โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

,

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 เรื่อง คือ ขณะนี้พี่น้องเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม และพี่น้องเกษตรกรในอำเภอบางคล้า อำเภอราชสาน กำลังประสบปัญหาต้องใช้น้ำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำการเกษตร ทำนา ปลูกข้าว ซึ่งขณะนี้ดินฟ้าอากาศเป็นใจ จึงขอให้กรมฝนหลวง ทำฝนหลวงเพื่อเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำคลองสียัดโดยด่วน เพื่อรองรับการทำเกษตร เพราะในอนาคต ข้างหน้า อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง จากเอลนีโญได้

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับข่าวสารจากเพจแปดริ้วเดลิเวอรี่ ซึ่งเป็นสื่อที่คอยช่วยเหลือคอยตรวจตรา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยตอนนี้ศาลาบนทางหลวงถนน จังหวัดฉะเชิงเทรา บางน้ำเปรี้ยว บริเวณหน้าปากทางเข้าวัดวิเวกวนาราม ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดความเสียหาย พี่น้องประชาชนที่ผ่านไป ผ่านมาไม่สบายใจ จึงขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ช่วยเร่งแก้ไขจะเอาไว้หรือไม่เอาไว้ ยังไงก็ได้

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านหนองโสน บ้านคล้า ขณะนี้ถูกถ่ายโอนไปอยู่ในการดูแลขององค์การส่วนตำบล สมัยใต้ อำเภอบ้านคล้า ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนบุคลากรทางด้านการศึกษา โดยในโรงเรียนมีบุคลากรแค่ 2 ท่าน จึงอยากฝากให้กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงศึกษาธิการ เข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อผลประโยชน์ของลูกๆ หลานๆ ของพวกเรา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

“สส.บุญชัย”ร่วมหารือปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ร่วมประชุมติดตามรับฟัง เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)ในเขตพื้นที่เพชรบูรณ์ เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

โดยมีนายชัชวาล เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการประชุม ,นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ,นายเจษฎา โทศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 10 พร้อมด้วยข้าราชการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ณ โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พผชร.) เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือเชิญ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เพื่อรับฟังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ให้กับประชาชน หลังจากที่ได้ร่วมหารือกับกลุ่มเกษตรกร 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลอ่างทอง ตำบลน้ำแวน ตำบลเชียงบาน อ.เชียงคำ เพื่อหาแนวทางการผันน้ำและการบริหารจัดการน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร

“โดยระหว่างนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับพี่น้องเกษตร ผมจึงได้จัดเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนให้พี่น้องประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และ ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรในพื้นที่ ส่งผลให้ต้นข้าวกำลังยืนต้นตาย“นายอนุรัตน์ กล่าว

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนยังได้ลงพื้นที่ ต.หงส์หิน อ.จุน เพื่อมอบข้าวสารให้แก่ประชาชน พร้อมรายงานความคืบหน้าการตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าให้กับทุกคนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการแก้ไขปัญหา การติดตั้งเครื่องสูญน้ำในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาการใช้สถานที่ในการติดตั้งอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ จึงจะมีการเจรจาหาทางออกร่วมกันอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

,

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา พร้อมเตรียมแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก ควบคู่ไปกับการรับมือปรากฎการณ์เอลนีโญ ณ เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

รมว.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการที่ฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้เข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝนของพื้นที่ตอนบน จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และเร่งเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาที่มีปริมาณการใช้น้ำสูง เพื่อรองรับปรากฏการณ์เอลนีโญ และ
การใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และในวันที่ 1 พฤสจิกายน 2566 ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมหารือการบริหารจัดการน้ำกันอีกรอบ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเรงด่วน จึงอยากจะขอความร่วมมือจากพี่น้อง
ชาวนา ในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ก.ย. 66) ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,166 ลบ .ม./วินาที แนโน้มลดลง กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ระดับ 16.80 เมตร (รทก.) สูงกว่าระดับปกติประมาณ 0.30
เมตร เพื่อยกระดับน้ำเข้าสูคลองต่างๆที่อยู่ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุด โดยไม่กระ ทบต่อพื้นที่ริมคลอง และสามารถรองรับฝนที่อาจตกลงมาในพื้นที่ได้อีกด้วย พร้อมกันนี้ ยังได้ผันน้ำเข้าระบบชลประทาน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองชัยนาท-
ป่าสัก และ คลองชัยนาท-อยุธยา และผันน้ำบางส่วนไปลงคลองพระองค์ไซยยานุชิต เพื่อสูบผันน้ำไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตก จะผันเข้าทางแม่น้ำท่จีน แม่น้ำน้อย และคลองมะขามเฒ่า อู่ทองไปกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำต่างๆ รวมไปถึง
คลองส่งน้ำในพื้นที่ชลประทาน เพื่อสำรองไว้ใช้อุปโภคบริโภค ในช่วงฤดูแล้ง การเพาะปลูกพืชใข้น้ำน้อย ตลอดจนไม้ยินต้น และรักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก

สำหรับปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่คงเหลือจากการส่งน้ำเข้าระบบชลประทานเพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูแล้งนั้น ได้วางแผนการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเพื่อความมั่นคงของตัวเขื่อน โดยจะควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 1,000 ลบ.ม/วินาที ปัจจุบัน (25 ก.ย. 66) มีการระบายน้ำสูงสุดอยู่ที่ 802 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำที่ระบายท้ายเขื่อนนี้ บางส่วนจะถูกนำไปเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำและพื้นที่แก้มลิง ในเขตจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี รวมทั้งสนับสนุการผลิตประปาของการประปานครหลวง และการรักษาคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้มีการเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติด้านเกษตร ได้แก่ 1) เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลกว่า 1 13 รายการ ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำ จำนวน 38 เครื่อง รถขุด จำนวน 6 คัน เรือกำจัดวัชพีช จำนวน 25 ลำ รถแทรกเตอร์ จำนวน 2 คัน รถทรลเลอร์ จำนวน 3 คัน รถบรรทุกและยานพาหนะจำนวน 20 คัน และรถบรรทุกน้ำ จำนวน 19 คัน 2) เตรียมจัดตั้งคลังสำรองทรัพยากร ได้แก่ การสำรองเสบียงอาหารสัตว์ (หญ้าแห้งอัดฟ่อน) ตามศูนย์/สถานี จำนวน 30 ตัน ซึ่งเกษตรกรขอรับได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาทและศูนย์ดงเกณฑ์หลวง อ.วัดสิงห์สำรองเวชภัณฑ์ยา และวัดนสำหรับสัตว์ต่าง ๆ 3) ด้านการผลิตทางการเกษตร แบ่งออกเป็น ด้านพืช จะจัดทำการประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งปี 2564/2565 โดยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2ส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย และให้ปลูกพืซหลากหลายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์แนวโน้มการระบาดศัตรูพืชในช่วงฤดูแล้ง สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่ประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง และเร่งรัดจัดทำข้อมูลสถานการณ์เนื้อที่เพาะปลูก และเนื้อที่เสียหายผ่านระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (รต) เป็นประ จำทุกเดือน 2) ด้านประมง มีการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร อาสาเฝ้าระวังภัยแล้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำใน 8 อำเภอ ทยอยจับสัตว์น้ำที่มีขนาดโต หรือได้ขนาดขึ้นมาจำหน่าย/บริโภคเพื่อลดความเสี่ยง และ 3) ด้านปสุสัตว์
สนับสนุนหญ้าแห้งเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกร 30 ตัน และเวชภัณฑ์สัตว์ต่าง ๆ ทำการผลิตสำรองเสบียงอาหารสัตว์ตามศูนย์/สถานีอาหารสัตว์ 30,000 กิโลกรัม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“สส.จำลอง”ลุยมอบถุงยังชีพช่วยประชาชนบรรเทาความเดือดร้อน จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่เป็นวงกว้าง

,

“สส.จำลอง”ลุยมอบถุงยังชีพช่วยประชาชนบรรเทาความเดือดร้อน จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่เป็นวงกว้าง

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้ส่งทีมงานกระจายลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ 4 หมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ส่งผลให้ในพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จนเกิดภาวะน้ำท่วมไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน กินพื้นที่เป็นวงกว้าง

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ทีมงานของตนได้ไปพบปะพี่น้องประชาชนอาทิ บ้านคำศรี หมู่13 ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และมอบถุงยังชีพให้จำนวน 30 ครัวเรือน, บ้านทับปลา ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี มอบถุงยังชีพให้จำนวน 32 ครัวเรือน,บ้านนาตาล ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จำนวน 40 ครัวเรือน และบ้านคำบอน หมู่5 ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จำนวน 30 ครัวเรือน ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งเพื่อช่วยเหลือฃบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทุกคน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กันยายน 2566

“รมว.เกษตรฯ” พร้อมแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ชายฝั่งทะเล ทั้งเรื่องกฎระเบียบและราคากุ้งตกต่ำ พร้อมปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ คลองใหญ่ จ.ตราด สร้างความั่นคงประกอบอาชีพให้พี่น้อง

,

“รมว.เกษตรฯ” พร้อมแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ชายฝั่งทะเล ทั้งเรื่องกฎระเบียบและราคากุ้งตกต่ำ พร้อมปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ คลองใหญ่ จ.ตราด สร้างความั่นคงประกอบอาชีพให้พี่น้อง

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบปะเกษตรกรรับฟังปัญหา และติดตามสถานการณ์ พร้อมแก้ไขปัญหาด้านการเกษตกร ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

ทั้งนี้ จังหวัดตราด เป็นจังหวัดชายแดนสุดฝั่งทะเลตะวันออก มีอาณาเขตด้านชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาทั้งทางบกและทางทะเล มีความยาว 330 กิโลเมตร โดยทางบกติดกับทางจังหวัดของประเทศกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัต และจังหวัดเกาะกง ซึ่งมีแนวชายแดนธรรมชาติติดทิวเขาบรรทัด เป็นเส้นแบ่งเขตแดนตลอดแนวมีความยาว 165 กิโลเมตร และมีแนวอาณาเขตทางทะเลมีความยาว 185 กิโลเมตร โดยจังหวัดตราดเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญ ทั้งประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์ รวมทั้งพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งชายฝั่งและน้ำจืด ผลผลิตสัตว์น้ำของจังหวัดตราด มีมากกว่า 82,779 ตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5,599.80 ล้านบาท ผลผลิตจากการทำการประมง 55,643 ตัน มูลค่า 2,344.21 ล้านบาท ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 27,136 ตัน มูลค่า 3,255.59 ล้านบาท

สำหรับทะเบียนเกษตรกร มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) 1,317 ราย แบ่งเป็น กุ้งทะเล 476 ราย หอยทะเล 346 ราย ปลาน้ำจืด 317 ราย ปลาทะเล 125 ราย จระเข้ 14ราย สัตว์น้ำสวยงาม 3 ราย และสัตว์อื่น ๆ 36 ราย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 27,136 ตัน มูลค่า 3,255.59 ล้านบาท ทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) 539 ราย ทะเบียนผู้ทำอาชีพทำการประมง (ทบ.2) 3,334 ราย เรือประมงพื้นบ้านที่มีทะเบียนเรือไทย จำนวน 3,379 ลำ ได้แก่ อวนติดตา อวนครอบหมึก อวนลอยปลากระบอก อวนจมปูม้า อวนลอยปลาทู และเรือประมงพาณิชย์ที่มีทะเบียนเรือไทย จำนวน 588 ลำ ได้แก่ อวนครอบปลากะตัก อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับปากจะช่วยแก้ไขปัญหาพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีความเข้มงวดและเป็นอุปสรรคต่อการทำประมงในปัจจุบัน โดยชาวประมงเสนอให้มีแนวทางบรรเทาผลกระทบในช่วงการเปลี่ยนผ่านของกฎหมาย และจะช่วยดูราคากุ้งตกต่ำ ทั้งกุ้งแวนนาไม กุ้งกุลาดำ และกุ้งก้ามกราม ซึ่งมีปัจจัยมาจากโรคระบาดและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ขอให้มั่นใจว่าจะร่วมแก้ปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ติดทะเล

“รมว.ธรรมนัส” ปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ คลองใหญ่ จ.ตราด สร้างความั่นคงประกอบอาชีพให้พี่น้อ

นอกจากนี้ ร.อ. ธรรมนัส ได้ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทะเล ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี จำนวน 300,000 ตัว ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ทั้ง กุ้งกุลาดำ และปลากะพงขาว เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ในระบบนิเวศน์ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรณ์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน ในการประกอบอาชีพที่มั่นคง เพื่อส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานกับพี่น้องประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กันยายน 2566

“สส.ไผ่ ลิกค์”ร่วม”กันจอมพลัง”ติดตามคดีพ่อฆ่าโบกปูนลูกสาว วอน ทุกฝ่ายหาทางป้องกันเหตุรุนแรงในสถาบันครอบครัว

,

“สส.ไผ่ ลิกค์”ร่วม”กันจอมพลัง”ติดตามคดีพ่อฆ่าโบกปูนลูกสาว วอน ทุกฝ่ายหาทางป้องกันเหตุรุนแรงในสถาบันครอบครัว

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ตนได้รับการประสานงานจากนายกัณฐัศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กัน จอมพลัง ให้เข้าร่วมติดตามติดตามคดี กรณีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว จากคดีฆ่าโบกปูนเด็กหญิง อายุ 2 ขวบ ที่อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี ซึ่งสร้างความสะเทือนให้กับประชาชนในสังคมทั้ง จ.กำแพงเพชร และทั่วประเทศ ตนจึงได้มอบหมายให้ น.ส.ณัฐกฤกฤตา เขียวฤทธิ์ เป็นตัวแทนติดตามคดีพร้อมทีมงานคุณกัน จอมพลัง อย่างต่อเนื่อง โดยมีพล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4 ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่

“ความรุนแรงภายในครอบครัวในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้น เนื่องหลายปัจจัยทั้งเกิดจากสภาวะทาวเศรษฐกิจของครอบครัว การมีบุตรในช่วงอายุที่ไม่พร้อม สภาวะความผิดปกติทางจิต ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อปัญหาครอบครัวในปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ร่วมถึงสถาบันครอบครัว จะต้องเฝ้าสังเกตก่อนนำไปสู่ความรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ คงจะต้องกลับมาหาออกร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในต่างประเทศ“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

สส.เพชรบูรณ์ พปชร.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่สร้างรอยยิ้มให้คนไทย หลัง “เมืองโบราณศรีเทพ” จ. เพชรบูรณ์ เป็น “มรดกโลก”เชื่อจะสร้างรายได้ ความเจริญให้ท้องถิ่น

,

สส.เพชรบูรณ์ พปชร.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่สร้างรอยยิ้มให้คนไทย หลัง “เมืองโบราณศรีเทพ” จ. เพชรบูรณ์ เป็น “มรดกโลก”เชื่อจะสร้างรายได้ ความเจริญให้ท้องถิ่น

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก World Heritage ว่า ตนในฐานะผู้แทนของชาวศรีเทพ ชาววิเชียรบุรี และชาวเพชรบูรณ์ ต้องขอแสดงความยินดีกับมรดกโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทยที่เราต่างรอคอยมานานกว่า 30 ปี ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐบาลและคณะกรรมการมรดกโลก ที่มาช่วยขับเคลื่อนงานภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่ทำให้ประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ในรอบ 7 ปี ซึ่งตนเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้คนไทยยิ้มกว้างได้

นายอัคร กล่าวต่อว่า การขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ เป็นความภาคภูมิใจของไทยและถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในระดับสากลต่อคุณค่า และความสำคัญของแหล่งเมืองโบราณศรีเทพในฐานะมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ถือเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของไทย สะท้อนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

“ผมหวังว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้จะสร้างรายได้ ความเจริญให้กับท้องถิ่น คนในชุมชน และประเทศของเราต่อไป โดยจะยังคงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่สวยงามของคนบ้านเราและไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ จากนี้ไปถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู คุ้มครอง และป้องกันเมืองโบราณศรีเทพให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสมบัติของคนรุ่นใหม่และคนทั้งโลกต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

ปลื้มวอลเลย์บอลหญิงชนะโปแลนด์ รอบคัดเลือก !!!พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและประธานโอลิมปิคไทยแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โชว์ทำผัดซีอิ้ว เตรียมทำเลี้ยงต้อนรับทีมชาติทั้งทีม

,

ปลื้มวอลเลย์บอลหญิงชนะโปแลนด์ รอบคัดเลือก !!!พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและประธานโอลิมปิคไทยแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โชว์ทำผัดซีอิ้วเตรียมทำเลี้ยงต้อนรับทีมชาติทั้งทีม

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและประธานโอลิมปิคไทยแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อารมณ์ดี หลัง วอลเลย์บอลทีมสาวไทย ตบชนะ ทีมวอลเลย์บอลหญิงโปแลนด์ 3 ต่อ 2 เซต ในการแข่งขันวอลเลย์บอลรอบคัดเลือกโอลิมปิค 2023 ที่ประเทศโปแลนด์ โดย พลเอกประวิตร ได้เฝ้าติดตามเชียร์ทีมชาติไทยในทุกแมตช์การแข่งขัน โดยในวันนี้ พลเอกประวิตรได้ใช้เวลาว่าง ตอนเที่ยงผัดซีอิ้วเลี้ยงลูกน้อง คนใกล้ชิดที่มูลนิธิป่ารอยต่อในยามว่างจากภารกิจงาน โดย พลเอกประวิตรลงมือปรุงผัดซีอิ้ว รสเลิศบรรจงผัดด้วยเครื่องปรุง ตามสูตร มีหมูหมักรสชาติดี ทำเป็นอาหารกลางวันให้คนใกล้ชิดและลูกน้อง โดยกล่าวกับคนใกล้ชิดว่า วันนี้จะติดตามเชียร์ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทยในการแข่งขันกับทีมชาติ สโลวิเนียในช่วงค่ำให้ได้รับชัยชนะ และหากทีมวอลเลย์บอลทีมสาวไทยเดินทางกลับมาจะทำผัดซีอิ้วเลี้ยงทั้งทีม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“รมช.สันติ” เชิญชวนปชช.ใช้แอปฯ “ร้านยาของฉัน” ค้นหาร้านยาใกล้บ้าน ขอคำปรึกษาเภสัชกร ในงานสัปดาห์เภสัชกรรม ครั้งที่ 27

,

“รมช.สันติ” เชิญชวนปชช.ใช้แอปฯ “ร้านยาของฉัน” ค้นหาร้านยาใกล้บ้าน ขอคำปรึกษาเภสัชกร ในงานสัปดาห์เภสัชกรรม ครั้งที่ 27

วันนี้ (22 กันยายน 2566) ที่โซน Craft Studio ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์เภสัชกรรม ครั้งที่ 27 ภายใต้ธีมงาน “เภสัชกรทั่วไทย ห่วงใยทุกคน” (We Care for Everyone) โดยมี นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รศ.พิเศษ ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม นายกสมาคมเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม เข้าร่วมงาน

นายสันติกล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายยกระดับบริการสุขภาพ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นธรรม สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งสภาเภสัชกรรมมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย โดยร่วมกับ สปสช.และ กทม. พัฒนาแอปพลิเคชัน “ร้านยาของฉัน” เป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถค้นหาร้านยาคุณภาพใกล้บ้าน และเข้ารับคำปรึกษาเรื่องยากับเภสัชกรได้อย่างสะดวก ช่วยแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนทดลองใช้งานและให้ข้อเสนอแนะต่อแอปพลิเคชัน “ร้านยาของฉัน” เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ สปสช.ยังสนับสนุนให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ สามารถรับยาที่ร้านยาคุณภาพที่เข้าร่วมโครงการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันมีร้านขายยาเข้าร่วมโครงการแล้ว 1,691 ร้าน และกำลังพิจารณาร้านขายยาที่สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 135 ร้าน เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้ทั่วถึงมากขึ้น

ด้านรศ.พิเศษ ภก.กิตติ กล่าวว่า สภาเภสัชกรรม เป็นองค์กรวิชาชีพเภสัชกร มีสมาชิกกว่า 50,000 ราย ร่วมกันดูแลระบบยาของประเทศ มีเป้าหมายให้ประชาชนใช้ยาอย่างมีคุณภาพและสมเหตุผล จึงมีการจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 27 โดยมีการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาให้เกิดประโยชน์สูงสุด การคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดโรค การให้คำแนะนำการเลิกบุหรี่ และการดูแลการใช้ยาของประชาชนอย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งการให้บริการเหล่านี้ สภาเภสัชกรรมได้นำแอปพลิเคชันร้านยาของฉันมาใช้เพื่อให้ทันยุคสมัย ประชาชนเข้าถึงร้านยาต่างๆ ได้สะดวกขึ้น รวมถึงมีแพลตฟอร์มการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (TELEPHARMACY) เพื่อให้การบริการเภสัชกรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีคุณภาพที่ดี และครอบคลุมทุกพื้นที่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส“ รับฟังปัญหาและเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และสภาประชาชน 4 ภาค

,

“รมว.ธรรมนัส“ รับฟังปัญหาและเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และสภาประชาชน 4 ภาค

วันที่ 22 กันยายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบปะ รับฟังปัญหา และรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้แทนกลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) สภาประชาชน 4 ภาค นำโดย นายประพาส โงกสูงเนิน พร้อมด้วยมวลชนประมาณ 250 คน ซึ่งเดินทางมาชุมนุมที่บริเวณเกาะกลางหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริเวณหน้าสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เมื่อเช้าวันพุธที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา โดย กลุ่ม สอส. มีข้อเรียกร้อง 2 ข้อ ได้แก่
1. ขอให้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาให้กลุ่ม เนื่องจากคำสั่งเดิมหมดอำนาจจากการยุบสภา
2. ขอให้แก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน หนี้สิน และผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ให้ดูแลอาหาร น้ำดื่มให้ผู้ชุมนุม และอำนวยความสะดวกความเป็นอยู่ด้านสุขอนามัยของกลุ่ม สอส. ผรท. และสภาประชาชน 4 ภาค แล้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจภัยแล้งจ.ราชบุรี เตรียมแผนจัดหาน้ำให้เพียงพอ หนุนมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำจังหวัด พร้อมมอบสิทธิที่ทำกินให้ชาวสวนผึ้ง

,

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจภัยแล้งจ.ราชบุรี เตรียมแผนจัดหาน้ำให้เพียงพอ หนุนมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำจังหวัด
พร้อมมอบสิทธิที่ทำกินให้ชาวสวนผึ้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และด้านการเกษตร พร้อมรับฟังปัญหาจากเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งจังหวัดราชบุรี มีการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม ประมาณ 88,000 ไร่ โดยอำเภอดำเนินสะดวกมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 47,250 ไร่ ซึ่งอยู่เขตโครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย ประมาณ 30,125 ไร่ ร้อยละ 64 ของพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมในอําเภอดําเนินสะดวก เกษตรกรมีความต้องการน้ำประมาณ 86,069 ลบ.ม./วัน หรือ 31.4 ล้านลบ.ม. ต่อปี โดยมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย ปีละประมาณ 3,900 ล้านบาท มีกําไรเฉลี่ย ประมาณ 2,600 ล้านบาท ปัจจุบันปริมาณน้ำที่ส่งเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม หากในอนาคตมีการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลกระทบในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งไม่สามารถส่งปริมาณน้ำได้ตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้มีการวางแผนปรับปรุงระบบส่งน้ําเพื่อสนับสนุนพื้นที่อําเภอดําเนินสะดวก เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อย แต่ยังสามารถบริหารจัดการได้ โดยประมาณกลางเดือนตุลาคม ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานว่าจะมีพายุเข้ามาอีกหลายลูก จึงเชื่อว่าจะทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแต่ละที่จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีน่าจะสามารถบริหารจัดการได้จนถึงฤดูฝนปีหน้า แต่สิ่งสำคัญคือเกษตรกรในอำเภอโพธารามและอำเภอใกล้เคียง ที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องบริหารจัดการในเรื่องการส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตร จึงได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงคลองส่งน้ำ อีกทั้งยังมอบหมายกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ ในเรื่องของปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ จึงได้เดินทางมารับฟังปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรโดยตรง และพร้อมทำงานอย่างเข้มข้น เพื่อนำไปจัดทำแผนการดำเนินงาน ในเบื้องต้น ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) รวมทั้งได้มอบหมายรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้ง Mr.สินค้า ขับเคลื่อนสินค้ามะพร้าวน้ำหอม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี และมอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาแหล่งน้ำ และนำเสนอผลให้พิจารณาโดยด่วน

จากนั้น รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบงานกำจัดวัชพืช ณ ประตูระบายน้ำคลองบางสองร้อย ตำบลบางโตนด และหมู่ที่ 9 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม ซึ่งในปัจจุบันคลองบางสองร้อยมีสภาพตื้นเขิน ส่งผลให้วัชพืชและผักตบชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม ในส่วนฤดูแล้งเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ จึงมีความจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในคลองทั้ง 13 จุด สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ได้มีการวางแผนกำจัดวัชพืชในอนาคตโดยใช้เครื่องจักรกำจัดวัชพืช และใช้แรงคน ร่วมกันในการเก็บวัชพืชไม่ให้เกิดการสะสมจำนวนมาก ทั้งนี้ จากการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ มีเกษตรกรผู้ได้รับผลประโยชน์ 6,350 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับผลประโยชน์ 17,500 ไร่ กำจัดผักตบชวาได้ 819.9 ไร่ คิดเป็นจำนวน 65,592 ตัน ความยาว 147 กิโลเมตร

นอกจากนี้ รมว.เกษตรฯ ได้พบปะพี่น้องประชาชนในที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง เพื่อรับฟังปัญหาการจัดการน้ำ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการอาคารทดนํ้าบ้านสวนผึ้ง ตําบลสวนผึ้ง อําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ดินถล่ม และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ําสำหรับการอุปโภคและบริโภค จํานวน 1,200 ครัวเรือน ในฤดูแล้ง พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 4,000 ไร่ในพื้นที่ 4 ตำบล (สวนผึ้ง ป่าหวาน ท่าเคย และตะนาวศรี) ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) แก่เกษตรในที่ดินสวนผึ้ง จำนวน 10 ราย และมอบพื้นที่โครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสม Zoning by Agri Map โดยสถานีพัฒนาที่ดินราชบุรี กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 2,500 ไร่ และให้การสนับสนุนปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จำนวน 100 ตัน ให้กับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS จำนวน 10 กลุ่ม 50 ตัน และศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์ ศพก.) จำนวน 50 ตัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566