โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

,

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผย ว่า ได้หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดี เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ทางชาวไร่อ้อยจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต่างรอคอยเงิน 120 บาทต่อ ไร่ ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เคยจะจัดสรรให้จากการตัดอ้อยสด แล้วก็ยังมีอีกหนึ่งปัญหาก็คือ จากการที่ ครม .หรือทางกระทรวงอุตสาหกรรม จะตัดเงินที่อ้อยไฟไหม้ สำหรับใครที่ส่งอ้อยไปให้ทางโรงงานน้ำตาลแล้ว จะตัด 90 บาทต่อ 1 ตัน หรือการปนเปื้อนปัญหานี้

นายอัคร ยังกล่าวถึงปัญหาถนนสายบ้านหินด่าน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรทาง ทางหลวงหมายเลข 2068 เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และถนนบ้านตึกหวายไปหนองบัว ตำบลท่าโรงหมู่ที่ 3 และ ตำบลหมูราง หมู่ที่ 19 มีระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยครั้ง เกิดอุบัติเหตุและสัญจรไม่สะดวก

นอกจากนี้ปัญหาความปลอดภัยของชุมชนบ้านโคกสะอาด ซึ่งเด็กนักเรียนจะต้องข้ามถนน 8 ช่องจราจร ซึ่งมีความอันตรายมาก และยังมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กระทรวงอุตสาหกรรม และทางหลวงชนบทช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” เผย “รมว.ธรรมนัส” เตรียมลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เร่งหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัว หลังพังเสียหายจากกระแสน้ำส่งผล ปชช. ริมตลิ่งเดือดร้อนหนัก

,

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” เผย “รมว.ธรรมนัส” เตรียมลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เร่งหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัว หลังพังเสียหายจากกระแสน้ำส่งผล ปชช. ริมตลิ่งเดือดร้อนหนัก

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ น.ส.ณัฐกฤตา เขียวฤทธิ์ พร้อมด้วย สจ.สิงห์โต วัฒนศิริ ลงพื้นที่บริเวณหน้าฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาวังบัว จุดเชื่อมต่อระหว่าง บ้านโขมงหัก ต.เทพนคร-บ้านวังยาง ต.นครชุม อ.เมือง กำแพงเพชร ที่เกิดการพังเสียหาย เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น.วันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ปริมาณที่สูงขึ้นของแม่น้ำปิงได้ไหลผ่านช่องทางน้ำอย่างรวดเร็วนั้น ส่งผลประชาชนทร่อาศัยบริเวณริมตลิ่งได้รับความเดือดร้อน

“ผมได้ประสานไปยัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้รับทราบข้อมูลและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจังหวัดข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากฝ่ายกั้นแม่น้ำพังเสียหายในครั้งนี้ โดย ร.อ.ธรรมนัส จะลงพื้นที่ด้วยตัวเองในวันที่ 7 ต.ค.นี้ เพื่อหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัวเป็นการเร่งด่วน”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์” เสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันงบประมาณสร้างถนนใน จ. เพชรบูรณ์ ลดปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.

,

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์” เสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันงบประมาณสร้างถนนใน จ. เพชรบูรณ์ ลดปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึงปัญหาความล่าช้า ของการสร้างถนนเส้นอำเภอวังโป่ง อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าถนนเส้นนี้ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ มีแบบเรียบร้อยแล้ว จากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการของบประมาณไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในระยะทางก่อสร้างประมาณ 5400 เมตร เป็นถนนที่จะใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอวังโป่ง และอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถย่นระยะทางได้ประมาณ 30 กิโลเมตร

“ผมขอให้กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ช่วยผลักดันงบประมาณให้กับถนนเส้นรวมถึงโครงการต่างๆที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดปัญหา เรื่องการถ่ายโอนของถนน วันนี้อุทกภัยน้ำพัดผ่าน ถนนขาดหลายสาย ขอให้ช่วยเร่งและเห็นความสำคัญกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตชนบทด้วย เพราะถนนที่ขอมาเป็นเส้นทางสร้างคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ ที่ประชาชนต้องใช้เดินทุกวัน แต่วันนี้ถนนหลายสายในอำเภอชนแดน อำเภอโป่ง อำเภอหนองไผ่ และทั้งจังหวัด ผมคิดว่าทั้งประเทศก็เป็นเหมือนกัน ที่ยังไม่ได้รับการดูแล ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“พัชรวาท” สั่งด่วน ทุกหน่วยงานใน ทส. เข้าสนับสนุนให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย

,

“พัชรวาท” สั่งด่วน ทุกหน่วยงานใน ทส. เข้าสนับสนุนให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 // พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยหลายจังหวัดในขณะนี้เป็นการเร่งด่วน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่บรรเทาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้มอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อประสานงานและสั่งการ

ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแล้ว โดยให้นำเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น เรือ เครื่องสูบน้ำ รถลำเลียง รวมถึงกำลังพล ทั้งจากกรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมสนับสนุนกับทางจังหวัด เพื่อเร่งบรรเทาสถานการณ์ให้กับพี่น้องประชาชนโดยเร็ว พร้อมทั้งได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงานจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อให้การเข้าช่วยเหลือประชาชนและการสนับสนุนการปฏิบัติการในแต่ละพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ ยังได้ให้จัดเตรียมน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค – บริโภค นำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยเพื่อไม่ให้ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ด้วย

สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดดินโคลนถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ได้สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณี และกรมทรัพยากรน้ำ เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนภัยไปยังพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น ในช่วงนี้จึงขอให้อาสาสมัครเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในแต่ละพื้นที่ เฝ้าติดตามสถานการณ์และประสานงานร่วมกับแต่ละหน่วยงานอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ในส่วนพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว ยังได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ ประสานงานกับท้องถิ่น ติดตามสำรวจบ่อกำจัดขยะ เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ปัญหาขยะภายหลังสถานการณ์น้ำลดอีกด้วย นายจตุพร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 ตุลาคม 2566

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

,

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.จ.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ร่วมประชุมกับ น.ส.อัจฉรา อาษาสู้ นายอำเภอภักดีชุมพล และนายสมบัติ มีลักษณะสม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานชัยภูมิ ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงปัญหาอุปสรรค ที่จะนำไปสู่การวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากในขณะนี้ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่ ประกอบกับภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดชัน เมื่อมีปริมาณฝนที่สะสมมาก จะก่อให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในบางพื้นที่สร้างความเสียหายเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำฝนเป็นผลจากอิทธิพลของมรสุมที่พาดผ่าน และความผิดปกติของสภาวะอากาศในประเทศที่มาจากเอลนีโญ ซึ่งการบริหารจัดการจะมีความสำคัญมาก เนื่องจากในพื้นที่พี่น้องประชาชนมีความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภคในช่วงฤดูแล้ง และในช่วงฤดูฝน เนื่องจากไม่สามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

,

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายก อบต. ,กำนัน ต.ทุ่งรวงทอง,กำนัน ต.บ้านกาด อ.แม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากน้ำไหลหลากล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.66

นายนเรศ กล่าวว่า โดยหลังจากผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้รับเรื่องแล้ว จึงได้สั่งการให้หัวหน้าฝ่ายงานวิศวกรรม นายช่างชลประทาน หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เลขนานุการนายกเทศมนตรีตำบลแม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเร่งด่วน และแผนระยะยาวพื้นที่ 7 จุด ที่มีปัญหาในลำน้ำแม่วาง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

,

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชัยภูมิ ตนได้เดินทางไปพบปะกับพี่น้องประชาชนจังหวัดชัมภูมิ เพื่อสอบถามถึงปัญหาและข้อเรียกร้องของการเดินทางมาชุมนุมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดินจากโครงการสร้างเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้าและเป็นเก็บกักน้ำป้อนระบบชลประทาน ในเขตอำเภอแก้งคร้อ

“ผมได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อเร่งดำเนินการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินจากการสร้างเขื่อนลำปะทาว ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินตามมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงแจ้งเรื่องการทำหนังสือดังกล่าวกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับจะติดตามต่อไป“นายอัครแสนคีรี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2566

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

,

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1 /2566 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ตลอดจนผู้บริหารของกระทรวงเข้าร่วม โดยมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 เรื่อง ซึ่งอยู่ในนโยบาย Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริ / โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 2. เศรษฐกิจสุขภาพ “น่าน โมเดล (NAN_MODELs)” 3. ด้านดิจิทัลสุขภาพ 4. โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 5. ด้านมะเร็งครบวงจร 6. การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร และ 7. ด้านสถานชีวาภิบาล

นายสันติ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง นั้นมองว่า บลูโซนเป็นคำจำกัดความที่สื่อถึงพื้นที่ต่างๆที่เอื้อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมีความปลอดในทุกรูปแบบ จึงอยากฝากแนวคิดว่า ถ้าตำบลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนายกระดับให้เป็นบลูโซน เมื่อนักท่องเที่ยวทางเข้ามาก็จะเกิดความสบายใจได้ทันทีว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ปลอดภัยในทุกๆด้าน ทั้งเรื่องอากาศ สาธารณสุข อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า หรือ ตลาดที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งหากมีแนวคิดนี้ออกไปทำให้กระทรวงสาธารณสุขดูเข้มแข็งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

,

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

นายคอชีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 (อ.หนองจิก และ อ.โคกโพธิ์)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาไปยังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นในความล่าช้าการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น เป็นเงินค่าเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ อีก4 อำเภอจังหวัดสงขลา

ในตอนที่ตนทำหน้าที่ประธานชมรมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ได้ยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐให้นำเสนอสวัสดิการการปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฤษฎีกาสวัสดิการปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยง พ.ศ. 2544 และแก้ไขปฏิบัติพื้นที่ 3 ปี 2560 ว่าด้วยบำเหน็จเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของชายแดนภาคใต้ ครั้งที่หนึ่งโดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานในการประชุม มีวาระเห็นชอบและสวัสดิการเบี้ยเสี่ยงภัยของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น

“วันนี้เข้ามาเดือนกันยายน ยังไม่มีการจ่ายเงินเสี่ยงภัย ให้กับสมาชิกสภาท้องถิ่น การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ผมจึงขอนำเรียนให้ท่านนายกเศรษฐา ได้มีบัญชาสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรีบดำเนินการให้กับผู้บริหารท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับความเท่าเทียมได้รับเบี้ยเสี่ยงภัยเหมือนกับหน่วยงานราชการอื่นด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

,

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึง ความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอกคำใต้ ซึ่งได้เสนอไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับคำร้องเรียน จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ร้องขอต่อกรมโยธาธิการ ไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่หลังสถานีประมง จังหวัดพะเยา ในช่วงฤดูฝน น้ำกว้านพะเยาเอ่อล้นก็ถูกระบายไปสู่แม่น้ำอิง ทำให้บริเวณบ้านฝั่งหมิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับประตูน้ำ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดปัญหาน้ำท่วมทะลักเข้าสู่บ้านเรือนที่พักอาศัย บางแห่งถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงตัวบ้าน ไม่รู้จะพังขึ้นมาเมื่อไหร่ ยิ่งอยู่ใกล้ประตูน้ำระบายด้วย ทีนี้ก็ลำบากก็ว้าวุ่นเลย ต้องหากระสอบทรายจำนวนมากนำมากั้นน้ำเป็นประจำทุกปี ขอฝากความเดือดร้อนนี้ไปยังกรมโยธาธิการ

นายจีรเดช กล่าวว่า อีกปัญหาที่ถูกเรียกร้องมามากก็คือ ปัญหาน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำร่องช้าง และอยู่ช่วงปลายน้ำที่แคบคอขวด ที่สำคัญปลายน้ำยังไม่ทะลุเชื่อมต่อไปถึงแม่น้ำอิงที่ไหลลงไปสู่แม่น้ำโขง ในช่วงหน้าฝน เกิดน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ไม่สามารถระบายได้ทันก็เอ่อล้นเข้าสู่บ้านเรือนพี่น้องชาวบ้าน ต้องขนเข้าของเครื่องใช้ ไปที่สูงเพื่อหนีน้ำ บางทีน้ำมาไว ก็ขนไม่ทัน สร้างความเสียหายอย่างหนัก และเกิดขึ้นซ้ำซาก ตั้งแต่ผมจำความได้

”ผมขอฝาก 2 เรื่องนี้ ไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยไปสำรวจตรวจสอบ หาแนวทางแก้ไข รวมทั้งรีบจัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน“นายจีรเดช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

,

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวนำเสนอญัตติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศไทย โดยเป็นญัตติที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เป็นผู้เสนอ

โดย นายอัครแสนคีรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สส.ไผ่ ลิกค์ ที่ได้ มอบหมายตนมานำเสนอในสภา บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีการขายซื้อง่าย ทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากเป็นที่แพร่นิยมของวัยรุ่น สาเหตุที่มีความนิยม ในกลุ่มผู้ใช้เป็นเพราะว่า มีรูปลักษณ์และกลิ่น ที่ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของผลไม้ หรือเป็นกลิ่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้มีความชื่นชอบและมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หลักๆ มี 4 หน่วยงาน คือ หน่วยงานพาณิชย์ ,คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค,พรบ.ควบคุมยาสูบ และกรมศุลกากร ซึ่งจะดูในส่วนของการนำเข้า ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานเหล่านี้ มีการ กำกับดูแล การออกกฏหมาย มีบทลงโทษที่ชัดเจน

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 6,408 ล้านบาทต่อปี และมีการเติบโตที่ร้อยละ 100 ต่อปี โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9 และที่สำคัญ มีการสูบตามเพื่อนฝูงถึง 92.2% พูดง่ายๆ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นเพื่อนใช้กันแล้วก็อยากใช้ตาม และที่สำคัญคือ ไม่ทราบว่าด้านในมีสาร นิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในประเทศไทย ดังนั้นการนำเข้ามาขาย รวมถึงการจัดจำหน่าย ก็เป็นการลักลอบเข้ามาจำหน่าย ส่วนประเทศทุกวันนี้ที่มี ฃการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้วมี ประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งจะมีบางประเทศที่สามารถจำหน่ายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เช่นออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา

“ผมได้ศึกษาเบื้องต้น จากตัวอย่างของประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างในประเทศจีน จะมีข้อกำหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การกำจัดอายุขั้นต่ำ,ห้ามขายใกล้สถานศึกษา,การห้ามจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง อย่างประเทศญี่ปุ่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินก็จะไม่สามารถขายได้ ส่วนเกาหลีเกาหลี อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีการเก็บภาษีที่สูง โดยสรุปในต่างประเทศก็จะมีกฎหมาย เพื่อเข้ามากำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบารากุและบุหรี่ไฟฟ้า หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 60 หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5000 บาท และ พรบ.ศุลกากรปี 60 ซึ่งมีการห้ามลักลอบนำเข้ามีบทลงโทษชัดเจน

“เราต่างทราบกันดีว่าข้อเท็จจริง แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกับไม่สอดคล้องกับเจตนาของกฎหมายที่มี ในปัจจุบัน นั่นก็คือยังมีการนำเข้า มีการจำหน่ายมีการสูบกันอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กฎหมายได้ห้ามเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางในการเก็บส่วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งด่าน หรือการจ่ายส่วย เพื่อจัดจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 60 พบว่า รายได้ภาษีกรมสรรพสามิต ยาสูบมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้า มีมูลค่ามากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ถ้าบุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายอยู่แบบนี้ รัฐย่อมไม่สามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลไกราคา ไม่สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อหาข้อสรุปว่า ข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบของการออกกฏหมายมาควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ก่อให้เกิดอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า หรือกฎหมายควบคุมผู้บริโภค การกำหนดอายุของผู้บริโภค ที่ชัดเจนรวมถึง การจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อการลดปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

,

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 เรื่อง คือ ขณะนี้พี่น้องเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม และพี่น้องเกษตรกรในอำเภอบางคล้า อำเภอราชสาน กำลังประสบปัญหาต้องใช้น้ำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำการเกษตร ทำนา ปลูกข้าว ซึ่งขณะนี้ดินฟ้าอากาศเป็นใจ จึงขอให้กรมฝนหลวง ทำฝนหลวงเพื่อเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำคลองสียัดโดยด่วน เพื่อรองรับการทำเกษตร เพราะในอนาคต ข้างหน้า อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง จากเอลนีโญได้

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับข่าวสารจากเพจแปดริ้วเดลิเวอรี่ ซึ่งเป็นสื่อที่คอยช่วยเหลือคอยตรวจตรา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยตอนนี้ศาลาบนทางหลวงถนน จังหวัดฉะเชิงเทรา บางน้ำเปรี้ยว บริเวณหน้าปากทางเข้าวัดวิเวกวนาราม ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดความเสียหาย พี่น้องประชาชนที่ผ่านไป ผ่านมาไม่สบายใจ จึงขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ช่วยเร่งแก้ไขจะเอาไว้หรือไม่เอาไว้ ยังไงก็ได้

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านหนองโสน บ้านคล้า ขณะนี้ถูกถ่ายโอนไปอยู่ในการดูแลขององค์การส่วนตำบล สมัยใต้ อำเภอบ้านคล้า ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนบุคลากรทางด้านการศึกษา โดยในโรงเรียนมีบุคลากรแค่ 2 ท่าน จึงอยากฝากให้กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงศึกษาธิการ เข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อผลประโยชน์ของลูกๆ หลานๆ ของพวกเรา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566