โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 17 พฤษภาคม 2024

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝาย จ.ลำปาง เร่งชลประทานตรวจสอบระบบกระจายน้ำส่งถึงพื้นที่เกษตรกรรม

,

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝาย จ.ลำปาง เร่งชลประทานตรวจสอบระบบกระจายน้ำส่งถึงพื้นที่เกษตรกรรม

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ พร้อมมอบนโยบายด้านการเกษตรให้กับจังหวัดลำปาง โดยมี นายนวนิตย์ พลเคน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพัชระ สิมะเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เพื่อรับฟังปัญหาด้านการเกษตร และการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงมอบโฉนดเพื่อการเกษตรให้กับเกษตรกร จำนวน 200 ราย

“เนื่องจากลำปางเป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้จึงลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝายในตำบลปกยางคก อำเภอห้างฉัตร และตำบลนายาง อำเภอสบปราบ เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรมีน้ำใช้ให้เพียงพอ รวมถึงมารับฟังปัญหาของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำปาง หากปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีจะรีบสั่งการ แต่หากปัญหาใดที่ต้องร่วมกันแก้ไขหลายฝ่ายจะประสานหน่วยงานอื่นบูรณาการร่วมกันต่อไป”รมว.ธรรมนัส กล่าว

หลังจากนั้น รมว.ธรรมนัสเดินทางไปต่อที่คลองส่งน้ำที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างของโครงการ-กิ่วคอหมา ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่ก่อสร้างระบบส่งน้ำกิ่วลม 3 ระยะ 3 (โครงการกิ่วคอหมา) โดยมอบหมายให้กรมชลประทาน (ชป.) ดูแลการก่อสร้างให้เสร็จสิ้นภายในปี 2569 หรือเร็วที่สุดภายใน 15 เดือน รวมถึงให้ตรวจสอบระบบส่งน้ำในจังหวัดลำปางให้มีน้ำส่งทั่วถึงพื้นที่ทำเกษตรกรรมในช่วงหน้าแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนและเกษตรกรให้มีน้ำใช้ตลอดปี

สำหรับช่วงบ่าย รมว.ธรรมนัส เดินทางลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมโครงการฝายแม่วังบ้านไร่-บ้านใหม่พัฒนา ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ซึ่ง ชป. ได้ศึกษา สำรวจ และออกแบบฝายขนาดความยาว 150 ซม. ความสูง 350 ซม. ผลประโยชน์ที่จะได้รับครอบคลุมพื้นที่ 8 หมู่บ้าน 2 ตำบล ทั้งนี้ รมว.ธรรมนัส ได้สั่งการให้ ชป. ทำอนุมัติของบประมาณใช้เงินเหลือจ่ายปี 2567 และเร่งสร้างฝายทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567

“รมช.อรรถกร” ลงพื้นที่ตลาดอาหารทะเลอ่างศิลา แก้ปัญหาแผงร้านค้าผิดระเบียบ สั่ง อสป.หามาตรการพัฒนาตลาด เพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดึงทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

,

“รมช.อรรถกร” ลงพื้นที่ตลาดอาหารทะเลอ่างศิลา แก้ปัญหาแผงร้านค้าผิดระเบียบ
สั่ง อสป.หามาตรการพัฒนาตลาด เพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดึงทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

(วันที่ 17 พ.ค.) นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตลาดประมงพื้นบ้าน อ่างศิลา บริเวณริมทะเล ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี ในความรับผิดชอบขององค์การสะพานปลา (อสป.) เพื่อแก้ไขปัญหาร้านค้า ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ เนื่องจากพบว่าผู้ค้ามีการต่อเติมหลังคาและแบ่งพื้นที่เพื่อการเช่าช่วง พร้อมทั้งการตรวจความเรียบร้อยด้านความสะอาด ความปลอดภัย คุณภาพของอาหารทะเล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นธรรมกับผู้ค้าที่นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานตลาดอาหารทะเลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ ทำให้ได้เห็นสภาพจริงของปัญหาและอุปสรรคในการจัดการและบริหารตลาดอาหารทะเลสด และแปรรูปตลาดประมงพื้นบ้าน อ่างศิลา เพื่อจะได้นำไปสู่การปรับปรุงและยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการประกอบอาชีพของกลุ่มเกษตรกร ควบคู่ไปกับการขจัดปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องบูรณาการ ในการพัฒนาร่วมกัน ที่ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับทุกฝ่าย

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ตนได้รับแจ้งว่า เรื่องของร้านค้าในตลาด มีความขัดแย้งระหว่าง ผู้ค้าที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ส่งผลให้ อสป.เสียประโยชน์ จำเป็นต้องมีกลไก มาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้สั่งการให้ อสป.เร่งหามาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาตลาดแห่งนี้ให้มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้บริโภค และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้า ควบคู่ไปกับการรักษาชื่อเสียงแหล่งอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศต่อไป

“จากการพบปะพ่อค้าแม่ค้ายังพบว่า มีปัญหาเรื่องของระบบสาธารณูปโภค เพื่อให้บริการกับประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาของพ่อค้าแม่ค้าบางรายมีรายได้น้อย ทำให้ไม่สามารถชำระค่าเช่าได้ตรงตามเวลา แม้ตลาดจะมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการกู้ยืมเงินนอกระบบมาชำระแทน ซึ่งเรื่องดังกล่าว ได้มอบหมายให้ผู้จัดการองค์การสะพานปลา ไปหาแนวทางร่วมกันกับทุกฝ่าย เพื่อให้ตลาดฯ มีระเบียบ และมาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้น และเน้นย้ำในเรื่องการดูแลด้านความสะอาด โดยเฉพาะห้องน้ำ หลังคาที่การต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้เร่งดำเนินการโดยด่วน และมารายงานให้ทราบโดยเร็ว ซึ่งจะมีการติดตามในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง”นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567

พปชร.ประชุมสาขาพรรค จ.สิงห์บุรี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น สู่การกำหนดนโยบายพรรค ด้าน “ชัยวุฒิ”เปิดชู“อนุรักษ์นิยมทันสมัย“ขับเคลื่อนพรรคอย่างประนีประนอม ไม่ทำให้สังคมแตกแยก

,

พปชร.ประชุมสาขาพรรค จ.สิงห์บุรี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น สู่การกำหนดนโยบายพรรค ด้าน “ชัยวุฒิ”เปิดชู“อนุรักษ์นิยมทันสมัย“ขับเคลื่อนพรรคอย่างประนีประนอม ไม่ทำให้สังคมแตกแยก

วันนี้ (17 พฤษภาคม 2567) ที่ห้องประชุมโรงแรมไชยแสง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ร่วมเปิดงานประชุมใหญ่สาขาพรรคภาคกลาง จังหวัดสิงห์บุรี เวทีประชารัฐร่วมใจเพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ โดยมีกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเข้าร่วม อาทิ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่ผ่านการเป็นรัฐบาลมาแล้ว4 ปี และการเลือกตั้งรอบนี้ก็ยังได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง เพียงแต่เราไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากจำนวน สส.ลดลง แต่สำหรับจังหวัดสิงห์บุรี เราก็ยืนหยัดอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ และต้องขอบคุณที่ประชาชนไว้ใจและสนับสนุนให้ สส.โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เข้ามาทำหน้าที่ สส. เราก็จะทำให้จังหวัดสิงห์บุรีได้รับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆตนเชื่อว่าพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่มีความพร้อม มีความชัดเจนในการที่จะทำงานให้พี่น้องประชาชน และตนในฐานะรองหัวหน้าพรรค สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ในหลายๆด้าน

“ชาวจังหวัดสิงห์บุรี อาชีพหลักในพื้นที่คือการเกษตร ซึ่งพปชร.ก็ดูแลเต็มที่ในเรื่องน้ำ และระบบชลประทาน ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนรู้สึกได้ที่พรรคเราทำงานอย่างเต็มที่มาโดยตลอด ทำให้เราได้รับการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่สำคัญ นอกจากการดูแลพื้นที่ ตอนนี้มีการแข่งขันในด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งตรงนี้จะทำให้นักการเมืองดูแลพื้นที่ ดูแลชาวบ้านอย่างเดียวมันไม่พอแล้วพรรคพลังประชารัฐ จึงต้องปรับตัวและทำนโยบายทำความชัดเจนในเรื่องของอุดมการณ์ เพื่อสร้างกระแสให้พี่น้องประชาชนเข้าใจ”นายชัยวุฒิ กล่าว

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า คำว่า อนุรักษ์นิยมทันสมัย ก็คือ สิ่งที่ดีเราก็ดูแลส่งเสริมให้มันเข้มแข็งให้สิ่งดีๆเหล่านั้นอยู่กับสังคมไทยสืบทอดไปให้ลูกหลายของเรา แต่ขณะเดียวกัน เราก็พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้ต่อเนื่องกันไป และอนุรักษ์สิ่งที่ดีไว้ สิ่งสำคัญก็คือ การหารือร่วมกัน ประนีประนอมเข้าใจกัน หาทางออกร่วมกันไม่ใช่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้ความรู้สึกที่เกลียดชังกัน ไม่ใช่การที่ทำให้สังคมแตกแยกกัน และอีกสิ่งหนึ่งคือ เรายึดมั่นในอุดมการณ์ปกป้องสถาบัน ทำให้บ้านเมืองสงบสุข และพัฒนาประเทศไปร่วมกัน นี่คือแนวทางของพรรคพลังประชารัฐ และตนเชื่อว่าแนวทางนี้อยู่ในหัวใจของเราทุกคนตลอดไปแน่นอน

ทั้งนี้ นายชัยวุฒิ กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมประจำปีของสมาชิกพรรคที่จังหวัดสิงห์บุรีเรียบร้อยดี เป็นการประชุมและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกพรรคและพี่น้องประชาชน เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567

“สส. สัมพันธ์” รับหนังสือร้องเรียน “นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง”วอน“รมว.ธรรมนัส”เร่งช่วยหลือปมที่ดินของสหกรณ์ฯ เป็นที่ทับซ้อนกับกรมป่าไม้

,

“สส. สัมพันธ์” รับหนังสือร้องเรียน “นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง”วอน“รมว.ธรรมนัส”เร่งช่วยหลือปมที่ดินของสหกรณ์ฯ เป็นที่ทับซ้อนกับกรมป่าไม้

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ทางผู้ใหญ่บ้านปิเหล็ง ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง พร้อมด้วยคณะกรรมการนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง ได้เข้ามายื่นหนังสือ เพื่อขอให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ปิเหล็ง ที่มีความเดือดร้อน กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับพระราชฎีกา ในการจัดตั้งนิคมสหกรณ์ปิเหล็งในท้องที่

”ผมจะนำเสนอไปยังท่านร้อยเอกธรรมนัส เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป เพราะทราบมาว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่รอการแก้ไขมานานกว่า 30 ปี วันนี้ ซึ่งผมมั่นใจว่า รัฐบาลไม่ทอดทิ้งและจะร่วมกันหาทางออกทุกวิถีทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้ชาวบ้านได้รับที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายหลังรอคอยมานาน“นายสัมพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของที่ดินทับซ้อนในพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง เกิดขึ้นเนื่องจากเส้นแนวเขตของพื้นที่ทับซ้อน บางส่วนระหว่างเขตห้ามล่าสัตว์ป่ากับพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567