โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“รมว.ธรรมนัส“ รับฟังปัญหาและเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และสภาประชาชน 4 ภาค

,

“รมว.ธรรมนัส“ รับฟังปัญหาและเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และสภาประชาชน 4 ภาค

วันที่ 22 กันยายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบปะ รับฟังปัญหา และรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้แทนกลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) สภาประชาชน 4 ภาค นำโดย นายประพาส โงกสูงเนิน พร้อมด้วยมวลชนประมาณ 250 คน ซึ่งเดินทางมาชุมนุมที่บริเวณเกาะกลางหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริเวณหน้าสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เมื่อเช้าวันพุธที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา โดย กลุ่ม สอส. มีข้อเรียกร้อง 2 ข้อ ได้แก่
1. ขอให้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาให้กลุ่ม เนื่องจากคำสั่งเดิมหมดอำนาจจากการยุบสภา
2. ขอให้แก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน หนี้สิน และผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ให้ดูแลอาหาร น้ำดื่มให้ผู้ชุมนุม และอำนวยความสะดวกความเป็นอยู่ด้านสุขอนามัยของกลุ่ม สอส. ผรท. และสภาประชาชน 4 ภาค แล้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจภัยแล้งจ.ราชบุรี เตรียมแผนจัดหาน้ำให้เพียงพอ หนุนมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำจังหวัด พร้อมมอบสิทธิที่ทำกินให้ชาวสวนผึ้ง

,

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจภัยแล้งจ.ราชบุรี เตรียมแผนจัดหาน้ำให้เพียงพอ หนุนมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำจังหวัด
พร้อมมอบสิทธิที่ทำกินให้ชาวสวนผึ้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และด้านการเกษตร พร้อมรับฟังปัญหาจากเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งจังหวัดราชบุรี มีการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม ประมาณ 88,000 ไร่ โดยอำเภอดำเนินสะดวกมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 47,250 ไร่ ซึ่งอยู่เขตโครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย ประมาณ 30,125 ไร่ ร้อยละ 64 ของพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมในอําเภอดําเนินสะดวก เกษตรกรมีความต้องการน้ำประมาณ 86,069 ลบ.ม./วัน หรือ 31.4 ล้านลบ.ม. ต่อปี โดยมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย ปีละประมาณ 3,900 ล้านบาท มีกําไรเฉลี่ย ประมาณ 2,600 ล้านบาท ปัจจุบันปริมาณน้ำที่ส่งเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม หากในอนาคตมีการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลกระทบในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งไม่สามารถส่งปริมาณน้ำได้ตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้มีการวางแผนปรับปรุงระบบส่งน้ําเพื่อสนับสนุนพื้นที่อําเภอดําเนินสะดวก เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อย แต่ยังสามารถบริหารจัดการได้ โดยประมาณกลางเดือนตุลาคม ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานว่าจะมีพายุเข้ามาอีกหลายลูก จึงเชื่อว่าจะทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแต่ละที่จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีน่าจะสามารถบริหารจัดการได้จนถึงฤดูฝนปีหน้า แต่สิ่งสำคัญคือเกษตรกรในอำเภอโพธารามและอำเภอใกล้เคียง ที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องบริหารจัดการในเรื่องการส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตร จึงได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงคลองส่งน้ำ อีกทั้งยังมอบหมายกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ ในเรื่องของปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ จึงได้เดินทางมารับฟังปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรโดยตรง และพร้อมทำงานอย่างเข้มข้น เพื่อนำไปจัดทำแผนการดำเนินงาน ในเบื้องต้น ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) รวมทั้งได้มอบหมายรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้ง Mr.สินค้า ขับเคลื่อนสินค้ามะพร้าวน้ำหอม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี และมอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาแหล่งน้ำ และนำเสนอผลให้พิจารณาโดยด่วน

จากนั้น รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบงานกำจัดวัชพืช ณ ประตูระบายน้ำคลองบางสองร้อย ตำบลบางโตนด และหมู่ที่ 9 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม ซึ่งในปัจจุบันคลองบางสองร้อยมีสภาพตื้นเขิน ส่งผลให้วัชพืชและผักตบชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม ในส่วนฤดูแล้งเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ จึงมีความจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในคลองทั้ง 13 จุด สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ได้มีการวางแผนกำจัดวัชพืชในอนาคตโดยใช้เครื่องจักรกำจัดวัชพืช และใช้แรงคน ร่วมกันในการเก็บวัชพืชไม่ให้เกิดการสะสมจำนวนมาก ทั้งนี้ จากการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ มีเกษตรกรผู้ได้รับผลประโยชน์ 6,350 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับผลประโยชน์ 17,500 ไร่ กำจัดผักตบชวาได้ 819.9 ไร่ คิดเป็นจำนวน 65,592 ตัน ความยาว 147 กิโลเมตร

นอกจากนี้ รมว.เกษตรฯ ได้พบปะพี่น้องประชาชนในที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง เพื่อรับฟังปัญหาการจัดการน้ำ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการอาคารทดนํ้าบ้านสวนผึ้ง ตําบลสวนผึ้ง อําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ดินถล่ม และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ําสำหรับการอุปโภคและบริโภค จํานวน 1,200 ครัวเรือน ในฤดูแล้ง พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 4,000 ไร่ในพื้นที่ 4 ตำบล (สวนผึ้ง ป่าหวาน ท่าเคย และตะนาวศรี) ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) แก่เกษตรในที่ดินสวนผึ้ง จำนวน 10 ราย และมอบพื้นที่โครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสม Zoning by Agri Map โดยสถานีพัฒนาที่ดินราชบุรี กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 2,500 ไร่ และให้การสนับสนุนปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จำนวน 100 ตัน ให้กับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS จำนวน 10 กลุ่ม 50 ตัน และศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์ ศพก.) จำนวน 50 ตัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

สส.อัครแสนคีรี อภิปรายญัตติ ผลกระทบเอลนีโญ จี้รัฐเร่งรับมือภัยแล้ง-บริหารจัดการน้ำ ขอหลายกระทรวง แก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่าให้ประชาชนว้าวุ่น

,

สส.อัครแสนคีรี อภิปรายญัตติ ผลกระทบเอลนีโญ จี้รัฐเร่งรับมือภัยแล้ง-บริหารจัดการน้ำ ขอหลายกระทรวง แก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่าให้ประชาชนว้าวุ่น

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายญัตติผลกระทบเอลนีโญ โดยมีร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมฟังการอภิปรายด้วยตัวเอง เพื่อนำสิ่งที่สมาชิกสะท้อน ไปเป็นนโยบายและแผนแก้ไขปัญหากับพี่น้องเกษตรกร ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุรุนแรง ส่งผลให้เกิด สภาวะการขาดแคนอาหารและน้ำ ความมั่นคงด้านอาหาร การเกษตร ซึ่งส่งกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

นายอัครแสนคีรี เสนอแนวทางบริหารจัดการ ด้านภัยแล้ง และผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน จากงบประมาณปี 2567 มีแนวโน้มจะล่าช้า ขอนายกรัฐมนตรีใช้งบกลาง เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน ระดมสรรพกำลัง ของทุกหน่วยงานเข้าไปแก้ปัญหาภัยแล้ง และมีระบบติดตามตรวจสอบ กระทรวงมหาดไทย ควรส่งเสริมอนุมัติให้ท้องถิ่น มีเครื่องมือที่เพียงพอ เพราะหากรองบอุดหนุนจากรัฐบาลจะไม่ทันการ ขณะเดียวกัน กรมชลประทานควรเร่งศึกษาการบริหารจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ
แก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตามที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวคิดดังกล่าวแล้ว รวมถึงด้านน้ำบาดาล เป็นเรื่องที่ พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถนำน้ำบาดาลขึ้นมาผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้ง น้ำดื่มริมทาง น้ำดื่มชุมชน และกระจายน้ำระยะไกล นอกจากนี้เรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ควรให้เอกชนมีส่วนร่วม ทางในการขุด ผลิต และจำหน่ายน้ำประปา เพื่อลดงบประมาณการลงทุนจากภาครัฐ

ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม นายอัครแสนคีรี เสนอว่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า รัฐควรจัดหาเครื่องกรองฝุ่น ให้กับสถานที่ต่าง ๆ ทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล อย่างเร่งด่วน และจัดตั้งศูนย์ฉุกเฉินเพื่อดับไฟป่าร่วมกับท้องถิ่น อย่าปล่อยให้เป็นภาระท้องถิ่นฝ่ายเดียวเพราะงบประมาณไม่เพียงพอ ควรจัดสรรเครื่องมือให้เพียงพอ ควรออกกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.อากาศสะอาด การจัดเก็บภาษี การปลดปล่อยคาร์บอนที่เป็นธรรม รวมถึงยกระดับตลาดคาร์บอนเครดิตให้มีมาตรฐานที่สูงครึ่ง ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดเช่นโซล่าเซลล์ ระดับครัวเรือน ผ่านมาตรการภาษีและเงินอุดหนุน และควร ส่งเสริมเอกชนลงทุนในนวัตกรรมการจัดเก็บพลังงาน เช่นดักจับกักเก็บคาร์บอน

นายอัครแสนคีรี ยังได้ฝากถึง การแก้ปัญหาจังหวัดชัยภูมิ ที่เจอแต่ พบเจอแต่สภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก ในช่วงน้ำหลากไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ส่วนฤดูแล้งต้องวิ่งขนน้ำจนประชาชนว้าวุ่นกันหมด จึงฝากผ่านไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ที่จังหวัดชัยภูมิ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 กันยายน 2566

“ฉกาจ สส.พังงา”ฝาก กรมทางหลวงตรวจสอบ ถ.หมายเลข 4 เพชรเกษม หลังสร้างตอนบริบทเมืองเปลี่ยนไปจากตอนสำรวจ ทำให้ตอนฝนตกน้ำท่วมมาแล้ว 3 รอบ

,

“ฉกาจ สส.พังงา”ฝาก กรมทางหลวงตรวจสอบ ถ.หมายเลข 4 เพชรเกษม หลังสร้างตอนบริบทเมืองเปลี่ยนไปจากตอนสำรวจ ทำให้ตอนฝนตกน้ำท่วมมาแล้ว 3 รอบ

นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ สส.พังงา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ถนนหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ตอนบางสัก อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พื้นที่ถนนเพชรเกษมเรามีความยาวจากกรุงเทพมหานครมาถึงภาคใต้ ระยะทาง 1,000 กว่ากิโลเมตร เเละงบประมาณมาจัดสร้างช่องทางจราจร 4 ช่องทาง จราจรก็ยังไม่ครบสมบูรณ์ มีหลายช่วงที่ยังเป็นถนน 2 เลนอยู่

“ผมอยากนำเรียนว่า กว่าจะได้งบประมาณมา ลำบากมาก ต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งการสำรวจออกแบบบางครั้งไม่เป็นปัจจุบัน เพราะแบบออกไว้นานกว่าจะได้งบประมาณ พอมาก่อสร้างจริงบริบท ของเมืองมันเปลี่ยนไปจากพื้นที่ชนบทเป็นเมือง พอสร้างแล้วแบบมันไม่เป็นปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าเมื่อฝนตกลงมา ปีนี้ผ่านมาปีเศษๆ น้ำท่วมไปแล้ว 3 รอบ กลายเป็นว่า แหล่งการท่องเที่ยวหลักของพังงา ท่องเที่ยวมาบ้านเราก็เพราะมีความเป็นอะเมซิ่ง แต่วันนี้มาพังงาอะเมซิ่งไปอีก ตอนมาเป็นถนนอยู่ดี ๆ พอฝนตกมาครั้งเดียว เช้าขึ้นมากลายเป็นคลองแล้ว”นายฉกาจ กล่าว

นายฉกาจ กล่าวต่อว่า ตนขอฝากไปยังกรมทางหลวงให้ดำเนินการติดไฟสว่างส่องสว่างระหว่างเส้นทาง เพราะตอนสำรวจยังเป็นชนบท แต่ตอนนี้กลายเป็นเมืองไปแล้ว เทศบาลก็แก้ปัญหาโดยการเอาหลอดไฟไปปักให้กลางเกาะถนน เพื่อเป็นแสงสว่าง แสงสว่างก็ไม่พอเพียง”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 กันยายน 2566

“ปริญญา สส.กำแพงเพชร”ขอ กรมทางหลวงอนุมัติงบประมาณขยายสะพานทางหลวง พร้อมติดไฟส่องสว่างเพิ่มบนถนนสายหลัก พร้อมวอน กรมชลประทาน เร่ง ซ่อมฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง

,

“ปริญญา สส.กำแพงเพชร”ขอ กรมทางหลวงอนุมัติงบประมาณขยายสะพานทางหลวง พร้อมติดไฟส่องสว่างเพิ่มบนถนนสายหลัก พร้อมวอน กรมชลประทาน เร่ง ซ่อมฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง

นายปริญญา ฤกษ์หร่าย สส.กำแพงเพชร เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า การก่อสร้างขยายสะพานทางหลวง หมายเลข 1074 ช่วงระหว่างไปบ้านขนุน ความยาวสะพาน 0.375 กิโลเมตร ซึ่งสถานที่ดังกล่าวเป็นเขตชุมชน มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรไปมาของพี่น้องประชาชน ในการเดินทางไปหลายแห่ง เช่น อำเภอ โรงพยาบาล รวมถึงโรงเรียนตนจึงอยากจะขอให้กรมทางหลวง ได้จัดสรรงบประมาณในการขยายสะพานแห่งนี้ด้วย

นายปริญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ไฟส่องสว่างตามถนนหมายเลข 1112 ตำบลบ่อถ้ำไปยังสี่แยกวังตาห้าว ตำบลปางมะค่า ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 18 บ้านใหม่สามัคคี และหลักกิโลเมตรที่ 34 บ้านหนองแสง ซึ่งเป็น เขตชุมชนพี่น้องประชาชนได้ร้องเรียนผ่านตนมาว่า ในช่วงกลางคืนจะมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ขอฝากให้กรมทางหลวง ไปติดตั้งไฟแสงส่องสว่างให้กับพี่น้องประชาชน

“ผมก็อยากจะเรียนไปยังกรมชลประทาน ถึงปัญหาเรื่องน้ำทางการเกษตร ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในเรื่องของการเกษตร โดยสมาชิกหลายท่านก็ได้หารือไปหลายครั้งแล้วว่า ขอให้กรมชลประทานได้จัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง การส่งน้ำและบำรุงรักษาไว้ เพราะลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นฝายสำคัญของเรื่องการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร”นายปริญญา กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 กันยายน 2566

“จตุพร สส.ราชบุรี” วอน ขยายถนน 4 เลนทางหลวงเชื่อม จ.กาญจนบุรี อำนวยความสะดวก ลดอุบัติเหตุให้ปชช.

,

“จตุพร สส.ราชบุรี” วอน ขยายถนน 4 เลนทางหลวงเชื่อม จ.กาญจนบุรี อำนวยความสะดวก ลดอุบัติเหตุให้ปชช.

นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาการจราจรคับคั่ง บริเวณถนนทางหลวงหมายเลข 3090 ซึ่งเป็นถนนที่เริ่มจาก ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ถึง ตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถนนดังกล่าวมีปริมาณยานพาหนะผ่าน เฉลี่ยวันละ 16,000 คัน สาเหตุที่ทำให้การจราจรคับคั่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางสายหลักที่เชื่อมไปยัง จ.กาญจนบุรี อ.บ้านโป่ง และ อ.เมือง จ.ราชบุรี แต่มีเพียง 2 ช่องจราจร เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อเกิดความเสียหายในชีวิต และทรัพย์สินบ่อยครั้ง จึงอยากขอให้เพิ่มถนนเป็น 4 ช่องจราจร โดยขยายบริเวณ กม.8 บริเวณ ต.ท่าชุมพล ถึง กม.18 ต.นางแก้ว อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวม 11 กิโลเมตร จึงขอเรียนประธานสภาฯผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ดันกรมวิชาการเกษตร ต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส” ดันกรมวิชาการเกษตร ต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิด “งานแถลงผลงานกรมวิชาการเกษตร 2566 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร” ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำการวิจัย มุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” พร้อมมอบนโยบายให้กับผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ว่า “กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นหน่วยงานนำทางในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จึงเน้นย้ำให้นำผลงานวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาขึ้น ในฐานะผู้นำในการพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอด ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง สร้างคุณค่าให้กับองค์กรให้เติบโต เข้มแข็งขึ้น ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับการพัฒนาการเกษตรของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และยั่งยืนต่อไป”
ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานฯ ว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดเวทีการเสวนา “การขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม แบบมุ่งเป้าสู่การใช้ประโยชน์ทุกมิติ” พร้อมทั้งนิทรรศการงานวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ของกรมวิชาการเกษตร อาทิ รู้ทัน รู้จริง การผลิตทุเรียนคุณภาพ เพื่อการส่งออก, นวัตกรรมพืชสวนพันธุ์ดี, วิจัยและพัฒนาข้าวโพด เพื่อการผลิตที่ตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคในประเทศ, พืชตระกูลถั่วเพื่อความมั่นคงทางอาหาร, การพัฒนาพืชอุตสาหกรรมด้วย นวัตกรรมงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร, โครงการวิจัยและพัฒนาพืชสกุลกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม, การขับเคลื่อนคาร์บอนเครดิต กับการสร้างรายได้สู่เกษตรกร เป็นต้น จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าชมงานได้ ตั้งแต่วันที่ 20-22 กันยายนนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ระหว่างกรมวิซาการเกษตร กับ หน่วยงานภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2565 รางวัลโครงการพระราชดำริ และโครงการพิเศษดีเด่น ประจำปี 2566 รางวัลนักวิจัยดีเด่นรุ่นอาวุโส และรางวัลนักวิจัยดีเด่นรุ่นเยาว์ ประจำปี 2566 และมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้สร้างคุณูปการแก่กรมวิชาการเกษตรอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กันยายน 2566

“ชัยทิพย์ สส.ราชบุรี” แนะรัฐเร่ง ขยายถนนทางหลวงหมายเลข 3526 เป็น 4 ช่องจราจรแก้ปัญหาจราจรคับคั่ง ลดอุบัติเหตุให้ปชข.

,

“ชัยทิพย์ สส.ราชบุรี” แนะรัฐเร่ง ขยายถนนทางหลวงหมายเลข 3526 เป็น 4 ช่องจราจรแก้ปัญหาจราจรคับคั่ง ลดอุบัติเหตุให้ปชข.

นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชน ว่า ปัญหาการจราจรคับคั่ง อันเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน บริเวณถนนเพชรเกษมสายเก่า ทางหลวงหมายเลข3526 ซึ่งมีตำบลเชื่อมต่อกัน 3 ตำบล ได้แก่ บ้านเลือก บ้านฆ้อง และ บ้านสิงห์ ถนนสายดังกล่าวตลอด2ข้างทาง เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บสินค้า รวมไปถึงสถานที่ศึกษา จากข้อมูลที่ได้รับพบว่ามียานพาหนะสัญจรตลอดเส้นทางเฉลี่ยสาม30,000คัน และเกิดอุบัติเหตุ 150-180 ครั้งต่อปี

สาเหตุเกิดจากถนนที่ยังเป็นสองช่องทางจราจร และยังตั้งอยู่ใจกลางแหล่งชุมชนที่หนาแน่น รวมไปถึงมีทางแยกร่วมหลายจุด เรื่องความเดือดร้อนดังกล่าว ตนจึงอยากฝากประธานสภาฯ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาแก้ไข ดำเนินการเพิ่มถนนเป็น 4 เลนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กันยายน 2566

“สส.ไผ่ ลิกค์ ลงพื้นที่ 2 ตำบล ร่วมประชุมสัญจรกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ขอบคุณ ปชช.-ราชการ ที่ร่วมมือกันเดินหน้าแก้ปัญหาปากท้อง-ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

,

“สส.ไผ่ ลิกค์ ลงพื้นที่ 2 ตำบล ร่วมประชุมสัญจรกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ขอบคุณ ปชช.-ราชการ ที่ร่วมมือกันเดินหน้าแก้ปัญหาปากท้อง-ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้ลงพื้นที่ บ้านคลองใหญ่ ม. 7 ตำบลวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อร่วมประชุมสัญจรกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วย สจ.กมล สิมเมือง และนายกวสันต์ ชูเฉลิม ณ และในพื้นที่บ้านหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อคำ
เพื่อร่วมประชุมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบ่อคำ รวมถึงกำนันตำบลนาบ่อคำ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตร แพทย์ประจำตำบล สายตรวจตำบลนาบ่อคำ ซึ่งถือเป็นการประชุมที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น พร้อมรับฟังปัญหาและความต้องการในแต่ละหมู่ของทั้ง 2 ตำบล

“การรับฟังปัญหาของประชาชนอย่างใกล้ชิด จะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็ว ผมก็ต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนและหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมมือกันเป็นอย่างดี ผมพร้อมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาปากท้อง และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนต่อไป⁣”นายไผ่ กล่าว

นายไผ่ กล่าวต่อว่า ตนยังได้ลงพื้นที่ร่วมกับ สจ.กมล สิมเมือง เพื่อเปิดงานกีฬาสีภายในโรงเรียนบ้านทุ่งเศรษฐี และสนับสนุนให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
โดยการแข่งขันกีฬาสีภายในของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเศรษฐี มีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 101 คน กีฬาที่จัดให้มีการแข่งขัน มี 6 ประเภทกีฬา ประกอบไปด้วย ฟุตบอลชายหญิง วอลเล่ย์บอลผสม เชปักตะกร้อชายหญิง เปตองผสม กรีฑา และกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งกิจกรรมเช่นนี้คือการส่งเสริมให้เยาวชนของเราใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และห่างไกลยาเสพติดด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กันยายน 2566

‘รมว.ธรรมนัส’ ติดตามสถานการณ์อุทกภัย จ.ขอนแก่น สั่งเร่งแก้ไขปัญหา พร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อสร้างกำลังใจพี่น้องเกษตรกรที่ประสบภัย

,

‘รมว.ธรรมนัส’ ติดตามสถานการณ์อุทกภัย จ.ขอนแก่น สั่งเร่งแก้ไขปัญหา พร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อสร้างกำลังใจพี่น้องเกษตรกรที่ประสบภัย

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และให้ความช่วยเหลือ พร้อมมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย ณ โรงเรียนบ้านคำบง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ว่า ตามที่มีฝนตกหนักในช่วงคืนวันศุกร์ 15 กันยายน 2566 ต่อเนื่องถึงวันอาทิตย์ 17 กันยายน 2566 ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จนทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำชี แม่น้ำเชิญ และลำห้วยเสือเต้น ได้รับผลกระทบมีน้ำท่วมในพื้นที่ อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพองอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอเมืองขอนแก่น โดยปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ ณ อำเภอเขาสวนกวาง 53.4 มม. อำเภออุบลรัตน์ 58.0 มม. อำเภอน้ำพอง 67.8 มม. และอำเภอเมืองขอนแก่น 145 มม. ตามลำดับ ส่งผลให้มีน้ำหลากจากลำห้วยสาขา เช่น ลำห้วยเสือเต้น ลำห้วยคุนมุม ไหลหลากลงมาที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณเหนือฝายหนองหวาย ส่งผลให้มีปริมาณน้ำเกินความจุของลำน้ำพอง ทำให้มีน้ำเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรบางส่วน

รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นนั้นมีปัญหาภัยแล้ง – น้ำท่วมซ้ำซาก ต้องเร่งบูรณาการทั้งจังหวัด และยังมีหนองน้ำตื้นเขิน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเก็บกักปริมาณน้ำได้ในปริมาณมาก แต่ก็สามารถสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ได้ เช่น โครงการแก้มลิง ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง หรือไว้เป็นที่ระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งศึกษาหาทางแก้ไขในระยะยาว

สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 7,600 ไร่ จำนวน 500 ครัวเรือน นาข้าวได้รับความเสียหายกว่า 7,000 ไร่ ปัจจุบันน้ำลดลงประมาณ 30 ซม. คงเหลือน้ำท่วมสูง 60 – 70 ซม. ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้เร่งระบายน้ำผ่านฝายหนองทุกช่องทาง เพื่อลดผลกระทบ พร้อมทั้งเร่งระบายน้ำที่เขื่อนมหาสารคาม เพื่อดึงมวลน้ำจากลำน้ำพองลงแม่น้ำชี เพื่อให้ไหลสะดวกขึ้น โดยแม่น้ำชียังมีช่องว่างสามารถรองรับได้ และไม่เกิดผลกระทบท้ายน้ำในแม่น้ำชี เขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คาดว่า 1 – 2 วัน จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม

โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ยังได้มอบหญ้าแห้งอาหารสัตว์พระราชทาน และถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จำนวน 500 ถุง แก่พี่น้องเกษตรกร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นำ ทส. และ วธ. ร่วมเฉลิมฉลอง ยูเนสโก ประกาศเมืองโบราณศรีเทพแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นำ ทส. และ วธ. ร่วมเฉลิมฉลอง ยูเนสโก ประกาศเมืองโบราณศรีเทพแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นประธานแถลงข่าวการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ร่วมแถลงข่าว ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พลตำรวจเอก พัชรวาท กล่าวว่า การที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม โดยเมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-25 กันยายน 2566 ณ กรุงริยาร์ด ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ประกอบด้วยแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม 3 แหล่ง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และคงความเป็นของแท้ดั้งเดิม ได้แก่ เมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานเขาคลังนอก และโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ ภายใต้เกณฑ์ของยูเนสโก เกณฑ์ข้อที่ 2 แสดงถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่งหรือพื้นที่ในวัฒนธรรมใด ๆ ของโลก ผ่านการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี การวางแผนผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ และเกณฑ์ข้อที่ 3 เป็นพยานหลักฐานที่ยอดเยี่ยม หรือหาที่เสมอเหมือนไม่ได้ของประเพณี วัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ หรือสูญหายไปแล้ว

ทั้งนี้ พลตำรวจเอก พัชรวาทฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ขับเคลื่อนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติเป็นมรดกโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้ การจัดทำเอกสารการนำเสนอเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลพื้นที่ จนทำให้เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย นับเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 7ของไทย ซึ่งจะกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการหวงแหน และอนุรักษ์ทรัพยากรที่เป็นทุนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวตามมา โดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จะได้จัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณศรีเทพต่อไป

โอกาสนี้จึงขอเชิญชวนให้ทุกคน ไปสัมผัสความสวยงามของเมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียม ระหว่างวันที่20-24 กันยายน2566 อีกทั้งยังจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง ศรีเทพกับมรดกโลก ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันที่20 กันยายน 2566ถึง 14 มกราคม 2567 เพื่อเผยแพร่เรื่องราว คุณค่า และความสำคัญของเมืองโบราณศรีเทพ ให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกในครั้งนี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2566

“สส.บุญชัย -สส.วรโชติ” พปชร. จ.เพชรบูรณ์ เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รับผลกระทบจากฤดูฝน สร้างความเสียหายให้กับเส้นทางสัญจร-ปัญหาอุทกภัยท่วมบ้านเรือน

,

“สส.บุญชัย -สส.วรโชติ” พปชร. จ.เพชรบูรณ์ เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รับผลกระทบจากฤดูฝน สร้างความเสียหายให้กับเส้นทางสัญจร-ปัญหาอุทกภัยท่วมบ้านเรือน

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ร่วมประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ผู้นำชุมชน นายสมยง คำตุ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตาดกลอย พร้อมผู้นำชุมชนในตำบลตาตาดกลอย และตำบลศิลา เพื่อร่วมสำรวจถนนเส้นศิลา-อุ่มกะทาด ระยะทางประมาณ 1.8 กิโลเมตร โดยสภาพถนนชำรุด เสียหาย เป็นหลุมเป็นบ่อมีน้ำท่วมขัง เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรของพี่น้องประชาชน ทั้ง 2 ตำบลจึงร่วมกันหาแนวทางในการปรับปรุงซ่อมแซมให้พื้นผิวถนนกลับมาสมบูรณ์ เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุและป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ด้านนายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่าว่า ขณะนี้ตนได้เร่งเข้าพื้นที่ ต.ซับพุทรา อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชน ที่กำลังประสบกับปัญหาน้ำท่วมหลังจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยตนได้มอบถุงยังชีพให้กับผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น พร้อมประสานหน่วยงานเข้าช่วยเหลือ ทั้งทางด้านสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันด้วย

“จ.เพชรบูรณ์ ในช่วงที่ผ่านมีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง และด้วยสภาพภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชัน มักจะเกิดปัญหาน้ำไหลหลากจากที่สูงและสร้างผล
กระทบกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนจะเสนอต่อรัฐบาล เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาวและสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้มีแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น และยังสามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยให้กับประชาชน”นายวรโชติ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 กันยายน 2566