โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม ส.ส. และสมาชิกพรรค

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

,

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวถึงปัญหาพืชผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ เช่นเงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียนบ้านโดยราคาปลายน้ำของผลไม้เหล่านี้มีราคาสูง แต่ก็สมเหตุสมผล เพราะผลไม้มีรสชาติที่ดี มีผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้จากทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ฝ่าฝน ฝ่าแดด รอดมาถึงมือผู้บริโภคได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ราคาต้นน้ำ ก็คือราคาหน้าสวนของเกษตรกรมันตกต่ำเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“ล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ท่าน ได้ลงไปดูเรื่องราคามังคุดที่ตกต่ำ และได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ซึ่งผมได้มีโอกาสติดตามท่านไปด้วย จึงทราบว่าราคามังคุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ที่บ้านของผมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราคามังคุดต่อกิโลกรัมแค่ 10 บาท ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 2 บาท ในเวลาที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมาล้นตลาด ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น เงาะในราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่ง 3 บาทต้องจ้างคนมาเก็บค่าจ้างกิโลละ 2 บาท เจ้าของสวนได้แค่บาทเดียว ลองกองก็เช่นกัน ช่อไซด์ขนาดครึ่งแขน เกรดA+ ตาสีตาสาแถวบ้านผม ไม่มีโอกาสได้กินหรอก ส่งออกในภาคกลาง และต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ในกรุงเทพต่ำๆ กิโลนึง 80-90 บาท แต่หน้าสวนกิโลกรัมละ 10 บาท”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ตนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชาวบ้านเลือกมาให้เป็นปากเสียงแทน ดีใจที่ตอนนี้เรามีนายก เราเพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรี ประเทศจะได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตนหวังอย่างยิ่งว่ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และที่สำคัญคือ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร อย่างการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลไม้อบแห้ง

“ผลไม้อีกอย่างหนึ่งที่สร้างมูลค่าได้ดี ก็คือ ทุเรียนกวน เราสามารถส่งออกต่างประเทศได้ เราทำให้เป็นรูปธรรม มีตราฮาลาล ผลิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกไปขายยังประเทศแทบตะวันออกกลาง หรือประเทศโลกมุสลิม ซึ่งประเทศเหล่านี้นิยมผลไม้จากประเทศไทยเป็นอย่างมาก และสามารถแก้ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแน่นอน”นายอามินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ นายอามินทร์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง สภาเกษตรกรที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาเหมือน สส.ที่อยู่ในสภาฯแห่งนี้ แต่หน่วยงานนี้กลับไม่ได้รับความสำคัญ ไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับการเพิ่มบทบาท เพิ่มศักยภาพเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความรู้ความสามารถ รู้ปัญหา รู้เรื่องเกษตรกรเป็นอย่างดี ตนจึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน
เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

วันนี้ (8 กันยายน 2566) เวลา 10.00 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ร่วมพบปะพี่โดยน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงโดยได้พูดคุย รับฟัง และพร้อมสะสางปัญหาของน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนด้านการเกษตรจากโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณชิงเขาพนมดงรักษ์ อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จ.สุรินทร์ โครงอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปลูกป่าทับที่ทำกินที่ป่าภูแลนคา ด้านทิศเหนือ อ.แก่งค้อ จ.ชัยภูมิ ได้รับผล กระทบจากการก่อสร้างเขื่อนเขื่อนราษีไศล ผู้เดือดร้อนจากโครงการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญทับที่อาศัย และที่ทำกิน ผู้เดือนร้อนจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยขนาดมอญ อ.สังขะจ.สุรินทร์ จากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ เขื่อน โครงการฝ่าย รวมถึงโครงการเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่สะสมมานาน

จากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ร่วมพบปะพี่น้องเกษตรกรพร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ติดตามประเด็นปัญหาภัยแล้งผลกระทบจากเอลณีญ พื้นที่ทำกิน การบริหารจัดการน้ำ โดยปัญหาหลักที่เกษตรกรอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไข ได้แก่ปัญหาความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคอีสาน ปัญหาการพักหนี้เกษตรกรและปัญหาที่ดินทำกิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์” มั่นใจ รมว.เกษตรฯคนใหม่ เข้าใจหัวอกเกษตรกร แก้ปัญหาได้แน่นอน พร้อมฝาก กมธ.สภาฯจริงใจเร่งแก้หลานปัญหาให้ยั่งยืน

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์” มั่นใจ รมว.เกษตรฯคนใหม่ เข้าใจหัวอกเกษตรกร แก้ปัญหาได้แน่นอน พร้อมฝาก กมธ.สภาฯจริงใจเร่งแก้หลานปัญหาให้ยั่งยืน

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ปลูกพืช คือ อ้อย มัน มันสัปปะหลัง ยางพารา และทำการเลี้ยงสัตว์ เช่นไก่ ปลา กุ้ง แต่ตอนนี้ประสบปัญหาเรื่อง ค่าปุ๋ยแพงไม่สมดุลกับราคาพืชผลการเกษตร อย่างเช่น มันสัปปะหลัง ถ้าจะเกษตรกรอยู่ได้ต้อง ปุ๋ยต้องมีราคาต่ำกว่า 1000 บาท ปัจจุบันนี้ปุ๋ย ยูเรีย ราคา 1000 กว่าบาท เละหลายหลายสูตรซึ่ง มัน ไม่สมดุลย์ นอกจากนี้ ระบบชลประทานที่เป็นเรื่องสำคัญในการทำเกษตรให้ได้ผลผลิตอย่างเพียงพอ

นายจำลอง กล่าวต่อว่า วันนี้ตนขอนำความคับแค้นแห่งหัวใจของเกษตรกร โดยปัญหาเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง กรมปศุสัตว์ผู้เลี้ยงไก่ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะที่อำเภอหัดสขัน ที่ผู้เลี้ยงไก่ทำพันธกิจกับเจ้าของบริษัท เรียกว่าเกษตรพันธกิจ ไปทำรายงานกับธนาคาร เพื่อการเกษตร ให้บอกว่ารายได้เลี้ยงได้ถึง7 รุ่นถึง 8 รุ่น ต่อรอบ ในการส่งดอกเบี้ยธนาคาร ปรากฏว่ามันไม่ได้เป็นไปดังที่เจ้าของบริษัทบอกไว้ ทำให้เกษตรกรขาดทุน เมื่อขาดทุนแล้ว อาหารไม่ได้คุณภาพ บริษัทก็บอกว่า บริษัทขัดคล่องทางการเงิน ไม่สามารถส่งอาหารได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ ทำให้ไก่มีขนาดตัวเล็กส่งออกไม่ได้ เกษตรกรก็ไม่มีเงินส่งธนาคาร

“วิธีแก้ไขของบริษัททำให้เกษตรกรเป็นทาส เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ต้องกู้เงินนอกระบบ ทำให้เป็นหนี้ 2 ทาง เป็นหนี้ทั้งธนาคารและบริษัทที่ส่งเสริมการเลี้ยง ฉะนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง ผมจึงฝากไปยังผู้ที่จะเข้ามาเป็นกรรมาธิการสามัญ และขอสนับสนุนให้มีการตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังและจริงใจ ผมเฝ้าติดตามการประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาตลอด และครั้งนี้มีโอกาสที่ผมได้เป็น สส. ครั้งแรก และมีโอกาสนำเรื่องคับแค้นของพี่น้องประชาชนเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ผมฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ ผมมั่นใจในตัวท่านมากว่าท่านทำได้ เพราะท่านเป็นคนไวต่อหัวอกของเกษตรกร และไวต่อทุกเรื่อง คือส่งเสริมให้มีระบบชลประทาน เพื่อพี่น้องเกษตรกรได้ ปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น”นายจำลอง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“อามินทร์”ฝาก ก.ทรัพยากรฯเร่งหาทางออกปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หลังทำให้เสียดินแดนแนวชายฝั่งปีละ 2 เมตร

,

“อามินทร์”ฝาก ก.ทรัพยากรฯเร่งหาทางออกปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หลังทำให้เสียดินแดนแนวชายฝั่งปีละ 2 เมตร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส อำเภอตากใบพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือถึงความเดือดร้อนของประชาชนในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ศาลาใหม่ ถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หมู่ 8 ตำบลศาลาใหม่ ปัจจุบันได้รับความเสียหายตลอดแนวกว่า 2,500 เมตร หมู่บ้านแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง 500 ไร่ โดยเฉพาะ 3 ปีหลัง ที่เราเสียดินแดนที่เรียกว่า ปลายด้ามขวาน เฉลี่ยปีละ 2 เมตร ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ที่ดินพื้นเดียวที่มีอยู่บนเกาะแห่งนี้

“ผมต้องขอขอบคุณกรมโยธาธิการ และผังเมืองที่ไม่ได้นิ่งนอนใจ เข้าสำรวจและได้ทำประชาคมไปแล้วถึง 4 ครั้ง แต่ปัญหาอยู่ที่กฎหมายที่ต้องใช้เวลาศึกษาผลกระทบ ทำให้เราตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงจะเสียดินแดนแห่งนี้ต่อไป ปีละ 2 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง อย่างน้อยอีก 5 ปี ผมอยากจะขอฝากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งหาทางออกให้กับเรื่องนี้”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อถึงปัญหาบ้านเกาะยาว อำเภอตากใบ ต้นตำรับปลากุเลาที่โด่งดัง ที่คนซื้อไม่ได้กินทคนกินไม่ได้ซื้อ ตอนนี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากทางเข้าออกของหมู่บ้านมีอยู่ 2 เส้นทาง ทางที่ 1 เข้าออกทางรถยนต์ต้องใช้การเดินทางกว่า 9 กิโลเมตรหรือใช้เส้นทางกว่า 20 นาที เพราะเส้นทางที่เข้าออกทุรกันดารเป็นอย่างมาก เส้นทางที่ 2 ทางเข้าออกอีกเส้นทางหนึ่งก็คือ สะพานคอย 100 ปี ที่ชื่อสะพานคอย 100 ปีนะครับ เพราะชาวบ้านรอสะพานแห่งนี้กว่าจะสร้างเสร็จใช้เวลา กว่า 100 ปี ได้สะพานมาทั้งทีก็ได้สะพานกว้างแค่ 2 เมตร ขับรถมอเตอร์ไซค์สวนกันก็ยากลำบาก จึงอยากจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างสะพานเข้าออกหมู่บ้าน ที่มีความกว้าง รถยนต์สามารถเข้าออกบ้านเกาะยาวด้วยความสะดวก เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดนราธิวาสได้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถชูโรง สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนราธิวาสได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของธรรมชาติ เช่น เรื่องของน้ำขึ้นน้ำลง บวกกับการขุดลอกคลองตากใบ ที่เคยเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์น้ำหลากหลายชนิด หลายครัวเรือนเลี้ยงปลากระพงในกระชัง ซึ่งเป็นรายได้หลัก แต่ปัจจุบันประสบปัญหาคลองตื้นเขิน เพราะการขุดลอกมานาน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอดเทียบท่าได้ จึงขอให้กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกคลองตากใบ เพื่อให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“สนธิรัตน์” ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช ควง “สส.สุธรรม” สร้างการเมืองมิติใหม่ ลุยทำงานเพื่อ ปชช. พร้อมร่วมถกสมาพันธ์บริษัทประชารัฐฯ 14 จังหวัดภาคใต้ ขับเคลื่อนต่อ “บริษัทประชารัฐรักสามัคคี” สร้างโมเดลความสำเร็จ ตั้งเป้าผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์

,

“สนธิรัตน์” ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช ควง “สส.สุธรรม” สร้างการเมืองมิติใหม่ ลุยทำงานเพื่อ ปชช. พร้อมร่วมถกสมาพันธ์บริษัทประชารัฐฯ 14 จังหวัดภาคใต้ ขับเคลื่อนต่อ “บริษัทประชารัฐรักสามัคคี” สร้างโมเดลความสำเร็จ ตั้งเป้าผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์

วันที่ 2-3 กันยายน 2566 ที่อำเภอเมือง-ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายสุธรรม จริตงาม สส.จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ นายวัชระ กรรณิการ์ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ นายทวี สุระบาล สส.จังหวัดตรัง เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ และนายคอซีย์ มามุ สส. จังหวัดปัตตานี เขต 2 ลงพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช รับฟังเสียงพี่น้องประชาชน เดินหน้าแก้ปัญหา พัฒนาพื้นที่ สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับพี่น้องประชาชน

โดยนายสนธิรัตน์ และนายสุธรรม ได้เปิดเวทีถก “ทิศทางการพัฒนาอำเภอทุ่งสง” ซึ่งมีผู้นำชุมชน 13 ตำบล ในอำเภอทุ่งสง เข้าร่วมกว่า 100 คน นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ ตนตั้งใจมาช่วย สส.สุธรรม จริตงาม ในการลงพื้นที่พบปะประชาชน เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนในการพัฒนาขับเคลื่อนพื้นที่อำเภอทุ่งสงนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมาวันนี้ก็ได้รับทราบหลายปัญหาในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องน้ำแล้ง น้ำหลาก ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เช่น ราคามังคุด ยางพารา ปัญหายาเสพติด และปัญหาพื้นที่ทำกิน เป็นต้น ซึ่งตนและ สส.สุธรรม เก็บรวบรวมทุกปัญหา เพื่อนำไปสู่การวางแนวทางการบริหารให้สอดรับกับทุกปัญหาที่ผู้นำชุมชนได้สะท้อนออกมา ซึ่งตนในฐานะประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พร้อมจะช่วยคิด ช่วยวางแนวทางแก้ปัญหาให้อย่างแน่นอน

“การลงพื้นที่ในวันนี้ ถือเป็นมิติใหม่ทางการเมืองที่ยึดปัญหาพี่น้องประชาชนและบ้านเมืองเป็นตัวตั้ง ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าผมและ สส. สุธรรม มาพร้อมกับ สส. ทวี จังหวัดตรัง และ สส. คอซีย์ จังหวัดปัตตานี มาลงพื้นที่ร่วมกัน เพราะแนวทางการทำงานของพรรคพลังประชารัฐ เน้นการทำงานทั้งองคาพยพ ผมเชื่อว่าการพัฒนาและการแก้ปัญหา ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนต้องมาจากความร่วมมือที่จะปิดจุดด้อย ส่งเสริมจุดเด่นร่วมกัน ดังนั้น สส. ภาคใต้ของพรรคพลังประชารัฐหรือแม้แต่ สส. ทุกภาคก็ยึดแนวทางการทำงานแบบนี้ วันนี้ ผมอยากให้พี่น้องประชาชนชาวทุ่งสงมั่นใจในตัว สส.สุธรรม ว่าท่านเลือกคนไม่ผิดแน่นอน” นายสนธิรัตน์ กล่าว

นายสุธรรม กล่าวยืนยันว่า ตนมีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน จะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเข้าไปขับเคลื่อนงบประมาณเข้ามาพัฒนาแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่ สส. อีเว้น งานศพ งานบวช งานแต่ง แต่ตนจะเป็น สส. ที่ประชาชนเข้าถึง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพ่อแม่พี่น้องทุกคน ตามนโยบายที่ผู้บริหารพรรคพลังประชารัฐตั้งมั่นไว้เป็นแนวทางให้ สส. ของพรรคทุกคนได้ทำหน้าที่ของตนในพื้นที่อย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากนี้ ตนจะเดินหน้าโครงการ สส. สัญจร พบปะพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ต่อไป

จากนั้น นายสนธิรัตน์ และ นายสุธรรม ได้เดินทางไปดูพื้นที่ช่องเขาหินลูกช้าง พร้อมรับหนังสือติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนเขตป่าสงวนช่องเขาหินลูกช้าง จากนายเดชพล แก้วคุ้มภัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ ซึ่งดำเนินการยื่นเรื่องมาตั้งแต่ปี 63 แต่โครงการไม่คืบหน้า เนื่องจากติดกฎหมายของกรมป่าไม้ โดยโครงการตัดถนนดังกล่าว จะเป็นเส้นทางสัญจร และการขนส่งพืชผลทางการเกษตร ที่เชื่อมต่อพื้นที่อำเภอทุ่งสง เช่น ตำบลเขาขาว และอำเภอทุ่งใหญ่ ไปจนเชื่อมต่อจังหวัดกระบี่และภูเก็ตได้ นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาตห้กับอำเภอทุ่งส่ง เนื่องจากเขาหินลูกช้าง เป็นจุมชมวิวที่สามารถมองเห็นอำเภอทุ่งสงได้ทั้งเมือง และบางพื้นที่ในจังหวัดตรังและกระบี่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ที่โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พบปะตัวแทน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ภาคใต้ 14 จังหวัด ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดอันดามัน กลุ่มจังหวัดอ่าวไทย และกลุ่มจังหวัด 3 ชายแดนใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ บริษัทประชารัฐฯ จากอดีต ปัจจุบัน อนาคต จะไปอย่างไร ในระหว่างการประชุมสมาพันธ์บริษัทประชารัฐฯ ภาคใต้ ครั้งที่ 3/2566

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคพลังประชารัฐเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ภายใต้แนวคิดความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อเป้าหมายสร้างชุมชนทั่วประเทศให้เกิดความเข้มแข็งที่คลอบคลุมทั้งด้านสังคม อาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตของประชาชน และสิ่งแวดล้อม

โดยพรรคพลังประชารัฐยังยืนยันที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาบริษัทประชารัฐฯ ทั่วประเทศต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานรากเพราะวันนี้ตนเชื่อว่าบริษัทประชารัฐฯ ยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะขับเคลื่อนชุมชนทั่วประเทศให้อยู่ดีกินดีและพึ่งพาตัวเองได้

“บริษัทประชารัฐรักสามัคคี เป็นเครื่องมือที่ดี และยังเป็นความหวังของชุมชนที่จะสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งได้ โดยรวมเอาจุดดีของ CSR ระบบสหกรณ์ และ Business model ของภาคเอกชนมาบูรณาการเป็นบริษัทประชารัฐรักสามัคคีซึ่งวันนี้พรรคพลังประชารัฐมีความตั้งใจที่จะสร้างให้เข้มแข็งและเติบโตก้าวไปให้ถึงตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นโมเดลความสำเร็จของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี และเป็นเครื่องมือแก้จนให้ประชาชนอยู่ดีกินดีได้อย่างยั่งยืน” นายสนธิรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กันยายน 2566

“วรโชติสส.พปชร.” ขอบคุณ “สันติ พร้อมพัฒน์” ช่วยเกษตรกร จ.เพชรบูรณ์ ผลักดันครม.เร่งทำฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งให้ชาวบ้าน

,

“วรโชติสส.พปชร.” ขอบคุณ “สันติ พร้อมพัฒน์” ช่วยเกษตรกร จ.เพชรบูรณ์ ผลักดันครม.เร่งทำฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งให้ชาวบ้าน

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง จากภัยเอลนีโญ ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรและประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ในจ.เพชรบูรณ์ เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่อย่างรุนแรงเพราะเป็นพื้นที่สูง

ทั้งนี้จากการได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ของจังหวัด ทั้งอำเภอชนแดน,อำเภอวังโป่ง,อำเภอหนองไผ่ และอำเภอภายในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้ประสานงานไปยังนายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึง สส.เพชรบูรณ์ ของพรรคพลังประชารัฐอีกทั้ง 5 เขต ได้แก่ นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์,นายจักรัตน์ พั้วช่วย,นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์,นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์,นายอัคร ทองใจสด และยังประสานไปยังนายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ และนายกฤษณ์ คงเมือง ผวจ.เพชรบูรณ์ ร่วมกันผลักดันให้เกิดการทำฝนเทียมที่ จ.เพชรบูรณ์

“ล่าสุด จากความร่วมมือกันผลักดัน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทางคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ อนุมัติให้ดำเนินการ ทำฝนหลวง โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้ว และประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำให้พี่น้องชาวเพชรบูรณ์เป็นกลุ่มแรกแล้ว เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงจากภัยเอลนีโญ ทั้งนี้ภารกิจที่สามารถบรรลุเป้าหมาย ในการช่วยเหลือประชาชนในครั้งนี้ได้ต้องขอขอบพระคุณท่านสันติ พร้อมพัฒน์ และสส.จังหวัดเพชรบูรณ์ทุกเขต รวมไปถึงหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

สำหรับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนได้ลงพื้นที่ประสานกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง (อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ อบจ เพื่อนำเครื่องจักร เพื่อดำเนินการวางท่อ เพื่อดำเนินการผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักเข้าพื้นที่เกษตรกรเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 กันยายน 2566

“พล.อ.ประวิตร”ร่วมเปิดงาน” วันน้ำโลก ปี66 ” ห่วงวิกฤตน้ำในอนาคต วอนคนไทย มีส่วนร่วมเห็นคุณค่าฟื้นฟูใช้ประโยชน์ ประหยัดและยั่งยืน

,

“พล.อ.ประวิตร”ร่วมเปิดงาน” วันน้ำโลก ปี66 ” ห่วงวิกฤตน้ำในอนาคต
วอนคนไทย มีส่วนร่วมเห็นคุณค่าฟื้นฟูใช้ประโยชน์ ประหยัดและยั่งยืน

เมื่อ 1 ก.ย.66 09.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานจัดกิจกรรม ” ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องใน “วันน้ำโลก ประจำปี 2566” พร้อมชมนิทรรศการพร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบและสนับสนุนการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมา พร้อมรับรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมดังกล่าว จาก ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาฯ สทนช. และได้เป็นประธานพิธีเปิดงาน พร้อมกล่าวเจตนารมย์ของไทยเนื่องใน วันน้ำโลก ประจำปี 2566 โดยมีสาระสำคัญ คือ “น้ำ”ถือเป็นทรัพยากรที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาในทุกมิติ ซึ่ง UN ได้กำหนดให้วันที่ 22 มีนาคม

ทุกปีเป็นวันน้ำโลก (World Water Day) โดยให้ประชาคมโลกร่วมกันรณรงค์ให้เกิดการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ อย่างยั่งยืน เร่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการลงมือปฏิบัติ เพื่อลดวิกฤติด้านน้ำ และสุขาภิบาล ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรน้ำในทุกมิติ ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ แบบพลวัต ด้วยความร่วมมือของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ซึ่งจะเป็นข้อกลางเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับชุมชนพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง การใช้น้ำที่มีคุณภาพ เพียงพอ และเท่าเทียมกัน

พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำถึง เจตนารมย์ของรัฐบาลไทยที่พร้อมเดินหน้าไปกับประเทศสมาชิก เพื่อยืนยันความร่วมมือ ภายใต้กรอบ UN และไทยพร้อมรับข้อเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงาน และองค์กรด้านน้ำของประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มอัตราเร่งการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ยังได้ รณรงค์ขอให้ประชาชน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำ และใช้น้ำอย่างประหยัด เห็นคุณค่าในโอกาสนี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 กันยายน 2566

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

,

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ กำลังพิจารณาซึ่งมีญัตติทำนองเดียวกันอีก 11 ญัตติ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำมาพิจารณาพร้อมกัน จึงให้พิจารณารวมเป็น11ฉบับ ทั้งนี้ 1 ในญัตติที่เสรอต่อสภาเป็นของนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)

นายอรรถกร ได้กล่าวเสนอญัตติด่วนในที่ประชุมเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งตนต้องขอขอบคุณประธานสภาที่ท่านกรุณาบรรจุ และเปิดโอกาสให้ตนและเพื่อนสมาชิกได้มีโอกาสนำเสนอญัตติ ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง วันนี้พรรคพลังประชารัฐเรามีเลขาธิการของพรรคพลังประชารัฐ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ก็อยู่กับพวกเราด้วย ซึ่งทราบว่าเมื่อเช้ามีตัวแทนของผู้เลี้ยงกุ้งที่ตั้งความหวังรอการแก้ไขมาร่วมยื่นหนังสือ และพูดคุยถึงปัญหา ราคากุ้งตกต่ำ นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าญัตติของตนนั้นเป็นญัตติที่เร่งด่วนที่ต้องการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังมีเพื่อนสมาชิกที่ร่วมลงชื่อและยื่นญัตตินี้กับตนอีกหลายท่าน

ในขณะนี้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลางและขนาดย่อย ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่ราคากุ้งตกต่ำเกิดจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สินแม้ราคากุ้งจะถูกกำหนด โดยคณะบริหารจัดการ ห่วงโซ่ การผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ก็ตาม ราคาของกุ้งก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงขอให้รัฐบาลช่วยลดภาระของพวกเขา เช่น ค่าอาหาร ค่าปูน ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยตรง

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าอเมริกาญี่ปุ่นหรือประเทศทางยุโรปเริ่มชะลอการนำเข้าใช้กุ้งในสต๊อกของตนเอง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาตกต่ำอีกประเด็นปัญหาอำนาจในการต่อรองของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยน้อยมาก เมื่อเช้าจังหวัดฉะเชิงเทรามีการขายกุ้งจำนวน 2.8 ตันขายหมด ไม่พอแม่ค้ารับซื้ออย่างรวดเร็ว แต่เป็นการขายในราคาที่พี่น้องเกษตรกรไม่ได้กำไร และพ่อค้าแม่ค้า คนกลางไปขายต่อ ทำให้เป็นอีกปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ทั้งนี้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่มีแต่ประเทศไทย ประเทศเดียวเท่านั้น ในตลาดโลกเรามีหลายประเทศที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นเอกวาดอร์ อินเดียเวียดนาม รวมถึงอินโดนีเซีย ที่สามารถผลิตกุ้งได้เป็นจำนวนมาก แต่มีข้อแตกต่างตรงที่ว่า สามารถลดต้นทุนได้มากกว่าประเทศไทยทำให้มีความได้เปรียบในการส่งออก

“ข้อเรียกร้องต่างๆของพวกเขาคือ อยากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตกุ้งมีราคาลดลง รวมถึงชะลอการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศในทันท่วงทีโดยเฉพาะในช่วงราคากุ้งตกต่ำ และเงินชดเชยของเกษตรกรทุกคนต้องได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหญ่ บ่อกลาง และบอร์ดเล็ก สุดท้ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไขปัญหาจริงจังในระยะสั้น กลาง ระยะยาว โดยเริ่มต้นตั้งแต่ วันนี้ผมขอเสนอญัตติด้วยความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรให้มีการตั้งกรรมาธิการ แต่เมื่อดูจากระยะเวลา ถ้าเราทำเป็นรายงานส่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไข คงจะเป็นทางออกรวดเร็วที่สุด”นายอรรถกร กล่าว

ต่อมาเมื่อนายอรรถกรเสนอญัตติจบ และกำลังจะ เข้าสู่การอภิปรายของผู้เสนอเหรอญัตติคนถัดไป ปรากฎว่า ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติให้มีการนับองค์ประชุม โดยมีผู้รับรองถูกต้อง ทำให้สส.พรรคร่วมรัฐบาล พยายามขอร้องให้พรรคก้าวไกลถอนญัตติดังกล่าวออกไป แต่ไม่เป็นผล ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ รอสมาชิกแสดงตนพักใหญ่ แต่สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม จึงทำให้องค์ประชุมไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อได้

จากนั้น นายอรรถกร ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นว่า วันนี้เพื่อน สส.พร้อมใจที่จะมาร่วมกันอภิปราย เดินหน้าการประชุมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร โดยหวังว่า สภาฯจะได้ส่งปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไปให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไขโดยเร็วที่สุด แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ตนก็ต้องแสดงความเสียใจจริง ๆ แต่ในการประชุมสภาครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า ตนก็จะเดินหน้าให้ที่ประชุมสภาฯพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมหารือรองประธาน อลป.จีน ยกระดับด้านกีฬา กระชับความสัมพันธ์ ไทย-จีน เพิ่มศักยภาพนักกีฬาไทย

,

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมหารือรองประธาน อลป.จีน ยกระดับด้านกีฬา
กระชับความสัมพันธ์ ไทย-จีน เพิ่มศักยภาพนักกีฬาไทย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้การต้อนรับ นายหวัง รุ่ยเหลียน (Mr.Wang Ruilian) รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน และคณะ ณ บ้านอัมพวัน คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในโอกาสที่เดินทางมาเข้าร่วมประชุม รัฐมนตรีอาเซียน – สาธารณรัฐประชาชนจีน ในด้านกีฬา

พล.อ.ประวิตร ได้ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวขอบคุณ นายหวัง รุ่ยเหลียน และคณะทุกท่าน ที่ให้เกียรติมาเข้าพบในวันนี้ ซึ่งประเทศไทยกับจีนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มาอย่างยาวนาน ในทุกระดับ รวมทั้งประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ ที่มีความรักความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น ทั้งด้านการค้า วัฒนธรรม ประเพณี และอื่นๆรวมถึงด้านการกีฬาด้วย ซึ่งในโอกาสที่จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่าง 23 ก.ย.- 8 ต.ค.66 โดยมีนักกีฬาของไทยหลายประเภท เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวอวยพรขอให้จีนประสบความสำเร็จ ในการจัดการแข่งขันด้วยดี

นายหวัง รุ่ยเหลียน ได้กล่าวขอบคุณ พล.อ.ประวิตร ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ในวันนี้ และยืนยันความสัมพันธ์อันดีที่มีมาอย่างมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศ ที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้กล่าวเรียนเชิญ พล.อ.ประวิตร และคณะ เพื่อเป็นเกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย ต่อจากนั้นทั้งสองฝ่าย ยังได้หารือความร่วมมือทางด้านกีฬา เพื่อส่งเสริมการกีฬาของทั้ง 2 ประเทศ ให้มีการพัฒนาร่วมกัน และนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้มากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย พร้อมกล่าวยินดีต้อนรับ และสนับสนุนนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ของไทยอย่างเต็มที่ ในการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ ทั้ง2ฝ่ายได้มอบของที่ระลึกระหว่างกัน ก่อน รองประธาน คณะกรรมการโอลิมปิกฯของจีน พร้อมคณะจะเดินทางกลับ สำหรับ พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิคฯของไทย ต่อเนื่องทันที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“จักรัตน์ พั้วช่วย”วอนกรมชลประทาน สร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ พร้อม เร่งสร้างถนนเชื่อม 2 อำเภอ ช่วยนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

,

“จักรัตน์ พั้วช่วย”วอนกรมชลประทาน สร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ พร้อม เร่งสร้างถนนเชื่อม 2 อำเภอ ช่วยนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

นายจักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ขณะนี้ประเทศไทย กำลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้พื้นที่เขค 2 ประสบปัญหาภัยแล้งหนักมากในช่วงเวลาปกติ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนปกติแล้ว อำเภอหล่มสัก บ้านผมน้ำตรงท่วม 2 รอบแต่ ปีนี้น้ำในแม่น้ำป่าสักยังมีจำนวนน้อยอยู่เลย จึงข้องกรมชลประทานให้สำรวจออกแบบก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง นะครับ แห่งแรก อ่างเก็บน้ำปากช่องอำเภอปากช่อง ตำบลแหลมสัก 2 อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำพาย ตำบลบ้านกลางอำเภอหล่มสัก 3 อ่างเก็บน้ำตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 4 อ่างเก็บน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาวเพื่อช่วยเรื่องการบริหารจัดการน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากแผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์จะเห็นได้ว่า แม่น้ำป่าสัก ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ ไหลจากอำเภอเหนือสุดของจังหวัด ก็คืออำเภอหล่มเก่า ไปสู่อำเภอใต้สุดของจังหวัดก็คือ อำเภอศรีเทพ จึงอยากให้กรมชลประทานก่อสร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสักจุดประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ เพราะว่าแม่น้ำป่าสักมีความลาดชันสูง น้ำจะมาไวและไปไว ถ้ามีฝายเป็นช่วงๆจะช่วยชะลอน้ำไว้ใช้ได้ และช่วยในด้านการเกษตรด้วย โดยได้มีทั้งหมด 4 จุดที่สำคัญ จุดแรกบ้านวังบนเหนือตำบลไพบูลย์อำเภอหล่มสัก จุดที่ 2 ก็คือ ในเขตเทศบาลหล่มสัก จุดที่ 3 บ้านพปุยขอนแก่น ตำบลตาลเดียวอำเภอหล่มสัก และ จุดที่ 4 บ้านวังคลอง ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

นอกจากนี้ นายจักรัตน์ยังขอให้กรมทางหลวง สำรวจออกแบบก่อสร้างทางหลวง เชื่อมระหว่าง 2 อำเภอระหว่างอำเภอหล่มสักและอำเภอน้ำหนาว ระหว่างทางหลวงหมายเลข 2343 ตำบลชัยบุณอำเภอหล่มสักกลับทางหลวงหมายเลข 2216 ตำบลหลักด่านอำเภอน้ำหนาว เพราะถ้าทำสำเร็จจะช่วยให้พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้นโดยปัจจุบันทั้งสองอำเภอนี้ เวลาจะเดินทางไปหากันจะต้องขับอ้อมไปที่จังหวัดชัยภูมิ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“สัมพันธ์”แนะ ด่านศุลกากรชายแดนใต้ ควรเป็นบริการสต็อปเซอร์วิสให้จบในที่เดียว พร้อมวอน หน่วยงานรัฐ เร่งทำไหล่ทางพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างบนถนนทางหลวง

,

“สัมพันธ์”แนะ ด่านศุลกากรชายแดนใต้ ควรเป็นบริการสต็อปเซอร์วิสให้จบในที่เดียว พร้อมวอน หน่วยงานรัฐ เร่งทำไหล่ทางพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างบนถนนทางหลวง

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวตำบลบูกิต อำเภอเจาะโอร้อง จากการสัญจรถนนสายมะโต๊อีร้อง ทางหลวงชนบทที่ 5002 นราธิวาสจากอำเภอเจาะโอร้อง ซึ่งเส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่ประชาชนใช้สัญจรเลียบทางรถไฟช่วย ร่นระยะทางในการเดินทางจากบ้านบูกิต อำเภอศูนย์ละปาดี ระยะทางกว่าหลาย 10 กิโลเมตร แต่ในปัจจุบันประสบปัญหาเรื่องของเส้นทางที่แคบ ถูกตัดขาด และชำรุดเสียหาย

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ในบริเวณคลองไอร์บอง เกิดปัญหาขาดไฟฟ้าสองสว่าง ซึ่งตอนนี้ทาง อบต.คิดบรรเทาปัญหาของพี่น้องประชาชน แต่ทำได้เพียงทำทางผ่านชั่วคราว โดยการฝังท่อระบายน้ำบริเวณคลองดังกล่าว และส่วนของภาคใต้นั้นมีน้ำท่วมไหลลงมาจาก เทือกเขาสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนจนแทบไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้ เนื่องจากยังไม่มีสะพานที่ได้มาตรฐาน ถนนดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของทางหลวงชนบทในการซ่อมแซมก่อสร้างเป็นถนนที อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

“ผมจึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการสร้างถนนทำไหล่ทางพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่าง ตลอดเส้นทางคือทางหลวงชนบทที่ 5002 นราธิวาส ซ่อมแซมสะพานข้ามตัดขาดข้ามไปพร้อมขยายสะพานในบางช่วงให้กว้างขึ้นจากเดิมด้วย”

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของเรื่องด่านศุลกากรอำเภอแว้ง ตำบลบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากด่านศุลกากร ตำบล บูเก๊ะตา มองเห็นได้ว่าเป็นด่านมั่นคงถาวรมีเพียงตู้คอนเทนเนอร์อยู่ในการตรวจสอบคนเข้าออกระหว่างประเทศ มองดูแล้วเหมือนไม่ใช่ด่านศุลกากร แต่เป็นเพียงเป็นด่านธรรมดา ในขณะเดียวกันฝั่งประเทศมาเลเซียมีด่านศุลกากร มีมาตรฐานและความพร้อม สำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยวและสินค้าต่างๆ ตนได้ไปสำรวจพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวพบว่า ด่านศุลกากร มีอาคารสร้างเป็นที่เรียบร้อย แต่ไม่ได้มีการเข้าทำการ ใด ๆ ตนได้สอบถามเจ้าหน้าที่ ได้รับคำตอบว่าด่านศุลกากร ณ เวลานี้เป็นเพียงแค่ด่านธรรมดาในการเข้าออกของชาวบ้าน และสำรวจรถสินค้าทางการเกษตรและบรรทุกอาหารทะเลจะต้องไปตรวจ เนื่องจากทุกอย่างจะอยู่ที่ด่านแล้ว ทำไมไม่ให้บริการสต็อปเซอร์วิสให้จบไปในที่เดียวกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“อัครแสนคีรี” อภิปรายต้นทุนผลิตไฟฟ้า ถามต้นทุนลดลงเท่าปี 64 แล้ว เมื่อไหร่ค่าไฟฟ้าจะลด จี้เปิดสัญญาจัดซื้อ LNG ไทยเสียเปรียบหรือไม่ เทียบจัดซื้ออาวุธ ยังต้องเปิดเผย ตรวจสอบเข้มงวด

,

“อัครแสนคีรี” อภิปรายต้นทุนผลิตไฟฟ้า ถามต้นทุนลดลงเท่าปี 64 แล้ว เมื่อไหร่ค่าไฟฟ้าจะลด จี้เปิดสัญญาจัดซื้อ LNG ไทยเสียเปรียบหรือไม่ เทียบจัดซื้ออาวุธ ยังต้องเปิดเผย ตรวจสอบเข้มงวด

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) อภิปรายถึงการรับทราบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) โดยพบว่าสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย กว่า 55% เป็นการผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักและพบว่าต้นทุนก๊าซฯมาจาก 3 แหล่ง คือ อ่าวไทย เมียนมา และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG จากต่างประเทศ
นายอัครแสนคีรี ระบุที่ผ่านมาโครงสร้างการคิดค่าไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ FT ที่จะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงให้สะท้อนต้นทุนทุก 4 เดือน ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่า รัฐบาลปรับค่า FT ขึ้นกว่า 4 รอบ จนทำให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มถึง 30% สวนทางกับรายได้ของประชาชนทั้งประเทศ ที่ขณะนี้กำลังกุมขมับ
ตนจึงมีคำถามว่าเมื่อราคาก๊าซ LNG ปรับลดลงมาแล้ว แต่เหตุใดค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มจาก 3.61 บาทต่อหน่วยเมื่อปี 2564 ไปจนถึง 4.70 บาทต่อหน่วยในปัจจุบันปี 2566 ขณะที่ราคาก๊าซ LNG นั้น ปรับลดลงแทบจะเท่าปี 2564 แล้ว คำถามคือ เมื่อไหร่รัฐบาล หรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จะพิจารณาปรับค่าไฟ ให้ลงเทียบเท่ากับปี 2564
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างบริษัทเอกชน กับกระทรวงพลังงาน ในเรื่องสัมปทานก๊าซอ่าวไทยในแหล่งเอราวัณที่บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตของแปลงสำรวจดังกล่าวไม่สามารถเข้าแท่นขุดเจาะได้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทำให้การผลิตก๊าซเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าต้องหยุดชงัก และในที่สุดประเทศจึงต้องนำเข้า LNG ในราคาที่แพงขึ้น ดังนั้นเมื่อต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าแพงขึ้น รัฐบาลชุดที่แล้วจึงต้องปรับค่า FT ขึ้น ทำให้ค่าไฟขึ้นไปถึง 4.72 บาทต่อหน่วย
นายอัครแสนคีรี ยังระบุถึงกรณี ที่ บอร์ด ปตท. ไฟเขียว ซื้อก๊าซ LNG สหรัฐ 20 ปี พร้อมตั้งคำถามว่า ขนาดการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เรายังมีการตรวจสอบกันอย่างเข้มงวด ดังนั้นตนจึงอยากฝากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ให้เร่งตรวจสอบหน่วยงานหรือบริษัทใดเป็นผู้จำหน่าย LNG ให้กับบมจ. ปตท. และควรนำสัญญามาเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนและตัวแทนของประชาชนได้ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างว่ามีการได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้างมีเงื่อนไขในการลงนามในสัญญาอย่างไรบ้าง และมีเงื่อนไขพิเศษอื่นใดที่ประชาชนควรทราบหรือไม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566