โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรมพรรค

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พร้อมเดินหน้าภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

,

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พร้อมเดินหน้าภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 11 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงสาธารณสุข ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์(สส.)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ให้การต้อนรับ ในเวลา 7.09 น.ได้ทำพิธีบูชาพระพุทธนิรามัย พระพรหม พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนมและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร เพื่อความเป็นสิริมงคล

โดยนายสันติ กล่าวว่า ตนพร้อมเข้าปฏิบัติภารกิจ ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณชีวิต และระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กันยายน 2566

ร่วมระดมแก้ปัญหาน้ำ 3 จังหวัด !!! “รมว.ธรรมนัส”ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เยี่ยมปชช.รับฟังปัญหา เร่งหน่วยงานแก้ไขผลกระทบจากอุทกภัย หลังลงพื้นที่จ.ขอนแก่นร่วมกับนายกรัฐมนตรี

,

ร่วมระดมแก้ปัญหาน้ำ 3 จังหวัด !!! “รมว.ธรรมนัส”ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เยี่ยมปชช.รับฟังปัญหา เร่งหน่วยงานแก้ไขผลกระทบจากอุทกภัย หลังลงพื้นที่จ.ขอนแก่นร่วมกับนายกรัฐมนตรี

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ด่วนเพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธ์โดยลงพื้นที่อ.ห้วยผึ้ง และอ.กุชินารายณ์ และ ต.เชียงใหม่

รมว.เกษตรฯกล่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงประชาชนและพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จึงได้กำชับให้ทางกระทรวงเกษตรฯ สั่งหน่วยงานในสังกัดช่วยเหลือบรรเทาความเดือดูร้อนประชาชนอย่างเต็มที่

ในส่วนจ.กาฬสินธ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดโดยเฉพาะสำนักงานชูลประทานที่ 6 จัดเตรียมเครื่องจักร และเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือระบายน้ำอย่างเร่งด่วน และเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหลากที่อาจจะลงมาอีกหากมีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งให้มีการรายงานสถานการณ์ทุกระยะ และขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน กระทรวงเกษตรฯ จะ
เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเรงด่วน ต่อไป

ต่อจากนั้นได้เดินทางไปจ.เชียงใหม่ เข้าร่วม โดยพบปะ รับฟังปัญหาของกลุ่มสภาอาชีพเกษตรกร (สอก.) จำนวนกว่า 400 ราย และรับฟังปัญหาของเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำอำเภอดอยหล่อ และกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการอ่างเก็บน้ำแม่วาง โอกาสนี้ กลุ่มเกษตรกรได้ยื่นหนังสือเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยเป็นเรื่องสำคัญที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยปี 2563 ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ซึ่งเคยได้ศึกษาการแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยแล้ว โดยจะมอบหมายให้กรมชลประทานศึกษาภาพใหญ่และถอดแบบเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยทั้งระบบ ภายหลังจากที่แถลงนโยบายรัฐบาล ในวันจันทร์ที่ 11 ก.ย. 66 จากนั้น จะเรียกประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายงานและวางแผนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

“ในวันนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น ติดตามการบริหารจัดการน้ำและป้องกันภัยแล้งที่เขื่อนอุบลรัตน์ จากนั้น ลงพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ให้กำลังใจ มอบถุงยังชีพให้กับเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย และ จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังปัญหาจากเครือข่ายภาคเกษตรกร ขอฝากถึงพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ นายกฯ ได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิต เป็นเรื่องที่ผมมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามารับผิดชอบ ทั้งด้าน ราคาพืชผล ต้นทุนการผลิต รวมถึงการตลาด และจะเร่งขับเคลื่อนการทำงานในมิติใหม่ ลงพื้นที่เข้าถึงเกษตรกร นำปัญหาจากรากหญ้า สู่การแก้ไขให้มากที่สุด สำหรับข้อเสนอของพี่ร้องเกษตรกรใรวันนี้ จะรับเรื่องไว้และมอบหมายให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการทันที หลังวันที่ 11 ก.ย. นี้” รมว.ธรรมนัส กล่าว

จากนั้น รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานการปรับปรุงระบบผันน้ำฝายแม่ตื่น ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ ก่อนจะลงพื้นที่ติดตามรับฟังผลการดำเนินงานขุดลอกอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ และพบปะกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำบ้านโป่งจ้อ / สถานีสูบด้วยไฟฟ้าในเขต อ.ดอยหล่อ เพื่อรับทราบปัญหาความต้องการ
ณ อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่บ้านโป่งจ้อ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ อาทิ 1. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ความจุอ่างฯ 2.029 ล้านลูกบาศก์เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 1,226 ครัวเรือน ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกฤดูฝน 4,268 ไร่ 2. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่วาง ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ความจุอ่างฯ 25.415 ล้าน ลบ.ม. หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 38,209 ไร่ ในฤดูฝนและ 20,488 ไร่ในฤดูแล้ง 3. โครงการประตูระบายน้ำวังหิน พร้อมระบบส่งน้ำ ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือในพื้นที่ บ้านหาดนาค หมู่ที่ 7 บ้านหนองอาบช้าง หมู่ที่ 9 บ้านดงหาคนาคหมู่ที่ 17 และ บ้านพุทธมิตร หมู่ที่ 18 ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค จำนวน 1,028 ครัวเรือน ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝนได้ประมาณ 4,180 ไร่ และในฤดูแล้ง 1,980 ไร่ และ 4. โครงการปรับปรุงระบบผันน้ำฝายแม่ตื่น – อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีความคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 96 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและพื้นที่การเกษตรกว่า 5,000 ไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ 1.6 ล้าน ลบ.ม./ปี ในช่วงฤดูน้ำหลาก

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเร่งดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด เพื่อให้สามารถใช้เก็บกักน้ำ เป็นแหล่งน้ำต้นทุน สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และยังช่วยหน่วงชะลอน้ำในช่วงอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กันยายน 2566

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า ยื่นข้อเสนอพรรค พปชร.เพิ่มเงินอุดหนุน – สิทธิ พ่อแม่ดูแลบุตร ด้าน “พิมพ์พร”เผย พร้อมเดินหน้าผลักดันใน รบ.คณะใหม่

,

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า ยื่นข้อเสนอพรรค พปชร.เพิ่มเงินอุดหนุน – สิทธิ พ่อแม่ดูแลบุตร ด้าน “พิมพ์พร”เผย พร้อมเดินหน้าผลักดันใน รบ.คณะใหม่

วันที่ 7 ก.ย. ที่รัฐสภา นางสุนี ไชยรส ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ยื่นหนังสือถึงพรรคพลังประชารัฐ ผ่าน น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ จ.เพชรบูรณ์ เขต 1 และ นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ จ.ชัยภูมิ เขต 7 ตัวแทนถึงข้อเรียกร้องของคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า โดยมีข้อเสนอ คือ 1.ให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็กถ้วนหน้า รวมทั้งเด็กเล็กทุกคนบนพื้นแผ่นดินไทย ตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์จนถึงอายุหกปีคนละ 3,000 บาทต่อเดือน 2.ขยายสิทธิ์ลาคลอดเป็น 180 วัน เพิ่มระยะเวลาให้แม่ และพ่อ ได้เลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด และเชื่อมต่อไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้รับเด็กเล็กตั้งแต่อายุหกเดือน 3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรับเด็กเล็กตั้งแต่ 6 เดือน รับช่วงต่อจากพ่อแม่ที่ลามาเลี้ยงดูลูกได้หรือ 180 วัน มีความหลากหลายสอดคล้องกับวิถีชีวิตของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ทำงานในพื้นที่ 4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีจำนวนมากพอ กระจายตัวใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน หลากหลายรูปแบบ และมีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเล็กทุกคนเข้าถึง และได้รับการดูแลพัฒนาในด้านโภชนาการและการเรียนรู้อย่างสมวัย และ5. รัฐบาล และหน่วยงานที่จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้การสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากร โดยเฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนให้สามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐาน

ด้าน น.ส.พิมพ์พร กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายในเรื่องสวัสดิการณ์เด็กและสตรีที่ชัดเจน และพยายามผลักดันนโยบายดังกล่าวให้สามารถขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในรัฐบาลชุดใหม่ โดยข้อเสนอในวันนี้ ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา และจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ดังนั้น พรรคจะไม่นิ่งเฉยและจะให้ความสำคัญนโยบายดังกล่าวอย่างแน่นอน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“ พล.ต.อ.พัชรวาท” เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงทรัพย์ฯวันแรก เดินหน้าบูรณาหน่วยงาน รุกดูแล แก้ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.

,

“ พล.ต.อ.พัชรวาท” เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงทรัพย์ฯวันแรก เดินหน้าบูรณาหน่วยงาน รุกดูแล แก้ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.

7 ก.ย.66 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกระทรวง ในเวลา 9.45 น. โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ให้การต้อนรับ โดยได้ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทางตอนใต้ของเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ว่า ตนได้ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการแพร่กระจายของคาบน้ำมัน ที่ต้องเน้นการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการขยายวงกว้างของคาบน้ำมันที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อม และระบบนิเวศทางทะเลที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพประมงชายฝั่ง

ขณะเดียวกันให้มีการจัดทำแผนแม่บท โดยการถอดบทเรียน กรณีการรั่วไหลของน้ำมัน ในครั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำซาก เพราะคาบน้ำมัน จะมีผลต่อส่ิงแวดล้อม และระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ประเทศไทย กำลังเผชิญปัญหาและสร้างผลบกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในฤดูหนาวของทุกปี ซึ่งได้ให้มีการเตรียมแผนป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น โดยตั้งเป้าให้มีการแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงเรื่องการจัดสรรที่ทำกิน นับเป็นเรื่องสำคัญ ที่พรรค พปชร. ผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภาพรวมการทำงาน จะเน้นให้เกิดการบูรณาการของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือประชาชน และการดูแลส่ิงแวดล้อมควบคู่กันไป เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีย่ิงขึ้น และเกิดความยั่งยืน

ในฐานะที่ต้องมารับผิดชอบงานบริหารราชการต่อ จากพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้มีข้อสั่งการเป็นพิเศษกับเรื่องนี้ แต่ให้เป็นความรับผิดชอบในการดูแลตามหน้าที่ให้ดีที่สุด และไม่มีความกังวลในการมาบริหารงานที่นี้ เพราะกระทรวงไม่ได้มีปัญหาอะไร เนื่องจากข้าราชการกระทรวงนี้ มีความรู้ความสามารถในการดูแล รับผิดชอบในหน้าที่ดีอยู่แล้ว พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“ร.อ.ธรรมนัส”รับข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ จากสส.ในสภาฯ ร่วมฟังข้อมูลสะท้อนปัญหาของเกษตรกรทุกพื้นที่พร้อมยื่นมือช่วยเหลือปชช.

,

“ร.อ.ธรรมนัส”รับข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ จากสส.ในสภาฯ
ร่วมฟังข้อมูลสะท้อนปัญหาของเกษตรกรทุกพื้นที่พร้อมยื่นมือช่วยเหลือปชช.

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำของนายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ซึ่งมีญัตติในเรื่องเดียวกันอีก 10 ญัตติของสมาชิกในสภาร่วมพิจารณาด้วย โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าร่วมรับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งด้วยตนเองในสภาฯ

ทั้งนี้ นายศาสตรา ศรีปาน สส.สงขลา พรรครวมไทยสร้างชาติ หนึ่งในสมาชิกที่ร่วมอภิปรายการแก้ไขปัญหากุ้งราคาตกต่ำ กล่าวในที่ประชุมว่า วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ ร.อ.ธรรมนัส มาฟังการอภิปรายด้วย ทำให้ได้รับรู้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ โดยคาดหวังให้ ร.อ.ธรรมนัส รมว.เกษตรฯ เร่งแก้ไขราคากุ้งตกต่ำให้เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ของ ร.อ.ธรรมนัส เมื่อเร็วๆนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องมังคุดราคาตกต่ำ ก็ต้องขอขอบคุณแทนเกษตรกร ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย เช่นเดียวกับปัญหาราคากุ้ง ที่กำลังรอให้ ร.อ.ธรรมนัส มาช่วยเหลือเช่นกัน ตนจึงขอยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่อยู่ในที่ประชุมด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“ร.อ.ธรรมนัส” เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตรฯ รุกนโนยายแก้ปัญหาเร่งด่วนให้พี่น้องเกษตรกร 100 วันเห็นผล

,

“ร.อ.ธรรมนัส” เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตรฯ รุกนโนยายแก้ปัญหาเร่งด่วนให้พี่น้องเกษตรกร 100 วันเห็นผล

6 ก.ย.2566 ร.อ.ธรรมนัส พรหมณ์เผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิประจำกระทรวง ศาลพระภูมิ ศาลท้าวเวสสุวรรณ ศาลตา – ยาย สักการะองค์พระพิรุณทรงนาค (หน้าอาคาร) และองค์พระพิรุณทรงนาค (ห้องพิพิธภัณฑ์) พร้อมด้วย 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ในเวลา 8.19 น. และได้ร่วมถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ บริเวณหน้าอาคารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ยังได้เตรียมมอบหมายนโยบายให้นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดในวันนี้ เพื่อหารือมาตรการและการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีความเร่งด่วน อาทิ การแก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน การแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี การปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย และนโยบายพักหนี้เกษตรกร เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นปัญหาเร่งด่วนที่นายกรัฐมนตรีให้ความเป็นห่วง และจะมีความชัดเจนหลังจากแถลงนโยบายของรัฐบาลในวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 ที่จะถึงนี้ ส่วนการแบ่งงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีการประชุมแบ่งงานภายหลังแถลงนโยบายฯ ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถเดินหน้าทำงานได้ทันที

สำหรับปัญหาราคามังคุดใต้ที่ตกต่ำ ทั้งที่เป็นมังคุดปลายฤดูกาลผลิต ซึ่งได้เร่งระบายผลผลิตจนสถานการณ์คลี่คลายแล้ว นอกจากนี้ ได้มอบหมายปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้ามาตรการแก้ปัญหาในระยะกลาง และระยะยาวอย่างยั่งยืนอีกด้วย

“ขอฝากถึงพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ว่ากระทรวงเกษตรฯ มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย ให้มีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน ซึ่งนโยบายเร่งด่วนต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น ต้องมีความชัดเจนและเห็นผลภายใน 100 วันด้วย”รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“พล.ต.อ. พัชรวาท” เกาะติดน้ำมันดิบรั่ว เกาะสีชัง ห่วงกระทบ ปชช และ สิ่งแวดล้อม

,

“พล.ต.อ. พัชรวาท” เกาะติดน้ำมันดิบรั่ว เกาะสีชัง ห่วงกระทบ ปชช และ สิ่งแวดล้อม

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยถึงกรณีเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทางตอนใต้ของเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ว่า ได้รับรายงานสถานการณ์จาก นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ เมื่อช่วงกลางดึกวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา

โดยได้กำชับสั่งการท่านปลัดกระทรวงฯ ไปแล้วว่า ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทรัพยากรชายฝั่ง ทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่ส่งผลกระทบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ซึ่งทางปลัดกระทรวงฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ กรมควบคุมมลพิษ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เฝ้าติดตามสังเกตการณ์สถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องใกล้ชิด ทั้งการคาดการณ์การเคลื่อนตัวของคราบน้ำมัน การเก็บตัวอย่างน้ำและน้ำมันเพื่อวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การสำรวจผลกระทบต่อแนวปะการัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงได้กำชับให้มีการประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและทันท่วงที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์ พร้อมทีมนายกฯ ฤกษ์ดีเป็นสิริมงคล พร้อมปฏิบัติภารกิจ มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชน

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์ พร้อมทีมนายกฯ ฤกษ์ดีเป็นสิริมงคล พร้อมปฏิบัติภารกิจ มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชน

วันที่ 6 กันยายน 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ร่วมพิธีสักการะพระพรหม บนตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้น เวลา 8.09 น. ถือฤกษ์ดี ได้ทำการสักการะศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลตาศาลยาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล ก่อนประชุม คณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ที่ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 5 ทำเนียบรัฐบาล

โดยพร้อมปฏิบัติภารกิจอย่างเต็มกำลัง ในการทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“พล.อ.ประวิตร” นั่ง “ประธาน” ถก “กนภ.” เร่งรับมือสภาพอากาศผันผวนรุนแรง

,

“พล.อ.ประวิตร” นั่ง “ประธาน” ถก “กนภ.” เร่งรับมือสภาพอากาศผันผวนรุนแรง

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งชาติ (กนภ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุม เพื่อปรับปรุงองค์กรและระเบียบราชการ รับงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ซึ่งได้รับทราบถึงการปรับปรุงกฎกระทรวงและการแบ่งส่วนราชการ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2566 ที่เปลี่ยนชื่อจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ยังทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางของประเทศ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนต่อไป

ที่ประชุมมีมติแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการภายใต้ กนภ.จำนวน 8 คณะ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเสนอให้ส่วนราชการต่างกระทรวง มีหน่วยงานรองรับร่วมขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวไปด้วยกัน

“การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ นับวันจะมีความผันผวนและทวีรุนแรงมากขึ้น โดยมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องรอไม่ได้ ที่จะต้องเตรียมการรับมือ โดยกำชับขอให้คณะกรรมการฯ รวมทั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ศึกษา ติดตามและขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในและระหว่างประเทศ เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือกัน รับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด” พล.อ.ประวิตร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2566

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์”พูดแทนชาวเพชรบูรณ์ หลายปัญหาที่ยังรอการจัดสรรงบประมาณมาแก้ไข ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวเร่งดำเนินการให้ ปชช.

,

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์”พูดแทนชาวเพชรบูรณ์ หลายปัญหาที่ยังรอการจัดสรรงบประมาณมาแก้ไข ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวเร่งดำเนินการให้ ปชช.

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ได้หารือสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชนว่า ถนนเส้นโรงเรียน ดงขุยวิทยาคม ตำบลดงขุยไปถึงบ้านหนองกุ่ม ตำบลดงขุย ไปตำบลศาลาลาย ถนนเส้นนี้ได้รับการถ่ายโอนมาจาก ทางหลวงชนบท ระยะทาง 8 กิโลเมตร ปัจจุบันไม่มีงบประมาณในการพัฒนา ประชาชนเดือดร้อนมาก ถนนเส้นนี้ นักเรียนนักศึกษาที่ใช้ในโรงเรียนหนองขุยวิทยาคม ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก จึงขอฝากไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ของบประมาณในการดูแลถนนเส้นนี้ด้วย

นายวรโชติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ถนนจากอำเภอ วังโป่ง ไปโรงพยาบาลวังโป่ง ซึ่งจริงๆแล้วถนนเส้นนี้จะได้รับงบประมาณประมาณ ปี 2567 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในการจัดตั้งรัฐบาลของสภาฯได้ล่าช้า กลัวงบประมาณจะไม่ทันการณ์ จึงขอฝากให้กระทรวงคมมนาคมช่วยพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากพี่น้องประชาชนเดือดร้อน โดยเฉพาะการสัญจรที่จะเข้าไปโรงพยาบาลไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตามยังมีถนนเส้น 3101 เป็นถนนสายหลักของ3 จังหวัด คือ จังหวัดเพชรบูรณ์แจังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก แต่ถนนเส้นนี้กลับไม่มีไฟส่องทาง และพื้นถนนระยะทาง 19 กิโลเมตรมีสภาพไม่ดี ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งไฟส่องทาง และงบเพื่อพัฒนาถนนเส้นนี้ด้วย

“ปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์ตอนนี้คือ ภัยแล้ง ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่ทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าวข้าวโพด แล้วก็ผลไม้ต่างๆแวันนี้ฝนไม่ตกท่าน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นไปได้ช่วยจัดสรรงบประมาณดูแลเรื่องทำฝนเทียมหรือว่าฝนหลวง ทั้ง 11 อำเภอ 98 ตำบล พื้นที่ได้รับความเสียหาย 510,000 กว่าไร่ วันนี้เราได้นายกรัฐมนตรีแล้ว อยากได้เรื่องนี้ตามมาอย่างเร่งด่วน เพราะว่าข้าวข้าวโพดและ พืชผลทางการเกษตรของพี่น้องจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับความเสียหายอย่างมากถึง 500,000 กว่าไร่แล้ว”นายวรโชติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566

“สุธรรม สส.นครศรีธรรมราช”เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจร 2 จุด บนเส้นทางหลัก หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากจราจรที่คับคั่ง

,

“สุธรรม สส.นครศรีธรรมราช”เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจร 2 จุด บนเส้นทางหลัก หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากจราจรที่คับคั่ง

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนขอขอบคุณที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของพี่น้องของอำเภอทุ่งสง ตนจะขอปฎิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด ทั้งในสภาแห่งนี้และนอกสภา ซึ่งวันนี้ตนจะหารือถึงความเดือดร้อนของประชาชน โดยขอให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร บริเวณสามแยกจุดกลับรถ สามแยกตลาดนัด ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง เส้นทางหลวงหมายเลข 403 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดตรัง โดยสามแยกจุดกลับรถแห่งนี้มีการจราจรคับคั่งตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งของโรงงานปูนซีเมนต์ ไทย สาขาภาคใต้ ส่งผลให้มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ วิ่งสัญจรไปมาตลอดทั้งวัน

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า สภาพแวดล้อมที่มีทั้งตลาดนัด จุดกลับรถ คนข้ามถนน และรถบรรทุกขนาดใหญ่ ประกอบกับมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง 2 โรงงาน และไม่มีไฟสัญญาณจราจร ทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น ส่งผลกระทบกับประชาชนและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ที่บริเวณสามแยกจุดกลับรถด้วย

นอกจากนี้ นายสุธรรม กล่าวว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง ถึงปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง บริเวณสี่แยกวังขรี เส้นทางหลวงหมายเลข 4116 ช่วงอำเภอบ่อน้ำร้อน กม.ที่ 2+960 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักมุ่งหน้าสู่ อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อมุ่งหน้าต่อจังหวัดกระบี่ เส้นทางสายนี้มีพี่น้องใช้สัญจรเป็นจำนวนมาก มีทั้งโรงเรียนวัดดงขรี และร้านสะดวกซื้อ โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมามีหมู่บ้านจัดสรรทยอยขึ้นบริเวณแห่งนี้หลายโครงการ ทำให้มีการจราจรคับคั่ง ส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ตนขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 2 กรมทางหลวงคมมนาคม เพื่อเร่งให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสองจุดนี้ อย่างเร่งด่วนด้วยครับ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566

“อัครแสนคีรี”แนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขุดลอกเขื่อนลำปะทาว กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน ป้องกันน้ำท่วม จ.ชัยภูมิ

,

“อัครแสนคีรี”แนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขุดลอกเขื่อนลำปะทาว กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน ป้องกันน้ำท่วม จ.ชัยภูมิ

วันที่ 22 ส.ค.2566 ที่รัฐสภา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)มอบหมายให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.รับหนังสือจากสหพันธ์ครูแสะบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย โรงเรียนบ้านหันเชียงเทียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การประสานงานโดยนายปรีดา บุญเพลิง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคครูไทยเพื่อประชาชน

สำหรับโดยหนังสือดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ ขอให้คณะกรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)พิจารณามติก.ค.ศ.ที่คลาดเคลื่อนเพื่อเยียวยาผู้ส่งผลงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการว13/2556 น้ำสู่การพิจารณารับรองคุณสมบัติข้ารับการประเมิน โดยการเปิดประชุม ก.ค.ศ.

ทั้งนี้ ในรายละเอียดหนังสือ ยังอ้างถึง
1. หนังสือที่ศธ 0206.3/ว(23 สิงหาคม 2566 )นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงโครงการขุดลอกเขื่อนลำปะทาวและขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า โดยเขื่อนลำปะทาวซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน สังกัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งปัจจุบันเขื่อนลำปะทาวประกอบไปด้วย เขื่อนบนและเขื่อนล่าง ตั้งอยู่บนเขาของจังหวัดชัยภูมิ เขื่อนด้านบนจะอยู่ทางซ้าย เขื่อนด้านล่างจะอยู่ด้านขวา เป็นตัวผลิตไฟฟ้า เป็นเครื่องที่ตั้งอยู่ตีนเขา กรณีผลิตไฟฟ้าจะต้องปล่อยน้ำลงมาจากบนเขา ส่งไปที่ตัวเครื่องเจนเพื่อผลิตไฟ แล้วก็ป้อนไฟเข้าระบบ ในส่วนของเครื่องเจนเองจะอยู่ตรงตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก่งคล้อ หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนนี้ มีการผลิตไฟฟ้า มีการปล่อยน้ำลงมา ก็จะได้ประโยชน์สองเรื่องหลักๆ เรื่องแรกคือเรื่อง ไฟฟ้าที่ได้ใช้ เรื่องที่ 2 คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตนาหนองทุ่มจะได้ใช้น้ำในการปล่อยน้ำลงมา เพื่อผลิตไฟฟ้า

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ขณะนี้เขื่อนลำปะทาว กำลังพบเจอปัญหาวิกฤติ หลักๆ คือการที่ไม่สามารถเก็บน้ำในเขื่อนได้ ปัจจุบันเขื่อนลำปะทาวเขื่อนบน ฃสามารถเก็บน้ำได้ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนล่างกักเก็บน้ำได้ประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่หลังจากสร้างใช้ระยะเวลานานยังไม่มีการขุดลอกในเขื่อน ทำให้เกิดปัญหา คือทำให้มีตะกอนดินสะสมมหาศาลจากการสำรวจพบว่ามีอยู่หลายล้านคิว ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมหรือเกิดเหตุ ช่วงพายุเข้ามาก็จะทำให้น้ำที่อยู่ในเขื่อนไหลทะลักและเข้าท่วมจังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศบาลเมือง

“ผมมีข้อเสนอ 2 ข้อ ข้อแรกคือ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการขุดลอกเขื่อนลำปะทาวทั้งเขื่อนบนและเขื่อนล่าง ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับคือ ได้กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน และสามารถขยายกำลังผลิตไฟฟ้าได้ เพราะมีน้ำไว้ผลิตไฟมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันปัญหาน้ำไหลไปท่วมในตัวจังหวัดชัยภูมิ เมื่อเราเก็บน้ำได้มากขึ้นแล้ว ปัญหาน้ำที่จะล้นก็จะน้อยลง”

ข้อ 2 เพิ่มกำลังการผลิตไฟ โดยการติดตั้งเครื่อง Generator ในพื้นที่ตำบลโคกกุงซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับ ตำบลนาหนองทุ่ม จุดผลิตไฟเดิม และโดยตำบลโคกกุงนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากน้ำที่ปล่อยลงมาเพื่อผลิตไฟ มีตัวอย่างให้เห็นที่ ตำบลนาหนองทุ่ม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566