โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้า 3 นโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กยท. มุ่งสร้างเสถียรภาพยาง ปราบปรามการนำเข้ายางผิดกฎหมาย ประสานภาคเอกชนร่วมลงทุน

,

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้า 3 นโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กยท. มุ่งสร้างเสถียรภาพยาง ปราบปรามการนำเข้ายางผิดกฎหมาย ประสานภาคเอกชนร่วมลงทุน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารยางพารา โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย พนักงานในสังกัด ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกันตัง กยท. สำนักงานใหญ่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ต้องการมาพบปะและหาแนวทางการขับเคลื่อนงานร่วมกัน ซึ่งต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการการทำงานไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) การปรับสมดุลปริมาณยางพาราในประเทศ ได้มอบหมายให้ กยท. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบสต็อกยางพาราให้ตรงกัน รวมถึงให้ตรวจสอบจำนวนสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน เพื่อจัดทำเป็น Big data ใช้ในการบริหารจัดการยางให้เกิดเสถียรภาพ
2) การปราบปรามการนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรมาสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย จะต้องเอาจริงเอาจัง และมีบทลงโทษอย่างเด็ดขาดสำหรับผู้กระทำผิด และ
3) ดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับ กยท. โดยมีแนวทางในการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น เพื่อใช้ในส่วนราชการ และใช้ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรด้วย

“อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร กยท. จะสามารถเดินหน้าหามาตรการต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้ราคายางดีดีกว่านี้ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางอยู่ดีกินดี และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยางให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้าสร้างกลไกตลาดเพิ่มรายได้เกษตรกรพื้นที่สูง ลดปัญหาความยากจนมุ่งแก้ฝุ่น PM2.5 ยั่งยืน

,

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้าสร้างกลไกตลาดเพิ่มรายได้เกษตรกรพื้นที่สูง ลดปัญหาความยากจนมุ่งแก้ฝุ่น PM2.5 ยั่งยืน

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. พร้อมมอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาพื้นที่สูง เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อีกทั้งยังเยี่ยมชมจุดเรียนรู้ ได้แก่ พืชสวนและความหลากหลายทางชีวภาพ พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ และศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับสถานการณ์การเผาและหมอกควันในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกิดจุดความร้อน (Hotspot) ช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ใน ปี 2566 พื้นที่ดำเนินงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 39 แห่ง พื้นที่ 1,680,599.48 ไร่ พบจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ป่าไม้ 1,220 จุด พื้นที่เกษตร 349 จุด และพื้นที่ดำเนินงานฯ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 44 แห่ง พื้นที่ 6,269,094.43 ไร่ พบจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ป่าไม้ 6,042 จุด และพื้นที่เกษตร 1,726 จุด
กระทรวงเกษตรฯ โดย สวพส. มีแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 บนพื้นที่สูง โดยมีอำเภอแม่แจ่ม เป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการเผาพื้นที่สูง ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ 1) จัดทำแผนที่ดินของเกษตรกรรายแปลงเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งแยกพื้นที่ป่าและที่ทำกิน วางแผนพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ ระเบียบ และกฎหมาย แก้ไขปัญหาอย่างพุ่งเป้า ตรงตามบริบทพื้นที่ ปัญหาและความต้องการของชุมชน 2) การสนับสนุนชุมชนป้องกันไฟป่า ส่งเสริมและสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการป้องกันไฟป่า อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร 3) การจัดการเศษวัสดุการเกษตร (ชีวมวลอัดแท่ง/ปุ๋ยอินทรีย์) สนับสนุนชุมชนโดยการรับซื้อเศษวัสดุการเกษตรภายใต้ข้อตกลงและราคาที่เหมาะสมเพื่อนำไปผลิตชีวมวลอัดเม็ด 4) การส่งเสริมด้านอาชีพ ด้วยเกษตรมูลค่าสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง และตลาดนำการผลิต
5) การพัฒนามาตรฐาน GAP PM2.5 Free และ 6) การเพิ่มช่องทางการตลาดผลผลิต (green product)

นอกจากนี้ ยังได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานใรสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้เตรียมดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สำหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช มีแนวทางการขับเคลื่อนของกรมวิชาการเกษตร ในการเพิ่มมูลค่า เพิ่มแรงจูงใจ (เกษตรพันธะสัญญา) และเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพด โดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ มุ่งดำเนินการทั้งในเรื่อง มาตรฐานการผลิตพืช GAP PM 2.5 FREE การปรับเปลี่ยนพื้นที่สูง โดยการเปลี่ยนพืชปลูก (กาแฟ มะคาเดเมีย อะโวกาโด) และการเปลี่ยนพฤติกรรม กรณีปลูกพืชเดิม (ข้าวโพด) และการปรับเปลี่ยนบนพื้นราบ โดยการปลูกข้าวโพดทดแทนพื้นที่สูง บนพื้นที่นอกเขตชลประทาน/ไม่เหมาะสมสำหรับนาปรัง
“การลงพื้นที่ในวันนี้ ต้องการมาศึกษารูปแบบการจัดงานพืชสวนโลกของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับภาคการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล และกลายเป็นมรดกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะนำมาเป็นแนวทางในการจัดงานพืชสวนโลกของจังหวัดอุดรธานีต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องการมาติดตามการขับเคลื่อนงานของ สวพส. โดยมุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่สูง ต้องการให้เค้ามีงาน มีอาชีพ โดยใช้ตลาดนำ จึงได้มอบหมายทุกหน่วยงานในสังกัดร่วมบูรณาการทำงาน ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงและแก้ไขปัญหา PM 2.5 ได้” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

,

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ
เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

วันนี้ (16 ต.ค.66) เวลา 13.30 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับแกนนำสมัชชาคนจน (สคจ.) และ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองกระทรวงซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของที่ดินที่เป็นปัญหาค้างคาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม แบ่งเป็น กระทรวงมหาดไทย 14 กรณีประเด็นปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7 กรณี ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบการทำงานจากนี้ร่วมกันระหว่างสมัชชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดตามข้อร้องเรียนในแต่ละประเด็น เสนอต่อสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเบื้องต้นได้ผลเป็นน่าพอใจ และเมื่อมีกรอบแนวทางออกในการดำเนินงานในความเดือนร้อนที่พี่น้องสมัชชาคนจนเสนอมา และมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน คาดว่าการปักหลักชุมนุมก็จะไม่ยืดเยื้อแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการหารือร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจนเรียบร้อยแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางต่อไปยังบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล พบปะตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ เพื่อหารือการขับเคลื่อนการทำงานของคณะอนุกรรมการที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรรมการลงนามแต่งตั้งทั้งหมด 7 คณะอนุกรรมการ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบ 2.คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม 3.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการของรัฐ 4.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ 5.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาสิทธิสถานะ และบุคคล 6.คณะอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัยและการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ 7.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาใน 10 ประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบาย และปัญหารายกรณีทั้งสิ้น 266 กรณี ร่วมกันตามที่กลุ่มพีมูฟได้ยื่นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพีมูฟ ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการ จะประสานงานฝ่ายเลขาฯ ของคณะกรรมการและอนุกรรมการทุกชุดมาประชุมร่วมกับผู้แทนพีมูฟโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มพีมูฟได้ปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา และจะยุติการชุมชุมและทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาในวันนี้ (16 ต.ค.66).

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

‘ธรรมนัส’นำทีม สส.พปชร.ลุยแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา พร้อมประกาศ ดีเดย์แจกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรก 15 ม.ค. 67 แน่นอน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด กระแสสินธุ์ และพบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ณ ต.บ้านตาขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ร่วมกับ สส. ภาคใต้ของพรรคพลังประชารัฐ อาทิ นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 ,นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต2 , นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต 3 และนายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2

โดย ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาของคาบสมุทรสทิงพระ คือเริ่มตั้งแต่เมื่อวานที่ตนไปลงพื้นที่ทะเลน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา รวมถึงนครศรีธรรมราช แล้วก็คาบสมุทรทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน โดยช่วงเช้าตนได้สั่งการไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาว่า จะนำเรื่องที่มาตรวจราชการ 2 วัน โดยเป็นเรื่องของคนพัทลุง คนสงขลา และคนนครศรีธรรมราช เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้รับทราบ เพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในเรื่องของการพัฒนาทะเลสาบสงขลา อย่าง ทะเลน้อย

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อเช้าตนอยู่กับพี่น้องชาวอำเภอระโนด ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พี่น้องได้รับผลกระทบ เวลาหน้าน้ำหลากก็ท่วมคาบสมุทรสทิงพระ ทำให้พี่น้องชาวอำเภอสทิงพระเดือดร้อน แนวทางในการแก้ปัญหาในส่วนของกรมชลประทาน ตนได้สั่งการกรมชลประทานแล้วว่า ให้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อย่างเช่น ในช่วงหน้าแล้ง ก็มีปัญหาเรื่องน้ำของภาคการเกษตรเป็นปัญหามาก เราจะทำการกระจายน้ำ โดย ใช้เป็นประตูสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละจุดของคลองอาทิตย์ เพื่อระบายไปยังแปลงเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้ง 4 อำเภอ ส่วนคณะกรรมการในการบริหารจัดการทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา ตนก็จะอาสาเป็นประธานในการขับเคลื่อน

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมาตนมีการประชุมของคณะกรรมการปฎิรูปที่ดิน อนุมัติกรอบในการเปลี่ยนที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด ภายใต้ใช้กฎหมายข้อบังคับประกาศ 4 ฉบับ พรบ.ส.ป.ก. ปี 18 ประกอบกับปีที่ปรับปรุงแล้ว ถ้าถามว่า ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2567 จะเริ่มแจก ส.ป.ก.ทั่วประเทศหรือไม่ ตน ยืนยันว่า ทำ ขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศว่า เราจะเปลี่ยนที่ดินที่เป็นที่ดินของรัฐประเภท สปก.ให้เป็นโฉนด เพื่อการเกษตรให้กับของท่าน อย่างในพื้นที่จังหวัดสงขลาก็มีที่ดิน ส.ป.ก.จำนวนมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System : GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย ณ จุดชมวิว (บ้านแฝด) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ดังกล่าวเป็นมรดกทางการเกษตรโลก

สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแบบลากูน เชื่อมลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งภายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยประกอบไปด้วยระบบนิเวศย่อยมากมาย อาทิ ป่าพรุ ทุ่งหญ้า เนินสูง และบึงน้ำ ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำมากกว่า 200 สายพันธุ์ และเป็นจุดพักของนกอพยพตามเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออกถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีสถานะอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่นิเวศบริการหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตำบลเคร็งและตำบลแหลม) จังหวัดพัทลุง (ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง) จังหวัดสงขลา (ตำบลบ้านขาว) ที่พึ่งพิงอาศัยทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง ก่อให้เกิดวิถีการทำการเกษตรที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น วิถีการเลี้ยงควายปลัก การทำหัตถกรรมกระจูด การปลูกข้าว “นาริมเล” และการทำประมงโดยใช้ยอยักษ์เป็นเครื่องมือทำการประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย สะท้อนสมดุลระหว่างวิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศและการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร กระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรที่สำคัญของโลก และจะนำไปสู่การแผนจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่สร้างสมดุลทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไปให้อนาคต โดยพื้นที่ดังกล่าว มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 228 ราย จํานวนควาย 4,480 ตัว และมีกลุ่มผู้เลี้ยงควาย 17 กลุ่ม

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมอบหมายกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า โยธาธิการจังหวัด และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ นำเครื่องจักรเครื่องมือมาดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเก็บกักวัชพืชที่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงในอาชีพ ก่อตั้งขึ้นโดย นางวรรณี เซ่งฮวด ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการนำวัสดุอื่น ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกใหม่ และมีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระจูด และสร้างงานให้คนในชุมชนกว่า 200 คน นำรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 4 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” แจ้งข่าวดีสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีแนวโน้มสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้งนี้

,

“รมว.ธรรมนัส” แจ้งข่าวดีสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีแนวโน้มสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้งนี้

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีนายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมชลประทาน และสำนักงานชลประทานที่ 1 – 17 เข้าร่วม ณ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน และผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) ซึ่งจากปริมาณฝนที่ตกในช่วงที่ผ่ามมา ส่งผลต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณเกินร้อยละ 80 ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่มอก เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนสิรินธร เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนประแสร์ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา ซึ่งกรมชลประทานมั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะสามารถสนับสนุนทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้ง สำหรับอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ กรมชลประทานมีการติดตามและวางแผนการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง มั่นใจไม่กระทบการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตามข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด

รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีปริมาณน้ำมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกจำนวนมาก ทำให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสในการทำนาปรังในพื้นที่เขตชลประทาน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในการทำนาปรังดังกล่าว จะต้องผ่านคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ที่มีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นฝ่ายเลขานุการ หากมีมติเห็นชอบ กระทรวงเกษตรฯ จะนำเข้าคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวน 8,524 ล้าน ลบ.ม. และคาดการณ์ว่า ในวันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีจำนวน 9,673 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,401 ล้าน ลบ.ม.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ผลักดันนโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ทันปีนี้ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกร

,

“รมว.ธรรมนัส” ผลักดันนโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ทันปีนี้ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ร่วมประชุมและรับฟังนโยบายฯ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมตรัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Meetings) ว่า นโยบายรัฐบาลที่สำคัญ คือการผลักดันการเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ให้เป็นโฉนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนได้ผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ที่ดินสามารถตกถึงทายาทได้ โดยได้เน้นย้ำในที่ประชุมให้ความสำคัญกับการกำหนดแนวทางการเร่งรัดการดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตที่มั่นคง และมอบหมายให้ ส.ป.ก. เร่งรัดจัดทำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นไปตามคำสัญญากับประชาชนที่คาดหวังกับการมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตมั่นคงจากการที่รัฐได้พิจารณาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นโฉนด เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ ภายใน 100 วัน ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ “เกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้มีอาชีพมั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และภาคเกษตรไทยคือผู้นำสินค้าเกษตรในตลาดโลก”

อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาทบทวนในเรื่องของข้อกฎหมายกรอบแนวทางใดที่สามารถเปลี่ยน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนดภายใต้กฎหมายเพื่อให้เกิดความรอบคอบ และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน ไม่ให้ตกไปอยู่ในกลุ่มของนายทุน และต้องนำไปใช้ในภาคเกษตรเท่านั้น โดยในวันพรุ่งนี้ (6 ต.ค.66) จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายและระเบียบ โดยมีเลขาธิการ ส.ป.ก. เป็นประธาน ณ ส.ป.ก. เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อกฎหมาย รวมถึงระเบียบใดๆ ที่ยังติดขัด หลังจากนั้นคณะอนุกรรมการฯ จะนำข้อสรุปหารือกับตนอีกครั้ง ก่อนเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อไป

“เรื่องกฎหมายเราจะไม่ละเมิด แต่หากมีกฎหมายข้อใดที่ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ได้รับการพัฒนา ก็อาจจะต้องกลับมาพิจารณาทบทวนกฎหมายข้อนั้นๆ หากเป็นปัญหาก็ต้องแก้ไข โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเดินหน้าผลักดันการเปลี่ยน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนด เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่น้องเกษตรกร และเชื่อมั่นว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้ โดยเตรียมหารือจังหวัดนำร่อง แล้วจะเดินหน้าขับเคลื่อนเป็นโมเดลในแต่ละจังหวัดต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า ส.ป.ก. มีภารกิจหลักในการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกร ผู้ไร้ที่ดินทำกิน และสถาบันเกษตรกร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกร การพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน และการบริหารเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ส.ป.ก. ให้ความสำคัญกับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดแนวทางการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด รวมถึงนโยบายที่จะพัฒนาศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร โดย ส.ป.ก. มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์บริการประชาชนผ่านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการ และอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ดูแลผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานดูแลต้นทุนสร้างราคาที่เป็นธรรม

,

“รมว.ธรรมนัส” ดูแลผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานดูแลต้นทุนสร้างราคาที่เป็นธรรม

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ นำผู้แทนเกษตรกรเข้าพบ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการนี้ สมาคมฯ ได้กล่าวขอบคุณที่ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยได้รับการดูแลจากกรมปศุสัตว์เป็นอย่างดี สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร รวมถึงมีการจัดสรรโควต้าอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ทำให้ปริมาณไข่ไก่ไม่ขาดและไม่ล้นตลาด จึงขอขอบคุณภาครัฐที่เป็นพี่เลี้ยง ทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยดีขึ้น และสำหรับการมาในวันนี้อยากจะขอให้ภาครัฐช่วยดูแลและปกป้องอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ รวมถึงช่วยดูแลในเรื่องต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่ได้

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมในเรื่องการปลูกพืชอาหารสัตว์ เพื่อช่วยให้ราคาต้นทุนถูกลง รวมถึงประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อดูแลในเรื่องราคาไข่ไก่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“รมว.เกษตรฯ” พร้อมแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ชายฝั่งทะเล ทั้งเรื่องกฎระเบียบและราคากุ้งตกต่ำ พร้อมปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ คลองใหญ่ จ.ตราด สร้างความั่นคงประกอบอาชีพให้พี่น้อง

,

“รมว.เกษตรฯ” พร้อมแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ชายฝั่งทะเล ทั้งเรื่องกฎระเบียบและราคากุ้งตกต่ำ พร้อมปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ คลองใหญ่ จ.ตราด สร้างความั่นคงประกอบอาชีพให้พี่น้อง

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบปะเกษตรกรรับฟังปัญหา และติดตามสถานการณ์ พร้อมแก้ไขปัญหาด้านการเกษตกร ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

ทั้งนี้ จังหวัดตราด เป็นจังหวัดชายแดนสุดฝั่งทะเลตะวันออก มีอาณาเขตด้านชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาทั้งทางบกและทางทะเล มีความยาว 330 กิโลเมตร โดยทางบกติดกับทางจังหวัดของประเทศกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัต และจังหวัดเกาะกง ซึ่งมีแนวชายแดนธรรมชาติติดทิวเขาบรรทัด เป็นเส้นแบ่งเขตแดนตลอดแนวมีความยาว 165 กิโลเมตร และมีแนวอาณาเขตทางทะเลมีความยาว 185 กิโลเมตร โดยจังหวัดตราดเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญ ทั้งประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์ รวมทั้งพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งชายฝั่งและน้ำจืด ผลผลิตสัตว์น้ำของจังหวัดตราด มีมากกว่า 82,779 ตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5,599.80 ล้านบาท ผลผลิตจากการทำการประมง 55,643 ตัน มูลค่า 2,344.21 ล้านบาท ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 27,136 ตัน มูลค่า 3,255.59 ล้านบาท

สำหรับทะเบียนเกษตรกร มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) 1,317 ราย แบ่งเป็น กุ้งทะเล 476 ราย หอยทะเล 346 ราย ปลาน้ำจืด 317 ราย ปลาทะเล 125 ราย จระเข้ 14ราย สัตว์น้ำสวยงาม 3 ราย และสัตว์อื่น ๆ 36 ราย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 27,136 ตัน มูลค่า 3,255.59 ล้านบาท ทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) 539 ราย ทะเบียนผู้ทำอาชีพทำการประมง (ทบ.2) 3,334 ราย เรือประมงพื้นบ้านที่มีทะเบียนเรือไทย จำนวน 3,379 ลำ ได้แก่ อวนติดตา อวนครอบหมึก อวนลอยปลากระบอก อวนจมปูม้า อวนลอยปลาทู และเรือประมงพาณิชย์ที่มีทะเบียนเรือไทย จำนวน 588 ลำ ได้แก่ อวนครอบปลากะตัก อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับปากจะช่วยแก้ไขปัญหาพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีความเข้มงวดและเป็นอุปสรรคต่อการทำประมงในปัจจุบัน โดยชาวประมงเสนอให้มีแนวทางบรรเทาผลกระทบในช่วงการเปลี่ยนผ่านของกฎหมาย และจะช่วยดูราคากุ้งตกต่ำ ทั้งกุ้งแวนนาไม กุ้งกุลาดำ และกุ้งก้ามกราม ซึ่งมีปัจจัยมาจากโรคระบาดและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ขอให้มั่นใจว่าจะร่วมแก้ปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ติดทะเล

“รมว.ธรรมนัส” ปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ คลองใหญ่ จ.ตราด สร้างความั่นคงประกอบอาชีพให้พี่น้อ

นอกจากนี้ ร.อ. ธรรมนัส ได้ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทะเล ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี จำนวน 300,000 ตัว ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ทั้ง กุ้งกุลาดำ และปลากะพงขาว เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ในระบบนิเวศน์ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรณ์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน ในการประกอบอาชีพที่มั่นคง เพื่อส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานกับพี่น้องประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส“ รับฟังปัญหาและเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และสภาประชาชน 4 ภาค

,

“รมว.ธรรมนัส“ รับฟังปัญหาและเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และสภาประชาชน 4 ภาค

วันที่ 22 กันยายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบปะ รับฟังปัญหา และรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้แทนกลุ่มสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) สภาประชาชน 4 ภาค นำโดย นายประพาส โงกสูงเนิน พร้อมด้วยมวลชนประมาณ 250 คน ซึ่งเดินทางมาชุมนุมที่บริเวณเกาะกลางหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริเวณหน้าสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เมื่อเช้าวันพุธที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา โดย กลุ่ม สอส. มีข้อเรียกร้อง 2 ข้อ ได้แก่
1. ขอให้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาให้กลุ่ม เนื่องจากคำสั่งเดิมหมดอำนาจจากการยุบสภา
2. ขอให้แก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน หนี้สิน และผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ให้ดูแลอาหาร น้ำดื่มให้ผู้ชุมนุม และอำนวยความสะดวกความเป็นอยู่ด้านสุขอนามัยของกลุ่ม สอส. ผรท. และสภาประชาชน 4 ภาค แล้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจภัยแล้งจ.ราชบุรี เตรียมแผนจัดหาน้ำให้เพียงพอ หนุนมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำจังหวัด พร้อมมอบสิทธิที่ทำกินให้ชาวสวนผึ้ง

,

“รมว.ธรรมนัส” ตรวจภัยแล้งจ.ราชบุรี เตรียมแผนจัดหาน้ำให้เพียงพอ หนุนมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำจังหวัด
พร้อมมอบสิทธิที่ทำกินให้ชาวสวนผึ้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และด้านการเกษตร พร้อมรับฟังปัญหาจากเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งจังหวัดราชบุรี มีการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม ประมาณ 88,000 ไร่ โดยอำเภอดำเนินสะดวกมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 47,250 ไร่ ซึ่งอยู่เขตโครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย ประมาณ 30,125 ไร่ ร้อยละ 64 ของพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมในอําเภอดําเนินสะดวก เกษตรกรมีความต้องการน้ำประมาณ 86,069 ลบ.ม./วัน หรือ 31.4 ล้านลบ.ม. ต่อปี โดยมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย ปีละประมาณ 3,900 ล้านบาท มีกําไรเฉลี่ย ประมาณ 2,600 ล้านบาท ปัจจุบันปริมาณน้ำที่ส่งเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม หากในอนาคตมีการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลกระทบในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งไม่สามารถส่งปริมาณน้ำได้ตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้มีการวางแผนปรับปรุงระบบส่งน้ําเพื่อสนับสนุนพื้นที่อําเภอดําเนินสะดวก เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อย แต่ยังสามารถบริหารจัดการได้ โดยประมาณกลางเดือนตุลาคม ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานว่าจะมีพายุเข้ามาอีกหลายลูก จึงเชื่อว่าจะทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแต่ละที่จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีน่าจะสามารถบริหารจัดการได้จนถึงฤดูฝนปีหน้า แต่สิ่งสำคัญคือเกษตรกรในอำเภอโพธารามและอำเภอใกล้เคียง ที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องบริหารจัดการในเรื่องการส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตร จึงได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงคลองส่งน้ำ อีกทั้งยังมอบหมายกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ ในเรื่องของปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ จึงได้เดินทางมารับฟังปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรโดยตรง และพร้อมทำงานอย่างเข้มข้น เพื่อนำไปจัดทำแผนการดำเนินงาน ในเบื้องต้น ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) รวมทั้งได้มอบหมายรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้ง Mr.สินค้า ขับเคลื่อนสินค้ามะพร้าวน้ำหอม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี และมอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาแหล่งน้ำ และนำเสนอผลให้พิจารณาโดยด่วน

จากนั้น รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบงานกำจัดวัชพืช ณ ประตูระบายน้ำคลองบางสองร้อย ตำบลบางโตนด และหมู่ที่ 9 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม ซึ่งในปัจจุบันคลองบางสองร้อยมีสภาพตื้นเขิน ส่งผลให้วัชพืชและผักตบชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม ในส่วนฤดูแล้งเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ จึงมีความจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในคลองทั้ง 13 จุด สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ได้มีการวางแผนกำจัดวัชพืชในอนาคตโดยใช้เครื่องจักรกำจัดวัชพืช และใช้แรงคน ร่วมกันในการเก็บวัชพืชไม่ให้เกิดการสะสมจำนวนมาก ทั้งนี้ จากการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ มีเกษตรกรผู้ได้รับผลประโยชน์ 6,350 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับผลประโยชน์ 17,500 ไร่ กำจัดผักตบชวาได้ 819.9 ไร่ คิดเป็นจำนวน 65,592 ตัน ความยาว 147 กิโลเมตร

นอกจากนี้ รมว.เกษตรฯ ได้พบปะพี่น้องประชาชนในที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง เพื่อรับฟังปัญหาการจัดการน้ำ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการอาคารทดนํ้าบ้านสวนผึ้ง ตําบลสวนผึ้ง อําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ดินถล่ม และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ําสำหรับการอุปโภคและบริโภค จํานวน 1,200 ครัวเรือน ในฤดูแล้ง พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 4,000 ไร่ในพื้นที่ 4 ตำบล (สวนผึ้ง ป่าหวาน ท่าเคย และตะนาวศรี) ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) แก่เกษตรในที่ดินสวนผึ้ง จำนวน 10 ราย และมอบพื้นที่โครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสม Zoning by Agri Map โดยสถานีพัฒนาที่ดินราชบุรี กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 2,500 ไร่ และให้การสนับสนุนปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จำนวน 100 ตัน ให้กับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS จำนวน 10 กลุ่ม 50 ตัน และศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์ ศพก.) จำนวน 50 ตัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ดันกรมวิชาการเกษตร ต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส” ดันกรมวิชาการเกษตร ต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิด “งานแถลงผลงานกรมวิชาการเกษตร 2566 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร” ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำการวิจัย มุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” พร้อมมอบนโยบายให้กับผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ว่า “กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นหน่วยงานนำทางในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จึงเน้นย้ำให้นำผลงานวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาขึ้น ในฐานะผู้นำในการพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอด ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง สร้างคุณค่าให้กับองค์กรให้เติบโต เข้มแข็งขึ้น ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับการพัฒนาการเกษตรของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และยั่งยืนต่อไป”
ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานฯ ว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดเวทีการเสวนา “การขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม แบบมุ่งเป้าสู่การใช้ประโยชน์ทุกมิติ” พร้อมทั้งนิทรรศการงานวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ของกรมวิชาการเกษตร อาทิ รู้ทัน รู้จริง การผลิตทุเรียนคุณภาพ เพื่อการส่งออก, นวัตกรรมพืชสวนพันธุ์ดี, วิจัยและพัฒนาข้าวโพด เพื่อการผลิตที่ตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคในประเทศ, พืชตระกูลถั่วเพื่อความมั่นคงทางอาหาร, การพัฒนาพืชอุตสาหกรรมด้วย นวัตกรรมงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร, โครงการวิจัยและพัฒนาพืชสกุลกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม, การขับเคลื่อนคาร์บอนเครดิต กับการสร้างรายได้สู่เกษตรกร เป็นต้น จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าชมงานได้ ตั้งแต่วันที่ 20-22 กันยายนนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ระหว่างกรมวิซาการเกษตร กับ หน่วยงานภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2565 รางวัลโครงการพระราชดำริ และโครงการพิเศษดีเด่น ประจำปี 2566 รางวัลนักวิจัยดีเด่นรุ่นอาวุโส และรางวัลนักวิจัยดีเด่นรุ่นเยาว์ ประจำปี 2566 และมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้สร้างคุณูปการแก่กรมวิชาการเกษตรอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กันยายน 2566