โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวประชาสัมพันธ์

“สันติ รมช.สธ.” สนับสนุนผู้บริหาร ก.สาธารณสุข ต่อสู้ เพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อประสิทธิภาพในการดูแล ปชช.ทั่ว ปท.เผย ศรัทธา การทำงานของแพทย์ทุกท่าน ชี้ เป็นคนอำนวยความสุขและละลายความทุกข์

,

“สันติ รมช.สธ.” สนับสนุนผู้บริหาร ก.สาธารณสุข ต่อสู้ เพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อประสิทธิภาพในการดูแล ปชช.ทั่ว ปท.เผย ศรัทธา การทำงานของแพทย์ทุกท่าน ชี้ เป็นคนอำนวยความสุขและละลายความทุกข์

วันที่ 15 ก.ย. 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมประชุมกับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข เพื่อมอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงสาธารณสุข โดยนายสันติ กล่าวกับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขว่า ตนเป็นฝ่ายการเมืองที่ได้เข้ามาทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความตั้งใจที่จะเข้ามาทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและจะทำงานด้วยความรัก ความสามัคคี ความเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้การทำงานร่วมกันเดินหน้าไปได้อย่างเต็มที่ เพื่อประสิทธิภาพในการดูแลพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ

นายสันติ กล่าวต่อว่า ชื่อของกระทรวงสาธารณสุขก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นกระทรวงที่จะสร้างความสุขให้กับสาธารณชน และก็เป็นสิ่งที่ตนศรัทธามาโดยตลอด กว่า 20 ปีของการทำหน้าที่ สส.ตนได้คลุกคลีกับชาวบ้านในพื้นที่ชนบท และชาวบ้านก็ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในการเดินทางไปโรงพยาบาลจำนวนมาก มาโดยตลอด แต่ภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็ได้มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ไปดูแลพี่น้องประชาชนในชนบทอย่างอดทน และเต็มความสามารถ อันนี้ถือเป็นคุณงามความดี ที่ตนได้รับรู้มาจากชาวบ้านในพื้นที่โดยตลอด และตนขอชื่นชมบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตนผ่านการรับผิดชอบงานมาหลายกระทรวง ทำให้ได้รับรู้ปัญหาของพี่น้องประชาชนที่หลากหลาย ตนก็จะนำประสบการณ์เหล่านี้มาทำงานเพื่อให้พี่น้องคนไทยอยู่ดีกินดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะอำนวยความสุขให้กับประชาชนและละลายความทุกข์

“ผมเห็นใจบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งผมมองว่า ถ้าจำนวนแพทย์ยังขาดแคลน ยังไม่เพียงพอโอกาสที่เราจะใช้เทคโนโลยี หรือการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาก็จะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก วันนี้สิ่งที่ผมพูด ก็คือว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้พอเพียงกับระบบสาธารณสุขของเราให้ได้อย่างเต็มที่ เพราะหลายรัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำริให้มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีแพทย์ประจำ มีแต่เพียงแพทย์หมุนเวียนที่หนึ่งเดือนจะมีแพทย์ไปประจำอยู่สัก 1-2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์ยังขาดแคลนอย่างแสนสาหัส

“วันนี้ พอจะเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะร่วมกันต่อสู้ให้ได้มาซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ เช่นอย่าง 1 รพ.สต.จะมีแพทย์หมุนเวียนประมาณ 3 คน เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระในการดูแลประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม”นายสันติ กล่าว

นายสันติ กล่าวต่อว่า จากนี้กระทรวงสาธารณสุขของเราจะปรับให้สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ อย่างเช่นถ้าประเทศไทยมีบุคลากรทางการแพทย์อย่างพอเพียงแล้ว ซึ่งแพทย์ไทยได้รับการยอมรับอย่างมาจากต่างชาติ เพราะเป็นบุคลากรที่ทีทักษะสูงเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าเมื่อพอเพียงสำหรับประเทศไทย ก็จะยังสามารถไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลาง สร้างรายได้จำนวนมากกลับคืนเข้าสู่ประเทศได้ ตนจึงขอให้ผู้บริหารช่วยกันผลักดันให้บุคลากรทางการแพทย์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพราะจากที่ตนคิดมาจะใช้งบประมาณจำนวนไม่มาก แต่ประโยชน์ที่ได้ถือว่ากำไรหลายเท่าตัว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 กันยายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ทำงานวันแรก มอบนโยบาย-แนวทางการทำงาน “ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน มีวินัย” ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ทำงานวันแรก มอบนโยบาย-แนวทางการทำงาน “ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน มีวินัย” ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

วันนี้ 14 กันยายน 2566 พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เข้าปฏิบัติงานที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการวันแรก พร้อมเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) นำคณะผู้บริหาร ทส. รอให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กล่าวขอบคุณผู้บริหารของทุกหน่วยงาน ที่ได้เตรียมความพร้อมและจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นอย่างดี พร้อมมอบข้อแนะนำเพื่อเป็นแนวนโยบายให้แก่ทุกหน่วยงานนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายและนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดต่อไป ผ่านหลักในการปฏิบัติงาน นั่นคือ ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน มีวินัย โดย “ขยัน” คือ การมาทำงานตรงเวลา ไม่เกียจคร้าน “ซื่อสัตย์” คือ การทำงานตรงไปตรงมา โปร่งใส “อดทน” แม้งานจะหนักแต่ต้องสู้ ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และ “มีวินัย” คือการทำตามหน้าที่ที่ผู้บังคับบัญชาสั่งงานต้องยึดปฏิบัติ พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกำลังจะเข้าใกล้ฤดูหนาว ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือเรื่อง ไฟป่าหมอกควัน และ PM 2.5 โดยขอให้ทุกฝ่ายเตรียมรับมือให้พร้อม ผ่านการร่วมกันคิด แนะนำ แสดงความคิดเห็นในส่วนที่จะทำให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในการทำงานจะต้องมีการบูรณาการร่วมกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงหน่วยงาน อย่าให้ใครมาตำหนิการทำงานของกระทรวงฯ หากมีปัญหาให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

“สุดท้ายนี้ผมขอยกพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2521 ในเรื่องรักษาทรัพยากร พระบรมราโชวาทในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา ดังความตอนหนึ่งว่า ธรรมชาติแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ มิได้เป็นเพียงสิ่ง สวย ๆ งาม ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเรา และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนี้ ก็เท่ากับเป็นการปกปักรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 กันยายน 2566

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุข

,

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุข

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุข ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 9 ตึกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก เข้าร่วมประชุม พร้อมรับฟังการนำเสนอ (ร่าง) แผนขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุข เพื่อระดมความคิดเห็นประสบการณ์ นำมาวิเคราะห์และวางแผนให้ครอบคลุมทั้ง 13 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ประเด็น โครงการพระราชดำริฯ โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบรมวงศานุวงศ์ 2.ประเด็น รพ. กทม. 50 เขต 50 รพ. และปริมณฑล 3.ประเด็น สุขภาพจิต / ยาเสพติด 4.ประเด็น มะเร็งครบวงจร 5.ประเด็น สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร 6.ประเด็น การแพทย์ปฐมภูมิ 7.ประเด็น สาธารณสุขชายแดน และพื้นที่เฉพาะ 8.ประเด็น สถานชีวาภิบาล 9.ประเด็น พัฒนา รพช.แม่ข่าย 10.ประเด็น ดิจิทัลสุขภาพ 11. ประเด็น ส่งเสริมการมีบุตร 12.ประเด็น เศรษฐกิจสุขภาพ 13.ประเด็น นักท่องเที่ยวปลอดภัย

นายสันติ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ30 ปี ที่ได้ทำงานในพื้นที่ ได้รับทราบความต้องการของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอดว่าในชนบนมีความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากบ้านไปยังโรงพยาบาลในอำเภอ และโรงพยาบาลในจังหวัด ที่สูงมาก เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ หมอนัดต้องออกจากบ้าน เวลา 04.00 น. เพื่อไปรับบัตรคิวที่โรงพยาบาล และเข้ารับการตรวจรักษาเสร็จสิ้นในเวลา13.00น.-14.00น. ซึ่งเวลาเหล่านี้ทำให้เกิดต้นทุนให้กับพี่น้องประชาชน

“อยากสะท้อนความรู้สึกที่กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาไปอย่างเข้มแข็งและรวดเร็ว แต่เรื่องบุคลากรทางการแพทย์ ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด จึงอยากฝากว่า จะทำอย่างไรเราจะผลักดันรัฐบาลให้นำงบประมาณส่วนหนึ่งมาผลิตแพทย์ให้ได้ ”

เมื่อหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศให้อนามัยประจำตำบลเป็นโรงพยาบาลแพทย์ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตั้งแต่วันนี้ถึงวันนี้ ยังไม่มีแพทย์ประจำ ซึ่งถ้าสามารถผลิตแพทย์ประจำ รพ.สต. หรือตำบลละ 3 คน ก็จะทำให้พี่น้องประชาชนประหยัดการเดินทางและสามารถช่วยเหลือรักษาโรคระยะเบื้องต้นได้

นายสันติ กล่าวว่า การจะผลิตแพทย์ไปส่งแต่ละ รพ.สต.ต้องผลิตจำนวนมาก เพราะมี รพ.สต.รวมทั้ง กทม.ประมาณ 8,000 แห่ง ต้องใช้แพทย์ 20,000 กว่าคน ถ้าเริ่มตั้งแต่วันนี้ อีก 5-6 ปี ถึงจะได้ใช้งาน สิ่งนี้คือความจำเป็น การรับสมัครแพทย์ จะรับสมัครในแต่ละจังหวัดแต่ละอำเภอ เมื่อได้แพทย์เหล่านี้มาเขาจะมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นๆ ก็จะเป็นแพทย์ที่มาดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่ของตัวเอง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 กันยายน 2566

‘รมว.ธรรมนัส’ มอบนโยบายเคลื่อนภาคเกษตรต้องกินดีอยู่ดี ยกระดับมิสเตอร์สินค้าเกษตรทุกชนิดเพิ่มศักยภาพแข่งขัน

,

‘รมว.ธรรมนัส’ มอบนโยบายเคลื่อนภาคเกษตรต้องกินดีอยู่ดี
ยกระดับมิสเตอร์สินค้าเกษตรทุกชนิดเพิ่มศักยภาพแข่งขัน

วันนี้ (13 กันยายน 2566) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้เปิดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ รวมกว่า 4,000 คน รับฟังอย่างทั่วถึง

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลพี่น้องเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ให้อยู่ดีมีสุข มีรายได้อย่างมั่นคง ภาคเกษตรไทย จะต้องแข็งแกร่ง มีศักยภาพการแข่งขันที่ทัดเทียมหรือดีกว่าสินค้าเกษตรต่างประเทศ โดยมีนโยบายและงานหลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประการแรก คือ การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตร ที่นายกรัฐมนตรีได้แถลง เมื่อวันที่ 11-12 กันยายน 2566 ไปสู่การปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จ

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายและงานสำคัญที่จะเร่งผลักดันดำเนินการในประเด็นต่างๆ ดังนี้เน้นการสร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ ได้แก่ 1.การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร โดยเป็นศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล และรับเรื่องร้องเรียน คลายทุกข์ให้แก่พี่น้องเกษตรกร ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว

2.สร้างครอบครัวเกษตร บูรณาการงานเข้มแข็ง เน้นการทำงานของทุกคนทุกหน่วยงาน ต้องทำงานเป็น Team Work ให้มีศักยภาพเพื่อการทำงานระบบทีม มีประสิทธิภาพ มุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จ

3.ขับเคลื่อนภารกิจ ยกระดับ MR. สินค้าเกษตร โดยฟื้นฟู ยกระดับการทำงานของ MR. สินค้าเกษตร อีกครั้ง สินค้าเกษตรทุกชนิดต้องมีผู้รับผิดชอบ เน้นทำงานเชิงรุก สร้างกลไกการทำงานร่วมกันในทุกสินค้า แก้ปัญหาถูกจุด ทั้งด้านสินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ การลักลอบนำเข้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางการรับมือภัยธรรมชาติ จะต้องวางแผนมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน รับมือตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู เมื่อประสบเหตุภัยแล้ง หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกชนิด
ปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยถือเป็นการประกาศสงครามสินค้าเกษตรเถื่อนอย่างจริงจัง เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ เข้มงวดในการตรวจสอบสต็อกในประเทศเพื่อควบคุม ในการนำเข้า การกักตุน และเก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ผลผลิตออกสู่ตลาด
ยกระดับสินค้าเกษตร เสริมศักยภาพเกษตรกร ได้แก่ 1) ผลักดันส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร สร้าง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง เนื่องจากภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจหลักสำคัญ มีประชากรอยู่ในภาคเกษตรจำนวนมาก แต่ยังขาดการพัฒนาที่เหมาะสม เกษตรกรบางส่วนยังทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่จึงมีรายได้น้อย จึงเน้นแนวทางในการปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น 2) ส่งเสริมเกษตรกร สถาบันเกษตรกรเป็นผู้ให้บริการทางการเกษตรครบวงจร(Agricultural Service Provider) โดยเกษตรกร สถาบันเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของเครื่องมือ เครื่องจักรกลของตนเอง พร้อมเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกิจเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มประชากรภาคเกษตรยุคใหม่
การจัดการทรัพยากรทางการเกษตร ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG / Carbon Credit จะต้องทำการเกษตรที่ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม การกำจัดแมลงศัตรูพืช ที่ถูกต้อง การลดปริมาณปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง มีการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย
การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร ได้แก่ 1) พัฒนาระบบการประกันภัยภาคการเกษตร ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง ในนโยบายสำคัญของการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน บริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน โดยจะเดินหน้าต่อยอด พัฒนาสร้างระบบประกันภัยให้แก่พี่น้องเกษตรกรไทย และ 2) อำนวยความสะดวก สนับสนุนให้บริการเครื่องมือทางการเกษตร ที่ให้เกษตรกรสามารถเช่า/ยืม เครื่องมือเครื่องจักรกลด้านการเกษตรที่เหมาะสมต่อการการผลิต

“ผมมีความภาคภูมิใจ ที่ได้กลับมาทำงาน และรับใช้พี่น้องเกษตรกรอีกครั้ง ซึ่งแนวทางการทำงาน และนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผมจะขับเคลื่อนและผลักดันนั้น จะไม่ใช่มีเพียงนโยบายที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีอีกหลายนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่จะครอบคลุม เพื่อช่วยเหลือ ช่วยแก้ปัญหาพี่น้องเกษตรกร และพัฒนาภาคเกษตร ซึ่งทุกนโยบายและทุกการทำงานจะเป็นไปอย่างจริงจัง เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน และต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจทำงานอย่าง บูรณาการทีมเวิร์ค แบบครอบครัวไปด้วยกัน เพื่อพี่น้องเกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้ มีอาชีพที่มั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และภาคเกษตรไทยคือผู้นำสินค้าเกษตรในตลาดโลก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 กันยายน 2566

“พัชรวาท” รับทุกข้อห่วงใยในการอภิปรายด้าน ทส. กำชับหน่วยงานในกระทรวงทรัพย์ฯ นำไปดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

,

“พัชรวาท” รับทุกข้อห่วงใยในการอภิปรายด้าน ทส. กำชับหน่วยงานในกระทรวงทรัพย์ฯ นำไปดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ (12 กันยายน 2566) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยภายหลังการชี้แจงต่อรัฐสภา ในการแถลงนโยบายรัฐบาลของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สมาชิกรัฐสภาได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะถึงแนวทางการทำงานในหลายประเด็น ว่า ขอบคุณทุกข้อห่วงใย เข้าใจว่าทุกฝ่ายอยากเห็นประเทศพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงหลังมานี้ จึงได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายจตุพร บุรุษพัฒน์) นำทุกข้อกังวลไปกำชับหน่วยงานในสังกัด ให้รับข้อสังเกตต่าง ๆ ไปดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ต้องมีการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหา ร่วมกับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ที่ต้องดำเนินมาตรการลดฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิด ทั้งยานพาหนะและโรงงานอุตสหากรรม รวมถึงการควบคุมการเผาป่า การเผาวัสดุทางการเกษตร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตของภาคการเกษตรและการจัดการพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมถึงการสร้างมาตรการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจริงจัง เพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน เพื่อสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน

ในส่วนของการเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ได้สั่งการให้กำชับกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล บริหารจัดการแหล่งน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการการใช้น้ำของประชาชน เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างเหมาะสม และแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการติดตามสถานการณ์ในพื้นที่วิกฤต นอกจากนี้ ยังได้สั่งการเตรียมพร้อมการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการบรรเทาสถานการณ์ การจัดจุดให้บริการน้ำอุปโภค – บริโภค พร้อมทั้งเร่งรัดการดำเนินโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กว่า 47 โครงการ 48 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่วิกฤตภัยแล้งรุนแรงได้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

สำหรับข้อกังวลถึงการรับมือกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ขณะนี้ได้มีการจัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานของประเทศ โดยมีแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือเป้าหมาย NDC พ.ศ. 2564 – 2573 และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เป็นแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันและรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในด้านการจัดการน้ำ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว สาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต โดยได้มีการออกระเบียบส่งเสริมให้ภาคเอกชนและชุมชนสามารถเข้าร่วมปลูกและดูแลรักษาป่า ป่าชายเลน เพื่อการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตระหว่างภาคเอกชนหรือชุมชนกับภาครัฐในสัดส่วน ร้อยละ 90 ต่อ 10 หรือตามแต่ข้อตกลง และการผลักดันกลไกภาษีคาร์บอน หรือ Carbon Tax เพื่อเป็นมาตรการจูงใจให้กับภาคเอกชน โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. เพื่อเป็นกลไกให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมาย รวมถึงสร้างรายได้และโอกาสในการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่การพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ

และประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ได้กำชับให้สร้างความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย ผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่การสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในการจัดการและคัดแยกขยะครัวเรือน ขยะชุมชน ตั้งแต่ต้นทาง การยกระดับสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง 1,963 แห่ง ให้มีการจัดการที่ดี การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดการขยะในภาคอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีการจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปตามแผนแม่บทการจัดการขยะของประเทศตามที่กระทรวงทรัพยากรฯ ได้จัดทำไว้ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และการเร่งรัดการออกกฎหมายใหม่ เช่น พ.ร.บ. ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า พ.ร.บ. การจัดการบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถเสนอมาตรการในการป้องกันแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในปัจจุบันได้อย่างครอบคลุม

สุดท้ายในประเด็นของการจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรในเขตพื้นที่ป่า ภายใต้โครงการ คทช. กระทรวงทรัพยากรฯ ได้แก้ไขปัญหาให้กับราษฎรในลักษณะแปลงรวม รวมถึงมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่ แต่ยังคงรักษามิติในการอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน โดยได้มีการจัดที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยได้ดำเนินการตามกรอบมาตรการแก้ไขปัญหา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 และการแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” หนุนรัฐบาลเร่งลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนพร้อมเสนอให้เร่งรัดการออกสินเชื่อเพื่อพลังงานสะอาดในครัวเรือน

,

“อัครแสนคีรี” หนุนรัฐบาลเร่งลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนพร้อมเสนอให้เร่งรัดการออกสินเชื่อเพื่อพลังงานสะอาดในครัวเรือน ส่งเสริมการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อประหยัดรายจ่าย ลดต้นทุนภาคเกษตรและปศุสัตว์ ดันตลาดคาร์บอนเครดิตให้เป็นรูปธรรม

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่1) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรี(ครม.)แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 121 ว่า ตนขอให้รัฐบาลเร่งลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชนเพราะได้เผชิญกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจมากว่า 3 ปี สืบเนื่องจากโควิด 19 และ 2 ปีที่ผ่านมา ค่าไฟได้ถูกปรับขึ้นกว่า 30% จาก3.71 เป็น 4.45 บาทต่อหน่วยในงวดก.ย.-ธ.ค.66 ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากไทยต้องสั่งซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG )ซึ่งมีราคาสูงอย่างมากมาทดแทนก๊าซในอ่าวไทยที่ผลิตลดต่ำลงจากแหล่งเอราวัณในช่วงเปลี่ยนผ่านสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานรายใหม่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการผลิตได้ตามเวลา

ทั้งนี้ตนมีข้อสังเกตว่าปัจจุบันราคาก๊าซ LNG และราคา Pool Gas (ราคาก๊าซรวมทุกแหล่ง) ที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 35% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ ได้ดิ่งลงกลับสู่จุดเดิมเทียบเท่าปลายปี 2564 และทางรัฐบาลได้ออกมาประกาศว่า จะปรับลดค่าไฟ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ตนขอชื่นชมและขอสนับสนุนรัฐบาลในนโยบายการลดค่าไฟฟ้า ที่สอดคล้องกับนโยบายที่พปชร. โดยหัวหน้าพรรค พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ และพรรคร่วมรัฐบาล ได้หาเสียงเอาไว้ ซึ่งการปรับลดค่าไฟลงจะทำให้พี่น้องพอลืมตาอ้าปากได้ และที่สำคัญทำให้ต้นทุนการผลิตของประเทศไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยได้

“นโยบายที่สำคัญถัดมาคืออการสนับสนุนพลังงานสะอาดในระดับครัวเรือน ประเทศไทยมีแสงแดดดี แต่การใช้แผงโซลาร์เซลล์ในภาคครัวเรือนลดค่าไฟได้ถึง 30% กลับไม่เยอะ เท่าที่ควร ซึ่งที่ชัยภูมิ มีการใช้ไปสูบน้ำในภาคเกษตรรวมอุปโภคบริโภคได้อีกด้วย ประหยัดค่าใช้จ่ายมหาศาล ตอนผมไปหาเสียงพี่น้องประชาชนต่างก็อยากติดตั้งระบบโซลาร์ แต่ที่พี่น้องไม่มีก็เพราะว่าเงินในกระเป๋าไม่พอ เกษตรกรตาดำๆ เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนสินเชื่อ ยิ่งถ้าอาศัยอยู่บนเขา มีแต่ที่ดิน ส.ป.ก.ที่ดินป่าไม้ ก็ไม่มีบริษัทสินเชื่อรายไหนเข้าไปคุยด้วย”นายอัครแสนคีรีกล่าว

ทั้งนี้จึงอยากฝากรัฐบาลให้เร่งรัดในการออกสินเชื่อเพื่อพลังงานสะอาดในระดับครัวเรือนโดยเฉพาะที่สนใจซื้อแผงโซลาร์ฯ โดยให้คำนึงถึงกลุ่มประชาชนที่ไม่มีหลักประกัน เช่นผู้อาศัยอยู่ในที่ดิน ส.ป.ก. การใช้ไฟเพื่อสูบน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกและปศุสัตว์ ซึ่งจะทำให้สินค้าเกษตรและปศุสัตว์ไทย มีต้นทุนที่ถูกลง และถ้าหากรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาของการผลิต เช่น เรื่องปุ๋ยราคาแพง เละเรื่องปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ ประเทศไทยจะไม่ใช่เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย แต่จะกลายเป็นเสือติดปีกทันที

นายอัครแสนคีรี ยังกล่าวต่อถึงเรื่องคาร์บอนเครติต การขายและได้รับประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต อย่างยุติธรรม จึงอยากฝากท่านนายกฯ ให้สนับสนุนการทำงานของกระทรวงทรัพยากรฯ ภายใต้การกำกับดูแลของพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในเรื่องของคาร์บอนเครดิต ที่ถือว่าเป็นวาระเร่งด่วน เพราะตอนนี้ต่างประเทศมีมาตรการ CBAM หรือ Carbon Boarder Adjustment Mechanism ซึ่งจะเก็บภาษีจากการนำเข้าสินค้าเป้าหมายที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตและมาตรการ CORSA หรือ carbon offsetting and reduction ที่จะเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอากาศยาน ภาษีดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีดังกล่าว

“ไทยต้องเร่งส่งเสริมให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตของเราเป็นที่ยอมรับในสากล และควรมีกระบวนการตรวจสอบ และยืนยันที่โปร่งใสได้มาตราฐานโลก เพื่อให้คาร์บอนเครดิตของไทย เป็นที่ยอมรับ มิเช่นนั้นประเทศไทยจะเสียเปรียบทางด้านการค้าส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ”นายอัครแสนคีรีกล่าว

นอกจากเรื่องคาร์บอนเครดิตแล้ว เราสามารถฉวยโอกาสจากมาตราการ CORSIA และ CBAM ในการสนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อนำสินค้าเกษตร เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง มาผลิตเป็นน้ำมันเครื่องบิน และการต่อรองให้องค์กรการบินระหว่างประเทศ ให้สามารถนำน้ำมันปาล์มดิบ มาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ที่มีความต้องการมหาศาล จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแห่งหนึ่งของโลก และยกระดับราคาสินค้าเกษตรและที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทย ภายใต้การขับเคลื่อนกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ของพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้กำกับดูแล

ทั้งนี้ ผมขอให้กำลังใจท่านนายก ท่านรองนายก และคณะรัฐมนตรีทุกท่าน ผมเชื่อว่าภายใต้การทำงานของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ เครื่องยนต์ประเทศไทยจะสตาร์ตติดและวิ่งได้ไกลแน่นอน”นายอัครแสนคีรี กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 กันยายน 2566

“สุธรรม สส.นครฯ”ฝาก รบ.เร่งดำเนินการให้ ปชช.มีสิทธิ์ในที่ดิน เปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01ให้เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรนำไปต่อยอด เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น

,

“สุธรรม สส.นครฯ”ฝาก รบ.เร่งดำเนินการให้ ปชช.มีสิทธิ์ในที่ดิน เปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01ให้เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรนำไปต่อยอด เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่1) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรี(ครม.)แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 121 ว่า จากการที่ตนได้ศึกษานโยบายของรัฐบาลเป็นที่ยินดีอย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดนี้ได้เร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิ์ในที่ดิน ที่พิจารณาเอกสารสิทธิ์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นโฉนด เพื่อนำไปต่อยอดและเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น

“ผมต้องขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในสิทธิทำกินของพี่น้องประชาชน ถึงแม้ตัวนโยบายของรัฐบาล จะไม่ได้ระบุรายละเอียดว่า จะพิจารณาเอกสารสิทธิ์ให้ใช้ ประโยชน์ในที่ดินประเภทใด ให้เป็นโฉนด ก่อน-หลัง หรืออย่างไร แต่ความต้องการของพี่น้องประชาชนคือ ต้องการให้เปลี่ยน สปก.ให้เป็นโฉนดโดยเร่งด่วน ผมขออภิปรายเพื่อให้เห็นถึงเหตุผลและความจำเป็น ตามที่พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ได้ใช้เป็นนโยบายหาเสียงในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา”นายสุธรรม กล่าว

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า ตามกฎหมายแล้วการเข้าทำประโยชน์ในเขตที่ดิน หรือ ส.ป.ก. 4-01 ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายหรือโอนสิทธิ์ได้ เว้นแต่ตกทอดมรดก หรือโอนสิทธิ์ให้กับทายาทชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ผู้ถือครอง ส.ป.ก. 4-01 จึงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่ามีเพียงธนาคารเดียวที่ให้สินเชื่อแก่ ส.ป.ก. 4-01 คือธนาคาร ธกส. ส่วนธนาคารอื่นๆไม่สามารถใช้ส.ป.ก.4-01 ค้ำประกันได้เลย และ ธกส. จะให้สินเชื่อเพียง 50% ของราคาประเมินเท่านั้น ทำให้พี่น้องเกษตรกร ผู้ยากไร้ที่ครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เข้าถึงแหล่งทุนยาก ขาดเงินหมุนเวียน เมื่อต้องการนำเงินทุนไปปรับปรุงพื้นที่ในการทำการเกษตร ก็ต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบมาหมุนเวียน ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง บางครั้งโดนเจ้าหนี้บีบมากๆ ก็ต้องขายที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ให้นายทุนในราคาที่ถูก

นายสุธรรม กล่าวต่อด้วยว่า เมื่อปีพ.ศ. 2541 ตนได้มีโอกาสรับราชการที่ส.ป.ก.จังหวัดกระบี่ ในตำแหน่งนิติกร ในช่วงนั้นที่ตนได้เห็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินส.ป.ก. 4-01 จำนวนมาก แต่ทุกวันนี้ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ตนกลับพบว่าปัญหาของที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไม่ได้ลดหย่อนลง แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เนื่องจากว่าสภาพสังคมในหลาย ๆ ด้านได้เปลี่ยนไป บางพื้นที่ที่ดินได้มีความเจริญรุ่งเรือง ไม่เหมาะที่จะทำการเกษตร เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์มากกว่าดังนั้น ตนคิดว่า ส.ป.ก. 4-01 ควรที่จะได้รับการเปลี่ยนสิทธิ์ให้เป็นโฉนดที่ดิน

“ผมเข้าใจดีในเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน ความจำเป็นก็เปลี่ยน กฎหมายบางอย่างก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และความจำเป็นของสังคม ทั้งนี้เพื่อความกินดีอยู่ดีของพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องหันมาดูแลและใส่ใจพี่น้องประชาชนที่ทำมาหากินในเขต ส.ป.ก. 4-01 โดยการเร่งดำเนินการเปลี่ยนสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 ให้เป็นโฉนดที่ดินโดยเร็ววัน ให้มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับโฉนดที่ดินทั่วไป ตามกฎหมายที่ดิน”

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นรัฐบาลอาจจะกำจัดสิทธิ์บางอย่างเช่น ห้ามโอนภายใน 10 ปี หรือให้สิทธิ์บุคคลที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ส.ป.ก. อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการตอบแทนพวกเขาที่ไม่ได้โอนสิทธิ์ให้นายทุน ในปัจจุบันนี้มีพี่น้องประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์ ส.ป.ก. ทั่วประเทศ ประมาณ 2,300,000 กว่าราย หากเป็นไปได้ถ้าเรานำร่องไปก่อนเฉพาะพื้นที่ ที่ไม่มีปัญหา , เฉพาะพื้นที่ที่มีความพร้อม เนื่องจาก ส.ป.ก. 4-01 ได้มีการตรวจสอบสิทธิ์กันมาแล้ว ถ้าดำเนินการประมาณ 500,000 รายหรือ 1,000,000 ราย ได้ก็จะเป็นของขวัญชิ้นงามให้กับพี่น้องเกษตรกร ผู้ถือครอง ส.ป.ก. 4-01 ทั้งนี้ ตนขอให้รัฐบาลบริหารประเทศด้วยความสำเร็จรุ่งเรือง เพื่อความกินดีอยู่ดีของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 กันยายน 2566

ก้าวข้ามความขัดแย้ง เปิดรับข้อมูลทุกฝ่าย ! “รมว.ธรรมนัส”ขอบคุณข้อมูลปัญหาของเกษตรกรจากสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะ สส.พรรคก้าวไกล เชื่อ เป็นประโยชน์ต่อ ก.เกษตรฯและพี่น้องทั่วประเทศ

,

ก้าวข้ามความขัดแย้ง เปิดรับข้อมูลทุกฝ่าย ! “รมว.ธรรมนัส”ขอบคุณข้อมูลปัญหาของเกษตรกรจากสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะ สส.พรรคก้าวไกล เชื่อ เป็นประโยชน์ต่อ ก.เกษตรฯและพี่น้องทั่วประเทศ

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่1) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรี(ครม.)แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 121 ว่า ตนต้องขอขอบคุณเพื่อสมาชิกรัฐสภาที่ให้ความสนใจพี่น้องเกษตรกร ตนได้รับฟังการอภิปรายของเพื่อนสมาชิกมาตั้งแต่ช่วงเช้าจนค่ำ ซึ่งหลาย ๆ พรรคการเมืองได้ให้ความสนใจกับปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ถามว่าข้อมูลที่ท่านสงสัย นโยบายที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อสภาในวันนี้ ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ตนในฐานะที่อยู่กระทรวงนี้มาตั้งแต่ปี 62 ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งถือว่านานพอสมควร ปัญหาภาคการเกษตรถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นปัญหาของพี่น้องคนไทยส่วนใหญ่

“ข้อมูลจากเพื่อนสมาชิกที่เสนอมา ผมถือว่าเป็นประโยชน์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะข้อมูลจากเพื่อนสมาชิกท่านณรงค์เดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ผมขอขอบคุณข้อมูลทุก ๆ อย่างที่ท่านนำเสนอในวันนี้ ในฐานะที่ผมกำกับดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมกับรัฐมนตรีช่วยทั้ง 2 ท่าน ได้ฟังการนำเสนอข้อมูลจากพวกท่าน เราจะนำข้อมูลเหล่านี้ มาเป็นแนวทางในการบริหารและกำหนดนโยบาย ซึ่งเราจะนำนโยบายของรัฐบาลไปมอบให้กับข้าราชการทุกกรมในกระทรวงเกษตรฯ หลังจากที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว”ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวทิ้งท้ายถึงสมาชิกรัฐสภาว่า สิ่งที่ท่านนำเสนอในวันนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรไทย และเชื่อว่าข้อมูลใหม่ๆ ในเรื่องนวัตกรรมใหม่ที่นำเสนอ จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป ตนในนามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านจากใจจริง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” รับ 9 ข้อเสนอกลุ่มพีมูฟวันแถลงนโนบายรัฐบาล พร้อมลุยสางปัญหาด้านเกษตรทันที ดันเข้ารัฐบาลช่วยเหลือปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” รับ 9 ข้อเสนอกลุ่มพีมูฟวันแถลงนโนบายรัฐบาล
พร้อมลุยสางปัญหาด้านเกษตรทันที ดันเข้ารัฐบาลช่วยเหลือปชช.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า วันนี้( 11. ก.ย. 2566 ) ได้รับหนังสือของ กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมเพื่อเป็นธรรม หรือ กลุ่มพีมูฟ ได้เสนอข้อเรียกร้อง 9 นโยบายของขบวนการประชาชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ปัญหาด้านสิทธิเสรีและประชาธิปไตย ด้านการกระจายอำนาจ กระบวนการยุติธรรม นโยบายที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม นโยบายจัดการทรัพากรธรรมชาติ นโยบายด้านการป้องกันภัยพิบัติ คุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์ รวมถึงนโยบายสิทธิคนไร้สถานะและนโยบายรัฐสวัสดิการ และขอให้มีการนิรโทษกรรมคดีที่ประชาชนถูกกระทำจากรัฐ เช่น คดีบางกลอย โดยขอให้มีการตั้งคณะกรรมขึ้นมาภายใน 15 วัน เพื่อแก้ไขปัญหา

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า วันนี้เป็นวันดีที่นายกฯแถลงนโยบาย และกลุ่มพีมูฟมายื่นหนังสือที่รัฐสภา ตนในฐานะฝ่ายนิติบัญญัตติที่เป็นส่วนหนึ่งของงาน และผู้บริหารกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กลุ่มพีมูฟ คงจะเห็นการทำงานปี2562-64 คงไม่ต้องอธิบาย เพราะที่ผ่าน ตนไม่ได้ทำตัวเป็นฝ่ายรัฐบาล แต่กลุ่มพีมูฟ เดือดร้อนที่ไหน ก็จะไปแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน เรื่องภาครัฐ เอาเปรียบพี่น้องประชาชน เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม อยากจะฝากเรียนพี่น้องว่า อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมจะทำให้ดีที่สุด จะไม่ทำให้พวกท่านผิดหวัง

“วันนี้ท่านยื่นหนังสือถึงท่านนายกรัฐมนตรี หลายฉบับ ผมก็จะมอบให้กับเลขารัฐมนตรี เพื่อคัดกรองแต่ละเรื่อง เรื่องไหนที่เกี่ยวกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะรีบดำเนินการภายใต้กฎหมาย เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่พวกท่าน สำหรับพี่น้องชาติพันธุ์ หลายครั้งที่ผมลงพื้นที่ของพวกท่าน ท่านคงจะเห็นว่า ผมรักพี่น้องชาติพันธุ์ ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็ใช้เวลาอยู่กับพี่น้องชาติพันธุ์ จากจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย ดังนั้นผมเข้าใจบริบทปัญหา ที่พวกเราถูกเอารัดเอาเปรียบ และไม่ได้รับความใส่ใจจากภาครัฐ ที่มันสะสมมานาน สิ่งเหล่านี้ ข้อใดที่ผมสามารถทำให้พวกท่านได้ ผมจะทำทันที ข้อใดที่ผิดกฎหมาย เราก็จะไปหาช่องทาง ให้พวกเราได้รับในสิ่งที่พวกเราต้องการ ขอให้ทุกคนสบายใจได้”ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กันยายน 2566

‘รมว.ธรรมนัส’ ประกาศทำสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน พร้อมมอบนโยบายหน่วยงานกระทรวงฯทำแผนเชิงรุกแก้ทุกข์ที่คั่งค้างให้พี่น้องปชช.และเกษตรกร

,

‘รมว.ธรรมนัส’ ประกาศทำสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน พร้อมมอบนโยบายหน่วยงานกระทรวงฯทำแผนเชิงรุกแก้ทุกข์ที่คั่งค้างให้พี่น้องปชช.และเกษตรกร

วันที่ 11 ก.ย. 2566 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาว่า ในการทำงานของรัฐบาลได้มีการวางนโยบายเป็นกรอบไว้แต่ละกระทรวง ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียด ดังนั้นในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ หลังจากที่มีการแถลงนโยบายแล้ว จะมีการประชุมผู้บริหารกระทรวง เพื่อวางแผนการทำงานในระยะ 4 ปี ในการดูแลและแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างให้กับพี่น้องประชาชน

“ขณะนี้ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ยืนยันว่า มีแผนทุกกรมอยู่แล้ว และหลังจากที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสร็จ จะมีการมอบนโยบายให้แก่ทุกหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด ซึ่งจะมีสาระรายละเอียด และเนื้อแท้ของงาน โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่างบประมาณในการแก้ไขปัญหานั้นมาจากไหน การร่วมงานกันของภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาจะเป็นอย่างไร” รมว.ธรรมนัสกล่าว

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าปัญหาทางการเกษตรนั้นมีการสะสมมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตร แต่ยังรวมไปถึงการแปรปรวนของสภาพอากาศ เช่น วิกฤตเอลนีโญ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกร โดยทางกระทรวงเกษตรฯ จะต้องมีการประสานในทุกๆ หน่วยงานว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

นอกจากนี้ในเรื่องของปัญหาปศุสัตว์ เช่น การลักลอบขนส่ง หรือนำเข้าเนื้อหมู เนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ อย่างผิดกฎหมายก็ได้เลือกอธิบดีแต่ละกรมมาอยู่แล้ว หลังจากวันพรุ่งนี้จะตั้งคณะทำงาน อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง

“ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ผมขอประกาศทำสงครามกับสินค้าเถื่อนที่เข้ามาภายในประเทศ ส่วนการทำรายละเอียดต่างๆ ของกระทรวงอื่นๆ ก็คงทำเหมือนกัน” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กันยายน 2566

3 รัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ พร้อมร่วมถ่ายรูปหมู่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่

,

3 รัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ พร้อมร่วมถ่ายรูปหมู่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่

5 กันยายน 2566 พรรคพลังประชารัฐ นำโดย “พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ”ประธานที่ปรึกษาพรรค ในฐานะรองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า”สส.พะเยา และเลขาธิการพรรค ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “สันติ พร้อมพัฒน์”รองหัวหน้าพรรค รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ก่อนจะขึ้นรถเดินทางไปพร้อมกัน เพื่อเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน จากนั้นได้เดินทางกลับมาที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อถ่ายรูปรวมคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทั้งนี้ จะมีการเริ่มประชุมครั้งแรกในวันที่ 6 ก.ย.นี้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กันยายน 2566

“พล.อ.ประวิตร”ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง ประธานกรรมการ 8 ด้าน ขับเคลื่อนนโยบายการทำงานพรรคตามยุทธศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผล

,

“พล.อ.ประวิตร”ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง ประธานกรรมการ 8 ด้าน
ขับเคลื่อนนโยบายการทำงานพรรคตามยุทธศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผล

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ลงนามในคำสั่งพรรคพลังประชารัฐ ที่ 116/2566 แต่งตั้งประธานกรรมการด้านต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของพรรค รวมถึงนโยบายและแนวทางที่พรรคกำหนด ให้สัมฤทธิ์ผลและสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน

โดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ.2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5 พ.ศ.2566 ข้อ 17(1) (จ) (ช) โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ประกอบด้วย

1.นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
2.นายอุตตม สาวนายน เป็นประธานกรรมการด้านนโยบายและการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เป็นประธานกรรมการด้านวิชาการ
4.นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธานกรรมการด้านกฎหมาย
5.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เป็นประธานกรรมการด้านความสัมพันธ์องค์กรและการต่างประเทศ
6.นางสาวตรีนุช เทียนทอง เป็นประธานกรรมการด้านกิจกรรมสัมพันธ์
7.พลเอกณัฐ อินทรเจริญ เป็นประธานกรรมการด้านสื่อสารและประชาสัมพันธ์
8.พลตำรวจเอกธรรมศักดิ์ วิชชารยะ เป็นประธานกรรมการด้านประสานงานและอำนวยการ

สำหรับองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการแต่ละคณะ ให้ประธานกรรมการฯพิจารณาจัดทำร่างบัญชีรายชื่อจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค สมาชิกพรรคและผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสม พร้อมทั้งพิจารณากำหนดหน้าที่และอำนาจ ที่สมควรได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ เพื่อเสนอต่อหัวหน้าพรรคพิจารณาออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านต่างๆ ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 สิงหาคม 2566