โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

“สส.ชนนพัฒฐ์”ฝาก บริษัทใหญ่ ให้โอกาสจ้างงานคนพิการ แทน เอาเงินเข้ากองทุนส่งเสริมชีวิตคนพิการ มอง จ่ายเท่ากันแต่ได้คนทำงานเพิ่ม แถมรายได้ยังถึงมือคนพิการจริง

,

“สส.ชนนพัฒฐ์”ฝาก บริษัทใหญ่ ให้โอกาสจ้างงานคนพิการ แทน เอาเงินเข้ากองทุนส่งเสริมชีวิตคนพิการ มอง จ่ายเท่ากันแต่ได้คนทำงานเพิ่ม แถมรายได้ยังถึงมือคนพิการจริง

นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนได้ต้อนรับเหล่าพี่ๆคนพิการในจังหวัดสงขลาที่มาเยี่ยมเยียน พร้อมมอบเกียรติบัตรที่ตนได้สนับสนุนเสื้อกีฬาไปแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย รวมถึงตนยังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของชมรมคนพิการของจังหวัดสงขลาด้วย จากการพูดคุยและรับฟังปัญหาของคนพิการในวันนี้ ปัญหาหลัก ๆ ก็คือ การหางานทำของคนพิการที่มีเสียงสะท้อนว่า หากยากเหลือเกิน

นายชนนพัฒฐ์ กล่าวต่อว่า จริง ๆ แล้ว ปัญหานี้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 33 ซึ่งกฎกระทรวงแรงงานกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ต้องรับคนพิการที่สามารถทำงานได้ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด โดยสัดส่วนในการรับคนพิการเข้าทำงานคือ ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการ 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน นอกจากนี้ในมาตรา 34 ก็ระบุไว้ว่า นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการคนใดที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามที่กำหนด ให้ทำการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี โดยคำนวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 328 บาท

“ผมจึงอยากจะฝากไปยังถึงบริษัท และ กิจการ ห้างร้านใหญ่ ให้ช่วยพิจารณาคนพิการด้วย นี่คือเสียงสะท้อนเล็กๆ ที่คนพิการอยากให้พวกเราทุก ๆ คนได้ยิน อย่าปฎิเสธพวกเขา หรือคิดว่าเขาจะสร้างภาระให้กับองค์กร เพราะหลาย ๆ คนก็สามารถทำงานได้ไม่แตกต่างจากคนปกติ ผมมองว่า นายจ้างที่จะต้องเอาเงินไปสนับสนุนกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สู้เราเอาค่าแรงขั้นต่ำ 328 บาทต่อวัน เท่ากันมาจ้างคนพิการมาทำงานจะดีกว่าหรือไม่ เพราะเราก็จะได้คนเพิ่ม 1 คน”นายชนนพัฒฐ์ กล่าว

นายชนนพัฒฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการมีเงินสนับสนุนจากภาครัฐเพียงเดือนละ 800 บาทเท่านั้น แต่ถ้าผู้ประกอบการให้โอกาสจ้างพวกเขาทำงาน เขาก็จะได้รับเงินโดยตรง ซึ่งตนมองว่าดีกว่า ทั้งนี้ ขอฝากไปยังผู้ใหญ่ของบ้านให้สนับสนุนและเล็งเห็นความสำคัญของคนพิการ ทั้งนี้ ตนขอให้ จังหวัดสงขลาเป็นจุดเริ่มต้นในการจ้างงานคนพิการ รวมถึงขอฝากให้ บริษัทห้างร้านทั่วประเทศพิจารณาให้โอกาสคนพิการได้มีอาชีพอีกครั้งด้วย

ด้านตัวแทนชมรมคนพิการ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า พวกเราอยากจะให้ผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ร่วมมือกันจ้างงานคนพิการทุกบริษัท ซึ่งดีกว่าการส่งเงินเข้ากองทุน เพราะจะได้กลับมาในจังหวัดน้อยมาก แต่การจ้างคนพิการ ทุกบาท ทุกสตางค์ ทำให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตแบบมีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ รวมถึงคนพิการก็จะเกิดความภูมิใจว่า เขาสามารถเปลี่ยนจากภาระมาเป็นพลังของสังคม สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ ทั้งนี้ อย่ามองว่าการทำงานของคนพิการเป็นเพียงแค่การสงเคราะห์ แต่คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพในการทำงานได้ หลาย ๆ คนที่ตนดูแล เมื่อได้รับโอกาสจากนายจ้าง ก็สามารถทำงานได้ดีด้วย

“ชมรมคนพิการของจังหวัดสงขลาได้มีการจัดตั้งศูนย์หางานของคนพิการมากกว่า 9 ปี แล้ว ดังนั้นทางผู้ประกอบการจึงไม่ต้องกังวลว่า การจ้างคนพิการจะเจอความยากลำบาก เพราะทุกคนต้องเตรียมตัวที่จะทำงานอีกทั้งรายชื่อของบุคคลพิการที่ลงทะเบียนกันเอาไว้ ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็ได้จัดอบรมให้กับคนพิการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สถานประกอบการและการสร้างอาชีพต่าง ๆ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 สิงหาคม 2567

”สส.สะถิระ“จับมือสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดชลบุรี จัดโครงการบริการทำหมันสุนัขและแมว ฟรี 100 ตัว แก้ปัญหาหมาแมวจรจัด พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

,

”สส.สะถิระ“จับมือสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดชลบุรี จัดโครงการบริการทำหมันสุนัขและแมว ฟรี 100 ตัว แก้ปัญหาหมาแมวจรจัด พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ สส.ชลบุรีพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสัตหีบ เพื่อจัดโครงการบริการทำหมันสุนัข แมว ฟรีจำนวน 100 ตัว รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามบ้านเรือนประชาชนอีก 500 ตัว โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากจำนวนหมาแมวจรจัด และเพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างถูกต้อง

“ผมต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่จากปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี นำโดยนายสัตวแพทย์ชำนาญการ พิชญา วีรพันธุ์ ปศุสัตว์อำเภอสัตหีบ และเจ้าหน้าที่ออกหน่วยมาให้บริการฉีดวัคซีนทำหมันสุนัขและแมวให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ อำเภอสัตหีบ รวมถึง นายสมประสงค์ วังแก้วหิรัญ ผู้ช่วย สส.,พ.จ.อ.วิษณุ โตสมบัติ ผู้ใหญ่บ้าน และคณะทำงาน ตลอดจน กำลังพลเจ้าหน้าที่ทหารเรือ ที่ร่วมอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและทีมสัตวแพทย์ในการนำสุนัขและแมวมารับบริการ“นายสะถิระ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 สิงหาคม 2567

“สส.รัชนี”ขอ ”รมว.ธรรมนัส“เร่งรัดงบก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 2 จุดใน จ.ร้อยเอ็ด เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

,

“สส.รัชนี”ขอ ”รมว.ธรรมนัส“เร่งรัดงบก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 2 จุดใน จ.ร้อยเอ็ด เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
โดยในพื้นที่เขตเลือกตั้งของตน มีลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่านคือ ลำน้ำยัง และลำห้วยแดง ซึ่งลำน้ำยังนั้นมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพานน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งในฤดูฝน จะมีน้ำจำนวนเยอะมาก ทำให้เอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือน และไร่นาสวนของเกษตรกรได้รับความเสียหายมากเป็นประจำทุกปี

นางรัชนี กล่าวต่อว่า แต่หลังการเก็บเกี่ยว และช่วงฤดูแล้ง พี่น้องประชาชนและเกษตรกร ก็มีความต้องการน้ำจากลำห้วย เพื่อปลูกข้าวโพด,มันสำปะหลัง,อ้อย,ผักสวนครัว และพืชผลต่างๆ เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการประมง จึงมีความประสงค์ที่จะให้กรมชลประทานก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ที่จุดวังหิน บ้านกุดแห่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโนนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จากลำห้วยแดง จุดบ้านหนองโน ตำบลชมสะอาด อำเภอ เมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่ง 2 จุดนี้ ทางชลประทานได้สำรวจความเหมาะสมและประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ
เรียบร้อยแล้ว แต่ยังขาดงบประมาณในการดำเนินการ

“ดิฉันจึงขอหารือท่านประธาน ผ่านไปยังรัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีความเข้าใจ และใส่ใจปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนและเกษตรกรเป็นหลักอยู่แล้ว เพื่อให้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 สิงหาคม 2567

รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่สมุทรสาคร รับข้อเสนอ 9 มาตรการ จากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

,

รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่สมุทรสาคร รับข้อเสนอ 9 มาตรการ จากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น.ของวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยมี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชัยวัฒน์ ตุนทกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร และผู้แทนสมาคมการประมงจาก 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ เข้าร่วม ณ สมาคมการประมงสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับข้อเสนอจากสมาคมใน 9 มาตรการ ประกอบด้วย 1.กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ,2.ออกประกาศให้มีการผ่อนผันเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการใช้จับปลาหมอคางดำได้ในแหล่งน้ำสาธารณะตามความจำเป็น, 3.ให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนที่แหล่งน้ำสาธารณะ รวมถึงพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีปลาหมอคางดำระบาดอยู่ เพื่อใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเป็นระบบ, 4.ให้รับลงทะเบียนเรือประมง ชาวประมง ที่จะมาเข้าร่วมโครงการกำจัดปลาหมอคางดำ,5.รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเร่งด่วนสนับสนุนในการกำจัดปลาหมอคางดำ ให้กับชาวประมง,6.ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในแต่ละจังหวัด,7.เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แจ้งข้อมูลการระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่เพาะเลี้ยงต่อคณะทำงานฯเพื่อการกำจัดปลาหมอคางดำ,8.จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจรับแจ้งข้อมูลการระบาดของปลาหมอคางดำ เพื่อประสานคณะทำงานฯ ดำเนินการกำจัดโดยเร่งด่วน และ 9.พื้นที่ไหนที่ได้มีการกำจัดปลาหมอคางดำจนเหลือน้อยแล้ว ให้เริ่มปล่อยปลานักล่าตัวใหญ่จำนวนมากพอลงไปใน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง เพื่อให้ปลานักล่ากินลูกปลาหมอคางดำเพื่อตัดวงจรชีวิตปลาหมอคางดำให้หมดไปโดยเร็วหลังจากนั้น ให้มีการส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์วิทยา ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบทั้ง 9 มาตรการ และได้มอบหมายกรมประมงนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยได้มอบหมาย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ พร้อมนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเป็นวาระแห่งชาติต่อไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงได้มีการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวฯ เป็นการเร่งด่วนผ่าน 5 มาตรการสำคัญ คือ 1) การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด 2) การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง 3) การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดได้ไปใช้ประโยชน์ 4) การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน และ 5) การสร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ นอกจากนี้ ยังบูรณาการร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินในการนำปลาหมอคางดำที่จับขึ้นมาได้ไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ และประสานความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ระบาดทุกแห่ง ซึ่งขณะนี้กรมประมงได้มีการรวบรวมแพปลาที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) กับกรมประมง ในพื้นที่ที่มีการระบาด 14 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมทั้งสิ้น 49 จุด สำหรับพิจารณาจัดตั้งเป็นจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ โดยการันตีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนรวบรวมปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ไปให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทยนำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางกว่า 200,000 ไร่ โดยจะเริ่มเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นี้ เป็นต้นไป

ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีรายงานการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นพื้นที่แรกและมีการระบาดมากที่สุด จึงได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม 5 มาตรการสำคัญ จนสามารถกำจัดปลาหมอคางดำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานปลาป่นและผู้ประกอบการเกี่ยวเนื่องได้มากกว่า 500 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดมากที่สุด กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงจึงได้มีการนำร่องจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ทั้งหมด 5 จุด ประกอบด้วย 1) แพธนูทอง โทร. 0804646479 2) แพนางจารุจันทร์ จารวิไพบูลย์ (แพมิตร) โทร. 0873647298 3) นายชัยพร กรุดทอง (บอย) โทร. 0626585323 4) นายเฉลิมพล เกิดปั้น โทร. 0871714414 และ 5. แพนายวิชาญ เหล็กดี โทร. 0971950564

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และคณะ ยังได้เดินทางไปที่ แพนายวิชาญ เหล็กดี ซึ่งเป็นสถานที่รับซื้อปลาหมอคางดำ นำส่งไปยังโรงงานปลาป่น ศิริแสงอารำพี โดยเข้าลงไปดูวิธีการนำปลาหมอคางดำขึ้นจากเรือ ไปยังแพด้านบนแล้วขึ้นรถไปส่งบริษัทผู้ผลิตปลาป่น อีกทั้งยังได้เยี่ยมชมการสาธิตกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำโดยสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาครได้มีการประสานในการรับซื้อปลาหมอคางดำสำหรับผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจนสูง) จำนวน 4,000 ลิตร โดยได้แจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ กลุ่มหมอดินอาสา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก ฝรั่ง ลำไย มะพร้าวน้ำหอม และพลู คิดเป็นพื้นที่ได้รับประโยชน์รวมกว่า 533 ไร่ อีกด้วย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งเสนอปัญหาดังกล่าวเข้าเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมต่างๆ ด้านประมง ร่วมเป็นคณะกรรมการในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ นอกจากนี้ยังเตรียมหารือการประกาศเขตภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสำหรับผู้ใดที่ฝ่าฝืนทำการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ จะถูกดำเนินคดีตามมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ตามประกาศกรมประมง เรื่องประชาสัมพันธ์ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากนำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร้อยเอกธรรมนัส ยังกล่าวอีกด้วยว่า สำหรับวันนี้เป็นการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ ตัวแทนของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และตัวแทนชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ 16 จังหวัด ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องระดมแนวทางในการแก้ไข โดยเบื้องต้นข้อเรียกร้องระยะเร่งด่วนจากตัวแทนชาวประมงก็มีอยู่ด้วยกัน 9 ข้อ ซึ่งทางเราก็ได้เห็นชอบกับข้อเสนอทั้ง 9 ข้อแล้ว จากนี้กรมประมงก็จะนำไปหารือกับกรมบัญชีกลาง โดยต้องใช้ระยะเวลาให้สั้นที่สุด เพื่อนำไปสู่การออกประกาศให้พี่น้องชาวประมงสามารถปฏิบัติได้

ที่มา: https://sanamkaw.com/archives/78594
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

“รมว.ธรรมนัส” มอบหมาย “รมช.อรรถกร” เร่งกรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินรับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง หนุนชาวนาเข้าถึงข้อมูลวางแผนเพาะปลูกแม่นยำเพิ่มรายได้-ลดต้นทุนตามนโยบายรัฐ

,

“รมว.ธรรมนัส” มอบหมาย “รมช.อรรถกร” เร่งกรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินรับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง
หนุนชาวนาเข้าถึงข้อมูลวางแผนเพาะปลูกแม่นยำเพิ่มรายได้-ลดต้นทุนตามนโยบายรัฐ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้จัดประชุม vdo conference ร่วมกับ จนท กรมพัฒนาที่ดินทั่วประเทศให้เตรียมตัวสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยได้เร่งรัดให้กรมพัฒนาที่ดิน จัดเก็บผลวิเคราะห์ดินทั่วประเทศ ใช้กลไกของอาสาหมอดินที่มีอยู่ใน 77 จังหวัด ทำการรวบรวมฐานข้อมูลคุณภาพดินในการเพาะปลูกของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งหมด ที่จะนำไปสู่การวางแผนการเพาะปลูกที่เหมาะสม กับชนิดปุ๋ยในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สามารถวางแผนต้นทุนการเพาะปลูกข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนมาตรการ”ปุ๋ยคนละครึ่ง” ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆนี้

“การจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพดินทั่วประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อให้ใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับคุณภาพดินในแต่ละพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาพบว่าการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น สร้างภาระต้นทุนให้กับพี่น้องเกตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขณะนี้ราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น หากยิ่งใช้เกินความจำเป็นทำให้เกษตรกรขาดทุนในการเพาะปลูก ดังนั้นโครงการดังกล่าว ถือเป็นภาระกิจหลักตามนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกะทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีแผนการพัฒนาภาคเกษตร มีการวางแผนการเพาะปลูกแบบแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่า ภายในระยะเวลา 4 ปี เป็นแนวทางของการสร้างความมั่นคงในอาชีพ ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 มิถุนายน 2567

‘รมว.ธรรมนัส’ เผยจัดสรรงบปี 68 ย้ำแก้ปัญหาภาคเกษตรตรงจุดภายใต้งบจำกัด มุ่งสร้างความเข้มแข็งสินค้าเกษตรเตรียมเปิดตลาดส่งออกโคเนื้อเข้าซาอุฯครั้งแรก

,

‘รมว.ธรรมนัส’ เผยจัดสรรงบปี 68 ย้ำแก้ปัญหาภาคเกษตรตรงจุดภายใต้งบจำกัด
มุ่งสร้างความเข้มแข็งสินค้าเกษตรเตรียมเปิดตลาดส่งออกโคเนื้อเข้าซาอุฯครั้งแรก

วันนี้ (21 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงว่า งบประมาณของกระทรวงเพื่อดูแลประชากรทั้งสิ้น 30 ล้านคน แต่ได้งบประมาณ 125,882.1283 ล้านบาท ภายใต้ข้อข้อกำจัด ของบประมาณแผ่นดิน ซึ่งต้องยอมรับว่าเรามีงบประมาณเท่านี้ จึงต้องแบ่งคัดสรร ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด และต้องดูภาพปัญหาเกษตรกรส่วนใหญ่คืออะไร เพื่อนำปัญหาที่พบ มาวางแผน ในการจัดงบประมาณ แต่ด้วยกรอบระยะเวลา ไม่สามารถใส่ในแผนของหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องน้ำได้ กรมชลประทานถือเป็นหน่วยงานภาคปฏิบัติ ในการนำนโยบายการบริหารจัดการน้ำไปพัฒนาโครงการพื้นที่ ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่เพียง 60.29 ล้านไร่ ที่เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่ชลประทาน

ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวว่า ดังนั้นการแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีกับยุคสมัย ต้องแก้ไขท่ีกฎหมายก่อน เพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจึงต้องแบ่งเกษตรกรเป็นกลุ่ม ๆ จะใส่ไปแบบเหมารวมหรือตัดเสื้อโหลไม่ได้เด็ดขาด พี่น้องเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งต้องส่งเสริมให้สร้างสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ และส่งเสริมการส่งออกโดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐ รัฐจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องการส่งออก ส่วนเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งปานกลาง ก็จะเน้นการส่งเสริมใช้นวัตกรรมการแปรรูป และต้องมีตลาดที่นำสินค้าไปขาย และต้องยอมรับว่า ความแปรปรวนทางสภาพอากาศ ส่งผลต่อเกษตรกรกลุ่มเปราะบาง ต้องจำแนกกลุ่มนี้ออก และไปส่งเสริมให้ฟื้นฟูทำการเกษตรในระดับกลางให้ได้

ภาคการเกษตรมีปัญหามากมายที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน รัฐบาลที่แล้วพยายามแก้ไข แต่แก้ไม่ได้ โดยรัฐบาลนี้ใช้เวลาไม่กี่เดือนก็สามารถปรับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นได้ ราคาข้าวก็ดีขึ้น ราคายางพาราก็ดีขึ้น ซึ่งเป็นความหวังของคนไทย

ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่า ส่วนการส่งออกโคเนื้อไปประเทศซาอุดีอาระเบีย นับเป็นความสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยตอบรับการนำเข้าโคเนื้อไปได้ ซึ่งกำลังหารือว่าส่งทางเรือ จะต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว และตนเองก็มีกำหนดการเดินทางไปที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อไปบันทึกข้อตกลงในเรื่องนี้ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน เราจะสามารถส่งโคมีชีวิตไปยังประเทศตะวันออกกลาง โดยเริ่มต้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย รวมถึงมีการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับโคเนื้อ ทั้งเวียดนาม มาเลเซีย ลาว และกัมพูชา โดยได้รับความร่วมมือจากกรมศุลกากร ให้ขยายเวลาในการเปิดด่านเพื่อส่งสินค้า

สำหรับงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีนที่ใช้ในภาคปศุสัตว์มี 2 ประเภท คือ เชื้อเป็น กับเชื้อตาย ที่เราจัดตั้งการของบประมาณที่ซื้อวัคซีนเชื้อเป็นจากต่างประเทศขอไป 5 ล้านโดส แต่ได้รับเพียง 2 ล้านกว่าโดส เมื่อเห็นว่างบประมาณมีจำนวนจำกัด เราก็น้อมรับ เพื่อทำให้สัตว์ปลอดโรค และขณะนี้เรากำลังพัฒนาวัคซีนแบบเชื้อเป็นในประเทศ

ส่วนจำนวนโคผู้เลี้ยงโคนมลดลงเกิดจากปัญหาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ทำให้พี่น้องเกษตรกรกลุ่มที่ยังไม่แข็งแรง ล้มเลิก เนื่องจากการติดเชื้อเหล่านี้ เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งเราจะต้องกำจัดปัญหาเหล่านี้ให้สิ้นซาก

“เราจะสร้างความเข้มแข็งโดยเพิ่มรายได้ภายในปี 70 ให้เป็น 3 เท่า ตามที่รัฐบาลได้วางเป้าเอาไว้ ภายใต้รัฐบาลที่ขับเคลื่อน และภายใต้การตรวจสอบของฝ่ายค้านเป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องทำงานแบบไตร่ตรองให้ดี ทำงานให้จริงจัง ใส่ใจต่อพี่น้องเกษตรกร” ร้อยเอกธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 มิถุนายน 2567

“รมว.ธรรมนัส-รมช.อรรถกร“ ชัยลงพื้นที่จ.ชัยภูมิ พบเกษตรกรและปชช.มุ่ง แก้ไขปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน พร้อมมอบโฉนดเพื่อการเกษตร สร้างอาชีพมั่นคง

“รมว.ธรรมนัส-รมช.อรรถกร“ ชัยลงพื้นที่จ.ชัยภูมิ พบเกษตรกรและปชช.มุ่ง แก้ไขปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน พร้อมมอบโฉนดเพื่อการเกษตร สร้างอาชีพมั่นคง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหวจ.ชัยภูมิ ซึ่งการก่อสร้างโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ท้ายน้ำ มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง9 ปี (พ.ศ. 2562 – 2570) หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามลำน้ำชี ตั้งแต่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จนถึงจุดบรรจบลำน้ำพองในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่รับประโยชน์ ช่วงฤดูฝน 75,000 ไร่ และฤดูแล้ง 30,000 ไร่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเวรคืน ได้มอบหมายกรมชลประทานให้ตรวจสอบรายชื่อและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2569 นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมมอบโฉนดเพื่อการเกษตร กรรมสิทธิ์สัตว์โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืชผักและสารชีวภัณฑ์ พันธุ์หม่อนใบรับรอง GAP และโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานให้กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ ได้รับฟังแนวทางพัฒนาบึงละหานทั้งระบบ ณบึงละหาน (บ้านมะเกลือ) ต.บ้านกอก เนื่องจากบึงละหานเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ไม่มีระบบกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง น้ำในบึงจึงลดลงมากจนมีสภาพตื้นเขินปกคลุมไปด้วยวัชพืช ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มความจุ และในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำเอ่อล้น ทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรบริเวณรอบบึงละหาน ซึ่งกรมชลประทานได้มีโครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำบึงละหาน โดยมีแผนดำเนินการพัฒนาในระยะเร่งด่วน ได้แก่ 1) โครงการแก้มลิงบึงละหาน (ระยะที่ 1) พร้อมอาคารประกอบ พื้นที่ประมาณ 870 ไร่ 2) โครงการเพิ่มระดับเก็บกักสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตรและ 3) โครงการปรับปรุงทำนบดินรอบบึงละหานพร้อมอาคารประกอบ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความจุเก็บกัก ประมาณ 12 ล้าน ลบ.ม. และมีพื้นที่รับประโยชน์เพิ่ม ประมาณ 12,000 ไร่

สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ ระยะที่ 1 กรมชลประทานได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำลำปะทาวและห้วยยางบ่า เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 ปี (พ.ศ. 2562 – 2569) มีการก่อสร้างคลองผันน้ำลำปะทาว-สระเทวดาความยาว 8.45 กม. ประตูระบายน้ำปากคลองลำปะทาว-สระเทวดา ประตูระบายน้ำหนองใหญ่ (ประตูระบายน้ำกลางคลอง) และประตูระบายน้ำราชพฤกษ์(ประตูระบายน้ำกลางคลอง) ดำเนินการแล้วเสร็จกว่า54% หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถผันน้ำหลากส่วนเกินไม่ให้ท่วมเมืองชัยภูมิ ผันน้ำจากลำปะทาวผ่านคลองผันน้ำ ส่งช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกบริเวณโครงการ ทำให้มีพื้นที่รับประโยชน์ 5,700 ไร่
นอกจากนี้ กรมชลประทานยังมีการเตรียมความพร้อมโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ระยะที่ 1 เพิ่มเติม โดยมีแผนก่อสร้างสะพานรถยนต์ทางหลวงหมายเลข 202 ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำห้วยดินแดงและอาคารประกอบ ประตูระบายน้ำลำชีลอง-ห้วยกอก โครงการปรับปรุงคันดินสระเทวดาพร้อมอาคารประกอบ และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักและการส่งน้ำ พนังกั้นน้ำกุดสวง-ห้วยเสียวหากสามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิอย่างยั่งยืนโดยรวมผลประโยชน์ด้านบรรเทาอุทกภัยประเมินผลประโยชน์จากการลดความเสียหายด้านการเกษตรเนื่องจากน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก การลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันน้ำท่วม การลดความเสียหายของอาคารบ้านเรือนและทรัพย์สิน อีกทั้งจะมีพื้นที่รับประโยชน์18,610 ไร่ ช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมนาข้าวบริเวณด้านทิศใต้ของเมืองชัยภูมิ เฉลี่ยปีละประมาณ20,000 ไร่ และคันคลองสามารถใช้เป็นทางสัญจรและลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียงได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 มิถุนายน 2567

“รมว.ธรรมนัส” ลงสุราษฎร์ ลุยแก้ราคาปาล์ม สั่งตั้งกก.รักษาเสถียรภาพราคา เล็งขึ้นทะเบียนลานเท ยกสร้างมาตรฐานโรงสกัดทุกแห่ง ให้มีมาตรฐานเดียวกัน มุ่งแก้ปัญหายั่งยืน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงสุราษฎร์ ลุยแก้ราคาปาล์ม สั่งตั้งกก.รักษาเสถียรภาพราคา เล็งขึ้นทะเบียนลานเท ยกสร้างมาตรฐานโรงสกัดทุกแห่ง ให้มีมาตรฐานเดียวกัน มุ่งแก้ปัญหายั่งยืน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานี ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนปาล์ม 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมว่า ขณะนี้ เกษตรกรชาวสวนปาล์ม ประสบปัญหาความเดือดร้อนราคาปาล์มตกต่ำ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน ทำงานร่วมกันในการเร่งหามาตรการแก้ไข ซึ่งจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 27 พ.ค.67 ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมได้กำหนด 6 แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำเพื่อช่วยเหลือชาวสวนปาล์มน้ำมันแล้ว

ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าวอีกว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อต้องการรับฟังปัญหาและรับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขจากชาวสวนปาล์มอย่างแท้จริง ซึ่งตนได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ภาคเอกชน ภาคประชาชน ผู้แทนเกษตรกร ผู้ประกอบการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายความมั่นคง เข้ามาร่วมด้วย และจะหารือนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด ให้มีการขึ้นทะเบียนลานเท โรงสกัดน้ำมันไบโอดีเซล โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ตลอดจนให้มีหน่วยงานตรวจวัดคุณภาพปาล์ม เปอร์เซ็นการสกัด (OER : Oil Extraction Rate) เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้งเกษตรกร และผู้ประกอบการ ต้องมีความชัดเจน น่าเชื่อถือ เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะต้องแก้ปัญหาโครงการสร้างราคาปาล์มน้ำมันนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรมทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำทุกปี นอกจากนี้ จะใช้กลไกของสหกรณ์เข้ามาช่วยเหลือ เช่น ชะลอการขายปาล์มน้ำมันโดยเก็บสต็อก หรือใช้โรงสกัดของสหกรณ์ เข้ามาช่วยเป็นต้น

สำหรับกรณีที่มีการลักลอบนำเข้าปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้มีชุดปฏิบัติการพิเศษพญานาคราช ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจัง

“จากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพี่น้องผมจะสรุปข้อมูลทั้งหมดรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ และฝากถึงพี่น้องชาวสวนปาล์ม ขอให้มั่นใจในแนวทางทั้ง 6 ข้อที่รัฐบาลได้ออกมาซึ่งต้องดำเนินควบคู่กันไป เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ มั่นใจว่าราคาปาล์มต้องดีขึ้น ซึ่งวันนี้ราคาปาล์มขยับขึ้นจากเดิม 3.50 บาท เป็น 4.50 ตามที่กรมการค้าภายใน ได้ออกหนังสือเมื่อวันที่ 28 พ.ค.67 โดยขอให้ผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ปรับราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมัน โดยรับซื้อในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 4.50 บาท“ ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 มิถุนายน 2567

ราคาปาล์มน้ำมันโงหัว เด้งรับ “ธรรมนัส” ลงพื้นที่ สุราษฎร์ฯ

,

ชาวสวนเฮ ลั่น ราคาปาล์มบวกแรง เด้งรับ “ธรรมนัส” ลงพื้นที่สุราษฎร์ โรงสกัดภาคใต้พร้อมใจยกราคาทุกจังหวัด 10 สตางค์- 70 สตางค์ต่อกิโลกรัม ครั้งแรกในรอบ 15 วัน

จากสถานการณ์ราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ มีผลให้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีแหล่งปลูกยางแหล่งใหญ่ของประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาจากเกษตรกร และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายในการร่วมกันแก้ปัญหาต่อไป จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ มีกระแสตอบรับที่ดี ราคาผลปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกทางภาคใต้แทบทุกจังหวัดปรับขึ้นยกแผง

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานี ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนปาล์ม 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมว่า

ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนปาล์ม ประสบปัญหาความเดือดร้อนราคาปาล์มตกต่ำ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน ทำงานร่วมกันในการเร่งหามาตรการแก้ไข ซึ่งจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ)เมื่อวันที่ 27 พ.ค.67 ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมได้กำหนด 6 แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำเพื่อช่วยเหลือชาวสวนปาล์มน้ำมันแล้ว

การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อต้องการรับฟังปัญหาและรับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขจากชาวสวนปาล์มอย่างแท้จริง ซึ่งตนได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ภาคเอกชน ภาคประชาชน ผู้แทนเกษตรกร ผู้ประกอบการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายความมั่นคง เข้ามาร่วมด้วย และจะหารือกับนายกรัฐมนตรี ในการทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด ให้มีการขึ้นทะเบียนลานเท โรงสกัดน้ำมันไบโอดีเซล โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ

ตลอดจนให้มีหน่วยงานตรวจวัดคุณภาพปาล์ม เปอร์เซ็นต์การสกัด (OER : Oil Extraction Rate) เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้งเกษตรกร และผู้ประกอบการ ต้องมีความชัดเจน น่าเชื่อถือ เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะต้องแก้ปัญหาโครงการสร้างราคาปาล์มน้ำมันนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรมทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำทุกปี นอกจากนี้ จะใช้กลไกของสหกรณ์เข้ามาช่วยเหลือ เช่น ชะลอการขายปาล์มน้ำมันโดยเก็บสต๊อก หรือใช้โรงสกัดน้ำมันปาล์มของสหกรณ์เข้ามาช่วย เป็นต้น

แหล่งข่าวจากชาวสวนปาล์ม เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สถานการณ์ราคาปาล์มที่ปรับขึ้น ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร บางโรงงาน บางลานเทก็ยังปิดอยู่ ซึ่งการยกราคาพร้อมใจวันนี้ของโรงสกัด โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม อาจจะไม่ใช่กลไกธรรมชาติ อาจจะมีแรงส่งเพื่อเอาใจนักการเมืองเวลามาลงพื้นที่ อย่างไรก็ดีอยากให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างจริงจังถึงการปรับตัวลดลงของราคาปาล์มในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ราคา 6.40 บาท/กิโลกรัม เวลานี้เหลือระดับราคา 3 บาท ใครจะรับผิดชอบ

“ราคาปาล์มทะลายสดของพี่น้องเกษตรกรต้องสอดคล้องสมดุลกับราคาน้ำมันปาล์มที่บรรจุขวดขาย ไม่ใช่มาถูกกดราคา เพื่อให้ต้นทุนต่ำ แล้วนายทุนรวยเอา ๆ แต่ชาวสวนจนลง ๆ ไม่ถูกต้อง และจากราคาที่ประกาศจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดก็ไม่แน่ใจว่าลานปาล์ม และโรงสกัดน้ำมันปาล์มจะรับซื้อตามราคาประกาศหรือไม่ และที่สำคัญอาจจะขึ้นวันเดียว เนื่องจากยังมีลานเท โรงงานปิดกันอยู่ ”

สำหรับราคาผลปาล์ม ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ขยับอยู่ในแดนบวก 10 สตางค์- 70 สตางค์ ครั้งแรกในรอบ 15 วัน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดตรัง

จังหวัดกระบี่

นครศรีธรรมราช

ที่มา: https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/597321
วันที่: 30 พฤษภาคม 2567

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝาย จ.ลำปาง เร่งชลประทานตรวจสอบระบบกระจายน้ำส่งถึงพื้นที่เกษตรกรรม

,

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝาย จ.ลำปาง เร่งชลประทานตรวจสอบระบบกระจายน้ำส่งถึงพื้นที่เกษตรกรรม

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ พร้อมมอบนโยบายด้านการเกษตรให้กับจังหวัดลำปาง โดยมี นายนวนิตย์ พลเคน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพัชระ สิมะเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เพื่อรับฟังปัญหาด้านการเกษตร และการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงมอบโฉนดเพื่อการเกษตรให้กับเกษตรกร จำนวน 200 ราย

“เนื่องจากลำปางเป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้จึงลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝายในตำบลปกยางคก อำเภอห้างฉัตร และตำบลนายาง อำเภอสบปราบ เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรมีน้ำใช้ให้เพียงพอ รวมถึงมารับฟังปัญหาของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำปาง หากปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีจะรีบสั่งการ แต่หากปัญหาใดที่ต้องร่วมกันแก้ไขหลายฝ่ายจะประสานหน่วยงานอื่นบูรณาการร่วมกันต่อไป”รมว.ธรรมนัส กล่าว

หลังจากนั้น รมว.ธรรมนัสเดินทางไปต่อที่คลองส่งน้ำที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างของโครงการ-กิ่วคอหมา ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่ก่อสร้างระบบส่งน้ำกิ่วลม 3 ระยะ 3 (โครงการกิ่วคอหมา) โดยมอบหมายให้กรมชลประทาน (ชป.) ดูแลการก่อสร้างให้เสร็จสิ้นภายในปี 2569 หรือเร็วที่สุดภายใน 15 เดือน รวมถึงให้ตรวจสอบระบบส่งน้ำในจังหวัดลำปางให้มีน้ำส่งทั่วถึงพื้นที่ทำเกษตรกรรมในช่วงหน้าแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนและเกษตรกรให้มีน้ำใช้ตลอดปี

สำหรับช่วงบ่าย รมว.ธรรมนัส เดินทางลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมโครงการฝายแม่วังบ้านไร่-บ้านใหม่พัฒนา ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ซึ่ง ชป. ได้ศึกษา สำรวจ และออกแบบฝายขนาดความยาว 150 ซม. ความสูง 350 ซม. ผลประโยชน์ที่จะได้รับครอบคลุมพื้นที่ 8 หมู่บ้าน 2 ตำบล ทั้งนี้ รมว.ธรรมนัส ได้สั่งการให้ ชป. ทำอนุมัติของบประมาณใช้เงินเหลือจ่ายปี 2567 และเร่งสร้างฝายทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567

“รมว.ธรรมนัส-รมช.อรรถกร” ลงพื้นที่เมืองโอ่ง พัฒนาแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้งลุ่มน้ำลำภาชี

,

“รมว.ธรรมนัส-รมช.อรรถกร” ลงพื้นที่เมืองโอ่ง พัฒนาแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้งลุ่มน้ำลำภาชี

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของพี่น้องเกษตรกร สภาพปัญหาภัยแล้งและการพังทลายของตลิ่ง รวมถึงแนวทางการพัฒนาท้องที่ โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ เกษตรกร และประชาชน เข้าร่วม ณ ศาลาประชุม (บ้านเก่ากะเหรี่ยง) ต.บ้านทับตะโก อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน มีแผนพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำลำภาชี โดยมีโครงการอาคารทดน้ำบ้านท่าครูเทียนพร้อมระบบส่งน้ำ ต.ด่านทับตะโก อ.จอมบึงจ.ราชบุรี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในพื้นที่ จากปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วมกัดเซาะตลิ่งพังในช่วงฤดูน้ำหลาก
ปัจจุบันกรมชลประทานได้ดำเนินการออกแบบและจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมแล้ว หากดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถเก็บกักน้ำและยกระดับน้ำในแม่น้ำลำภาชี เพื่อส่งเข้าระบบชลประทานให้ชาวบ้านในพื้นที่กว่า 80 ครัวเรือนได้ใช้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง มีพื้นที่ชลประทานได้รับประโยชน์กว่าอีก 3,600 ไร่นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ริมตลิ่งได้อีกด้วย
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการทำนบดินพุส้มป่อย พร้อมอาคารประกอบ และพบปะรับฟังปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ ณสำนักงานเทศบาลทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี โดยโครงการทำนบดินพุส้มป่อย พร้อมอาคารประกอบ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน มีความจุที่ระดับน้ำเก็บกัก100,000 ลบ.ม. พร้อมระบบส่งน้ำ และอาคารบังคับน้ำลงสระเก็บน้ำ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนชาวตำบลทุ่งหลวง ที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตชลประทาน และไม่มีแหล่งเก็บน้ำสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง หากโครงการฯ แล้วเสร็จ จะสามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ 11 ตำบลทุ่งหลวง สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้เพิ่มขึ้นประมาณ 200 ไร่ และยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อให้เทศบาลตำบลทุ่งหลวงจัดทำระบบน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2567

“สส.สุธรรม”เผย โครงการประตูระบายน้ำควนกรด พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ อยู่ในงบประมาณปี 67 แล้ว เชื่อเมื่อสร้างเสร็จจะบรรเทาความเดือดร้อนของ ปชช.ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

, ,

“สส.สุธรรม”เผย โครงการประตูระบายน้ำควนกรด พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ อยู่ในงบประมาณปี 67 แล้ว เชื่อเมื่อสร้างเสร็จจะบรรเทาความเดือดร้อนของ ปชช.ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงควาทคืบหน้าของโครงการประตูระบายน้ำและอ่างเก็บน้ำ ต.ควนกรด อ.ทุ่งสงฯ ว่า จากการที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้นำท้องถิ่น และรับฟังประเด็นปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ ณ วัดทุ่งส้าน ต.นาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ติดตามการโครงการประตูระบายน้ำควนกรด พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ล่าสุด กรมชลประทาน ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และบรรจุลงในแผนงบประมาณปี 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า ร.อ.ธรรมนัส ยังสั่งการให้มีการวางแผนขุดลอกแก้มลิง เพื่อเป็นการชะลอน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ และเป็นพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ บ้านนาขี้เป็ด หมู่ที่ 3 ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสามารถกักเก็บน้ำและส่งน้ำได้ประมาณ 1.3 ลบ.ม. ต่อปี และช่วยเพิ่มการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก พื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 4,500 ไร่ และบรรเทาอุกภัยในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงและบริเวณใกล้เคียงไม่น้อยกว่า 10,000 ครัวเรือน และยังเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของราษฎรอีกด้วย

ในส่วนของพื้นที่บริเวณสามแยกตลาดนัดที่วัง เกิดอุบัติเหตุรุนแรงบ่อยครั้งนั้น นายสุธรรม กล่าวว่า ตนได้นำปัญหาดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมสภาฯ เพื่อขอ สัญญาณไฟจราจร ตั้งแต่ในวันแรกที่ตนมีโอกาสพูดในสภาฯ แล้ว แต่ขอให้พี่น้องประชาชนรออีกนิดเดียว เพราะสัญญาณไฟจราจรนี้อยู่ในงบประมาณปี 2567 แล้ว ในช่วงนี้ก็ขอให้ผู้ใช้ถนนเพิ่มความระวังกันเยอะๆ ใช้รถ ใช้ถนน อย่าประมาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 เมษายน 2567