โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวประชาสัมพันธ์

“ธีระชัย” ติงแนวคิด “ทักษิณ” ซื้อหนี้ ปชช.คืนทั้งประเทศ ต้องมองให้ทะลุ ทำได้จริงหรือแค่วาทกรรมหาเสียง จี้“แบงค์ชาติ-เครดิตบูโร”แจงสังคมให้ชัด การคลังประเทศชาติรับได้หรือไม่

,

“ธีระชัย” ติงแนวคิด “ทักษิณ” ซื้อหนี้ ปชช.คืนทั้งประเทศ ต้องมองให้ทะลุ ทำได้จริงหรือแค่วาทกรรมหาเสียง จี้“แบงค์ชาติ-เครดิตบูโร”แจงสังคมให้ชัด การคลังประเทศชาติรับได้หรือไม่

เมื่อวันที่ 18 มี.ค.เวลา 14.10 น.ที่พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานร่วมศูนย์นโยบายและวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวถึงกรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก ตอนหนึ่ง ว่า มีแนวคิดจะแก้ปัญหาหนี้ให้คนไทยทั้งประเทศ โดยการซื้อหนี้จากประชาชน และลบข้อมูลออกจากเครดิตบูโร เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ว่า หนี้ของประชาชนในขณะนี้มีปัญหาในการผ่อนชำระ และบานปลายไปถึงหนี้นอกระบบ พรรคพลังประชารัฐมีความเป็นห่วงและได้เคยเสนอแนวคิดให้กับรัฐบาลในการหาทางแก้ไขมาแล้ว เพื่อแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จและเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่การไปลดดอกเบี้ย แต่จะต้องมีการลดเงินต้น หรือ hair cut แล้วดอกเบี้ยจะลดลงไปโดยอัตโนมัติ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้เดินหน้าแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า แนวคิดใหม่เช่นนี้ ยังไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน แต่ขอเตือนประชาชนว่า อย่าเพิ่งฟังแล้วไปเชื่อใจว่า แนวคิดนี้จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ อย่างไร ต้องแยกแยะให้ชัดว่า มันเป็นวาทกรรมเพื่อหาคะแนนเสียง หรือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติแล้วเกิดขึ้นได้จริง ตนไม่อยากจะฟันธงแสดงความคิดเห็นในเบื้องต้น แต่ตนกำลังเรียกร้องเพราะประเด็นนี้จะเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจและหนีไม่พ้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะเกิดขึ้นจะต้องมีสอบถามนายกรัฐมนตรี

“ผมขอให้องค์กรที่สำคัญที่มีความรู้ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย และเครดิตบูโร ออกมาอธิบายกับประชาชนว่า สิ่งที่อดีตนายกทักษิณพูดเป็นเพียงบัลลังก์เมฆฝัน ที่อยู่ในอากาศ สามารถทำได้จริงหรือไม่ รวมถึงขอให้แบงค์ชาติอธิบายว่า มีประเทศใดในโลกหรือไม่ที่ทำแบบนี้ ถ้าบอกว่าให้บริษัทเอกชนไปดำเนินการ โดยไม่มีรัฐบาลหนุนหลังอยู่ มันเป็นได้ไปได้จริงหรือ แบงค์พาณิชย์จะยอมให้ความเชื่อถือหรือ และถ้าเกิดเป็นกรณีที่รัฐบาลยังอยู่เบื้องหลังไม่ว่าจะโดยตรงหรืออ้อม ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องอธิบายมาว่า ภาระหนี้ในขณะที่มีอยู่ในระบบของประชาชนที่อาจจะมีถึง 20,000,000 ล้านบาทนั้น ถ้ามันกลายเป็นภาระของรัฐบาล และเป็นภาระทางการคลังประเทศชาติรับได้หรือไม่”นายธีระชัย กล่าว

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า การดำเนินการในลักษณะแบบนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องตอบว่า จะเกิดผลอย่างไรต่อระบบการเงินและระบบธนาคาร ความน่าเชื่อถือในต่างประเทศต่อระบบธนาคารของประเทศไทย ถ้าสมมุติว่า การดำเนินการแบบนี้ไม่ได้ใช้เงินธรรมดา แต่ผมกำลังเดาว่าท่านอดีตนายกทักษิญ อาจจะให้บริษัทเอกชนมาออกเงินดิจิทัล ถามว่า ถ้าไม่มีทักษิณหนุนหลังบริษัทเอกชนเหล่านั้น เงินที่ออกมาจะเชื่อถือได้ขนาดไหน จะมีทองคำหรือดอลล่าร์อยู่หรือไม่

“ลักษณะการเงินแบบนี้ จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการเก็งกำไรและคนที่จะดำเนินการ จะสามารถฉกฉวยหากำไรเป็นกรณีพิเศษได้หรือไม่อย่างไร และถ้าปรากฏว่าเงินดิจิทัลออกเป็นบริษัทที่ดำเนินงานการคำสั่งของการคลัง ก็ต้องถามว่าลักษณะเช่นนี้ จะไม่นับเป็นหนี้สาธารณะได้อย่างไร จะต้องนับเป็นที่สาธารณะตั้งแต่วันที่ออกใช่หรือไม่ และจะเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยวินัยทางการเงินการคลังหรือไม่อย่างไร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 มีนาคม 2568

“พปชร.ยืนยัน” พล.อ.ประวิตร”พร้อมนำทัพร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจ มั่นใจ ข้อมูลพอที่จะสะท้อนภาวะผู้นำของนายกฯที่ล้มเหลว ประกาศ ยังเหนียวแน่น ไม่มีใครถูกดูด

,

“พปชร.ยืนยัน” พล.อ.ประวิตร”พร้อมนำทัพร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจ มั่นใจ ข้อมูลพอที่จะสะท้อนภาวะผู้นำของนายกฯที่ล้มเหลว ประกาศ ยังเหนียวแน่น ไม่มีใครถูกดูด

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.เวลา 10.20 น.พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)นำโดย นายชัยมงคล ไชยรบ รองหัวหน้าพรรค และ สส.สกลนคร,นายคอซีย์ มามุ รองหัวหน้าพรรค และ สส.ปัตตานี ,นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และ สส. พังงา, นายวิริยะ ทองผา มุกดาหาร,นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช และนายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย กล่าวถึง  กระแสข่าวว่าพรรคพลังประชารัฐไม่ให้ความร่วมมือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า พรรคพลังประชารัฐพร้อมให้ความร่วมมือกับพรรคฝ่ายค้านอย่างตรงไปตรงมา  และจริงใจโดยเราได้เตรียมข้อมูล และบุคคลที่จะทำการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้เรียบร้อยแล้ว

  “พรรคพลังประชารัฐจะได้เข้าร่วมประชุมและรับฟังการอภิปรายในครั้งนี้นำ  โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  หัวหน้าพรรค อย่างแน่นอน ซึ่งท่านได้ร่วมเซ็นชื่อในการยื่นญัตติในครั้งนี้ด้วย ถึงแม้ท่านจะไม่ได้อภิปรายเอง แต่ท่านเป็นคนกำหนดข้อมูล และทิศทางรวมถึงประเด็นในการนำมาอภิปรายทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้มาฟังในสภา เรามั่นใจในข้อมูลที่จะชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล และการขาดภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี” นายชัยมงคล กล่าว

นายชัยมงคล ยังกล่าวถึงกระแสข่าวว่า สส.พปชร.ถูกดูด ไปร่วมงานกับพรรคการเมืองอื่น ว่า เรายังมีความเหนียวแน่น มีจุดยืนที่จะก้าวไปด้วยกัน แม้จะเป็นฝ่ายค้านก็จะเป็นฝ่ายค้านที่มีคุณภาพ เราไม่ได้เกี่ยงว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล แต่เราจะทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2568

“สส.กระแสร์” ขอไฟสัญญาณจราจรให้ชาวหนองคาย ชี้จะขยายถนนเป็น 8 เลนก็ได้ แต่ขอให้มีแสงสว่างให้ประชาชนใช้ระหว่างสัญจร

,

“สส.กระแสร์” ขอไฟสัญญาณจราจรให้ชาวหนองคาย ชี้จะขยายถนนเป็น 8 เลนก็ได้ แต่ขอให้มีแสงสว่างให้ประชาชนใช้ระหว่างสัญจร

เมื่อวันที่ 26 ก.พ.นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้อง ชาวหนองคาย โดยเฉพาะที่อำเภอซับไทย บ้านน้ำสวย ว่า ถนนมิตรภาพหนองคาย ระหว่างจังหวัดอุดรธานี – จังหวัดหนองคาย มีการก่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง อำเภอสระใคร บริเวณบ้านน้ำสวย และ บ้านถิ่น ของอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งก่อนจะเข้าสู่จังหวัดหนองคาย ที่สะพานลำน้ำสวย จะมีรูปพญานาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพี่น้องชาวจังหวัดหนองคาย แต่ถ้ามีสะพานข้ามระหว่างบ้านถิ่นไปหาบ้านน้ำสวย จะบดบัง ทัศนียภาพ ความสวยสดงดงาม จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย

“ความต้องการของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดหนองคาย ขอให้มีไฟสัญญาณจราจร ระหว่างทางสัญจรไปมาทาง เพราะเดี๋ยวนี้ถนนเป็น 6 เลน จะขยายเป็น 8 เลนก็ได้ และอีกอย่าง รถไฟความเร็วสูง เฟสที่ 2 ระยะที่ 2 จากโคราชมาสู่ขอนแก่น และมาสู่จังหวัดหนองคายนั้นก็จะทำการก่อสร้างในเร็วๆนี้ เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้ประชาชนที่จะเดินทางไปเข้าสู่ตัวจังหวัดหนองคาย“นายกระแสร์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2568

“พล.ต.ท.ปิยะ” เผยมติ พปชร.ร่าง พรบ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน ทุกวิถีทาง ฉะ โครงการแจกเงิน 10,000 สุดล้มเหลว หวังแค่ได้คะแนนเสียง

,

“พล.ต.ท.ปิยะ” เผยมติ พปชร.ร่าง พรบ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน ทุกวิถีทาง ฉะ โครงการแจกเงิน 10,000 สุดล้มเหลว หวังแค่ได้คะแนนเสียง

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.เวลา 14.20 น.ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และคณะทำงานนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เป็นประธานในที่ประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงร่าง พ.ร.บ. ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ.ที่รัฐบาลจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พล.อ.ประวิตร ติดภารกิจต่างประเทศ จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม

วันนี้พล.อ.ประวิตรและกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ มีมติชัดเจนว่า เราจะคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวทุกวิถีทาง เพราะในอนาคตจะกระทบต่อการบริหารจัดการด้านการเงินเป็นอย่างมาก เพราะจะไปจำกัดอำนาจตามมาตรา 26 ของธนาคารแห่งประเทศไทยของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและเป็นการให้อำนาจคนกลาง ซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ตลอดจนเสถียรภาพทางการเมืองก็จะถูกบั่นทอนโดยคณะกรรมการศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงินที่จะนำเสนอนี้ “พล.ต.ท.ปิยะ กล่าว

พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมได้มีการรายงานผลการวิเคราะห์นโยบายแจกเงินสด 10,000 บาทของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร วงเงิน 1.88 ล้านบาท ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีการคาดหวังว่าจะทำให้จีดีพีของประเทศขึ้นไม่ต่ำกว่า 0.35% แต่การแจกเงินดังกล่าวไม่เป็นผลสำเร็จ จีดีพีสูงขึ้นเพียง 0.1% เท่านั้น จึงถือว่าโครงการนี้ประสบความล้มเหลว

“รัฐบาลไปกู้เงินมา เพื่อนำมาแจกประชาชน หวังที่จะสร้างคะแนนเสียง ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนที่ทำเช่นนี้ เพราะสถานการณ์การเงินของประเทศ ณ ปัจจุบันไม่สามารถเก็บรายได้ให้เพียงพอต่อรายจ่าย แต่รัฐบาลยังไม่ใส่ใจ ตัดสินใจกู้เงินมาทำโครงการประชานิยมเช่นนี้อีก  ทำให้ประชาชนกว่า 60 ล้านคนต้องแบกภาระหนี้สิ้นที่รัฐบาล ก่อขึ้นโดยไม่เกิดประโยชน์ในภาพรวมของประเทศแต่อย่างใด” พล.ต.ท.ปิยะ กล่าว

ที่มา ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568

“ธีระชัย” ซัด นโยบายเรือธงแจกเงิน 10,000 ล้มเหลวกระตุ้นไม่ถึงเป้า GDP แทบไม่ขยับ ชี้ ประชาชนเอาไปโปะหนี้ เก็บออม แทนการจับจ่าย เสียโอกาสใช้งบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

,

“ธีระชัย” ซัด นโยบายเรือธงแจกเงิน 10,000 ล้มเหลวกระตุ้นไม่ถึงเป้า GDP แทบไม่ขยับ ชี้ ประชาชนเอาไปโปะหนี้ เก็บออม แทนการจับจ่าย เสียโอกาสใช้งบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.เวลา 14.10 น.ที่พรรคพลังประชารัฐ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานร่วมศูนย์นโยบายและวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวถึงนโยบายแจกเงินสด 10,000 บาทของรัฐบาลแพรทองธาร ว่าเป็น “โครงการไม่ตอบโจทย์กระตุ้นเศรษฐกิจ” ใช้งบประมาณมหาศาล 1.85 แสนล้านบาท แต่เศรษฐกิจกลับ “ไม่ขยับ” พลาดเป้าหมาย หวั่นภาครัฐทุ่มงบไปเปล่าประโยชน์ ขณะที่ ประชาชนยังเผชิญปัญหาค่าครองชีพสูง-รายได้ต่ำ

นายธีระชัย ระบุว่า รัฐบาลหวังให้โครงการนี้กระตุ้น GDP โตเพิ่มขึ้น 0.35% แต่ผลที่เกิดขึ้นกลับ “น่าผิดหวัง” เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2567 โตเพียง 3.2% โตไม่ต่างจากไตรมาสก่อนหน้า (3.0%) เช่นเดียวกับการบริโภคเอกชนและการลงทุนรวมเกือบจะไม่โตเพิ่ม “แจกหนัก แต่ผลตอบแทนต่ำ ตัวคูณทางเศรษฐกิจต่ำเพียง 0.1-0.3 เท่า หมายความว่า รัฐบาลแจกเงินทั้ง สองเฟสรวม 185,552 ล้านบาท กลับสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่ถึง 60,000 ล้านบาท” นายธีระชัย กล่าวเพิ่มเติม

“ผลสำรวจจากสำนักสถิติแห่งชาติชี้ว่า ประชาชนกว่า 12.8% นำเงินที่ได้ไปใช้หนี้ และอีก 11.4% เก็บออม ขณะที่เงินที่เหลือถูกใช้จ่ายเพียงแค่ของจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ค่าน้ำและค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ประชาชนต้องจ่ายอยู่แล้ว ทำให้ไม่เกิด “การบริโภคใหม่” ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง นี่คือข้อผิดพลาดสำคัญ รัฐบาลหวังให้เงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่ประชาชนนำไปโปะหนี้ เพราะรากเหง้าของปัญหาเศรษฐกิจที่แท้จริงคือค่าครองชีพสูง-รายได้ไม่พอใช้-หนี้ครัวเรือนพุ่ง รัฐบาลมองข้ามจุดนี้ ทำให้เงินที่แจกไป ‘หายวับ’ ไม่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจ” นายธีระชัย กล่าว

นายธีระชัย ตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ใช้งบมหาศาลนี้ไปกับโครงการที่ยกระดับศักยภาพประเทศ เช่น โครงการพัฒนาทักษะแรงงาน (Upskill/Reskill) หรือโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างงานและรายได้ระยะยาว มากกว่าการแจกเงินแล้วจบไป? หรือแม้กระทั่งใช้งบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกที่ตกต่ำในขณะนี้

นายธีระชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่ 2 รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง ที่ออกมาแถลงข่าวยืนยันจะแจกเฟสสาม แต่จะแจกเป็นเงินดิจิทัล น่าสงสัยว่าเป็นแผนการเพื่อปลอบใจคนที่รอ 16 ล้านคนหรือเปล่า เพราะไม่แจ้งให้ประชาชนทราบว่ากระทรวงคลังได้หารือกับ ธปท. เพื่อแก้ปัญหาตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราและกฎหมายว่าด้วยระบบ การชำระเงินเรียบร้อยแล้วหรือยัง ถ้าไม่ยอมหารือ ก็อาจจะเป็นเพียงสร้างความหวังแก่คน 16 ล้านคนให้รอไปก่อน

ที่มา ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568

“พล.อ.ประวิตร” สวมเสื้อให้รองหัวหน้าพรรคคนล่าสุด “สุรเดช ยะสวัสดิ์” เผย พร้อมรับผิดชอบภาคเหนือตอนบน และช่วยงานพรรคอย่างเต็มที่

,

“พล.อ.ประวิตร”  สวมเสื้อให้รองหัวหน้าพรรคคนล่าสุด “สุรเดช ยะสวัสดิ์” เผย พร้อมรับผิดชอบภาคเหนือตอนบน และช่วยงานพรรคอย่างเต็มที่

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2568 เวลา 14.00 น.พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค และนายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา วุฒิสภา อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพะเยา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐในฐานะ รองหัวหน้าพรรค ที่จะมารับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

โดยนายสุรเดช กล่าวว่าตนมีความเคารพนับถือ ท่านพล.อ.ประวิตรมานานแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสเข้ามาร่วมงานกับท่าน ครั้งนี้ก็ถือว่าได้รับโอกาสให้มาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ โดยตนจะมาช่วยดูแลหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เนื่องจากตนเคยเป็น สวในจังหวัดพะเยาอยู่เขตภาคเหนือตอนบน และในส่วนภาคอื่น ๆ หากพล.อ.ประวิตร คิดว่า ตนพอเป็นประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ ตนก็ยินดีที่จะช่วยงานของพรรคอย่างเต็มที่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2568

“ชัยมงคล”ซัด รัฐบาลสิ้นคิด ! เปิดบ่อนพนันมอมเมา ปชช.ไร้หนทางหาเงินเข้าประเทศ ท้า“เพื่อไทย”หาเสียงปี 70 ชู นโยบาย”เลือกเรา ได้บ่อน“จะได้รู้ ปชช.คิดยังไง

,

“ชัยมงคล”ซัด รัฐบาลสิ้นคิด ! เปิดบ่อนพนันมอมเมา ปชช.ไร้หนทางหาเงินเข้าประเทศ ท้า“เพื่อไทย”หาเสียงปี 70 ชู นโยบาย”เลือกเรา ได้บ่อน“จะได้รู้ ปชช.คิดยังไง

นายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร เขต 5 และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. …ว่า เรื่องการเปิดบ่อนกาสิโนในประเทศไทยเป็นเรื่องใหญ่และมีผลกระทบกับสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้น พรรคพลังประชารัฐจึงต้องนำข้อเสียหากมีบ่อนกาสิโดนเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเปิดเผยและสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพราะรัฐบาลไม่เคยพูดถึง มีแต่โฆษณาหลอกลวงว่า ประเทศจะดีแบบนั้นแบบนี้ ทั้งที่ความจริงแล้วประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็ได้เตือน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยแล้วว่า เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ อาจจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ แต่รัฐบาลไทยก็ไม่เคยสนใจคำแนะนำเหล่านั้น

นายชัยมงคล กล่าวต่อว่า เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนดินกับใต้ดิน ตนไม่ขัดข้องกับโครงการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ครบวงจร มีโรงแรม ร้านอาหาร สถานบันเทิง แต่มันมีบ่อนกาสิโนรวมอยู่ด้วย ถึงรัฐบาลจะพยายามบอกว่ากาสิโนจะมีพื้นที่เพียง 10% แต่ต้องยอมรับว่า มันคือหัวใจที่เป็นหลักของโครงการนี้ ที่จะนำมาซึ่งปัญหายาเสพติด อาชญากรรมในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ครอบครัว อีกมาก ท้ายที่สุด กาสิโนก็คือแหล่งที่นายทุนจะมาทำธุรกิจเพื่อดูดเฃินไปจากคนจน ทำให้คนไทยติดการพนันมากขึ้นไปอีก ไม่แตกต่างจากกอง
สลากกินแบ่งรัฐบาล ที่เริ่มต้นก็บอกว่าจะเอาเงินที่ได้ไปพัฒนาประเทศตรงนั้น ตรงนี้ แต่ทุกวันนี้รูปธรรมที่ได้คืออะไร

“วันนี้ผมมองว่า รัฐบาลสิ้นคิดที่จะหาเงินจากการพนันแล้วนำมาพัฒนาประเทศ แทนที่จะไปคิดนโบายอื่นที่มั่นคงและยั่งยืน สร้างให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจจึงหาทางออกด้วยการเปิดบ่อนพนัน มอมเมาประชาชน สร้างปัญหาให้สังคม ถ้าคิดจะทำจริง ๆ ให้ไปเปิดที่ จ.หนองบัวลำภู ที่ไม่ใช่จังหวัดท่องเที่ยว ประชาชนไม่มีรายได้ ไม่ใช่มาเปิดที่เชียงใหม่ ภูเก็ต พื้นที่ ๆ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากอยู่แล้ว นี่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาของคนที่จะมาบริหารประเทศ“นายชัยมงคล กล่าว

นายชัยมงคล กล่าวต่อว่า ตนขอเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคคำถึงกับอนาคตของลูกหลานและประเทศไทย ช่วยกันหยุดยั้งร่าง พรบ.ฉบับนี้ และถ้าหากพรรคเพื่อไทยอยากเปิดบ่อนการพนันเสรีในประเทศไทยมากนัก ก็ขอให้อดใจรอการหาเสียงปี 2570 ขอให้ท่านชูเรื่องบ่อนเป็นนโยบายเรือธงไปเลยว่า ถ้าใครเลือกพรรคไทยเป็นรัฐบาล ประเทศไทยจะมีบ่อนทันที ! ตนก็อยากทราบเหมือนกันว่า จะมีประชาชนสักกี่คนที่เขาจะเลือกท่าน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2568

“ไพบูลย์”มอง พท. แค่ซื้อเวลาส่งศาลฯ ตีความแก้รธณ. ม.256  เชื่อถูกตีตก เหตุเคยชี้ชัดแล้ว มั่นใจอายุรัฐบาล“แพทองธาร”น่าห่วง

,

“ไพบูลย์”มอง พท. แค่ซื้อเวลาส่งศาลฯ ตีความแก้รธณ. ม.256  เชื่อถูกตีตก เหตุเคยชี้ชัดแล้ว มั่นใจอายุรัฐบาล“แพทองธาร”น่าห่วง

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้เสนอญัตติด่วนเรื่องขอรัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา210 วรรคหนึ่ง (2)ว่า เป็นเพียงแค่การซื้อเวลาของพรรคเพื่อไทย เพื่อที่จะตอบคำถามกับประชาชนหรือมวลชนที่เขาไปหาเสียงว่า จะแก้รัฐธรรมนูญ ว่าขั้นตอนการแก้ไขยังอยู่ในสภาฯ เรายังพยายามทำอยู่ แต่ต้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก่อนเพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะพรรคเพื่อไทยรู้ดีอยู่แล้วว่า ทันทีที่มีการพิจารณาเรื่องนี้ในวาระแรก ก็จะถูกตีตกไปทันที ก็เลยใช้เทคนิคเพื่อซื้อเวลาออกไป

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ตนไม่เข้าใจว่า จะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญอีกเพื่ออะไร เพราะเคยยื่นไปแล้ว 2 ครั้ง โดยตนเป็นผู้ที่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตามแบบที่พรรคเพื่อไทยกำลังทำ ตนเป็นคนดำเนินการคนแรก เพราะอำนาจที่รัฐสภามี ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และเมื่อตนถามไป ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยกลับมาว่า รัฐสภามีอำนาจในการดำเนินการ แต่ก่อนที่จะดำเนินการจะต้องไปถามความคิดเห็นของประชาชน ก็คือ การทำประชามติ เมื่อตีความแล้ว ก็คือ รัฐสภาไม่มีอำนาจนั่นเอง

”ประเด็นนี้มันชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2564 แล้ว และสมัยนั้นก็ทำให้ร่างแก้ไข รธน.ฉบับนั้นตกไป ต่อมาก็ในสมัยรัฐสภาชุดนี้ก็มีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะเดียวกัน ซึ่งศาลก็ตอบมาว่า เป็นเรื่องที่เคยตอบไปแล้ว ก็คือเรื่องซ้ำกับเรื่องเดิม และครั้งนี้ก็เช่นกัน ตนเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากได้วินิจฉัยไปแล้ว สุดท้ายเพื่อไทยก็หน้าแตกเหมือนเดิม“นายไพบูลย์ กล่าว

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า คำถามคือ ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงพยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทำไมถึงไม่แก้รายมาตราทั้งที่สามารถดำเนินการได้เลย นั่นก็เพราะว่า จะสามารถแก้ได้มั่วเลย โดยเฉพาะการสอดไส้เรื่องทำลายระบบองค์กรอิสระทิ้งทั้งหมด จึงเป็นเหตุผลที่ต้องแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยมี สสร.ร่างขึ้นมาใหม่ สิ่งที่พรรคเพื่อไทยคิดเอาไว้ต่อจากนี้ ก็คือการพยายามแก้กฎหมายประชามติให้เหลือแค่ชั้นเดียวให้ได้ ก็คือ  ยึดเอาแค่เสียงข้างมากจากประชาชนที่มาใช้สิทธิ แต่ตอนนี้กฎหมายประชามติยังคงเป็น 2 ชั้น และมีเงื่่อนไขระบุว่า ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งถือว่า ยากมาก แต่ที่ยากยิ่งกว่า ก็คือ อายุของรัฐบาลชุดนี้คงอยู่ไม่ถึงวันที่จะได้แก้

“สิ่งที่น่าห่วงกว่าการแก้รัฐธรรมนูญคือ อายุของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ที่วันนี้สถานะ เสถียรภาพต่างๆ ฝีมือบริหารประเทศในเรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้ารอบด้าน จนกลายเป็นปัญหาที่หมักหมม มีแต่เรื่องเสียหายเต็มไปหมด คือ ปัจจัยที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2568

“พล.ต.ท.ปิยะ” เผยรองฯสันติ มอบศูนย์นโยบายฯ พปชร.ศึกษา ร่าง พรบ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน ก่อนกำหนดท่าที ห่วง กระทบเสถียรภาพการเงินประเทศ

,

“พล.ต.ท.ปิยะ” เผยรองฯสันติ มอบศูนย์นโยบายฯ พปชร.ศึกษา ร่าง พรบ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน ก่อนกำหนดท่าที ห่วง กระทบเสถียรภาพการเงินประเทศ

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.เวลา 14.00 น.ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และคณะทำงานนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคที่มีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม แทน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคว่าที่ประชุมได้พิจารณาถึงปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ที่มั่นคง จึงเป็นข้อห่วงใยที่ประชุมมอบหมายให้ศูนย์วิชาการ ฯ หาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว เพราะเห็นว่าวันนี้รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะแก้ปัญหาปากท้องให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง

“รัฐบาลทำได้เพียงใช้วิธีการบริหารจัดการนำงบประมาณมาแจกจ่ายให้กับประชาชน เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ก็พบว่า  ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ชี้ให้เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลยังขาดในเรื่องการยกระดับคุณภาพของแรงงาน ไม่มีการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ และนโยบายการเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ” พล.ต.ท.ปิยะ

พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวต่อว่า คณะตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ ได้รายงานมติของที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านให้กรรมการบริหารพรรคทราบว่า ฝ่ายค้านมีมติยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 27 ก.พ.นี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาถึงร่างพระราชบัญญัติศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. ที่รัฐบาลจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ซึ่งพรรคพลังประชารัฐเห็นว่า ในอนาคตจะกระทบต่อการบริหารจัดการด้านการเงินของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะจะไปจำกัดอำนาจตามมาตรา 26 ของธนาคารแห่งประเทศไทยของผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยและเป็นการให้อำนาจคนกลางซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ตลอดจนเสถียรภาพทางการเมืองก็จะถูกบั่นทอนโดยคณะกรรมการศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงินที่จะนำเสนอนี้ ท่านสันติจึงมอบให้ศูนย์นโยบายและวิชาการฯศึกษา ร่าง พรบ.ฉบับนี้ให้มีมติและดำเนินการต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2568

“ธีระชัย” เผย พปชร.พร้อมลุยศึกซักฟอกรัฐบาล เล็งชำแหละ พ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์-MOU 44

,

“ธีระชัย” เผย พปชร.พร้อมลุยศึกซักฟอกรัฐบาล เล็งชำแหละ พ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์-MOU 44

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.เวลา 10.30 น. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานกรรมการวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในส่วนของพรรคพปชร.ว่า ทางพรรคได้มีการประสานงานกับพรรคร่วมฝ่ายค้านและได้มีการกำหนดวันที่จะมีการยื่นญัตติและมีการกำหนดแนวทาง รวมถึงหัวข้อที่จะมีการกำหนดนำไปอภิปราย โดยขณะนี้ พรรคพลังประชารัฐอาจจะขอไม่เปิดเผยประเด็นอย่างเต็มที่ แต่หากช่วงที่ผ่านมา ได้ติดตามการแถลงข่าวของพรรคประชารัฐ หลาย ๆ เรื่องที่เรามีความเห็นคัดค้านและโต้แย้ง ก็คงเป็นประเด็นที่พรรคจะนำไปพิจารณาในการอภิปราย

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า พรรคพลังประชารัฐมีความพร้อมและกำลังเดินหน้ารวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อประชาชนอย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาทางพรรคได้มีการคัดค้านในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. …ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าจะมีประเด็นที่นำมาพิจารณาในการนำเสนอกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบในแง่ของจุดด้อยและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมไปถึง MOU44 ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่เราคัดค้านและต่อสู้มาอย่างเข้มแข็ง ก็อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พรรคจะนำไปเสนอให้กับประชาชนได้รับรู้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2568

“พปชร.” จี้ครม.ทบทวน ร่างพ.ร.บ.ศูนย์กลางการเงิน ชี้ ตรากฎหมายไม่สามารถบรรลุเป้าได้จริง อาจหวังรวบอำนาจนโยบายการเงินจาก ธปท.มองสร้างความหายนะ กระทบความน่าเชื่อถือ

,

“พปชร.” จี้ครม.ทบทวน ร่างพ.ร.บ.ศูนย์กลางการเงิน ชี้ ตรากฎหมายไม่สามารถบรรลุเป้าได้จริง อาจหวังรวบอำนาจนโยบายการเงินจาก ธปท.มองสร้างความหายนะ กระทบความน่าเชื่อถือ

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2568 เวลา 10.00 น. นายอุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐและนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานกรรมการวิชาการร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านร่างพระราชบัญญัติศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. ….

โดยนายอุตตม ตั้งข้อสังเกตว่ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ. ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. …. ได้ดำเนินการอย่างครบถ้วน รอบคอบ และเพียงพอแล้วหรือไม่ โดยเฉพาะการหารือกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เช่น ธปท. ก.ล.ต. และหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แม้ ธปท. เพิ่งมีหนังสือถึงคณะรัฐมนตรีแสดงข้อสังเกตต่อ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้านเนื่องจากกฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับระบบการเงินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ อาทิ การให้คณะกรรมการฯ ตามกฎหมายนี้มีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจ และเกี่ยวเนื่องไปถึงการให้ใบอนุญาต การกำกับดูแลในรูปแบบที่ค่อนข้างเหมารวม ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับอำนาจหน้าที่และกระบวนการของหน่วยงานกำกับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน รวมถึงต้องระมัดระวังไม่ให้เปิดช่องให้เกิดการแทรกแซงทางการเมือง

“ผมสนับสนุนให้มีกลไกรองรับการประชุมหารือร่วมกันเป็นประจำระหว่างกระทรวงการคลังและหน่วยงานกำกับด้านการเงินต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวคิด และการวิเคราะห์ ทั้งในภาวะปกติ และเมื่อมีสัญญาณของการเกิดวิกฤต เพื่อให้สามารถสร้างความพร้อมในการรับมือวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ รวมถึงการระดมความคิดในการพัฒนาระบบการเงิน ตลาดทุนและที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยรวมกลไกหารือเช่นนี้สามารถจัดตั้งได้ทันทีโดยอาศัยคำสั่งนายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะไม่เกิดปัญหาและความซ้ำซ้อนในการดำเนินการของหน่วยงานที่ดูแลอยู่แล้ว”นายยอุตตม กล่าว

นายอุตตม กล่าวทิ้งท้ายว่า กฎหมายเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเงินได้ เพราะนักลงทุนจะเลือกประเทศที่พร้อมที่สุด เช่น สิงคโปร์ประสบความสำเร็จด้วย (1) นโยบายภาครัฐที่เอื้อต่อธุรกิจ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เหมาะสม พร้อมสิทธิประโยชน์ดึงดูดฟินเทคและกองทุนบริหารสินทรัพย์ กฎระเบียบโปร่งใสภายใต้การกำกับของธนาคารกลางสิงคโปร์ (2) โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินแข็งแกร่ง เช่น ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเงินตรา ระบบดิจิทัลที่รองรับธุรกรรมทางการเงิน และเครือข่ายธนาคารระดับโลก (3) แรงงานคุณภาพสูงจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และโครงการพัฒนาทักษะด้านการเงินและ ฟินเทค

“หากไทยต้องการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการเงินของโลก ต้องสร้างความพร้อมในทุกมิติ ไม่ใช่แค่ออกกฎหมาย   แต่รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองที่เป็นรากฐานของความเชื่อมั่น หลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลที่โปร่งใสและเป็นมาตรฐานสากล และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านกฎระเบียบ เทคโนโลยี และบุคลากร หากไม่เร่งปฏิรูปไทยอาจไม่ใช่ตัวเลือกของนักลงทุนในเวทีการเงินโลก”

ด้านนายธีระชัย กล่าวว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลรู้ดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยยังขาดสององค์ประกอบสำคัญในการเป็นศูนย์กลางฯทั้งด้านกฎหมาย และด้านธรรมาภิบาลในด้านกฎหมาย การเชิญชวนสถาบันการเงินระดับโลกให้เข้ามาในศูนย์กลางฯ เพื่อทำธุรกรรม offshore ระหว่างกันที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนนั้น จะเป็นที่สนใจก็ต่อเมื่อศูนย์กลางฯ มีกลไกยุติข้อพิพาทที่รวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากการแทรกแซง ทั้งกลไกอนุญาโตตุลาการและกลไกศาล แต่ระบบกฎหมายของไทยยังไม่สามารถให้ ความมั่นใจได้

นอกจากนี้ เคยมีกรณีที่ศาลไทยไม่ยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ และรัฐบาลไทยเองก็ไม่ยอมรับกลไกอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น องค์ประกอบนี้จึงเป็นลบชัดเจนในด้านธรรมาภิบาล ดัชนีคอร์รัปชัน Corruption Perception Index ปี 2024 ของไทยก็ต่ำอยู่เพียงอันดับ 107 จาก 180 ประเทศ ไม่อาจเทียบกับสิงคโปร์อันดับ 3 และฮ่องกงอันดับ 17 ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ทีีสถาบันการเงินระดับโลกที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นจะยอมเข้ามาในศูนย์กลางฯ ที่มีอันดับแค่ 107 รัฐมนตรีคลังจึงย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า ในสององค์ประกอบข้างต้นไทยไม่สามารถแข่งขันกับฮ่องกงหรือสิงคโปร์ได้เลย เป้าหมายนี้ไม่สามารถเกิดได้จริง

“ผมสงสัยว่า เป้าหมายแท้จริงอาจไม่ใช่ตลาดนอกประเทศ (offshore) แต่อาจเพื่อออกเงินดิจิทัลสำหรับตลาดในประเทศ (onshore) ด้วยข้อพิรุธ 2ข้อ
ข้อที่หนึ่ง ถึงแม้มติคณะรัฐมนตรีระบุว่า “ให้บริการเฉพาะผู้ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (non-residents) เท่านั้น” แต่ในมาตรา 53 (2) มีการสอดใส้ให้บริการแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ (residents) เอาไว้ด้วย  
ข้อที่สอง หนังสือของกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ระบุว่า “ผู้ประกอบธุรกิจเป้าหมาย” หมายถึงผู้ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (non-residents) แต่ในร่าง พ.ร.บ. ได้ตัดเงื่อนไขนี้ออกไป จึงส่อพิรุธว่า เป้าหมายที่แท้จริงอาจเพื่อการออกเงินดิจิทัลที่มีลักษณะเป็นเงินตราสำหรับใช้ในประเทศ“นายธีระชัย กล่าว

ทั้งนี้ นายธีระชัย ตั้งข้อสงสัยว่า ร่างกฎหมายนี้มีเป้าหมายแฝงเพื่อปลดล็อคสองปัญหาเรื่องเงินดิจิทัล ใช่หรือไม่ ปัญหาที่หนึ่ง ปัจจุบันการพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายเงินตราต้องผ่าน ธปท.ซึ่งอาจจะไม่เห็นด้วย ร่างมาตรา 10 ปลดอำนาจ ธปท.ไปให้คณะกรรมการพิจารณาแทน ปัญหาที่สอง ปัจจุบันการพิจารณาอนุญาตเชื่อมเงินดิจิทัลกับระบบบาทเนต (Bahtnet) ซึ่งธปท.อาจจะไม่เห็นด้วย ร่างมาตรา 36 ได้ปลดอำนาจในกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงินทิ้งไปเลย

“ผมเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีทบทวน เพราะการตรากฎหมายที่ไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้จริง แต่กลับมีผลแฝงเป็นการรวบอำนาจนโยบายการเงินไปจาก ธปท. จะสร้างความหายนะให้แก่ประเทศ และจะกระทบความน่าเชื่อถือในระดับสากล”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2568

พปชร.ซัด มาตรการแก้ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ยังไม่ถึงแก่น เสนอภาษีฝุ่นพิษ จัดหอคอยฟอกอากาศ – คุมเข้มยานพาหนะ จี้ รัฐบาลแก้ปัญหาให้จริงจัง อย่าปล่อยให้กระทบสุขภาพของ ปชช.

,

พปชร.ซัด มาตรการแก้ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ยังไม่ถึงแก่น เสนอภาษีฝุ่นพิษ จัดหอคอยฟอกอากาศ – คุมเข้มยานพาหนะ จี้ รัฐบาลแก้ปัญหาให้จริงจัง อย่าปล่อยให้กระทบสุขภาพของ ปชช.

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568  เวลา 11.10 นาฬิกา ณ ห้องวันนี้(5 ก.พ.)เวลา 11.00 น.ที่อาคารรัฐสภา พรรคพลังประชารัฐ นำโดย นายชัยมงคล ไชยรบ รองหัวหน้าพรรค และ สส.สกลนคร เขต 5 ,นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และ สส.พังงา เขต 2 นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช , นายคอซีย์ มามุ สส. ปัตตานี เขต 2 , นายวิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร เขต 1, นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 ,นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ,ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ที่ปรึกษาศูนย์นโยบายและวิชาการ,พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรค พปชร.ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการลดมลพิษและปัญหาฝุ่น PM 2.5

โดยนายฉกาจ กล่าวว่า ฝุ่น PM 2.5 สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลควรเร่งแก้ไฃปัญหาอย่างเร่งด่วน และดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมและเข้มงวดให้มากขึ้น ตามที่รัฐบาลได้เคยกล่าวไว้กับประชาชนในช่วงรณรงค์หาเสียงว่า จะแก้ปัญหามลพิษของประเทศไทย และถูกบรรจุเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่วันนี้พื้นที่ กทม.นั้นประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 จนกระทบต่อปัญหาสุขภาพของพี่น้องประชาชนในระยะยาว แต่รัฐบาลกลับไม่สนใจที่จะแก้ไข

“ผมไม่เข้าใจว่ารัฐบาลนี้ต้องการอะไร การท่องเที่ยวและหารายได้จากการพนันแต่ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวของ 7,000,000 ล้าน บาทกระทบนักท่องเที่ยวเห็นได้จากที่ดอนเมืองไม่สามารถลงได้แต่ละรัฐบาลมีเพื่อนเป็นคนติดแทนที่จะมุ่งไปแก้ปัญหาฝุ่นที่คุณมองบ้างที่ประชาชนจะต้องไปผ่อนตรง ประชารัฐขอนำเอกชนไปยังกระทงให้รัฐรัฐบาลโดยทวีไปดำเนินการแก้ไขเป็นปัญา”

ด้านนายธีระชัย กล่าวว่า การแก้ปัญหาฝุ่นพิษจะต้องแก้ครบวงจร ในด้านปลายน้ำ รัฐบาลควรสร้างหอคอยยักษ์ฟอกอากาศในทุกเมืองใหญ่ ตามที่ประเทศจีนได้เคยดำเนินการ ต้นทุนไม่ถึงหนึ่งร้อยล้านบาท และล่าสุด มีการค้นคว้าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

ในด้านต้นน้ำ รัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาการเผาเศษพืชในการปลูกข้าวโพด อ้อยและข้าว ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียม  แต่ละปีมีจุดเผาในประเทศเพื่อนบ้านเกิดขึ้นมากกว่า 8 แสนจุด และเกิดขึ้นในไทยมากกว่า 2 แสนจุด

“วิธีแก้ปัญหาให้ได้ผลจริงจะต้องใช้มาตรการด้านการคลัง ให้ผู้นำเข้าและผู้ผลิตอาหารสัตว์และน้ำตาลต้องจ่ายภาษีฝุ่นพิษในอัตราสูงสุดถึง 100% ยกเว้นกรณีที่มีบริษัทเซอเวเยอร์รับรองว่าแปลงนั้นไม่มีการเผาในรอบ 12 เดือนก่อนหน้า โดยกระทรวงเกษตรกำหนดมาตรฐานขึ้นทะเบียนบริษัทเซอเวเยอร์ รวมทั้งให้ผู้ส่งออกข้าวต้องจ่ายภาษี 5% โดยเมื่อครบปีรัฐบาลคืนภาษีให้ อบต.และอบจ.ตามสัดส่วนการผลิตข้าว ยกเว้นแหล่งทีุ่มีการเผา

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นประธานดังกล่าว รวมทั้งต้องจัดหารถตัดอ้อยชุมชน บังคับการเว้นระยะปลูกอ้อยเพื่อให้รถเข้าถึงได้ข้ามทุกแปลง รวมทั้งเครื่องมืออัดฟางข้าวชุมชน“นายธีระชัย กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 05 กุมภาพันธ์ 2568