โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ผู้เขียน: pprpadmin

“พปชร.จันทบุรี” เสนอรัฐอนุมัติก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรี อำนวยความสะดวกปชช. ยกระดับรายได้ให้คนในพื้นที่มั่นคง

,

“พปชร.จันทบุรี” เสนอรัฐอนุมัติก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรี อำนวยความสะดวกปชช. ยกระดับรายได้ให้คนในพื้นที่มั่นคง

พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ชาวจันทบุรี การเดินทางสัญจรไปมาจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า โดยคนจันทบุรี ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล โดยกรมทางหลวงชนบท และกระทรวงคมนาคม เร่งดำเนินการขออนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรี ที่บริเวณบ้านท่าแฉลม อ.เมืองจันทบุรี ไปยัง ต.บางกะชัย อ.แหลมสิงห์ เป็นระยะทาง 400 เมตร นอกจากจะเป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางแล้ว ยังเป็นการส่งเสริม สนับสนุน เพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มเส้นทางขนส่งสินค้าผลผลิตทางด้านการประมง การเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการสร้างงาน และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในอำเภอเมือง ซึ่งปัจจุบันมีความซบเซาอย่างมาก เนื่องจากเป็นแค่ทางผ่านเพื่อไปยังจังหวัดตราดและระยองเท่านั้น นักท่องเที่ยงจึงไม่ค่อยแวะเข้ามาในจันทบุรี

“เมื่อมีสะพานแล้วผมคาดว่า การสัญจรก็จะดีขึ้น มีประชาชน นักท่องเที่ยวมาจับจ่าย ใช้สอยในพื้นที่ตัวอำเภอเมืองมากขึ้น ซึ่งในตัวเมืองมีการค้าขายอัญมณี ตลาด มีสถานที่ๆ สำคัญ ถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่ารายได้ให้พี่น้องชาวจันทบุรีนับหมื่นล้านบาท”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ฐนภัทรกิตติวงศา
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

“ส.ส. กรณิศ” วอน กทม.เร่งลอกท่อ-ติดไฟฟ้าส่องสว่าง หลัง ปชช.ประสบปัญหาหนักในพื้นที่วัฒนา-คลองเตย

,

“ส.ส. กรณิศ” วอน กทม.เร่งลอกท่อ-ติดไฟฟ้าส่องสว่าง หลัง ปชช.ประสบปัญหาหนักในพื้นที่วัฒนา-คลองเตย

นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม. เขตคลองเตย-วัฒนา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ขอเรียกร้องไปยัง กทม.พื้นที่เขตวัฒนา มาทำการลอกท่อบริเวณสุขุมวิท 71 ซอยปรีดี พนมยงค์ 21 เนื่องจากประชาชนร้องเรียนมา เพราะในช่วงเวลาฝนตกแม้จะติดเครื่องสูบน้ำแล้ว แต่พอสูบออกไปเพื่อไปเชื่อมกับท่อใหญ่ในส่วนของสวนสาธารณะ ในท่อใหญ่น้ำก็ท่วมเช่นกัน ทำให้น้ำย้อนกลับมาในบ้านอีก สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหายจึงอยากให้ กทม.เข้ามาสำรวจบริเวณนี้ด้วย รวมถึงดำเนินการในเรื่องการขยายท่อน้ำด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณไผ่สิงห์โต ตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่ๆ เพิ่งจัดประชุมเอเปค 2022 ไป เป็นพื้นที่เปลี่ยว ขาดไฟส่องสว่าง สร้างความไม่ปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในการสัญจรในช่วงกลางคืน รวมไปถึงในบริเวณสะพานกลับรถหน้า สำนักงานเขตวัฒนา ซึ่งบริเวณนี้ตนได้เรียกร้องไปหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้รับการดำเนินการแก้ไขใด ๆ

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ศิริพงษ์รัสมี
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

พล.อ.ประวิตร เร่งเยียวยาผลกระทบน้ำท่วมภาคกลาง-อีสาน ระดมหน่วยงานระบายน้ำออกจากทุ่งเพิ่มแก้มลิงรับภัยแล้ง

,

เมื่อ 1 ธ.ค.65 , พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 4/2565 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี2565 ซึ่งภาพรวมมีความคืบหน้าตามแผนงานด้วยดี สามารถแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เป็นพื้นที่บริเวณกว้าง และขณะนี้ทุกภาคของประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูฝน ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ( สุราษฎร์ธานี ,นครศรีธรรมราช ,พัทลุง ,สงขลา ,ปัตตานี ,ยะลา ,นราธิวาส) และรับทราบความก้าวหน้า 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง ปี2565 /2566 ซึ่งยังคงดำเนินการ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ตามแผนงานของ สทนช. รวมถึงรับทราบ สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และแนวทางการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลาง ปี2565 เพื่อลดผลกระทบที่มักจะเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าสู่บ้านเรือนประชาชน และพืชสวนการเกษตร

จากนั้นที่ประชุม ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ แนวทางแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เพิ่มพื้นที่แก้มลิง รับน้ำให้มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรกรรม

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ให้เร่งรัดการประสานงาน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังประสบกับภาวะฤดูฝนขณะนี้ รวมทั้งให้ มท. ,เหล่าทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทันที อย่างทั่วถึง ภายหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยเร็วที่สุด

พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 4/2565 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี2565 ซึ่งภาพรวมมีความคืบหน้าตามแผนงานด้วยดี สามารถแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เป็นพื้นที่บริเวณกว้าง และขณะนี้ทุกภาคของประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูฝน ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ( สุราษฎร์ธานี ,นครศรีธรรมราช ,พัทลุง ,สงขลา ,ปัตตานี ,ยะลา ,นราธิวาส) และรับทราบความก้าวหน้า 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง ปี2565 /2566 ซึ่งยังคงดำเนินการ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ตามแผนงานของ สทนช. รวมถึงรับทราบ สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และแนวทางการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลาง ปี2565 เพื่อลดผลกระทบที่มักจะเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าสู่บ้านเรือนประชาชน และพืชสวนการเกษตร

จากนั้นที่ประชุม ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ แนวทางแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เพิ่มพื้นที่แก้มลิง รับน้ำให้มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรกรรม

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ให้เร่งรัดการประสานงาน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังประสบกับภาวะฤดูฝนขณะนี้ รวมทั้งให้ มท. ,เหล่าทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทันที อย่างทั่วถึง ภายหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยเร็วที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

“โฆษก พปชร.” น้อมรับสูตรหาร100 ตามคำวินิจฉัยศาลรธน. พร้อมสู้ศึกส่งผู้สมัครเลือกตั้งทั่วประเทศจุดมุ่งหมายทำเพื่อปชช.

,

“โฆษก พปชร.” น้อมรับสูตรหาร100 ตามคำวินิจฉัยศาลรธน.
พร้อมสู้ศึกส่งผู้สมัครเลือกตั้งทั่วประเทศจุดมุ่งหมายทำเพื่อปชช.

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผย ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 วินิจฉัยพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ว่า การดำเนินการในขั้นตอนต่อจากนี้ไป ศาลรัฐธรรมนูญจะส่ง คำสั่งไปยัง ประธานรัฐสภา เพื่อเสนอต่อรัฐบาลนำขึ้นทูลเกล้าฯซึ่งถือว่าคำวินิจฉัยที่ออกมา ทำให้การเมืองไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ตามไทมไลน์ การเลือกตั้งจะมีในปี 66 โดยไม่ต้องสะดุด และต้องกลับมาแก้ไขกฎหมายกันใหม่อย่างที่หลายฝ่ายแสดงความกังวล

“ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จะใช้สูตรหาร 100 หรือสูตรหาร 500 ก็ไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่พรรคพลังประชารัฐ คำนึงถึงคือกฎหมายฉบับดังกล่าว จะต้องบังคับใช้ให้ทันเลือกตั้งครั้งหน้าในปี 2566 ซึ่งคือหลักประกันแรก เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสุญญากาศ และไม่ให้เกิดความซับซ้อนให้แก่ประชาชน นั่นคือจุดยืนของพรรคพลังประชารัฐ และวันนี้ก็ได้ข้อสรุปแล้ว”นายอรรถกร

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า พรรคพลังประชารัฐจะเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป ไม่ว่าจะใช้กติกาใดในการเลือกตั้งก็ไม่สำคัญเท่ากับ เมื่อเลือกตั้งเข้ามาแล้วผู้แทนที่เข้ามาทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ ตนเชื่อว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องการมากที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 พฤศจิกายน 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งรัดการพัฒนาอาชีพนักกีฬาต่อเนื่อง เสริมสมรรถนะใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาสร้างความเป็นเลิศ

,

“พล.อ.ประวิตร”เร่งรัดการพัฒนาอาชีพนักกีฬาต่อเนื่อง เสริมสมรรถนะใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาสร้างความเป็นเลิศ

เมื่อ 30 พ.ย.65 ,10.45 น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12/2565 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านระบบ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์

ที่ประชุมได้รับทราบ ความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของ กกท.ประจำปี2565 ภาพรวม สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยการบริหารจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ,การบริหารจัดการกีฬาอาชีพและกีฬามวย กีฬาคนพิการ ,การบริหารการกีฬาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ,การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและบริการ ทางการกีฬา ของกกท. รวมทั้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบ การทบทวน ร่างข้อบังคับ กกท. ว่าด้วยการร่วมดำเนินโครงการของ กกท. พ.ศ… เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้อง ถูกต้องตามข้อกฎหมาย ของ กกท. ต่อไป และเห็นชอบให้สนับสนุนโครงการจัดหาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์การกีฬาในภูมิภาค เพื่อใช้สำหรับเพิ่มศักยภาพนักกีฬา สู่ความเป็นเลิศ ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ของแต่ละสมาคมฯ ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ กกท.ให้เร่งขับเคลื่อนแผนงานการพัฒนากีฬา อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ พร้อมทั้งให้ส่งเสริมกีฬาอาชีพ กีฬามวย และกีฬาคนพิการ อย่างเต็มที่ ย้ำสมาคมฯ ต่างๆใช้ศูนย์ศาสตร์การกีฬาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มศักยภาพ นักกีฬา อย่างจริงจังมากขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 พฤศจิกายน 2565

“พล.อ.ประวิตร” สั่งตั้งศูนย์ส่วนหน้าฯ รับมือมรสุมเข้าภาคใต้ช่วง 3 – 5 ธ.ค.นี้

,

“พล.อ.ประวิตร” สั่งตั้งศูนย์ส่วนหน้าฯ
รับมือมรสุมเข้าภาคใต้ช่วง 3 – 5 ธ.ค.นี้

พล.อ.ประวิตร” สั่งเปิดศูนย์ส่วนหน้าฯ ภาคใต้ จ.สุราษฏร์ธานี ภายใต้ กอนช. เตรียมรับมือฝนหนักช่วง 3 – 5 ธ.ค.นี้ มอบ สทนช.เชื่อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ ป้องกัน บรรเทาผลกระทบ ระดมเครื่องจักร เครื่องมือ กำลังคน พร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักตลอดเดือนธันวาคมนี้ล่วงหน้า ตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 65

วันนี้ (30 พ.ย. 65) ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 จ.สุราษฏร์ธานี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ และประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ครั้งที่ 1/2565 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ กองบัญชาการกองทัพไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรมประชาสัมพันธ์ ว่า พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. มีความห่วงใยต่อสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้เน้นย้ำพร้อมมอบหมายให้ สทนช. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จุดเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อซักซ้อมหน่วยงานในการเร่งปฏิบัติการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเข้มข้น รวมถึงได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมให้แก่ประชาชนอย่างทันท่วงที พร้อมทั้ง ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว รวมทั้งเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการมวลน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

พล.อ. ประวิตร จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ขึ้น โดยได้มอบหมายให้ สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กอนช. จัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าฯ ภาคใต้ เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบริหารจัดการน้ำและเผชิญเหตุในเชิงป้องกัน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 3 – 5 ธ.ค.นี้ กอนช.ประเมินว่า บริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งในส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ติดตาม วิเคราะห์ คาดการณ์ฝนรวมถึงพายุที่ยังมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อบริหารจัดการน้ำ โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนอำนวยการ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนสนับสนุน และส่วนประชาสัมพันธ์ โดยทั้ง 4 กลุ่มจะเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันโดยประชุมติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องทุกวัน จนกว่าสถานการณ์ฝนตกหนักจะเข้าสู่ภาวะปกติ


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 พฤศจิกายน 2565

“พล.อ.ประวิตร”เปิดงาน Thailand Smart City Expo 2022″ สู่”เมืองอัจฉริยะ” ส่งเสริมเศรษฐกิจพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เติมเต็มคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ

,

“พล.อ.ประวิตร”เปิดงาน Thailand Smart City Expo 2022″ สู่”เมืองอัจฉริยะ”
ส่งเสริมเศรษฐกิจพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เติมเต็มคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ

วันที่ 30 พ.ย. 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “นิทรรศการไทยแลนด์ เมืองอัจฉริยะ””Thailand Smart City Expo 2022” ซึ่งมีผู้ร่วมงาน จำนวนมาก ให้ความสนใจ โดยมีสารสำคัญ คือ ในการจัดงานครั้งนี้ พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ครั้งนี้ มีการแสดงสินค้าและเทคโนโลยี ระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วย ผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ได้อย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน รวดเร็วยิ่งขึ้น

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและกำหนดให้การขับเคลื่อน และพัฒนาเมืองอัจฉริยะเป็นวาระแห่งชาติ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 มีเป้าหมาย ในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีเมืองที่ได้รับ “ตราสัญลักษณ์ เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมืองจาก 23 จังหวัด นับเป็นการแสดงถึงความพร้อมในการพัฒนาเมือง

ทั้งนี้ ได้กล่าวขอบคุณ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ,กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา และพันธมิตรนานาประเทศ ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากเมืองจะได้รับการพัฒนาให้น่าอยู่อาศัย และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศ ได้อีกด้วย พร้อมอวยพรขอให้การจัดงานครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชน ต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 พฤศจิกายน 2565

“พรรคพลังประชารัฐ”เร่งเก็บข้อมูลพื้นที่ขับเคลื่อน 3 พันธกิจหลัก วิเคราะห์ 6 กลุ่มอาชีพเป้าหมายสร้างหลักประกันให้คนไทยอยู่ดีกินดี

,

“พรรคพลังประชารัฐ”เร่งเก็บข้อมูลพื้นที่ขับเคลื่อน 3 พันธกิจหลัก
วิเคราะห์ 6 กลุ่มอาชีพเป้าหมายสร้างหลักประกันให้คนไทยอยู่ดีกินดี

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 3 ชุดขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อน 3 พันธกิจหลัก ได้แก่ 1. คณะกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการประชารัฐ : ขจัดความเหลื่อมล้ำ มี นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นประธาน 2. เศรษฐกิจประชารัฐ : สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม มี นายพรชัย ตระกูล วรานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นประธาน และ 3. สังคมประชารัฐ : สงบสุข เข้มแข็ง ที่มีนายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการเพื่อการขับเคลื่อน 3 พันธกิจ ได้ติดตามความคืบหน้าในการจัดทำนโยบายพรรค โดยมีคณะกรรมการทั้ง 3 คณะเข้าร่วมประชุม อาทิ นายชวน ชูจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ส.ส. ภูเก็ต เขต1 นายกองตรีอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ส.ส. นครศรีธรรมราช เขต3 เป็นต้น

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะทำงานได้หารือและศึกษา ถึงแนวทางในการกำหนดและวางกรอบนโยบายเพื่อขับเคลื่อน 3 พันธกิจ ทั้ง 3 ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจประชารัฐ ได้มีการวิเคราะห์ หาจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อนำมาสู่การวางยุทธศาสตร์ และกำหนดนโยบายของพรรค โดยจัดเป็น 6 กลุ่ม อาชีพเป้าหมายหลักซึ่งคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประชารัฐ จะเร่งทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมใน 6 กลุ่มอาชีพและจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 30 พ.ย.นี้

สำหรับ 6 กลุ่มอาชีพประกอบด้วย 1. กลุ่มเกษตรกร ได้ศึกษาข้อดีและข้อเสียของนโยบายจำนำข้าวและประกันราคาข้าว ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน โดยจะให้ความสำคัญกับ 8 ชนิดพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์ม เป็นต้น รวมถึงกลุ่มปศุสัตว์ต่างๆ กลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้าน เพื่อกำหนดเนื้อหาและศึกษาถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ

2. กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางหรือกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงกลุ่มกิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) และกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งกำหนดกรอบนโยบายในการสร้างกลุ่มยูนิคอร์นของไทย ให้เห็นถึงความสำเร็จของกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับเศรษฐกิจไทยในเวทีระดับโลก

3. กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากซัพพลายเชนของอุตสาหรกรรมท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับจำนวนคนเป็นจำนวนมาก ทั้งภาคการท่องเที่ยวกลางวันและภาคการท่องเที่ยวกลางคืน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในการกำหนดนโยบายที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญและช่วยเหลือ ทั้งนี้ ก่อนการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากกว่า 40 ล้านคน และคาดว่าในปี 66 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทย 23.5 ล้านคน ซึ่งสถานการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นกลับไปอยู่จุดเดิม ดังนั้นจึงต้องมีนโยบายช่วยเหลือ

4. ส่งเสริมและผลักดันให้อาหารไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารโลก เพราะที่ผ่านมาอาหารไทยถือว่าประสบความสำเร็จในเวทีการประชุมเอเปค และยังเป็นหนึ่งในซอฟ์ทพาวเวอร์ รวมถึงการผลักดันให้เกิดฟิวเจอร์ฟู้ดที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารไทยได้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั่งยกระดัยสตรีทฟู้ดของไทยให้เป็นซอฟ์ทพาวเวอร์ของไทยอีกแขนงหนึ่ง

5. กลุ่มการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว ที่ให้สอดคล้องกับแนวทาง BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ -เศรษฐกิจหมุนเวียน- เศรษฐกิจสีเขียว) โดยเฉพาะพลังงานสะอาดที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จะผลักดันให้สามารถเข้าถึงภาคครัวเรือนมากขึ้น

6. กลุ่มอุตสาหกรรมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์และมีเดีย เพื่อส่งเสริมให้บุคคลในวงการอุตสาหกรรมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์และมีเดีย อาทิ ศิลปิน ดารา นักร้อง เอ็นฟลูเอ็นเซอร์ ให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง

ในส่วนของพันธกิจสังคมประชารัฐ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมาเป็นฐานในการวิเคราะห์ความต้องการของประชาชน ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้สอดรับกับบริบท เพราะแต่ละภูมิภาคก็มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการสร้างระบบอีโค่ซิสเต็มส์ ที่สามารถลดภาระด้านต้นทุนในการประกอบอาชีพ โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนและส่งเสริมด้านการตลาด ซึ่งเป็นการวางกรอบของกลุ่มสังคมประชารัฐ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายของพรรคในอนาคต

“ในเรื่องของสวัสดิการประชารัฐ ได้มีการวางแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงนโยบายที่ภาครัฐให้การสนับสนุนในรูปแบบใหม่ โดยการหาแนวทางอำนวยความสะดวก และเข้าถึงการสร้างรายได้ที่มั่นคง เพราะมีหลายอาชีพที่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น ภาคพลังงานที่ยังมีเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการรับประโยชน์จากการผลิตพลังงาน รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานโซลาร์ในราคาต่ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนต่ำในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม” นางสาวเกณิกา กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 พฤศจิกายน 2565

‘พล.อ.ประวิตร ’ ห่วงปชช. ตกเป็นเหยื่อโกงออนไลน์ สั่งลุยกวาดล้าง ปี 65 จับ 1,383 คดี 1,980 ราย

,

‘พล.อ.ประวิตร ’ ห่วงปชช. ตกเป็นเหยื่อโกงออนไลน์ สั่งลุยกวาดล้าง ปี 65 จับ 1,383 คดี 1,980 ราย

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างการเยือนประเทศกัมพูชาเมื่อ 22-24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้เจรจาขอความร่วมมือรัฐบาลกัมพูชาให้ช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานในแก๊งคอลเซนเตอร์ โดยให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เข้าร่วมปฏิบัติการปราบปราบ เพื่อยุติปัญหาให้หมดสิ้นไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยสตช.เป็นหน่วยแกนหลักที่ต้องบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มอบหมาย พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ.สุชาติ ผ่องพุฒิ คณะทำงานรองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน กสทช. สำนักงาน ปปง. สำนักงาน กลต. และหน่วยงานเกี่ยวข้อง หารือกำหนดมาตรการและขั้นตอนปฏิบัติในการบูรณาการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายให้เสร็จใน 3 เดือน โดยในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการแจ้งความคดีออนไลน์ จำนวน 132,747 เรื่อง แยกเป็นคดีออนไลน์ 22 ประเภท กรณีหลอกลวงซื้อขายสินค้าสูงสุด จำนวน 43,323 คดี การโอนเงินเพื่อหารายได้จากกิจกรรม จำนวน 18,143 คดี และการหลอกลวงให้กู้เงินแต่ไม่ได้รับเงิน จำนวน 15,887 คดี สามารถจับกุมอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปี 2565 แยกเป็นพนันออนไลน์สูงสุด 697 คดี ผู้ต้องหา 1,198 คน และการหลอกลวงออนไลน์ด้านการเงิน 686 คดี ผู้ต้องหา 782 คน

รองนายกฯ ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาการฉ้อโกงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งในรูปแบบของการเงินนอกระบบ ( เช่น แชร์ลูกโซ่ การเล่นแชร์และการขายตรง ) การพนันออนไลน์ การหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ โดยมีมติเห็นชอบ มาตรการเร่งด่วน ในการแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ 6 ด้าน ประกอบด้วย มาตรการป้องกันปราบปราม มาตรการสืบสวนปราบปราม การปรับแก้กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องและกำหนดอัตราโทษสูงขึ้น รวมทั้ง มาตรการดูแลคุ้มครองประชาชน และมาตรการสร้างความร่วมมือเชิงรุก และพิจารณาแนวทางการดำเนินการเร่งด่วน อาทิ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศ หรือข้อบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ระงับช่องทางการทำธุรกรรมออนไลน์กับบัญชีต้องสงสัย การกำหนดให้การโอนเงิน Mobile Banking ในจำนวนที่กำหนดขึ้นไป ต้องใช้ซิมโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนเท่านั้น

(2) กสทช. ออกมาตรการในการลงทะเบียนซิม (3) ปปง. แก้ไขกฎกระทรวง เรื่องการกำหนดจำนวนเงินสดในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อ ปปง. และกำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินต้องดำเนินการเมื่อตรวจพบบัญชีม้า นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการดำเนินการในระยะถัดไป ได้แก่ การจัดให้มีการระบุตัวตน biometrics ของผู้เปิดและใช้บัญชีตั้งแต่เริ่มแรกและต่อมาเป็นระยะๆ โดยวิธีการ National Digital ID หรือ NDID เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลถูกต้องแท้จริงและเป็นปัจจุบัน

สำหรับการประชุมวันนี้หน่วยปฏิบัติหลัก ประกอบด้วย กสทช., ธปท., ปปง., และ สตช. ร่วมพิจารณากำหนดร่างมาตรการและขั้นตอนปฏิบัติ (Work Flow) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา การพิจารณากำหนดหรือทบทวนเป้าหมายบุคคลพฤติกรรมเสี่ยงสูง หรือต้องเฝ้าระวัง กรณีบัญชีม้า (รหัส HR-03) โดยมีระบบแจ้งเตือนผ่านทาง Mobile Banking และรณรงค์รู้เท่าทันคนร้ายช่องทาง Social Media ของธนาคารพาณิชย์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 พฤศจิกายน 2565

“เลขา พปชร.”นำทีมเปิดตัว”ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภูเก็ต-นครศรีฯ” พร้อมเดินเคียงข้างชาวใต้ ลั่น หนุนคุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้น

,

“เลขา พปชร.”นำทีมเปิดตัว”ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภูเก็ต-นครศรีฯ”
พร้อมเดินเคียงข้างชาวใต้ ลั่น หนุนคุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้น

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ที่พรรคพลังประชารัฐ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ทีมโฆษก พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แถลงข่าว เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พื้นที่ภาคใต้ ใน 2 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่พรรค ให้ความสำคัญ และเป็นพื้นที่ที่พรรคให้ความมั่นใจในบุคลากรที่ได้รับการคัดสรร เพื่อเป็นปากเสียงแทนพี่น้องประชาชน โดยการเปิดตัวครั้งนี้ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นประธานในการแถลงข่าว

นายอรรถกร กล่าวว่า การเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพื้นที่ภาคใต้ ครั้งนี้ ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต และ จ.นครศรีธรรมราช โดยในพื้นที่ จ. ภูเก็ต เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร 3 เขต ประกอบด้วย 1.นายนัทธี ถิ่นสาคู เขต 2 2.นายสุธา ประทีป ณ ถลาง เขต 3 3. นายจิรายุส ทรงยศ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เขต 1 ในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช เปิดตัว นายคมเดช มัชฌิมวงศ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม ว่าที่ผู้สมัครในพื้นที่เขต 5

นายสันติ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐได้เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค ซึ่งเดิมเรามี ส.ส.อยู่ 2 เขต แต่การแบ่งพื้นที่ใหม่ทำให้จังหวัดภูเก็ตจะมี ส.ส.เพิ่มขึ้นอีก 1 เขตเป็น 3 เขต โดยพรรคเราจะส่งครบทุกเขตแน่นอน ซึ่งทั้ง 3 คน จะเข้าไปทำหน้าที่แทนพี่น้องประชาชนชาวภูเก็ต เหมือนเช่น ส.ส.ภูเก็ตทั้ง 2 เขตของเราทำงานหนักมากกว่า 3 ปี แล้ว ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตคือ อีกหนึ่งจังหวัดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะถือเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศและประชาชน ในส่วนของจ.นครศรีธรรมราช ผู้สมัครของพรรคเราก็เป็นที่กว้างขวางทำงานเพื่อชาวตำบลยางค้อมมาตลอดเช่นกัน

“ผมขอโอกาสพี่น้องประชาชนให้กับผู้สมัครของเราด้วย เพื่อที่จะเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตและนครศรีธรรมราช โดยพลังประชารัฐมีเป้าหมายที่จะเดินเคียงข้างชาวใต้ เพื่อเพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในทุกๆ จังหวัด เราจะเข้าไปแก้ปัญหาบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พัฒนา เพิ่มศักยภาพ ของจังหวัดภาคใต้ รวมถึงลงไปช่วยพี่น้องชาวใต้ในการพัฒนาทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้พี่น้องชาวใต้อยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”นายสันติ กล่าว

ด้านนายนัทธี กล่าวว่า ตนได้รับคำถามมาโดยตลอดว่าพรรคพลังประชารัฐจะส่งใครลงรับสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ ตนจึงอยากให้พี่น้องจังหวัดภูเก็ตมั่นใจว่า เรามีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะอยู่กับพรรคพลังประชารัฐด้วยเหตุผลหลายอย่าง เพราะที่นี่คือบ้านเดิมของเรา การที่อยู่ที่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องตัดใครคนใดคนหนึ่งออก ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปเป็นศัตรูกับใคร

“ผมเกิดมาจากพรรคพลังประชารัฐ ต้องการแสดงจิตสำนึกว่า อย่างน้อยเราเกิดจากที่ไหนควรที่จะอยู่ในอาศัยที่นั่นตลอดไป ส่วนอนาคตข้างหน้า ส.ส.ภูเก็ตทั้ง 3 เขตยืนยันว่า เราคือพลังประชารัฐ”นายนัทธี กล่าว


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 พฤศจิกายน 2565

“รมต. อนุชา” เผยไทยเห็นชอบแนวคิดหลักของปฏิญญา ฯ ที่ว่า “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ําและความยั่งยืนของลุ่มน้ําโขง”

,

“รมต. อนุชา” เผยไทยเห็นชอบแนวคิดหลักของปฏิญญา ฯ ที่ว่า “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ําและความยั่งยืนของลุ่มน้ําโขง”

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจาก รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 ณ โรงแรม Inter Continental Grand Ho Tram จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า พร้อมด้วยนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. และคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 โดยที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบแนวคิดหลักปฎิญญาสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 4 ในเดือนเมษายน 2566 ซึ่งสปป.ลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ทั้งนี้ ประเทศไทยเห็นชอบแนวคิดหลักของปฏิญญา ฯ ที่ว่า “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ําและความยั่งยืนของลุ่มน้ําโขง” และยินดีจะเข้าร่วมประชุมระดับภูมิภาค เพื่อพิจารณาจัดทําปฏิญญาฯ ร่าง สุดท้าย เสนอในการประชุมระดับรัฐมนตรี ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นําลุ่มน้ําโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ต่อไป

พร้อมกันนี้ ประเทศไทยให้การสนับสนุนการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดผู้นําลุ่มน้ําโขงครั้งที่ 4 ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อีกทั้ง สนับสนุนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาในลุ่มน้ำโขงตอนล่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ได้รับการอนุมัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสมาชิก


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 พฤศจิกายน 2565

“รมว.ตรีนุช” เดินหน้าเจรจาญี่ปุ่นขยายเวลามอบทุนนร.ไทย พร้อมเสนอเพิ่มโควตาทุน KOSEN ขยายโอกาสศึกษาต่างปท.

,

“รมว.ตรีนุช” เดินหน้าเจรจาญี่ปุ่นขยายเวลามอบทุนนร.ไทย พร้อมเสนอเพิ่มโควตาทุน KOSEN ขยายโอกาสศึกษาต่างปท.

วันนี้ 28 พ.ย.2565 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการและคณะผู้บริหารกระทรวง ประกอบด้วย ตนพร้อมด้วยนางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ. และ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาขยายความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ ดร.อิโนเอะ มิสึเทรุ กรรมการบริหารอาวุโส National Institute of Technology (KOSEN) หรือ สถาบันโคเซ็น และ ดร.โนบุคาซู โออิ อธิการบดีสถานบันโคเซ็นแห่งเมืองอากาชิ (Akashi KOSEN) และ ตรวจเยี่ยมติดตามความเป็นอยู่ และการศึกษา ของนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ในโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค)ไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้ทุนการศึกษาดังกล่าวสำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ของกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยในการศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ณ สถาบันโคเซ็น ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตร Advance Course จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รวมระยะเวลาในการศึกษา 7 ปี พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานของ ศธ.ในการประสานงานและการดูแลนักเรียนในโครงการฯดังกล่าว

รมว.ศธ.กล่าวว่า สถาบันโคเซ็น เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ร่วมเรียนรู้ที่สถานประกอบการ นำโจทย์ปัญหาที่พบกำหนดเป็นหัวข้อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย และวัดผลประเมินผลจากการวิจัยที่ผู้เรียนดำเนินการ ซึ่งสถาบันโคเซ็น ก่อตั้งครบรอบ 60 ปีในปีนี้ ปัจจุบันมีสถาบันโคเซ็น จำนวน 51 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น และมี 2 แห่ง ในประเทศไทย ได้แก่ KOSEN-KMITL (โคเซ็น เคเอ็มไอทีแอล) และ KOSEN KMUTT (โคเซ็น เคเอ็มยูทีที) ซึ่งจากการที่เยี่ยมเยียนนักเรียนไทยที่กำลังศึกษา ณ สถาบันโคเซ็น ประจำเมืองอากาชิ จำนวน 11 คน พบว่า นักเรียนไทยในสถาบันโคเซ็น ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งการเรียน ที่พักอาศัยที่สะดวกสบายและปลอดภัย มีกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน รวมทั้งได้รับโอกาสในการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการที่น้องๆที่เพิ่งจบระดับชั้น ม.ต้น ต้องเดินทางมาศึกษาต่อในต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องปรับตัวในด้านการเรียน ความแตกต่างของภาษา สังคม และวัฒนธรรม แต่น้องๆ ทุกคนก็สามารถพัฒนาตนเอง และก้าวผ่านอุปสรรคเหล่านั้นมาได้ โดยสิ่งที่เห็นได้ชัด นอกเหนือจากศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านภาษาทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นแล้ว คือ การพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร (Communication) การสร้าง(Creation) และ การเชื่อต่อ (Connection)

“ ดิฉันได้มีโอกาสรับฟังการนำเสนอผลการวิจัยโครงงานของ นางสาวธัญยธรณ์ เติมศรีวรานนท์ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เรื่อง ‘การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วยระบบผู้เชี่ยวชาญ’ ขอชื่นชมว่าเป็นโครงงานพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้คนและสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในโลกปัจจุบัน สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้จริง นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมห้องเรียน อาคารหอพัก ที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างยิ่งในมิติด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ซึ่งดิฉันได้มอบหมายให้เลขาธิการ กพฐ.ศึกษารูปแบบที่ได้พบเห็นเพื่อประยุกต์ใช้ในบริบทประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ดิฉันยังได้หารือกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการสร้างโอกาสให้นักเรียนไทยได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการจัดสรรทุนในจำนวนที่มากขึ้น และ มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยการสนับสนุนของภาคเอกชน หรือการสนันสนุนลักษณะทุนการศึกษาครึ่งหนึ่ง(half scholarship)ด้วย ” นางสาวตรีนุช กล่าว.


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 พฤศจิกายน 2565