โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: พรรคพลังประชารัฐ

‘พล.อ.ประวิตร’ สั่ง ปภ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสังคมปลอดภัย ยั่งยืน

,

‘พล.อ.ประวิตร’ สั่ง ปภ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสังคมปลอดภัย ยั่งยืน

09 ก.พ.2566 – ที่ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ครั้งที่ 1/2566 โดยที่ประชุมรับทราบการเปิดตัวแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติปี 64-70 ภายใต้โครงการสัมมนาเชิงวิชาการลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันภัย ด้วยแผน ปภ.ชาติแล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2566 เพื่อสื่อสารให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และความเข้าใจในนโยบาย และยุทธศาสตร์ภายใต้แผน ปภ.ชาติ และรับทราบแนวความคิด การจัดตั้งกองทุนการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และลดภาระงบประมาณของภาครัฐ

จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบ กปภ.ช.จำนวน 5คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคนถล่มและภัยแล้ง ,การจัดการความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ,การประชาสัมพันธ์ด้านการจัดการสาธารณภัย ,เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินตามแผน ปภ.ปี58 ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ ปภ.และลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย โดยให้มีความรุนแรงและผลกระทบความเสียหายลดลง นอกจากนั้นยังได้พิจารณาเห็นชอบกำหนดสัปดาห์แห่งการฝึกซ้อม เพื่อรับมือภัยพิบัติในปลายเดือน พ.ค.ของทุกปี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการเตรียมความพร้อม และมีกลไกในชุมชนเพื่อร่วมวางแผนรับมือด้วย และเห็นชอบ แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ ปี66-70 เพื่อเพิ่มมาตรการรับมือ อัคคีภัย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับมหาดไทย โดย ปภ.เร่งรัด ขับเคลื่อนแผนงานที่ได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว นำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คำนึงถึงการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน ควบคู่การซักซ้อมอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ที่จะต้องปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนอย่างดีที่สุด จากภัยพิบัติต่างๆทุกรูปแบบ และจะต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงรวดเร็ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

พปชร.เปิดโฉมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ชุดใหญ่ 38 คน 5 ภาค คลอดนโยบายแก้จน 10 กพ. นี้พร้อมเปิดไทม์ไลน์เดินสายพบ ปชช.

,

พปชร.เปิดโฉมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ชุดใหญ่ 38 คน 5 ภาค
คลอดนโยบายแก้จน 10 กพ. นี้พร้อมเปิดไทม์ไลน์เดินสายพบ ปชช.

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เมื่อเวลา 16.00 น. นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค พร้อมด้วยนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหารพรรค ร่วมกันเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 38 คน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ซึ่งจะเป็นตัวแทนของพรรคในการลงรับสมัครรับเลือกตั้งที่จะมาถึงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของประชาชนในการเข้าไปช่วยเหลือและรับฟังปัญหาที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายของพรรค เนื่องจากพรรคให้ความสำคัญในทุกพื้นที่ในการดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

นายวิรัช กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีและขอต้อนรับว่าที่ผู้สมัครทุกคนเข้าสู่พรรคพลังประชารัฐ ที่พร้อมจะช่วยกันก้าวข้ามความขัดแย้ง ตนขอฝากทุกคนต้องเร่งทำงาน ลงพื้นที่เพื่อนำนโยบายของพรรคไปสู่พี่น้องประชาชน เพราะใกล้เวลาเลือกตั้งแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาพรรคได้อบรมว่าที่ผู้สมัครไปแล้วกว่า 300 คน และในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ นี้ พรรคจะเปิดนโยบายเพิ่มเติม หลังจากครั้งแรกได้เปิดนโยบาย “เพิ่มเงินบัตรพลังประชารัฐ 700 บาท” ซึ่งหลังจากนี้ทุกคนจะขยายนโยบายและวิธีเพื่อนำเสนอให้ป้อม700 ไปอยู่ในใจประชาชนให้ได้

“วันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งในการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร มีทั้งอดีต ส.ส. อดีตผู้นำท้องถิ่น ซึ่งมีความเข้าใจและเข้าถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จึงเชื่อมั่นว่าจะได้รับความไว้วางใจในการเข้ามานั่งในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของพรรคมาสู่การพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีความกินดี อยู่ดี ตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนี้มีนโยบายแรกที่สำคัญ คือ การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการประชารัฐเป็น 700 บาท เป็นนโยบายที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากการลงพื้นที่ที่ผ่านมาและจะมีนโยบายอื่นๆ ออกมาเร็วๆนี้”นายวิรัช กล่าว

ทั้งนี้พรรคจะจัดเวทีปราศรัยใหญ่ที่ จ.กาญจนบุรี บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ นี้ และในวันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเดินปราศรัยครั้งแรกในพื้นที่เขต “ป้อม” ปราบศัตรูพ่าย ทั้งนี้การลงพื้นที่ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้ต้องการไปปราบใครที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่เป็นการปราบความเดือดร้อนของประชาชน อะไรที่เป็นปัญหาของประชาชน ก็คือศัตรูของพรรค

ด้านนางนฤมล กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ นี้ พรรคพลังประชารัฐเตรียมแถลงนโยบายแก้จนให้กับประชาชน ส่วนนโยบายด้านอื่นๆ พรรคมีการประชุมทุกวัน หลังจากนี้ก็จะค่อยๆทยอยเคาะออกมาทุกสัปดาห์ สำหรับในสัปดาห์หน้าก็จะมีการเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.กทม. เพิ่มเติมเกือบครบทุกเขต

“ทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชารัฐ ยังมีทั้งนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจ โดยเราร่วมกันทำงาน ช่วยกันดูหลายมิติ ในส่วนของนโยบายด้านเศรษฐกิจนั้นทางท่านหัวหน้าพรรคก็ได้มอบหมายให้เน้นในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ และการแก้ปัญหาความยากจนให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เพื่อแก้จนอย่างยั่งยืน”นางนฤมล กล่าว

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และทีมโฆษกพรรค พปชร. กล่าวว่า วันนี้พรรคได้เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครในทุกภาค จำนวน 38 คน ซึ่งทุกคนจะเป็นตัวแทนของหัวหน้าพรรคที่จะลงพื้นที่ไปสื่อสารให้กับประชาชนว่า หัวหน้าพรรคมีความห่วงใยประชาชนแค่ไหน ซึ่งวันนี้ทุกคนในพรรคพร้อมแล้วที่จะดูแลประชาชนและสื่อสารให้นโยบายของพรรคเข้าถึงใจประชาชน

สำหรับการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ในวันนี้ ประกอบด้วย พื้นที่ กรุงเทพฯ , ภาคกลาง , ภาคเหนือ , ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ รวมจำนวน 38 คน

กรุงเทพฯ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1. ดร.ภญ.สุชาดา เวสารัชตระกูล 2. นาวาอากาศเอก บัญชาพล อรัณยะนาค 3. นายภูวกร ปรางภรพิทักษ์ 4. นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ฟิล์ม) 5. นายสาโรจน์ ซึ้งไพศาลกุล ภาคกลาง จำนวน 4 คน ประกอบด้วย สระบุรี 6. นายอรรถพล วงษ์ประยูร
7. ดร.เกณิกา อุ่นจิตร์ 8. นายองอาจ วงษ์ประยูร กาญจนบุรี 9. นางลำยอง ยิ้มใหญ่หลวง

ภาคตะวันออก จำนวน 2 คน ประกอบด้วย จ.ระยอง 10. นายกฤษฎา เอกกำลังกุล จ.จันทบุรี
11. นายชรัตน์ เนรัญชร

ภาคอีสาน จำนวน 20 คน ประกอบด้วย จ.บุรีรัมย์12. นายนภดล อังคสุภณ 13. นายสุเทพ ใสงาม14. นายปกรณ์ ทรงประโคม 15. นายวรณัฐ ศรีสุริยชัย 16. นายบำเหน็จ ทิพย์อักษร 17. นายสมคิด สินไธสง 18. นายบรรจง ศรีหาบุญทัน 19. นายอิทธิศักดิ์ ปาทาน 20. นายเจษฎากร เขียนนิลศิริ สุรินทร์ 21. นายเจ้าจอม เตียวเจริญโสภา จ.ยโสธร 22. นายธวัชชัย นิจพาณิชย์ จ.อุบลราชธานี 23. ดร.จำลอง พรมสวัสดิ์ จ.มุกดาหาร 24. นายวิริยะ ทองผา จ.สกลนคร
25. นายชัยมงคล ไชยรบ จ.เลย 26. นายจรูญ พาณิช 27. นายสันติภาพ เชื้อบุญมี
จ.ร้อยเอ็ด 28. นายเอกรัฐ พลซื่อ 29. นางรัชนี พลซื่อ จ.อุดรธานี 30. นายโกเมนทร์ ทีฆธนานนท์ 31. นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง

ภาคเหนือ จำนวน 2 คน ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ 32. นางรัตนประภา ดิศวัฒน์ จ.ลำพูน
33. พล.ต.ต.กริช กิติลือ

ภาคใต้ จำนวน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย จ.ประจวบคีรีขันธ์ 34. นายสมพงษ์ ทั่งศรี
จ.สงขลา 35. นายญาณพง เพชรบูรณ์ 36. นายธีรพงษ์ ดนสวี 37. นายอดิสัณห์ ชัยวิวัฒน์พงศ์
จ.พัทลุง 38. ดร.พลกฤษณ์ คล้ายวิตภัทร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร” เกาะติดโครงการน้ำลดผลกระทบชาวปทุมระยะยาว เสียงเชียร์หนุนนั่งนายกคนที่30 ผู้สมัครผนึกทีมสู้เป็นปากเสียงปชช

,

“พล.อ.ประวิตร” เกาะติดโครงการน้ำลดผลกระทบชาวปทุมระยะยาว
เสียงเชียร์หนุนนั่งนายกคนที่30 ผู้สมัครผนึกทีมสู้เป็นปากเสียงปชช

วันที่8 กุมภาพันธ์ 2566 – พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งระบบโดย มีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครบ ทั้ง7 เขต ประกอบด้วย นายเสวก ประเสริฐสุข เขต 1 นายนพดล ลัดดาแย้ม เขต2 นายปรีชา ชื่นชนกพิบูล เขต3นายยุทธวัตน์ หาญเกียรติกล้าเขต4 นายวิรัช พยุงวงศ์ เขต5 นายเกียรติศักดิ์ ส่องแสงเขต 6นางสาวกฤษณา วงศ์คำ เขต7 มารอต้อนรับ ทั้งนี้นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้บรรยายสรุปถึงสถานการณ์น้ำในภาพรวม และแผนงานด้านทรัพยากรน้ำใน จ.ปทุมธานี ณ ห้องประชุมบัวหลวงปทุมธานี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดประปทุมธานี

พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า เป็นการเดินทางมา จ ปทุมธานี เป็นครั้งที่ 2หลังจากที่ เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ได้มาเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือเยียวยา และแก้ไขปัญหาให้กับ ประชาชน จากการ เผชิญปัญหาอุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก โดยดำเนินการโครงการป้องกันอุทกภัยและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญอย่างเป็นรูปธรรม เพราะจ. ปทุมธานี เป็นพื้นที่สำคัญที่เป็นรอยต่อของกรุงเทพ การวางแผนแก้ไขต้องเร่งดำเนินอย่างบูรณาการ ทั้งการระบายน้ำ และการดำเนินโครงการด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำยั่งยืน

พล.อ.ประวิตร ยังได้มอบหมายให้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สทนช.จังหวัด ,กรมชลประทาน ,กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง ร่วมทำงานแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งการสูบน้ำ การระบายน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำ การเตรียมความพร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ระบบระบายน้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา และการแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ ให้สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ควบคู่การเตรียมแผนเผชิญเหตุ รองรับภัยพิบัติในการช่วยเหลือประชาชนให้ได้ ทันท่วงที

ส่วนในพื้นที่พัฒนาคลองหมายเลข 3 ของ จ.ปทุมธานี บริเวณโรงเรียนวัดเวฬุวัน ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี ได้ กำหนดแนวทางการพัฒนาเพิ่มศักยภาพ ของคลอง หมายเลข3 เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม สมัยอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย 3คลองย่อย ได้แก่ คลองบ้านพร้าว คลองน้ำอ้อม และคลองบางหลวงเชียงราก จำเป็น ต้องวางแผนรองรับการระบายน้ำท่วมขัง ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย พร้อมทั้งใช้เป็นเส้นทางคมนาคม พร้อมวางแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นระยะต่างๆ

ขณะเดียวกันยังได้ติดตามการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และอาคารประกอบโครงการสถานีสูบน้ำถาวร ปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยได้ให้กรมชลฯ ให้เร่งก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จ ตามแผนงาน เพื่อรองรับการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ซึางจะสาทารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้มากถึง 62,300 ไร่

“ ในการพบปะประชาชน บรรยากาศเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และมีชาวบ้านรอต้อนรับอย่างหนาแน่น และได้ขอให้สื่อมวลชนเปิดพื้นที่ทำข่าวให้ ประชาชนได้เห็นตนเองอย่างชัดเจน เพื่อขอพูดคุยกับประชาชน โดยขอขอบคุณที่ ประชาชนมารอต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมย้ำความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลมีความตั้งใจอย่างจริงจัง ที่จะบำรุงสุขให้ประชาชนอย่างเต็มที่ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทุกคน ให้อยู่ดีกินดีเป็นความมุ่งหมายของรัฐบาลโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” พล.อ.ประวิตร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร”เร่งรัด 10 มาตรการรับมือน้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ จัดโซนพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ ปชช.รอรับเชียร์นั่งนายกคนต่อไป

,

“พล.อ.ประวิตร”เร่งรัด 10 มาตรการรับมือน้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ
จัดโซนพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ ปชช.รอรับเชียร์นั่งนายกคนต่อไป

เมื่อ 6 ก.พ.66 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการต่อเนื่อง จาก จ.ขอนแก่น ช่วงเช้า โดยในช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เพื่อติดตามขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ที่ศาลากลาง จ.ชัยภูมิ ได้ประชุมหารือร่วมกับ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผวจ.,เลขาฯ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมพญาแล เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ

พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จังหวัด ชัยภูมิยังมีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเกิดจากน้ำหลากพื้นที่ลาดชัน ก่อให้เกิดสภาพน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่หลายอำเภอ ซึ่งจังหวัดได้มีการถอดบทเรียน ร่วมฟังความคิดเห็นจากประชาชน แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างยั่งยืน สำหรับภัยแล้ง เกิดจากปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยขาดแหล่งเก็บกักน้ำ ประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ ทั้งนี้รัฐบาลได้สนับสนุนโครงการต่างๆในปี61-65 งบกลางกรณีฉุกเฉินปี65 และงบบูรณาการปี66 รวมทั้ง พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการ สนับสนุนโครงการตามที่จังหวัดร้องขอเพิ่มเติมได้แก่ โครงการก่อสร้างวงแหวนน้ำรอบพื้นที่เมืองชัยภูมิ และก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์เพื่อชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง จำนวน 1,000 ฝาย รองรับการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ

พล.อ.ประวิตร ได้มอบนโยบายที่สำคัญ โดยกำชับให้ สทนช. เร่งรัด 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด พร้อมย้ำจังหวัดให้วางแผนพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อลดผลกระทบประชาชน ให้มากที่สุด และได้กล่าวเน้น ว่า “น้ำคือชีวิต ของประชาชน”รัฐบาลมีความจริงใจที่จะ แก้ปัญหาทุกพื้นที่ อย่างเร่งด่วนสอดคล้องความต้องการประชาชน เพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ รวมถึงขอบคุณหน่วยงาน และประชาชนที่ได้ช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกัน กระทั่งสถานการณ์การขาดแคลนน้ำคลี่คลาย ทุกครัวเรือนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

พล.อ.ประวิตร และคณะได้เดินทางต่อไปยังโครงการก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำ เพื่อการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีวัสดุปูบ่อกักเก็บน้ำด้วยยางพารา ณ บ้านกุดโง้ง ต.บุ่งคล้า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ โดยมี ผศ.ดร.อดิศัย รุ่งวิชานิวัฒน์ จาก ม.สงขลาฯ นำเสนอผลงานวิจัยโครงการฯ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการแก้ปัญหาภัยแล้งได้ อย่างยั่งยืน และส่งเสริมสินค้าช่วยเกษตรกรสวนยางพารา ได้อีกด้วย

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้เดินทางไปตรวจติดตามโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพ อ่างเก็บน้ำ บ้านเพชร อ.ภูเขียว โดยทำการขุดลอกเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำให้มากขึ้น เพื่อรองรับการขาดแคลนน้ำ สำหรับอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง และได้พบปะกับพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับ อย่างอบอุ่นเป็นจำนวนมาก และเป็นกันเอง ซึ่งชาวบ้านต่างมีความชื่นชม ดีใจ และได้ขอบคุณ พล.อ.ประวิตร ที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำอย่างได้ผลและมีความยินดีที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกฯ คนที่30 เพื่อสานต่องาน ช่วยคนอีสานต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2566

ได้ใจชาวนครฯ !!! “ศ.ดร.นฤมล”พาผู้สมัคร ส.ส.ลุยรับฟังปัญหา”ขยะ-ประมง” รับปากพปชร.ไม่ทิ้งชาวประมง “เร่งแก้น้ำเน่าจากขยะล้นเมืองทันที ไม่ต้องรอหลังเลือกตั้ง

,

ได้ใจชาวนครฯ !!! “ศ.ดร.นฤมล”พาผู้สมัคร ส.ส.ลุยรับฟังปัญหา”ขยะ-ประมง”
รับปากพปชร.ไม่ทิ้งชาวประมง “เร่งแก้น้ำเน่าจากขยะล้นเมืองทันที ไม่ต้องรอหลังเลือกตั้ง

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช เพื่อพบปะประชาชน และผู้นำชุมชน โดยมีว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ของพรรคพลังประชารัฐ เช่น นางสุภาพ ขุนศรี ,นายสุธรรม จริตงาม ,นายคมเดช มัชฌิมวงศ์ ,นายสุนทร รักษ์รงค์ เรือเอก ดร.นพ.พิชาญศักดิ์ บุญมาศ และนางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ให้การต้อนรับ โดย ศ.ดร.นฤมล ได้ร่วมประชุมว่าที่ผู้สมัครของพรรคเพื่อรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะ ในด้านต่างๆ ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ นำมาสู่การวางแผน และกำหนดนโยบายให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ศ.ดร.นฤมล ยังได้พบปะประชาชนที่มารอต้อนรับจำนวนมาก และได้กล่าวว่า วันนี้ได้มีการหารือกับว่าที่ผู้สมัครทุกเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ข้อสรุปว่า เราจะทำงานกันเป็นทีม แม้จะอยู่กันคนละเขตแต่เรามีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนเหมือนกัน ในการขับเคลื่อนครั้งนี้ พรรคพลังประชารัฐก็ได้กำลังสำคัญอย่าง นางฮูวัยดีย๊ะที่จะเข้ามาผลักดันในเรื่องของสิทธิสตรีชาวมุสลิมที่หลายพรรคยังไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้

ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า ถ้าตัวแทนของพรรคพลังประชารัฐทั้งหมดที่นั่งอยู่ที่นี่ ได้รับโอกาสจากพี่น้องให้เข้าไปทำหน้าที่แทน พรรคพลังประชารัฐจะดำเนินการเพิ่มเงินในบัตรประชารัฐเป็นจำนวนเงิน 700 บาทต่อเดือนทันที ตามนโยบายแรกที่เราได้ประกาศเอาไว้ ซึ่งนโยบายดังกล่าว เราได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชนว่า ในสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อ จำนวนเงิน 200 – 300 บาทนั้น ไม่เพียงพอต่อการจะดำรงชีพเบื้องต้นแล้ว ทางพรรคจึงออกมาเป็นสวัสดิการดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือประชาชน

นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังมีนโยบายอีกหลายอย่างที่จะเข้ามาช่วยเหลือประชาชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ก็ได้ทราบปัญหาของชาวใต้ที่สำคัญ ก็คือ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมในทุกๆปี ทางพรรค จะนำเรื่องนี้บรรจุเข้าไปเป็นนโยบาย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประมง ที่ในขณะนี้ผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐได้รับทราบแล้ว และกำลังนำเข้าบรรจุในนโยบายที่จะแก้ไขกฎหมาย และเร่งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ด้านนางฮูวัยดีย๊ะ กล่าวว่า จากอดีตตนเคยเป็น ส.ส.เขต 1 ที่จังหวัดนี้ กลับมาครั้งนี้เราก็จะมาร่วมจับมือกัน เพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลานของคนใต้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ของสตรี นครศรีธรรมราชของเรา มีผู้หญิงเข้าไปทำงานในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นายก อบต.,อบจ.ส.ส.หรือ รัฐมนตรี เรามีมาหมดแล้วอนี่คือมรดกของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ส่งต่อกันมา

“พรรคพลังประชารัฐ ได้ให้โอกาสตนเข้าไปผลักดันนโยบายเรื่องสิทธิสตรี เพราะปัจจุบันจำนวนเพศหญิงมีมาก และก็มีปัญหาตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการภาระดูแลครอบครัว หรือการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เช่นกรณีที่ผู้หญิงพี่ต้องดูแลลูกอยู่เพียงคนเดียว รัฐจะเข้าไปดูแลท่านทันที หรือผู้หญิงที่มีภาระในครอบครัวไม่สามารถออกไปทำมาหากินหาเงินเข้าบ้านได้พรรคการเมืองในอนาคตก็จะต้องเข้ามาดูแล รวมไปถึงปัญหายาเสพติดในสังคม รัฐก็จะต้องเข้าไปดูแลในรูปแบบของการอำนวยความสะดวก และการแก้ไขปัญหาของสังคม สิ่งเหล่านี้คือ ภาพตัวอย่างที่ตนจะเข้าไปผลักดันให้เป็นโครงการต่างๆ ที่จะมาแก้ปัญหาในชุมชน ผ่านทางแม่บ้าน ผ่านทางกลุ่มผู้หญิง นี่คือสิ่งที่เหตุผลที่ตนได้มาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ”

ด้านนางสุภาพ กล่าวว่า ตนได้มีโอกาสเสนอเรื่องนโยบายกับทางพรรคแทนชาว
นครฯทุกคน และมั่นใจว่า นโยบายทุกข้อที่พรรคพลังประชารัฐได้หาเสียงไว้กับประชาชน จะทำทันทีที่พรรคได้เข้าไปเป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารประเทศ อย่างเช่นปัญหาของอาชีพประมงพื้นบ้าน วันนี้ตนก็ได้ปรึกษากับ ศ.ดร.นฤมล ถึงปัญหานี้ร่วมกัน และเราจะหาทางออกในเรื่องนี้กันอย่างไร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดี เพราะพรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญกับชาวประมงทุกคนในประเทศไทย และจะนำปัญหานี้เข้าบรรจุเป็นนโยบายหลักของพรรคด้วย

ทั้งนี้ช่วงหนึ่งทางพรรคพลังประชารัฐได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยส่วนใหญ่ขอให้แก้ปัญหาการนำขยะจากพื้นที่ใกล้เคียงมาทิ้งไว้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง เน่าเสีย ปลาตาย ไม่สามารถจับปลาขายได้ รวมถึง ปัญหาชาวประมงที่ถูกบังคับด้วยกรอบกฎหมายเข้มงวด ไม่สอดคล้องกับบริบทความเป็นจริง และวิถีชีวิตของพี่น้องชาวประมง

ศ.ดร.นฤมล กล่าวกับพี่น้องประชาชนว่า ในเรื่องขยะที่ทำให้น้ำเน่าเสีย สามารถดำเนินการได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอถึงการเลือกตั้ง โดยจะผลักดันปัญหานี้ผ่านไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน แต่ในส่วนของปัญหาชาวประมง ทางพรรคพลังประชารัฐได้ติดตามมาโดยตลอด ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เรื่องหลักคือปัญหาด้านกฎหมาย สิ่งที่จะทำได้ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย แต่ในปัจจุบันมีผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วก็จำเป็นต้องมีการเยียวยาตามมา

“การแก้ไขกฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร ขอให้ทุกคนได้อดทนเอาไว้ก่อน วันนี้ไม่ว่าเราจะได้เข้าไปในสภา หรือไม่ได้เข้าไปเป็นรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐจะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้ให้กับชาวประมงให้ได้ ขอให้สัญญา ไม่จำเป็นว่าต้องเลือกเรา แล้วเราจะแก้ปัญหาให้ท่านเท่านั้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2566

“ดร.นฤมล” ลุยพื้นที่ทุ่งสงประมวลปัญหาประชาชน พปชร.ลั่นจ่อเปิดนโยบายแก้ปัญหาแบบยั่งยืน

,

“ดร.นฤมล” ลุยพื้นที่ทุ่งสงประมวลปัญหาประชาชน พปชร.ลั่นจ่อเปิดนโยบายแก้ปัญหาแบบยั่งยืน

วันที่ 5 กพ. 2566 น.ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ศาลาประชาคม ที่เทศบาลเมืองทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อพบปะประชาชน และผู้นำชุมชน โดยมีนายสุธรรม จริตงาม ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ และนางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ให้การต้อนรับ เพื่อรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะ ในด้านต่างๆ ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ นำมาสู่การวางแผน และกำหนดนโยบายให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ศ.ดร.นฤมล ได้ร่วมประชุมแกนนำของพรรคพลังประชารัฐ เขต4 จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้กล่าวว่า ขอให้ทั้ง 800 คนที่อยู่ที่นี้ ช่วยกันเลือกพี่สุธรรม พร้อมทั้งขอให้ชวนเชิญญาติ พี่น้อง มาช่วยกันเลือก นายสุธรรมด้วย วันนี้พรรคพลังประชารัฐได้เปิดนโยบายแรกที่จะทำให้ประชาชน การเพิ่มเงินในบัตรประชารัฐเป็นจำนวน 700 บาทต่อเดือน พี่น้องประชาชนจะได้สวัสดิการจากภาครัฐต้องนี้ ไปซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ ได้

ศ.ดร.นฤมล ยังเปิดเผยต่อว่า ภายในเดือนนี้ พรรคพลังประชารัฐก็จะมีนโยบายอื่นของพรรคแถลงตามมาอีก เช่น นโยบายในเรื่องของน้ำ พรรคได้รับเอาข้อเสนอจากว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ทุกเขต ทั่วประเทศ เข้าไปบรรจุในแผนจัดทำนโยบาย เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของประชาชน

“นโยบายพรรคพลังประชารัฐ ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องของที่ดิน ที่พรรคจะเข้ามาแก้ปัญหาในที่ดินทำกินในพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่ สปก.ที่ทับซ้อน หรือที่ ๆ ครอบครองอย่างไม่ถูกต้อง ที่ควรจะได้รับการจัดการ และแก้กฎหมายให้ได้รับเอกสารสิทธิได้ถูกต้อง เรื่องนี้พรรคพลังประชารัฐจะแก้ไขให้พี่น้อง ในส่วนของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการต่าง ๆ หรือ เบี้ยผู้สูงอายุ พรรคก็จะมีนโยบายออกมาเพื่อดูแล รวมถึงพี่น้องเกษตรกร เราก็ไม่ทอดทิ้งในเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตร ขอให้ติดตามนโยบายของพรรคพลังประชารัฐต่อไป”ศ.ดร.นฤมล กล่าว

ด้านนางฮูวัยดีย๊ะ กล่าวว่า ขอขอบคุณพี่น้องชาวทุ่งสงที่ให้การต้อนรับพรรคพลังประชารัฐอย่างล้นหลาม ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ตนได้เข้ามาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ โดย ศ.ดร.นฤมล ถือว่าเป็นคนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับพรรค เพราะตนเห็นถึง ความสู้ของผู้หญิงตัวเล็กคนนี้ ที่สามารถสู้กับผู้ชายได้อย่างเท่าเทียม และการทำงานของ ศ.ดร.นฤมล ในทุกขั้นตอนก็รับฟังทุกข้อเสนอของพวกเรา

“การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น จะมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ชาวทุ่งสงจะได้ตัดสินใจเลือกการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวท่านเอง พื้นที่ อ.ทุ่งสง จะพัฒนาได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ มือของชาวทุ่งสงเอง ว่าจะเลือกผู้แทนที่เราสามารถพึ่งพาได้ เข้าไปช่วยแก้ปัญหาเข้าไปเป็นปากเป็นเสียง เข้าไปผลักดันและสนับสนุนให้รัฐบาลมาดูแลชาวทุ่งสงหรือไม่ นายสุธรรม ผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีพร้อมทั้งความรูั ความสามารถ รูปลักษณ์ที่ดี ได้เข้ามาเสนอตัวทำงานแทนพี่น้องแล้ว สุดท้ายก็ต้องขอโอกาสจากพี่น้องด้วย”นางฮูวัยดีย๊ะ กล่าว

ด้านนายสุธรรม กล่าวว่า ตนขอขอบคุณ ศ.ดร.นฤมล ที่มาเป็นตัวแทนผู้ใหญ่ของพรรคพลังประชารัฐ มาให้กำลังใจกับว่าที่ผู้สมัคร วันนี้ ตนขอรับใช้พี่น้องประชาชนชาวอำเภอทุ่งสง เพื่อทำประโยชน์สูงสุดต่อชาวทุ่งสงอย่างเต็มความสามารถ โดยตนทำงานให้กับพี่น้องชาวทุ่งสงมานาน รู้ถึงปัญหาความทุกข์ร้อนของคนในพื้นที่เป็นอย่างดี และตนก็ได้นำเสนอปัญหาเหล่านี้ให้กับทางพรรคพลังประชารัฐได้ทราบ เพื่อเป็นแนวทางประกอบการร่างนโยบายพรรคฯ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชบ้านเรา ถ้าตนได้รับโอกาสเข้าไปเป็นตัวแทนของทุกคน ตนจะนำปัญหาและความต้องการของชาวทุ่งสงเข้าไปเสนอและผลักดันให้เกิดการแก้ไขให้ได้ ตนไม่มีทางทอดทิ้งชาวทุ่งสงอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ บรรยากาศในพื้นที่ มีประชาชนมารอต้อนรับ ศ.ดร.นฤมล พร้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจและสอบถามถึงนโยบายการเพิ่มเงินในบัตรประชารัฐ เนื่องจากเห็นว่า จะสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาวะที่สินค้ามีราคาสูงขึ้นได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร” เดินออกกำลังกายสวนลุม ชาวบ้านแห่ขอเซลฟีเชียร์นั่งนายกคนที่ 30

,

“พล.อ.ประวิตร” เดินออกกำลังกายสวนลุม ชาวบ้านแห่ขอเซลฟีเชียร์นั่งนายกคนที่ 30

วันอาทิตย์ 5 ก.พ.66 เวลาประมาณ 07.00 น. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินตลาดสวนลุมแวะทักทายพ่อค้า แม่ค้าและประชาชน จากนั้น ได้เดินออกกำลังกายภายในบริเวณสวนลุม ระหว่างทางได้ทักทายประชาชนด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์ดี โดยใช้เวลาเดินออกกำลังกายในสวนลุม ประมาณครึ่งชั่วโมง โดยเดินทางมาเป็นส่วนตัว ในระหว่างการออกกำลังกายนั้น รองนายกฯ ลุงป้อม ได้ถ่ายรูปร่วมกับประชาชน แวะถ่ายรูปร่วม ชมรมไทเก๊กในสวนลุมฯ ชมรมเซี๊ยงเล้งไทยเก๊ก โดยได้ร่วมถ่ายภาพ และดื่มกาแฟ และพูดคุย กับสมาชิกชมรม ลุงป้อมได้ร่วมถ่ายรูปด้วยความเป็นกันเอง และยิ้มแย้มแจ่มใส

ทั้งนี้ ก่อนเข้าเดินออกกำลังกาย ได้แวะซื้องาดำร้านดัง ร้านตี๋งาดำสวนลุม เปิดมาเกือบ 50 ปี ตั้งแต่ 2520 อยู่หน้าสวนลุมฯ และยังแวะร้านข้าวแกง ซื้อกับข้าว อาทิ พะแนงหมู ไข่พะโล้ แกงหน่อไม้ โดยระหว่างทางมีพ่อค้า แม่ค้าประชาชน มาขอถ่ายรูป ขอให้ลุงป้อมสู้ๆ สุขภาพแข็งแรง และขอให้เป็นนายกฯ คนที่ 30 เพื่อช่วยประชาชนให้กินดีอยู่ดี ตลอดทางเดิน ลุงป้อมยิ้มแย้ม อารมณ์ดี และทักทายประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อของและออกกำลังกายในสวนลุมฯ ด้วยความเป็นกันเอง และยิ้มทักทายตลอดทาง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2566

“รมว.ชัยวุฒิ” ปราศรัยหาเสียงประจวบฯเขต 1 ประกาศพรรคพลังประชารัฐจะเป็นรัฐบาลอีกแน่นอน พร้อมฝาก “คิงก่อนบ่าย”ผู้สมัครพรรค พปชร.เข้ามาแก้ปัญหาพื้นที่

,

“รมว.ชัยวุฒิ” ปราศรัยหาเสียงประจวบฯเขต 1 ประกาศพรรคพลังประชารัฐจะเป็นรัฐบาลอีกแน่นอน พร้อมฝาก “คิงก่อนบ่าย”ผู้สมัครพรรค พปชร.เข้ามาแก้ปัญหาพื้นที่

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นำนายณภัทร ชุ่มจิตตรี ผู้สมัคร ส.ส.เขต1 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นเวทีปราศรัยที่ลานกิจกรรม เมืองประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้หัวข้อก้าวข้ามความขัดแย้งถ้าจะทุกปัญหาพัฒนาทุกพื้นที่ โดยมีนายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ หรือฟิล์ม ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ สลับขึ้นเวทีปราศัย

นายชัยวุฒิ กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่าพลังประชารัฐจะเป็นรัฐบาลอีกแน่นอนเพราะว่าเป็นพรรคใหญ่ ขณะเดียวกันชูนโยบายก้าวข้ามความขัดแย้ง นำคนเก่งเข้ามาทำงานเพื่อพัฒนาทุกพื้นที่ทุกจังหวัด ดังนั้นวันนี้จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ประชาชนทุกคน ขอให้เลือกคนที่พร้อมและพรรคที่พร้อมจะทำงานเพื่อคนไทยทุกคน

ด้านคิงก่อนบ่าย ขึ้นเวทีพร้อมก้มกราบเวที เพื่อแสดงถึงสำนึกแผ่นดินเกิด ก่อนที่จะขอคนประจวบฯเขต 1 ให้โอกาสตนเอง เข้ามาเป็นผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่ ผลักดันการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ชุมชน สร้างรายได้เกษตรกร พร้อมแก้ปัญหาราคาสัปปะรด และชูกีฬาฟุตบอลให้พัฒนา /ส่งเสริมวัวลาน เป็นกีฬาพื้นบ้าน ที่ถูกกฎหมาย เพราะจะเป็นการสนับสนุนเด็กเลี้ยงวัวให้มีรายได้ เช่นเดียวกับ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ชน โดย ปัญหาที่กล่าวมาได้รับทราบจากการลงพื้นที่ ดังนั้น จึงนำมาเสนอ เพื่อผลักดันเป็นนโยบาย ช่วยเหลือคนประจวบฯ พร้อมยืนยันมีความตั้งใจจริง เพื่อคนประจวบฯ ดังนั้น ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในตนเอง และ ช่วยผลักดันคิงก่อนบ่าย เป็นผู้แทน และจะทำให้ จ.ประจวบ
ฯดีกว่านี้

“วันนี้กล้าแลก กับอาชีพบันเทิง เพื่อตอบแทนทุกคนที่ทำให้คิงก่อนบ่าย มีวันนี้ โดยจะกล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยน ขอเด็กรุ่นใหม่มาพัฒนาบ้านเกิด “ คิงก่อนบ่ายกล่าว

ทั้งนี้ ถือเป็นเวทีแรกในการเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส. เขต1 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์พรรคพลังประชารัฐ โดยได้มีการขึ้นรถแห่รอบเมือง และนำขบวนซาเล้ง ติดข้อความ เพิ่มเงิน เพิ่มสวัสดิการ 700 บาท ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของพรรคพลังประชารัฐ ที่ได้เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันได้เดินหาเสียง กับพ่อค้าแม่ค้า และประชาชน บนถนนคนเดินสะพานสราญวิถี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2566

“รมว.ชัยวุฒิ” ลงพื้นที่ประจวบฯเปิดตัว “คิงก่อนบ่าย” ชูนโยบายพปชร.เพิ่มสวัสดิการเป็น 700 บ ลดภาระปชช.

,

“รมว.ชัยวุฒิ” ลงพื้นที่ประจวบฯเปิดตัว “คิงก่อนบ่าย” ชูนโยบายพปชร.เพิ่มสวัสดิการเป็น 700 บ ลดภาระปชช.

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยนายนภัทร ชุมจิตตรี หรือ คิงก่อนบ่ายผู้สมัคร ส.ส. เขต 1 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงพื้นที่หาเสียง เขต 1 ตัวเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์หรือฟิล์ม ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ร่วมแห่รถซาเล้งรอบ เมืองก่อนขึ้นเวทีปราศรัยในช่วงเย็นวันนี้ที่ ลานกิจกรรม เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์

นายชัยวุฒิกล่าวว่าหลังจากหลังจากเปิดตัวนายณภัทร ไปแล้ววันนี้จึงลงพื้นที่หาเสียงอย่างเป็นทางการ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้รู้จักผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งนายณภัทร เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่อยู่แล้ว เป็นนักแสดงเป็นคนติดดิน ช่วยเหลือประชาชน มาโดยตลอดจนเป็นที่รักของคนในพื้นที่เชื่อว่าจะ จะทำงานทางการเมืองในพรรคพลังประชารัฐประสบผลสำเร็จ

สำหรับแผนการหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐยืนยันว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้แบ่งพื้นที่การหาเสียงออกเป็นแต่ละภาคอยู่แล้ว แม้ในขณะที่พล.อ.ประวิตรลงพื้นที่ตรวจราชการ ก็ถือโอกาสพบปะกับประชาชนและสมาชิกพรรค สัปดาห์ละ2-3 วันอยู่แล้ว ซึ่งแผนงานทางการเมืองพลเอกประวิตร มีการประชุมคณะทำงาน ผู้สมัคร ส.ส วางแผนการหาเสียงอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้อยู่และทำงานทุกวัน ทำให้ที่ผ่านมาพรรคพลังประชารัฐมีแนวทางชัดเจนในการหาเสียง และจะทยอยเปิดนโยบายที่สำคัญออกมาเรื่อย ๆ โดยจะทำงาน ให้ประชาชนและรัฐเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศต่อไป พร้อมย้ำว่าแนวทางการหาเสียง แบ่งให้หัวหน้าดูแต่ละภาค จัดกิจกรรมทางการเมืองเตรียมนโยบายในพื้นที่ ทุกอย่างเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหาสังคมเศรษฐกิจคนในเมือง ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมานาน พักพยายามรับฟังปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไข

ส่วนที่หลายพรรคการเมืองมีการเปิดชื่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่1 แล้ว พรรคพลังประชารัฐจะเสนอพล.อ.ประวิตร อยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 หรือไม่นั้นนายชัยวุฒิชี้แจงว่า สส บัญชีรายชื่อลำดับที่1 กับแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกัน เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ สามารถที่จะเสนอชื่อคนนอกได้ ขณะที่พลเอกประวิตรจะ เป็นสน.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 หรือไม่ขอให้ไปถามพลเอกประวิตรเอง เนื่องจากขณะนี้ทางพระยังไม่ได้มีการพูดคุยกันถึง การจัดลำดับ สส .บัญชีรายชื่อ เพราะยังมีเวลาอีกทั้งยังมีบุคคลที่จะเข้ามาพรรคพลังประชารัฐอีก ดังนั้นจึงต้องประเมิน และไม่ทราบว่าจะได้ สส.บัญชีรายชื่อกี่คนต้องรอหลังยุบสภา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2566

‘ตรีนุช’ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ PM 2.5 ให้อำนาจ ผอ.ตัดสินหากพบค่าฝุ่นพุ่ง สั่งหยุดเรียนออนไซต์ได้ทันที

, ,

‘ตรีนุช’ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ PM 2.5 ให้อำนาจ ผอ.ตัดสินหากพบค่าฝุ่นพุ่ง สั่งหยุดเรียนออนไซต์ได้ทันที

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่โรงเรียนวัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ว่า เนื่องจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคกลาง มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานหลายแห่ง ศธ.มีความเป็นห่วงนักเรียนอย่างมาก และที่ผ่านมาได้เน้นย้ำให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ปลอดภัยต่อนักเรียนในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านสุขภาพ โดย PM 2.5 ส่งผลกระทบกับร่างกายของเด็ก และครูอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พบว่าโรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่สีส้ม หรือ เป็นค่าฝุ่นที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ซึ่งทางโรงเรียนก็สามารถเตรียมการรับมือได้ดี เช่น ให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอด กรณีที่พบเด็กมีอาการระคายเคือง ก็จะล้างจมูกให้เด็กทันที ประกอบโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลศิริราชที่ให้เครื่องฟอกอากาศมาติดในห้องเรียน ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเด็กอยู่ในห้องเรียนจะไม่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5

น.ส.ตรีนุชกล่าวต่อว่า ศธ.ได้ประกาศมาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งกำหนดมาตรการมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว เพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเดียวกัน และตนที่จะกำชับให้แต่ละสถานศึกษาดูว่าในพื้นที่ของตนนั้น ค่าฝุ่นเป็นเช่นไร และขอให้แต่ละพื้นที่ดูแล เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนต่อได้ หากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่สีแดง และสีส้ม ก็ขอให้งดกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของนักเรียน

“แต่ละพื้นที่จะมีบริบทไม่เหมือนกัน มีความรุนแรงของ PM 2.5 ไม่เหมือนกัน ขอให้สถานศึกษาติดตามข่าวสาร และคอยอัพเดตข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ อยู่เสมอ ทั้งนี้ ศธ.ได้ให้อำนาจกับผู้อำนวยการโรงเรียน พิจารณาว่าควรจะปรับรูปแบบการเรียนการสอนหรือไม่ เช่น หากพบค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีแดง หรือ สีส้ม ก็อาจจะสั่งหยุดเรียนออนไซต์ และให้นักเรียนไปเรียนออนไลน์ เป็นต้น แต่การพิจารณาหยุดเรียน หรือปรับการเรียนการสอนนั้น ขอให้ประสานและทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองด้วย โดยให้ดูว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่ง และมีมาตรการรับมืออย่างไร และขณะนี้ ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีโรงเรียนไหนหยุดเรียนไปแล้วบ้าง” น.ส.ตรีนุช กล่าว.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

รมว. ดีอีเอส คาด 30 เมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุน 6 หมื่นล้านบาท พร้อมลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ ผลักดันหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ

,

รมว. ดีอีเอส คาด 30 เมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุน 6 หมื่นล้านบาท
พร้อมลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ ผลักดันหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ

ดีอีเอส เผยเมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชูหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City Hua Hin พร้อมติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2567

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ศ.พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงฯ และ ดร. เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงฯ นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อร่วมทำข่าวความพร้อมโครงการ Smart city Hua Hin โดยมีประเด็นหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรีเทศบาลหัวหิน พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียน ตชด.บ้านย่านซื่อ อำเภอกุยบุรี และเป็นประธานเปิดโครงการ Digital infinity ดิจิทัลไม่มีที่สิ้นสุดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเมืองและพื้นที่ต่างๆ สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 30 เมืองทั่วประเทศโดยมีการประเมินว่าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท รวมถึงจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ลงพื้นที่ครั้งนี้ ก็ได้หารือและประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City Hua Hin
ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง เท่าเทียม พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมศูนย์ CCTV และห้องควบคุม เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ ตรวจสอบเมืองให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไร้อาชญากรรม

ขณะเดียวกัน ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นตัวแทนสถานศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ให้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบนิเวศศูนย์ดิจิทัลชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ที่ 5 ของแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564) (แผนปฏิบัติการฯ) จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ดิจิทัลชุมชน) และ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาระบบจัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชนและงานบำรุงรักษา ระยะเวลาดำเนินการทั้งโครงการอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2570 โดยมีพื้นที่ดำเนินการตามเป้าหมายเป็นสถานศึกษาจำนวน 1,722 ศูนย์ ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

“การตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่ดำเนินการตามโครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน สู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2567 ซึ่งได้จัดตั้งในพื้นที่ของโรงเรียน กศน. อบต. เทศบาล วัด มัสยิด และพื้นที่ชุมชน ที่มีความพร้อม จำนวน 500 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ” นายชัยวุฒิ กล่าว

ด้านนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ได้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายและแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีบทบาทในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อุปกรณ์ดิจิทัล บุคลากรสนับสนุนและส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับท้องถิ่น เพื่อลดช่องว่างทางด้านดิจิทัลให้กับชุมชน ให้สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา และด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมชนบท ในกลุ่มคนทุกกลุ่มที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน เด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น นอกจากนี้ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนยังทำหน้าที่ในการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข่าวสาร บริการดิจิทัล ให้กลุ่มเป้าหมายในระดับชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล พร้อมที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนคุณภาพชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างโอกาสและรายได้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานรากในอนาคต

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นดำเนินการในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การสนับสนุนพื้นที่ให้พัฒนาแผนเมืองอัจฉริยะของตนเอง สามารถระบุพื้นที่พัฒนาเมืองโดยมีขอบเขตชัดเจน มองเห็นศักยภาพและปัญหา อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อมเรื่องระบบบริการทั้ง 7 Smarts ได้ตรงตามบริบทของพื้นที่ และวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและด้านดิจิทัล รองรับระบบบริการเมือง รวมถึงบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับภาคประชาชน

นอกจากนี้ ดีป้า ยังมีการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่มีใจต้องการพัฒนาภูมิลำเนามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (The Smart City Ambassadors) ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมโครงการ 2 พื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ร่วมฝึกอบรม 2 ราย และมี Ambassadors ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนงานพัฒนาเมือง 2 ราย โดยปัจจุบัน เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นหนึ่งในเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ

นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ “เมืองท่องเที่ยวทรงคุณค่าระดับนานาชาติ เกษตรปลอดภัย ด่านสิงขรระเบียงเศรษฐกิจแห่งอนาคต สังคมผาสุกภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจังหวัดมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวและการเกษตรที่ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด โดยทางจังหวัดพร้อมสนับสนุนท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพ และส่งเสริมการบูรณาการการทำงาน รวมถึงการบูรณาการข้อมูลที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชาชน และเทศบาลหัวหินถือเป็นหนึ่งพื้นที่สำคัญของจังหวัดในการนำร่องการพัฒนา Smart City ของจังหวัด

ส่วนนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน กล่าวว่า เทศบาลเมืองหัวหินตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัย สะอาด น้ำใส ไร้ PM 2.5 โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ และตรวจสอบเมืองให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไม่มีอาชญากรรม โดยมีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาระบบ Smart ต่าง ๆ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การติดตั้งระบบ CCTV สอดส่องความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ตั้งเป้าลดอาชญากรรม 50% ติดตั้ง Smart Pole ระบบติดตามคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพคนหัวหินและนักท่องเที่ยว Wired Network ที่ครอบคลุมอำนวยความสะดวกผู้มาเยือนส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ พร้อมรับมือปัญหาขยะจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นด้วยระบบ GPS Tracking ช่วยบริหารจัดการขยะ ตั้งเป้าลดขยะตกค้างในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% รวมถึงระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลของเมือง (City Data Platform: CDP) รวมศูนย์ข้อมูลเพื่อการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และระหว่างท้องถิ่น เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

พล.อ.ประวิตร’ น้อมนำ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ความยากจน อนุมัติแผน ปี66 ผ่านระบบTPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน -เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

,

พล.อ.ประวิตร’ น้อมนำ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ความยากจน
อนุมัติแผน ปี66 ผ่านระบบTPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน-เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

เมื่อ 3 ก.พ.66 ,10.00น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานในภาพรวม ทั้ง 76 จังหวัด จากเป้าหมายครัวเรือนยากจนในระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) ปี65 พบว่า ศูนย์อำนวยการฯจังหวัด และ ศูนย์อำนวยการฯอำเภอ พร้อมทีมปฏิบัติการฯ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 653,524 ครัวเรือน คิดเป็น 100% และพบปัญหาในแต่ละมิติ ดังนี้ 1) มิติสุขภาพ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา คนอายุ 6ปีขึ้นไป ไม่ออกกำลังกายเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี 2) มิติความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา ครัวเรือนไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพไม่คงทนถาวร 3) มิติการศึกษา ส่วนใหญ่ประสบปัญหาคนอายุ 15-59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายไม่ได้ รวมทั้งเด็กอายุ 6-14 ปี ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับหรือออกจากการเรียนกลางคัน เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจ และ 4) มิติรายได้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประสพปัญหาการปลูกพืชได้เพียงปีละครั้ง ไม่มีปัจจัยการผลิต ขาดเงินทุน และขาดความรู้ด้านทักษะอาชีพ 5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้พิการ ไม่ได้รับการบริการจากภาครัฐ เนื่องจากเข้าไม่ถึง หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ แนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 4 แนวทางที่สำคัญ ได้แก่ แนวทางที่ 1 การเติมเต็ม ข้อมูลในระบบ TPMAP แนวทางที่ 2 ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครอบครัว แนวทางที่ 3 ร่วมแก้ไขและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และแนวทางที่ 4 ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้มอบหมายให้ สภาพัฒน์ฯการ ประกาศตัวเลขกลุ่มคนเป้าหมายเร่งด่วน และมอบให้ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ข้อมูลจาก ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงาน เน้นการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน กลุ่มเปราะบาง และกล่มที่ต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ครบถ้วน ทั่วถึง ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566