โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“สส.อนุรัตน์ พปชร.” ร่วมหารือแก้ไขปัญหารุกที่ดินปิดทางเข้าแหล่งน้ำประสานที่ดินรางวัดพิสูจน์สิทธิเปิดทางให้เกษตรกร

,

“สส.อนุรัตน์ พปชร.” ร่วมหารือแก้ไขปัญหารุกที่ดินปิดทางเข้าแหล่งน้ำประสานที่ดินรางวัดพิสูจน์สิทธิเปิดทางให้เกษตรกร

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง ส.ส. เขต2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จ.พะเยาเปิดเผยว่า เข้าร่วมประชุมชวาบ้าน ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งน้ำ ที่ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ จากการรุกที่ดินของนายทุน จึงประสานสำนักงานที่ดินเข้าทำการรางวัดและชี้แนวเขตพื้นที่ใหม่ เพื่อพิสูจน์สิทธิอีกครั้ง และพบว่าการบุกรุกจริง จึงได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปได้ด้วยดี ส่งผลให้ชาวบ้านสามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อการสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกได้แล้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

“สส.ปกรณ์ สส.พปชร.” รุดเข้าพื้นที่อุทกภัยอำเภอเมืองดูแลประชาชน เก็บข้อมูลประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหา ป้องภัยธรรมชาติ

,

“สส.ปกรณ์ สส.พปชร.” รุดเข้าพื้นที่อุทกภัยอำเภอเมืองดูแลประชาชน เก็บข้อมูลประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหา ป้องภัยธรรมชาติ

นายปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขต 1 จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อให้กำลังและเยี่ยมพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมทั้งได้มอบ นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ ยังได้สอบถามปัญหาเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อนำไปประสานกับหน่วยงาน หาแนวทาฃช่วยเหลือและแก้ปัญหาระยะยาวให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไป

ทั้งนี้ ในพื้นที่จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลจากลมมรสุม มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ที่พัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในช่วงวันที่ 5,8และ14 กันยายนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณสะสมในพื้นที่สูง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน และทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

สส.ใต้ พปชร.-ปชป.-สว. เสนอรัฐบาล ถอดนกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์สงวน เชื่อเพิ่มโอกาสสร้างอาชีพเพาะพันธ์ุนก รักษางานศิลป์ผลิตกรง ชูอัตลักษณ์คนใต้

,

สส.ใต้ พปชร.-ปชป.-สว. เสนอรัฐบาล ถอดนกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์สงวน เชื่อเพิ่มโอกาสสร้างอาชีพเพาะพันธ์ุนก รักษางานศิลป์ผลิตกรง ชูอัตลักษณ์คนใต้

นายชนนพัฒน์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า กลุ่ม สส.ภาคใต้ ที่มี พล.ต.อ.สุรินทร์ ปานาเร่ สส.สงขลา เขต 8 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นแกนนำและ สส.พปชร. สส.ภูมิใจไทย และวุฒิสมาชิก ภาคใต้ ประกอบด้วย นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 3 นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต2 และตน รวมถึง นายซาการียา สะอิ สส.นราธิวาส เขต 4 พรรคภูมิใจไทยและ นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล วุฒิสมาชิก ได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางที่จะผลักดันและยื่นญัติต่อสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการถอดนกกรงหัวจุก ออกจากบัญชีสัตว์สงวน เนื่องจากสถานการณ์ของนกกรงหัวจุกสามารถเพาะและขยายพันธ์ุได้แล้วในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับปริมาณนกในธรรมชาติ ทำให้จะสามารถส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนภาคใต้ได้ รวมทั้งการเลี้ยงนกกรงหัวจุกยังเป็นวีถีที่สืบทอดกันมายาวนาน และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ และต่างประเทศด้วย

“ทางกลุ่ม สส.ภาคใต้เห็นว่า หากสามารถการถอดออกจากบัญชีสัตว์สงวน และส่งเสริมให้เกิดการเพาะเลี้ยง จะช่วยให้รักษาหรืออนุรักษ์นกหัวจุกในแหล่งธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันผู้เพาะเลี้ยงประสบปัญหาในการขอใบอนุญาติจากหน่วยงานราชการ ทำให้เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมอาชีพเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุก ที่ยังมีความต้องการของตลาดอีกเป็นจำนวนมาก”

นายชนนพัฒน์ กล่าวต่อว่า การเลี้ยงนกกรงหัวจุกยังสามารถส่งเสริมให้เป็นกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับจังหวัดไปจนถึงระดับประเทศ ทางกลุ่มจึงเห็นว่า นอกจากจะสามารถส่งเสริมเป็นอาชีพเพาะเลี้ยงแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมของชาวบ้านในการผลิตกรงที่มีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่จะสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน และจัดเป็นซอฟเพาเวอร์อีกแขนงหนึ่งของคนไทย ในด้านอัตลักษณ์วิถีของชาวใต้ให้สืบสานต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 กันยายน 2566

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ลุยงานหนักทั้งสภาฯ-พื้นที่ เผย 3 เดือนของการทำหน้าที่ สส.แม้จะเป็นเรื่องใหม่ เดินหน้าทำเพื่อชาวบ้านเต็มที่ พร้อมชนทุกอุปสรรค

,

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ลุยงานหนักทั้งสภาฯ-พื้นที่ เผย 3 เดือนของการทำหน้าที่ สส.แม้จะเป็นเรื่องใหม่ เดินหน้าทำเพื่อชาวบ้านเต็มที่ พร้อมชนทุกอุปสรรค

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.เขต 2 จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่ ต.ทุ่งรวงทวง อ.จุน เพื่อรับฟังปัญหาของแม่พี่น้องประชาชน และพบปะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เทศบาลตำบลทุ่งรวงทอง รวมถึงได้มีการประชุมกับนายกเทศบาลทุ่งรวงทอง พร้อมคณะบริหาร เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการขอทำฝนเทียมในพื้นที่ เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำไม่เพียงพอที่จะใช้ในการทำเกษตร รวมถึงการขาดแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้อีกด้วย

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนได้พบกับกลุ่มแม่บ้าน ต.ทุ่งรวงทอง ซึ่งได้รับมอบผลิตภัณฑ์ในตำบล เพื่อขอให้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตำบลให้มีช่องทางทางการตลาด และทางกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ได้ร่วมกันมอบหนังสือโครงการขอสร้างอ่างเก็บน้ำในตำบล เพื่อไว้ใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ว โดยทั้ง 2 เรื่องที่ตนได้รับข้อเสนอมา ตนก็จะเดินหน้าผลักดันให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ให้มากขึ้น หรือปัญหาน้ำไม่เพียงพอในการทำการเกษตร

“จากการทำหน้าที่ สส.มา 3 เดือน ถือว่าชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเพราะไม่เคยเป็น สส.มาก่อน แต่ก็ถือว่าได้เข้าสภาฯไปเรียนรู้แล้วมีประสบการณ์มากขึ้น นอกจากงานในสภาฯแล้ว ผมก็ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาของพี่น้องเราทุกวัน อย่างล่าสุด ผมต้องขอกราบขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาส่วนรวมอย่าง ถนนสายหลักของพ่อแม่พี่น้องบ้าน แม่ทะลาย ต.พระธาตุขิงแกง ระยะทางเกือบ 5 km. ผมและพ่อไพรัตน์ ตันบรรจง ได้นำยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 40 ตัน ร่วมกับ นายกสิทธิ์ พ่อหลวงบ้าน รวมถึงผู้ช่วยและทีมงานในหมู่บ้าน รวมถึงอาสาสมัครที่มาร่วมแรงร่วมใจกันล้างผิวถนน และซ่อมหลุมลึกบนถนนสายนี้ ผมซึ้งใจและขอบคุณทุกท่านที่เราไม่ทอดทิ้งกันยามลำบาก และร่วมกันเอาชนะอุปสรรคแบบนี้ต่อไป ซึ่งจากนี้ผมจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหางบมาซ่อมสร้างถนนเส้นนี้ให้ได้”นายอนุรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กันยายน 2566

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

,

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวถึงปัญหาพืชผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ เช่นเงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียนบ้านโดยราคาปลายน้ำของผลไม้เหล่านี้มีราคาสูง แต่ก็สมเหตุสมผล เพราะผลไม้มีรสชาติที่ดี มีผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้จากทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ฝ่าฝน ฝ่าแดด รอดมาถึงมือผู้บริโภคได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ราคาต้นน้ำ ก็คือราคาหน้าสวนของเกษตรกรมันตกต่ำเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“ล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ท่าน ได้ลงไปดูเรื่องราคามังคุดที่ตกต่ำ และได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ซึ่งผมได้มีโอกาสติดตามท่านไปด้วย จึงทราบว่าราคามังคุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ที่บ้านของผมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราคามังคุดต่อกิโลกรัมแค่ 10 บาท ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 2 บาท ในเวลาที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมาล้นตลาด ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น เงาะในราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่ง 3 บาทต้องจ้างคนมาเก็บค่าจ้างกิโลละ 2 บาท เจ้าของสวนได้แค่บาทเดียว ลองกองก็เช่นกัน ช่อไซด์ขนาดครึ่งแขน เกรดA+ ตาสีตาสาแถวบ้านผม ไม่มีโอกาสได้กินหรอก ส่งออกในภาคกลาง และต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ในกรุงเทพต่ำๆ กิโลนึง 80-90 บาท แต่หน้าสวนกิโลกรัมละ 10 บาท”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ตนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชาวบ้านเลือกมาให้เป็นปากเสียงแทน ดีใจที่ตอนนี้เรามีนายก เราเพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรี ประเทศจะได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตนหวังอย่างยิ่งว่ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และที่สำคัญคือ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร อย่างการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลไม้อบแห้ง

“ผลไม้อีกอย่างหนึ่งที่สร้างมูลค่าได้ดี ก็คือ ทุเรียนกวน เราสามารถส่งออกต่างประเทศได้ เราทำให้เป็นรูปธรรม มีตราฮาลาล ผลิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกไปขายยังประเทศแทบตะวันออกกลาง หรือประเทศโลกมุสลิม ซึ่งประเทศเหล่านี้นิยมผลไม้จากประเทศไทยเป็นอย่างมาก และสามารถแก้ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแน่นอน”นายอามินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ นายอามินทร์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง สภาเกษตรกรที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาเหมือน สส.ที่อยู่ในสภาฯแห่งนี้ แต่หน่วยงานนี้กลับไม่ได้รับความสำคัญ ไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับการเพิ่มบทบาท เพิ่มศักยภาพเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความรู้ความสามารถ รู้ปัญหา รู้เรื่องเกษตรกรเป็นอย่างดี ตนจึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน
เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

วันนี้ (8 กันยายน 2566) เวลา 10.00 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ร่วมพบปะพี่โดยน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงโดยได้พูดคุย รับฟัง และพร้อมสะสางปัญหาของน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนด้านการเกษตรจากโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณชิงเขาพนมดงรักษ์ อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จ.สุรินทร์ โครงอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปลูกป่าทับที่ทำกินที่ป่าภูแลนคา ด้านทิศเหนือ อ.แก่งค้อ จ.ชัยภูมิ ได้รับผล กระทบจากการก่อสร้างเขื่อนเขื่อนราษีไศล ผู้เดือดร้อนจากโครงการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญทับที่อาศัย และที่ทำกิน ผู้เดือนร้อนจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยขนาดมอญ อ.สังขะจ.สุรินทร์ จากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ เขื่อน โครงการฝ่าย รวมถึงโครงการเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่สะสมมานาน

จากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ร่วมพบปะพี่น้องเกษตรกรพร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ติดตามประเด็นปัญหาภัยแล้งผลกระทบจากเอลณีญ พื้นที่ทำกิน การบริหารจัดการน้ำ โดยปัญหาหลักที่เกษตรกรอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไข ได้แก่ปัญหาความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคอีสาน ปัญหาการพักหนี้เกษตรกรและปัญหาที่ดินทำกิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์” มั่นใจ รมว.เกษตรฯคนใหม่ เข้าใจหัวอกเกษตรกร แก้ปัญหาได้แน่นอน พร้อมฝาก กมธ.สภาฯจริงใจเร่งแก้หลานปัญหาให้ยั่งยืน

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์” มั่นใจ รมว.เกษตรฯคนใหม่ เข้าใจหัวอกเกษตรกร แก้ปัญหาได้แน่นอน พร้อมฝาก กมธ.สภาฯจริงใจเร่งแก้หลานปัญหาให้ยั่งยืน

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ปลูกพืช คือ อ้อย มัน มันสัปปะหลัง ยางพารา และทำการเลี้ยงสัตว์ เช่นไก่ ปลา กุ้ง แต่ตอนนี้ประสบปัญหาเรื่อง ค่าปุ๋ยแพงไม่สมดุลกับราคาพืชผลการเกษตร อย่างเช่น มันสัปปะหลัง ถ้าจะเกษตรกรอยู่ได้ต้อง ปุ๋ยต้องมีราคาต่ำกว่า 1000 บาท ปัจจุบันนี้ปุ๋ย ยูเรีย ราคา 1000 กว่าบาท เละหลายหลายสูตรซึ่ง มัน ไม่สมดุลย์ นอกจากนี้ ระบบชลประทานที่เป็นเรื่องสำคัญในการทำเกษตรให้ได้ผลผลิตอย่างเพียงพอ

นายจำลอง กล่าวต่อว่า วันนี้ตนขอนำความคับแค้นแห่งหัวใจของเกษตรกร โดยปัญหาเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง กรมปศุสัตว์ผู้เลี้ยงไก่ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะที่อำเภอหัดสขัน ที่ผู้เลี้ยงไก่ทำพันธกิจกับเจ้าของบริษัท เรียกว่าเกษตรพันธกิจ ไปทำรายงานกับธนาคาร เพื่อการเกษตร ให้บอกว่ารายได้เลี้ยงได้ถึง7 รุ่นถึง 8 รุ่น ต่อรอบ ในการส่งดอกเบี้ยธนาคาร ปรากฏว่ามันไม่ได้เป็นไปดังที่เจ้าของบริษัทบอกไว้ ทำให้เกษตรกรขาดทุน เมื่อขาดทุนแล้ว อาหารไม่ได้คุณภาพ บริษัทก็บอกว่า บริษัทขัดคล่องทางการเงิน ไม่สามารถส่งอาหารได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ ทำให้ไก่มีขนาดตัวเล็กส่งออกไม่ได้ เกษตรกรก็ไม่มีเงินส่งธนาคาร

“วิธีแก้ไขของบริษัททำให้เกษตรกรเป็นทาส เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ต้องกู้เงินนอกระบบ ทำให้เป็นหนี้ 2 ทาง เป็นหนี้ทั้งธนาคารและบริษัทที่ส่งเสริมการเลี้ยง ฉะนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง ผมจึงฝากไปยังผู้ที่จะเข้ามาเป็นกรรมาธิการสามัญ และขอสนับสนุนให้มีการตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังและจริงใจ ผมเฝ้าติดตามการประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาตลอด และครั้งนี้มีโอกาสที่ผมได้เป็น สส. ครั้งแรก และมีโอกาสนำเรื่องคับแค้นของพี่น้องประชาชนเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ผมฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ ผมมั่นใจในตัวท่านมากว่าท่านทำได้ เพราะท่านเป็นคนไวต่อหัวอกของเกษตรกร และไวต่อทุกเรื่อง คือส่งเสริมให้มีระบบชลประทาน เพื่อพี่น้องเกษตรกรได้ ปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น”นายจำลอง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“อามินทร์”ฝาก ก.ทรัพยากรฯเร่งหาทางออกปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หลังทำให้เสียดินแดนแนวชายฝั่งปีละ 2 เมตร

,

“อามินทร์”ฝาก ก.ทรัพยากรฯเร่งหาทางออกปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หลังทำให้เสียดินแดนแนวชายฝั่งปีละ 2 เมตร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส อำเภอตากใบพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือถึงความเดือดร้อนของประชาชนในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ศาลาใหม่ ถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หมู่ 8 ตำบลศาลาใหม่ ปัจจุบันได้รับความเสียหายตลอดแนวกว่า 2,500 เมตร หมู่บ้านแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง 500 ไร่ โดยเฉพาะ 3 ปีหลัง ที่เราเสียดินแดนที่เรียกว่า ปลายด้ามขวาน เฉลี่ยปีละ 2 เมตร ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ที่ดินพื้นเดียวที่มีอยู่บนเกาะแห่งนี้

“ผมต้องขอขอบคุณกรมโยธาธิการ และผังเมืองที่ไม่ได้นิ่งนอนใจ เข้าสำรวจและได้ทำประชาคมไปแล้วถึง 4 ครั้ง แต่ปัญหาอยู่ที่กฎหมายที่ต้องใช้เวลาศึกษาผลกระทบ ทำให้เราตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงจะเสียดินแดนแห่งนี้ต่อไป ปีละ 2 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง อย่างน้อยอีก 5 ปี ผมอยากจะขอฝากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งหาทางออกให้กับเรื่องนี้”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อถึงปัญหาบ้านเกาะยาว อำเภอตากใบ ต้นตำรับปลากุเลาที่โด่งดัง ที่คนซื้อไม่ได้กินทคนกินไม่ได้ซื้อ ตอนนี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากทางเข้าออกของหมู่บ้านมีอยู่ 2 เส้นทาง ทางที่ 1 เข้าออกทางรถยนต์ต้องใช้การเดินทางกว่า 9 กิโลเมตรหรือใช้เส้นทางกว่า 20 นาที เพราะเส้นทางที่เข้าออกทุรกันดารเป็นอย่างมาก เส้นทางที่ 2 ทางเข้าออกอีกเส้นทางหนึ่งก็คือ สะพานคอย 100 ปี ที่ชื่อสะพานคอย 100 ปีนะครับ เพราะชาวบ้านรอสะพานแห่งนี้กว่าจะสร้างเสร็จใช้เวลา กว่า 100 ปี ได้สะพานมาทั้งทีก็ได้สะพานกว้างแค่ 2 เมตร ขับรถมอเตอร์ไซค์สวนกันก็ยากลำบาก จึงอยากจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างสะพานเข้าออกหมู่บ้าน ที่มีความกว้าง รถยนต์สามารถเข้าออกบ้านเกาะยาวด้วยความสะดวก เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดนราธิวาสได้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถชูโรง สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนราธิวาสได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของธรรมชาติ เช่น เรื่องของน้ำขึ้นน้ำลง บวกกับการขุดลอกคลองตากใบ ที่เคยเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์น้ำหลากหลายชนิด หลายครัวเรือนเลี้ยงปลากระพงในกระชัง ซึ่งเป็นรายได้หลัก แต่ปัจจุบันประสบปัญหาคลองตื้นเขิน เพราะการขุดลอกมานาน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอดเทียบท่าได้ จึงขอให้กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกคลองตากใบ เพื่อให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“สนธิรัตน์” ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช ควง “สส.สุธรรม” สร้างการเมืองมิติใหม่ ลุยทำงานเพื่อ ปชช. พร้อมร่วมถกสมาพันธ์บริษัทประชารัฐฯ 14 จังหวัดภาคใต้ ขับเคลื่อนต่อ “บริษัทประชารัฐรักสามัคคี” สร้างโมเดลความสำเร็จ ตั้งเป้าผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์

,

“สนธิรัตน์” ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช ควง “สส.สุธรรม” สร้างการเมืองมิติใหม่ ลุยทำงานเพื่อ ปชช. พร้อมร่วมถกสมาพันธ์บริษัทประชารัฐฯ 14 จังหวัดภาคใต้ ขับเคลื่อนต่อ “บริษัทประชารัฐรักสามัคคี” สร้างโมเดลความสำเร็จ ตั้งเป้าผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์

วันที่ 2-3 กันยายน 2566 ที่อำเภอเมือง-ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายสุธรรม จริตงาม สส.จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ นายวัชระ กรรณิการ์ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ นายทวี สุระบาล สส.จังหวัดตรัง เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ และนายคอซีย์ มามุ สส. จังหวัดปัตตานี เขต 2 ลงพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช รับฟังเสียงพี่น้องประชาชน เดินหน้าแก้ปัญหา พัฒนาพื้นที่ สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับพี่น้องประชาชน

โดยนายสนธิรัตน์ และนายสุธรรม ได้เปิดเวทีถก “ทิศทางการพัฒนาอำเภอทุ่งสง” ซึ่งมีผู้นำชุมชน 13 ตำบล ในอำเภอทุ่งสง เข้าร่วมกว่า 100 คน นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ ตนตั้งใจมาช่วย สส.สุธรรม จริตงาม ในการลงพื้นที่พบปะประชาชน เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนในการพัฒนาขับเคลื่อนพื้นที่อำเภอทุ่งสงนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมาวันนี้ก็ได้รับทราบหลายปัญหาในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องน้ำแล้ง น้ำหลาก ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เช่น ราคามังคุด ยางพารา ปัญหายาเสพติด และปัญหาพื้นที่ทำกิน เป็นต้น ซึ่งตนและ สส.สุธรรม เก็บรวบรวมทุกปัญหา เพื่อนำไปสู่การวางแนวทางการบริหารให้สอดรับกับทุกปัญหาที่ผู้นำชุมชนได้สะท้อนออกมา ซึ่งตนในฐานะประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พร้อมจะช่วยคิด ช่วยวางแนวทางแก้ปัญหาให้อย่างแน่นอน

“การลงพื้นที่ในวันนี้ ถือเป็นมิติใหม่ทางการเมืองที่ยึดปัญหาพี่น้องประชาชนและบ้านเมืองเป็นตัวตั้ง ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าผมและ สส. สุธรรม มาพร้อมกับ สส. ทวี จังหวัดตรัง และ สส. คอซีย์ จังหวัดปัตตานี มาลงพื้นที่ร่วมกัน เพราะแนวทางการทำงานของพรรคพลังประชารัฐ เน้นการทำงานทั้งองคาพยพ ผมเชื่อว่าการพัฒนาและการแก้ปัญหา ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนต้องมาจากความร่วมมือที่จะปิดจุดด้อย ส่งเสริมจุดเด่นร่วมกัน ดังนั้น สส. ภาคใต้ของพรรคพลังประชารัฐหรือแม้แต่ สส. ทุกภาคก็ยึดแนวทางการทำงานแบบนี้ วันนี้ ผมอยากให้พี่น้องประชาชนชาวทุ่งสงมั่นใจในตัว สส.สุธรรม ว่าท่านเลือกคนไม่ผิดแน่นอน” นายสนธิรัตน์ กล่าว

นายสุธรรม กล่าวยืนยันว่า ตนมีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน จะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเข้าไปขับเคลื่อนงบประมาณเข้ามาพัฒนาแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่ สส. อีเว้น งานศพ งานบวช งานแต่ง แต่ตนจะเป็น สส. ที่ประชาชนเข้าถึง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพ่อแม่พี่น้องทุกคน ตามนโยบายที่ผู้บริหารพรรคพลังประชารัฐตั้งมั่นไว้เป็นแนวทางให้ สส. ของพรรคทุกคนได้ทำหน้าที่ของตนในพื้นที่อย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากนี้ ตนจะเดินหน้าโครงการ สส. สัญจร พบปะพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ต่อไป

จากนั้น นายสนธิรัตน์ และ นายสุธรรม ได้เดินทางไปดูพื้นที่ช่องเขาหินลูกช้าง พร้อมรับหนังสือติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนเขตป่าสงวนช่องเขาหินลูกช้าง จากนายเดชพล แก้วคุ้มภัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ ซึ่งดำเนินการยื่นเรื่องมาตั้งแต่ปี 63 แต่โครงการไม่คืบหน้า เนื่องจากติดกฎหมายของกรมป่าไม้ โดยโครงการตัดถนนดังกล่าว จะเป็นเส้นทางสัญจร และการขนส่งพืชผลทางการเกษตร ที่เชื่อมต่อพื้นที่อำเภอทุ่งสง เช่น ตำบลเขาขาว และอำเภอทุ่งใหญ่ ไปจนเชื่อมต่อจังหวัดกระบี่และภูเก็ตได้ นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาตห้กับอำเภอทุ่งส่ง เนื่องจากเขาหินลูกช้าง เป็นจุมชมวิวที่สามารถมองเห็นอำเภอทุ่งสงได้ทั้งเมือง และบางพื้นที่ในจังหวัดตรังและกระบี่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ที่โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พบปะตัวแทน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ภาคใต้ 14 จังหวัด ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดอันดามัน กลุ่มจังหวัดอ่าวไทย และกลุ่มจังหวัด 3 ชายแดนใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ บริษัทประชารัฐฯ จากอดีต ปัจจุบัน อนาคต จะไปอย่างไร ในระหว่างการประชุมสมาพันธ์บริษัทประชารัฐฯ ภาคใต้ ครั้งที่ 3/2566

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคพลังประชารัฐเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ภายใต้แนวคิดความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อเป้าหมายสร้างชุมชนทั่วประเทศให้เกิดความเข้มแข็งที่คลอบคลุมทั้งด้านสังคม อาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตของประชาชน และสิ่งแวดล้อม

โดยพรรคพลังประชารัฐยังยืนยันที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาบริษัทประชารัฐฯ ทั่วประเทศต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานรากเพราะวันนี้ตนเชื่อว่าบริษัทประชารัฐฯ ยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะขับเคลื่อนชุมชนทั่วประเทศให้อยู่ดีกินดีและพึ่งพาตัวเองได้

“บริษัทประชารัฐรักสามัคคี เป็นเครื่องมือที่ดี และยังเป็นความหวังของชุมชนที่จะสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งได้ โดยรวมเอาจุดดีของ CSR ระบบสหกรณ์ และ Business model ของภาคเอกชนมาบูรณาการเป็นบริษัทประชารัฐรักสามัคคีซึ่งวันนี้พรรคพลังประชารัฐมีความตั้งใจที่จะสร้างให้เข้มแข็งและเติบโตก้าวไปให้ถึงตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นโมเดลความสำเร็จของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี และเป็นเครื่องมือแก้จนให้ประชาชนอยู่ดีกินดีได้อย่างยั่งยืน” นายสนธิรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กันยายน 2566

“บุญชัย ส.ส.เพชรบูรณ์ “ร่วมมือปชช. เร่งทำฝายน้ำล้น เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำแม่น้ำป่าสัก ลดผลกระทบภัยแล้งอิทธิเอลนีโญหวังแก้ปัญหามีน้ำกินน้ำใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่

“บุญชัย ส.ส.เพชรบูรณ์ “ร่วมมือปชช. เร่งทำฝายน้ำล้น เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำแม่น้ำป่าสัก
ลดผลกระทบภัยแล้งอิทธิเอลนีโญหวังแก้ปัญหามีน้ำกินน้ำใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)จ. เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับผู้นำชุมชน ชาวบ้านและ เกษตรกรในแผนเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ ในแม่น้ำป่าสัก เพื่ออุปโภคและบริโภค และให้มีเพียงพอเพื่อภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลสถานการณ์เอลนีโญในหลายตำบล ของ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาอย่ากหนัก พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำป่าสักแห้งแล้งกว่าปกติ เพราะตลอดกว่า 60-70 ปี ไม่เคยประสบปัญหาเช่นนี้มาก่อน

ดังนั้นได้ร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน กว่า 250-300 คน นำกระสอบทรายมากั้นแม่น้ำป่าสัก เพื่อทำเป็นฝายน้ำล้น กักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง เพื่อป้อนให้กับประชาชนกว่า 3,000 ครัวเรือน ในหลายตำบลได้รับผลกระทบอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ต.สักหลง ต.บ้านโสก ต.ห้วยไร่ ต.บ้านหวาย ต.ปากช่องและ ต.ตาลเดี่ยว ซึ่งเป็นตำบลที่มีคลองชลประทานที่มีการรับน้ำจากแม่น้ำป่าสักโดยตรง จากปัญหาดังกล่าวสร้างผลกระทบพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 11,963 ไร่ ยังไม่รวมถึงพื้นที่เพาะปลูกพืชชนิดอื่นอีก

“แม้ว่าขณะนี้ทางจ. เพชรบูรณ์ จะได้รับการทำฝนหลวง ในพื้นที่อำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก แต่ปริมาณน้ำฝนก็ยังมีไม่มากพอ เพื่อป้อนให้พื้นที่เกษตรกรพี่น้องประชาชน ที่ทำการเพาะปลูกพืชผัก ปลูกข้าวและข้าวโพด ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กันยายน 2566

“วรโชติสส.พปชร.” ขอบคุณ “สันติ พร้อมพัฒน์” ช่วยเกษตรกร จ.เพชรบูรณ์ ผลักดันครม.เร่งทำฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งให้ชาวบ้าน

,

“วรโชติสส.พปชร.” ขอบคุณ “สันติ พร้อมพัฒน์” ช่วยเกษตรกร จ.เพชรบูรณ์ ผลักดันครม.เร่งทำฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งให้ชาวบ้าน

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง จากภัยเอลนีโญ ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรและประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ในจ.เพชรบูรณ์ เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่อย่างรุนแรงเพราะเป็นพื้นที่สูง

ทั้งนี้จากการได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ของจังหวัด ทั้งอำเภอชนแดน,อำเภอวังโป่ง,อำเภอหนองไผ่ และอำเภอภายในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้ประสานงานไปยังนายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึง สส.เพชรบูรณ์ ของพรรคพลังประชารัฐอีกทั้ง 5 เขต ได้แก่ นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์,นายจักรัตน์ พั้วช่วย,นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์,นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์,นายอัคร ทองใจสด และยังประสานไปยังนายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ และนายกฤษณ์ คงเมือง ผวจ.เพชรบูรณ์ ร่วมกันผลักดันให้เกิดการทำฝนเทียมที่ จ.เพชรบูรณ์

“ล่าสุด จากความร่วมมือกันผลักดัน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทางคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ อนุมัติให้ดำเนินการ ทำฝนหลวง โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้ว และประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำให้พี่น้องชาวเพชรบูรณ์เป็นกลุ่มแรกแล้ว เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงจากภัยเอลนีโญ ทั้งนี้ภารกิจที่สามารถบรรลุเป้าหมาย ในการช่วยเหลือประชาชนในครั้งนี้ได้ต้องขอขอบพระคุณท่านสันติ พร้อมพัฒน์ และสส.จังหวัดเพชรบูรณ์ทุกเขต รวมไปถึงหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

สำหรับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนได้ลงพื้นที่ประสานกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง (อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ อบจ เพื่อนำเครื่องจักร เพื่อดำเนินการวางท่อ เพื่อดำเนินการผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักเข้าพื้นที่เกษตรกรเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 กันยายน 2566

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

,

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ กำลังพิจารณาซึ่งมีญัตติทำนองเดียวกันอีก 11 ญัตติ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำมาพิจารณาพร้อมกัน จึงให้พิจารณารวมเป็น11ฉบับ ทั้งนี้ 1 ในญัตติที่เสรอต่อสภาเป็นของนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)

นายอรรถกร ได้กล่าวเสนอญัตติด่วนในที่ประชุมเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งตนต้องขอขอบคุณประธานสภาที่ท่านกรุณาบรรจุ และเปิดโอกาสให้ตนและเพื่อนสมาชิกได้มีโอกาสนำเสนอญัตติ ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง วันนี้พรรคพลังประชารัฐเรามีเลขาธิการของพรรคพลังประชารัฐ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ก็อยู่กับพวกเราด้วย ซึ่งทราบว่าเมื่อเช้ามีตัวแทนของผู้เลี้ยงกุ้งที่ตั้งความหวังรอการแก้ไขมาร่วมยื่นหนังสือ และพูดคุยถึงปัญหา ราคากุ้งตกต่ำ นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าญัตติของตนนั้นเป็นญัตติที่เร่งด่วนที่ต้องการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังมีเพื่อนสมาชิกที่ร่วมลงชื่อและยื่นญัตตินี้กับตนอีกหลายท่าน

ในขณะนี้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลางและขนาดย่อย ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่ราคากุ้งตกต่ำเกิดจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สินแม้ราคากุ้งจะถูกกำหนด โดยคณะบริหารจัดการ ห่วงโซ่ การผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ก็ตาม ราคาของกุ้งก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงขอให้รัฐบาลช่วยลดภาระของพวกเขา เช่น ค่าอาหาร ค่าปูน ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยตรง

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าอเมริกาญี่ปุ่นหรือประเทศทางยุโรปเริ่มชะลอการนำเข้าใช้กุ้งในสต๊อกของตนเอง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาตกต่ำอีกประเด็นปัญหาอำนาจในการต่อรองของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยน้อยมาก เมื่อเช้าจังหวัดฉะเชิงเทรามีการขายกุ้งจำนวน 2.8 ตันขายหมด ไม่พอแม่ค้ารับซื้ออย่างรวดเร็ว แต่เป็นการขายในราคาที่พี่น้องเกษตรกรไม่ได้กำไร และพ่อค้าแม่ค้า คนกลางไปขายต่อ ทำให้เป็นอีกปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ทั้งนี้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่มีแต่ประเทศไทย ประเทศเดียวเท่านั้น ในตลาดโลกเรามีหลายประเทศที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นเอกวาดอร์ อินเดียเวียดนาม รวมถึงอินโดนีเซีย ที่สามารถผลิตกุ้งได้เป็นจำนวนมาก แต่มีข้อแตกต่างตรงที่ว่า สามารถลดต้นทุนได้มากกว่าประเทศไทยทำให้มีความได้เปรียบในการส่งออก

“ข้อเรียกร้องต่างๆของพวกเขาคือ อยากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตกุ้งมีราคาลดลง รวมถึงชะลอการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศในทันท่วงทีโดยเฉพาะในช่วงราคากุ้งตกต่ำ และเงินชดเชยของเกษตรกรทุกคนต้องได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหญ่ บ่อกลาง และบอร์ดเล็ก สุดท้ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไขปัญหาจริงจังในระยะสั้น กลาง ระยะยาว โดยเริ่มต้นตั้งแต่ วันนี้ผมขอเสนอญัตติด้วยความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรให้มีการตั้งกรรมาธิการ แต่เมื่อดูจากระยะเวลา ถ้าเราทำเป็นรายงานส่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไข คงจะเป็นทางออกรวดเร็วที่สุด”นายอรรถกร กล่าว

ต่อมาเมื่อนายอรรถกรเสนอญัตติจบ และกำลังจะ เข้าสู่การอภิปรายของผู้เสนอเหรอญัตติคนถัดไป ปรากฎว่า ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติให้มีการนับองค์ประชุม โดยมีผู้รับรองถูกต้อง ทำให้สส.พรรคร่วมรัฐบาล พยายามขอร้องให้พรรคก้าวไกลถอนญัตติดังกล่าวออกไป แต่ไม่เป็นผล ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ รอสมาชิกแสดงตนพักใหญ่ แต่สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม จึงทำให้องค์ประชุมไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อได้

จากนั้น นายอรรถกร ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นว่า วันนี้เพื่อน สส.พร้อมใจที่จะมาร่วมกันอภิปราย เดินหน้าการประชุมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร โดยหวังว่า สภาฯจะได้ส่งปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไปให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไขโดยเร็วที่สุด แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ตนก็ต้องแสดงความเสียใจจริง ๆ แต่ในการประชุมสภาครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า ตนก็จะเดินหน้าให้ที่ประชุมสภาฯพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566