โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรมพรรค

“รมว.ธรรมนัส” มอบหมาย “รมช.อรรถกร” เร่งกรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินรับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง หนุนชาวนาเข้าถึงข้อมูลวางแผนเพาะปลูกแม่นยำเพิ่มรายได้-ลดต้นทุนตามนโยบายรัฐ

,

“รมว.ธรรมนัส” มอบหมาย “รมช.อรรถกร” เร่งกรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินรับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง
หนุนชาวนาเข้าถึงข้อมูลวางแผนเพาะปลูกแม่นยำเพิ่มรายได้-ลดต้นทุนตามนโยบายรัฐ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้จัดประชุม vdo conference ร่วมกับ จนท กรมพัฒนาที่ดินทั่วประเทศให้เตรียมตัวสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยได้เร่งรัดให้กรมพัฒนาที่ดิน จัดเก็บผลวิเคราะห์ดินทั่วประเทศ ใช้กลไกของอาสาหมอดินที่มีอยู่ใน 77 จังหวัด ทำการรวบรวมฐานข้อมูลคุณภาพดินในการเพาะปลูกของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งหมด ที่จะนำไปสู่การวางแผนการเพาะปลูกที่เหมาะสม กับชนิดปุ๋ยในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สามารถวางแผนต้นทุนการเพาะปลูกข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนมาตรการ”ปุ๋ยคนละครึ่ง” ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆนี้

“การจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพดินทั่วประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อให้ใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับคุณภาพดินในแต่ละพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาพบว่าการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น สร้างภาระต้นทุนให้กับพี่น้องเกตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขณะนี้ราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น หากยิ่งใช้เกินความจำเป็นทำให้เกษตรกรขาดทุนในการเพาะปลูก ดังนั้นโครงการดังกล่าว ถือเป็นภาระกิจหลักตามนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกะทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีแผนการพัฒนาภาคเกษตร มีการวางแผนการเพาะปลูกแบบแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่า ภายในระยะเวลา 4 ปี เป็นแนวทางของการสร้างความมั่นคงในอาชีพ ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 มิถุนายน 2567

“พปชร.”บุกร้อยเอ็ด เปิดเวที“ประชารัฐร่วมใจ เพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ”ย้ำ แนวทาง “อนุรักษนิยมทันสมัย”ชู ปกป้องสถาบัน-บริหารเศรษฐกิจทันสมัย

,

“พปชร.”บุกร้อยเอ็ด เปิดเวที“ประชารัฐร่วมใจ เพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ”ย้ำ แนวทาง “อนุรักษนิยมทันสมัย”ชู ปกป้องสถาบัน-บริหารเศรษฐกิจทันสมัย

พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)นำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้มอบหมายให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ,นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาฯ และ นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ เข้าร่วมประชุมใหญ่ สาขาพรรค ภาคอีสาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ได้เปิดเวทีประชารัฐร่วมใจเพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของประชาชน ภายใต้สโลแกน “ปกป้องสถาบัน ทันสมัยเศรษฐกิจ มีชีวิตที่สดใส”ณ ห้องประชุมโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

โดย นายธีระชัย ได้กล่าวกับสมาชิกพรรคในช่วงหนึ่งว่า ทิศทางในการดำเนินการของพรรค พปชร. ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่หัวหน้าพรรค พล.อ.ประวิตร ได้เตรียมที่จะนำเสนอต่อประชาชน ที่เราเรียกว่า “อนุรักษ์นิยมทันสมัย“ ด้วยอุดมการณ์ที่แน่วแน่ในการปกป้องสถาบันและบริหารเศรษฐกิจทันสมัย เพื่อชีวิตที่สดใสให้กับคนไทยทั้งประเทศ

“การนำเสนอในเรื่องของอนุรักษ์นิยมทันสมัยของ พปชร.คือ การอนุรักษ์นิยมที่พัฒนาให้ดีกว่าอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม ลักษณะอนุรักษ์นิยมทันสมัยไม่ได้เน้นให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมภายในวันนี้ ไม่ใช่สังคมที่ต้องเท่าเทียมทันที แต่เราจะต้องเริ่มต้น โดยสังคมที่ให้โอกาสที่เท่าเทียม และความเท่าเทียมในโอกาสที่จะก้าวหน้า รวมถึงความเท่าเทียมในโอกาสที่จะปรับตัว ทำให้ทุกๆคนทันสมัยมากเป็นนโยบายที่เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง เราจะปรับตัวให้ทุกคนมีศักยภาพในการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รักษาสุขภาพตัวเองได้แข็งแรงขึ้น ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้คือการปูพื้นเพื่อสร้างโอกาสให้มากขึ้น“

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคการเมืองเดียวที่จะทำได้ โดยเราเข้าใจในความจริงแห่งโลก เราจะสร้างการยอมรับ จุดอ่อน จุดแข็งของสังคม และระบบราชการแล้วก็นำมาใช้ด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์ เคยผ่านงานมาแล้วและคิดได้ ทำเป็น สิ่งนี้คือลักษณะของนโยบายอนุรักษ์นิยมทันสมัย

นายธีระชัย ยังกล่าวต่อว่า พันธกิจของพรรคพลังประชารัฐ คือการเป็นศูนย์รวมผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และทันสมัย ทุกรุ่นทุกวัยด้วย “5 อนุรักษ์ 5 ทันสมัย ได้แก่ อนุรักษ์สถาบัน,อนุรักษ์ผลประโยชน์ของชาติ,อนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ,อนุรักษ์วัฒนธรรม และอนุรักษ์ระเบียบทางสังคม ในส่วนของ 5 ทันสมัย ได้แก่ เศรษฐกิจทันสมัย,วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทันสมัย,สิ่งแวดล้อมทันสมัย,สังคมทันสมัย และภาครัฐทันสมัย

ด้านนางรัชนี กล่าวว่า ตนต้องขอขอบพระคุณกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐที่ได้ให้ความสำคัญกับจังหวัดร้อยเอ็ด ถึงแม้ว่า พปชร.จะไม่ได้เป็นพรรคหลักในการจัดตั้งรัฐบาล แต่การเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของ พปชร.ก็มีส่วนที่ผลักดันและนำนโยบายต่าง ๆ ที่ได้พูดไว้กับพี่น้องประชาชนมาสานต่อจนสำเร็จแล้วหลายเรื่อง ส่วนเรื่องที่ยังไม่สำเร็จท่านหัวหน้าพรรคก็ไม่ทิ้ง ท่านอยู่กับพวกเราเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนไปตลอด ทั้งนี้ พปชร.ก็จะมีนโยบายดี ๆ มาเสนอให้พี่น้องชาวอีสานต่อไปแน่นอน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 มิถุนายน 2567

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

,

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ช่วงที่ผ่านมาถึงตนได้ลงพื้นที่และพบปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา
ในกลุ่มเยาวชนพื้นที่ห่างไกลในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดน เนื่องจากปัจจุบันนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีการยุบโรงเรียนในหลาย ๆ แห่งที่มีนักเรียนไม่เพียงพอกับการจัดสรรงบประมาณ ส่งผลให้เกิดภาระกับเด็กและเยาวชน ในการหาสถานที่ศึกษาแห่งใหม่ หลายๆแห่งอยู่ห่างไกลจากบ้านมาก จึงเป็นการเพิ่มภาระให้กับครอบครัวที่มีฐานะยากลาํบาก

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโรงเรียนต่างๆต้องอาศัยการช่วยเหลือกันของพี่น้องในหมู่บ้าน ด้วยการจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา ระหว่างวัด โรงเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน อีกทั้งยังขอความอนุเคราะห์จาก อบจ.ในจังหวัดนั้น ๆ และ หลายๆ อปท.ในตำบล เพื่อจ้างครูท้องถิ่นที่เรียนจบแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ มาบรรเทาปัญหาการขาดแคลนครู โดยครูจะได้รับค่าตอบแทน อยู่ที่ 6,000 และ 9,000 บาท หรือสูงสุดก็คือ 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาช่วยเหลือดูแลในเรื่องนี้ โดยเร่งผลิตบุคลากรครูให้เพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลนในโรงเรียน พร้อมทั้งเพิ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

“ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ปัญหาด้วยการกระจายอำนาจ เพื่อการศึกษาสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สามารถผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป รองรับการพัฒนาหมู่บ้าน จังหวัด ประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กกับคุณภาพผู้เรียนที่เราต้องการ พบว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก กับคุณภาพผู้เรียน ที่เราต้องการพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กราว 15,000 โรงเรียนในอนาคตอาจะจะมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันอาจถูกยุบไปในที่สุด เนื่องด้วยอัตราการเกิดของประชากรลดลง รวมถึง ฃการอพยพเคลื่อนย้ายของ ประชากรวัยเรียนที่ย้ายติดตามผู้ปกครองไปรับจ้างทำงานต่างถิ่น ที่สำคัญคือ ค่านิยมของผู้ปกครองส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง และความพร้อม รวมไปถึงโรงเรียนเอกชน จึงทำให้โรงเรียนหลายแห่งถูกลดระดับกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในที่สุด

นางบุญยิ่ง ยังกล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ทำให้ใจหาย และเศร้าใจ โรงเรียนที่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ศึกษามาจนถึงรุ่นปัจจุบัน อยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนานต้องมาปิดตัวลง เพราะไม่มีนักเรียนหรือผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ที่สร้างมาจากหยาดเหงื่อ แรงงานภายในชุมชน จนเป็น “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้เป็นเพียงสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของชุมชนอีกด้วย การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนสูง ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี ปัญหาการขาดแคลนผู้บริหาร จำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนไม่เท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้

“คำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้โรงเรียนอยู่คู่กับชุมชนตลอดไปดิฉัน ขอเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดสรรงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาจากรัฐบาลให้เพียงพอ และพอเพียง และจัดสรรครู ให้เพียงพอสามารถจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุม และไม่หนักเกินกำลังของครู เพราะวันนี้โรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูกว่า 80% และควรจัดสรรเครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ให้เสถียร ครอบคลุมทุกชั้นเรียนเพื่อเป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้และ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดสรรสื่อ วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้นักเรียนทุกคน เพื่อสนับสนุนการทำงานของครู และจัดสรรเจ้าหน้าที่ธุรการ ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ทุกๆ โรงเรียน เพื่อลดภาระงานของครู”นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องจะยุบ จะรวม หรือเลิกโรงเรียนนั้นขอให้พิจารณาถึงความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น ให้ดูข้อมูลเป็นรายโรงเรียน รายพื้นที่ และความสามารถของชุมชนเป็นหลัก แต่ที่สุดแล้ว การบริหารจัดการ คือ การคงอยู่ของโรงเรียน ซึ่งเป็นสถาบันหลัก ของชุมชนเป็นสำคัญ ตนเห็นด้วยในภาพรวมกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ฉบับนี้ แต่ขอฝากคณะกรรมาธิการว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษา สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

“ดิฉันมีข้อคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบถึง พ.ร.บ.การกระจายอำนาจ ปี 2542 มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต.เทศบาล 20 กว่าปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาคุณภาพของท้องถิ่นในทุกมิติ เพราะทำเพื่อลูกหลาน เพื่อท้องถิ่น อย่างแท้จริง เราเริ่มเห็นถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน เรามีประปาหมู่บ้าน บ้านเรามีการขยายถนน มีการขยายแนวเขตไฟฟ้าให้เข้าถึงชุมชน ได้มากขึ้นและดีขึ้น ท้องถิ่นมีโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีศักยภาพสร้างเด็ก และเยาวชนให้มีความโดดเด่นเฉพาะทางหลายด้าน เช่น โรงเรียนกีฬา โรงเรียนดนตรี ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านมา 20 กว่าปี มีการกระจายอำนาจบ้าง ขอคืนอำนาจบ้างสลับปรับเปลี่ยนบ่อยมาก เช่น ให้จัดทำหลักสูตรได้เอง ต่อมา ให้จัดทำเอง เฉพาะหลักสูตรท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา ที่นับว่าดีมาก อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนขอเสนอความเห็นต่อกระทรวงศึกษาธิการว่า การปฏิรูปการศึกษา ควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษา ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ บริหารทั่วไป และอื่นๆกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าจะให้เกิดอะไรกับผู้เรียนนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงง่าย เหมือนปัจจุบัน พร้อมทั้งเร่งดำเนินการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมุ่งเน้นให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ดิฉันเชื่อมั่นว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษาจะเป็นแนวทางที่ดี ต่อการจัดการศึกษาให้กับลูกหลานไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

‘พล.อ.ประวิตร’ ร่วมพิธีลงนามเจ้าภาพจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 33 เปิด 3 จังหวัด กทม. ชลบุรี สงขลา เจ้าภาพร่วมมุ่งยกระดับไทยจัดแข่งขันเทียบชั้นเอเชียนส์เกม-โอลิมปิค

,

‘พล.อ.ประวิตร’ ร่วมพิธีลงนามเจ้าภาพจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 33 เปิด 3 จังหวัด กทม. ชลบุรี สงขลา เจ้าภาพร่วมมุ่งยกระดับไทยจัดแข่งขันเทียบชั้นเอเชียนส์เกม-โอลิมปิค

วันนี้ (14 มิ.ย. 67) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามในสัญญาเมืองเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ณ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

พลเอกประวิตร ได้กล่าวต้อนรับ 11 ประเทศอาเซียน โดยระบุว่า ขอต้อนรับคณะมนตรีซีเกมส์ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง และขอขอบคุณที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญากันเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพร่วม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และสงขลา ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ต้อนรับทุกท่านอย่างอบอุ่น ก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกันตลอดไป การลงนามสัญญาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์เป็นไปเพื่อยกระดับมาตรฐานให้เทียบเคียงกับกีฬาเอเชียนเกมส์และโอลิมปิค เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับตามธรรมนูญซีเกมส์ฉบับลงวันที่ 4 พ.ค.66

โดยสำนักงานธรรมนูญซีเกมส์ จะทำหน้าที่สนับสนุนให้คำแนะนำในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อย่างเป็นทางการ ตนเองในฐานะประธานสหพันธ์ซีเกมส์ ขออวยพรให้การประชุมคณะมนตรีซีเกมส์ และการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมวงข้าวกลางวัน ถก สส.เร่งแก้ปัญหาปชช.ในพื้นที่ นำเสียงสะท้อนผลักดันผ่านกลไกสภาฯ

,

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมวงข้าวกลางวัน ถก สส.เร่งแก้ปัญหาปชช.ในพื้นที่ นำเสียงสะท้อนผลักดันผ่านกลไกสภาฯ

เวลา 11.30 น 30 พฤษภาคม 2567 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย แกนนำ สส.และสมาชิกพรรค อาทิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรค ,ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรค,นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองหัวหน้าพรรค ,นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค ,นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค, น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค, พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค, นายวราเทพ รัตนากร ผู้อำนวยการพรรค ได้พูดคุยและรับประทาน อาหารกลางวันร่วมกัน ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจากการลงพื้นที่ในด้านปัญหาและอุปสรรคของคนในพื้นที่ ที่จะนำมาสู่การวางแผนงานขับเคลื่อนพรรคให้สอดรับกับพี่น้องประชาชนมากที่สุด

โดยที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร ได้กำชับและ มอบหมายให้ สส.ทุกคนลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาของประชาชนในทุกแง่มุม รวมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนความต้องการของประชาชน ในช่วงปิดสมัยการประชุมสภาฯ เพื่อที่จะนำปัญหาของประชาชนขับเคลื่อนสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกลไกของรัฐสภาในการเปิดสมัยประชุมช่วงเดือน ก.ค.นี้

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังย้ำให้รัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรค พปชร.ตั้งใจทำหน้าที่เพื่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป โดยขอให้เอาประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลักในการทำงาน เนื่องจากที่ผ่านมา พปชร.ได้เดินหน้าทำตามนโยบายที่ได้ประกาศหาเสียงกับประชาชนได้ครบเกือบทุกเรื่องแล้ว จึงอยากจะให้ทุกคนในพรรคสานต่อสิ่งดี ๆ ที่พรรคของเราได้ตั้งใจและตั้งมั่นเอาไว้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 มิถุนายน 2567

“สส.ภาคภูมิ” ผู้แทนจ.ตากขอบคุณ พล.อ.ประวิตร – พล.ต.อ พัชรวาท – รมว.ธรรมนัส ร่วมดัน การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ลดขั้นตอนขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แก้ปัญหาให้ ปชช.

,

“สส.ภาคภูมิ” ผู้แทนจ.ตากขอบคุณ พล.อ.ประวิตร – พล.ต.อ พัชรวาท – รมว.ธรรมนัส ร่วมดัน การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ลดขั้นตอนขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แก้ปัญหาให้ ปชช.

นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขต 3 จ. ตาก พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีของ พี่น้องชาวจังหวัดตาก ภายหลังจากที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งมอบอำนาจให้ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ และผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมฯ ในขั้นตอนการอนุญาตเพื่อดำเนินการพัฒนา และบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในด้านต่างๆ ว่าด้วยการอนุญาตให้กระทำการภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบนั้นๆ ซึ่งจะสามารถยกระดับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งขึ้น นับเป็นข่าวดี ในกระบวนการทำงานที่จะทำให้เกิดความคล่องตัว เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างเห็นผล

ทึ่ผ่านมา ตนในฐานะผู้แทนราษฎรได้ร่วมกับ ผู้นำท้องถิ่นในการผลักดันให้เร่งแก้ปัญหาการกระจายอำนาจ มาตลอดระยะเวลา 5 ปี ทั้งในระบบรัฐสภาและนอกสภา ด้วยการระดมความคิดเห็นผ่านการหารือ อภิปราย ลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้ากับผู้บริหารในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นความสำเร็จไปอีกขั้นหนึ่ง ที่สามารถลดขั้นตอนในการอนุญาตให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้การพัฒนาพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้า สิ่งสาธารณูปโภคต่างๆของ หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำได้รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชน และองค์กรต่างๆในจังหวัด โดยตรง

“ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ ในการผลักดันและสนับสนุนการแก้ปัญหาขั้นตอนของระบบราชการให้เกิดขึ้นได้จริง เป็นหนึ่งในนโยบายของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และเป็นวาระสำคัญที่ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี ประธานยุทธศาสตร์พรรรค ได้ นำไปขับเคลื่อนเป็นนโยบายของกระทรวงฯ

ในขณะที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรสหกรณ์ เลขาธิการพรรค คอยแนะนำให้คำปรึกษา ในแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่สำคัญ ทีมงานผู้นำท้องถิ่นทุกท่าน ที่ร่วมกันติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง”

#ภูมิใจที่ได้ทำ
#ร่วมก้าวไปด้วยกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 มิถุนายน 2567

พปชร.ประชุมสาขาพรรค จ.สิงห์บุรี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น สู่การกำหนดนโยบายพรรค ด้าน “ชัยวุฒิ”เปิดชู“อนุรักษ์นิยมทันสมัย“ขับเคลื่อนพรรคอย่างประนีประนอม ไม่ทำให้สังคมแตกแยก

,

พปชร.ประชุมสาขาพรรค จ.สิงห์บุรี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น สู่การกำหนดนโยบายพรรค ด้าน “ชัยวุฒิ”เปิดชู“อนุรักษ์นิยมทันสมัย“ขับเคลื่อนพรรคอย่างประนีประนอม ไม่ทำให้สังคมแตกแยก

วันนี้ (17 พฤษภาคม 2567) ที่ห้องประชุมโรงแรมไชยแสง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ร่วมเปิดงานประชุมใหญ่สาขาพรรคภาคกลาง จังหวัดสิงห์บุรี เวทีประชารัฐร่วมใจเพื่อสร้างชีวิตที่สดใสให้คนไทยทั้งประเทศ โดยมีกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเข้าร่วม อาทิ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่ผ่านการเป็นรัฐบาลมาแล้ว4 ปี และการเลือกตั้งรอบนี้ก็ยังได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง เพียงแต่เราไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากจำนวน สส.ลดลง แต่สำหรับจังหวัดสิงห์บุรี เราก็ยืนหยัดอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ และต้องขอบคุณที่ประชาชนไว้ใจและสนับสนุนให้ สส.โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เข้ามาทำหน้าที่ สส. เราก็จะทำให้จังหวัดสิงห์บุรีได้รับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆตนเชื่อว่าพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่มีความพร้อม มีความชัดเจนในการที่จะทำงานให้พี่น้องประชาชน และตนในฐานะรองหัวหน้าพรรค สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ในหลายๆด้าน

“ชาวจังหวัดสิงห์บุรี อาชีพหลักในพื้นที่คือการเกษตร ซึ่งพปชร.ก็ดูแลเต็มที่ในเรื่องน้ำ และระบบชลประทาน ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนรู้สึกได้ที่พรรคเราทำงานอย่างเต็มที่มาโดยตลอด ทำให้เราได้รับการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่สำคัญ นอกจากการดูแลพื้นที่ ตอนนี้มีการแข่งขันในด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งตรงนี้จะทำให้นักการเมืองดูแลพื้นที่ ดูแลชาวบ้านอย่างเดียวมันไม่พอแล้วพรรคพลังประชารัฐ จึงต้องปรับตัวและทำนโยบายทำความชัดเจนในเรื่องของอุดมการณ์ เพื่อสร้างกระแสให้พี่น้องประชาชนเข้าใจ”นายชัยวุฒิ กล่าว

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า คำว่า อนุรักษ์นิยมทันสมัย ก็คือ สิ่งที่ดีเราก็ดูแลส่งเสริมให้มันเข้มแข็งให้สิ่งดีๆเหล่านั้นอยู่กับสังคมไทยสืบทอดไปให้ลูกหลายของเรา แต่ขณะเดียวกัน เราก็พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้ต่อเนื่องกันไป และอนุรักษ์สิ่งที่ดีไว้ สิ่งสำคัญก็คือ การหารือร่วมกัน ประนีประนอมเข้าใจกัน หาทางออกร่วมกันไม่ใช่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้ความรู้สึกที่เกลียดชังกัน ไม่ใช่การที่ทำให้สังคมแตกแยกกัน และอีกสิ่งหนึ่งคือ เรายึดมั่นในอุดมการณ์ปกป้องสถาบัน ทำให้บ้านเมืองสงบสุข และพัฒนาประเทศไปร่วมกัน นี่คือแนวทางของพรรคพลังประชารัฐ และตนเชื่อว่าแนวทางนี้อยู่ในหัวใจของเราทุกคนตลอดไปแน่นอน

ทั้งนี้ นายชัยวุฒิ กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมประจำปีของสมาชิกพรรคที่จังหวัดสิงห์บุรีเรียบร้อยดี เป็นการประชุมและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกพรรคและพี่น้องประชาชน เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567

“สส.สุธรรม”เผย โครงการประตูระบายน้ำควนกรด พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ อยู่ในงบประมาณปี 67 แล้ว เชื่อเมื่อสร้างเสร็จจะบรรเทาความเดือดร้อนของ ปชช.ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

, ,

“สส.สุธรรม”เผย โครงการประตูระบายน้ำควนกรด พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ อยู่ในงบประมาณปี 67 แล้ว เชื่อเมื่อสร้างเสร็จจะบรรเทาความเดือดร้อนของ ปชช.ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงควาทคืบหน้าของโครงการประตูระบายน้ำและอ่างเก็บน้ำ ต.ควนกรด อ.ทุ่งสงฯ ว่า จากการที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้นำท้องถิ่น และรับฟังประเด็นปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ ณ วัดทุ่งส้าน ต.นาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ติดตามการโครงการประตูระบายน้ำควนกรด พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ล่าสุด กรมชลประทาน ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และบรรจุลงในแผนงบประมาณปี 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า ร.อ.ธรรมนัส ยังสั่งการให้มีการวางแผนขุดลอกแก้มลิง เพื่อเป็นการชะลอน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ และเป็นพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ บ้านนาขี้เป็ด หมู่ที่ 3 ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสามารถกักเก็บน้ำและส่งน้ำได้ประมาณ 1.3 ลบ.ม. ต่อปี และช่วยเพิ่มการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก พื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 4,500 ไร่ และบรรเทาอุกภัยในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงและบริเวณใกล้เคียงไม่น้อยกว่า 10,000 ครัวเรือน และยังเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของราษฎรอีกด้วย

ในส่วนของพื้นที่บริเวณสามแยกตลาดนัดที่วัง เกิดอุบัติเหตุรุนแรงบ่อยครั้งนั้น นายสุธรรม กล่าวว่า ตนได้นำปัญหาดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมสภาฯ เพื่อขอ สัญญาณไฟจราจร ตั้งแต่ในวันแรกที่ตนมีโอกาสพูดในสภาฯ แล้ว แต่ขอให้พี่น้องประชาชนรออีกนิดเดียว เพราะสัญญาณไฟจราจรนี้อยู่ในงบประมาณปี 2567 แล้ว ในช่วงนี้ก็ขอให้ผู้ใช้ถนนเพิ่มความระวังกันเยอะๆ ใช้รถ ใช้ถนน อย่าประมาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 เมษายน 2567

“พล.อ.ประวิตร-ร.อ.ธรรมนัส” ร่วมมอบข้าวสารเป็นกำลังใจ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ชาวบ้านในบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี จ.สุรินทร์ ที่ประสบอัคคีภัย

,

“พล.อ.ประวิตร-ร.อ.ธรรมนัส” ร่วมมอบข้าวสารเป็นกำลังใจ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ชาวบ้านในบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี จ.สุรินทร์ ที่ประสบอัคคีภัย

ตามที่เกิดเหตุ เพลิงไหม้บริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี ถนนศรีนคร อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายอาคาร และร้านค้าต่างๆของประชาชนในพื้นที่กว่า 60 คูหานั้น

ล่าสุด พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบข้าวสารจำนวน 5 ตัน เพื่อไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนผู้ประสบภัยดังกล่าว ผ่านทางนางชนมณี บุตรวงษ์ หรือ แม่ใหญ่จิ๋ว ในฐานะผู้ประสานงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

“ท่านหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคฯมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวตลาดรัตนบุรีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้จึงได้มอบข้าวสาร เพื่อเป็นกำลังใจมามอบให้บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น พร้อมให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตามขั้นตอนต่อไป”นางชนมณี บุตรวงษ์ หรือ แม่ใหญ่จิ๋ว ผู้ประสานงานช่วยเหลือประชาชน กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 เมษายน 2567

“พล.อ.ประวิตร” กำชับ สส.ลงพื้นที่ช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ย้ำฟังเสียงสะท้อนปชช.นำเข้าสภาฯแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

, ,

“พล.อ.ประวิตร” กำชับ สส.ลงพื้นที่ช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ย้ำฟังเสียงสะท้อนปชช.นำเข้าสภาฯแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

26 เม.ย. 2567 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย แกนนำ สส.และสมาชิกพรรค อาทิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรค ,ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรค,นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะรองหัวหน้าพรรค ,นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค ,นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค ได้พูดคุยและ รับประทาน อาหารกลางวันร่วมกัน ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ

โดย พล.อ.ประวิตร ได้กำชับและ มอบหมายให้ สส.ทุกคนลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาของประชาชนในทุกแง่มุม รวมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนความต้องการของประชาชน ในช่วงปิดสมัยการประชุมสภา เพื่อที่จะนำปัญหาของประชาชนขับเคลื่อนสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกลไกของรัฐสภาในการเปิดสมัยประชุมช่วงเดือน ก.ค.นี้

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังย้ำให้รัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ ตั้งใจทำหน้าที่เพื่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป โดยขอให้เอาประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลักในการทำงาน เนื่องจากที่ผ่านมา พปชร.ได้เดินหน้าทำตามนโยบายที่ได้ประกาศหาเสียงกับประชาชนได้ครบเกือบทุกเรื่องแล้ว จึงอยากจะให้ทุกคนในพรรคสานต่อสิ่งดี ๆ ที่พรรคของเราได้ตั้งใจและตั้งมั่นเอาไว้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 เมษายน 2567

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (2)

,

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (2)

ในรัชสมัยล้นเกล้า ร.10 นี้ คนไทยต้องช่วยกันระวังไม่ให้ประเทศต้องเสี่ยงจะเสียดินแดนในทะเล ดังที่เคยเสียดินแดนบนบกไปแล้วในรัชสมัยล้นเกล้า ร.9
🫡 ถามว่า มีบทเรียนจากการที่ไทยต้องเสียดินแดนเขาพระวิหารสองครั้ง อย่างไร?
***การเสียดินแดนครั้งที่หนึ่ง

รูป 1 เอกสารแนบสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ใน Section 1 ที่ข้อความช่วงต้นระบุใช้ยอดสูงสุดบนเกาะกูดสำหรับเล็งจุดเส้นแบ่งเขตแดนบนชายฝั่ง (หลักเขตเลขที่ 73)
มีข้อความช่วงท้ายว่า บริเวณ ‘ดงเร็ก’ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขาพระวิหาร นั้น ให้แบ่งเขตแดนตามสันปันน้ำ (watershed)

รูป 2 ในแผนที่ที่ผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสจัดทำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 11 ระวาง และส่งให้ไทย นั้น สำหรับระวาง ‘ดงเร็ก’ ปรากฏว่าเส้นแบ่งเขต (เส้นประ ตามที่มีเส้นสีน้ำเงินชี้) ไม่ตามแนวสันปันน้ำ

รูป 3-4 จุดสีแดงคือตำแหน่งของตัวปราสาทบนชะง่อนเขาพระวิหาร ในรูป 4 ตัวปราสาทตั้งอยู่บนชะง่อนเขาซึ่งด้านลาดต่ำอยู่ในเขตไทย และลาดสูงขึ้นไปโดยตัวปราสาทตัังอยู่จุดสูงสุด
ดังนั้น โดยสภาพภูมิประเทศ แนวสันปันน้ำจึงเป็นเส้นสีแดงอันเป็นแนวที่แหลมสูงสุดของชะง่อนเขา ซึ่งตามหลักการที่ตกลงกันในสนธิสัญญา ตัวปราสาทจึงย่อมอยู่ในเขตไทย
ในรูปนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนว่า เส้นแบ่งเขตที่ฝรั่งเศสจัดทำ (เส้นประที่ผมเติมสีน้ำเงิน) อยู่เหนือแนวสันปันน้ำ จึงไม่ถูกต้องตามสนธิสัญญา

รูป 5 นอกจากนี้ สนธิสัญญายังระบุด้วยว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสจะมีประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นพรมแดนที่ได้ตกลงยินยอมกันไว้นี้แล้ว การที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกันนี้ ถึงโดยว่าจะเกิดมีเหตุการณ์อย่างใดๆ ก็ดี จะต้องทำให้ไม่เป็นที่ล่วงล้ำเสียประโยชน์ของรัฐบาลสยามด้วย”
ดังนั้น การที่ผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสจัดทำแผนที่กำหนดเส้นพรมแดนที่ไม่ใช่สันปันน้ำ จึงไม่เป็นไปตามสนธิสัญญา และไทยมีสิทธิไม่ยอมรับ
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 ศาลโลกตัดสิน 2 เงื่อนไข
เงื่อนไขที่หนึ่ง ให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
เงื่อนไขที่สอง ไทยมีพันธะต้องถอนทหารหรือตำรวจหรือผู้ดูแลอื่นใดออกจากปราสาทหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา
🫡 ถามว่า ในเมื่อเส้นพรมแดนในแผนที่ไม่ใช่สันปันน้ำ อันไม่เป็นไปตามสนธิสัญญา เหตุใดศาลโลกจึงตัดสินให้ไทยแพ้?

🧐 รูป 6 ศาลโลกใช้หลักกฏหมายสากล ที่เรียกว่า การยอมรับโดยปริยาย

รูป 7 กล่าวคือ ไทยมีโอกาสหลายครั้งที่จะโต้แย้งปฏิเสธแผนที่ระวาง ‘ดงเร็ก’ แต่ไม่ได้ทำ ศาลถือว่าการนิ่งเฉย เป็นการยอมรับ ทำให้ศาลไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่เป็นสันปันน้ำจริงหรือไม่
แต่ศาลไม่ได้ระบุว่า อาณาบริเวณมากน้อยเพียงไรที่จะเป็นของกัมพูชา
สรุปแล้ว เสียดินแดนครั้งที่หนึ่งเพราะไทยไม่เคยใช้สิทธิประท้วง
***การเสียดินแดนครั้งที่สอง
เอกสารวิจัยในสถาบันพระปกเกล้าของ จุฬาพร เอื้อรักสกุล ระบุว่า
“ในส่วนการกำหนดเขตบริเวณปราสาทพระวิหาร คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ให้กำหนดเป็นรูปพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบปราสาทซึ่งเป็นเนื้อที่บริเวณปราสาท ¼ ตารางกิโลเมตร กับให้ทำป้ายไม้แสดงเขตไทย-กัมพูชาและทำรั้วลวดหนามในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2505”
ต่อมา กัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ปรากฏว่ารัฐบาลไทยขณะนั้นไม่สามารถเจรจาให้เป็นสองรัฐบาลร่วมกัน แต่ได้ยินยอมให้กัมพูชายื่นขอฝ่ายเดียว
ในการยื่นขอมรดกโลกดังกล่าว กัมพูชาได้ยื่นแผนที่จัดการพื้นที่ในละแวกใกล้เคียง สำหรับกรณีนี้รัฐบาลไทยได้ประท้วงถูกต้อง แต่ภายหลังชาวกัมพูชารุกคืบในพื้นที่ทำให้เกิดการปะทะกันด้วยอาวุธ
ในปี 2554 กัมพูชาจึงได้ยื่นขอให้ศาลโลกวินิจฉัยว่า ตามคำพิพากษาเดิมปี 2505 นั้น กำหนดให้พื้นที่รอบปราสาทของกัมพูชาเป็นส่วนใด
ถึงแม้ไทยมีสิทธิ์ที่จะไม่รับคำตัดสินของศาลโลก แต่ไทยจะลาออกจากศาลโลกได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากสมาชิกสหประชาชาติเท่านั้น และกัมพูชามีสิทธิ์ฝ่ายเดียวที่จะยื่นเรื่องต่อศาลโลกอยู่แล้ว ดังนั้น ไทยจึงไม่มีทางเลือก ต้องเข้าไปชี้แจงต่อสู้คดี
ในการต่อสู้คดี ไทยขอให้ศาลจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาออกจากสารบบความของศาล แต่ศาลยกคำขอ
ศาลวินิจฉัยตีความพื้นที่บริเวณปราสาทโดยอ้างสภาพภูมิประเทศ สรุปไว้ใน pubilclaw.net ว่า
“98. จากการให้เหตุผลในคำพิพากษา ค.ศ. 1962 ซึ่งเห็นได้ในการพิจารณาในการให้การในกระบวนพิจารณาเดิม เห็นได้ชัดว่า
ขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหารทางทิศใต้ของเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 ประกอบด้วยลักษณะทางธรรมชาติ
ทางทิศตะวันออก ใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ชะง่อนผาลดต่ำลงเป็นหน้าผาที่ลาดชันไปยังที่ราบของกัมพูชา คู่กรณีได้เห็นพ้องกันใน ค.ศ. 1962 ว่าหน้าผานี้และพื้นดินที่ตีนของหน้าผาอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาในทุกกรณี
ทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นดินลดต่ำลงเป็นที่ลาดเอียงซึ่งลาดชันน้อยกว่าหน้าผา ไปยังหุบเขาซึ่งแยกพระวิหารออกจากภูมะเขือ (the hill of Phnom Trap) ที่อยู่ใกล้เคียง แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นหุบเขาซึ่งตัวมันเองลดต่ำลงไปในทิศใต้สู่พื้นที่ราบของกัมพูชา (ดูวรรค 89 ข้างบน) สำหรับเหตุผลที่ได้ให้ไว้แล้ว (ดูวรรค 92-97 ข้างบน)
ศาลเห็นว่าภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่พิพาท และคำพิพากษา ค.ศ. 1962 ไม่ได้หยิบยกคำถามว่ามันอยู่ในอาณาเขตของไทยหรือกัมพูชา ดังนั้นศาลเห็นว่าชะง่อนผาพระวิหารสิ้นสุดลงที่ตีนภูมะเขือ ซึ่งพูดได้ว่า ที่ซึ่งพื้นดินเริ่มสูงขึ้นจากหุบเขา
ในทิศเหนือ ขอบเขตของชะง่อนผาเป็นตามเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 จากจุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทที่ซึ่งเส้นนั้นจดหน้าผา ไปยังจุดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ซึ่งพื้นดินเริ่มสูงขึ้นจากหุบเขาที่ตีนภูมะเขือ
ศาลเห็นว่าวรรคที่สองของบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ค.ศ. 1962 กำหนดให้ประเทศไทยถอนจากอาณาเขตทั้งหมดของชะง่อนผาพระวิหารดังที่ได้กำหนดไปยังอาณาเขตของไทย บรรดาเจ้าหน้าที่ของไทยซึ่งได้ประจำอยู่ที่ชะง่อนผานั้น”
และคำวินิจฉัยของศาลส่วนหนึ่งระบุว่า
“สำหรับวรรคที่สองของบทปฏิบัติการกำหนดให้ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ซึ่งได้ส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา
ดังนั้นศาลเห็นว่าต้องเริ่มโดยการตรวจสอบหลักฐานต่อศาลในปี 2505 เกี่ยวกับตำแหน่งที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยประจำการอยู่
จากหลักฐานที่ให้โดยแอคเคอร์แมนน์ (Ackermann) ผู้เชี่ยวชาญและพยานของไทยซึ่งเคยไปยังปราสาทพระวิหารเป็นเวลาหลายวันในเดือนกรกฎาคม 2504
เขาได้ให้การว่า ระหว่างการไปที่นั้น ที่ชะง่อนผาพระวิหารเขาได้เห็นตำรวจตระเวนชายแดนและผู้เฝ้าปราสาทหนึ่งคน โดยตำรวจตระเวนชายแดนประจำการอยู่ที่ค่ายพักซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท ในขณะที่ผู้เฝ้าปราสาทอาศัยอยู่ในบ้านแยกกันในระยะทางสั้นๆ ไปทางตะวันตกของค่ายพักตำรวจตระเวนชายแดน
ทนายของไทยได้ยืนยันต่อมาว่าค่ายพักตำรวจอยู่ทางทิศใต้ของเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อยู่เหนือเส้นซึ่งกัมพูชากล่าวว่าเป็นเส้นสันปันน้ำในกระบวนการพิจารณาคดีปี 2505
ดังนั้น จึงปรากฏชัดเจนว่าตำรวจไทยได้ไปประจำการที่ตำแหน่งเหนือเส้นที่ต่อมาได้ถูกกำหนดโดยมติ ครม. ไทยเมื่อปี 2505 ซึ่งอยู่นอกเขตที่ไทยเห็นว่าเป็นบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนอาณาเขตของกัมพูชา
*ดังนั้น บริเวณใกล้เคียงปราสาทบนอาณาเขตของกัมพูชาต้องถึงตีความออกไปอย่างน้อยไปยังพื้นที่ที่ตำรวจไทยได้ประจำการอยู่ในเวลานั้น*” รูป 8

🧐 ผมอธิบายแบบชาวบ้านว่า ในการปฎิบัติตามเงื่อนไขที่สองนั้น ถึงแม้มติ ครม. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 กำหนดขอบเขตพื้นที่แค่เพียงตัวอาคารปราสาท
แต่สำหรับทิศเหนือ รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่ได้ขยับเขยื้อนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำเข้าไปอยู่ประชิดปราสาท กลับตั้งมั่นอยู่ในตำแหน่งที่ไกลเกินกว่าขอบเขตที่ ครม. กำหนด
ดังนั้น ผมเห็นว่า ข้อเท็จจริงนี้จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่ศาลตีความให้พื้นที่บริเวณของปราสาทกว้างออกไปจนถึงจุดตำแหน่ง ที่ตั้งของตำรวจไทยประจำการอยู่ในเวลานั้น
สรุปแล้ว ปัจจัยส่วนหนึ่งที่เสียดินแดนครั้งที่สอง น่าจะเพราะไทยไม่ได้เตรียมการเผื่อไว้ว่า ในอนาคตอันไกลอาจจะมีการฟ้องกันในเรื่องพื้นที่บริเวณใกล้เคียงของปราสาทเป็นครั้งที่สอง
🧐 ผมจึงเห็นว่า ถ้ารัฐบาลของท่านนายกเศรษฐาไม่ประท้วงเรื่องสันเขื่อน ในอนาคตก็จะเข้าหลัก นิ่งเฉยเป็นการยอมรับ
และกรณีถ้าหากในอนาคตมีการวาดเส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศตามกติกาสหประชาชาติปี 1982 กัมพูชาก็อาจจะได้ดินแดนในทะเลเพิ่มเนื่องจากสันเขื่อนดังกล่าว
รัฐบาลปัจจุบันต้องเตรียมรับมือทุกประเด็น เสมือนหนึ่งในอนาคตจะเกิดการฟ้องร้องกันอย่างแน่นอน
คนไทยต้องช่วยกันเตือนรัฐบาลให้ระแวดระวัง ไม่ให้ประเทศต้องเสี่ยงจะเสียดินแดนอีกในรัชสมัยล้นเกล้า ร.10
วันที่ 6 เมษายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 8 เมษายน 2567

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (1)

,

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (1)

😳 เรื่องพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างไทยกับกัมพูชา มีหลายประเด็นที่ควรเตือนรัฐบาลเพื่อระวังไม่ให้ไทยต้องเสียดินแดนในทะเล
พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ สว.ได้อภิปรายนำเสนอแง่มุมสำคัญในเรื่องนี้ แต่น่าเสียดายที่สื่อมวลชนและประชาชนชาวไทยยังให้ความสนใจน้อย
ผมจึงขอนำมาขยายความ ดังนี้


รูป 1 ท่านแจ้งว่า ถ้าคนไทยยืนที่หลักเขตเลขที่ 73 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตแดนบนบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ล่าสุดจะเห็นมีสิ่งก่อสร้างยื่นยาวลงไปในทะเล (ลูกศรสีแดง)


รูป 2 สิ่งก่อสร้างดังกล่าวยื่นออกไปจากชายฝั่งของกัมพูชา รูปนี้มองจากฝั่งไทยจะเห็นว่ามีลักษณะเป็นสันเขื่อน
⛵️ ทั้งนี้ ถ้าสร้างสันเขื่อนเพื่อกันคลื่นไม่ให้กระทบชายฝั่ง โดยปกติแนวของสันเขื่อนจะต้องวางขนานกับชายฝั่ง
แต่สันเขื่อนนี้วางแนวจากชายฝั่งมุ่งออกไปยังทะเลอ่าวไทย จึงย่อมไม่ค่อยจะมีประสิทธิผลในการป้องกันชายฝั่ง


รูป 3 ด้านซ้ายมือ เป็นแผนที่ที่แสดงตำแหน่งหลักเขตเลขที่ 73 โดยขยายแผนที่ในสี่เหลี่ยมแดงไปเป็นรูปด้านขวามือ
จะเห็นได้ว่า แนวสันเขื่อนยื่นตั้งฉากออกไปจากชายฝั่ง


🔬 รูป 4 ผู้อ่านสามารถดูแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมใน Google maps ได้เอง จะเห็นได้ว่าเขื่อนนี้ตั้งอยู่แทบจะติดกับด่านพรมแดนคลองใหญ่ของไทย
🫡 ถามว่า ทำไมพลเรือเอก พัลลภ จึงเอาภาพนี้ออกมาเตือนแก่รัฐบาลท่านนายกเศรษฐา?
🧐 ตอบว่า เพราะเสี่ยงจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนทางทะเลไปให้แก่กัมพูชา


รูป 5 พลเรือเอก พัลลภ เปิดเผยว่า ต้นตอของปัญหาอยู่ที่กติกาเขตทะเลของสหประชาชาติปี 1982 ข้อ 11 ซึ่งระบุว่า
สิ่งก่อสร้างถาวรตอนนอกสุดของเขตท่า ซึ่งประกอบเป็นส่วนอันแยกออกมิได้ของระบบการท่านั้น ให้ถือว่าประกอบเป็นส่วนของฝั่งทะเล
อธิบายแบบง่ายก็คือ การมีสันเขื่อนนี้จะทำให้กัมพูชาสามารถอ้างเขตทะเลได้กว้างขึ้น
🫡 ถามว่า ไทยและกัมพูชาประกาศเขตทะเลอย่างไร?


🧐 ตอบว่า ในรูป 6
-ไทยประกาศตามเส้นสีน้ำเงิน โดยยึดตามหลักกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ. 1958 ซึ่งกำหนดให้ใช้เส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศ ที่ลากออกมาจากจุดเส้นแบ่งเขตบนชายฝั่งออกไปยังทะเล
-กัมพูชาประกาศตามเส้นสีแดงที่พาดผ่านเกาะกูด โดยอ้างว่ายึดตามหลักฐานประวัติศาสตร์ในเอกสารที่แนบอยู่ในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1907
แต่เส้นสีแดงนี้ผิดอย่างชัดเจน เพราะข้อความในเอกสารแนบดังกล่าวประกอบแผนที่สังเขปที่แนบนั้นมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้งเพื่อกำหนดจุดเส้นแบ่งเขตบนชายฝั่งเท่านั้น มิใช่เพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตในทะเล
ดังนั้น ในอนาคตถ้ารัฐบาลกัมพูชาจะทำให้ประชาชนชาวไทยยอมรับเส้นแบ่งเขตในทะเล กัมพูชาจะต้องยกเลิกเส้นสีแดง และจัดทำเส้นขึ้นใหม่
ทั้งนี้ ภายหลัง ค.ศ. 1958 หลักกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ได้มีการเพิ่มฉบับ ค.ศ. 1982 ข้อ 11 อันจะทำให้ถ้าหากมีการลากเส้นแบ่งเขตใหม่ตามกติกาใหม่ดังกล่าว องศาจะเบี่ยงเข้าไปในอ่าวไทย
อันนี้จะทำให้ไทยเสียเขตแดนในทะเล!

🫡 ถามว่า รัฐบาลไทยควรปฏิบัติอย่างไร?
🧐 ตอบว่า ขอแนะนำให้รัฐบาลของท่านนายกเศรษฐามีหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชาทันที โดยเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาทำลายสันเขื่อน พร้อมแจ้งว่ารัฐบาลไทยจะไม่ยอมรับเส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศตามกติกาสหประชาชาติกรณีที่จะถูกเบี่ยงเบนไปเนื่องจากสันเขื่อนดังกล่าว
ผมขอย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ประเทศไทยที่เสียพื้นที่บนบกไปให้แก่กัมพูชาในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ก็สืบเนื่องจากปัญหาทำนองนี้ (ซึ่งจะบรรยายในบทความต่อไป)
คนไทยทุกคนในรัชสมัยรัชกาลที่ 10 จึงจะต้องยึดบทเรียนประวัติศาสตร์ร่วมกันปกป้องมิให้มีการเสียพื้นที่ในทะเล
วันที่ 5 เมษายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 8 เมษายน 2567