โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

“สันติ” รมช.สธ.จับมือ พม.เปิดตัวแพลตฟอร์มประเมินสุขภาพเพื่อคนพิการ นำร่อง 40 รพ.ทั่วประเทศเข้าถึงระบบสาธารณสุขลดภาระค่าเดินทาง

,

“สันติ” รมช.สธ.จับมือ พม.เปิดตัวแพลตฟอร์มประเมินสุขภาพเพื่อคนพิการ
นำร่อง 40 รพ.ทั่วประเทศเข้าถึงระบบสาธารณสุขลดภาระค่าเดินทาง

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 67 ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ด้านคนพิการ” ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน ทุกกลุ่มวัย รวมไปถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น ผู้พิการ ได้แก่ กลุ่มคนป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการ ที่จำเป็นต้องได้รับการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความพิการ กลุ่มคนป่วยที่เกิดความพิการแล้ว ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพกลุ่มคนพิการที่เจ็บป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับและเข้าถึงบริการสุขภาพที่รวดเร็วและมีคุณภาพ “คนพิการจำเป็นต้องได้รับ การประเมินและขึ้นทะเบียนคนพิการ”

กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดให้มีศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาลตั้งแต่ ปี 2563 โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด มาร่วมให้บริการ รับคำร้องขอมีบัตรและออกบัตรคนพิการ ณ โรงพยาบาล และให้บริการส่งต่อ เพื่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ส่งต่อทางการศึกษา การประกอบอาชีพ ตามความเหมาะสม จนถึงปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยจะมีศูนย์บริการดังกล่าวแล้วอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง แต่ด้วยข้อจำกัด หลายประการยังทำให้การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้คนพิการมีความยากลำบากในการเข้าถึง การขึ้นทะเบียนคนพิการ

การพัฒนาแพลตฟอร์ม “การตรวจประเมินและออกเอกสารรับรอง ความพิการแบบอิเล็กทรอนิกส์” ให้เชื่อมโยงกับ “ระบบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ” ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์คนพิการ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ให้สามารถเข้ารับการประเมินวินิจฉัยความพิการจากแพทย์วันใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอวันที่พัฒนาสังคมจังหวัดเข้ามาให้บริการที่โรงพยาบาล และไม่จำเป็นต้องถือเอกสารไปยื่นที่ศาลากลางจังหวัดด้วยตนเอง เนื่องจากระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่างสองกระทรวง จะทำให้คนพิการสามารถเข้าถึงการมีบัตรประจำตัวคนพิการได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลาการเดินทาง และค่าใช้จ่าย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลนำร่อง 40 แห่งทั่วประเทศ เพื่อทดลองการใช้งานระบบและจะขยายผลไปยังโรงพยาบาลรัฐแห่งอื่นๆ ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

,

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ช่วงที่ผ่านมาถึงตนได้ลงพื้นที่และพบปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา
ในกลุ่มเยาวชนพื้นที่ห่างไกลในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดน เนื่องจากปัจจุบันนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีการยุบโรงเรียนในหลาย ๆ แห่งที่มีนักเรียนไม่เพียงพอกับการจัดสรรงบประมาณ ส่งผลให้เกิดภาระกับเด็กและเยาวชน ในการหาสถานที่ศึกษาแห่งใหม่ หลายๆแห่งอยู่ห่างไกลจากบ้านมาก จึงเป็นการเพิ่มภาระให้กับครอบครัวที่มีฐานะยากลาํบาก

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโรงเรียนต่างๆต้องอาศัยการช่วยเหลือกันของพี่น้องในหมู่บ้าน ด้วยการจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา ระหว่างวัด โรงเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน อีกทั้งยังขอความอนุเคราะห์จาก อบจ.ในจังหวัดนั้น ๆ และ หลายๆ อปท.ในตำบล เพื่อจ้างครูท้องถิ่นที่เรียนจบแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ มาบรรเทาปัญหาการขาดแคลนครู โดยครูจะได้รับค่าตอบแทน อยู่ที่ 6,000 และ 9,000 บาท หรือสูงสุดก็คือ 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาช่วยเหลือดูแลในเรื่องนี้ โดยเร่งผลิตบุคลากรครูให้เพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลนในโรงเรียน พร้อมทั้งเพิ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

“ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ปัญหาด้วยการกระจายอำนาจ เพื่อการศึกษาสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สามารถผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป รองรับการพัฒนาหมู่บ้าน จังหวัด ประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กกับคุณภาพผู้เรียนที่เราต้องการ พบว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก กับคุณภาพผู้เรียน ที่เราต้องการพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กราว 15,000 โรงเรียนในอนาคตอาจะจะมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันอาจถูกยุบไปในที่สุด เนื่องด้วยอัตราการเกิดของประชากรลดลง รวมถึง ฃการอพยพเคลื่อนย้ายของ ประชากรวัยเรียนที่ย้ายติดตามผู้ปกครองไปรับจ้างทำงานต่างถิ่น ที่สำคัญคือ ค่านิยมของผู้ปกครองส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง และความพร้อม รวมไปถึงโรงเรียนเอกชน จึงทำให้โรงเรียนหลายแห่งถูกลดระดับกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในที่สุด

นางบุญยิ่ง ยังกล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ทำให้ใจหาย และเศร้าใจ โรงเรียนที่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ศึกษามาจนถึงรุ่นปัจจุบัน อยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนานต้องมาปิดตัวลง เพราะไม่มีนักเรียนหรือผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ที่สร้างมาจากหยาดเหงื่อ แรงงานภายในชุมชน จนเป็น “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้เป็นเพียงสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของชุมชนอีกด้วย การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนสูง ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี ปัญหาการขาดแคลนผู้บริหาร จำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนไม่เท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้

“คำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้โรงเรียนอยู่คู่กับชุมชนตลอดไปดิฉัน ขอเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดสรรงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาจากรัฐบาลให้เพียงพอ และพอเพียง และจัดสรรครู ให้เพียงพอสามารถจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุม และไม่หนักเกินกำลังของครู เพราะวันนี้โรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูกว่า 80% และควรจัดสรรเครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ให้เสถียร ครอบคลุมทุกชั้นเรียนเพื่อเป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้และ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดสรรสื่อ วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้นักเรียนทุกคน เพื่อสนับสนุนการทำงานของครู และจัดสรรเจ้าหน้าที่ธุรการ ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ทุกๆ โรงเรียน เพื่อลดภาระงานของครู”นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องจะยุบ จะรวม หรือเลิกโรงเรียนนั้นขอให้พิจารณาถึงความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น ให้ดูข้อมูลเป็นรายโรงเรียน รายพื้นที่ และความสามารถของชุมชนเป็นหลัก แต่ที่สุดแล้ว การบริหารจัดการ คือ การคงอยู่ของโรงเรียน ซึ่งเป็นสถาบันหลัก ของชุมชนเป็นสำคัญ ตนเห็นด้วยในภาพรวมกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ฉบับนี้ แต่ขอฝากคณะกรรมาธิการว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษา สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

“ดิฉันมีข้อคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบถึง พ.ร.บ.การกระจายอำนาจ ปี 2542 มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต.เทศบาล 20 กว่าปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาคุณภาพของท้องถิ่นในทุกมิติ เพราะทำเพื่อลูกหลาน เพื่อท้องถิ่น อย่างแท้จริง เราเริ่มเห็นถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน เรามีประปาหมู่บ้าน บ้านเรามีการขยายถนน มีการขยายแนวเขตไฟฟ้าให้เข้าถึงชุมชน ได้มากขึ้นและดีขึ้น ท้องถิ่นมีโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีศักยภาพสร้างเด็ก และเยาวชนให้มีความโดดเด่นเฉพาะทางหลายด้าน เช่น โรงเรียนกีฬา โรงเรียนดนตรี ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านมา 20 กว่าปี มีการกระจายอำนาจบ้าง ขอคืนอำนาจบ้างสลับปรับเปลี่ยนบ่อยมาก เช่น ให้จัดทำหลักสูตรได้เอง ต่อมา ให้จัดทำเอง เฉพาะหลักสูตรท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา ที่นับว่าดีมาก อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนขอเสนอความเห็นต่อกระทรวงศึกษาธิการว่า การปฏิรูปการศึกษา ควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษา ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ บริหารทั่วไป และอื่นๆกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าจะให้เกิดอะไรกับผู้เรียนนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงง่าย เหมือนปัจจุบัน พร้อมทั้งเร่งดำเนินการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมุ่งเน้นให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ดิฉันเชื่อมั่นว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษาจะเป็นแนวทางที่ดี ต่อการจัดการศึกษาให้กับลูกหลานไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

“สส.จำลอง” ขอ รบ.เห็นความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล วอน เพิ่มงบให้กระทรวงศึกษาดูแลเด็กให้ดี เผย ไม่ติดใจเรื่องกู้เงิน หากเป็นประโยชน์กับ ปชช.

,

“สส.จำลอง” ขอ รบ.เห็นความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล วอน เพิ่มงบให้กระทรวงศึกษาดูแลเด็กให้ดี เผย ไม่ติดใจเรื่องกู้เงิน หากเป็นประโยชน์กับ ปชช.

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นายจำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า เมื่อนำพ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ไปเทียบกับ 2567 ตนติดใจหลายกระทรวง แต่ว่าขอพูดถึง 2-3 กระทรวง ที่เป็นหลักในการดูแลประชาชน เช่น กระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับการจัดงบประมาณจำนวน 340,584.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,413.8 ล้านบาท คิดเป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ปัญหาในวงการการศึกษา ในฐานะที่ตนเป็นกรรมาธิการศึกษา คือการสร้างคนดี การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับสังคมของประชาชนปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาเหล่านี้คือ การพัฒนาเด็ก และบุคลากรของชาติออกสู่สังคม การที่ทรัพยากรบุคคลของประเทศจะมีสติสัมปชัญญะ จะมีสติปัญญา ก็คือการใส่ใจในการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้จะมีคุณภาพได้จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่งบอาหารกลางวันของเด็ก ๆ ปัจจุบันนี้ได้งบอยู่ที่หัวละ 22 บาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในปัจจุบันราคาอาหารจานหนึ่ง 60 – 80 บาท และเด็กต้องดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร งบประมาณที่ได้ไปนับว่าน้อย ซึ่ง สส.ไม่สามารถที่จะแปรงบประมาณเพิ่มได้ จึงต้องขอให้รัฐบาลดูแลให้เด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอ

“ปัจจุบันนี้บางโรงเรียนต้องจัดผ้าป่า เพื่อหาเงินบริจาคมาช่วยเหลือเด็กในโรงเรียน ซึ่งผมคิดว่าไม่เหมาะสมรัฐบาลน่าจะจัดสรรงบงบประมาณให้กระทรวงศึกษาให้มากขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนอัตรา 16,500 บาท และได้เพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ค.67 เป็น 18,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายถ้าในประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะดูแลบุคลากรทางการศึกษาอย่างดีเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ ผมขอฝากไปยังรัฐบาลให้ดูแลบุคลากรทางการศึกษาด้วย“นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหายาเสพติดในสถานที่ศึกษา มีการให้งบประมาณในการแก้ไขปัญหานี้เฉลี่ยโรงเรียนละ 1,600 บาทเท่านั้น ตนมองว่าจะเป็นการสุ่มเสี่ยงในการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในโรงเรียนอย่างมาก เนืองจากขาดงบประมาณในการบริหารจัดการ

นายจำลอง ยังกล่าวถึงงบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า เป็นกระทรวงที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องมีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องสภาพภูมิอากาศ PM 2.5 ซึ่งปัจจุบันไม่เห็นเดินหน้าอย่างไรเลย ขอฝากไปยังรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนด้วย รวมถึงโครงการกำจัดขยะมูลฝอย โครงการก๊าซเรือนกระจก งบประมาณก็น้อย ถ้าเทียบกับกระทรวงเกษตรแล้วต่างกันเยอะ ทั้งที่ 2 กระทรวงนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในส่วนของกระทรวงที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยมากที่สุดคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 123,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 จำนวน 4,726.2 ล้านบาท แต่ทำประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวขค้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังใช้งบประมาณขาดดุล การกู้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเรากู้มาลงทุนเพื่อสร้างประเทศ กู้เงินมาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอยู่ดีกินดี หรือแม้กระทั่งการกู้มาเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ถ้าเกิดประโยชน์กับประชาชน ผมสนับสนุน และขอให้ สส.ทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลอย่านึกถึงตัวเอง ขอให้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ให้ผ่านไปด้วยดี เพื่อความสุขของประชาชน” นายจำลอง กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 มิถุนายน 2567

“สส.จำลอง” น้อมรับ 4 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฝาก กมธ.ปลูกจิตสำนึกร่วมมือกันหาก รธน.ถูกฉีกอีก เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย วอน อย่าก้าวล่วงแตะหมวด 1,2

,

“สส.จำลอง” น้อมรับ 4 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฝาก กมธ.ปลูกจิตสำนึกร่วมมือกันหาก รธน.ถูกฉีกอีก เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย วอน อย่าก้าวล่วงแตะหมวด 1,2

วันนี้ (18 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เป็นพิเศษ มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. โดยมีผู้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว รวม 4 ฉบับ คือ ฉบับของคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคภูมิใจไทย

นายจำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ว่า การทำประชามติมีมาหลายยุคหลายสมัย การเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ประมุขนั้นใน รัฐธรรมนูญต้องออกมาเพื่อประชาชน โดยประชาชน และทำเพื่อ ประชาชนการทำประชามติทุกครั้งที่ตนได้สัมผัส รัฐธรรมนูญปี 2540 , 2550 , 2560 ถามว่า เราทำไปแล้วได้อะไร

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ตนไม่คัดค้าน ยอมรับเสียงข้างมาก ให้ความเคารพ แต่เราทำแล้วได้อะไร ถึงวันหนึ่งมีรัฐธรรมนูญออกมา เสร็จก็ฉีกแล้ว ฉีกเล่า นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะเป็นนักรัฐศาสตร์ อ่านกฎหมายได้ ดูกฎหมายเป็น สรรพสิ่งเกี่ยวกับบริบทของรัฐธรรมนูญไทยนั้นจะมาจากประชาชน หรือมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาอันทรงเกรียติแห่งนี้ จะวิเศษ วิโสแค่ไหนก็ตาม โดยส่วนตัวตนมองว่า ความสำคัญที่สุดของการแก้ไขรัฐธรรมนูญไทยและการทำประชามติ ตนอยากฝากถึงกรรมาธิการที่จะมีขึ้น ว่า ท่านจะใส่ข้อมูลหรือใส่องค์ความรู้ตรงไหนลงไปให้ประชาชนได้เข้าใจว่า เจตจำนงร่วมที่มอบให้กับบริบทของสังคมไทยไปนั้นจะไม่ถูกฉีก และเราจะยอมรับ“

“เราจะป้องกันเจตจำนงร่วมที่มอบให้กับสังคมไทยไปอย่างไร เช่น มีการฉีกรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น ผู้ที่ออกเสียงประชามติจะแสดงท่าทีอย่างไรกับการกระทำนั้น นี่คือเรื่องสำคัญที่สุดของการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญที่ออกมามันผ่านประชามติมาเกือบทุกฉบับ แต่ก็ถูกฉีก จึงเกิดคำถามว่า เรามีความสำคัญอย่างไรต้องทำประชามติ ผมไม่ขัดแย้ง ไม่ขัดข้อง ที่จะน้อมรับเสียงข้างมาก และไม่ขัดแย้งว่า ไม่เห็นด้วย ผมยอมรับทั้ง 4 ร่าง โดยเฉพาะของอาจารย์ชูศักดิ์” นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ประเทศไทยปกครองด้วยสถาบันหลักของชาติจะต้องไม่ถูกแตะ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งตนให้ความเคารพและศรัทธามาตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นตนอยากจะฝากคณะกรรมาธิการ ได้โปรดอย่าเสี่ยงไปแตะต้องในหมวด 1 และ 2 เพราะประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งแยกไม่ได้

บริบทของสังคมไทยที่ผ่านมาขาดจิตสำนึก ตนจึงอยากจะให้ผู้ที่รับผิดชอบในการกล่อมเกลาบุคลากรของชาติก็คือ กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนที่จะทำประชามติ ควรจะต้องสร้างให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึก ไม่ก้าวร้าว เคารพสิทธิของผู้อื่น รวมถึงน้อมรับฟังความเห็นของคนอื่น ดังนั้น เราควรจะสร้างจิตสำนึกให้ผู้ออกเสียงประชามติว่า หากแก้รัฐธรรมนูญแล้วมีการฉีกรัฐธรรมนูญ เราต้องออกมาต่อสู้ ไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 มิถุนายน 2567

‘พล.อ.ประวิตร’ ร่วมพิธีลงนามเจ้าภาพจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 33 เปิด 3 จังหวัด กทม. ชลบุรี สงขลา เจ้าภาพร่วมมุ่งยกระดับไทยจัดแข่งขันเทียบชั้นเอเชียนส์เกม-โอลิมปิค

,

‘พล.อ.ประวิตร’ ร่วมพิธีลงนามเจ้าภาพจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 33 เปิด 3 จังหวัด กทม. ชลบุรี สงขลา เจ้าภาพร่วมมุ่งยกระดับไทยจัดแข่งขันเทียบชั้นเอเชียนส์เกม-โอลิมปิค

วันนี้ (14 มิ.ย. 67) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามในสัญญาเมืองเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ณ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

พลเอกประวิตร ได้กล่าวต้อนรับ 11 ประเทศอาเซียน โดยระบุว่า ขอต้อนรับคณะมนตรีซีเกมส์ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง และขอขอบคุณที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญากันเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพร่วม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และสงขลา ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ต้อนรับทุกท่านอย่างอบอุ่น ก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกันตลอดไป การลงนามสัญญาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์เป็นไปเพื่อยกระดับมาตรฐานให้เทียบเคียงกับกีฬาเอเชียนเกมส์และโอลิมปิค เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับตามธรรมนูญซีเกมส์ฉบับลงวันที่ 4 พ.ค.66

โดยสำนักงานธรรมนูญซีเกมส์ จะทำหน้าที่สนับสนุนให้คำแนะนำในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อย่างเป็นทางการ ตนเองในฐานะประธานสหพันธ์ซีเกมส์ ขออวยพรให้การประชุมคณะมนตรีซีเกมส์ และการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“สส.วรโชติ” รุดรับฟังปัญหาระบบจัดการน้ำคลองวังโปร่ง จ.เพชรบูรณ์ เผย เตรียมหารือ ร.อ.ธรรมนัส วางแผนแก้น้ำท่วม ลดปมขัดแย้งในพื้นที่

,

“สส.วรโชติ” รุดรับฟังปัญหาระบบจัดการน้ำคลองวังโปร่ง จ.เพชรบูรณ์
เผย เตรียมหารือ ร.อ.ธรรมนัส วางแผนแก้น้ำท่วม ลดปมขัดแย้งในพื้นที่

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่ หมู่ 6. ตำบลวังโป่ง อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์ ร่วมกับกรมชลประทานจังหวัด เพื่อรับฟังปัญหาของระบบชลประทานในคลองวังโป่ง จากผู้นำท้องถิ่นและประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อ.วังโปร่ง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงประตูระบายน้ำและคั้นคลองวังโปร่งในอดีต โดยประตูระบายน้ำฝั่งซ้ายสูงกว่าประตูระบายน้ำฝั่งขวา ถึง 50 เซนติเมตร ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูมรสุมจะเกิดน้ำท่วมเข้าท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

“ผมได้หารือกับชลประทานจังหวัด เพื่อเสนอให้มีการสำรวจระบบคลองวังโปร่งทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งจะนำปัญหาดังกล่าวเข้าหารือกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยจะเสนอให้มีการบรรจุเข้าสู่การพิจารณางบประมาณประจำปี 2568 อีกครั้งหลังโครงการปรับปรุงระบบคลองวังโปร่งได้ถูกตัดลดไปในงบประมาณปี 2567 “ นายวรโชติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“สส.ไผ่” เร่งประสานชลประทาน จ.กำแพงเพชร ขุดลอกกำจัดวัชพืช ต.แม่ลาย เปิดทางน้ำ รับฤดูฝนแก้ปัญหาน้ำท่วมขังให้ ปชช.

,

“สส.ไผ่” เร่งประสานชลประทาน จ.กำแพงเพชร ขุดลอกกำจัดวัชพืช ต.แม่ลาย เปิดทางน้ำ รับฤดูฝนแก้ปัญหาน้ำท่วมขังให้ ปชช.

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังปรพชารัฐ (พปชร.)กล่าวว่า ตนและสจ. อนันต์ เดชศรี สมาชิกสภาจังหวัดกำแพงเพชร (สจ.)ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกสภาเทศบาลตำบลคลอง (อบต.) แม่ลาย ถึงปัญหาวัชพืชขึ้นปกคลุมบริเวณคลองระบายน้ำริมถนนทางเข้าชุมชนมอมะม่วง หมู่ที่ 1 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร และริมอ่างเก็บน้ำหนองน้ำขาว เป็นจำนวนมาก จึงได้ลงพื้นที่เพื่อวางแผนในการจัดการปัญหาลำคลองตื้นเขินจากวัชพืชปกคลุม และกีดขวางทางน้ำ ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลคลองแม่ลาย และพื้นที่ อบต.อ่างทอง เพื่อระบายน้ำเข้าสู่ลำคลองต่างๆก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังฝนพื้นที่ เนื่องจากที่ผ่านมา ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน

“ผมได้ประสานไปยังสำนักงานชลประทาน จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อขอสนับสนุนเครื่องจักรในการกำจัดวัชพืชและขุดลอกคูคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนหากไม่เร่งดำเนินการจะสร้างผลกระทบกับพี่น้องประชาชนและเกษตรกร ทั้งนี้ ตนต้องขอขอบคุณนายเอกชัย คำธานี ผู้อำนวยการโครงการชลประทานกำแพงพชรที่ให้การสนับสนุนเครื่องจักรในครั้งนี้ด้วย”นายไผ่ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“รมช.สันติ ” สานความร่วมมือเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11 ส่งเสริมนวัตกรรมพัฒนาสมุนไพรสร้างมูลค่าดูแลสุขภาพด้วยยาพื้นถิ่น

,

“รมช.สันติ ” สานความร่วมมือเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11
ส่งเสริมนวัตกรรมพัฒนาสมุนไพรสร้างมูลค่าดูแลสุขภาพด้วยยาพื้นถิ่น

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.ไพวัน แก้วปะเสิด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “การเอาชนะวิกฤตโรคระบาดโควิด – 19 ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ดั้งเดิม” ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมรอยัลนาคาราและคอนเวนชั่นฮอล์หนองคาย จ.หนองคาย
มีผู้ร่วมประชุม ทั้งจากหมอพื้นบ้าน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษา และผู้แทนจากประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา จีน สปป.ลาว เมียนม่า เวียดนาม และไทย เพื่อเชื่อมโยงการแพทย์พื้นบ้านกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมความร่วมมือ และเสริมสร้างรากฐานภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน โดยการอาศัยภูมิปัญญาร่วมกันของภูมิภาคนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพยุคใหม่อย่างสร้างสรรค มีสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

นายสันติ กล่าวว่า ลุ่มแม่น้ำโขง เป็นภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำที่กว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 6 ประเทศ มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่จำนวนมาก และบางชาติพันธุ์มีความสัมพันธ์ร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชาติพันธุ์ที่ยังคงมีบทบาทในการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และรักษาโรคในชุมชน นับเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านการรักษาพื้นบ้าน อันเก่าแก่ยาวนาน ตลอดจนเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมอันหลากหลาย ชุมชนต่าง ๆ ได้อาศัยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ในการรักษาโรค และส่งเสริมสุขภาพ

“ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศจากภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ได้ตระหนักถึงการนำภูมิปัญญาการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์พื้นบ้านมาใช้ดูแลสุขภาพประชาชน โดยองค์การอนามัยโลกได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ดั้งเดิม (WHO Traditional Medicine Strategy) ขึ้น
เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์เสริมของโลก” นายสันติ กล่าว

นายสันติ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยและประเทศที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ในเขตร้อนชื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพร ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทยยาสมุนไพรเกือบทุกประเภทเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 600 ปี และยังรักษาต่อยอดสมุนไพรเหล่านี้เพื่อนำมารักษาควบคู่กับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานในการวิจัยถึงศักยภาพเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับประทานยาเหล่านี้เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นการสร้างเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ได้ด้วย

“ที่ผ่านมาได้มีการวิจัยสมุนไพรมาระดับหนึ่งแล้วพบว่า สมุนไพรชนิดหนึ่งเมื่อนำไปปลูกในดินแต่ละแห่ง ซึ่งสภาพดินไม่เหมือนกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพและรสชาติจะแตกต่างกัน หากมีความร่วมมือกับ สปป.ลาว ในการส่งเสริมวิจัยทำให้สมุนไพรเป็นอาหารได้โดยมีสรรพคุณเป็นยาเพื่อนำมาสร้างเสริมสุขภาพและสร้างเสริมนวัตกรรมของสมุนไพรให้เจริญก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชนที่รับประทาน วันนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ 6 ประเทศไทย ได้จับมือร่วมกันพัฒนาพืชสมุนไพรและนวัตกรรมที่จะเกิดประโยชร์ต่อพี่น้องประชาชน โดยเมื่อทำการวิจัยและจัดทำเป็นรูปแล่มแจกจ่ายทุกครัวเรือน” นายสันติ กล่าว

ทั้งนี้ภายในงานมีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การนำเสนอผลงานและการอภิปราย การสาธิตภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านเด่น (Show case) การศึกษาดูงานเส้นทางท่องเที่ยวสุขภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในราชอาณาจักรไทย และสวนพฤกษศาสตร์ใน สปป.ลาว ตลอดจนการประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการและด้านการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ดั้้งเดิมและพันธุกรรมพืชสมุนไพร เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกันของประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและระบบข้อมูลสำคัญในการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ อาทิ ฐานข้อมูลหมอพื้้นบ้านกว่า 50,000 คน และตำรับยาแผนไทย/พื้นบ้าน กว่า 250,000 ตำรับ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้กับประชากรลุ่มน้ำโขงในอนาคต

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“สส.บุญชัย” ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ จ.เพชรบูรณ์ ชี้ เป็นกิจกรรมที่ให้ โอกาสเกษตรกรเข้าถึงการบริการทางการเกษตรอย่างครบวงจร

,

“สส.บุญชัย” ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ จ.เพชรบูรณ์ ชี้ เป็นกิจกรรมที่ให้ โอกาสเกษตรกรเข้าถึงการบริการทางการเกษตรอย่างครบวงจร

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้เข้าร่วมโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญ ในการให้บริการและแก้ไขปัญหาทางการเกษตร

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า ต้องขอบคุณกระทรวงเกษตรฯที่ให้ความสำคัญกับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยเป็นการขยายโอกาสให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการบริการทางการเกษตรอย่างครบวงจร โดยเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริม และ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ในการให้บริการและแก้ไขปัญหาทางการเกษตร ประกอบด้วย กิจกรรมคลินิกดิน , คลินิกพืช , คลินิกปศุสัตว์ , คลินิกประมง , คลินิกชลประทาน , คลินิกสหกรณ์ , คลินิกตรวจบัญชี , คลินิกกฎหมาย , คลินิกข้าว , คลินิกหม่อนไหม , คลินิกยางพารา และ คลินิกส่งเสริมการเกษตร

ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมของชมรมอโวคาโดเขาค้อ มีการสาธิต การเปลี่ยนยอดพันธุ์ดี จำหน่ายต้นพันธุ์ โรงเรียนสะเดาะพงษ์มิตรภาพ ที่ 229 สวนอโวคาโดไอริณเขาค้อ และ กลุ่มโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุทุ่งสมอ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“สส.ชนนพัฒฐ์” จับมือแม็คโคร-โลตัส เปิดช่องทางจัดจำหน่ายเมลอนสีทอง ช่วยเกษตรกรสร้างรายได้เพิ่ม พร้อมสร้างชื่อเสียงตีตราสินค้าเกษตรประจำถิ่น

,

“สส.ชนนพัฒฐ์” จับมือแม็คโคร-โลตัส เปิดช่องทางจัดจำหน่ายเมลอนสีทอง ช่วยเกษตรกรสร้างรายได้เพิ่ม พร้อมสร้างชื่อเสียงตีตราสินค้าเกษตรประจำถิ่น

นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า ตนได้ร่วมหารือกับ เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนสีทองในพื้นที่ตำบลพังยาง พร้อมด้วยเกษตรจังหวัดสงขลา เกษตรอำเภอ
ศูนย์ค้าส่งแม็คโคร และห้างสรรพสินค้าโลตัส ในการนำผลผลิตทางการเกษตรในฤดูกาลเก็บเกี่ยวหน้า เข้าไปจัดจำหน่ายในศูนย์การค้าทั้งสองแห่ง ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และกระจายผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ให้เกษตรกรใน อ.ระโนด พร้อมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของอำเภออีกทางหนึ่งด้วย

“เมลอนสีทอง ของชาวสวน อ.ระโนด มีคุณภาพสูง เนื้อกรอบ หวานฉ่ำ เป็นที่ต้องการของตลาด ไม่แพ้แหล่งเพาะปลูกในพื้นที่อื่น จัดได้ว่าอร่อยที่สุดในประเทศ ผมเห็นว่า การดึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั้ง 2 แห่งมาเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายให้เกษตรกรแล้ว ยังจะเพิ่มช่องทางเข้าถึงเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับเมลอนสีสอง ของอำเภอระโนด เป็นการยกระดับให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว“ นายชนนพัฒฐ์ กล่าว

นายชนนพัฒฐ์ กล่าวต่อว่า ตนในฐานะ สส.ในพื้นที่ พร้อมเดินหน้าแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เพื่อทุกคนจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการประกอบอาชีพให้สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง ซึ่งในการดึงห้างยักษ์เข้ามาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ให้มีช่องการตลาดมากขึ้น เป็นผลมาจากความร่วมมือจากทุกฝ่าย และตนต้องขอขอบคุณเกษตรจังหวัดสงขลาและเกษตรอำเภอ ที่เข้าช่วยประสานงานและสนับสนุนจนประสบความสำเร็จ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 มิถุนายน 2567

“สันติ” รมช.สธ.เปิดศูนย์เวลเนส รพ.ห้วยเกิ้ง หนุนแพทย์แผนไทยผสมผสานฟื้นฟูสุขภาพ ปชช.

,

“สันติ” รมช.สธ.เปิดศูนย์เวลเนส รพ.ห้วยเกิ้ง หนุนแพทย์แผนไทยผสมผสานฟื้นฟูสุขภาพ ปชช.

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสุขภาพ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและเปิดอาคาร Wellness Center โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จ.อุดรธานี เพื่อบูรณาการงานรักษาแบบบูรณาการด้วยทีมสหวิชาชีพในการฟื้นฟูและปรับสมดุลในร่างกายด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ผสมผสานแลบองค์รวม พร้อมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลห้วยเกิ้งตามจุดต่างๆ อาทิ บูธนิทรรศการการแพทย์แผนไทย , บูธนิทรรศการการให้ความรู้ด้านยาเสพติดให้ , บูธนิทรรศการผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพร , บูธนิทรรศการวิสาหกิจชุมชน , บูธนิทรรศการการแพทย์พื้นบ้านภูมิปัญญาไทย และเยี่ยมชมโรงผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐานของโรงพยาบาล

นายสันติ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนนโยบาย 5 + 5 เพื่อเร่งรัดพัฒนาสานต่อ โดยการยกกระดับมาตรฐานการแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 นโยบายที่จะเร่งพัฒนาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอนามัยที่ครอบคลุมงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยนำเวชศาสตร์วิถีชีวิตแบบบูรณาการ สู่การดูแลสุขภาพประชาชนในทุกพื้นที่ และช่วยเหลือสนับสนุนการบริหารงานของโรงพยาบาล ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

“ปัจจุบันความต้องการใช้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการขยายบริการให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลนำร่องด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีจนเป็นที่ยอมรับ ให้บริการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีทีมสหวิชาชีพคอยดูแล ให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการในทุกขั้นตอน โดยการบูรณาการทางการแพทย์ให้บริการทางทันตกรรมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต และยังเป็นศูนย์ประสานงานเวชศาสต์ครอบครัวออกเยี่ยมบ้านด้วยทีมวิชาชีพ” นายสันติ กล่าว

นอกจากนี้ยังมีโรงผลิตยาสมุนไพรที่ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร WHO GMP มีการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ยาสมุไพรที่ได้มาตรฐานเพื่อใช้ในโรงพบาบาลและกระจายออกไปสู่ทุกโรงพยาบาลใน จ.อุดรธานี โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายได้แก่ น้ำมันนวด ยาดมสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร และสมุนไพรชนิดแคปซูน 5 ตำหรับ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน มะขามแขก เพชรสังฆาต และเถาวัลย์เปรียง นอกจากนี้ยังมีน้ำมันกัญชาขมิ้นทองสูตรเฉพาะของโรงพยาบาลอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 มิถุนายน 2567

“สส.อัคร”จับมือ อบจ.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่แก้ปัญหาถนน ต.บึงกระจับ ชำรุด สร้างปัญหาในการขนถ่ายสินค้าเกษตร เผย ต้องเร่งทำก่อนถึงหน้าฝน

“สส.อัคร”จับมือ อบจ.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่แก้ปัญหาถนน ต.บึงกระจับ ชำรุด สร้างปัญหาในการขนถ่ายสินค้าเกษตร เผย ต้องเร่งทำก่อนถึงหน้าฝน

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้ประสานงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อลงพื้นที่สำรวจถนนที่ชำรุดเส้นกลางทุ่ง-ห้วยไผ่ เขตพื้นที่หมู่ 4 ต.ท่าโรง-ต.บึงกระจับ อ.วิเชียรบุรี ที่มีปัญหาในการขนถ่ายสินค้าในการเกษตร ซึ่งทางชาวบ้านได้ร้องเรียนความเดือดร้อนถนนเส้นการเกษตร ที่ ชาว ต.ท่าโรง และ ต.บึงกระจับ ที่ใช้ร่วมกัน เพื่อขนถ่ายสินค้าการเกษตรและเข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตร

นายอัคร กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกล พร้อมเจ้าหน้าที่ให้กับ อบต.บึงกระจับ เพื่อดำเนินการซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเส้นกลางทุ่ง-ห้วยไผ่ เขตพื้นที่หมู่ 9 บ้านโคกสามัคคี ตำบลบึงกระจับ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ถือเป็นการร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ก่อนจะถึงช่วงหน้าฝนที่สภาพจะแย่ไปมากกว่านี้ และตนจะได้เข้าไปติดตามปัญหาเพื่อวางแผนแก้ไขในระยะยาว

นอกจากนี้ ตนยังได้เข้าตรวจความคืบหน้าการดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาล ณ วัดกุ้งกั้งวราราม หมู่ 10 บ้านกุ้งกั้ง ตำบลโคกสะอาด อำเถอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้สนับสนุนเครื่องจักรกลให้กับเทศบาลตำบลโคกสะอาดในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 มิถุนายน 2567