โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรมพรรค

รมว.สุชาติ สั่งลุยฝึกแรงงาน ตอบรับความต้องการภาคอุตสาหกรรมอีอีซี

,

รมว.สุชาติ สั่งลุยฝึกแรงงาน ตอบรับความต้องการภาคอุตสาหกรรมอีอีซี

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน มีนโยบายดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเร่งฟื้นฟูประเทศหลังจากสถานการณ์โควิด – 19 คลี่คลาย รวมไปถึงตอบโจทย์การเติบโตของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อพัฒนาฐานเศรษฐกิจในประเทศ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC ให้มีทักษะที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน

นายสุชาติ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ว่าได้ดำเนินการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงานในพื้นที่ EEC แล้วกว่า 7,000 คน และส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการพัฒนาพนักงานของตนเองอีกกว่า 200,000 คน ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่ง 3 จังหวัดนี้ รับผิดชอบพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานในพื้นที่ตามโครงการที่ได้รับงบประมาณ อาทิ โครงการยกระดับผลิตภาพและพัฒนากำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม กิจกรรมศูนย์ฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง โครงการเสริมสมรรถนะแรงงานด้านเทคโนโลยีรองรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 และโครงการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ใน จ.ชลบุรี ยังมีสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) เป็นหน่วยฝึกสาขาการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะด้านอีกด้วย

นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดี กพร. กล่าวว่า หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม จะมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมจัดทำและพัฒนา เพื่อให้หลักสูตรการฝึกตรงกับความต้องการ อาทิ ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมผู้ประกอบการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สมาคมวิชาชีพ องค์กรอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพ รวมไปถึงสถานประกอบกิจการในเขตพื้นที่ EEC เป็นต้น รวมกว่า 135 หลักสูตร และหลักสูตรที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ EEC จัดส่งพนักงานเข้าอบรม เช่น ระบบขับเคลื่อนและ ส่งกำลังยานยนต์ไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ การสร้างหุ่นยนต์ลำเลียง ช่างควบคุมหุ่นยนต์ FANUC การใช้เครื่องมือวัดด้านมิติในอุตสาหกรรม การจำลองขบวนการผลิตและวางแผนการผลิตด้วยโปรแกรม TECNOMATIX เทคโนโลยีการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการผลิต (AI) และระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อให้การฝึกมีคุณภาพและแรงงานมีทักษะตรงกับความต้องการ ในปี 2565 ได้จัดหาครุภัณฑ์ การฝึกเทคโนโลยีชั้นสูง สอดรับกับความต้องการและการลงทุนของสถานประกอบกิจการในพื้นที่ EEC เพื่อดำเนินการฝึกอบรม EEC Model Type B และระหว่างวันที่ 6 – 10 มิถุนายน 2565 MARA มีการเปิดฝึกอบรมการใช้โปรแกรม Tecnomatix process simulate ให้แก่บุคลากรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและภาคการศึกษา จำนวน 20 คน เพื่อนำไปขยายผล ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้รับการฝึกและแรงงานในแต่ละพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ ยังร่วมกับบริษัทนาชิเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดฝึกอบรมการควบคุมหุ่นยนต์ NACHI ให้กับบุคคลทั่วไป จำนวน 10 คน พร้อมวางแผนการดำเนินงานในปี 2566 พัฒนาวิทยากรต้นแบบกว่า 200 คน เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-Curve และ New Curve) อีกด้วย ผู้สนใจสามารถสมัครและติดตามข่าวสารได้ที่ www.dsd.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วน กระทรวงแรงงาน 1506 กด 4

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 14 มิถุนายน 2565

“อธิรัฐ” เยือน สปป.ลาว หารือเชื่อมต่อทางรถไฟ หนองคาย – เวียงจันทน์

, ,

“อธิรัฐ” เยือน สปป.ลาว หารือความร่วมมือ เชื่อมต่อทางรถไฟ หนองคาย – เวียงจันทน์

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประชุมหารือโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างไทย – ลาว – จีน (ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์)ร่วมกับ
นายเวียงสะหวัด สีพันดอน รัฐมนตรีโยธาธิการและขนส่ง ผู้แทนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ณ กรมโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการรถไฟ จีน-ลาว ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา เป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างนครคุนหมิงกับนครหลวงเวียงจันทน์ ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างลาวและจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย โดยเส้นทางรถไฟดังกล่าวมีความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์จากจีน ลาว มายังไทย ซึ่งขณะนี้ไทยได้มีแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1

นายอธิรัฐ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่าย สปป.ลาว ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย – ลาว – จีน ความคืบหน้าการดำเนินงานรถไฟไทย – ลาว การขนส่งสินค้าข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง พร้อมทั้งได้มีการหารือแนวทางการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อรถไฟ หนองคาย – เวียงจันทน์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (หนองคาย – เวียงจันทน์) ในปัจจุบัน ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร โดยสะพานแห่งใหม่จะมีทางรถไฟขนาดทางมาตรฐานและขนาดทาง 1 เมตร และ 1.435 เมตร อีกทั้งยังสามารถรองรับรถยนต์ได้ด้วย โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ซึ่งจากการหารือร่วมกัน ผู้แทน สปป.ลาว แจ้งว่าฝ่ายลาวยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ โดยขอให้ฝ่ายไทยออกแบบและจัดทำรายงาน EIA เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการประชุมหารือร่วมกันในการประชุมครั้งถัดไป

ในการนี้ คณะผู้แทนไทย ยังได้เดินทางไปศึกษาดูงาน การให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารบนเส้นทางรถไฟจีน – ลาว ณ โครงการท่าบกท่านาแล้ง (Dry port) และเขตโลจิสติกส์ (Logistics Park) นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อเตรียมความพร้อมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างระบบรางของไทย และโครงการรถไฟลาว – จีน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 มิถุนายน 2565

“ตรีนุช”ตรวจงาน กศน.”คงสมรรถนะกาย-จิต-สมองผู้สูงอายุ“

, ,

“ตรีนุช”ตรวจงาน กศน.”คงสมรรถนะกาย-จิต-สมองผู้สูงอายุ“

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ของหน่วยงานสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)โดยตรวจเยี่ยมการจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงสมรรถนะทาง กาย จิต และสมองของผู้สูงอายุ กศน.ตำบลหนองแวงกศน.อำเภอวัฒนานคร กศน.อำเภอคลองหาด และดูงานศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว (ศฝช.สระแก้ว โครงการพัฒนาอาชีพทับทิมสยาม02)

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ปี 2565 นี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือ มีประชากรสูงอายุถึง 20 % และ พบว่าผู้สูงอายุ 95 % มีโรคประจำตัว ขณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุ 34.3 % มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ต้องรับการเลี้ยงดู ด้านสภาพแวดล้อมและ ด้านสังคม พบว่าผู้สูงอายุต้องอยู่ลำพังเพียงคนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสมีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่มีทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการเตรียมและพัฒนาคนในทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งในมิติของสำนักงาน กศน. ในปีงบประมาณ 2565 นี้ก็ได้มีโครงการการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงสมรรถนะทางกาย จิต และสมองของผู้สูงอายุ ด้วยการออกแบบการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับองค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ และเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ที่มีการคัดกรองโดยหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พบว่า กิจกรรมที่ กศน.ได้ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ได้จัดให้ผู้สูงอายุ 60-70 ปี เช่นเรื่องการออกกำลังกาย , นันทนาการ บันเทิง เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและสมอง , น้ำสมุนไพร เพื่อสุขภาพ , อาหารเพื่อสุขภาพ , การนวดเพื่อสุขภาพ ทำให้ ผู้สูงอายุมีความเข้าใจ ในการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ และรู้วิธีการป้องกันตนเองให้ไร้ภาวะซึมเศร้า มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 มิถุนายน 2565

‘รมว ตรีนุช’ ชู วิทยาลัยการอาชีพ ปากท่อ ต้นแบบดึงเด็กกลับเข้าระบบการเรียน

,

‘รมว ตรีนุช’ ชู วิทยาลัยการอาชีพ ปากท่อ ต้นแบบดึงเด็กกลับเข้าระบบการเรียน

เสมา1 นำทีมผู้บริหาร ศธ.ลงพื้นที่ราชบุรี ติดตามโครงการ”อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” พบวิทยาลัยการอาชีพปากท่อ 2 ปี เด็กพุ่งเกิน 100% พร้อมเดินสายปลุกสถานศึกษาปลอดภัย ชี้ปัญหาส่วนใหญ่เด็กบูลลี่กัน

วันนี้( 28 ก.พ.) ที่ จังหวัดราชบุรี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วย นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ. และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ หรือ “อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ที่วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) ปากท่อ และ เปิดงาน Kick-off สถานศึกษาปลอดภัยจังหวัดราชบุรี ที่โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ปลอดภัยของทุกคน

โดยนางสาวตรีนุช ให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยม ว่า โครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ เป็นโครงการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญตามนโยบายเราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ผ่านมาเราประสบปัญหาเด็กตกหล่น ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียน-การเดินทาง ดังนั้นรัฐบาลจึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ดำเนินโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ เพื่อช่วยเหลือเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษามาเรียนฟรี 3 ปี และมีที่พักอาศัยให้

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจเยี่ยมพบว่า วิทยาลัยการอาชีพปากท่อ สามารถนำเพิ่มจำนวนเด็กจาก ปีการศึกษา 2562 ที่มีประมาณ 60 คน เป็น 631 คน ในปีการศึกษา 2564 ซึ่งปริมาณผู้เรียนที่เพิ่มขึ้นมาจากการแนะแนวตามโรงเรียนชายขอบ ในพื้นที่ อ.สวนผึ้ง อ.บ้านคา อ.โป่งกระทิง และ อ.เบิกไพร เป็นอำเภอที่มีระยะทางห่างจากวิทยาลัยประมาณ 50-60 กิโลเมตร โดยวิทยาลัยมีสวัสดิการให้แก่นักเรียน อาทิ บริการรถรับ-ส่งฟรี มีบริการหอพัก ที่เป็นตึกละ 4 ชั้น แยกเป็นชาย -หญิง ที่เป็นมาตรฐานของ สอศ. ฟรีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเทอมนอกจากนี้ยังมีงบฯเรียนฟรี 15 ปี นำมาจัดสรรเป็นชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน หนังสือเรียน ฟรี และมีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อช่วยเหลือให้นักเรียน ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงประสานงานเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการส่งต่อเด็กด้วย

” ต้องขอชื่นชมผู้บริหารที่สามารถคิดนอกกรอบและปรับเม็ดเงินที่มีอยู่มาดำเนินการได้ ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่ดี อย่างไรก็ตาม ดิฉันจะนำข้อดี รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่พบมาปรับปรุงในแผนรายละเอียดการดำเนินโครงการ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติในหลักการของโครงการแล้ว และ สอศ.กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอขอความเห็นชอบการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการต่อไป ” นางสาวตรีนุช กล่าว

ทั้งนี้การดำเนินโครงการจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่ง สอศ.ได้คัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรับผู้เรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 87 แห่ง ทั่วประเทศ สามารถรับปริมาณนักเรียนเข้าร่วมโครงการได้ 5,200 คน ซึ่งการมาดูความพร้อมของ ส่วนระยะที่ 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เพิ่มสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรับผู้เรียนเข้าร่วมโครงการให้ได้ 169 แห่งทั่วประเทศ สามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน ทั้งสิ้น 116,000 คน

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า สำหรับการเดินสายโรดโชว์สถานศึกษาปลอดภัยจังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่ 4 ที่ ศธ.มาการสร้างการรับรู้ ซึ่งพบว่าสถานศึกษามีความตื่นตัวดี และจากการเปิดศูนย์ MOE SAFETY CENTER ได้รับเรื่องร้องเรียนมาประมาณ 100 กว่าเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบูลลี่กัน และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว เหลือประมาณ 20 เรื่องซึ่งได้เร่งประสานให้แก้ไขปัญหาโดยเร็วแล้ว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 28 กุมภาพันธ์ 2565

‘พล.อ.ประวิตร’ ห่วงปชช. ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ บูรณาการเข้าช่วยเหลือ

,

‘พล.อ.ประวิตร’ ห่วงปชช. ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ บูรณาการเข้าช่วยเหลือเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ที่ยังมีสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่และมีระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น จึงสั่งการและเน้นย้ำให้บูรณาการหน่วยงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) อาทิ กระทรวงมหาดไทยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่เสี่ยง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยทหาร กรมชลประทาน รวมถึง ศอ.บต.ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเร่งด่วน พร้อมให้ทุกฝ่ายลงพื้นที่ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดี โดยเฉพาะการจัดหาอาหาร ยาและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ย้ำไม่ต้องการให้ประชาชนเดือดร้อน เป็นการทำงานที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำงานเพื่อประชาชนให้ดีที่สุด และให้ความช่วยเหลือไปอย่างทันท่วงที พร้อมถึงการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ฝนอย่างใกล้ชิดเพื่อแจ้งเตือนภัยในจุดเสี่ยงต่าง ๆ ได้ทันต่อสถานการณ์

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้รายงานผลการลงพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 17 ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาจุดน้ำล้นข้ามพนังกั้นน้ำบริเวณหมู่ 1 บ้านมูโนะ ประมาณ 15 เซนติเมตร จากปริมาณน้ำที่ไหลจากแม่น้ำโก-ลก เข้าท่วมพื้นที่ชุมชนมูโนะ มากกว่า 500 ครัวเรือน และเข้าท่วมถนนหมายเลข 42 ทำให้ต้องปิดการจราจรช่องทางขาออกจังหวัดนราธิวาส ซึ่งกรมชลประทานได้เร่งเสริมบิ๊กแบ็ค (Big Bag) บริเวณพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำโก-ลก ที่ต.มูโนะ เป็นการเร่งด่วน เพื่อรับมือกับมวลน้ำในแม่น้ำโก-ลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งได้เพิ่มความมั่นคงแข็งแรงให้กับพนังกั้นน้ำดังกล่าวให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำเรือท้องแบน เข้าไปเร่งอพยพประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณดังกล่าวประมาณ 10 ครัวเรือนออกจากพื้นที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กอนช.ยังคงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังมีฝนตกในพื้นที่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำที่จะเพิ่มขึ้นและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ได้แก่ จ.ยะลา บริเวณ อ.บันนังสตา อ.ยะหา และ อ.รามัน พื้นที่ จ.ปัตตานี บริเวณ อ.สายบุรี อ.ยะรัง อ.หนองจิก และ อ.เมืองปัตตานี พื้นที่ จ.นราธิวาส บริเวณ อ.แว้ง อ.สุคิริน อ.ศรีสาคร อ.สุไหงปาดี อ.ตากใบ อ.รือเสาะ อ.จะแนะ และอ.สุไหงโก-ลก ทั้งนี้ กอนช. ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชนในพื้นที่เสี่ยงและลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 28 กุมภาพันธ์ 2565

“รมช.อธิรัฐ”สั่งการเร่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ตอนล่าง”

,

“รมช.อธิรัฐ”สั่งการเร่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ตอนล่าง” เด้งรับนโยบายนายกฯแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จากประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 5 (6/2565) เรื่อง คลื่นลมแรง และฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้ช่วงวันที่ 25 – 28 ก.พ.65 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง มีน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ทั้งนี้ ตนได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าเร่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 4 ศูนย์ ได้แก่ ที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา, สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาปัตตานี, สำนักงานเจ้าท่าภาคสาขานราธิวาส และ สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่4 พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ช่วยเหลือฯ จำนวนรวม 24 นาย ความพร้อมทางรถ จำนวน 11 คัน / เรือ 7 ลำ และเมื่อวันที่ 27 ก.พ.65 ศูนย์ช่วยเหลือฯ ร่วมอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือประชาชนแล้ว ดังนี้
• สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขานราธิวาส นำถุงยังชีพจำนวน 30 ชุด น้ำดื่ม 30 แพ็ค ไปมอบให้ผู้ประสบอุทกภัย ตำบลลูโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
• สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาปัตตานี นำถุงยังชีพ 30 ชุด น้ำดื่ม 30 แพ็ค มอบผู้ประสบอุทกภัยบริเวณ ตำบลสะเต็ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
• สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา จัดเตรียมถุงยังชีพ จำนวน 40 ชุด น้ำดื่มจำนวน 50 แพ็ค และประสานหน่วยงานในพื้นที่ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
• สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จัดเตรียมเรือพระราชทานจำนวน 4 ลำ และรถยนต์ 8 คัน น้ำดื่มจำนวน 1,000 แพ็ค พร้อมออกปฎิบัติช่วยเหลือประชาชน

และนอกจากนี้ ตนได้เน้นย้ำให้ศูนย์ช่วยเหลือฯ ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศ และเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสมอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ออกประกาศแจ้งเตือนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 28 กุมภาพันธ์ 2565

“รมช.อธิรัฐ” ลงพื้นที่โคราชดูมอบเสื้อ-หมวกกระจายทั่วถึงในชุมชน

,

“รมช.อธิรัฐ” ลงพื้นที่โคราชดูแลกลุ่มเปราะบางต.สำพะเนียง มอบเสื้อ-หมวก เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกระจายทั่วถึงในชุมชน

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา เยี่ยมและให้กำลังใจ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสใน 7 พื้นที่ตำบล สำพะเนียง เพื่อกระจายความช่วยเหลือให้ชุมชนอย่างทั่วถึง ซึงกลุ่มคนเหล่านี้ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในกลุ่มเปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยได้มีการจัดมอบเสื้อ หมวก และปฏิทิน จำนวน 970 ชุด ได้แก่ ศาลา SML สระหนองหวาย ต.สำพะเนียง จำนวน 215 ชุด ในงานร่วมงานอุปสมบท นายอิทธิพัทธ์ สุวรรณรัตน์ และในงานพิธีฉลองอัฐิทำบุญ 100 พ่อปิ่น สรสิทธิ์ ณ บ้านสำพะเนียง นอกจากนี้ยังได้แจกจ่ายในวัดสำพะเนียง ต.สำพะเนียง จำนวน 360 ชุด ศาลา SML สระหนองหญ้าขาว ต.สำพะเนียง จำนวน 180 ชุด และ วัดบ้านฝาง ต.สำพะเนียง จำนวน 215 ชุด

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 26 กุมภาพันธ์ 2565

สภาฯผ่านฉลุย พ.ร.บ.ป้องผิดซ้ำคดีเกี่ยวกับเพศ-ความรุนแรงฯ มติเห็นด้วย 320 เสียง

,

สภาฯผ่านฉลุย พ.ร.บ.ป้องผิดซ้ำคดีเกี่ยวกับเพศ-ความรุนแรงฯ “พัชรินทร์” ขอบคุณเพื่อนสมาชิก ร่วมทำคลอดกฎหมายป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ดันใช้มาตรการทางการแพทย์ ในผู้กระทำผิดซ้ำ เช่น ฉีดให้ฝ่อ

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต 2 ปทุมวัน บางรัก สาทร และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ขอบคุณเพื่อนสมาชิก ที่ได้ร่วมลงมติเห็นด้วย 320 เสียง ผ่าน “ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ….” ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระที่ 2 และ 3 ที่กระทรวงยุติธรรม โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รวมถึงตน และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้เสนอ ซึ่งจะเป็นกฎหมายในการคุ้มครองความปลอดภัย ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการกระทำผิดซ้ำที่ร้ายแรง โดยเฉพาะเรื่องเพศ ตามนโยบายหลักของพรรคพลังประชารัฐ ที่มุ่งส่งเสริมความปลอดภัยในทุกมิติ

และที่สำคัญ ตนต้องขอขอบคุณ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งท่านได้เข้าประชุม และทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมในทุกนัด เพื่อเร่งขับเคลื่อน ให้สามารถผลักดันให้เกิดกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าว จะเป็นการเปิดหน้าการดำเนินความผิดในผู้กระทำผิดซ้ำในคดีที่มีความรุนแรง ทั้งในเด็กเยาวชน ผู้หญิง ผู้สูงอายุ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ สอดคล้องกับการป้องกันภัยคุกคามทางเพศ และความรุนแรง ที่มาพร้อมกับพลวัตรสังคม ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้หลักทางจิตวิทยา และมาตรการทางการแพทย์ เพื่อเข้ามามีส่วนในการป้องกันในผู้ต้องหาที่ได้กระทำผิดซ้ำ เช่น การใช้ยา, การฉีดฮอร์โมนลดความต้องการทางเพศ หรือฉีดให้ฝ่อ โดยมาตรการทางการแพทย์ที่ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อย 2 คน มีความเห็นพ้องต้องกันโดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้กระทำความผิดด้วย ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย เช่น ให้พักอาศัยในสถานที่ที่ศาลกำหนด, ห้ามออกนอกประเทศ, ต้องแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน, ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด,ใส่อุปกรณ์ติดตามตัว เป็นต้น

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 23 กุมภาพันธ์ 2565

พล.อ.ประวิตร จัดเตรียมประชุมร่วม ไทย-อเมริกาต้านค้ามนุษย์ปราบปรามผู้กระทำผิด

,

“พล.อ.ประวิตร” จัดเตรียมประชุมร่วม ไทย-อเมริกาต้านค้ามนุษย์ เดินหน้าทำหลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิด

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยปัญหาค้ามนุษย์ และมุ่งหวังดัน ประเทศไทยกลับขึ้นสู่ สถานะ เทียร์ 2 ในการจัดลำดับ ตามรายงานสถานการณ์การต่อต้านการค้ามนุษย์ (TIP Report) จึงได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเต็มที่ พร้อมได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ไทย – สหรัฐอเมริกา (ฝ่ายไทย) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ Mr. Adam West รักษาการที่ปรึกษาด้านการเมือง (Acting Political Counselor) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย Ms. Angeline Bickner (Political Affairs Associate) และคณะ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) เพื่อหารือความคืบหน้าการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ฉบับปี 2564 และรายงานฉบับเพิ่มเติม ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2565
พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลมุ่งดำเนินคดีค้ามนุษย์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการสืบสวนสอบสวนช่องทางออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ในปี 2564 ดำเนินคดีค้ามนุษย์ได้ถึง 186 คดี เพิ่มจากปี 2563 ร้อยละ 39.84 รวมทั้งขยายผลดำเนินคดีอาญาและทางวินัยกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น 17 ราย และเร่งรัดดำเนินการทางวินัยอีก 15 ราย นอกจากนี้ ได้ช่วยเหลือคนไทยที่โดนหลอกไปทำงานที่กัมพูชา 536 คน ซึ่งเข้าข่ายคดีค้ามนุษย์ 239 คน และมีผู้ต้องหา 43 คน จับกุมได้แล้ว 18 คน

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยขับเคลื่อนการดำเนินการตามข้อเสนอแนะใน TIP Report ของสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เป็นโครงการสำคัญ หรือ Flagship อาทิ จัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (ดอนเมือง) เพื่อใช้เป็นสถานที่คัดกรองและคัดแยกผู้ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จัดทำขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ (SOP) ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบังคับใช้แรงงาน กลไกการส่งต่อผู้เสียหายระดับชาติ (National Referral Mechanism) และกิจกรรมช่วงระยะเวลาฟื้นฟูไตร่ตรอง (Reflection Period) แก่บุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อยกระดับให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (ACTIP) และแผนปฏิบัติอาเซียน (APA)

นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพให้เป็นผู้ชำนาญการ/ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ให้เป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ พัฒนาครูฝึกสอนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (IDC) โดยความร่วมมือกับ FBI และสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศ ILEA Bangkok จัดทำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยร่วมมือกับโครงการ ASEAN-ACT และมูลนิธิ IJM เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวปฏิบัติในการดำเนินงานให้เป็นสากล และพัฒนาไปสู่การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมแห่งความเป็นเลิศในการต่อต้านการค้ามนุษย์ของภูมิภาค (Center of Excellence for Combating Trafficking in Person) รวมถึงส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับเด็ก (Child Safe Friendly Tourism)

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 23 กุมภาพันธ์ 2565

“พล.อ.ประวิตร”ย้ำรัฐเร่งขับเคลื่อนแผนแม่บทน้ำ20ปี พร้อมเพิ่มน้ำพื้นที่ชลประทาน

,

“พล.อ.ประวิตร”ย้ำรัฐเร่งขับเคลื่อนแผนแม่บทน้ำ20ปี พร้อมเพิ่มน้ำพื้นที่ชลประทาน
ดูแลปชช.อีก18ล้านไร่

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชาระยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงกรณีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหา ต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ตามที่พรรคฝ่ายค้านได้ซักถามเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของรัฐบาล โดยทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ได้ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างด้านน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทรัพยากรน้ำของประเทศเกิดความมั่นคงสูงสุดและประชาชนได้รับประโยชน์ โดยเพิ่มพื้นที่ชลประทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ที่พัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานแล้ว 33.92 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.7 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีก 18 ล้านไร่ภายในปี 2580 ตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปี

โดยตั้งแต่ปี 2561-2564 เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้แล้ว 1.17 ล้านไร่ ขณะเดียวกัน ยังปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ ขยายระบบประปา และวางระบบการป้องกันน้ำท่วมภัยแล้ง ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ อาทิ ภาคเหนือ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์กว่า 8 หมื่นไร่ ภาคกลาง คลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 1 ใน 9 แผนงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา และลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุมน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ภาคอีสาน ที่มีโครงการแหล่งน้ำเกิดขึ้นประมาณ 78,000 แห่ง ขยายเขตประปา พัฒนาประปาเมือง/พื้นที่เศรษฐกิจ 199 แห่ง ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 525 ล้าน ลบ.ม. เป็นต้น รวมถึงภาคใต้ เช่น โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตชุมชนและเขตเศรษฐกิจของเมือง เป็นต้น

สำหรับการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนรัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ พัฒนาน้ำบาดาล สระน้ำในไร่นา โคกหนองนาโมเดล เพื่อสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรอย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยยึดหลักให้เป็นไปตามความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังใช้กลไกการบูรณาการหน่วยงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เพื่อขับเคลื่อนมาตรการในเชิงป้องกันและผลกระทบเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติด้านน้ำทั้งภัยน้ำท่วมหรือภัยแล้ง เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม-ภัยแล้ง อาทิ 10 มาตรการฤดูฝน ปี2564 และ 9 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2564/2565 ที่สำคัญรัฐบาลได้จัดสรรงบกลางในด้านน้ำเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินหรือจำเป็นเท่านั้น เช่น ในปี 2563 ได้นำมาใช้แก้ไขปัญหาภัยแล้งและการป้องกันน้ำท่วม สามารถดำเนินได้ถึง 20,824 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด เพิ่มปริมาณน้ำได้ 1,057 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 7.58 ล้านไร่ เช่นเดียวกับปี 2564 ที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 6,206 โครงการ สามารถน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 49.95 ล้าน ลบ.ม. ได้ปริมาณน้ำบาดาล 44 ล้าน ลบ.ม. มีครัวเรือนรับประโยชน์ 364,167 ครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์ 507,849 ไร่ ถือเป็นการใช้งบกลางอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

สำหรับประเด็นข้อห่วงใยที่หลายฝ่ายมีข้อกังวลในเรื่องการจัดเก็บค่าน้ำที่จะกระทบถึงประชาชนและเกษตรกรรายย่อยนั้น สทนช.ขอชี้แจงว่า พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ อุปโภคบริโภคในครัวเรือน ทำเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ รวมถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือน รักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี บรรเทาสาธารณภัย คมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการใช้น้ำและไม่ต้องชำระค่าใช้น้ำแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีการเก็บค่าน้ำจากเกษตรกรอย่างแน่นอน แต่จะเก็บเฉพาะประเภทที่ 2 คือ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม และประเภทที่ 3 การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก โดยกำหนดอัตราค่าใช้น้ำจะมีความเป็นธรรม ไม่แสวงหากำไร เป็นการดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้มีจิตสำนึกในการใช้น้ำร่วมกันอย่างประหยัดเท่านั้น
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฏหมายลำดับรองในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บค่าน้ำประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำฯ ซึ่งต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ตามกฏหมายต่อไป

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 22 กุมภาพันธ์ 2565

‘รมว.ชัยวุฒิ’ ผลักดันแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นวาระแห่งชาติ

,

‘รมว.ชัยวุฒิ’ ผลักดันแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นวาระแห่งชาติ เดินหน้าปราบปรามการหลอกลวงประชาชนร่วมมือเพื่อนบ้านทลายแก๊ง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ว่า ในเรื่องปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชน ตนตั้งใจจะหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ และครม. ผลักดันปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะการหลอกลวงประชาชน โดยขอให้ทุกหน่วยงานช่วยกันแก้ปัญหาและแจ้งเตือนประชาชน อีกทั้งจะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ได้ ทั้งหมดเป็นแนวทางที่จะเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และครม.ในวันนี้

นายชัยวุฒิกล่าวว่า ส่วนความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้นล่าสุด กสทช. ยังไม่สามารถมีระบบปิดกั้นการโทรได้ เพราะเราให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนในการติดต่อสื่อสารกัน ถ้าเราไปปิดกั้นการโทรก็จะมีปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แต่ขณะนี้กสทช. ประสานกับบริษัทมือถือทุกค่ายว่าถ้ามีการโทรผ่านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่าวีโอไอพีจากต่างประเทศ ให้ขึ้นเครื่องหมายบวกข้างหน้า และขึ้นรหัสประเทศนั้นๆ ซึ่งก็จะเป็นเบอร์ยาวและแปลก ดังนั้นถ้ารับโทรศัพท์ขึ้นมามีรหัสจากต่างประเทศและมีหมายเลขยาว รวมทั้งมีเครื่องหมายบวกข้างหน้า ก็จะรู้แน่นอนว่าไม่ใช่คนไทยโทรมาหาจากในประเทศ ขอให้คาดการณ์ไว้ก่อนว่าจะเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่จะมาหลอกลวง และขอให้สื่อมวลชนช่วยกันแจ้งเตือนประชาชนว่าถ้าไม่มีญาติพี่น้องอยู่ต่างประเทศก็อย่าไปรับ เพราะเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์แน่นอน

“การผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ มีหลายแนวทาง แต่ขอให้นายกรัฐมนตรีได้พูดคุยกันกับครม.ก่อน วันนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและกระทรวงดิจิทัลฯ มีแนวทางอยู่แล้ว ต้องขอบคุณสื่อมวลชนที่ช่วยเสนอข่าวนี้เรื่องดังกล่าว สิ่งสำคัญวันนี้เราต้องช่วยกันแจ้งเตือนประชาชนให้รู้เท่าทันและมีภูมิต้านทานกับสิ่งเหล่านี้”นายชัยวุฒิกล่าว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 22 กุมภาพันธ์ 2565

พลเอกประวิตร” สั่งทุกหน่วยความมั่นคงปราบปรามการค้ามนุษย์เชิงรุก

,

“พลเอกประวิตร” สั่งทุกหน่วยความมั่นคงปราบปรามการค้ามนุษย์เชิงรุก ผลักดันไทยขึ้นสู่ระดับเทียร์ 2ในปี 65 สร้างความเชื่อมั่นนานาประเทศ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้เป็นประธาน ประชุม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดย พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ โดย ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยเร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์เชิงรุก เพื่อให้ประเทศไทยกลับขึ้นสู่ระดับเทียร์ 2 ให้ได้ในปี 2565 พร้อมดำเนินการตามกฎหมาย ให้มีการเร่งจับกุมการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทั้งหมด โดยในปี 2564 สามารถปราบปรามจับกุม ตามนโยบายของรัฐบาล มียอดสะสางคดีในปี 2564 จำนวน 186 คดี แบ่งเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี 135 คดี ผลิตหรือเผยแพร่ วัตถุ สื่อลามก 12 คดี แสวงหาประโยชน์ทางเพศรูปแบบอื่น 6 คดี การบังคับใช้แรงงาน 30 คดี ขอทาน 2 คดี และแรงงานบังคับ (ม.6/1) 1 คดี ในปี 2565 จำนวน 20 คดี แบ่งเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี 16 คดี ผลิตหรือเผยแพร่ วัตถุ สื่อลามก 2 คดี และการบังคับใช้แรงงาน 2 คดี

ส่วนคดีค้ามนุษย์ “โรฮีนจา” พื้นที่ สภ.ปาดังเบซาร์ จว.สงขลา เมื่อวันที่ 1 พ.ค.58 เป็นคดีความผิดนอกราชอาณาจักร ตาม ป.วิอาญา มาตรา 20 ซึ่งอัยการสูงสุดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ต่อมาได้แต่งตั้งพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจและฝ่ายอัยการ เป็นคณะพนักงานสอบสวน ร่วมทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาค้ามนุษย์, อาชญากรรมข้ามชาติ และข้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวนได้ขอให้ศาลออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้ จำนวน 155 ราย โดยจับกุมตัวได้แล้ว 120 ราย เสียชีวิต 2 ราย และหลบหนี อยู่ระหว่างติดตามจับกุมเพิ่มเติม 33 คน ซึ่งในส่วนของผู้ต้องหาที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีแล้ว ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพิพากษาลงโทษจำคุกไปแล้วหลายราย ปัจจุบันคดีนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา

โดยภาพรวมในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตามข้อเสนอแนะใน TIP Report มีความก้าวหน้าอย่างสำคัญ อาทิ การจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อช่วยเหลือให้ที่พักพิงแก่ผู้ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในระหว่างการคัดกรองเบื้องต้น จนถึงการคัดแยกเพื่อระบุตัวผู้เสียหายอย่างเป็นทางการ

การออกกฎกระทรวงแรงงานให้ใช้สัญญาจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย เมียนมา กัมพูชา และลาว การยกระดับฝ่ายศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ขึ้นเป็น สำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานถาวรเทียบเท่ากอง ซึ่งจะทำให้การต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทยก้าวสู่มาตรฐานระดับสากลในภูมิภาคนี้

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 21 กุมภาพันธ์ 2565