โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ

”สส.นเรศ“ขอกรมทางหลวงชนบท เข้าสำรวจและเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบนพื้นผิวถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 4016 ที่เป็นเส้นทางหลักเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว

,

”สส.นเรศ“ขอกรมทางหลวงชนบท เข้าสำรวจและเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบนพื้นผิวถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 4016 ที่เป็นเส้นทางหลักเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนขอฝากเรื่องร้องเรียนไปยังกรมทางหลวงชนบท เนื่องจากได้รับการร้องขอจากเทศบาลตำบลแม่วาง และ โครงการบริหารส่วนตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง เพื่อขอเข้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ถนนทางหลวงชนบท เลขที่ 4016 เชื่อมต่อทางหลวง 1013 บ้านกาด-แม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กม.ที่ 1-6 เนื่องจากช่วงหน้าฝนสภาพถนนจะมีน้ำท่วมขังและ ทางหลวงชนบทหมายเลข 4016 เป็นเส้นทางหลักของ อำเภอแม่วาง ที่จะเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นโครงการหลวง ปางช้าง ตลอดจนถึงเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังอุทยานดอยอินทนนท์

“ผมขอให้กรมทางหลวงชนบทเข้าสำรวจและเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนก็ได้ เนื่องจากว่า ตอนนี้เข้าหน้าฝนแล้วเวลาน้ำท่วม ก็จะเกิดน้ำร่วมขังบนถนนมาโดยตลอด จึงขอให้กรมทางหลวงแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้พี่น้องประชาชนอำเภอแม่วาง“นายนเรศ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 สิงหาคม 2567

“สส.นเรศ”ขอบคุณ สส.ฝ่ายรัฐบาล-ค้าน ลงมติรับร่างพ.ร.บ.ลำใย มอง รัฐบาลจะได้ใช้ พ.ร.บ.ลำไย เป็นเครื่องมือบริหารจัดการผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ

,

“สส.นเรศ”ขอบคุณ สส.ฝ่ายรัฐบาล-ค้าน ลงมติรับร่างพ.ร.บ.ลำใย มอง รัฐบาลจะได้ใช้ พ.ร.บ.ลำไย เป็นเครื่องมือบริหารจัดการผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนในฐานะผู้เสนอร่างพ.ร.บ.ลำใย เข้าสู่สภาฯ และในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ได้เสียงสนับสนุนจาก สส.ทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ลงมติเห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ลำใย จนผ่านวาระที่ 1 ไปแล้วนั้น ต้องถือว่าเป็นก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่ หลังความพยายามในการผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จและเป็นหนทางที่จะสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

“ผมขอบคุณทุกการสนับสนุนให้ผ่านสภาฯครั้งนี้
เพื่อรัฐบาลจะได้ใช้ พ.ร.บ.ลำไยเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม มีผลต่อผลประโยชน์ด้านการผลิต การลดต้นทุน และการเชื่อมโยงตลาดในระดับประเทศและต่างประเทศ การปฏิรูประบบเกี่ยวกับลำไย การวิจัยและพัฒนา การรักษาเสถียรภาพระดับราคาลำไย การดำเนินธุรกิจและการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยกรรมการบริหารลำไยโดยเฉพาะ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะสามารถบูรณาการขับเคลื่อนลำได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง“นายนเรศ กล่าว

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ร่าง พรบ.ลำไย จะทำให้เกิดกาาบูรณาการระหว่างกระทรวง กรม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาและแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ที่ซับซ้อนร่วมกันทุกมิติ เพราะ
ลำไยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเกษตรกรภาคเหนือ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรจากการส่งออกผลผลิตไปยังประเทศจีน อินโดนีเซีย อินเดียและประเทศอื่น ๆ กว่า 1.4 ล้านตัน สร้างรายได้ปีละ 23,000 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 สิงหาคม 2567

“สส.นเรศ”เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ลำไย ให้สภาฯพิจาณา หวัง ผ่านวาระแรก ตั้ง กมธ.ศึกษาต่อ มั่นใจ หาก กม.ฉบับนี้ผ่านจะมียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนลำไยอย่างยั่งยืน

,

“สส.นเรศ”เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ลำไย ให้สภาฯพิจาณา หวัง ผ่านวาระแรก ตั้ง กมธ.ศึกษาต่อ มั่นใจ หาก กม.ฉบับนี้ผ่านจะมียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนลำไยอย่างยั่งยืน

เมื่อเวลา 19.20 น.ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส. เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติลำไย พ.ศ. ….ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยระบุว่า ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะสมกับการปลูกลำไยสามารถผลิตลำไยนอกฤดูได้และสามารถกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวในช่วงที่ตลาดต้องการ มีเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวที่มีคุณภาพ ลำไยและผลิตผลจากผลลำไยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก รูปแบบการค้าและการลงทุน ที่เปลี่ยนไป สภาวะโลกร้อนส่งผลให้สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงและธรรมชาติเกิดความแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อการปลูกและผลผลิตทางการเกษตรเกิดความเสียหาย รวมทั้งส่งผลต่อการติดดอกออกผลทำให้ผลผลิตออกล่าช้าและไม่ได้คุณภาพและเกษตรกรผู้ปลูกลำไยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย

นายนเรศ กล่าวต่อว่า รัฐบาลจะต้องมีนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมจึงจะทำให้ผลผลิตได้คุณภาพส่งผลต่อการกำหนดราคาลำไยที่มีราคาสูงและเป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ด้านการผลิต การลดต้นทุน และการเชื่อมโยงตลาดในระดับประเทศและต่างประเทศการปฏิรูประบบเกี่ยวกับลำไย การวิจัยและพัฒนา การรักษาเสถียรภาพระดับราคาลำไย การดำเนินธุรกิจและการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

“เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนลำไยและผู้ประกอบกิจการลำไย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการทำนโยบายและยุทธศาสตร์ลำไยเป็นเป้าหมายการพัฒนาการผลิตลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยในการจัดทำการกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์เกี่ยวกับส่งเสริมและพัฒนากิจการเกี่ยวกับลำไยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้“นายนเรศ กล่าว

นายนเรศ กล่าวต่อด้วยว่า ถ้าสภาฯแห่งนี้มีมติเห็นชอบ พรบ.ลำไยฉบับนี้จะถือว่าสภาแห่งนี้เริ่มเดินหน้าแก้ไขปัญหาให้กับผู้ปลูกลำใยไปด้วยกัน เพราะจะเป็นการช่วยเกษตรกรลำไยในหลายมิติ โดยจะมีคณะกรรมการบริหารลำไยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจะทำให้เกิดการบูรณาการระหว่างกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาลำไยได้อย่างรวดเร็วแบบมียุทธศาสตร์ที่แน่นอน เนื่องจากจะต้องส่งความเห็นชอบต่อคณะกรรมการบริหารจัดการลำไย

นายนเรศ ยังกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา แม้กระทรวงเกษตรฯจะมีคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ที่มีตัวแทนแต่ละกลุ่ม แต่ละกระทรวงเป็นคณะกรรมการ แต่เมื่อประชุมเสร็จแล้วก็แยกย้ายกันทำงาน ผลที่ได้จึงไม่ชัดเจนและแก้ปัญหาได้ล่าช้า แต่ถ้าเรามีกรรมการบริหารลำไยโดยเฉพาะ และมีนายกฯเป็นประธานจะสามารถบูรณาการขับเคลื่อนลำได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง แต่คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะสามารถกำหนดมาตรการเยียวยาช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วกรณีที่เกิดสถานกาาณ์ด้านการตลาดหรือมีปัญหาด้านต่างๆที่เกี่ยวกับปัญหาการปลูกลำใยขึ้นมา ปัจจุบันเกษตรกรยังได้รับปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูง เนื่องจากปุ๋ยราคาแพงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านต่าง ๆ อีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

“ผมขอให้สมาชิกในสภาฯช่วยกันลงมติรับร่างในวาระที่หนึ่ง เพื่อให้สภาช่วยกันพิจารณาในชั้นกรรมาธิการต่อไป ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกลำไยต้องได้รับแก้ไขจากกฎหมายที่ผมและเพื่อสมาชิกพรรคพลังประชารัฐได้เสนอร่วมกัน”นายนเรศ กล่าวทิ้งท้าย

จากนั้นประธานสภาได้สั่งปิดการประชุม โดยจะมีการพิจารณานำร่างพระราชบัญญัติลำไย พ.ศ. ….ไปพิจารณาต่อด้วยการเปิดให้สมาชิกร่วมอภิปราย ก่อนจะที่ประชุมจะลงมติรับร่างดังกล่าวหรือไม่ ในวันพุธที่ 31 ก.ค.ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กรกฎาคม 2567

“สส.นเรศ”วอนกรมทางหลวง เร่งซ่อมทางหลวงหมายเลข 1088 ช่วงสะพานห้วยแม่เม็ง ประชาชนเดือดร้อนต้นทุนสูงขนส่งสินค้าเกษตรลำบาก

“สส.นเรศ”วอนกรมทางหลวง เร่งซ่อมทางหลวงหมายเลข 1088 ช่วงสะพานห้วยแม่เม็ง ประชาชนเดือดร้อนต้นทุนสูงขนส่งสินค้าเกษตรลำบาก

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงกระทรวงคมนาคม เพื่อขอจัดสรรเร่งรัดงบประมาณ ในการสร้างซ่อมแซมทางหลวงหมายเลข 1088 ตอนสะพานห้วยแม่เม็ง แม่ซา กม.ที่ 77+490 ถึงกม. ที่ 77 +640 อำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเกิดจากความเสียหายการชะล้าง พังทลายจากการเคลื่อนตัวเชิงราบ โดยเกิดความเสียหายตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 2565 ปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ขนส่งสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอแม่แจ่มต้องส่งข้าวโพด ซึ่งต้องใช้รถบรรทุกขนาดขนาดใหญ่

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่เกิน 21 ตัน ไม่สามารถจะผ่านได้ ทำให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นประกอบกับเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางลัดระหว่างอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงอำเภอขุนยวมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน

”ผมขอฝากเร่งรัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย“นายนเรศ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กรกฎาคม 2567

“สส.นเรศ” ต้อนรับ “รมช.อรรถกร”ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว จ.เชียงใหม่ แผนเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งให้ประชาชน

,

“สส.นเรศ” ต้อนรับ “รมช.อรรถกร”ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว จ.เชียงใหม่ แผนเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งให้ประชาชน

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ให้การต้อนรับนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งให้กับประชาชนและพี่น้องเกษตรกร ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีความจำเป็นในการอาศัยน้ำจากลำน้ำแม่วาง

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาประชาชนในภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภค ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งซึ่งมีปริมานน้ำน้อย ส่งผลให้น้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่ช่วงมรสุมลำน้ำแม่วาง จะมีปริมาณน้ำมากและไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสองฝั่งลำน้ำสร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่อง

นายนเรศ ยังกล่าวต่อว่า กรมชลประทาน จึงได้จัดแผนเพื่อการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว เป็นเขื่อนดินแบบ Zone Type มีความยาว 700 เมตร ความสูง 80 เมตร ความกว้าง 9 เมตร มีขีดความสามารถในการกักเก็บถึง 25.42 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งมีอาคารระบายน้ำล้น(Spillway) สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 465.26 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร ในช่วงฤดูฝนประมาณ 38,030 ไร่ และในฤดูแล้งประมาณ 20,000 ไร่“

”โครงการดังกล่าวเมื่อเสร็จสิ้นจะส่งผลให้สามารถเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อการอุปโภคและบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถส่งเสริมอาชีพประมงน้ำจืดให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง รวมทั้งยังสามารถลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน“นายนเรศ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 พฤษภาคม 2567

”สส.นเรศ“ขอ จ.เชียงใหม่หามติร่วมตัดสินเส้นทางชนบทที่4053 อยู่ในความรับผิดชอบของใคร จะได้แก้ไขปัญหาให้ ปชช.ชี้ เป็นอันตรายต่อการสัญจรมาก

,

”สส.นเรศ“ขอ จ.เชียงใหม่หามติร่วมตัดสินเส้นทางชนบทที่4053 อยู่ในความรับผิดชอบของใคร จะได้แก้ไขปัญหาให้ ปชช.ชี้ เป็นอันตรายต่อการสัญจรมาก

นายนเรศ ธำรงศ์ทิพยคุณ สส.เขต 9 จังหวัดเชียงใหม่ พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกฯบริหารส่วนตำบลแม่วินและผู้ใหญ่บ้านบ้านม่อนยะ ถึงถนนเส้นทางชนบทที่4053 เส้นทางระหว่างบ้านม่อนยะ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จนไปถึง บ้านห้วยน้ำจางหมู่6 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมือง กม.ที่ 9.7 ซึ่งทางอบต.ได้ทำหนังสือแจ้งว่า ถนนได้มีความเสียหาย แต่ทางหลวงชนบทได้บอกว่า ได้ถ่ายโอนถนนไปแล้ว

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ต่อมาท้องถิ่นก็ได้ติดต่อไปยัง อบจ.แต่ถนนเส้นดังกล่าวก็ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ อบจ.อีก ตนขอให้จังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หามติร่วมกันว่า ถนนเส้นนี้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เพื่อจะได้เข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่พี่น้องประชาชนต่อไป เพราะสถาพถนนขณะนี้เป็นอันตรายต่อการสัญจรมาก

“ผมยังได้รับการร้องเรียนจากนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลแม่วาง และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านกาด กรณีทางหลวงหมายเลข 1013 ช่ว บ้านกลาง ถึงแม่วิ นกม.ที่ 1-8 ในช่วงหน้าฝน หรือในช่วงฝนตกหนักน้ำ เกิดน้ำนองท่วมถนน พื้นผิวถนนเป็นจำนวนมาก ทำให้พี่น้องซึ่งอยู่สองข้างทางถนนเส้นนี้ ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีทางระบายน้ำ ไม่มีช่องทางที่น้ำจะระบายออกได้ ประกอบกับเป็นอันตรายต่อพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมา จึงขอให้กรมทางหลวงช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อความปลอดภัยของประชาชนด้วย“นายนเรศ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ธันวาคม 2566

“นเรศ สส.เชียงใหม่”วอน กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมสะพานข้ามระหว่างจังหวัด พร้อมขอกรมชล เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดินพังทลายบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม

,

“นเรศ สส.เชียงใหม่”วอน กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมสะพานข้ามระหว่างจังหวัด พร้อมขอกรมชล เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดินพังทลายบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปยังกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เพื่อขอเร่งรัดซ่อมแซมสะพานวังสะแก เพื่อข้ามลำน้ำปิง บนถนนสายทางที่ 302 ตัด108 ได้ทรุดพังลง จำนวน3 ช่วง ระยะทาง 60 เมตร ซึ่งจริงๆ แล้วสะพานตรงนี้ได้รับงบประมาณมาแล้ว และกำลังสรรหาบริษัทเข้ามาซ่อมแซมจำนวนเงิน 40 ล้าน แต่ได้เกิดพังทลายเสียก่อน และสะพานตรงนี้ เป็นสะพานที่ข้ามระหว่างจังหวัด จากตำบลหลวงเต่า ของจังหวัดเชียงใหม่ ไปอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดด้วย เนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ตนขอหารือไปถึงกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงปัญหาการพังทลายของดินบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งได้เกิดการทรุดตัวแล้วพังทลายลง ทำให้น้ำในช่วงไหลหลากได้เข้าท่วมไร่นาของประชาชนเป็นจำนวนทั้งหมด 2000 กว่าไร่ เบื้องต้นตนได้ประสานไปยังกรมชลประทานแล้ว จึงขอให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการ เนื่องจากขณะนี้พี่น้องประชาชนทำเกษตรกรรมไม่ได้เลย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2566

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

,

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายก อบต. ,กำนัน ต.ทุ่งรวงทอง,กำนัน ต.บ้านกาด อ.แม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากน้ำไหลหลากล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.66

นายนเรศ กล่าวว่า โดยหลังจากผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้รับเรื่องแล้ว จึงได้สั่งการให้หัวหน้าฝ่ายงานวิศวกรรม นายช่างชลประทาน หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เลขนานุการนายกเทศมนตรีตำบลแม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเร่งด่วน และแผนระยะยาวพื้นที่ 7 จุด ที่มีปัญหาในลำน้ำแม่วาง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“นเรศ ว่าที่ ส.ส.เชียงใหม่” ฝ่าศึกเลือกตั้ง ปชช.เทเสียงหนุน เชื่อมั่นในผลงาน ลุยสานต่อโครงการสร้างแหล่งน้ำผลักดัน พ.ร.บ.ลำไยแก้ปัญหาราคาตกต่ำ

,

“นเรศ ว่าที่ ส.ส.เชียงใหม่” ฝ่าศึกเลือกตั้ง ปชช.เทเสียงหนุน เชื่อมั่นในผลงาน ลุยสานต่อโครงการสร้างแหล่งน้ำผลักดัน พ.ร.บ.ลำไยแก้ปัญหาราคาตกต่ำ

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 9 จ. เชียงใหม่ กล่าวว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมาตนได้รับคะแนนเสียงจากพี่น้องประชาชน จนสามารถเป็นหนึ่งในว่าที่ ส.ส. พปชร. อีก 1 สมัย จาก 10 เขตในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งเป็นผลมาจากทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในหลายแห่งที่เป็นนโยบายของพรรค โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่มุ่งการแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ จนสามารถมีโครงการแหล่งกักเก็บน้ำให้ประชาชนได้มีน้ำกิน น้ำใช้ เพื่ออุปโภค บริโภคตลอดปีรวมถึงภาคการเกษตร และยังมีโครงการต่อเนื่องที่ต้องสานต่อ อาทิ อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ อ่างเก็บน้ำแม่วาง และโครงการทำน้ำประปา เพื่อประชาชน การจัดหาแหล่งน้ำบาดาล ในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมกับติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอน ซึ่งจะเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่เข้ามาแก้ไขปัญหา เพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนให้กับประชาชนในพื้นที่

นายนเรศ กล่าวต่อว่า เรายังมีแผนที่ต้องเร่งผลักดันในระยะต่อไป ในเรื่องการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะปัญหาราคาลำไย ที่ต้องเผชิญกับราคาตกต่ำในแต่ละปี จำเป็นต้องมีการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.ลำไย เพื่อมาดูแลราคาผลผลิตให้ได้รับความเป็นธรรม เช่นเดียวกับสินค้าเกษตรหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการหารือในพรรค ว่าจะวางแนวทางให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ให้สามารถ ออก พ.ร.บ.เพื่อแก้ปัญหาราคาลำไย ของเกษตรกร 8 จังหวัดของภาคเหนือ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ในฐานะเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหรกรณ์ ได้เข้าร่วมพิจารณาแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำซึ่งเป็นความเดือดร้อนที่เกษตรกรได้รับมาอย่างต่อเนื่อง

“การที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน เนื่องจาก การทำงานที่เห็นผลงานเป็นรูปธรรม และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ทั้ง การหาแหล่งน้ำ แก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการประกอบอาชีพ ของพี่น้องชาวภาคเหนือ ทำให้ผมสามารถฝ่าฟัน สนามการแข่งขันเลือกตั้งใน พื้นที่จ.เชียงใหม่ ที่มีความรุนแรงและเข้มข้นของ สองพรรคใหญ่ จนได้รับชัยชนะ และต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่เชื่อมั่นในการทำงานของตนและพปชร. จากนี้ไป ยังคงมุ่งมั่น พร้อมทำงานอย่างหนัก เพราะบางพื้นที่ยังต้องได้รับการแก้ไข และเยียวยา เพื่อเข้าไปยกระดับคุณภาพชีวิต ของพี่น้องประชาชนให้ดียิ่งขึ้น” นายนเรศ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 พฤษภาคม 2566