้อมขุดลอกแม่น้ำป่าสัก บรรเทาน้ำท่วม น้ำแล้ง ให้ ปชช.

,

“สส.บุญชัย”ฝาก “กระทรวงคมนาคม-กรมเจ้าท่า”อนุมัติงบซ่อมแซมถนน พร้อมขุดลอกแม่น้ำป่าสัก บรรเทาน้ำท่วม น้ำแล้ง ให้ ปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯถึงความเดือนร้อนของพี่น้องในเขตพื้นที่ โดยตนได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านแก่งเสี้ยว ต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้รับความเดือนร้อนจากการสร้างฝาย กันลำน้ำพุง ของกรมทรัพยากรน้ำที่ 2 ผ่านมา 4 -5 ปีแล้ว ประตูฝายได้ชำรุดเปิด-ปิดไม่ได้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกักเก็บน้ำ และการระบายน้ำ จึงขอให้กรมทรัพยากรน้ำที่ 2 จังหวัดสระบุรี ช่วยจัดสรรงบประมาณซ่อมแซม นอกจากนี้ ยังมีความเดือดร้อนในการใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 12 กม.ที่ 286 ถึง 289 ระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่แคบและมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

“ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบขยายผิวทาง4 เลน ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ยังเหลืออีก 1.8 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่อันตรายและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้ทางกระทรวงกรมคมนาคมจัดสรรงบประมาณก่อสร้างให้แล้วเสร็จ” นายบุญชัย กล่าว

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า พื้นที่ตำบลศิลาและตำบลตาดกลอย อำเภอหล่มเก่า ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี จากแม่น้ำป่าสักที่ตื้นเขิน หลายสิบปีแล้ว แม่น้ำป่าสักสายนี้ไม่ได้ถูกการดูแล และการขุดลอกเลย น้ำมาปีไหนท่วมปีนั้น ถ้าแล้งก็แล้งหนัก พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ทั้งนี้ นายบุญชัยยังกล่าวขอบคุณกรมเจ้าท่าที่มาขุดลอกแม่น้ำป่าสัก ในตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก ระยะทาง 15 กิโลเมตร ในปีนี้ ซึ่งขุดไปแล้ว 10 กิโลเมตร ยังเหลืออีก 5 กิโลเมตร ทางพี่น้อง ตำบลสักหลง อำเภอสักหล่ม และขอฝากกรมเจ้าท่าช่วยจัดหางบประมาณ มาขุดลอกแม่น้ำป่าสักในตำบลสักหลงให้แล้วเสร็จ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส.องอาจ”ขอหน่วยงานราชการลดขั้นตอนขอใช้พื้นที่แก้ปัญหา“ถนนพังเสียหาย-ไฟฟ้าส่องสว่าง ให้ ปชช. ชี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่น

,

“สส.องอาจ”ขอหน่วยงานราชการลดขั้นตอนขอใช้พื้นที่แก้ปัญหา“ถนนพังเสียหาย-ไฟฟ้าส่องสว่าง ให้ ปชช. ชี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่น

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องอำเภอพระพุทธบาท นายอำเภอ สจ.ในพื้นที่ นายกเทศบาลตำบลห้วยป่าหวาย และกำนันตำบลห้วยป่าหวาย รวมถึงผู้นำชุมชน ร่วมกันลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ถนนพังเสียหายชำรุดอย่างหนักตลอดสายก็คือ ถนนเลียบคลองชลประทานฝั่งซ้าย เชื่อมระหว่างถนนทางหลวง 3034 สายหน้าพระลาน บ้านควน เชื่อมกับสาย 3250 สันประดู่ โดยถนนสายนี้เป็นถนนสายหลัก มีรถเล็ก รถบรรทุกวิ่งตลอดทั้งวัน ถนนแยกเกิดอุบัติเหตุรายวัน

นายองอาจ กล่าวต่อว่า ล่าสุดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แพทย์ประจำตำบล เกิดอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำก็สลบคาที่บนถนนเส้นนี้ ปัญหาก็คือ ท้องถิ่น อบจ.ตั้งใจที่จะมาซ่อมแซม ปรับปรุง สร้างใหม่ให้ก็ต้องใช้เวลานาน ทั้งๆที่มีงบประมาณ แต่ติดขัดเรื่องพิธีกรรมและระเบียบต่างๆ ในการขออนุญาตเจ้าของพื้นที่ อย่างกรมชลประทาน ทางหลวงชนบท จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเร่งรัด ซ่อมแซม ปรับปรุงถนนเส้นนี้โดยด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขระเบียบขั้นตอน เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดความล่าช้าในระบบราชการ อย่างเช่น เรื่องของขออนุญาตซึ่งเป็นอุปสรรคการพัฒนาท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน

นายองอาจ ยังกล่าวต่อถึงปัญหาถนนขาดไฟฟ้าส่องสว่าง มืดมิดยามค่ำคืน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้รถใช้ถนน ผู้สัญจรไปมา และเสี่ยงอันตรายในชีวิตและทรัพย์สินกับลูกหลานของเราเวลาเดินทางกลับบ้านช่วงกลางคืน อย่างเช่น ถนนบริเวณเลียบคลองตำบลห้วยป่าหวาย ถนนเส้นนี้ก็ขาดไฟฟ้าส่องสว่างตลอดสาย รวมถึงถนนสายหนองโดนน้อยหมู่ 9 ถึงประดู่หมู่ 5 ถนนสายนี้มีเสาไฟฟ้าโซล่าเซลล์ครบทุกอย่าง ขาดอย่างเดียว ขาดความสว่าง เพราะว่าไฟดับตลอดทั้งสายมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

นอกจากนี้ เสาไฟฟ้าบริเวณหลังวัดสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ ถูกรถยนต์ชนหัก ทำให้ไฟฟ้าบริเวณนี้ดับมาเป็นเวลาหลายเดือน โดยติดขัดเรื่องระเบียบเช่นกันเพราะถ้าจะติดตั้งใหม่ต้องมีขั้นตอนต่างๆ เรื่องของการแจ้งความ หาผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายเพื่อจะชดใช้ ถ้ารอก็คงใช้เวลาอีกนาน ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส.อามินทร์” ขอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการปัญหาไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง ทำลายพืชผลเกษตรของชาวบ้านให้ดีกว่านี้ พร้อมขอเพิ่มเที่ยวบิน นราธิวาส – กรุงเทพฯ ให้พอต่อความต้องการของ ปชช.

,

“สส.อามินทร์” ขอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการปัญหาไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง ทำลายพืชผลเกษตรของชาวบ้านให้ดีกว่านี้ พร้อมขอเพิ่มเที่ยวบิน นราธิวาส – กรุงเทพฯ ให้พอต่อความต้องการของ ปชช.

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯถึงปัญหาเรื่องไฟป่า ปัจจุบันป่าพรุที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย คือศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร หรือ ป่าพรุโต๊ะแดง ที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่กว่า 120,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ติดกับพื้นที่เพาะปลูก ฃของเกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ ไม่ว่าจะเป็นสวนยาง สวนปาล์ม และนาข้าวนับ 10,000 ไร่

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นก็คือ ไฟไหม้ป่าพรุ ที่ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ หรือน้ำมือมนุษย์ ล้วนสร้างความเสียหาย ทั้งพื้นที่ป่าพรุและพื้นที่ทางการเกษตร ช่วงปิดสมัยประชุมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุไฟป่าบริเวณป่าพรุลุกลามเป็นบริเวณกว้าง ตนได้มีโอกาสลงพื้นที่พร้อมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้เห็นและทราบถึงปัญหาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแผนการรับมือ เครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่เพียงพอของหน่วยบรรเทาสาธารณภัย การขุดลอกคลองทำแนวกันไฟของกรมชลประทาน เพราะพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ ขนาดนี้การลากสายยาว 2 กิโลเมตร การใช้กำลังคนฝ่าดงใบไม้ทับถมกว่า 1 เมตร เสี่ยงต่อการภารกิจดับไฟ

“ผมขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบบริหารจัดการกรณีเกิดไฟไหม้ป่าพรุที่สร้างความเสียหาย และสูญเสียงบประมาณแผ่นดินไปไม่ใช่น้อย ในแต่ละปี ยังสร้างความเดือดร้อนด้านพืชผลทางการเกษตร ขอให้มีการบริหารจัดการที่ดีกว่านี้ให้พี่น้องเกษตรกร และเพื่อรักษาไว้ซึ่งป่าพรุผืนสุดท้ายของแผ่นดินนี้”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องหนึ่งคือ ขอให้มีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการโดยสารด้วยสายการบินของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ให้เร่งแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน นราธิวาส – กรุงเทพฯ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ปัจจุบัน วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ เหลือเพียงวันละเที่ยว สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนอย่างมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“พล.อ.ประวิตร“ นำรมว.-สส.พปชร.ประชุมคึกคัก กำชับลูกพรรคทำหน้าที่ในสภา-กมธ.ให้เต็มที่ ด้าน ร.อ.ธรรมนัส แจงนโยบาย พปชร. “ปุ๋ยคนละครึ่ง” เตรียมส่งถึงมือเกษตรกร ไม่ล็อคสเปก ย้ำ คนละส่วนกับชดเชยไร่ละ 1,000 บาท ส่วนปมประเด็น“ทับลาน” ยึดหลักกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมทุกฝ่าย

,

“พล.อ.ประวิตร“ นำรมว.-สส.พปชร.ประชุมคึกคัก กำชับลูกพรรคทำหน้าที่ในสภา-กมธ.ให้เต็มที่ ด้าน ร.อ.ธรรมนัส แจงนโยบาย พปชร. “ปุ๋ยคนละครึ่ง” เตรียมส่งถึงมือเกษตรกร ไม่ล็อคสเปก ย้ำ คนละส่วนกับชดเชยไร่ละ 1,000 บาท ส่วนปมประเด็น“ทับลาน” ยึดหลักกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมทุกฝ่าย

เวลา 15.30 (9 กรกฎาคม 2567 )พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นประธานประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) โดยมีร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรองหัวหน้าพรรค , ,นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรฯ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ,พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค และนายทะเบียนพรรค นายอุตตม สาวนายน ประธานกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ นายวราเทพ รัตนากร ผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานยุทธศาสตร์ด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โดยกำชับให้ สส.ของพรรค ทำหน้าที่ในสภาฯ ใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. ใช้สิทธิในการอภิปรายหารือ ตั้งกระทู้ถามเสนอหรืออภิปราย ในญัตติต่างๆตามความเหมาะสมเพื่อที่จะได้ นำปัญหา ของประชาชนมาแจ้งต่อฝ่ายบริหารให้แก้ไข หรือร่วมแสดงความเห็นต่อเรื่องที่สำคัญ ในญัตติต่างๆ 2. ในส่วนของ คณะกรรมาธิการ ชุดต่างๆควรจะ เร่งประชุมหารือกันในเรื่องที่ กำลังพิจารณากันอยู่ เพื่อสรุปผลการดำเนินการ ให้แล้วเสร็จและส่งให้หน่วยงานรัฐ ที่รับผิดชอบรับไปพิจารณา ดำเนินการ ต่อไป 3. รวบรวม เรื่องความต้องการ และปัญหาต่างๆของพี่น้องประชาชน ในเขตพื้นที่มาหารือกันในคณะกรรมการภาค เพื่อสรุปปัญหาที่สำคัญๆเพื่อส่งให้รัฐมนตรีรวมทั้ง ฝ่ายวิชาการ และฝ่าย นโยบาย ของพรรคนำไปพิจารณา หาทางดำเนินการแก้ไขหรือกำหนดเป็น นโยบายของพรรคในโอกาส ต่อไป

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพปชร. ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานถึงความคืบหน้าโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของพรรค ในการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างแท้จริง ในการลดภาระต้นทุน และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้แข่งขันได้ ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจในโครงการนี้ โดยเรื่องนี้ได้มีการหยิบยกหารือในการประชุมครม.ที่ผ่านมา เพื่อการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกพรรค ซึ่งมั่นใจว่าระบบการบริหารจัดการ จะสามารถส่งถึงมือได้อย่างโปร่งใส ไม่สามารถเปิดโอกาสให้เกิดการคอรัปชั่นได้ เพราะเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ โดยเปิดให้เอกชนทุกรายสามารถเข้ามาร่วมโครงการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ผ่านกลไกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)

โครงการดังกล่าว สามารถช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง ถึง 16 ล้านราย เกษตรกรสามารถเลือกใช้ ปุ๋ย 15 สูตร ทั้งปุ๋ยเคมี ชีวภาพ และอินทรีย์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่การเพาะปลูกข้าว ในฤดูกาลผลิต 67/68 จะเร่ิมระยะเวลาเพาะปลูกไม่เหมือนกันในแต่ละภาค และแต่ละจังหวัด ซึ่งการเพาะปลูกจะเร่ิมตั้งแต่เดือนนี้ จนถึงธันวาคมปี 2567 ดังนั้น หากเกษตรกรรายใดที่ได้ผ่านการลงทะเบียน ผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถขอรับการสนับสนุนในโครงการได้ทันที โดยที่เกษตรกร ต้องมีการไถ หว่าน หรือดำนา ไปแล้ว 15 วัน

“โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เป็นหนึ่งใน 2 เรื่องที่พรรคหาเสียงไว้ โดยเรื่องแรก เรื่องเปลี่ยน “ส.ป.ก.4-01” เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และนโยบายปุ๋ย เป็นอีกนโยบาย ที่พรรคได้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรในการลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลผลิต ซึ่งเรื่องนี้อยากให้ประชาชนเข้าใจว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ 10 `%ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 %และที่สำคัญ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถเข้าถึงปุ๋ยคุณภาพในราคาถูก สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว และยกระดับคุณภาพข้าวเพื่อตอนบสนองความต้องการของตลาด

ร.อ. ธรรมนัส กล่าวในที่ประชุมว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง กับ โครงการชดเชยเยียวยาไร่ละ 1,000 บาท เป็นคนละโครงการกัน ซึ่งโครงการชดเชยเยียวยา 1,000 บาท มีมาสมัยรัฐบาลที่แล้ว ที่เติมให้ไร่ละ 1,000 บาทไม่เกิน 20 ไร่ เป็นโครงการช่วยเหลือในเหตุการณ์วิกฤติ ปีที่ผ่านมาที่ราคาข้าวอยู่ประมาณ 7,000-8,000 บาทต่อตัน แต่ปัจจุบันราคาข้าวดีขึ้นแล้ว จึงทำให้เกิดโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อลดต้นทุนของเกษตรกรชาวนา และเพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไร่ของข้าว ซึ่งเป็นโครงการที่มีความยั่งยืน และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เป็นสิ่งที่พูดคุยกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรอย่างแท้จริง

นายนภดล พลเสน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้รายงานต่อที่ประชุมถึงกรณี ที่ประชาชน ออกมาเรียกร้องถึงกรณีการแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนใน อ.ทับลาน จ.นครราชสีมา ว่า โดยพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ได้ให้นโยบายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการเร่งด่วน คือ
1.ให้พิจารณาสิทธิชาวบ้านในการถือครองที่ดิน ส.ป.ก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมืองถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน2.ให้ความเป็นธรรมชาวบ้าน ที่อยู่มาดั้งเดิมกว่า 20 ปี เพื่อให้ได้รับสิทธิที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน คาดว่ามีประมาณ 5 หมื่นไร่3.การจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านทำกิน ต้องไม่ตัดผืนป่าอุดมสมบูรณ์ ห้ามตัดพื้นที่ต้นน้ำ หรือที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ ไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไปเพราะต้องรักษาผืนป่าไว้อาจพิจารณาตัดแบ่งเฉพาะที่ประชาชนอาศัยและทำกินอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน

,

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน… คือ

1. ให้พิจารณาสิทธิชาวบ้านในการถือครองที่ดินซับซ้อน ส.ป.ก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมือง ถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน
2. ให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยมาดั้งเดิมกว่า 40 ปี เพื่อรับสิทธิที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพื่อจะกันพื้นที่ให้ชัดเจนลดความคัดแย้งที่มีมายาวนาน
3. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จะไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไป เพราะต้องรักษาผืนป่าไว้ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

บทสรุปคือ… พื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นที่เป็นชุมชนดั้งเดิม พื้นที่จะไม่ถึงกว่า 2.6 แสนไร่…. !!

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567