โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

สส.พปชร.ร่วมงานเลี้ยงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนฯ รุ่นที่ 26 สานสัมพันธ์อันดีรัฐบาลไทย-สหรัฐฯ

,

สส.พปชร.ร่วมงานเลี้ยงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนฯ รุ่นที่ 26 สานสัมพันธ์อันดีรัฐบาลไทย-สหรัฐฯ

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยมี สส.ในฐานะตัวแทนของพรรคเข้าร่วมงาน อาทิ นายวิริยะ ทองผา สส. มุกดาหาร เขต 1, นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 , นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 , นายชัยมงคล ไชยรบ สส. สกลนคร เขต 5 และนายอัคร ทองใจสด สส. เพชรบูรณ์ เขต 6 โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันนิติบัญญัติไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ทั้งนี้ ภายในงานได้มีตัวแทนจากสถานฑูตต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) และนักวิชาการ เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพียง ณ ทำเนียบเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” รับรมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่กำแพงเพชรช่วยเหลือปชช.หลังได้รับผลกระทบ ฝายบางบัวเสียหาย มอบแนวทางฟื้นฟูแหล่งน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

,

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” รับรมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่กำแพงเพชรช่วยเหลือปชช.หลังได้รับผลกระทบ ฝายบางบัวเสียหาย มอบแนวทางฟื้นฟูแหล่งน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

นายไผ่ ลิกค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามความเสียหายของฝายวังบัว บ้านโขมงหัก ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ที่ไก้นับผลกระทบจากพายุฝนและมีฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่มีความรุนแรงในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ​ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายกับฝายวังบัวมีการแตกและชำรุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอแผนขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซมทันที ซึ่งถ้าหากฝายวังบัวได้รับการซ่อมแซมได้ดีปกติแล้ว ก็จะสามารถทำให้พี่น้องเกษตรกรทั้งจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร จะสามารถนำน้ำมาใช้เพื่อทำการเกษตรได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตามขอขอบพระคุณท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ให้เกียรติลงพื้นที่มาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมกับ มอบแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งตนและทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันเร่งแก้ไข่ปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวเกษตกรจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงสามารถกลับมาใล้ชีวิตและประกอบอาชีพได้ตามปกติได้และสามารถใช้ประโยชน์นำน้ำจากฝายวังบัวเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 ตุลาคม 2566

“พัชรวาท” มอบโล่ผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปิดเวที TCAC 2023 ปลื้มทุกภาคส่วนตอบรับร่วมขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

,

“พัชรวาท” มอบโล่ผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปิดเวที TCAC 2023 ปลื้มทุกภาคส่วนตอบรับร่วมขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วันนี้ (7 ตุลาคม 2566) เวลา 11.00 น. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) จำนวน 15 องค์กร และ ผู้นำเยาวชนและภาคประชาสังคม จำนวน 5 ราย ในการปิดเวทีการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 หรือ Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023 ภายใต้แนวคิด “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมี นายนพดล พลเสน เลขานุการ รมว.ทส. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เยาวชน และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

การจัดประชุม TCAC 2023 ตลอด 2 วันที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 3,700 คน จาก 48 ประเทศ โดยการประชุมในวันที่ 2 นี้ เปิดเวทีด้วยการเสวนาในหัวข้อ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Long Term Climate Resilience) โดย ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นายศุภกร ชินวรรโณ นักวิชาการอิสระ และนายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรับฟังเสียงสะท้อน เพื่ออนาคตไทย (Climate Action We Want) จากภาคประชาชนและเยาวชน ได้แก่ นายจิระภัทร ศรีทะวงษ์ ผู้แทนเยาวชน Net – Zero Thailand: ACE Youth Ideathon Camp นางสาวโทโมโกะ อิคุตะ ผู้แทนเยาวชนไทยที่เข้าร่วมการประชุม COP27 นายณัฐชนน ไตรธรรม ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนระดับโลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพประจำประเทศไทย (Global Youth Biodiversity Network: GYBN Thailand) นางสาวประไพ เรืองฤทธิ์ กรรมการและเลขานุการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จ.ระนอง และนายสาคร สงมา ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีการแถลงข่าวสรุปผลการจัดประชุม TCAC 2023 โดยมีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานระหว่างวันที่ 6 – 7 ตุลาคม 2566 ซึ่งคำนวณจากข้อมูลการเดินทางเข้าร่วมงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดงาน ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และการจัดเลี้ยงอาหารว่างและเครื่องดื่ม พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม 3,200 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และได้มีการนำคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER ประเภทการผลิตพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวลมาชดเชย เพื่อให้เวทีการประชุม TCAC 2023 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event และผลจากการประชุมในครั้งนี้ จะถูกนำไปเสนอในช่วงสมัยประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 28 (COP28)​ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน -​12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังและความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนที่จะนำพาประเทศไทยให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ติดตามสถานการณ์การนำเข้า – ส่งออกสินค้าเกษตรด่านพรมแดนถาวร อ.แม่สอด จ.ตาก เข้มเดินหน้าปราบสินค้าเกษตรเถื่อนลักลอบ รักษาผลประโยชน์ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” ติดตามสถานการณ์การนำเข้า – ส่งออกสินค้าเกษตรด่านพรมแดนถาวร อ.แม่สอด จ.ตาก เข้มเดินหน้าปราบสินค้าเกษตรเถื่อนลักลอบ รักษาผลประโยชน์ปชช.

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามงาน และพบพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดตาก ณ ห้องประชุมเพชรน้ำหนึ่ง ชั้น 6 สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ว่า จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้กำหนดมาตรการประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน มุ่งปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง จึงก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขนส่งสินค้า ซึ่งพื้นที่จังหวัดตากนั้น เป็นพื้นที่ตะเข็บขายแดนระหว่างไทย – เมียนมา ระยะทางประมาณ 533 กิโลเมตร จึงทำให้มีการลักลอบนำเข้าสินค้าทางช่องทางธรรมชาติได้ง่าย ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้านที่มีการปลูกพืชในฝั่งพม่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจึงมีการลักลอบมาฝั่งไทย การขนส่งสินค้าทางการเกษตรผ่านด่านพรมแดนถาวร จังหวัดตาก มีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบการปฏิบัติงาน จำนวน 3 ด่าน ประกอบด้วย ด่านกักกันสัตว์ตาก ด่านตรวจพืชแม่สอด และด่านตรวจประมงตาก ดำเนินการตรวจสอบควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าเกษตร การออกใบอนุญาตต่างๆ รวมถึงการป้องกันการลักลอบนำเข้า – ส่งออกสินค้า ทั้งทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้ทราบ ให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคระบาด และความเสียหายเนื่องจากการเกิดโรคระบาด เนื่องจากกรมปศุสัตว์ได้ห้ามนำเข้าโค กระบือ แพะ และแกะ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด
รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จากการหารือในวันนี้ ได้มอบนโยบายให้ทางกรมปศุสัตว์ เตรียมปลดล็อคคำสั่งชะลอการนำเข้าโค – กระบือ และสัตว์ต่างๆเข้าสู่ราชอาณาจักรไทย พร้อมให้ทางกรมปศุสัตว์ หาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ สร้างความร่วมมือระหว่างไทยและเมียนมา ด้านความรู้การผลิต และพัฒนาสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรในเงื่อนไขเดียวกัน
ทั้งนี้ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรผ่านด่านชายแดน (ด่านตรวจพืชแม่สอด ด่านกักกันสัตว์ตาก และด่านตรวจประมงตาก) ดังนี้ 1) ด่านตรวจพืชแม่สอด (1 ต.ค. 65 – 25 ก.ย. 66) มีสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดข้าวโพด 539,926 ตัน มูลค่า 6,334 ล้านบาท แป้งข้าวข้าวจ้าว 162,438 ตัน มูลค่า 657 ล้านบาท และแป้งข้าวกล้อง 39,981 ตัน มูลต่า 619 ล้านบาท ด้านสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 4,888 ตัน มูลค่า 521 ล้านบาท กากถั่วเหลือง 5,392 ตัน มูลค่า 120 ล้านบาท และแอปเปิ้ล 780 ตัน มูลค่า 23 ล้านบาท 2) ด่านกักกันสัตว์ตาก ในปี 2566 สินค้าปศุสัตว์นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ โค 78,722 ตัว มูลค่า 2,361 ล้านบาท กระบือ 5,876 ตัว มูลค่า 176 ล้านบาท และแพะ 90,562 ตัว มูลค่า 135 ล้านบาท สินค้าซากสัตว์นำเข้า ได้แก่ หนังโค-กระบือหมักเกลือ 482 ตัน มูลค่า 14 ล้านบาท ส่วนสินค้าปศุสัตว์ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ไก่ไข่ปลดระวาง 2,063,683 ตัว มูลค่า 82 ล้านบาท สุกรขุน 15,020 ตัว มูลค่า 60 ล้านบาท และสุกรพันธุ์ 4,428 ตัว มูลค่า 17 ล้านบาท สินค้าซากสัตว์ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อไก่ 4,627 ตัน มูลค่า 323 ล้านบาท ไส้กรอกไก่ 3,587 ตัน มูลค่า 179 ล้านบาท และไส้กรอกหมู 2,013 ตัน มูลค่า 100 ล้านบาท 3) ด่านตรวจประมงตาก ปี 2566 สินค้าสัตว์น้ำนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลายี่สกเทศ 750 ตัน มูลค่า 59 ล้านบาท หอยแครง 837 ตัน มูลค่า 42 ล้านบาท และกุ้งเคย 1,319 ตัน มูลค่า 20 ล้านบาท สำหรับสินค้าสัตว์น้ำส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทรายแดง (ลูกชิ้น) 1,673 ตัน มูลค่า 175 ล้านบาท หอยนางรม (ซอส) 2,668 ตัน มูลค่า 122 ล้านบาท และปลากะตัก (น้ำปลา) 3,022 ตัน มูลค่า 93 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2566

“นายกเศรษฐา” ควงคู่ “พัชรวาท” เปิดประชุม TCAC 2023 ตั้งเป้าประสานความร่วมมือ เร่งแก้โลกร้อน-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นรูปธรรม

,

“นายกเศรษฐา” ควงคู่ “พัชรวาท” เปิดประชุม TCAC 2023 ตั้งเป้าประสานความร่วมมือ เร่งแก้โลกร้อน-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นรูปธรรม

วันนี้ (6 ตุลาคม 2566) พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ และคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ให้การต้อนรับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในโอกาสให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023) ภายใต้แนวคิด “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีคณะรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต องค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมการประชุม ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในช่วงพิธีเปิดการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.ทส. ได้กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า ในนามของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน TCAC 2023 ซึ่งถือเป็นเวทีสำคัญในการสร้างพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ในทุกระดับและทุกภาคส่วน ในการมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่ได้แสดงเจตจำนงไว้ต่อประชาคมโลก รวมถึงเผยแพร่ความก้าวหน้าการดำเนินงาน การถ่ายทอดเป้าหมายระดับโลก มาสู่ทิศทางการดำเนินงานในประเทศไทย เพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์และร่วมกันสร้างความพร้อมในการนำไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

“การจัดประชุม TCAC 2023 เป็นหนึ่งในเวทีสำคัญของประเทศไทย ที่จะมีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความคาดหวัง เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถจับต้องได้ โดยผลจากการประชุมครั้งนี้จะนำไปรายงานในช่วงสมัยประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 28 (COP28) ซึ่งมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะผลักดันประเด็นการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy transition) และการยกระดับเศรษฐกิจไปสู่การค้าการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate’s capital) ต่อไป” พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวในช่วงพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า สำหรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ หากปราศจากความร่วมมือจากทุกคนในสังคม ดังนั้นจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นทุกภาคส่วนมาร่วมงานในวันนี้ หวังว่าการประชุมในวันนี้จะเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิด เสริมสร้างความร่วมมือ และดำเนินงานร่วมกัน เพราะเชื่อว่าถ้าเราร่วมมือกัน เราสามารถบรรลุสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถือเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยและภาคธุรกิจที่จะขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน ผ่านการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งปัจจุบันองค์กรชั้นนำส่วนใหญ่มีการส่งเสริมการใช้มาตรการเพื่อความยั่งยืนด้วยแล้ว และหวังให้การประชุมในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ โดยรัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมในครั้งนี้ด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว

หลังพิธีเปิด รองนายกฯ และรมว.ทส. ยังได้นำ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้นำในภาครัฐ ภาคธุรกิจ เยี่ยมชมการจัดนิทรรศการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนิทรรศการทั้งจากภาครัฐและเอกชนในงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ภายใต้แนวคิด “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม และสาระมากมายให้ร่วมสนุก และเพลิดเพลินไปกับความรู้รอบตัว ทั้งเรื่่องอาหาร สุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึง ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ฯลฯ และโมเดลต้นแบบด้านความยั่งยืนมิติต่างๆ ของภาคธุรกิจ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ผลักดันนโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ทันปีนี้ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกร

,

“รมว.ธรรมนัส” ผลักดันนโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ทันปีนี้ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ร่วมประชุมและรับฟังนโยบายฯ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมตรัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Meetings) ว่า นโยบายรัฐบาลที่สำคัญ คือการผลักดันการเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ให้เป็นโฉนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนได้ผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ที่ดินสามารถตกถึงทายาทได้ โดยได้เน้นย้ำในที่ประชุมให้ความสำคัญกับการกำหนดแนวทางการเร่งรัดการดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตที่มั่นคง และมอบหมายให้ ส.ป.ก. เร่งรัดจัดทำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นไปตามคำสัญญากับประชาชนที่คาดหวังกับการมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตมั่นคงจากการที่รัฐได้พิจารณาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นโฉนด เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ ภายใน 100 วัน ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ “เกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้มีอาชีพมั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และภาคเกษตรไทยคือผู้นำสินค้าเกษตรในตลาดโลก”

อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาทบทวนในเรื่องของข้อกฎหมายกรอบแนวทางใดที่สามารถเปลี่ยน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนดภายใต้กฎหมายเพื่อให้เกิดความรอบคอบ และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน ไม่ให้ตกไปอยู่ในกลุ่มของนายทุน และต้องนำไปใช้ในภาคเกษตรเท่านั้น โดยในวันพรุ่งนี้ (6 ต.ค.66) จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายและระเบียบ โดยมีเลขาธิการ ส.ป.ก. เป็นประธาน ณ ส.ป.ก. เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อกฎหมาย รวมถึงระเบียบใดๆ ที่ยังติดขัด หลังจากนั้นคณะอนุกรรมการฯ จะนำข้อสรุปหารือกับตนอีกครั้ง ก่อนเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อไป

“เรื่องกฎหมายเราจะไม่ละเมิด แต่หากมีกฎหมายข้อใดที่ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ได้รับการพัฒนา ก็อาจจะต้องกลับมาพิจารณาทบทวนกฎหมายข้อนั้นๆ หากเป็นปัญหาก็ต้องแก้ไข โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเดินหน้าผลักดันการเปลี่ยน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนด เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่น้องเกษตรกร และเชื่อมั่นว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้ โดยเตรียมหารือจังหวัดนำร่อง แล้วจะเดินหน้าขับเคลื่อนเป็นโมเดลในแต่ละจังหวัดต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า ส.ป.ก. มีภารกิจหลักในการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกร ผู้ไร้ที่ดินทำกิน และสถาบันเกษตรกร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกร การพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน และการบริหารเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ส.ป.ก. ให้ความสำคัญกับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดแนวทางการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด รวมถึงนโยบายที่จะพัฒนาศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร โดย ส.ป.ก. มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์บริการประชาชนผ่านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการ และอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

“รมว.พัชรวาท” พร้อมร่วมมือผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการประชุม AP Forum

,

“รมว.พัชรวาท” พร้อมร่วมมือผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการประชุม AP Forum

วันนี้ (5 ตุลาคม 2566) พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อม สมัยที่ 5 (5th AP Forum) เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อร่วมหารือถึงท่าทีทางด้านสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่เชื่อมโยงกับหัวข้อหลักของการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 6 หรือ UNEA 6 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยมุ่งเน้นการดำเนินการภายใต้กลไกพหุภาคี เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของโลก อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม

พล.ต.อ.พัชรวาท ได้กล่าวถ้อยแถลงในนามของรัฐบาลไทย แสดงความขอบคุณต่อกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาและ UNEP ที่ได้จัดการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งได้กล่าวถึงการยกระดับการดำเนินงานของประเทศไทยในการบริหารจัดการ และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านกลไกการพัฒนานโยบายและกฎหมาย เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายของประเทศและพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ พร้อมทั้งได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยมุ่งมั่นและพร้อมที่จะร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และประเทศอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ความร่วมมือระดับภูมิภาคมีความเข้มแข็ง ตลอดจนเร่งรัดการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นอกจากนี้ ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยต่อที่ประชุม โดยได้เน้นย้ำถึงการดำเนินงานด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ และการลดผลกระทบจาก PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง โดยปรับปรุงการดำเนินการภายในประเทศและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยมลพิษทางอากาศที่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้รับรองในการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (CED 7) ระดับรัฐมนตรี

รวมถึงให้ความสำคัญต่อปัญหามลพิษจากขยะพลาสติก และได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อก้าวไปสู่สังคมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านกลไกการผลักดันด้านกฎหมายเพื่อการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ โดยประเทศไทยสนับสนุนและมีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Negotiating Committee: INC) เพื่อจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก และสิ่งแวดล้อมทางทะเล อย่างเต็มที่ ทั้งยังสนับสนุนให้ UNEP และภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันส่งเสริมและบูรณาการการความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในการแก้ไขวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลก และนำข้อมติสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติไปสู่การปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนของภูมิภาคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

“ส.ส.บุญยิ่ง”ขอเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้ภาครัฐเข้าปรับปรุงซ่อมแซมถนนและใช้ลำห้วย หลังงบประมาณส่วนกลางมาแล้ว แต่ดำเนินการไม่ได้

,

“ส.ส.บุญยิ่ง”ขอเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้ภาครัฐเข้าปรับปรุงซ่อมแซมถนนและใช้ลำห้วย หลังงบประมาณส่วนกลางมาแล้ว แต่ดำเนินการไม่ได้

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้นำชุมชนพร้อมทั้งพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เนื่องด้วยถนนหลายสายใน 2 อำเภอนี้ ปัจจุบันนี้เสียหายมาก ไม่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมจากงบประมาณส่วนกลางที่อนุมัติมาแล้ว แต่ไม่สามารถนำงบประมาณมาใช้ได้ ที่เป็นปัญหาคือ เจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมถนน งบประมาณเหล่านี้ก็ตกไปแล้วทั้งสิ้นทุกๆสาย โดยทั้งอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา เป็นพื้นที่ชนบทและถนนหลายสายก็เสียหายเป็นจำนวนมาก เช่น ถนนเส้นทุ่งแฝก ฝ่ายน้ำล้นหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก ตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ค่างบประมาณ 3,423,900 บาท ขณะนี้ถนนเส้นนี้ งบประมาณตกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเนื่องจากเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้ซ่อมแซมและปรับปรุง นอกจากนี้ ถนน เส้นสายหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านถ้ำหิน หมู่ 5 บ้านถ้ำหิน ตำบลสวนผึ้งระยะทาง 1 กิโลเมตรงบประมาณ 5,240,100 บาท รอบนี้ก็ตกไปแล้วเช่นกัน เพราะเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้ปรับปรุงซ่อมแซม

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทางน้ำลำห้วยผ่าน หมู่ 1 หมู่ 2 ของตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง 13 กิโลเมตรเศษนี้ เป็นลำห้วยบ่อที่ประชาชนใช้อุปโภคบริโภค และการเกษตร ถ้าได้ขุดลอกกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้สามารถใช้ทั้งปี ซึ่งขณะนี้ที่อำเภอสวนผึ้ง ฝนทิ้งช่วงไม่ตกตามฤดูกาล แห้งแล้งมาก ขอความกรุณาเจ้าของพื้นที่ช่วยเซ็นอนุญาตให้พวกเราประชาชนได้ใช้ลำห้วยที่มีน้ำ เพราะตอนนี้งบประมาณ 14,185,500 บาท ก็ตกไปแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ถนนสายบ้านท่ากุลา หมู่ 2 ตำบลตะนาวศรีระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ งบประมาณ 5,237,000 บาทก็ตกไปแล้วเช่นกัน นี่คือปัญหาของพี่น้องตำบลสวนผึ้ง ที่ได้งบประมาณส่วนกลางมาแล้วไม่สามารถซ่อมแซมและปรับปรุงถนน เช่นเดียวกับ พื้นที่ในอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ถนนสายช่องล่าง หมู่ 3 ตำบลหนองพันจันทร์ ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ งบประมาณ 3,711,000 บาท ก็ตกไปแล้ว งบประมาณของทั้ง 2 อำเภอคืออำเภอบ้านคา และอำเภอสวนผึ้ง 32,287,500 บาท ส่วนนี้คือตกไปที่เรียบร้อยแล้ว

“ดิฉันขอฝากท่านประธานสภาฯผ่านไปยังผู้มีอำนาจช่วยเซ็นอนุมัติอนุญาตให้ใช้พื้นที่ให้ได้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนของพวกเรา จังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคามีความปลอดภัยในการสัญจรไปมา และขอขอบพระคุณมาก ถ้าท่านได้เซ็นอนุญาตอนุมัติเหล่านี้ตรงนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในชนบทมากๆ”นางบุญยิ่ง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

“กระแสร์ สส.หนองคาย”เร่งรัดกระทรวงคมนาคม จัดการสิ่งกีดขวางถนนมิตรภาพช่วงอุดรธานี – หนองคาย จากการก่อสร้าง อำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางแห่ชมบั้งไฟพญานาคริมโขง ช่วงเทศกาลออกพรรษา

,

“กระแสร์ สส.หนองคาย”เร่งรัดกระทรวงคมนาคม จัดการสิ่งกีดขวางถนนมิตรภาพช่วงอุดรธานี – หนองคาย จากการก่อสร้าง อำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางแห่ชมบั้งไฟพญานาคริมโขง ช่วงเทศกาลออกพรรษา

นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ช่วงจังหวัดอุดรธานี ถึงจังหวัดหนองคาย ว่าขณะนี้มีการก่อสร้างเพื่อขยายผิวจราจรโดยแล้วเสร็จไปกว่าร้อยละ 90 แต่ยังกังวลเรื่องความปลอดภัยสิ่งกีดขวางการจราจรต่าง ๆ จากการก่อสร้าง ขอให้กระทรวงคมนาคมสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าเคลื่อนย้ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนด้วย โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 29 ตุลาคม 66 ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศจะหลั่งไหลเดินทางมายังจังหวัดหนองคายเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นตลอดแนวแม่น้ำโขง อาทิ ที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภออ. รัตนวาปี อีกทั้งจากการลงพื้นที่พบว่าบางช่วงของถนน เช่น ช่วงถนนเลี่ยงเมือง ตำบลวัดธาตุ ตำบลหาดคำ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย ไม่มีไฟส่องสว่างเพียงพอทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วนให้ทันก่อนวันที่ 29 ต.ค.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ดูแลผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานดูแลต้นทุนสร้างราคาที่เป็นธรรม

,

“รมว.ธรรมนัส” ดูแลผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานดูแลต้นทุนสร้างราคาที่เป็นธรรม

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ นำผู้แทนเกษตรกรเข้าพบ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการนี้ สมาคมฯ ได้กล่าวขอบคุณที่ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยได้รับการดูแลจากกรมปศุสัตว์เป็นอย่างดี สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร รวมถึงมีการจัดสรรโควต้าอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ทำให้ปริมาณไข่ไก่ไม่ขาดและไม่ล้นตลาด จึงขอขอบคุณภาครัฐที่เป็นพี่เลี้ยง ทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยดีขึ้น และสำหรับการมาในวันนี้อยากจะขอให้ภาครัฐช่วยดูแลและปกป้องอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ รวมถึงช่วยดูแลในเรื่องต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่ได้

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมในเรื่องการปลูกพืชอาหารสัตว์ เพื่อช่วยให้ราคาต้นทุนถูกลง รวมถึงประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อดูแลในเรื่องราคาไข่ไก่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

,

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผย ว่า ได้หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดี เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ทางชาวไร่อ้อยจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต่างรอคอยเงิน 120 บาทต่อ ไร่ ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เคยจะจัดสรรให้จากการตัดอ้อยสด แล้วก็ยังมีอีกหนึ่งปัญหาก็คือ จากการที่ ครม .หรือทางกระทรวงอุตสาหกรรม จะตัดเงินที่อ้อยไฟไหม้ สำหรับใครที่ส่งอ้อยไปให้ทางโรงงานน้ำตาลแล้ว จะตัด 90 บาทต่อ 1 ตัน หรือการปนเปื้อนปัญหานี้

นายอัคร ยังกล่าวถึงปัญหาถนนสายบ้านหินด่าน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรทาง ทางหลวงหมายเลข 2068 เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และถนนบ้านตึกหวายไปหนองบัว ตำบลท่าโรงหมู่ที่ 3 และ ตำบลหมูราง หมู่ที่ 19 มีระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยครั้ง เกิดอุบัติเหตุและสัญจรไม่สะดวก

นอกจากนี้ปัญหาความปลอดภัยของชุมชนบ้านโคกสะอาด ซึ่งเด็กนักเรียนจะต้องข้ามถนน 8 ช่องจราจร ซึ่งมีความอันตรายมาก และยังมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กระทรวงอุตสาหกรรม และทางหลวงชนบทช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” เผย “รมว.ธรรมนัส” เตรียมลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เร่งหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัว หลังพังเสียหายจากกระแสน้ำส่งผล ปชช. ริมตลิ่งเดือดร้อนหนัก

,

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” เผย “รมว.ธรรมนัส” เตรียมลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เร่งหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัว หลังพังเสียหายจากกระแสน้ำส่งผล ปชช. ริมตลิ่งเดือดร้อนหนัก

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ น.ส.ณัฐกฤตา เขียวฤทธิ์ พร้อมด้วย สจ.สิงห์โต วัฒนศิริ ลงพื้นที่บริเวณหน้าฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาวังบัว จุดเชื่อมต่อระหว่าง บ้านโขมงหัก ต.เทพนคร-บ้านวังยาง ต.นครชุม อ.เมือง กำแพงเพชร ที่เกิดการพังเสียหาย เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น.วันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ปริมาณที่สูงขึ้นของแม่น้ำปิงได้ไหลผ่านช่องทางน้ำอย่างรวดเร็วนั้น ส่งผลประชาชนทร่อาศัยบริเวณริมตลิ่งได้รับความเดือดร้อน

“ผมได้ประสานไปยัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้รับทราบข้อมูลและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจังหวัดข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากฝ่ายกั้นแม่น้ำพังเสียหายในครั้งนี้ โดย ร.อ.ธรรมนัส จะลงพื้นที่ด้วยตัวเองในวันที่ 7 ต.ค.นี้ เพื่อหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัวเป็นการเร่งด่วน”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566