โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวประชาสัมพันธ์

“พล.อ.ประวิตร”ยกพลพรรคพปชร.สานสายใยชาวเมืองกาญฯ ชูนโยบายแก้จนเวทีแรกพร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครเสนอรับใช้ปชช.

,

“พล.อ.ประวิตร”ยกพลพรรคพปชร.สานสายใยชาวเมืองกาญฯ
ชูนโยบายแก้จนเวทีแรกพร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครเสนอรับใช้ปชช.

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรค และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตรียมลงพื้นที่เพื่อเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ และเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ทั้ง 5 เขตต่อพี่น้องประชาชน จ. กาญจนบุรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18.00 น. บริเวรเกาะรัตนกาญจน์ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

การเปิดปราศรัยในจ.กาญจนบุรี จะเป็นเวทีแรกที่หัวหน้าพรรคจะนำเสนอนโยบายเพิ่มเติมของพรรค ทั้งนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง และนโยบายแก้ไขปัญหาที่ทำกิน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน ภายใต้แคมเปญ “มีเรา ไม่มีแล้ง มีน้ำไม่มีจน” “มีเรา มีที่ทำกิน มีที่ดินไม่มีจน” หลังจากที่พรรคได้นำเสนอนโยบายเพิ่มเงินสวัสดิการประชารัฐ เป็น 700 บาท หรือที่เรียกกันว่า “ลุงป้อม 700” ที่ประชาชนให้การสนับสนุนและให้การตอบรับเป็นอย่าง เป็นการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนได้

ทั้งนี้ในการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครทั้ง 5 เขต ประกอบด้วยเขต 1 นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ เขต 2 นายชูเกียรติ จีนาภัคดิ์ เขต 3 พล.ต.ต.กมลสันติ กลั่นบุศย์ เขต 4 นางสาวลำยอง ยิ้มใหญ่หลวง เขต 5 นายประเทศ บุญยงค์ และนางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ

อย่างไรก็ตาม พรรคจะยังคงยึดมั่น ที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง พร้อมทั้งเดินหน้ามีนโยบายด้านอื่นที่จะช่วยเหลือให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มั่งทางด้านการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในชีวิตและทนัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2566

ลุงป้อม ใจดี ยิ้มแย้ม ร้องเพลง มอบความรักให้ เด็กๆ ก่อนวันวาเลนไทน์ ณ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด

,

ลุงป้อม ใจดี ยิ้มแย้ม ร้องเพลง มอบความรักให้ เด็กๆ ก่อนวันวาเลนไทน์ ณ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด

วันอาทิตย์ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา ประมาณ 10.30 น.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลุงป้อมได้เดินทางไปพร้อมกับหลานๆ โดยไปทำกิจกรรมมอบความสุขความรักให้กับเด็กๆ ที่สถานสงเคราะห์เด็กชาย บ้านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยพลเอกประวิตร ได้ร่วมร้องเพลงและทำกิจกรรมมอบความรักความอบอุ่นให้กับเด็กๆ และได้ร่วมตักไอศครีมแจกเด็กๆ เป็นการมอบความสุข ความรักก่อนวันวาเลนไทน์ที่จะมาถึงในวันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรียังร่วมร้องเพลง
”ทรงอย่างแบด” กับเด็กๆอย่างสนุกสนานพร้อมทั้งร่วมถ่ายรูปและโอบกอดเด็กๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและมอบความรักให้แก่เด็กเด็กในโอกาสวันแห่งความรัก Valentine Day ที่ใกล้จะมาถึง สร้างความสนุกสนาน ครื้นเครง ให้กับเด็กๆ เป็นอย่างมาก โดยเด็กๆ ได้ขอถ่ายรูปร่วมกับลุงป้อมไว้เป็นที่ระลึก ก่อนจบกิจกรรมอย่างมีความสุข

วันอาทิตย์ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา ประมาณ 10.30 น.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลุงป้อมได้เดินทางไปพร้อมกับหลานๆ โดยไปทำกิจกรรมมอบความสุขความรักให้กับเด็กๆ ที่สถานสงเคราะห์เด็กชาย บ้านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยพลเอกประวิตร ได้ร่วมร้องเพลงและทำกิจกรรมมอบความรักความอบอุ่นให้กับเด็กๆ และได้ร่วมตักไอศครีมแจกเด็กๆ เป็นการมอบความสุข ความรักก่อนวันวาเลนไทน์ที่จะมาถึงในวันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรียังร่วมร้องเพลง
”ทรงอย่างแบด” กับเด็กๆอย่างสนุกสนานพร้อมทั้งร่วมถ่ายรูปและโอบกอดเด็กๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและมอบความรักให้แก่เด็กเด็กในโอกาสวันแห่งความรัก Valentine Day ที่ใกล้จะมาถึง สร้างความสนุกสนาน ครื้นเครง ให้กับเด็กๆ เป็นอย่างมาก โดยเด็กๆ ได้ขอถ่ายรูปร่วมกับลุงป้อมไว้เป็นที่ระลึก ก่อนจบกิจกรรมอย่างมีความสุข

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร” เปิดนโยบายบริหารจัดการที่ดินทำกิน-น้ำ ลั่น “มีลุง ไม่มีแล้ง” ยกเป็นวาระแห่งชาติเพื่อปชช.กินดีอยู่ดี

,

“พล.อ.ประวิตร” เปิดนโยบายบริหารจัดการที่ดินทำกิน-น้ำ ลั่น “มีลุง ไม่มีแล้ง” ยกเป็นวาระแห่งชาติเพื่อปชช.กินดีอยู่ดี

วันนี้(10 ก.พ.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวเปิดนโยบายพรรคเพิ่มเติม โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเลขาธิการพรรค นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรค ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค คณะกรรมการบริหาร และคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นการเปิดนโยบายที่สำคัญของพรรคอีก 2 เรื่อง ก็คือ เรื่องน้ำ และเรื่องที่ดิน จากการทำงานในพื้นที่มาโดยตลอดของผม และทีมงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เข้าไปติดตาม รับฟัง และ แก้ปัญหาน้ำ และที่ดินทั่วประเทศ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ที่ได้นำมาสู่การทำแผนแม่บท บูรณาการ 38 หน่วยงาน ทำผังน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน น้ำบาดาล น้ำประปา น้ำเพื่อการเกษตร ออกมาตรการฤดูแล้ง มาตรการฤดูฝน ผลงานชัด ๆ ก็คือ 3 ปีนี้ ไม่มีการประกาศพื้นที่ภัยแล้งเลย เรายืนยันว่า “มีลุง ไม่มีแล้ง”

ดังนั้น เรื่องน้ำและที่ดิน เป็นนโยบายต่อเนื่องจากนโยบายแรก ซึ่งภายหลังจากพรรคได้เปิดนโยบายในการเพิ่มเงินสวัสดิการในบัตรประชารัฐเป็น 700 บาทต่อเดือน ได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี แต่นโยบายของพรรค ยังมีอีกหลายด้านที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น “อยู่ดีกินดี” เพราะทุกวันนี้ ปัญหาความยากจน ยังคงมีอยู่ พรรคพลังประชารัฐ พร้อม ! ขจัดปัญหาความยากจน โดยประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ และ ปัญหาที่ดินทำกิน เป็นต้น

สำหรับนโยบายที่พรรคประกาศเพิ่มเติมในวันนี้ นโยบายที่ 1 เราพร้อม ! สานต่อนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เติมน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ เพิ่มแหล่งน้ำสำรอง และแหล่งน้ำทางเลือก แก้ปัญหา น้ำแล้งน้ำท่วมซ้ำซาก จัดทำผังน้ำชุมชน จัดระเบียบทางน้ำทั่วประเทศ ยกระดับการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมเผชิญภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียทั่งชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน

นโยบายที่ 2 เราพร้อม ! สานต่อนโยบายบริหารจัดการที่ดิน “มีเรา มีที่ทำกิน มีที่ดินไม่มีจน” เพื่อให้คนไทยมีที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ด้วยการ “ปฏิรูประบบที่ดิน คืนที่ทำกินให้ประชาชน” โดย เร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกประเภท เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด จัดที่ดินของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คนไร้ที่ทำกินกว่า 2 ล้านราย ยกระดับธนาคารที่ดิน ตั้งศูนย์พิสูจน์และคุ้มครองสิทธิประชาชน ชะลอการดำเนินคดีและนิรโทษกรรมความผิดเกี่ยวกับที่ดิน และสังคายนากฎหมายที่ดินทั้งระบบ เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าสูงสุดรองรับการพัฒนาประเทศ และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2566

“วิรัช”เปิดครอสส่งพลังใจว่าที่ผู้สมัครรุ่น 7 ย้ำ”ป้อม700”ปชช.ได้ประโยชน์ ชี้แลนด์สไลด์ไม่ใช่จุดเปลี่ยนตัดสินใจลงคะแนน พร้อมหนุนขึ้นค่าตอบแทนนายกอบต.ควบกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเพื่อความเท่าเทียม

,

“วิรัช”เปิดครอสส่งพลังใจว่าที่ผู้สมัครรุ่น 7 ย้ำ”ป้อม700”ปชช.ได้ประโยชน์ ชี้แลนด์สไลด์ไม่ใช่จุดเปลี่ยนตัดสินใจลงคะแนน พร้อมหนุนขึ้นค่าตอบแทนนายกอบต.ควบกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเพื่อความเท่าเทียม

นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ในวันนี้พรรคได้เปิดอบรมว่าที่ผู้สมัครรุ่น ที่ 7 โดยครั้งนี้ เน้นในเรื่องการสื่อสารและการลงพื้นที่พบปะประชาชน โดยเฉพาะการนำนโยบายหลักของพรรค เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ในสิ่งที่พรรคต้องการช่วยเหลือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้าน ซึ่งขณะนี้ ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พปชร.ได้ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการเพิ่มเงินสวัสดิการประชารัฐเป็น 700 บาท หรือที่ใช้แคมเปญว่า “ป้อม 700” ซึ่งเป็นนโยบายที่พรรค ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และยังมีนโยบายด้านอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างรายได้ สร้างอาชีพที่มั่นคง ให้กับประชาชนในทุกมิติ

นายวิรัช กล่าวต่อว่า พรรคยังได้แนะแนวทางเพื่อสร้างกำลังใจให้กับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ถึงสถานการณ์การแข่งขันการเลือกตั้งที่จะมาถึง ในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องแลนด์สไลด์ ที่ไม่อยากให้เกิดความกังวลใจในการลงพื้นที่ของผู้สมัคร เพราะการเกิดแลนด์สไลด์ ขึ้นอยู่กับเสียงประชาชน ไม่ได้เป็นข้อสรุปที่จะตัดสินใจให้กับประชาชน สำคัญที่สุดคือการทำนโยบายเข้าถึงประชาชน และได้ประโยชน์จริงหรือไม่ ซึ่งเรามั่นใจว่า พรรคมีนโยบายที่ดี และเป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแน่นอน

“สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการหาเสียงต้องระมัดระวังในเรื่องของข้อกฎหมาย เพื่อไม่ให้ผิดกติกาในการหาเสียง ขณะเดียวกันต้องมีความระมัดระวังใช้คำปราศรัย ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ และเป็นข้อฟ้องร้องตามมา อาจทำให้เกิดผลกระทบในแง่ของการตัดสิทธิ์ ซึ่งพรรคเราเน้นการก้าวข้ามความข้ดแย้ง ตามนโยบายของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ให้ความสำคัญ เพราะการบริหารบ้านเมือง ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไป

“วิรัช”หนุนขึ้นค่าตอบแทนนายกอบต.ควบกำนัน-ผญ.บ้านเพื่อความเท่าเทียม
นายวิรัช ยังกล่าวถึงกรณีข่าวที่ระบุถึงกรณีพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เดินหน้าผลักดันค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางที่จะปรับขึ้นดังกล่าวแต่ควรจะพิจารณาปรับขึ้นไปพร้อมกับค่าตอบแทนของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง

“ผมยืนยันว่าไม่ได้ไม่เห็นด้วยแต่ ควรจะขึ้นให้ให้เท่าเทียมกันเพราะกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนที่อยู่ในหมู่บ้าน ดูแลประชาชนภายในหมู่บ้าน ภายในตำบล คนเหล่านี้เงินเดือนน้อย เงินเดือนผู้ใหญ่บ้าน 8,000 บาท กำนัน 10,000 บาท ดังนั้นหากจะขึ้นอบต.ก็ควรจะให้เกิดความเท่าเทียมกัน เพราะเวลามีงานราชการ ทางราชการขอความร่วมมือก็บอกกำนัน*ผู้ใหญ่บ้าน ให้ไปบอกประชาชนให้มาร่วมงาน และเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการดูแลประชาชนที่ร่วมงานทั้งสิ้น ”นายวิรัชกล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2566

“อุตตม” โชว์นโยบาย “พปชร.” ชูแนวคิด “ประชารัฐ” ลั่นไม่ใช่ประชานิยม แต่เป็นความร่วมมือ “รัฐ-เอกชน-ประชาชน” ชู แนวทางบริหาร 3 ส่วน “ทำเรื่องเร่งด่วน- เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนา-ปฏิรูประบบราชการ”

,

“อุตตม” โชว์นโยบาย “พปชร.” ชูแนวคิด “ประชารัฐ” ลั่นไม่ใช่ประชานิยม แต่เป็นความร่วมมือ “รัฐ-เอกชน-ประชาชน” ชู แนวทางบริหาร 3 ส่วน “ทำเรื่องเร่งด่วน- เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนา-ปฏิรูประบบราชการ”

วันที่ 9 ม.ค. 2566 ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ดร.อุตตม สาวนายน ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบาย พรรคพลังประชารัฐ เป็นตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “Policy Push – Market Drives กำหนดนโยบายให้ตรงใจตลาดโลก” ในงาน “อนาคตประเทศไทย ECONOMIC DRIVES” ที่จัดขึ้นโดยโพสต์ทูเดย์ และบริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

โดยนายอุตตม แสดงวิสัยทัศน์ตอนหนึ่งว่า วันนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญจากสถานการณ์ทั้งในประเทศและจากนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นทั้งความท้าทายและเป็นโอกาสได้เช่นเดียวกัน หากสามารถปรับตัวและมีความพร้อมต่อการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่ปีนี้มีโอกาสถดถอย และชะงักงัน รวมถึงเรื่องที่สำคัญอย่างเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ของโลก อย่างความตึงเครียดที่มีความไม่แน่นนอนของสถานการณ์โลก ที่ส่งผลให้เกิดความกังวล ทั้งประเทศมหาอำนาจ และประเทศไทย ที่อาจจะเกิดความแปลงที่คาดไม่ถึงได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รวมถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ต่อสถานการณ์ดังกล่าว พรรคพลังประชารัฐวางแนวทางในการบริหารจัดการเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. การทำเรื่องเร่งด่วน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ประเทศต้องเผชิญ และ 2. การเร่งรัดการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนให้คนไทยทั้งประเทศ และ 3. การปฏิรูประบบราชการ

โดยเรื่องเร่งด่วนแรก นานอุตตม ยกเป็นตัวอย่างคือ เรื่องบาดแผลของประเทศจากสถานการณ์โควิด ที่วันนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คนตัวเล็ก ยังคงเป็นแผลที่สาหัสอยู่ ปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบตรงนี้จะแก้อย่างไร

ซึ่งแนวทางของพรรคคือต้องแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ คือ แก้หนี้ เติมทุน และสร้างทักษะอาชีพ ถึงจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

ส่วนเรื่องที่ 2 ต้องเร่งรัดการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ตั้งแต่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากเศรษฐกิจฐานรากคู่ขนานกับเศรษฐกิจมหภาค เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าหากเศรษฐกิจฐานรากไม่เข้มแข็ง เมื่อเกิดวิกฤตจะกระทบระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ โดยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จะต้องผสมผสานอย่างครบวงจรทั้งเรื่องของการเกษตร การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างให้เกิดงานใหม่ ผลักดันชุมชนให้เข้มแข็งดูแลตัวเองได้มากที่สุด นอกจากนี้ ดร.อุตตม ยังมองว่าประเทศไทยต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ ๆ เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจประเทศไทยวันนี้เริ่มอ่อนแรง บางเครื่องล้าสมัยแล้ว อย่างเรื่องการส่งออกแม้จะเดินหน้าต่อไปได้ แต่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีความแข็งแรงได้

และเรื่องที่ 3. ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือการปฏิรูปรัฐราชการ ไม่ให้เป็นคอขวด เพื่อให้การบริหารงานราชการเป็นไปอย่างมีระบบ และตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ

“ที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องการพัฒนาคน เพราะสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาคน วันนี้การศึกษาต้องครบทุกวัย ผมมองว่าการลงทุนในเด็กช่วงปฐมวัย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดที่เราจะทำเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศได้ ที่สำคัญที่ต้องเป็นรัฐสวัสดิการที่เข้าถึงถ้วนหน้าและมีคุณภาพ” ดร.อุตตม กล่าว

ดร.อุตตม กล่าวต่อว่า ภาพรวมการขับเคลื่อนนโยบายจากที่กล่าวมาทั้งหมด พรรคพลังประชารัฐจะขับเคลื่อนภายใต้แนวความคิดประชารัฐ ซึ่งตนขอย้ำว่า ประชารัฐไม่ใช่ประชานิยม เพราะแนวคิดประชารัฐ คือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่ร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน สร้างการพัฒนาที่คุ้มค่า มั่งคั่ง ยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และความยากจนด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมในทุกมิติ ซึ่งแนวทางดังกล่าวตนได้ร่วมขับเคลื่อนมาแล้วทั้งสิ้น ตั้งแต่การทำโครงสร้างพื้นฐานดิจิตัล โครงการเน็ตประชารัฐ การต่อยอดโครงการพร้อมเพย์ แอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ เป็นต้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“อาดิลัน” ขอบคุณ “พลเอกประวิตร” หลังจัดสรรงบ อุดหนุนอาหารกลางวันแก่เด็ก ตั้งแต่ปี 66-70

,

“อาดิลัน” ขอบคุณ “พลเอกประวิตร” หลังจัดสรรงบ อุดหนุนอาหารกลางวันแก่เด็ก ตั้งแต่ปี 66-70

นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงฝ่ายบริหารของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำจังหวัดว่า ต้องขอขอบพระคุณท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานคณะ กรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เห็นชอบเป็นหลักการจัดสรรงบอุดหนุนสำหรับอาหารกลางวันแก่เด็ก ตั้งแต่ปี 2566-2570 รวมเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติในหลักการดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561

“ผมยังหวังผู้ที่จะได้เข้าเป็นรัฐบาลในครั้งต่อไป จะจัดสรรงบประมาณสำหรับนมเด็กแรกเกิด และอาหารแก่เด็กทุกคนก่อนเข้าไปเรียน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเป็นให้เด็กไทยทุกคน”

นายอาดิลัน ยังกล่าวถึง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพลเอกประวิตร เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบเป็นหลักการให้เยียวยาแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลบาดเจ็บ ทุกกลภาพ และพิการ จากสถานการณ์ความไม่สะดวกเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนทั้งสิ้น 11 รายรวมเป็นเงินประมาณ 3 พัน 3 ล้านบาทแล้ว จึงขอให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบกลางเพื่อจ่ายเยียวยาแก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับ เพราะตกค้างมาตั้งแต่ปี 2547-2556 หรือ10-19 ปีแล้ว

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อาดิลันอาลีอิสเฮาะ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

‘พล.อ.ประวิตร’ สั่ง ปภ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสังคมปลอดภัย ยั่งยืน

,

‘พล.อ.ประวิตร’ สั่ง ปภ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสังคมปลอดภัย ยั่งยืน

09 ก.พ.2566 – ที่ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ครั้งที่ 1/2566 โดยที่ประชุมรับทราบการเปิดตัวแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติปี 64-70 ภายใต้โครงการสัมมนาเชิงวิชาการลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันภัย ด้วยแผน ปภ.ชาติแล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2566 เพื่อสื่อสารให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และความเข้าใจในนโยบาย และยุทธศาสตร์ภายใต้แผน ปภ.ชาติ และรับทราบแนวความคิด การจัดตั้งกองทุนการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และลดภาระงบประมาณของภาครัฐ

จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบ กปภ.ช.จำนวน 5คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคนถล่มและภัยแล้ง ,การจัดการความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ,การประชาสัมพันธ์ด้านการจัดการสาธารณภัย ,เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินตามแผน ปภ.ปี58 ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ ปภ.และลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย โดยให้มีความรุนแรงและผลกระทบความเสียหายลดลง นอกจากนั้นยังได้พิจารณาเห็นชอบกำหนดสัปดาห์แห่งการฝึกซ้อม เพื่อรับมือภัยพิบัติในปลายเดือน พ.ค.ของทุกปี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการเตรียมความพร้อม และมีกลไกในชุมชนเพื่อร่วมวางแผนรับมือด้วย และเห็นชอบ แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ ปี66-70 เพื่อเพิ่มมาตรการรับมือ อัคคีภัย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับมหาดไทย โดย ปภ.เร่งรัด ขับเคลื่อนแผนงานที่ได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว นำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คำนึงถึงการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน ควบคู่การซักซ้อมอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ที่จะต้องปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนอย่างดีที่สุด จากภัยพิบัติต่างๆทุกรูปแบบ และจะต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงรวดเร็ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

พปชร.เปิดโฉมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ชุดใหญ่ 38 คน 5 ภาค คลอดนโยบายแก้จน 10 กพ. นี้พร้อมเปิดไทม์ไลน์เดินสายพบ ปชช.

,

พปชร.เปิดโฉมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ชุดใหญ่ 38 คน 5 ภาค
คลอดนโยบายแก้จน 10 กพ. นี้พร้อมเปิดไทม์ไลน์เดินสายพบ ปชช.

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เมื่อเวลา 16.00 น. นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค พร้อมด้วยนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหารพรรค ร่วมกันเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 38 คน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ซึ่งจะเป็นตัวแทนของพรรคในการลงรับสมัครรับเลือกตั้งที่จะมาถึงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของประชาชนในการเข้าไปช่วยเหลือและรับฟังปัญหาที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายของพรรค เนื่องจากพรรคให้ความสำคัญในทุกพื้นที่ในการดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

นายวิรัช กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีและขอต้อนรับว่าที่ผู้สมัครทุกคนเข้าสู่พรรคพลังประชารัฐ ที่พร้อมจะช่วยกันก้าวข้ามความขัดแย้ง ตนขอฝากทุกคนต้องเร่งทำงาน ลงพื้นที่เพื่อนำนโยบายของพรรคไปสู่พี่น้องประชาชน เพราะใกล้เวลาเลือกตั้งแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาพรรคได้อบรมว่าที่ผู้สมัครไปแล้วกว่า 300 คน และในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ นี้ พรรคจะเปิดนโยบายเพิ่มเติม หลังจากครั้งแรกได้เปิดนโยบาย “เพิ่มเงินบัตรพลังประชารัฐ 700 บาท” ซึ่งหลังจากนี้ทุกคนจะขยายนโยบายและวิธีเพื่อนำเสนอให้ป้อม700 ไปอยู่ในใจประชาชนให้ได้

“วันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งในการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร มีทั้งอดีต ส.ส. อดีตผู้นำท้องถิ่น ซึ่งมีความเข้าใจและเข้าถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จึงเชื่อมั่นว่าจะได้รับความไว้วางใจในการเข้ามานั่งในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของพรรคมาสู่การพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีความกินดี อยู่ดี ตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนี้มีนโยบายแรกที่สำคัญ คือ การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการประชารัฐเป็น 700 บาท เป็นนโยบายที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากการลงพื้นที่ที่ผ่านมาและจะมีนโยบายอื่นๆ ออกมาเร็วๆนี้”นายวิรัช กล่าว

ทั้งนี้พรรคจะจัดเวทีปราศรัยใหญ่ที่ จ.กาญจนบุรี บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ นี้ และในวันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเดินปราศรัยครั้งแรกในพื้นที่เขต “ป้อม” ปราบศัตรูพ่าย ทั้งนี้การลงพื้นที่ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้ต้องการไปปราบใครที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่เป็นการปราบความเดือดร้อนของประชาชน อะไรที่เป็นปัญหาของประชาชน ก็คือศัตรูของพรรค

ด้านนางนฤมล กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ นี้ พรรคพลังประชารัฐเตรียมแถลงนโยบายแก้จนให้กับประชาชน ส่วนนโยบายด้านอื่นๆ พรรคมีการประชุมทุกวัน หลังจากนี้ก็จะค่อยๆทยอยเคาะออกมาทุกสัปดาห์ สำหรับในสัปดาห์หน้าก็จะมีการเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.กทม. เพิ่มเติมเกือบครบทุกเขต

“ทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชารัฐ ยังมีทั้งนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจ โดยเราร่วมกันทำงาน ช่วยกันดูหลายมิติ ในส่วนของนโยบายด้านเศรษฐกิจนั้นทางท่านหัวหน้าพรรคก็ได้มอบหมายให้เน้นในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ และการแก้ปัญหาความยากจนให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เพื่อแก้จนอย่างยั่งยืน”นางนฤมล กล่าว

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และทีมโฆษกพรรค พปชร. กล่าวว่า วันนี้พรรคได้เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครในทุกภาค จำนวน 38 คน ซึ่งทุกคนจะเป็นตัวแทนของหัวหน้าพรรคที่จะลงพื้นที่ไปสื่อสารให้กับประชาชนว่า หัวหน้าพรรคมีความห่วงใยประชาชนแค่ไหน ซึ่งวันนี้ทุกคนในพรรคพร้อมแล้วที่จะดูแลประชาชนและสื่อสารให้นโยบายของพรรคเข้าถึงใจประชาชน

สำหรับการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ในวันนี้ ประกอบด้วย พื้นที่ กรุงเทพฯ , ภาคกลาง , ภาคเหนือ , ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ รวมจำนวน 38 คน

กรุงเทพฯ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1. ดร.ภญ.สุชาดา เวสารัชตระกูล 2. นาวาอากาศเอก บัญชาพล อรัณยะนาค 3. นายภูวกร ปรางภรพิทักษ์ 4. นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ฟิล์ม) 5. นายสาโรจน์ ซึ้งไพศาลกุล ภาคกลาง จำนวน 4 คน ประกอบด้วย สระบุรี 6. นายอรรถพล วงษ์ประยูร
7. ดร.เกณิกา อุ่นจิตร์ 8. นายองอาจ วงษ์ประยูร กาญจนบุรี 9. นางลำยอง ยิ้มใหญ่หลวง

ภาคตะวันออก จำนวน 2 คน ประกอบด้วย จ.ระยอง 10. นายกฤษฎา เอกกำลังกุล จ.จันทบุรี
11. นายชรัตน์ เนรัญชร

ภาคอีสาน จำนวน 20 คน ประกอบด้วย จ.บุรีรัมย์12. นายนภดล อังคสุภณ 13. นายสุเทพ ใสงาม14. นายปกรณ์ ทรงประโคม 15. นายวรณัฐ ศรีสุริยชัย 16. นายบำเหน็จ ทิพย์อักษร 17. นายสมคิด สินไธสง 18. นายบรรจง ศรีหาบุญทัน 19. นายอิทธิศักดิ์ ปาทาน 20. นายเจษฎากร เขียนนิลศิริ สุรินทร์ 21. นายเจ้าจอม เตียวเจริญโสภา จ.ยโสธร 22. นายธวัชชัย นิจพาณิชย์ จ.อุบลราชธานี 23. ดร.จำลอง พรมสวัสดิ์ จ.มุกดาหาร 24. นายวิริยะ ทองผา จ.สกลนคร
25. นายชัยมงคล ไชยรบ จ.เลย 26. นายจรูญ พาณิช 27. นายสันติภาพ เชื้อบุญมี
จ.ร้อยเอ็ด 28. นายเอกรัฐ พลซื่อ 29. นางรัชนี พลซื่อ จ.อุดรธานี 30. นายโกเมนทร์ ทีฆธนานนท์ 31. นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง

ภาคเหนือ จำนวน 2 คน ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ 32. นางรัตนประภา ดิศวัฒน์ จ.ลำพูน
33. พล.ต.ต.กริช กิติลือ

ภาคใต้ จำนวน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย จ.ประจวบคีรีขันธ์ 34. นายสมพงษ์ ทั่งศรี
จ.สงขลา 35. นายญาณพง เพชรบูรณ์ 36. นายธีรพงษ์ ดนสวี 37. นายอดิสัณห์ ชัยวิวัฒน์พงศ์
จ.พัทลุง 38. ดร.พลกฤษณ์ คล้ายวิตภัทร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร” เกาะติดโครงการน้ำลดผลกระทบชาวปทุมระยะยาว เสียงเชียร์หนุนนั่งนายกคนที่30 ผู้สมัครผนึกทีมสู้เป็นปากเสียงปชช

,

“พล.อ.ประวิตร” เกาะติดโครงการน้ำลดผลกระทบชาวปทุมระยะยาว
เสียงเชียร์หนุนนั่งนายกคนที่30 ผู้สมัครผนึกทีมสู้เป็นปากเสียงปชช

วันที่8 กุมภาพันธ์ 2566 – พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งระบบโดย มีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครบ ทั้ง7 เขต ประกอบด้วย นายเสวก ประเสริฐสุข เขต 1 นายนพดล ลัดดาแย้ม เขต2 นายปรีชา ชื่นชนกพิบูล เขต3นายยุทธวัตน์ หาญเกียรติกล้าเขต4 นายวิรัช พยุงวงศ์ เขต5 นายเกียรติศักดิ์ ส่องแสงเขต 6นางสาวกฤษณา วงศ์คำ เขต7 มารอต้อนรับ ทั้งนี้นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้บรรยายสรุปถึงสถานการณ์น้ำในภาพรวม และแผนงานด้านทรัพยากรน้ำใน จ.ปทุมธานี ณ ห้องประชุมบัวหลวงปทุมธานี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดประปทุมธานี

พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า เป็นการเดินทางมา จ ปทุมธานี เป็นครั้งที่ 2หลังจากที่ เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ได้มาเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือเยียวยา และแก้ไขปัญหาให้กับ ประชาชน จากการ เผชิญปัญหาอุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก โดยดำเนินการโครงการป้องกันอุทกภัยและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญอย่างเป็นรูปธรรม เพราะจ. ปทุมธานี เป็นพื้นที่สำคัญที่เป็นรอยต่อของกรุงเทพ การวางแผนแก้ไขต้องเร่งดำเนินอย่างบูรณาการ ทั้งการระบายน้ำ และการดำเนินโครงการด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำยั่งยืน

พล.อ.ประวิตร ยังได้มอบหมายให้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สทนช.จังหวัด ,กรมชลประทาน ,กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง ร่วมทำงานแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งการสูบน้ำ การระบายน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำ การเตรียมความพร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ระบบระบายน้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา และการแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ ให้สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ควบคู่การเตรียมแผนเผชิญเหตุ รองรับภัยพิบัติในการช่วยเหลือประชาชนให้ได้ ทันท่วงที

ส่วนในพื้นที่พัฒนาคลองหมายเลข 3 ของ จ.ปทุมธานี บริเวณโรงเรียนวัดเวฬุวัน ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี ได้ กำหนดแนวทางการพัฒนาเพิ่มศักยภาพ ของคลอง หมายเลข3 เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม สมัยอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย 3คลองย่อย ได้แก่ คลองบ้านพร้าว คลองน้ำอ้อม และคลองบางหลวงเชียงราก จำเป็น ต้องวางแผนรองรับการระบายน้ำท่วมขัง ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย พร้อมทั้งใช้เป็นเส้นทางคมนาคม พร้อมวางแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นระยะต่างๆ

ขณะเดียวกันยังได้ติดตามการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และอาคารประกอบโครงการสถานีสูบน้ำถาวร ปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยได้ให้กรมชลฯ ให้เร่งก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จ ตามแผนงาน เพื่อรองรับการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ซึางจะสาทารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้มากถึง 62,300 ไร่

“ ในการพบปะประชาชน บรรยากาศเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และมีชาวบ้านรอต้อนรับอย่างหนาแน่น และได้ขอให้สื่อมวลชนเปิดพื้นที่ทำข่าวให้ ประชาชนได้เห็นตนเองอย่างชัดเจน เพื่อขอพูดคุยกับประชาชน โดยขอขอบคุณที่ ประชาชนมารอต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมย้ำความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลมีความตั้งใจอย่างจริงจัง ที่จะบำรุงสุขให้ประชาชนอย่างเต็มที่ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทุกคน ให้อยู่ดีกินดีเป็นความมุ่งหมายของรัฐบาลโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” พล.อ.ประวิตร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร”เร่งรัด 10 มาตรการรับมือน้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ จัดโซนพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ ปชช.รอรับเชียร์นั่งนายกคนต่อไป

,

“พล.อ.ประวิตร”เร่งรัด 10 มาตรการรับมือน้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ
จัดโซนพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ ปชช.รอรับเชียร์นั่งนายกคนต่อไป

เมื่อ 6 ก.พ.66 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการต่อเนื่อง จาก จ.ขอนแก่น ช่วงเช้า โดยในช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เพื่อติดตามขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ที่ศาลากลาง จ.ชัยภูมิ ได้ประชุมหารือร่วมกับ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผวจ.,เลขาฯ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมพญาแล เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ

พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จังหวัด ชัยภูมิยังมีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเกิดจากน้ำหลากพื้นที่ลาดชัน ก่อให้เกิดสภาพน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่หลายอำเภอ ซึ่งจังหวัดได้มีการถอดบทเรียน ร่วมฟังความคิดเห็นจากประชาชน แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างยั่งยืน สำหรับภัยแล้ง เกิดจากปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยขาดแหล่งเก็บกักน้ำ ประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ ทั้งนี้รัฐบาลได้สนับสนุนโครงการต่างๆในปี61-65 งบกลางกรณีฉุกเฉินปี65 และงบบูรณาการปี66 รวมทั้ง พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการ สนับสนุนโครงการตามที่จังหวัดร้องขอเพิ่มเติมได้แก่ โครงการก่อสร้างวงแหวนน้ำรอบพื้นที่เมืองชัยภูมิ และก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์เพื่อชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง จำนวน 1,000 ฝาย รองรับการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ

พล.อ.ประวิตร ได้มอบนโยบายที่สำคัญ โดยกำชับให้ สทนช. เร่งรัด 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด พร้อมย้ำจังหวัดให้วางแผนพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อลดผลกระทบประชาชน ให้มากที่สุด และได้กล่าวเน้น ว่า “น้ำคือชีวิต ของประชาชน”รัฐบาลมีความจริงใจที่จะ แก้ปัญหาทุกพื้นที่ อย่างเร่งด่วนสอดคล้องความต้องการประชาชน เพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ รวมถึงขอบคุณหน่วยงาน และประชาชนที่ได้ช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกัน กระทั่งสถานการณ์การขาดแคลนน้ำคลี่คลาย ทุกครัวเรือนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

พล.อ.ประวิตร และคณะได้เดินทางต่อไปยังโครงการก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำ เพื่อการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีวัสดุปูบ่อกักเก็บน้ำด้วยยางพารา ณ บ้านกุดโง้ง ต.บุ่งคล้า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ โดยมี ผศ.ดร.อดิศัย รุ่งวิชานิวัฒน์ จาก ม.สงขลาฯ นำเสนอผลงานวิจัยโครงการฯ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการแก้ปัญหาภัยแล้งได้ อย่างยั่งยืน และส่งเสริมสินค้าช่วยเกษตรกรสวนยางพารา ได้อีกด้วย

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้เดินทางไปตรวจติดตามโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพ อ่างเก็บน้ำ บ้านเพชร อ.ภูเขียว โดยทำการขุดลอกเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำให้มากขึ้น เพื่อรองรับการขาดแคลนน้ำ สำหรับอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง และได้พบปะกับพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับ อย่างอบอุ่นเป็นจำนวนมาก และเป็นกันเอง ซึ่งชาวบ้านต่างมีความชื่นชม ดีใจ และได้ขอบคุณ พล.อ.ประวิตร ที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำอย่างได้ผลและมีความยินดีที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกฯ คนที่30 เพื่อสานต่องาน ช่วยคนอีสานต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2566

รมว. ดีอีเอส คาด 30 เมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุน 6 หมื่นล้านบาท พร้อมลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ ผลักดันหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ

,

รมว. ดีอีเอส คาด 30 เมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุน 6 หมื่นล้านบาท
พร้อมลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ ผลักดันหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ

ดีอีเอส เผยเมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชูหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City Hua Hin พร้อมติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2567

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ศ.พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงฯ และ ดร. เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงฯ นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อร่วมทำข่าวความพร้อมโครงการ Smart city Hua Hin โดยมีประเด็นหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรีเทศบาลหัวหิน พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียน ตชด.บ้านย่านซื่อ อำเภอกุยบุรี และเป็นประธานเปิดโครงการ Digital infinity ดิจิทัลไม่มีที่สิ้นสุดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเมืองและพื้นที่ต่างๆ สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 30 เมืองทั่วประเทศโดยมีการประเมินว่าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท รวมถึงจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ลงพื้นที่ครั้งนี้ ก็ได้หารือและประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City Hua Hin
ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง เท่าเทียม พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมศูนย์ CCTV และห้องควบคุม เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ ตรวจสอบเมืองให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไร้อาชญากรรม

ขณะเดียวกัน ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นตัวแทนสถานศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ให้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบนิเวศศูนย์ดิจิทัลชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ที่ 5 ของแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564) (แผนปฏิบัติการฯ) จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ดิจิทัลชุมชน) และ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาระบบจัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชนและงานบำรุงรักษา ระยะเวลาดำเนินการทั้งโครงการอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2570 โดยมีพื้นที่ดำเนินการตามเป้าหมายเป็นสถานศึกษาจำนวน 1,722 ศูนย์ ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

“การตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่ดำเนินการตามโครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน สู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2567 ซึ่งได้จัดตั้งในพื้นที่ของโรงเรียน กศน. อบต. เทศบาล วัด มัสยิด และพื้นที่ชุมชน ที่มีความพร้อม จำนวน 500 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ” นายชัยวุฒิ กล่าว

ด้านนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ได้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายและแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีบทบาทในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อุปกรณ์ดิจิทัล บุคลากรสนับสนุนและส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับท้องถิ่น เพื่อลดช่องว่างทางด้านดิจิทัลให้กับชุมชน ให้สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา และด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมชนบท ในกลุ่มคนทุกกลุ่มที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน เด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น นอกจากนี้ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนยังทำหน้าที่ในการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข่าวสาร บริการดิจิทัล ให้กลุ่มเป้าหมายในระดับชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล พร้อมที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนคุณภาพชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างโอกาสและรายได้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานรากในอนาคต

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นดำเนินการในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การสนับสนุนพื้นที่ให้พัฒนาแผนเมืองอัจฉริยะของตนเอง สามารถระบุพื้นที่พัฒนาเมืองโดยมีขอบเขตชัดเจน มองเห็นศักยภาพและปัญหา อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อมเรื่องระบบบริการทั้ง 7 Smarts ได้ตรงตามบริบทของพื้นที่ และวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและด้านดิจิทัล รองรับระบบบริการเมือง รวมถึงบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับภาคประชาชน

นอกจากนี้ ดีป้า ยังมีการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่มีใจต้องการพัฒนาภูมิลำเนามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (The Smart City Ambassadors) ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมโครงการ 2 พื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ร่วมฝึกอบรม 2 ราย และมี Ambassadors ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนงานพัฒนาเมือง 2 ราย โดยปัจจุบัน เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นหนึ่งในเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ

นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ “เมืองท่องเที่ยวทรงคุณค่าระดับนานาชาติ เกษตรปลอดภัย ด่านสิงขรระเบียงเศรษฐกิจแห่งอนาคต สังคมผาสุกภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจังหวัดมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวและการเกษตรที่ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด โดยทางจังหวัดพร้อมสนับสนุนท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพ และส่งเสริมการบูรณาการการทำงาน รวมถึงการบูรณาการข้อมูลที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชาชน และเทศบาลหัวหินถือเป็นหนึ่งพื้นที่สำคัญของจังหวัดในการนำร่องการพัฒนา Smart City ของจังหวัด

ส่วนนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน กล่าวว่า เทศบาลเมืองหัวหินตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัย สะอาด น้ำใส ไร้ PM 2.5 โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ และตรวจสอบเมืองให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไม่มีอาชญากรรม โดยมีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาระบบ Smart ต่าง ๆ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การติดตั้งระบบ CCTV สอดส่องความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ตั้งเป้าลดอาชญากรรม 50% ติดตั้ง Smart Pole ระบบติดตามคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพคนหัวหินและนักท่องเที่ยว Wired Network ที่ครอบคลุมอำนวยความสะดวกผู้มาเยือนส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ พร้อมรับมือปัญหาขยะจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นด้วยระบบ GPS Tracking ช่วยบริหารจัดการขยะ ตั้งเป้าลดขยะตกค้างในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% รวมถึงระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลของเมือง (City Data Platform: CDP) รวมศูนย์ข้อมูลเพื่อการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และระหว่างท้องถิ่น เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

พล.อ.ประวิตร’ น้อมนำ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ความยากจน อนุมัติแผน ปี66 ผ่านระบบTPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน -เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

,

พล.อ.ประวิตร’ น้อมนำ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ความยากจน
อนุมัติแผน ปี66 ผ่านระบบTPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน-เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

เมื่อ 3 ก.พ.66 ,10.00น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานในภาพรวม ทั้ง 76 จังหวัด จากเป้าหมายครัวเรือนยากจนในระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) ปี65 พบว่า ศูนย์อำนวยการฯจังหวัด และ ศูนย์อำนวยการฯอำเภอ พร้อมทีมปฏิบัติการฯ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 653,524 ครัวเรือน คิดเป็น 100% และพบปัญหาในแต่ละมิติ ดังนี้ 1) มิติสุขภาพ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา คนอายุ 6ปีขึ้นไป ไม่ออกกำลังกายเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี 2) มิติความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา ครัวเรือนไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพไม่คงทนถาวร 3) มิติการศึกษา ส่วนใหญ่ประสบปัญหาคนอายุ 15-59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายไม่ได้ รวมทั้งเด็กอายุ 6-14 ปี ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับหรือออกจากการเรียนกลางคัน เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจ และ 4) มิติรายได้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประสพปัญหาการปลูกพืชได้เพียงปีละครั้ง ไม่มีปัจจัยการผลิต ขาดเงินทุน และขาดความรู้ด้านทักษะอาชีพ 5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้พิการ ไม่ได้รับการบริการจากภาครัฐ เนื่องจากเข้าไม่ถึง หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ แนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 4 แนวทางที่สำคัญ ได้แก่ แนวทางที่ 1 การเติมเต็ม ข้อมูลในระบบ TPMAP แนวทางที่ 2 ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครอบครัว แนวทางที่ 3 ร่วมแก้ไขและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และแนวทางที่ 4 ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้มอบหมายให้ สภาพัฒน์ฯการ ประกาศตัวเลขกลุ่มคนเป้าหมายเร่งด่วน และมอบให้ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ข้อมูลจาก ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงาน เน้นการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน กลุ่มเปราะบาง และกล่มที่ต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ครบถ้วน ทั่วถึง ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566