โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรมพรรค

“จักรัตน์”ปธ.กมธ.จัดการน้ำฯเร่งเดินหน้าพิจารณา“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เชิญ หลายหน่วยงายที่เกี่ยวข้องชี้แจง ชี้ ควรมีแนวทางจัดการน้ำในสถานการณ์ต่าง ๆ

,

“จักรัตน์”ปธ.กมธ.จัดการน้ำฯเร่งเดินหน้าพิจารณา“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เชิญ หลายหน่วยงายที่เกี่ยวข้องชี้แจง ชี้ ควรมีแนวทางจัดการน้ำในสถานการณ์ต่าง ๆ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะประธานคณะกรรมมาธิการ(กมธ.)บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สภาผู้แทนราษฎร เปิดผยว่า ถึงแม้จะอยู่ในช่วงปิดสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ทางคณะกรรมาธิการยังเดินหน้าทำงาน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ถือเป็นเรื่องสำคัญให้กับประชาชน โดยได้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย และมีการเชิญกรมเจ้าท่า,กรมโยธาธิการและผังเมือง,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค มาให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2563 – 2580)และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงสร้าง หน้าที่ อำนาจ และงบประมาณของหน่วยงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สถานการณ์น้ำในปัจจุบันและการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในปี 2567 ปัญหาและอุปสรรค

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากการพิจารณาคณะกรรมาธิการเห็นว่า ควรมีแนวทางการขุดลอกคลองให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันถนนทรุด นอกจากนี้การกำจัดผักตบขวาในแม่น้ำลำคลองควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางป้องกันการสูญเสียน้ำในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

นอกจากนี้ กรรมาธิการยังได้เชิญสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ,กรมชลประทานกรมทรัพยากรน้ำ,กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)ซึ่งจาการประชุมร่วมกัน เห็นว่า การบริหารจัดการน้ำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำต่อสถานการณ์ต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งและอุทกภัย และในส่วนของการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ควรให้ประชาชนในพื้นที่เกษตรกรรมมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ยังพบว่ามีอีกหลายพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้ตามแนวภารกิจของหน่วยงาน ในส่วนพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยน้ำเสียนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off กิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา ในแม่น้ำลำคลองสายหลัก และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ณ บริเวณคลองระพีพัฒน์แยกตก วัดลำพระยา ตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอีก 16 จุดทั่วประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนจิตอาสา รวมถึงกำลังพลจิตอาสาของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเต็มศักยภาพในพื้นที่
ทั้งนี้ ผักตบชวาเป็นพืชที่มีการแพร่พันธุ์และเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 20 ลุ่มน้ำหลัก และ 359 ลุ่มน้ำสาขา ความยาวลำน้ำธรรมชาติประมาณ 522,455.73 กม. กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน มีคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำที่เชื่อมโยงกับลำน้ำธรรมชาติ รวมทั้งทางน้ำธรรมชาติที่ประกาศเป็นทางน้ำชลประทานตาม พรบ.ชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 5 และมาตรา 8 ซึ่งเป็นทางน้ำที่อยู่ในความดูแล รวมทั้งสิ้นจำนวน 10,004 สาย ความยาวประมาณ 59,412.03 กม. คิดเป็นร้อยละ 11.37 ของลำน้ำธรรมชาติทั้งหมด จึงได้เร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา โดยในระยะแรกนี้ จะดำเนินการพร้อมกัน 17 จุดทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 8,000 คน และมีเป้าหมายในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในไตรมาสแรกรวมประมาณ 546,000 ตัน ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานในปี 2566 ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ดำเนินการกำจัดวัชพืชกว่า 5,633,079 ตัน รวมพื้นที่กว่า 34,252 ไร่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ตามแนวพระราชดำริ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยเน้นการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของทุกภาคส่วน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อพัฒนาพื้นที่ด้านแหล่งน้ำในการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและความสุขต่อประชาชนและชุมชนส่วนรวมอย่างถาวร นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้อง เกิดความรู้สึกเคารพ รัก เทิดทูน และร่วมปกป้องสถาบันหลักของประเทศชาติ อันประกอบด้วยสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“พิมพ์พร”สส. เพชรบูรณ์ ลุยยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.เดินหน้าโครงการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวาย หวังชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านมีรายได้ พร้อมวอนภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาความเท่าเทียมทางการศึกษา

,

“พิมพ์พร”สส. เพชรบูรณ์ ลุยยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.เดินหน้าโครงการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวาย หวังชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านมีรายได้ พร้อมวอนภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาความเท่าเทียมทางการศึกษา

น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)จ.เพชรบูรณ์ เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยถึงภารกิจระหว่างช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ตนได้ลงพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ เพื่อรับฟังปัญหาเรื่องกลุ่มผุู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยได้มีโอกาสร่วมมอบข้าวสาร และยาสามัญประจำบ้าน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือร่วมกับอบต.ห้วยใหญ่ อสม. และผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในชุมชนยังต้องแก้ไขในเรื่องการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และการศึกษาให้ทั่วถึงมากขึ้น

น.ส.พิมพ์พร กล่าวต่อว่า ปัญหาผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทยตอนนี้ ต้นเหตุของปัญหาล้วนมาจากเรื่องการศึกษา ดังนั้นการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไข เพราะวันนี้ปัญหาส่วนหนึ่งของเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนตามปกติ มักจะมีเหตุมาจากผู้ปกครองมีข้อจำกัด หรือมีความจำเป็น หรือไม่สามารถเข้าเรียนได้ เช่น อาจเป็นกลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจน

น.ส.พิมพ์พร ยังกล่าวถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ว่า ตนได้ร่วมทำโครงการพัฒนาศักยภาพสตรี ตำบลสะเดียง ซึ่งเป็นการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวายเทียม ร่วมกับประธานกรรมการพัฒนาสตรี ทั้ง 13 หมู่บ้าน และชาวบ้านผู้ให้ความสนใจในการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวายเทียม ซึ่งถือว่าเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวบ้านและชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้

“โครงการที่ดูเหมือนจะมีขนาดเล็ก ๆ แต่จะก่อนให้เกิดการพัฒนานวัตกรที่เป็นผู้รู้ภายในชุมชน ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการชาวบ้านชุมชนจะสามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ และชุมชนสามารถเรียนรู้ที่จะคิดต่อยอดและพัฒนาได้ด้วยตนเอง”น.ส.พิมพ์พร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

พล.อ.ประวิตร หน.พรรค พปชร. ประธานกฐิน ทอดถวาย วัดเกาะแก้ว-วัดโพธิ์เผือก จ.อยุธยา ศรัทธามุ่งมั่น สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป

,

พล.อ.ประวิตร หน.พรรค พปชร. ประธานกฐิน ทอดถวาย วัดเกาะแก้ว-วัดโพธิ์เผือก จ.อยุธยา ศรัทธามุ่งมั่น สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป

เมื่อ 11 พ.ย.66 ,0900น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเป็นประธานพิธีทอดกฐินสามัคคี ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ณ วัดเกาะแก้วและวัดโพธิ์เผือก เพื่อสืบทอดพุทธประเพณี และสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน สืบไป พร้อมทั้งได้ถวายจตุปัจจัยสมทบทุน บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะ สถานของทั้ง2วัด สำหรับ ณ วัดโพธิ์เผือก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยังได้ประกอบพิธี ทักษิณานุประทานอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล แด่ คุณแม่สายสนี วงษ์สุวรรณ ด้วยในโอกาสเดียวกัน

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณได้เดินทางมาทอดกฐินสามัคคี ณ วัดเกาะแก้วและวัดโพธิ์เผือก อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา ทั้ง2แห่งนี้ เป็นประจำทุกปี พร้อมทักทายประชาชน สาธุชน ด้วยความกระฉับกระเฉง ที่มาร่วมทำบุญในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ท่ามกลางบรรยากาศให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง และอบอุ่น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่อุตรดิตถ์ติดตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนผาจุก เร่งแก้ไขปัญหา สร้างความมั่นคงด้ายน้ำยั่งยืนให้พี่น้องประชาชน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่อุตรดิตถ์ติดตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนผาจุก เร่งแก้ไขปัญหา สร้างความมั่นคงด้ายน้ำยั่งยืนให้พี่น้องประชาชน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามความก้าวหน้าโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมพื้นที่อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ลับแล อ.ตรอน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.พรหมพิราม และอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ประมาณ 481,400 ไร่ (พัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนที่มีศักยภาพให้เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 304,000 ไร่ และส่งน้ำสนับสนุนและปรับเปลี่ยนระบบส่งน้ำจากเดิมโดยการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เป็นระบบส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงประมาณ 134,800ไร่ และพื้นที่โครงการชลประทานน้ำริด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 42,600 ไร่)

ทั้งนี้โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก ตั้งอยู่ในแม่น้ำน่าน บริเวณบ้านคลองนาพง หมู่ 7 ต.ผาจุก อ.เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันได้สร้างเขื่อนทดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบส่งน้ำ พร้อมอาคารประกอบ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ลับแล อ.ตรอน และอ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.พรหมพิราม และอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก รวมพื้นที่กว่า 481,400 ไร่
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำ และระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับลุ่มน้ำน่าน เพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนให้กับพี่น้องชาวอุตรดิตถ์ ได้มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ จ.อุตรดิตถ์ มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 447,618 ไร่ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือ เขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนการใช้น้ำให้กับจังหวัดต่าง ๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวม 22 จังหวัด ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯประมาณ 6,102 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ

“วันนี้ตั้งใจมารับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชน และได้มอบหมายกรมชลประทานเร่งแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องอย่างเร่งด่วน ปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้ให้ทำทันที ปัญหาไหนที่ยังทำไม่ได้ จะต้องกลับไปศึกษาและหาแนวทางแก้ไข รวมถึงให้บรรจุแผนดำเนินการในปีงบประมาณต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2566

“สันติ” รมช.สธ.ส่งเสริมอาหารไทย กินเป็นยาเสริมสุขภาพสร้างศก.ท้องถิ่น

,

“สันติ” รมช.สธ.ส่งเสริมอาหารไทย กินเป็นยาเสริมสุขภาพสร้างศก.ท้องถิ่น

หนุนกรมการแพทย์แผนไทยฯวิจัยสรรพคุณพืชสมุนไพรทุกภูมิภาค

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการและนิทรรศการอาหารเป็นยาครั้งที่ 1/2566 ภายใต้แนวคิด “อาหารไทยถิ่น กินเป็นยา” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2566 โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการนำอาหารไทย สมุนไพรไทย มาช่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแสให้ประชาชนหันมาใส่ใจการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น บริเวณลาน MBK Avenue A ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร

นายสันติ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีส่วนสนับสนุนในการสร้างรายได้ให้กับประเทศสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับประชาชนจำนวนมาก การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านอาหารสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศนับแสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ธุรกิจด้านอาหารจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการท่องเที่ยวจากข้อมูลของกรมการท่องเที่ยวจะเห็นได้ว่า รายได้จากการท่องเที่ยวในด้านอาหาร มีสัดส่วนถึง 20 % ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากเนื่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสามารถสอดแทรกอยู่ในทุก ๆ การท่องเที่ยว และทุกช่วงเวลา อาหารไทยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศหลายรายการจนเกิดเป็นรายการอาหารประจำชาติที่นักท่องเที่ยวรู้จักอย่างแพร่หลาย

“รัฐบาลได้กำหนดรายการอาหาร ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไว้จำนวน 6 รายการ ได้แก่ ผัดไทย ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ส้มตำ มัสมั่น และต้มข่าไก่ นอกจากนี้มีรายการอาหารที่น่าสนใจมากมายที่ควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากยิ่งขึ้น เช่น ผัดกะเพรา ผัดฉ่า เครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 ได้ ” นายสันติ กล่าว

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมโภชนาการอาหารไทยเพื่อสุขภาพให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักรับรู้ว่าอาหารไทย สมุนไพรไทย มีคุณค่าได้เรียนรู้วิธีการทำอาหารไทยที่ถูกต้อง สอดแทรกด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สามารถให้คำแนะนำเมนูอาหารในการดูแลสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ เช่น ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ ท้องผูก ช่วยสร้างมูลค่าและคุณค่าของอาหารไทย เป็นการผสม “ศาสตร์” ความชำนาญการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กับ “ศิลป์” ความพิถีพิถันความละเอียดอ่อนในการปรุงอาหารไทยได้เป็นอย่างดี และยังช่วยสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวหันมาสนใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากยิ่งขึ้น

นายสันติ กล่าวต่อว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ทำงานวิจัยสรรพคุณของพืชสมุนไพรของไทยที่มีจำนวนนับหมื่นชนิดพืชพันธุ์ให้กับประชาชนไทยรับประทานเป็นอาหารและเสริมสร้างสุขภาพแล้ว ในต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา ยังได้สั่งพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ ไปทำการวิจัยเป็นยาปรุงอาหารอีกด้วย นำไปสู่การสร้างเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศ

“ประเทศไทยมีพืชที่เป็นสมุนไพรและนำมาใช้รักษาโรคกันเป็นนับร้อยปี เรามีสมุนไพรมากมายทั่วทุกภูมิภาคของไทย ตั้งแต่เหนือสุดยันใต้สุด ทางกระทรวงสาธารณสุขมีความตั้งใจที่จะพัฒนาพืชสมุนไพรให้เป็นที่รู้จักและไม่รู้จัก ได้วิจัยและประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ถึงประโยชน์และสรรพคุณต่างๆ โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสมุนไพรเพื่อพี่น้องประชาชนได้ทานเป็นสมุนไพรเป็นยา จึงมีนโยบายวิจัยพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ว่ามีสรรณคุณอย่างอย่างไร เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับประชาชนได้รับทราบ” นายสันติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้า 3 นโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กยท. มุ่งสร้างเสถียรภาพยาง ปราบปรามการนำเข้ายางผิดกฎหมาย ประสานภาคเอกชนร่วมลงทุน

,

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้า 3 นโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กยท. มุ่งสร้างเสถียรภาพยาง ปราบปรามการนำเข้ายางผิดกฎหมาย ประสานภาคเอกชนร่วมลงทุน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารยางพารา โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย พนักงานในสังกัด ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกันตัง กยท. สำนักงานใหญ่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ต้องการมาพบปะและหาแนวทางการขับเคลื่อนงานร่วมกัน ซึ่งต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการการทำงานไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) การปรับสมดุลปริมาณยางพาราในประเทศ ได้มอบหมายให้ กยท. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบสต็อกยางพาราให้ตรงกัน รวมถึงให้ตรวจสอบจำนวนสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน เพื่อจัดทำเป็น Big data ใช้ในการบริหารจัดการยางให้เกิดเสถียรภาพ
2) การปราบปรามการนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรมาสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย จะต้องเอาจริงเอาจัง และมีบทลงโทษอย่างเด็ดขาดสำหรับผู้กระทำผิด และ
3) ดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับ กยท. โดยมีแนวทางในการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น เพื่อใช้ในส่วนราชการ และใช้ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรด้วย

“อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร กยท. จะสามารถเดินหน้าหามาตรการต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้ราคายางดีดีกว่านี้ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางอยู่ดีกินดี และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยางให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 พฤศจิกายน 2566

“สันติ” รมช.สธ.กำชับหน่วยบริการสาธารณสุขจ.เพชรบูรณ์ “เตรียมพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉินรับฤดูกาลท่องเที่ยว”

,

“สันติ” รมช.สธ.กำชับหน่วยบริการสาธารณสุขจ.เพชรบูรณ์
“เตรียมพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉินรับฤดูกาลท่องเที่ยว”

วันที่ 29 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดตามการดำเนินงานห้องฉุกเฉินคุณภาพ หน่วยบริการฟอกไต พร้อมมอบของเยี่ยมไข้ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ให้การต้อนรับ
นายสันติ กล่าวว่า ได้กำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะในช่วงใกล้จะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ประชาชนจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและโรคต่างๆที่อาจแพร่ระบาดได้มากขึ้น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการบูรณาการกับเครือข่ายในพื้นที่เพื่อจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รองรับให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือน จ.เพชรบูรณ์ที่คาดว่าจะปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้
“ ฤดูหนาวของทุกปีเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเขาหรือยอดดอยมากขึ้น และ จ.เพชรบูรณ์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จึงได้กำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่เตรียมพร้อมดูแลประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น”นายสันติกล่าว
สำหรับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่าเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ดูแลประชากรในพื้นที่ ประมาณ 54,000 คน ได้เตรียมการตามนโยบายนักท่องเที่ยวปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ โดยมีระบบห้องฉุกเฉินคุณภาพ Smart EMS ที่ได้รับการรับรองเป็นอำเภอที่ดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บทางจราจรทางถนน (D-RTI) ระดับดีเยี่ยม (Advance) มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบบริการ พร้อมแพทย์ พยาบาล นักเวชปฏิบัติฉุกเฉิน ประจำตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบคัดแยกผู้ป่วยทำให้ได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็วตามลำดับความเร่งด่วน และยังมีช่องทางด่วน (Fast Track) ในกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยมีโรงพยาบาลหล่มสัก และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เป็นเครือข่ายในระบบส่งรักษาต่อ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างไร้รอยต่อ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 ตุลาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นั่งประธานกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติตั้งคณะกรรมการระดับชาติยกระดับ 30 มาตรการแก้ไขปัญหา PM. 2.5

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นั่งประธานกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติตั้งคณะกรรมการระดับชาติยกระดับ 30 มาตรการแก้ไขปัญหา PM. 2.5

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมด้วยนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่สการกระทรวงสาธารณสุข นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 ประกอบด้วย การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และ “มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567” พร้อมทั้งได้เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละออง ให้เป็นกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เพื่อยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง และพื้นที่การเกษตร และหมอกควันข้ามแดน มีการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาหมอกควันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน

รมว. ทส. กล่าวว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยังได้เห็นชอบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 โดยพบว่า สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ดีขึ้น มีการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงเพิ่มขึ้น และอัตราพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ เมืองพัทยา และเทศบาลนครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะสั้น เช่น แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากภาคเกษตร ที่ต้องขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเป็นการเร่งด่วน

ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าว ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะยาว อาทิ การเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งได้เห็นชอบ (ร่าง) รายงานสถานการณ์ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2566 เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการประเมินดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (EPI) ของประเทศไทยใน 3 แนวทาง และเห็นชอบ (ร่าง) แผนการบริหารจัดการ EPI ของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล

“ทส. ได้สนองนโยบายของนายกรัฐมนตรีเป็นการเร่งด่วน โดยจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ณ ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีรายงานสถานการณ์ประจำวัน และการคาดการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในทุกวัน ช่วงเวลา 14.00 น. ผ่านช่องทาง Facebook live ของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมแนวทางการปฏิบัติตัว มีการรายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ พยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น 7 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติตัวในช่วงอาทิตย์นั้น พร้อมทั้งจัดให้มีการรายงานกรณีพิเศษเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ ในกรณีสถานการณ์ PM 2.5 เข้าขั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีเหตุการณ์ที่สำคัญ” พลตำรวจเอก พัชรวาท กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 ตุลาคม 2566

“รัชนี สส.ร้อยเอ็ด” วอน กรมทางหลวงชนบท สร้างสะพานข้ามลำน้ำยัง จุดนายายบุญชู ดวงแก้ว ย่นระยะทางให้ชาวบ้านสัญจรสะดวกขึ้น พร้อมเร่งให้ซ่อมแซมและก่อสร้างถนนลาดยาง 6 เส้นหลัก ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ

,

“รัชนี สส.ร้อยเอ็ด” วอน กรมทางหลวงชนบท สร้างสะพานข้ามลำน้ำยัง จุดนายายบุญชู ดวงแก้ว ย่นระยะทางให้ชาวบ้านสัญจรสะดวกขึ้น พร้อมเร่งให้ซ่อมแซมและก่อสร้างถนนลาดยาง 6 เส้นหลัก ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ

นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าตนได้รับแจ้งจากประชาชนบ้านดงดิบ ตำบลหนองใหญ่อำเภอโพนทอง และบ้านชุมพร อำเภอเมยวดี โดยเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำยัง ได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา ขนส่งผลผลิตทางการเกษตรเข้าหมู่บ้านและเข้าตลาดในตัวอำเภอเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องใช้เส้นทางที่มีระยะทางมากเกินไป เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายมาก เพราะมีไร่นาและญาติพี่น้องอยู่คนละฝั่งลำน้ำ

นางรัชนี กล่าวต่อว่า หากมีการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำ จุดนายายบุญชู ดวงแก้ว ความกว้างประมาณ 100 เมตร จะทำให้สะดวกในการเดินทาง ย่นระยะทาง กว่า 20 กิโลเมตร และถ้าจะให้การสัญจรไปมาสะดวก ขอให้ก่อสร้างทางลาดยางเชื่อมสองฝั่ง ด้วยระยะทางจากบ้านดงดิบ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จุดก่อสร้างสะพานประมาณ 1.5 กิโลเมตร และจากจุดก่อสร้างสะพานไปบ้านชุมพร อำเภอเมยวดี ประมาณ 2.3 กิโลเมตร ตนขอให้กรมทางหลวงชนบทให้จัดงบประมาณก่อสร้างลาดยาง และสะพานคอนกรีตข้ามลำน้ำยัง ดังกล่าวด้วย

นางรัชนี กล่าวต่อว่า ตนได้รับแจ้งจากผู้รับบริการสำนักงานที่ดิน สาขาโพนทองว่า มีผู้มารับบริการแต่ละวันจำนวนมาก ทำให้เสียเวลา บางครั้งไม่สามารถให้บริการเสร็จภายในวันเดียว เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งสำนักงานที่ดินสาขาโพนทองนั้นมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 อำเภอ คืออำเภอโพนทอง อำเภอหนองพอก อำเภอเมยวดี อำเภอโพธิ์ชัย จากข้อมูลอำเภอโพธิ์ชัยมีพื้นที่ห่างไกลจากอำเภอโพนทอง และที่ดินมากกว่าที่อื่น เพื่อลดปัญหาความแออัดให้กับประชาชน ขอให้ก่อสร้างงบประมาณในการตั้งสำนักงานที่ดินอำเภอโพธิ์ชัย

นอกจากนี้ นางรัชนี ยังกล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากผู้นำท้องที่ท้องถิ่นว่า ประชาชนมีปัญหาในการสัญจรไปมา เนื่องจากสภาพถนนชำรุดเสียหาย เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้กรมทางหลวงชนบทจัดงบประมาณ ก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 6 สาย ดังนี้
1. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นบ้านกุดแห่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง ไปบ้านหนองโน อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นถนนลูกรังเส้นทางลัด ระยะทาง 7 กิโลเมตร
2. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นบ้านดงบัง ม.4 ไปบ้านดงทรายงาม ม.9 ตำบลหนองขุ่นใหญ่ เชื่อมถนนทางหลวงชนบทสายหนองพอก – ตำบลท่าสีดา อำเภอหนองพอก จังหวัตร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
3. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นทางจากบ้านคำแข้ ตำบลแวง – บ้านบะเค ตำบลโพธิ์ทอง – บ้านหนองขอนแก่น ตำบลคำนาดี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทาง 5 กิโลเมตร และขอให้ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามลำห้วยบง ซึ่งถูกกระแสน้ำพัดชำรุด
4. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลพรมสวรรค์ ถนนเชื่อมอำเภอ โพนทอง – บ้านโพนงาม ตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นถนนลูกรังเส้นทางลัด ระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร
5. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นบ้านหนองแสงทุ่ง และ บ้านทุ่งแสงทอง ตำบลแวง – บ้านดงดิบ และ บ้านกุดแห่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทองจังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
6. ขอให้ซ่อมสร้างถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบท หมายเลข รอ.4007 เส้นบ้านวังยาว อำเภอโพนทอง – บ้านหนองกุง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงบ้านสว่าง ตำบลสว่าง – บ้านคำพระ ตำบลสว่าง อำเภอโพนทอง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และช่วงบ้านพรหมจรรย์ ตำบลโคกกกม่วง อำเภอโพนทอง – บ้านสีเสียด ตำบลศรีวิลัย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

,

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “Survival Swimming Skills เพื่อเด็กไทยไม่จมน้ำ” โดยมีเด็กที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน และ 3,000 คน จาก 15 จังหวัด ที่ร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติทักษะเบื้องต้นในการเอาชีวิตรอดทางน้ำ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การที่ทำซีพีอาร์ช่วยคนจมน้ำ และจะขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานในพื้นที่ และการเร่งดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ ให้ครอบคลุมทุกตำบล เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมี นายแพทย์ ธงชัย กีรติฟัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ บริเวณสระว่ายน้ำกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า การจมน้ำเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งในระดับโลกและประเทศไทย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี จมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 มากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ และมากกว่าไข้เลือดออกถึง 13 เท่าตัวองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการจมน้ำจนเกิดเป็นฉันทามติร่วมกันครั้งแรกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการป้องกันการจมน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สมัชชาอนามัยโลกได้รับมติ Accelerating Action on Global Drowning Prevention

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันการจมน้ำเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำตามมติสหประชาชาติ ภายใต้คณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้เด็กทุกคนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการปฐมพยาบาล ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปทุกคน มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถทำซีพีอาร์ได้ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน มีนโยบายในการเติมเต็มบริการสุขภาพเพื่อประชาชนในทุกมิติ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ภายใต้บริบทในปัจจุบันที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบกระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีบุตร เพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่เกิดมามีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตรอดปลอดภัย ซึ่งการปกป้องคุ้มครองเด็ก ไม่ให้เสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาการเสียชีวิตของเยาวชนก่อนวัยอันควร

“สถิติการเสียชีวิตของเด็กที่จมน้ำนั้นส่วนใหญ่อยู่ในชนบท เมื่อว่างจากการเรียนเด็กก็จะไปลงเล่นน้ำเป็นกลุ่มในพื้นที่บ่อน้ำสาธารณะ การจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้จึงเป็นการฝึกให้เด็กช่วยกันเอง ให้เกิดทักษะในการลอยน้ำ หรือใช้วิธีการง่ายๆ แบบบ้านๆ โดยการใช้อุปกรณ์ ซึ่งทำขึ้นจากท้องถิ่น เช่นกล่อง หรือวัสดุอะไรก็ตามที่สามารถลอยน้ำได้เพื่อช่วยพยุงตัวเอง ก็สามารถช่วยให้เด็กรอดจากการจมน้ำได้ ซึ่งถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญในท้องถิ่นต่างจังหวัด ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ ในการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้เยาวชน มีการนำกิจกรรมดังกล่าว ไปฝึกฝนในการเรียนการสอน เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะดำเนินการเป็นนโยบายร่วมกัน” นายสันติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ห่วงประชาชน เร่งรัด ยกระดับ การปฏิบัติงาน ศูนย์แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เน้นแจ้งเตือนล่วงหน้า ชงตั้งคณะกรรมการชาติจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ห่วงประชาชน เร่งรัด ยกระดับ การปฏิบัติงาน ศูนย์แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เน้นแจ้งเตือนล่วงหน้า ชงตั้งคณะกรรมการชาติจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ

วันนี้ (25 ตุลาคม 2566) พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจติดตามความพร้อมการปฏิบัติงานของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ตามที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้มีข้อห่วงใยต่อสถานการณ์ฝุ่นละอองที่เริ่มเข้าสู่ช่วงเฝ้าระวังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินการเตรียมการรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ในทุกมิติ พร้อมยกระดับการสื่อสารแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน

ทั้งนี้พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พร้อมรับฟังแนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ การคาดการณ์พยากรณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กล่วงหน้า การแสดงค่าผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก และการเป็นศูนย์สื่อสารเพื่อยกระดับการแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน และได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ เพิ่มความคล่องตัว ในสื่อสาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนเข้าใจง่าย เพื่อให้ข้อมูลถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังสถานการณ์ พร้อมทั้งมีการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเอกภาพในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้รับข้อสั่งการจากท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เร่งยกระดับการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นในทันที หลังเริ่มพบปรากฎการณ์ฝุ่นแล้วในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงฯ ได้เตรียมความพร้อมกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2567 นี้ ที่มีการปรับค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ให้มีความเข้มขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ท่านรองนายกรัฐมนตรีฯ จึงได้กำชับให้ยกระดับการสื่อสารแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน และยกระดับกลไกการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด โดยจะเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ (26 ตุลาคม 2566) นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกเร่งรัดการจัดทำแผนและการดำเนินมาตรการเพื่อลดหมอกควันและฝุ่นละอองทั้งระบบ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ในการยกระดับการสื่อสารแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน นับจากวันนี้ไป ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 การรายงานสถานการณ์ประจำวัน และการคาดการณ์ฝุ่น PM2.5 ในทุกวัน ช่วงเวลา 14.00 น. ผ่านช่องทาง Facebook live ของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมแนวทางการปฏิบัติตัว
ระดับที่ 2 การรายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ พยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น 7 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติตัวในช่วงอาทิตย์นั้น โดยจะเป็นการรายงานร่วมกัน 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข และ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ระดับที่ 3 การรายงานกรณีพิเศษเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ ในกรณีสถานการณ์ PM2.5 เข้าขั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดนเข้ามามีผลกระทบต่อประเทศไทย จะให้ ศกพ. รายงานสถานการณ์ต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติตน
ระดับที่ 4 กรณีมีประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ จะจัดให้มีการสื่อสาร เสวนา โดย ศกพ. เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาให้ความรู้ และความเข้าใจต่อประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566