โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”วอน รัฐเยียวยาความเสียหายให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง มันสำปะหลัง อ้อย หลังเกิดน้ำท่วมเสียหายจากกรมชลบริหารจัดการน้ำไม่ดี

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”วอน รัฐเยียวยาความเสียหายให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง มันสำปะหลัง อ้อย หลังเกิดน้ำท่วมเสียหายจากกรมชลบริหารจัดการน้ำไม่ดี

นายจำลอง ภูนวนทา สส.เขต 3 จ.กาฬสินธุ์ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงราษฎรที่เช่าที่ราชพัสดุ ประกอบอาชีพไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชและเลี้ยงกุ้ง ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกอบต.หัวหินว่า พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องการให้รัฐเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง และเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและปลูกอ้อย ที่ต้องประสบภัยน้ำท่วม เกิดจากการบริหารจัดการน้ำไม่ดีพอของกรมชลประทาน

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ตนอยากทวงถามถึงเรื่องที่เคยหารือไว้เกี่ยวกับ การสร้างถนนสายโค่กเครือเชื่อมกับตำบลดงบูรณ์ กับบ้านนางาม กับบ้านคำขาม และถนนสายบ้านหนองบัวเชื่อม ตำบลหนองสัว เทศบาล หนองบัวเชื่อม เทศบาลหนองสัว ซึ่งถนนทรุดโทรม อย่างมาก โดยตนเคยหารือแล้วก็เงียบไป ทางชาวบ้านฝากมาให้ทวงถามกรมส่งเสริม เพราะว่าได้ของบประมาณไปหลายปีแล้ว แต่เรื่องยังไม่ได้รับการตอบรับ ตนขอให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“อามินทร์ สส.นราธิวาส”ชงแก้ปัญหา Overstay ของชาวมาเลเซีย เผย ชายแดนใต้กำลังเสียโอกาสในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

,

“สส.อรรถกร” ขอบคุณส.ส. ได้ร่วมกันลงมติเป็นเอกฉันท์ แก้ไขข้องบังคับสภา เปลี่ยนชื่อ-ภาระกิจ กรรมาธิการสามัญ เพื่อแก้ทุกข์ให้ปชช.

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวถึงกฎหมายกวาดล้างต่างชาติอยู่ Overstay หรือปัญหาการอยู่เกินกำหนดตามระยะอนุญาตของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ซึ่งในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ทำให้พื้นที่ชายแดนภาคใต้เผชิญกับเศรษฐกิจที่ซบเซามายาวนาน มาถึงวันนี้สถานการณ์คลี่คลายไปแล้ว ความหวังของพี่น้องประชาชนที่จะได้ทำมาหากิน หารายได้จากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็มีมากขึ้น

“เนื่องด้วยปัญหาการอยู่ Overstay ของคนมาเล จึงทำให้ขณะนี้ชายแดนกำลังใต้เสียโอกาสจากการต้อนรับนักท่องเที่ยว จากการถูกห้ามเข้าประเทศ หลังจากเข้ามาเสียค่าปรับแล้ว ตามข้อกฎหมายที่ต้องโดนห้ามกลับเข้าประเทศไทยอีก ซึ่งเข้าใจในความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายในข้อนี้บังคับใช้ก็เพื่อป้องกันแรงงานต่างด้าว แต่ชายแดนทางใต้เป็นชายแดนทางการค้า ไม่ใช่ชายแดนสำหรับแรงงานต่างด้าว ผมต้องขอฝากกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ด้วย”

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้มีนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 2 ล้านคนเดินทางมาเยือน จ.สงขลา สูงกว่าปีที่แล้วที่ 8-9 แสนคน ซึ่งยอดนักท่องเที่ยวสะสมมาเลเซียแซงหน้าชาวจีนไปแล้ว โดยผลสำรวจจากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้ ระบุว่า ทางใต้ของไทยเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่ต้องการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร และเป็นจุดหมายปลายทางในวันหยุดสุดสัปดาห์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“สส.อรรถกร” ขอบคุณส.ส. ได้ร่วมกันลงมติเป็นเอกฉันท์ แก้ไขข้องบังคับสภา เปลี่ยนชื่อ-ภาระกิจ กรรมาธิการสามัญ เพื่อแก้ทุกข์ให้ปชช.

,

“สส.อรรถกร” ขอบคุณส.ส. ได้ร่วมกันลงมติเป็นเอกฉันท์ แก้ไขข้องบังคับสภา เปลี่ยนชื่อ-ภาระกิจ กรรมาธิการสามัญ เพื่อแก้ทุกข์ให้ปชช.

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ฉะเชิงเทรา ในฐานะ
ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ…. เปิดเผยว่า ขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่าน ได้ลงมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการได้เสนอให้ สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแก้ไขข้อบังคับสภาฯ เพื่อแก้ชื่อและภาระกิจของคณะกรรมาธิการ 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สิน คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมาธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

“ การแก้ไขข้อบังคับครั้งนี้ เพื่อให้สภาสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสส.ถือเป็นกลไกสำคัญที่สามารถนำปัญหาและข้อเท็จจริงในความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชน นำมาสู่การผลักดันช่วยเหลือได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น” นายอรรถกร กล่าว

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามพิจารณาตามมติที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ได้รับหลักการร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ…. ตั้งกรรมาธิการจำนวน 20 คน เพื่อพิจารณา กำหนดการแปรญัตติ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างข้อบังคับดังกล่าวเสร็จแล้วปรากฏผลตามรายงานของคณะกรรมาธิการตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการจึงเรียนมาเพื่อที่ประชุมในวันนี้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

,

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ
เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

วันนี้ (16 ต.ค.66) เวลา 13.30 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับแกนนำสมัชชาคนจน (สคจ.) และ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองกระทรวงซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของที่ดินที่เป็นปัญหาค้างคาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม แบ่งเป็น กระทรวงมหาดไทย 14 กรณีประเด็นปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7 กรณี ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบการทำงานจากนี้ร่วมกันระหว่างสมัชชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดตามข้อร้องเรียนในแต่ละประเด็น เสนอต่อสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเบื้องต้นได้ผลเป็นน่าพอใจ และเมื่อมีกรอบแนวทางออกในการดำเนินงานในความเดือนร้อนที่พี่น้องสมัชชาคนจนเสนอมา และมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน คาดว่าการปักหลักชุมนุมก็จะไม่ยืดเยื้อแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการหารือร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจนเรียบร้อยแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางต่อไปยังบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล พบปะตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ เพื่อหารือการขับเคลื่อนการทำงานของคณะอนุกรรมการที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรรมการลงนามแต่งตั้งทั้งหมด 7 คณะอนุกรรมการ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบ 2.คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม 3.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการของรัฐ 4.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ 5.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาสิทธิสถานะ และบุคคล 6.คณะอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัยและการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ 7.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาใน 10 ประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบาย และปัญหารายกรณีทั้งสิ้น 266 กรณี ร่วมกันตามที่กลุ่มพีมูฟได้ยื่นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพีมูฟ ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการ จะประสานงานฝ่ายเลขาฯ ของคณะกรรมการและอนุกรรมการทุกชุดมาประชุมร่วมกับผู้แทนพีมูฟโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มพีมูฟได้ปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา และจะยุติการชุมชุมและทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาในวันนี้ (16 ต.ค.66).

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

‘ธรรมนัส’นำทีม สส.พปชร.ลุยแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา พร้อมประกาศ ดีเดย์แจกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรก 15 ม.ค. 67 แน่นอน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด กระแสสินธุ์ และพบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ณ ต.บ้านตาขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ร่วมกับ สส. ภาคใต้ของพรรคพลังประชารัฐ อาทิ นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 ,นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต2 , นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต 3 และนายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2

โดย ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาของคาบสมุทรสทิงพระ คือเริ่มตั้งแต่เมื่อวานที่ตนไปลงพื้นที่ทะเลน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา รวมถึงนครศรีธรรมราช แล้วก็คาบสมุทรทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน โดยช่วงเช้าตนได้สั่งการไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาว่า จะนำเรื่องที่มาตรวจราชการ 2 วัน โดยเป็นเรื่องของคนพัทลุง คนสงขลา และคนนครศรีธรรมราช เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้รับทราบ เพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในเรื่องของการพัฒนาทะเลสาบสงขลา อย่าง ทะเลน้อย

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อเช้าตนอยู่กับพี่น้องชาวอำเภอระโนด ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พี่น้องได้รับผลกระทบ เวลาหน้าน้ำหลากก็ท่วมคาบสมุทรสทิงพระ ทำให้พี่น้องชาวอำเภอสทิงพระเดือดร้อน แนวทางในการแก้ปัญหาในส่วนของกรมชลประทาน ตนได้สั่งการกรมชลประทานแล้วว่า ให้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อย่างเช่น ในช่วงหน้าแล้ง ก็มีปัญหาเรื่องน้ำของภาคการเกษตรเป็นปัญหามาก เราจะทำการกระจายน้ำ โดย ใช้เป็นประตูสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละจุดของคลองอาทิตย์ เพื่อระบายไปยังแปลงเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้ง 4 อำเภอ ส่วนคณะกรรมการในการบริหารจัดการทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา ตนก็จะอาสาเป็นประธานในการขับเคลื่อน

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมาตนมีการประชุมของคณะกรรมการปฎิรูปที่ดิน อนุมัติกรอบในการเปลี่ยนที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด ภายใต้ใช้กฎหมายข้อบังคับประกาศ 4 ฉบับ พรบ.ส.ป.ก. ปี 18 ประกอบกับปีที่ปรับปรุงแล้ว ถ้าถามว่า ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2567 จะเริ่มแจก ส.ป.ก.ทั่วประเทศหรือไม่ ตน ยืนยันว่า ทำ ขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศว่า เราจะเปลี่ยนที่ดินที่เป็นที่ดินของรัฐประเภท สปก.ให้เป็นโฉนด เพื่อการเกษตรให้กับของท่าน อย่างในพื้นที่จังหวัดสงขลาก็มีที่ดิน ส.ป.ก.จำนวนมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System : GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย ณ จุดชมวิว (บ้านแฝด) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ดังกล่าวเป็นมรดกทางการเกษตรโลก

สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแบบลากูน เชื่อมลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งภายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยประกอบไปด้วยระบบนิเวศย่อยมากมาย อาทิ ป่าพรุ ทุ่งหญ้า เนินสูง และบึงน้ำ ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำมากกว่า 200 สายพันธุ์ และเป็นจุดพักของนกอพยพตามเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออกถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีสถานะอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่นิเวศบริการหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตำบลเคร็งและตำบลแหลม) จังหวัดพัทลุง (ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง) จังหวัดสงขลา (ตำบลบ้านขาว) ที่พึ่งพิงอาศัยทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง ก่อให้เกิดวิถีการทำการเกษตรที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น วิถีการเลี้ยงควายปลัก การทำหัตถกรรมกระจูด การปลูกข้าว “นาริมเล” และการทำประมงโดยใช้ยอยักษ์เป็นเครื่องมือทำการประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย สะท้อนสมดุลระหว่างวิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศและการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร กระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรที่สำคัญของโลก และจะนำไปสู่การแผนจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่สร้างสมดุลทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไปให้อนาคต โดยพื้นที่ดังกล่าว มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 228 ราย จํานวนควาย 4,480 ตัว และมีกลุ่มผู้เลี้ยงควาย 17 กลุ่ม

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมอบหมายกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า โยธาธิการจังหวัด และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ นำเครื่องจักรเครื่องมือมาดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเก็บกักวัชพืชที่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงในอาชีพ ก่อตั้งขึ้นโดย นางวรรณี เซ่งฮวด ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการนำวัสดุอื่น ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกใหม่ และมีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระจูด และสร้างงานให้คนในชุมชนกว่า 200 คน นำรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 4 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2566

“องอาจ สส.สระบุรี” ขอ รมว.มหาดไทย ดูแลประปาภูมิภาคพระพุทธบาท ปชช.เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ไร้การแก้ไข

,

“องอาจ สส.สระบุรี” ขอ รมว.มหาดไทย ดูแลประปาภูมิภาคพระพุทธบาท ปชช.เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ไร้การแก้ไข

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นในอำเภอพระพุทธบาท คือปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อน ไหลเป็นบางเวลาหรือไหลเฉพาะช่วงดึก ประชาชนต้องตื่นขึ้นมาช่วงกลางดึก เพื่อมารองน้ำไว้ใช้ ซึ่งตนเคยหารือปัญหานี้มาแล้วเมื่อสมัยประชุมที่แล้ว แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไขจากการประปาภูมิภาคพระพุทธบาท โดยปัญหาเริ่มขยายวงกว้างเป็นวิกฤติเดือดร้อนกันในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแถวบริเวณตลาดนิคม ตลาดใน หลังโรงพยาบาลบริเวณ หมู่ 6 หมู่ 7 หมู่ 8 ตำบลขุนโขน หมู่ 7 พระพุทธบาท หมู่ 9 ชะอม เดือดร้อนกันทั่ว

นายองอาจ กล่าวต่อว่า สาเหตุของปัญหาหลักๆ คือเนื่องจากประปาภูมิภาคขยายเขตไปยังอำเภออื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าเกินศักยภาพของตัวเอง จึงปล่อยประละเลย ขุดใช้ประปาเก่า ไม่มีการปรับปรุงซ่อมแซมของเก่า ปล่อยท่อประปาเก่าชำรุดเสียหาย น้ำประปารั่วไหลทิ้ง นอกจากนี้ เครื่องสูบ เครื่องส่งน้ำหลัง ๆ ก็ไม่พอส่งน้ำให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพระพุทธบาท

“ผมเคยสิ้นหวังกับการหารือในการแก้ปัญหาของน้ำประปาให้ท่านรัฐมนตรีมหาดไทยเข้ามาช่วยเรื่องประปาตรับ และขอฝากความหวังเรื่องนี้ให้กับท่านรัฐมนตรีให้ช่วยดูแลปัญหาเดือดร้อนปัญหาของประปาของพระพุทธบาทด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

,

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า พื้นที่อำเภอหล่มสักในขณะนี้เกิดอุทกภัยหนักมาก เกือบทุกตำบลในอำเภอหล่มสักเผชิญกับภัยน้ำท่วม โดยมีสาเหตุหลักมาจาก น้ำในแม่น้ำป่าสักที่ไหลจากจังหวัดเลยมีปริมาณน้ำมากจนล้นตลิ่ง,น้ำในห้วยสะดึงใหญ่ ที่มาจากอำเภอน้ำหนาวก็ไหลมารวมที่อำเภอหล่มสัก,ลำน้ำพูก็ไหลมารวมที่ป่าหล่มสัก,น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่นที่มีปริมาณน้ำมาก จนต้องปล่อยน้ำออกมา เพราะเกรงปัญหาเรื่องอ่างเก็บน้ำรับน้ำไม่ไหว และปริมาณน้ำฝนลงในพื้นที่

“ผมจึงอยากให้กรมชลประทานช่วยเร่งรัดโครงการและสนับสนุนงบประมาณทั้ง 4 โครงการที่สำคัญดังนี้
1.โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ ตำบลท่าวิบูลย์
2.โครงการเพิ่มความจุของปากห้วยขอนแก่น ตำบลห้วยไร่
3.โครงการผันน้ำพื้นที่ตำบลตาเดียว เพื่อลดปริมาณน้ำไม่ให้เข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจของหล่มสัก
และ 4.ขอฝากกรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำป่าสัก เพราะว่าตื้นเขินมาก เพื่อเพิ่มความจุของลำน้ำ

ในอนาคตอันใกล้นี้ถ้า 4 โครงการนี้ไม่เกิดขึ้นก็จะทำให้อำเภอหล่มสักประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างนี้ซ้ำซากและทุกๆปี ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566

กลุ่มเกษตรกร 3 จว.ยื่นหนังสือ“บุญยิ่ง”ปธ.กมธ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ขอ ก.พาณิชย์ลดค่าปุ๋ยเคมี ไม่ครอบคลุมพืชสวน

,

กลุ่มเกษตรกร 3 จว.ยื่นหนังสือ“บุญยิ่ง”ปธ.กมธ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ขอ ก.พาณิชย์ลดค่าปุ๋ยเคมี ไม่ครอบคลุมพืชสวน

ที่รัฐสภา นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะ กมธ. และ นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ รับยื่นหนังสือจาก นายสุชัช สายกสิกร ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรพืชสวนใน 3 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง จากกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดราคาปุ๋ยเคมีลง ร้อยละ 8 จากราคาขายปกตินั้น ปรากฏว่าปุ๋ยเคมีที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศลดราคาเป็นกลุ่มปุ๋ยเคมีที่ใช้กับพืชไร่ นาข้าว และไร่อ้อยเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมพืชสวน ได้แก่ มะพร้าว มะนาว ฝรั่ง ชมพู่ และองุ่น ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรพืชสวนที่ใช้ปุยเคมีสูตร 12-12-17 17-17-17 8-24-24 25-7-7 21-5-10 และ 13-13-21 ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากปรับลดราคาปุ๋ยของกระทรวงพาณิชย์
โดยนางบุญยิ่ง กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า คณะ กมธ. จะพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องกลุ่มเกษตรกรพืชสวน รวมทั้งเสนอเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาลดราคาปุ๋ยเคมีที่ใช้สำหรับพืชสวนต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“อามินทร์”หนุน สภาฯตั้ง กมธ.วิสามัญ แก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างจริงจัง ชี้ ปัจจัยเหตุภาครัฐยังแก้ปัญหาไม่ตก เพราะขาดความจริงใจในการทำงาน

,

“อามินทร์”หนุน สภาฯตั้ง กมธ.วิสามัญ แก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างจริงจัง ชี้ ปัจจัยเหตุภาครัฐยังแก้ปัญหาไม่ตก เพราะขาดความจริงใจในการทำงาน

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวอภิปรายในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสนับสนุนญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ปัญหาหลัก ๆ ของชายแดนใต้คือ ความเหลื่อมล้ำที่ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไข และใช้งบประมาณมากมายมหาศาล แต่ก็เหมือนยังงมเข็มอยู่ในทะเล เพราะขาดความจริงใจทำงาน คนละทิศคนละทาง ทำงานซ้ำซ้อนวนเวียนอยู่ที่เดิม เกิดเหตุทีนึง ก็ต้องกลับมาเริ่มใหม่ทุกครั้ง สิ่งที่ตนอยากจะสะท้อนปัญหาคือความไม่ต่อเนื่องในการแก้ปัญหา เช่น ผู้ปฏิบัติงานราชการระดับสูง ส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาภาคใต้เพียงเพื่อเป็นทางผ่าน

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาข้าราชการท้องถิ่นย้ายมาเพื่อเอาอายุราชการทวีคูณ พอได้ดังใจก็ย้ายออกไป มันเลยเกิดความไม่ต่อเนื่องในการสานต่อแก้ไขปัญหา เพราะระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่สามารถเข้าใจบริบทของคนในพื้นที่ได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นข้าราชการทุกคน ที่จะเข้ามาทำงานในสามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ควรจะมีระยะเวลาในการทำงานที่เหมาะสม มีกรอบการทำงานที่ชัดเจน ไม่เอาแล้วประเภทย้ายมาปีเดียว แล้วเกษียณ

“ความจริงใจในการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัด นราธิวาส ที่เป็นพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษ เป็นพื้นที่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมา ภายใต้กฎหมายและการบริหารจัดการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่นออกกฏหมายที่ค่อนข้าง มีความเสรี การให้สิทธิพิเศษต่างๆ แกผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ แต่พี่น้องที่นี่กลับไม่ได้รู้สึกพิเศษแต่อย่างใด หรือมีเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความรู้สึกพิเศษ“นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ก่อนที่เราจะเจอภัยโควิด พื้นที่ชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นด่านสุไหงโกลก ตากใบหรือแม้แต่เบตง เคยเป็นเมืองแห่งความสุข การค้าดี เศรษฐกิจดี และเห็นได้ชัดว่า เศรษฐกิจในพื้นที่จะดีหรือไม่ดี ล้วนขึ้นอยู่กับการค้าขายระหว่างประเทศ แต่หลังจากที่เราผ่านภัยโควิดมาได้ ภาครัฐได้ใช้วิธีการหักดิบ ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการควบคุมการเข้าออกของ นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของยานพาหนะ ตนขอให้กรมศุลกากร ตำรวจ ทหาร รวมกับท้องที่ ท้องถิ่น ผู้ประกอบการหรือพี่น้องประชาชน ร่วมกันหาทางออกอย่างจริงจัง และอย่าใช้ช่องว่างตรงนี้เอาเปรียบชาวบ้านตาดำๆ เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว ดังนั้นตน เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพราะนี่จะเป็นครั้งแรกในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงๆจังๆเสียที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” แจ้งข่าวดีสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีแนวโน้มสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้งนี้

,

“รมว.ธรรมนัส” แจ้งข่าวดีสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีแนวโน้มสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้งนี้

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีนายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมชลประทาน และสำนักงานชลประทานที่ 1 – 17 เข้าร่วม ณ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน และผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) ซึ่งจากปริมาณฝนที่ตกในช่วงที่ผ่ามมา ส่งผลต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณเกินร้อยละ 80 ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่มอก เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนสิรินธร เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนประแสร์ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา ซึ่งกรมชลประทานมั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะสามารถสนับสนุนทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้ง สำหรับอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ กรมชลประทานมีการติดตามและวางแผนการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง มั่นใจไม่กระทบการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตามข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด

รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีปริมาณน้ำมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกจำนวนมาก ทำให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสในการทำนาปรังในพื้นที่เขตชลประทาน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในการทำนาปรังดังกล่าว จะต้องผ่านคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ที่มีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นฝ่ายเลขานุการ หากมีมติเห็นชอบ กระทรวงเกษตรฯ จะนำเข้าคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวน 8,524 ล้าน ลบ.ม. และคาดการณ์ว่า ในวันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีจำนวน 9,673 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,401 ล้าน ลบ.ม.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“กาญจนา สส.ชัยภูมิ” เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงถนนทางหลวงหมายเลข 2159 ให้กว้าง 12 เมตร เพิ่มความปลอดภัยให้ ปชช.ในการสัญจร

,

“กาญจนา สส.ชัยภูมิ” เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงถนนทางหลวงหมายเลข 2159 ให้กว้าง 12 เมตร เพิ่มความปลอดภัยให้ ปชช.ในการสัญจร

น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึงความเดือดร้อนของประชาชนว่า ตนได้ลงพื้นที่ด้วยตัวเองในถนนทางหลวงหมายเลข 2159 ช่วงชัยภูมิ หนองบัวแดง ระยะทาง 42 กิโลเมตร สภาพถนน
ทั้ง 8 เมตร โดยมีพื้นทางกว้าง 7เมตร ไหลทางกว้าง 0.5 เมตร ซึ่งถนนทางหลวงดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนายังคงสภาพเดิม ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างเมื่อครั้งแรก และปัจจุบันกลายเป็นถนนที่แคบ อีกทั้งจราจรเพิ่มขึ้นทุกปีไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่บรรทุกพืชผลทางเกษตรไปยังจังหวัดจำนวนมากทำให้ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

“ดิฉันจึงขอฝากไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ สายทางหลวงดังกล่าว ปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานกว้าง 12 เมตร เพิ่มทางสะดวกและปลอดภัยให้แก่พี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมาในเส้นทางหลวงดังกล่าวด้วย“น.ส.กาญจนา กล่าว

น.ส.กาญจนา กล่าวต่อถึงการก่อสร้างข้ามลำน้ำเจา เป็นหมู่บ้านที่ขาดการพัฒนา แต่เดิมสะพานนี้ ชาวบ้านบริจาคเงินสมทบในการสร้างสะพานเอง โดยไม่ได้รับ แบบมาตรฐาน ความเดือดร้อนอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่พี่น้องอำเภอภักดีชุมชน หมู่บ้านวังตระกูล ตำบล แหลมทอง ตนขอฝากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งสร้างสะพานให้ได้แบบมาตรฐานอย่างเร่งด่วน เพราะสะพานดังกล่าวชำรุดมาก จึงขอให้ดำเนินการอย่างโดยเร็ว เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566