โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ปี: 2024

“พปชร.”บุกร้อยเอ็ด เปิดเวที“ประชารัฐร่วมใจ เพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ”ย้ำ แนวทาง “อนุรักษนิยมทันสมัย”ชู ปกป้องสถาบัน-บริหารเศรษฐกิจทันสมัย

,

“พปชร.”บุกร้อยเอ็ด เปิดเวที“ประชารัฐร่วมใจ เพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ”ย้ำ แนวทาง “อนุรักษนิยมทันสมัย”ชู ปกป้องสถาบัน-บริหารเศรษฐกิจทันสมัย

พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)นำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้มอบหมายให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ,นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาฯ และ นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ เข้าร่วมประชุมใหญ่ สาขาพรรค ภาคอีสาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ได้เปิดเวทีประชารัฐร่วมใจเพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของประชาชน ภายใต้สโลแกน “ปกป้องสถาบัน ทันสมัยเศรษฐกิจ มีชีวิตที่สดใส”ณ ห้องประชุมโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

โดย นายธีระชัย ได้กล่าวกับสมาชิกพรรคในช่วงหนึ่งว่า ทิศทางในการดำเนินการของพรรค พปชร. ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่หัวหน้าพรรค พล.อ.ประวิตร ได้เตรียมที่จะนำเสนอต่อประชาชน ที่เราเรียกว่า “อนุรักษ์นิยมทันสมัย“ ด้วยอุดมการณ์ที่แน่วแน่ในการปกป้องสถาบันและบริหารเศรษฐกิจทันสมัย เพื่อชีวิตที่สดใสให้กับคนไทยทั้งประเทศ

“การนำเสนอในเรื่องของอนุรักษ์นิยมทันสมัยของ พปชร.คือ การอนุรักษ์นิยมที่พัฒนาให้ดีกว่าอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม ลักษณะอนุรักษ์นิยมทันสมัยไม่ได้เน้นให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมภายในวันนี้ ไม่ใช่สังคมที่ต้องเท่าเทียมทันที แต่เราจะต้องเริ่มต้น โดยสังคมที่ให้โอกาสที่เท่าเทียม และความเท่าเทียมในโอกาสที่จะก้าวหน้า รวมถึงความเท่าเทียมในโอกาสที่จะปรับตัว ทำให้ทุกๆคนทันสมัยมากเป็นนโยบายที่เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง เราจะปรับตัวให้ทุกคนมีศักยภาพในการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รักษาสุขภาพตัวเองได้แข็งแรงขึ้น ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้คือการปูพื้นเพื่อสร้างโอกาสให้มากขึ้น“

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคการเมืองเดียวที่จะทำได้ โดยเราเข้าใจในความจริงแห่งโลก เราจะสร้างการยอมรับ จุดอ่อน จุดแข็งของสังคม และระบบราชการแล้วก็นำมาใช้ด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์ เคยผ่านงานมาแล้วและคิดได้ ทำเป็น สิ่งนี้คือลักษณะของนโยบายอนุรักษ์นิยมทันสมัย

นายธีระชัย ยังกล่าวต่อว่า พันธกิจของพรรคพลังประชารัฐ คือการเป็นศูนย์รวมผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และทันสมัย ทุกรุ่นทุกวัยด้วย “5 อนุรักษ์ 5 ทันสมัย ได้แก่ อนุรักษ์สถาบัน,อนุรักษ์ผลประโยชน์ของชาติ,อนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ,อนุรักษ์วัฒนธรรม และอนุรักษ์ระเบียบทางสังคม ในส่วนของ 5 ทันสมัย ได้แก่ เศรษฐกิจทันสมัย,วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทันสมัย,สิ่งแวดล้อมทันสมัย,สังคมทันสมัย และภาครัฐทันสมัย

ด้านนางรัชนี กล่าวว่า ตนต้องขอขอบพระคุณกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐที่ได้ให้ความสำคัญกับจังหวัดร้อยเอ็ด ถึงแม้ว่า พปชร.จะไม่ได้เป็นพรรคหลักในการจัดตั้งรัฐบาล แต่การเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของ พปชร.ก็มีส่วนที่ผลักดันและนำนโยบายต่าง ๆ ที่ได้พูดไว้กับพี่น้องประชาชนมาสานต่อจนสำเร็จแล้วหลายเรื่อง ส่วนเรื่องที่ยังไม่สำเร็จท่านหัวหน้าพรรคก็ไม่ทิ้ง ท่านอยู่กับพวกเราเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนไปตลอด ทั้งนี้ พปชร.ก็จะมีนโยบายดี ๆ มาเสนอให้พี่น้องชาวอีสานต่อไปแน่นอน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 มิถุนายน 2567

พปชร.ยืนยัน ใช้งบประมาณปี 68 ที่มาจากภาษีของ ปชช.อย่างคุ้มค่า โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

,

พปชร.ยืนยัน ใช้งบประมาณปี 68 ที่มาจากภาษีของ ปชช.อย่างคุ้มค่า โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

วันนี้(22 มิ.ย.)นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 ในฐานะทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่ให้ความร่วมมือในการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 68 ที่ทำให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และต้องขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ที่ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะนำมาเป็นแนวทางพิจารณา โดยให้สอดคล้องกับงบประมาณ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและประชาชน ต่อไป

“ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐที่มีรัฐมนตรีดูแลอยู่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข จะนำงบประมาณที่ผ่านสภาฯ ไปใช้อย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสู่ประชาชนโดยตรงอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐทุกท่าน ก็ได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้วยการลงพื้นที่รับฟังและติดตามปัญหาของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะใช้งบประมาณไปแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากที่สุด“นายอัคร กล่าว

นายอัคร กล่าวต่อว่า ในส่วนของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2568 ในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐที่มีตัวแทนจำนวน 5 คน คือ นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 , น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 1 , นายวิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร เขต 1 , นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 และ นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 โดย พปชร.จะพิจารณาเงินภาษีของประชาชนอย่างรอบคอบ โดยเอาประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 มิถุนายน 2567

“สส.สุธรรม” ร่วมถกวงกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เร่งแก้ปัญหา“น้ำ-ที่ดินทำกิน”ให้ ปชช.เผย ไม่เกิน ส.ค.นี้ เตรียมขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม

,

“สส.สุธรรม” ร่วมถกวงกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เร่งแก้ปัญหา“น้ำ-ที่ดินทำกิน”ให้ ปชช.เผย ไม่เกิน ส.ค.นี้ เตรียมขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้ร่วมประชุมกับกำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน-ผู้ช่วยฯ สารวัตรกำนัน แพทย์ตำบล ณ ศาลาประชาคม อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และได้บอกกล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมือง รวมถึงชี้แจงแนวทางการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวอำเภอทุ่งสง ได้รับทราบ โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้ง ทำให้แหล่งน้ำไม่เพียงพอ ถือเป็นความเดือนร้อนที่เกษตรกรต้องเผชิญมาต่อเนื่อง จึงต้องวางแผนในการรับมือกับสภาพอากาศในปีถัดไป เช่น สำรวจแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อรองรับปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า อีกปัญหาหนึ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขก็คือ เรื่องสิทธิทำกินในเขตป่าสงวนฯหากเกประชาชนสามารถใช้พื้นที่มาทำการเกษตรได้ ก็จะสร้างรายได้ เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้ง 2 ปัญหาที่กล่าวมานั้น ภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ จะมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแก้ไขอย่างจริงจัง

“พรรคพลังประชารัฐที่นำโดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลเกษตรกรโดยตรงมีนโยบายที่จะทำให้เกษตรกรได้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลดความขัดแย้ง ลดการโต้แย้งสิทธิระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และมุ่งหวังว่าเกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินทำกิน จะมีความมั่นคงในการทำมาหาเลี้ยงชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน อีกทั้งเป็นการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินอีกด้วย“นายสุธรรม กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 มิถุนายน 2567

“รมช. อรรถกร” ยอมรับงบกระทรวงเกษตรฯ 1.2 แสนล้านบาทไม่เพียงต่อปัญหาพี่น้องเกษตรกร เผยงบ 70% เป็นงบลงทุนพัฒนาโครงการ ย้ำต้องเร่งทำงานในพื้นที่ รับฟังปัญหาเกษตรกรมากขึ้น

,

“รมช. อรรถกร” ยอมรับงบกระทรวงเกษตรฯ 1.2 แสนล้านบาทไม่เพียงต่อปัญหาพี่น้องเกษตรกร
เผยงบ 70% เป็นงบลงทุนพัฒนาโครงการ ย้ำต้องเร่งทำงานในพื้นที่ รับฟังปัญหาเกษตรกรมากขึ้น

วันนี้ (21 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวชี้แจงงบประมาณของกระทรวงเกษตรฯว่า เราได้เงินงบประมาณมากกว่า 120,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณของกระทรวงเกษตรนั้น กว่า 70% จะเป็นงบลงทุนเป็นส่วนใหญ่

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรามีโอกาสได้ไปลงพื้นที่ในทั่วภูมิภาคในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นว่าเงินจำนวนนี้มันไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร เมื่อกลับมาประชุมที่สภา ในวาระพิจารณางบประมาณในครั้งนี้ยิ่งเด่นชัด เนื่องจากตนได้พบเพื่อนสมาชิกจากจังหวัดต่างๆก็มาพูดคุยถึงความต้องการงบประมาณในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่มากมาย

“การจัดสรรงบประมาณอาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งระบบในการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร แต่ว่าเราในฐานะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เราจะทำงานให้ละเอียดขึ้น จะต้องทำงานให้ถึงลูกถึงคนยิ่งขึ้น เราจะต้องลงพื้นที่เพื่อไปคลุกคลีกับพี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกร เพื่อรับฟังปัญหาจากพี่น้องเกษตรกร ด้วยสองตา สองหู และสมองของพวกเรา เพื่อที่จะชดเชยในเรื่องของการได้รับงบประมาณที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ” นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ในเรื่องของพื้นที่เผาไหม้ ที่มาจากพื้นที่ทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอยู่ก็ตาม แต่ข้อมูลอ้างอิงจากข้อมูลดาวเทียมของจิสด้าระบุชัดเจนว่า ความร้อนในปีนี้ลดลง ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว 10% ซึ่งนโยบายเป้าหมายในการลดจุดความร้อนของกระทรวงเกษตรฯเรามีแนวทางในการทำงานชัดเจน โดยกระทรวงเกษตรฯได้ประกาศไว้ใน IGNITE THAILAND ว่า เราจะใช้แนวทาง 3R Model ลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร คือ

1.Re-Habit : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช เป็นการปลูกแบบไม่เผา ภายใต้มาตรฐาน GAP PM 2.5 Free โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว
2.Replace with High value crops : เปลี่ยนชนิดพืช ปรับเปลี่ยนชนิดและวิถีการปลูกพืชบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง
3.Replace with Alternate crop : เปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก ปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นราบ โดยเน้นการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจแและเป็นประโยชน์ต่อดิน

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรฯกำลังร่างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาให้ครอบคลุมถึงเรื่องของการลดการเผาลงไปด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของการรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชน และเชื่อว่าหลังจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชนแล้วจะนำเข้าสู่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรต่อไป

ในส่วนประเด็นที่เพื่อน สส.มีความห่วงใยถึงปัญหาที่ว่ามีการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ จากกระทรวงเกษตรกรไปยังท้องถิ่น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ทราบปัญหาเป็นอย่างดี และเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน กระทรวงเกษตรกรฯได้เรียกหัวหน้าหน่วยราชการทั้ง 22 หน่วยงานของกระทรวงเกษตรกรฯเข้ามาพูดคุยเรื่องนี้ โดยเน้นไปที่กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีภารกิจที่ถ่ายโอนไปเยอะ ให้ไปทำข้อมูลในในส่วนของโครงการที่มีความจำเป็นที่จะต้องซ่อมแซมแก้ไขอย่างเร่งด่วนเข้ามา และเราก็จะทำงานร่วมกับท้องถิ่น ในการที่จะเป็นคล้ายๆกับผู้แนะนำให้ท้องถิ่นที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการซ่อมแซม หรือว่าไม่มีงบประมาณทำการขอเงินจากรัฐบาลต่อไป

นายอรรถกร กล่าวต่อถึง โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในนอกเขตชลประทาน หรือ บ่อจิ๋ว จำนวน 23,000 บ่อ โดยมีการกำหนดความลึกไว้ที่ 2.1 เมตร ตนต้องนำเรียนว่าจริงๆ แล้ว กำหนดความลึกของกรมพัฒนาที่ดินอยู่ที่ 3-5 5 เมตรแต่ตรงนี้ถ้ากรมพัฒนาที่ดินลงไปช่วยเหลือในการสนับสนุนการขุดบ่อจิ๋ว ต่ำกว่า 3 เมตรก็ได้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของเกษตรกรแต่มาตรฐานที่ปริมาตรของความจุอยู่ที่ 1,260 ลูกบาศก์เมตร และขอเรียนเพิ่มเติมว่า 20 ปีที่ผ่านมา กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการปฏิบัติการขุดบ่อไปแล้ว 723,380 บ่อ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ 911,459 ลูกบาศก์เมตร โดยต้องยอมรับเนื่องจากบ่อมีขนาดไม่ใหญ่มาก หากนำไปเทียบกับอ่างเก็บน้ำใหญ่ ๆ มันมีโอกาสที่บ่อเก็บน้ำเหล่านี้จะตื้นเขินอยู่แล้ว แต่กระทรวงเกษตรฯ จะลงไปดูในเรื่องของบ่อที่ขุดมานาน เพื่อที่จะพัฒนาระบบเก็บน้ำของเกษตรกรต่อไป

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อถึงเหตุน้ำท่วมที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯร่วมกับรัฐบาลได้เดินหน้าเยียวยาพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของด้านพืชผล เราได้เยียวยาเกษตรกรไปทั้งหมด 764 ราย เป็นเงินมูลค่า 5.47 ล้านบาท ด้านประมง 419 ราย 1.74 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ 447 ราย มีการประสานหน่วยงานเพื่อที่จะเยียวยา คิดเป็นเงินเกือบ 30 ล้านบาท ในเรื่องของประเด็นทุเรียนไม่ออกดอกนั้น ปัญหาหลักของทุเรียนในการที่จะออกดอกออกผลเยอะ ๆ ก็คือ ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำ ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นน้ำต้นทุน หรือว่าน้ำสำรอง เป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะกรมชลประทานให้ความสำคัญเป็นอย่างดี

“ผมยกตัวอย่างในปี 2568 งบประมาณของกรมชลประทาน จะมีโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพระวาใหญ่ จังหวัดจันทบุรี หลักๆก็คือจะเป็นสถานีสูบน้ำพร้อมระบบสูบน้ำ ท่านก็สามารถใช้ระบบน้ำตรงนี้ ส่งน้ำไปยังสวนทุเรียนในบริเวณใกล้เคียงได้ นี่คือสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯให้ความสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกร“นายอรรถกร กล่าว

ส่วนความเป็นห่วงในเรื่องของการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ในปี 2567 เกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการนี้ผ่านกรมการข้าว และกรมส่งเสริมเกษตรกรมากกว่า 10,000 ครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่พื้นที่จะอยู่ในเขตตะวันตก เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาทสิงห์บุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีในบางส่วน แต่ว่าในปีจ 68 ก็มีแผนที่จะขยายไปในพื้นที่ต่างๆมากขึ้น อย่างน้อยให้ครบ 400,000 ไร่ เพื่อที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับเงินจากการทำคาร์บอนเครดิตด้วย

ด้านนายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ที่ให้ความเป็นห่วงประชาชนที่ต้องการได้รับเงินชดเชยจากโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี ตนยืนยันว่ากระทรวงเกษตรฯจะทำเรื่องนี้ให้เสร็จภายในปี 69 ที่อ่างเก็บน้ำลำน้ำชี หมายความว่าปลายปี 68 รัฐบาลสามารถชดเชยในส่วนที่พี่น้องจะต้องย้ายออกได้แล้ว

นายอรรถกร ยังกล่าวถึงปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำที่ สส.หลายคนพูดถึงนั้น ตนยืนยันว่า ราคาสินค้าทางการเกษตรเกือบทุกตัวปรับตัวสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา และเรายังเชื่อมั่นแนวทางการทำเกษตรที่มีความแม่นยำ และทำเกษตรที่สามารถได้ในราคาสูง ๆ เราจะดำเนินการต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 มิถุนายน 2567

‘รมว.ธรรมนัส’ เผยจัดสรรงบปี 68 ย้ำแก้ปัญหาภาคเกษตรตรงจุดภายใต้งบจำกัด มุ่งสร้างความเข้มแข็งสินค้าเกษตรเตรียมเปิดตลาดส่งออกโคเนื้อเข้าซาอุฯครั้งแรก

,

‘รมว.ธรรมนัส’ เผยจัดสรรงบปี 68 ย้ำแก้ปัญหาภาคเกษตรตรงจุดภายใต้งบจำกัด
มุ่งสร้างความเข้มแข็งสินค้าเกษตรเตรียมเปิดตลาดส่งออกโคเนื้อเข้าซาอุฯครั้งแรก

วันนี้ (21 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงว่า งบประมาณของกระทรวงเพื่อดูแลประชากรทั้งสิ้น 30 ล้านคน แต่ได้งบประมาณ 125,882.1283 ล้านบาท ภายใต้ข้อข้อกำจัด ของบประมาณแผ่นดิน ซึ่งต้องยอมรับว่าเรามีงบประมาณเท่านี้ จึงต้องแบ่งคัดสรร ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด และต้องดูภาพปัญหาเกษตรกรส่วนใหญ่คืออะไร เพื่อนำปัญหาที่พบ มาวางแผน ในการจัดงบประมาณ แต่ด้วยกรอบระยะเวลา ไม่สามารถใส่ในแผนของหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องน้ำได้ กรมชลประทานถือเป็นหน่วยงานภาคปฏิบัติ ในการนำนโยบายการบริหารจัดการน้ำไปพัฒนาโครงการพื้นที่ ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่เพียง 60.29 ล้านไร่ ที่เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่ชลประทาน

ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวว่า ดังนั้นการแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีกับยุคสมัย ต้องแก้ไขท่ีกฎหมายก่อน เพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจึงต้องแบ่งเกษตรกรเป็นกลุ่ม ๆ จะใส่ไปแบบเหมารวมหรือตัดเสื้อโหลไม่ได้เด็ดขาด พี่น้องเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งต้องส่งเสริมให้สร้างสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ และส่งเสริมการส่งออกโดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐ รัฐจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องการส่งออก ส่วนเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งปานกลาง ก็จะเน้นการส่งเสริมใช้นวัตกรรมการแปรรูป และต้องมีตลาดที่นำสินค้าไปขาย และต้องยอมรับว่า ความแปรปรวนทางสภาพอากาศ ส่งผลต่อเกษตรกรกลุ่มเปราะบาง ต้องจำแนกกลุ่มนี้ออก และไปส่งเสริมให้ฟื้นฟูทำการเกษตรในระดับกลางให้ได้

ภาคการเกษตรมีปัญหามากมายที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน รัฐบาลที่แล้วพยายามแก้ไข แต่แก้ไม่ได้ โดยรัฐบาลนี้ใช้เวลาไม่กี่เดือนก็สามารถปรับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นได้ ราคาข้าวก็ดีขึ้น ราคายางพาราก็ดีขึ้น ซึ่งเป็นความหวังของคนไทย

ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่า ส่วนการส่งออกโคเนื้อไปประเทศซาอุดีอาระเบีย นับเป็นความสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยตอบรับการนำเข้าโคเนื้อไปได้ ซึ่งกำลังหารือว่าส่งทางเรือ จะต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว และตนเองก็มีกำหนดการเดินทางไปที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อไปบันทึกข้อตกลงในเรื่องนี้ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน เราจะสามารถส่งโคมีชีวิตไปยังประเทศตะวันออกกลาง โดยเริ่มต้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย รวมถึงมีการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับโคเนื้อ ทั้งเวียดนาม มาเลเซีย ลาว และกัมพูชา โดยได้รับความร่วมมือจากกรมศุลกากร ให้ขยายเวลาในการเปิดด่านเพื่อส่งสินค้า

สำหรับงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีนที่ใช้ในภาคปศุสัตว์มี 2 ประเภท คือ เชื้อเป็น กับเชื้อตาย ที่เราจัดตั้งการของบประมาณที่ซื้อวัคซีนเชื้อเป็นจากต่างประเทศขอไป 5 ล้านโดส แต่ได้รับเพียง 2 ล้านกว่าโดส เมื่อเห็นว่างบประมาณมีจำนวนจำกัด เราก็น้อมรับ เพื่อทำให้สัตว์ปลอดโรค และขณะนี้เรากำลังพัฒนาวัคซีนแบบเชื้อเป็นในประเทศ

ส่วนจำนวนโคผู้เลี้ยงโคนมลดลงเกิดจากปัญหาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ทำให้พี่น้องเกษตรกรกลุ่มที่ยังไม่แข็งแรง ล้มเลิก เนื่องจากการติดเชื้อเหล่านี้ เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งเราจะต้องกำจัดปัญหาเหล่านี้ให้สิ้นซาก

“เราจะสร้างความเข้มแข็งโดยเพิ่มรายได้ภายในปี 70 ให้เป็น 3 เท่า ตามที่รัฐบาลได้วางเป้าเอาไว้ ภายใต้รัฐบาลที่ขับเคลื่อน และภายใต้การตรวจสอบของฝ่ายค้านเป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องทำงานแบบไตร่ตรองให้ดี ทำงานให้จริงจัง ใส่ใจต่อพี่น้องเกษตรกร” ร้อยเอกธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 มิถุนายน 2567

“สส.อัครแสนคีรี” ขอบคุณ “รมว.ธรรมนัส-รมช.อรรถกร” หลังค่าชดเชยโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี ถูกบรรจุในงบ 68 ตามที่รับปากชาวชัยภูมิ

,

“สส.อัครแสนคีรี” ขอบคุณ “รมว.ธรรมนัส-รมช.อรรถกร” หลังค่าชดเชยโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี ถูกบรรจุในงบ 68 ตามที่รับปากชาวชัยภูมิ

วันนี้ (21 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายถึงงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การทำงาน ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ

โดยจากวันนั้นที่รัฐมนตรีทั้ง 2 ท่าน ได้ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี ที่มีพี่น้องประชาชนเดือดร้อนจากการที่ยังไม่ได้รับค่าชดเชยจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีกว่า 1000 ราย ได้มาทวงถามความชัดเจนจากท่านรัฐมนตรี ซึ่งรอคอยค่าชดเชยมาเกือบ 5 ปีแล้ว ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส ได้พูดคุยกับชาวบ้านถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและรับปากกับประชาชนว่าจะแก้ปัญหาให้

“วันนี้งบชดเชยที่ดินที่ ร.อ.ธรรมนัส รับปากประชาชนเอาไว้ ได้บรรจุในเล่มงบประมาณเป็นวงเงิน 1,000 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ยังไม่ครอบคลุมวงเงินทั้งหมด แต่การกระทำของ ร.อ.ธรรมนัส และนายอรรถกร ถือว่าเป็นที่ประจักษ์สายตาชาวชัยภูมิว่า ท่านพูดจริงทำจริง ชนทุกปัญหาไม่ทิ้งพี่น้องประชาชน”

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ในวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ร.อ.ธรรมนัส และนายอรรถกร ได้ลงพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์ ซึ่งเป็นอำเภอรับน้ำด่านสุดท้ายในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งตนและผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ได้นำเสนอโครงการพัฒนาลำน้ำก่ำ ตลอดสายซึ่งจะเร่งระบายน้ำ ลงแม่น้ำชี และทำให้พี่น้องมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส ได้สั่งการให้ชลประทานดำเนินการทันที และเพียงหนึ่งอาทิตย์ถัดมา เครื่องจักรของกรมชลประทานก็ได้เข้าไปในพื้นที่ เพื่อไปเริ่มทำงาน ซึ่งพี่น้องคอนสวรรค์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่า ตั้งแต่เกิดมา เพิ่งเคยเห็นผู้นำในรัฐบาล ที่เด็ดขาด พูดจริงทำจริงขนาดนี้

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งโครงการที่ตนและพี่น้องอำเภอแก้งคร้อ ครสวรรค์ พากันผลักดันก็คือโครงการอ่างเก็บน้ำช่องสามหมอ ซึ่งถือเป็นโครงการในตำนานก็ว่าได้ โดยภายหลังที่ตนได้อภิปรายในสภาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 67 ที่ผ่านมา ทางท่านอธิบดีกรมชลประธาน ได้แถลงออกข่าว ว่า กรมชลประทานจะพัฒนาอ่างเก็บน้ำช่องสามหมอ ตรงนี้ก็ต้องขอชื่นชมไปยังท่านอธิบดีชูชาติ และคณะผู้บริหารกรมชลประธาน ที่ใส่ใจปัญหาพี่น้องประชาชน ซึ่งหลังจากท่านแถลงข่าวแล้ว กรมชลประธานโดยสำนักก่อสร้างกลางก็ได้พากันออกพื้นที่ ลงไปประชาพิจารณ์กับชาวบ้าน ซึ่งได้ผลตอบรับ เห็นชอบอย่างล้นหลาม

“ผมก็ขอฝากกรมชลประทานให้ช่วยนำโครงการ อ่างเก็บน้ำช่องสามหมอเข้าแผน Thai Water Plan และ จัดสรรงบเหลือจ่าย และงบประมาณแผ่นดินใน พ.ร.บ งบประมาณ ปี 69 ที่จะถึงในอนาคตอันใกล้ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำช่องสามหมอให้ด้วย”

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ภายใต้ยุคการบริหารงานของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ร.อ.ธรรมนัส และนายอรรถกร การบริหารกรมชลประทาน โดยท่าน อธิบดีชูชาติ ท่านรองรองอธิบดี สุริยะพล จังหวัดชัยภูมิ จะมีอ่างเก็บน้ำ เพิ่มขึ้นอีก 6 อ่าง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของจังหวัดชัยภูมิ และจะตอกย้ำถึงชื่อของจังหวัด ซึ่งหมายถึงภูมิศาสตร์ของผู้ที่ได้รับชัยชนะ ผลงานชิ้นโบว์แดงของกระทรวงเกษตรฯที่เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรก็คือ นโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ซึ่งต้องยอมรับว่าพูดกันมากี่สมัยแล้วก็ทำไม่ได้ แต่ยุคนี้เปลี่ยนมือได้แล้ว และทำได้จริงในยุคท่าน ร.อ.ธรรมนัส และนายอรรถกร และ เลขาฯ ส.ป.ก.วิณะโรจน์

“พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิมีความพึงพอใจเป็นอย่างมากในนโยบายดังกล่าว และหากดูจากสถิติแล้ว ในปัจจุบันจังหวัดชัยภูมิมีการลงทะเบียนเปลี่ยนสปก ป็นโฉนดเพื่อการเกษตรมากที่สุดในประเทศ ซึ่งต้องชื่นชมสองหน่วย ก็คือ ส.ป.ก. และที่ขาดไม่ได้ก็คือองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่สนับสนุนกำลังคน ลงไปช่วย ส.ป.ก.เพราะขาดแคลนบุคลากร การร่วมมือระหว่างหน่วยงานกระทรวง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบดังกล่าว ถือว่า เป็นโมเดลที่ดีที่น่าผลักดันในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผมอยากฝากถึง สส. ให้ช่วยสนับสนุน พ.ร.บ.งบประมาณ 68 ให้ผ่านสภาฯด้วย” นายอัครแสนคีรี กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 มิถุนายน 2567

“สันติ” รมช.สธ.จับมือ พม.เปิดตัวแพลตฟอร์มประเมินสุขภาพเพื่อคนพิการ นำร่อง 40 รพ.ทั่วประเทศเข้าถึงระบบสาธารณสุขลดภาระค่าเดินทาง

,

“สันติ” รมช.สธ.จับมือ พม.เปิดตัวแพลตฟอร์มประเมินสุขภาพเพื่อคนพิการ
นำร่อง 40 รพ.ทั่วประเทศเข้าถึงระบบสาธารณสุขลดภาระค่าเดินทาง

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 67 ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ด้านคนพิการ” ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน ทุกกลุ่มวัย รวมไปถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น ผู้พิการ ได้แก่ กลุ่มคนป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการ ที่จำเป็นต้องได้รับการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความพิการ กลุ่มคนป่วยที่เกิดความพิการแล้ว ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพกลุ่มคนพิการที่เจ็บป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับและเข้าถึงบริการสุขภาพที่รวดเร็วและมีคุณภาพ “คนพิการจำเป็นต้องได้รับ การประเมินและขึ้นทะเบียนคนพิการ”

กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดให้มีศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาลตั้งแต่ ปี 2563 โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด มาร่วมให้บริการ รับคำร้องขอมีบัตรและออกบัตรคนพิการ ณ โรงพยาบาล และให้บริการส่งต่อ เพื่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ส่งต่อทางการศึกษา การประกอบอาชีพ ตามความเหมาะสม จนถึงปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยจะมีศูนย์บริการดังกล่าวแล้วอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง แต่ด้วยข้อจำกัด หลายประการยังทำให้การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้คนพิการมีความยากลำบากในการเข้าถึง การขึ้นทะเบียนคนพิการ

การพัฒนาแพลตฟอร์ม “การตรวจประเมินและออกเอกสารรับรอง ความพิการแบบอิเล็กทรอนิกส์” ให้เชื่อมโยงกับ “ระบบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ” ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์คนพิการ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ให้สามารถเข้ารับการประเมินวินิจฉัยความพิการจากแพทย์วันใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอวันที่พัฒนาสังคมจังหวัดเข้ามาให้บริการที่โรงพยาบาล และไม่จำเป็นต้องถือเอกสารไปยื่นที่ศาลากลางจังหวัดด้วยตนเอง เนื่องจากระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่างสองกระทรวง จะทำให้คนพิการสามารถเข้าถึงการมีบัตรประจำตัวคนพิการได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลาการเดินทาง และค่าใช้จ่าย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลนำร่อง 40 แห่งทั่วประเทศ เพื่อทดลองการใช้งานระบบและจะขยายผลไปยังโรงพยาบาลรัฐแห่งอื่นๆ ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

,

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ช่วงที่ผ่านมาถึงตนได้ลงพื้นที่และพบปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา
ในกลุ่มเยาวชนพื้นที่ห่างไกลในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดน เนื่องจากปัจจุบันนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีการยุบโรงเรียนในหลาย ๆ แห่งที่มีนักเรียนไม่เพียงพอกับการจัดสรรงบประมาณ ส่งผลให้เกิดภาระกับเด็กและเยาวชน ในการหาสถานที่ศึกษาแห่งใหม่ หลายๆแห่งอยู่ห่างไกลจากบ้านมาก จึงเป็นการเพิ่มภาระให้กับครอบครัวที่มีฐานะยากลาํบาก

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโรงเรียนต่างๆต้องอาศัยการช่วยเหลือกันของพี่น้องในหมู่บ้าน ด้วยการจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา ระหว่างวัด โรงเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน อีกทั้งยังขอความอนุเคราะห์จาก อบจ.ในจังหวัดนั้น ๆ และ หลายๆ อปท.ในตำบล เพื่อจ้างครูท้องถิ่นที่เรียนจบแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ มาบรรเทาปัญหาการขาดแคลนครู โดยครูจะได้รับค่าตอบแทน อยู่ที่ 6,000 และ 9,000 บาท หรือสูงสุดก็คือ 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาช่วยเหลือดูแลในเรื่องนี้ โดยเร่งผลิตบุคลากรครูให้เพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลนในโรงเรียน พร้อมทั้งเพิ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

“ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ปัญหาด้วยการกระจายอำนาจ เพื่อการศึกษาสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สามารถผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป รองรับการพัฒนาหมู่บ้าน จังหวัด ประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กกับคุณภาพผู้เรียนที่เราต้องการ พบว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก กับคุณภาพผู้เรียน ที่เราต้องการพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กราว 15,000 โรงเรียนในอนาคตอาจะจะมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันอาจถูกยุบไปในที่สุด เนื่องด้วยอัตราการเกิดของประชากรลดลง รวมถึง ฃการอพยพเคลื่อนย้ายของ ประชากรวัยเรียนที่ย้ายติดตามผู้ปกครองไปรับจ้างทำงานต่างถิ่น ที่สำคัญคือ ค่านิยมของผู้ปกครองส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง และความพร้อม รวมไปถึงโรงเรียนเอกชน จึงทำให้โรงเรียนหลายแห่งถูกลดระดับกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในที่สุด

นางบุญยิ่ง ยังกล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ทำให้ใจหาย และเศร้าใจ โรงเรียนที่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ศึกษามาจนถึงรุ่นปัจจุบัน อยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนานต้องมาปิดตัวลง เพราะไม่มีนักเรียนหรือผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ที่สร้างมาจากหยาดเหงื่อ แรงงานภายในชุมชน จนเป็น “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้เป็นเพียงสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของชุมชนอีกด้วย การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนสูง ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี ปัญหาการขาดแคลนผู้บริหาร จำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนไม่เท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้

“คำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้โรงเรียนอยู่คู่กับชุมชนตลอดไปดิฉัน ขอเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดสรรงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาจากรัฐบาลให้เพียงพอ และพอเพียง และจัดสรรครู ให้เพียงพอสามารถจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุม และไม่หนักเกินกำลังของครู เพราะวันนี้โรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูกว่า 80% และควรจัดสรรเครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ให้เสถียร ครอบคลุมทุกชั้นเรียนเพื่อเป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้และ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดสรรสื่อ วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้นักเรียนทุกคน เพื่อสนับสนุนการทำงานของครู และจัดสรรเจ้าหน้าที่ธุรการ ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ทุกๆ โรงเรียน เพื่อลดภาระงานของครู”นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องจะยุบ จะรวม หรือเลิกโรงเรียนนั้นขอให้พิจารณาถึงความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น ให้ดูข้อมูลเป็นรายโรงเรียน รายพื้นที่ และความสามารถของชุมชนเป็นหลัก แต่ที่สุดแล้ว การบริหารจัดการ คือ การคงอยู่ของโรงเรียน ซึ่งเป็นสถาบันหลัก ของชุมชนเป็นสำคัญ ตนเห็นด้วยในภาพรวมกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ฉบับนี้ แต่ขอฝากคณะกรรมาธิการว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษา สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

“ดิฉันมีข้อคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบถึง พ.ร.บ.การกระจายอำนาจ ปี 2542 มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต.เทศบาล 20 กว่าปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาคุณภาพของท้องถิ่นในทุกมิติ เพราะทำเพื่อลูกหลาน เพื่อท้องถิ่น อย่างแท้จริง เราเริ่มเห็นถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน เรามีประปาหมู่บ้าน บ้านเรามีการขยายถนน มีการขยายแนวเขตไฟฟ้าให้เข้าถึงชุมชน ได้มากขึ้นและดีขึ้น ท้องถิ่นมีโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีศักยภาพสร้างเด็ก และเยาวชนให้มีความโดดเด่นเฉพาะทางหลายด้าน เช่น โรงเรียนกีฬา โรงเรียนดนตรี ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านมา 20 กว่าปี มีการกระจายอำนาจบ้าง ขอคืนอำนาจบ้างสลับปรับเปลี่ยนบ่อยมาก เช่น ให้จัดทำหลักสูตรได้เอง ต่อมา ให้จัดทำเอง เฉพาะหลักสูตรท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา ที่นับว่าดีมาก อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนขอเสนอความเห็นต่อกระทรวงศึกษาธิการว่า การปฏิรูปการศึกษา ควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษา ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ บริหารทั่วไป และอื่นๆกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าจะให้เกิดอะไรกับผู้เรียนนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงง่าย เหมือนปัจจุบัน พร้อมทั้งเร่งดำเนินการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมุ่งเน้นให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ดิฉันเชื่อมั่นว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษาจะเป็นแนวทางที่ดี ต่อการจัดการศึกษาให้กับลูกหลานไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

“สส.จำลอง” ขอ รบ.เห็นความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล วอน เพิ่มงบให้กระทรวงศึกษาดูแลเด็กให้ดี เผย ไม่ติดใจเรื่องกู้เงิน หากเป็นประโยชน์กับ ปชช.

,

“สส.จำลอง” ขอ รบ.เห็นความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล วอน เพิ่มงบให้กระทรวงศึกษาดูแลเด็กให้ดี เผย ไม่ติดใจเรื่องกู้เงิน หากเป็นประโยชน์กับ ปชช.

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นายจำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า เมื่อนำพ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ไปเทียบกับ 2567 ตนติดใจหลายกระทรวง แต่ว่าขอพูดถึง 2-3 กระทรวง ที่เป็นหลักในการดูแลประชาชน เช่น กระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับการจัดงบประมาณจำนวน 340,584.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,413.8 ล้านบาท คิดเป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ปัญหาในวงการการศึกษา ในฐานะที่ตนเป็นกรรมาธิการศึกษา คือการสร้างคนดี การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับสังคมของประชาชนปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาเหล่านี้คือ การพัฒนาเด็ก และบุคลากรของชาติออกสู่สังคม การที่ทรัพยากรบุคคลของประเทศจะมีสติสัมปชัญญะ จะมีสติปัญญา ก็คือการใส่ใจในการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้จะมีคุณภาพได้จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่งบอาหารกลางวันของเด็ก ๆ ปัจจุบันนี้ได้งบอยู่ที่หัวละ 22 บาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในปัจจุบันราคาอาหารจานหนึ่ง 60 – 80 บาท และเด็กต้องดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร งบประมาณที่ได้ไปนับว่าน้อย ซึ่ง สส.ไม่สามารถที่จะแปรงบประมาณเพิ่มได้ จึงต้องขอให้รัฐบาลดูแลให้เด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอ

“ปัจจุบันนี้บางโรงเรียนต้องจัดผ้าป่า เพื่อหาเงินบริจาคมาช่วยเหลือเด็กในโรงเรียน ซึ่งผมคิดว่าไม่เหมาะสมรัฐบาลน่าจะจัดสรรงบงบประมาณให้กระทรวงศึกษาให้มากขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนอัตรา 16,500 บาท และได้เพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ค.67 เป็น 18,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายถ้าในประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะดูแลบุคลากรทางการศึกษาอย่างดีเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ ผมขอฝากไปยังรัฐบาลให้ดูแลบุคลากรทางการศึกษาด้วย“นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหายาเสพติดในสถานที่ศึกษา มีการให้งบประมาณในการแก้ไขปัญหานี้เฉลี่ยโรงเรียนละ 1,600 บาทเท่านั้น ตนมองว่าจะเป็นการสุ่มเสี่ยงในการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในโรงเรียนอย่างมาก เนืองจากขาดงบประมาณในการบริหารจัดการ

นายจำลอง ยังกล่าวถึงงบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า เป็นกระทรวงที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องมีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องสภาพภูมิอากาศ PM 2.5 ซึ่งปัจจุบันไม่เห็นเดินหน้าอย่างไรเลย ขอฝากไปยังรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนด้วย รวมถึงโครงการกำจัดขยะมูลฝอย โครงการก๊าซเรือนกระจก งบประมาณก็น้อย ถ้าเทียบกับกระทรวงเกษตรแล้วต่างกันเยอะ ทั้งที่ 2 กระทรวงนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในส่วนของกระทรวงที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยมากที่สุดคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 123,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 จำนวน 4,726.2 ล้านบาท แต่ทำประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวขค้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังใช้งบประมาณขาดดุล การกู้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเรากู้มาลงทุนเพื่อสร้างประเทศ กู้เงินมาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอยู่ดีกินดี หรือแม้กระทั่งการกู้มาเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ถ้าเกิดประโยชน์กับประชาชน ผมสนับสนุน และขอให้ สส.ทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลอย่านึกถึงตัวเอง ขอให้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ให้ผ่านไปด้วยดี เพื่อความสุขของประชาชน” นายจำลอง กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 มิถุนายน 2567

“สส.จำลอง” น้อมรับ 4 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฝาก กมธ.ปลูกจิตสำนึกร่วมมือกันหาก รธน.ถูกฉีกอีก เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย วอน อย่าก้าวล่วงแตะหมวด 1,2

,

“สส.จำลอง” น้อมรับ 4 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฝาก กมธ.ปลูกจิตสำนึกร่วมมือกันหาก รธน.ถูกฉีกอีก เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย วอน อย่าก้าวล่วงแตะหมวด 1,2

วันนี้ (18 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เป็นพิเศษ มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. โดยมีผู้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว รวม 4 ฉบับ คือ ฉบับของคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคภูมิใจไทย

นายจำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ว่า การทำประชามติมีมาหลายยุคหลายสมัย การเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ประมุขนั้นใน รัฐธรรมนูญต้องออกมาเพื่อประชาชน โดยประชาชน และทำเพื่อ ประชาชนการทำประชามติทุกครั้งที่ตนได้สัมผัส รัฐธรรมนูญปี 2540 , 2550 , 2560 ถามว่า เราทำไปแล้วได้อะไร

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ตนไม่คัดค้าน ยอมรับเสียงข้างมาก ให้ความเคารพ แต่เราทำแล้วได้อะไร ถึงวันหนึ่งมีรัฐธรรมนูญออกมา เสร็จก็ฉีกแล้ว ฉีกเล่า นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะเป็นนักรัฐศาสตร์ อ่านกฎหมายได้ ดูกฎหมายเป็น สรรพสิ่งเกี่ยวกับบริบทของรัฐธรรมนูญไทยนั้นจะมาจากประชาชน หรือมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาอันทรงเกรียติแห่งนี้ จะวิเศษ วิโสแค่ไหนก็ตาม โดยส่วนตัวตนมองว่า ความสำคัญที่สุดของการแก้ไขรัฐธรรมนูญไทยและการทำประชามติ ตนอยากฝากถึงกรรมาธิการที่จะมีขึ้น ว่า ท่านจะใส่ข้อมูลหรือใส่องค์ความรู้ตรงไหนลงไปให้ประชาชนได้เข้าใจว่า เจตจำนงร่วมที่มอบให้กับบริบทของสังคมไทยไปนั้นจะไม่ถูกฉีก และเราจะยอมรับ“

“เราจะป้องกันเจตจำนงร่วมที่มอบให้กับสังคมไทยไปอย่างไร เช่น มีการฉีกรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น ผู้ที่ออกเสียงประชามติจะแสดงท่าทีอย่างไรกับการกระทำนั้น นี่คือเรื่องสำคัญที่สุดของการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญที่ออกมามันผ่านประชามติมาเกือบทุกฉบับ แต่ก็ถูกฉีก จึงเกิดคำถามว่า เรามีความสำคัญอย่างไรต้องทำประชามติ ผมไม่ขัดแย้ง ไม่ขัดข้อง ที่จะน้อมรับเสียงข้างมาก และไม่ขัดแย้งว่า ไม่เห็นด้วย ผมยอมรับทั้ง 4 ร่าง โดยเฉพาะของอาจารย์ชูศักดิ์” นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ประเทศไทยปกครองด้วยสถาบันหลักของชาติจะต้องไม่ถูกแตะ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งตนให้ความเคารพและศรัทธามาตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นตนอยากจะฝากคณะกรรมาธิการ ได้โปรดอย่าเสี่ยงไปแตะต้องในหมวด 1 และ 2 เพราะประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งแยกไม่ได้

บริบทของสังคมไทยที่ผ่านมาขาดจิตสำนึก ตนจึงอยากจะให้ผู้ที่รับผิดชอบในการกล่อมเกลาบุคลากรของชาติก็คือ กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนที่จะทำประชามติ ควรจะต้องสร้างให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึก ไม่ก้าวร้าว เคารพสิทธิของผู้อื่น รวมถึงน้อมรับฟังความเห็นของคนอื่น ดังนั้น เราควรจะสร้างจิตสำนึกให้ผู้ออกเสียงประชามติว่า หากแก้รัฐธรรมนูญแล้วมีการฉีกรัฐธรรมนูญ เราต้องออกมาต่อสู้ ไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 มิถุนายน 2567

‘พล.อ.ประวิตร’ ร่วมพิธีลงนามเจ้าภาพจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 33 เปิด 3 จังหวัด กทม. ชลบุรี สงขลา เจ้าภาพร่วมมุ่งยกระดับไทยจัดแข่งขันเทียบชั้นเอเชียนส์เกม-โอลิมปิค

,

‘พล.อ.ประวิตร’ ร่วมพิธีลงนามเจ้าภาพจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 33 เปิด 3 จังหวัด กทม. ชลบุรี สงขลา เจ้าภาพร่วมมุ่งยกระดับไทยจัดแข่งขันเทียบชั้นเอเชียนส์เกม-โอลิมปิค

วันนี้ (14 มิ.ย. 67) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามในสัญญาเมืองเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ณ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

พลเอกประวิตร ได้กล่าวต้อนรับ 11 ประเทศอาเซียน โดยระบุว่า ขอต้อนรับคณะมนตรีซีเกมส์ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง และขอขอบคุณที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญากันเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพร่วม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และสงขลา ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ต้อนรับทุกท่านอย่างอบอุ่น ก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกันตลอดไป การลงนามสัญญาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์เป็นไปเพื่อยกระดับมาตรฐานให้เทียบเคียงกับกีฬาเอเชียนเกมส์และโอลิมปิค เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับตามธรรมนูญซีเกมส์ฉบับลงวันที่ 4 พ.ค.66

โดยสำนักงานธรรมนูญซีเกมส์ จะทำหน้าที่สนับสนุนให้คำแนะนำในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อย่างเป็นทางการ ตนเองในฐานะประธานสหพันธ์ซีเกมส์ ขออวยพรให้การประชุมคณะมนตรีซีเกมส์ และการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“สส.วรโชติ” รุดรับฟังปัญหาระบบจัดการน้ำคลองวังโปร่ง จ.เพชรบูรณ์ เผย เตรียมหารือ ร.อ.ธรรมนัส วางแผนแก้น้ำท่วม ลดปมขัดแย้งในพื้นที่

,

“สส.วรโชติ” รุดรับฟังปัญหาระบบจัดการน้ำคลองวังโปร่ง จ.เพชรบูรณ์
เผย เตรียมหารือ ร.อ.ธรรมนัส วางแผนแก้น้ำท่วม ลดปมขัดแย้งในพื้นที่

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่ หมู่ 6. ตำบลวังโป่ง อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์ ร่วมกับกรมชลประทานจังหวัด เพื่อรับฟังปัญหาของระบบชลประทานในคลองวังโป่ง จากผู้นำท้องถิ่นและประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อ.วังโปร่ง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงประตูระบายน้ำและคั้นคลองวังโปร่งในอดีต โดยประตูระบายน้ำฝั่งซ้ายสูงกว่าประตูระบายน้ำฝั่งขวา ถึง 50 เซนติเมตร ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูมรสุมจะเกิดน้ำท่วมเข้าท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

“ผมได้หารือกับชลประทานจังหวัด เพื่อเสนอให้มีการสำรวจระบบคลองวังโปร่งทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งจะนำปัญหาดังกล่าวเข้าหารือกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยจะเสนอให้มีการบรรจุเข้าสู่การพิจารณางบประมาณประจำปี 2568 อีกครั้งหลังโครงการปรับปรุงระบบคลองวังโปร่งได้ถูกตัดลดไปในงบประมาณปี 2567 “ นายวรโชติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567