โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวประชาสัมพันธ์

“อดีต รมว.คลัง” หนุน “ปุ๋ยคนละครึ่ง” หวังลดต้นทุน เพิ่มรายได้เกษตรกร

,

“อดีต รมว.คลัง” หนุน “ปุ๋ยคนละครึ่ง” หวังลดต้นทุน เพิ่มรายได้เกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ( 11 ก.ค.67 ) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์กับ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง โดยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ดังกล่าว มาจาก เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่บอกว่านโยบายมีความไม่ชัดเจน และ เหมือนเป็นการโยนหินถามทาง

นอกจากนี้ นายธีระชัย ยังมองว่า โครงการดังกล่าว ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ไม่มีการล็อคสเป็กปุ๋ย เพื่อเอื้อให้กลุ่มนายทุน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกบริษัทเข้าร่วมโครงการ โดยลงทะเบียนผ่านกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย เป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรประเภทข้าว และ การคัดเลือกปุ๋ย อีกทางหนึ่ง จะดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส .)

ส่วนเมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว จะได้รับการช่วยเหลือด้านใดบ้างนั้น นายธีระชัย กล่าวว่า  ตนในฐานะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เห็นว่านโยบายนี้ มาจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เท่าที่ตน ทราบข้อมูลมา อย่างแรก คือ ช่วยลดต้นทุนของเกษตร พอต้นทุนลดลง ขายได้ในราคาตลาด กำไรของเกษตรกร ก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าการเกษตร เราจะไม่ปรับราคาให้สูงขึ้น คงไว้ที่ตามราคาตลาด

นายธีระชัย กล่าวต่ออีกว่า นโยบายปุ๋ยคนละครึ่ง จะไม่ซ้ำรอยกับ โครงการรับจำนำข้าว เพราะ โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ไม่มีการเวียนคืน ไม่มีการเก็บรักษา ไม่เหมือนกับโครงการจำนำข้าว ไม่มีความเสี่ยงในการทุจริต เพราะ ไม่เกิดการหมุนเวียนสินค้าเกษตร จึงไม่มีโอกาสเกิดการทุจริตในโครงการดังกล่าว

ตนไม่ขอพูดถึงโครงการอื่นของรัฐบาล ขอพูดแค่โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ที่ตนประเมินแล้ว โครงการนี้ เป็นโครงการที่ดี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกระทรวงที่เริ่มความคิด ซึ่งในวันที่ 15 ก.ค.นี้ จะเริ่มเปิดให้เกษตรกรลงทะเบียนผ่านทาง ธ.ก.ส. ส่วนในแง่ของการส่งออกสินค้าเกษตร ยอมรับว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง คงไม่ได้ช่วยกระตุ้นในเรื่องนี้ได้มากขนาดนั้น เพราะ ในแง่ของราคาตลาดโลก หรือ ตลาดภายในประเทศ เราไปแทรกแซงไม่ได้” นายธีระชัย ระบุ

นายธีระชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรต่ำ ก็จะสามารถมีกำไรเพิ่มขึ้น สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ตนยืนยันได้ว่า จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.kaohoon.com/news/685043

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน

,

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน… คือ

1. ให้พิจารณาสิทธิชาวบ้านในการถือครองที่ดินซับซ้อน ส.ป.ก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมือง ถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน
2. ให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยมาดั้งเดิมกว่า 40 ปี เพื่อรับสิทธิที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพื่อจะกันพื้นที่ให้ชัดเจนลดความคัดแย้งที่มีมายาวนาน
3. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จะไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไป เพราะต้องรักษาผืนป่าไว้ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

บทสรุปคือ… พื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นที่เป็นชุมชนดั้งเดิม พื้นที่จะไม่ถึงกว่า 2.6 แสนไร่…. !!

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

ไพบูลย์ ยันจุดยืน พปชร. ปกป้องสถาบัน บิ๊กป้อม ไม่เอาคดี 112 มารวมนิรโทษ

ไพบูลย์ ยันจุดยืน พปชร. ปกป้องสถาบัน บิ๊กป้อม ไม่เอาคดี 112 มารวมนิรโทษ

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงจุดยืนของพรรค พปชร.ในการพิจารณาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะรวมมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ว่า จุดยืนของพรรค พปชร.ภายใต้การนำของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค คือไม่เห็นด้วยที่จะแก้ไขมาตรา 112 และไม่สนับสนุนให้มีการนำมาตรา 112 มาอยู่ในการนิรโทษกรรม เพราะหลักการที่สำคัญที่สุดของพรรคและ พล.อ.ประวิตร คือ การปกป้องสถาบัน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ที่มา: https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/kEMLlYJ?utm_source=lineshare
วันที่: 31 พฤษภาคม 2567

“สันติ รมช.สธ.” เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ คสช.มุ่งยกระดับสุขภาพปชช. ระดมสมองแก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย-ยาเสพติดระบาดในเยาวชนเสนอรัฐบาล

,

“สันติ รมช.สธ.” เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ คสช.มุ่งยกระดับสุขภาพปชช.
ระดมสมองแก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย-ยาเสพติดระบาดในเยาวชนเสนอรัฐบาล

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป้าหมาย ทิศทาง หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อระดมความเห็น ด้านส่งเสริมหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะมุ่งขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกัน นำไปสู่การสร้าง “สุขภาพ” หรือ “สุขภาวะ” ของประชาชน ที่ห้องประชุม Sapphire 2 – 3 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ทั้งนี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้มีส่วนทำให้ประชาชน เข้าใจและสามารถวางแผนด้านสุขภาพมากขึ้นและยังคงผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านสุขภาพจิตของประชาชนที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะครอบครัวใหม่ๆกังวลเรื่องการมีบุตร ทำให้ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชาชนต่ำกว่าเป้าหมายหรืออยู่ในขั้นวิกฤต โดยประเทศไทยมีประชากร 66-67 ล้านคน ต้องมีอัตราการเกิดปีละกว่า 8 แสนคน แต่ที่ผ่านมา มีการเกิดกว่า 400,000 คน ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตด้านแรงงานที่จะหายไปกว่าครึ่ง และจากการลงพื้นที่พบประชาชนในชนบทและชุมชนเมืองพบว่า ครอบครัวใหม่ๆ มีความกังวลในการมีบุตร เนื่องจากขาดศักยภาพในการเลี้ยงดู และพร้อมมีบุตรเมื่อครอบครัวมีฐานะมั่นคงขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้ร่วมกันระดมความคิดในการวางแนวทางการส่งเสริมการมีบุตรมากขึ้น เพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวไปยังรัฐบาลต่อไป

“จากการลงไปเยี่ยมสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมแต่ละแห่งพบว่า มีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในทุกรูปแบบต่างๆเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเด็ก และเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายมากกว่า 3 ล้านคน และส่วนที่เข้ามาไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีอีกกว่า 2 ล้านคน โดยรวมแล้วมีถึง 6 ล้านคน แต่ละวันจ่ายค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ใน 1 ปี ต้องจ่ายเงินจ้างแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเกินกว่า 7 แสนล้านบาท ดังนั้นเงินที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ หากนำมาใช้ในการเพิ่มจำนวนประชากรก็จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ในอนาคต สิ่งเหล่านี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะเข้ามามีบทบาทในการเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลสนใจเรื่องเหล่านี้” นายสันติ กล่าว

สำหรับประเด็นของปัญหาเรื่องยาเสพติด ที่มีผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน และกระทบเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น ยาบ้า 1 เม็ด 5 เม็ด หรือ 10 เม็ด ในอดีตเป็นสิ่งที่ทำลายพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งจากการลงพื้นที่ไปยังชุมชนเมืองและชุมชนต่างจังหวัด บรรดาลูกหลานจำนวนมากเป็นทั้งผู้ค้าและผู้เสพ การปราบปรามของกระบวนการยุติธรรมยังไม่รัดกุม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของวัยที่ใช้แรงงาน ก่อให้เกิดวิกฤตด้านการเรียนรู้ เนื่องจากไปทำลายระบบประสาทไม่สามารถพัฒนาด้านการเรียนรู้ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ได้ ส่งผลต่อสุขภาพครัวเรือน และสุขภาพจิตของพี่น้องประชาชนอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 พฤษภาคม 2567

“พัชรวาท” ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายจากเรือล่ม พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อำนวยความสะดวก – ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

,

“พัชรวาท” ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายจากเรือล่ม พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อำนวยความสะดวก – ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีที่เกิดอุบัติเรือท่องเที่ยวจมเนื่องจากคลื่นลมแรงในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมบูรณาการการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่ประสบภัย ตลอดจนนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวตามจุดต่างๆ ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งขอให้รับฟังข่าวสารการประกาศแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

“สำหรับการค้นหานักท่องเที่ยว 2 รายที่ยังสูญหายนั้น ก็ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานและขอให้ปฏิบัติการสำเร็จพบตัวผู้สูญหายโดยเร็วและปลอดภัยทุกคน”

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานยอดดอย ถือเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสอากาศหนาวกันเป็นจำนวนมาก ก็อยากขอให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ช่วยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว ให้ได้ท่องเที่ยวกันอย่างมีความสุข รวมถึงเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าในช่วงอากาศแห้งแล้งนี้ด้วย ทั้งนี้มีรายงานว่า เกิดปรากฎการณ์น้ำค้างแข็งหรือ “เหมยขาบ” บริเวณลานจอดรถหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ อน.5 (ยอดดอย) ซึ่งนับเป็นการเกิดเหมยขาบครั้งที่ 6 ของฤดูกาลนี้ ขณะเดียวกันสภาพอากาศบริเวณยอด “ดอยอินทนนท์” มีอุณหภูมิต่ำสุด 6 องศาเซลเซียส ที่จุดชมวิว “กิ่วแม่ปาน” อุณหภูมิที่วัดต่ำสุด อยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุณภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 7 องศาเซลเซียส ก็ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยไปท่องเที่ยวสัมผัสอากาศหนาวเย็นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศเราด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าอ.จอมบึง จ.ราชบุรี สส.พปชร ร่วมดึงปชช.อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าอ.จอมบึง จ.ราชบุรี
สส.พปชร ร่วมดึงปชช.อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

24 ธค 2566 นายอรรถกร ศิริลัทยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และผู้บริหารระกับสูงของกระทรวง ได้ร่วมเปิดงานงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2566ด้วยแนวคิด “Save wildlife for your life : รักษาธรรมชาติ ไม่ซื้อ ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย” พื้นที่ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 เขาประทับช้าง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โดยมี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เขต2 นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ เขต 3 นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ เขต 5 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จ.ราชบุรี ทั้ง3 เขต ให้การต้อนรับ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ ในการรณรงค์ให้ประชาชน ร่วมดูแลรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ยังเป็นพื้นที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ พร้อมกับการรณรงค์และป้องปราบ ปราบปราม ผู้กระทำผิด เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ เนื่องพันธ์สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และ ความเป็นอยู่ของประชาชน

“ความสำเร็จในการอนุรักษ์สัตว์ป่า จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการดูแลและคุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การป้องกันสัตว์ป่ามิให้ถูกล่าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์ให้หยุดการซื้อ-ขายสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ พปชร.โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ต่อการสร้างระบบนิเวศที่ต้องให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อต่อยอดพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ“

นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ขับเคลื่อนให้เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่กระทรวงทรัพย์จะดำเนินการปราบปรามทั่วประเทศ โดยเฉพาะการลักลอบฆ่าสัตว์ป่า หรือสัตว์สงวนที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันดำเนินในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อร่วมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของไทยให้คงอยู่ และมีความยั่งยืน ขณะเดียวกันการที่ผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะมีส่วนสำคัญต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะมีส่วนช่วยลดโลกร้อน และจะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ มุ่งเป้าหมายไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธ์เป็นศูนย์ ตามเป้าหมายของไทย ที่กำหนดไว้ใน ปี 2593

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 ธันวาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เผย คกก.แก้มลพิษฯ เห็นชอบเสนอ ครม.ของบฯกลาง 67 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ พร้อมตั้งงบฯแผนงานยุทธศาสตร์ฯ ปี 68 เพื่อบูรณาแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน ลั่นฝุ่นพิษ – จุดความร้อนต้องลดลง พร้อมเห็นชอบ “ชัชชาติ” นั่ง ผอ.ศูนย์ฯ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กทม.

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เผย คกก.แก้มลพิษฯ เห็นชอบเสนอ ครม.ของบฯกลาง 67 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ พร้อมตั้งงบฯแผนงานยุทธศาสตร์ฯ ปี 68 เพื่อบูรณาแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน ลั่นฝุ่นพิษ – จุดความร้อนต้องลดลง พร้อมเห็นชอบ “ชัชชาติ” นั่ง ผอ.ศูนย์ฯ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กทม.

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 2/2566 มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมการ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เมื่อเข้าสู่การประชุม น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานวาระการประชุม ให้ที่ประชุมรับทราบ

ภายหลังการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการขอรับการจัดสรรงบกลางในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง จำนวน 10 โครงการ เพื่อของบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2567 อาทิ โครงการสนับสนุนการดับไฟป่าโดยใช้อากาศยานปีกหมุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างเป็นระบบโดยศูนย์ปฎิบัติการดับไฟป่า โดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์การป้องกันผลกระทบสุขภาพจากปัญหามลพิษทางอากาศ กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โครงการจัดหาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ แบบครบวงจร โดย กรมควบคุมมลพิษ โครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ กรมป่าไม้ โครงการปฎิบัติภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยศูนย์ปฎิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ

ขณะเดียวกันยังมีการจัดตั้งงบประมาณ “แผนงานยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5” ในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกในการบูรณาการบริหารจัดการแก้ไข ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ต้องลดลงและจำนวนจุดความร้อนต้องลดลง ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้สำนักงบประมาณเพิ่มเติม “แผนงานยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5” ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศกรุงเทพมหานคร โดยมี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่จัดตั้งไว้แล้วใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 5 จังหวัดในปริมณฑล เพราะพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่สำคัญของประเทศที่ประสบวิกฤตฝุ่น PM2.5 และได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเชื่อมโยงศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PHEOC) กับศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศฯ เพื่อให้มีการบูรณาการและสื่อสารข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกมิติทั้งในการการแก้ไขปัญหาฝุ่นและด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 ธันวาคม 2566

‘รมว.ธรรมนัส’ โชว์ผลงาน “เกษตรฯ 99 วันทำได้จริง! 6 โนบาย รุกช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ ใช้‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม หารายได้’ ยกระดับราคายาพารา ข้าว ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย

,

‘รมว.ธรรมนัส’ โชว์ผลงาน “เกษตรฯ 99 วันทำได้จริง! 6 โนบาย รุกช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ ใช้‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม หารายได้’ ยกระดับราคายาพารา ข้าว ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากนโยบายของ รัฐบาลด้านการเกษตร โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งกำหนดแนวทาง “ตลาด นำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของ รัฐบาลให้บรรลุเป้าหมาย โดยกำหนดนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างครอบคลุม ทั้งนโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเน้นโครงการพระราชดำริ นโยบายระยะสั้น ในการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนนโยบายระยะกลาง และ ระยะยาว เพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้าง คุณภาพชีวิต โดยมีผลการดำเนินงานในโครงการสำคัญ ระยะเวลา 99 วัน (ตั้งแต่ 1 กันยายน – 8 ธันวาคม 2566) ดังนี้

นโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริ ในโครงการจัดงานมหกรรมเพื่อเฉลิม พระเกียรติฯ และจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน ประชาชนได้รับความรู้ ไม่น้อยกว่า 3,000 ราย ดำเนินการเผย แพร่ แนวพระราชดำริและสร้างความตระหนักเรื่องดิน ผ่านกิจกรรม วันดินโลก ผู้ร่วมงานทั้ง Onsite และ Online ประมาณ 118,594 ราย จัดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารแล้ว 11 จังหวัด เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าใช้บริการไม่น้อยกว่า 1,100 ราย (เป้าหมายทั้งปี 77 จังหวัด 7,700 ราย) พร้อมจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ถวายเป็นพระราชกุศล 13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” จำนวน 700,000 ตัว ตลอดจนดำเนินโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อ เกษตรกร ตามพระราชดำริ (ธคก.) เกษตรกรได้รับการสนับสนุน โค-กระบือ จำนวน 2,120 ราย รวมโค- กระบือ จำนวน 2,368 ตัว คิดเป็นมูลค่า 66,348,000 บาท เกษตรกรได้รับมอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือ จำนวน 2,634 ราย โค-กระบือ จำนวน 3,517 ตัว คิดเป็นมูลค่า 71,928,850 บาท

2. นโยบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เร่งเตรียมมาตรการรองรับภัยพิบัติ โรคระบาดพืช และสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดการน้ำในช่วงวิกฤติภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ 40,387 ล้านลูกบาศก์เมตร วางแผน จัดสรรน้ำฤดูแล้ง 21,810 ล้านลูกบาศก์เมตร (อุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ เกษตรฤดูแล้ง อุตสาหกรรม) พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง 5.8 ล้านไร่ สำรองน้ำต้นฤดูฝน 18,577 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่ม ปริมาณฝนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร กระจายน้ำจากแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ได้ดำเนินการ ร่วมกับชุมชนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกษตรกรพื้นที่สูงได้รับประโยชน์ 5,350 ราย พื้นที่ 8,142 ไร่ อำนวยการรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดย ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร จำนวน 4,539 ราย จำนวนเงินช่วยเหลือ 25.630 ล้านบาท ตลอดจนให้การสนับสนุนเสบียงสัตว์ หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย จำนวน 675,820 กิโลกรัม เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือ 6,675 ราย และสนับสนุนอาหาร สัตว์ช่วยเหลือทั่วไป จำนวน 49,440 กิโลกรัม แก่เกษตรกร 949 ราย

ประกาศปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อน ดำเนินการตรวจสอบห้องเย็นทั่วประเทศ โดยบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งหมด 107 จุด ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด จันทบุรี ระยอง ระนอง กาญจนบุรี และสมุทรปราการ สำหรับการตรวจสอบห้องเย็นด้านปศุสัตว์ 2,437 แห่ง และด้านประมง 2,062 แห่ง มีการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการ จำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 จำนวน 159 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 4,573.25 ตัน มูลค่าของกลาง 472.29 ล้านบาท

แบ่งเป็น (1) สินค้าปศุสัตว์ลักลอบนำเข้า 18 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 1,151.05 ตัน มูลค่าของ กลาง 159.11 ล้านบาท (2) การกระทำผิดกฎหมายภายในประเทศ 141 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 3,422.20 ตัน มูลค่าของกลาง 313.18 ล้านบาท ปราบปรามปัจจัยผลิตทางการเกษตรผิดกฎหมาย มูลค่า กว่า 34 ล้านบาท อาทิ ด่านท่าเรือกรุงเทพฯ การลักลอบนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิด กฎหมาย จำนวน 208,000 ลิตร มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท จ.กาญจนบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและอายัดปุ๋ยผิดกฎหมาย (ปุ๋ยอินทรีย์ (ยางพารา) และปุ๋ยเคมี) จำนวน 614.75 ตัน มูลค่ากว่า 9 ล้านบาท และ จ.เชียงใหม่ จ.กาญจนบุรี และ กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบและอายัดวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิดกฎหมาย จำนวน 540.5 ลิตร และ 13.8 กิโลกรัม มูลค่า 554,300 บาท ปราบปรามยางพาราผิดกฎหมาย 99 วัน ทำทันที โดยอายัดยางพาราต้องสงสัยผ่านพรมแดน 104 ตัน มูลค่า 5 ล้านบาท โดยทีมเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยความมั่นคง ได้อายัดยางพาราที่ต้องสงสัยผ่านพรมแดน จ.กาญจนบุรี จำนวน 29 ตันมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท และ จ.ระนอง จำนวน 75 ตัน มูลค่ากว่า 3.75 ล้าน บาท ทำให้ราคายางพารา มีแนวโน้มสูงขึ้น สร้างความเชื่อมั่น และเสถียรภาพให้กับเกษตรกร ชาวสวนยาง

รวมทั้งจัดตั้งทีมเฉพาะกิจพญานาคราชเพื่อปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายและร่วมสนับสนุนภารกิจของ สารวัตรปศุสัตว์และสารวัตรประมง พร้อมจัดตั้งทีมสายลับยางจากเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ เกี่ยวข้องในพื้นที่ สอดส่องการลักลอบนำเข้ายางพาราผิดกฎหมาย

จัดตั้งสารวัตรเกษตรไซเบอร์ ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รับแจ้งเบาะแส และปราบปรามทางสื่อออนไลน์ การรวบรวมเอกสารเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความ ผิด รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรทำให้ได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ราคาสินค้า เกษตรเพิ่มขึ้น และลดปัญหาการนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย

สร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ จัดตั้งศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช 959 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อรับเรื่องราว ร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร เกษตรกรเข้ามาขอรับบริการจำนวน 2,566 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,798 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 462 เรื่อง ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการยกระดับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าพืช
ด้วยระบบ GAP โดยตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน GAP พืช ไม่น้อยกว่า 20,000 แปลง โครงการร้าน อาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q (Q Restaurant) โดยตรวจรับรองร้านอาหาร Q Restaurant 8 ร้าน ยกระดับร้านอาหารระดับพรีเมี่ยม 4 ร้าน

3. นโยบายสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต
การสร้างรายได้ภาคเกษตร ตามนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของรัฐบาล โดยมุ่งลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/2567 จำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงิน 34,437 ล้านบาท เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่ว ประเทศ ได้รับประโยชน์ 610,000 ราย โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบัน เกษตรกร ปี 2566/2567 วงเงิน 481.25 ล้านบาท สถาบันเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับรวบรวมข้าว เปลือกเพื่อจำหน่าย/แปรรูป 1 ล้านตันข้าวเปลือก สถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ 3.033 ล้านครัวเรือน โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพ ผลผลิตข้าว ปีการผลิต 2566/2567 เกษตรกรที่ขึ้น ทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4.68 ล้านครัวเรือน ได้รับการสนับสนุนไร่ละ 1,000 บาท/ครัวเรือน ครัว เรือนละไม่เกิน 20 ไร่

นอกจากนี้ ได้ผลักดันไหมอุตสาหกรรมรังเหลืองในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา สนับสนุนปัจจัยการผลิต 200 ราย เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาท/เดือน รวมทั้งส่ง เสริมให้เกษตรกรในพื้นที่แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นำนวัตกรรมมาใช้ในการปลูกถั่วเหลือง ทำให้ผลผลิตเพิ่ม จากเดิม 395 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 492 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้น 2,500 บาท/ไร่ ตลอดจนแก้ไข ปัญหาประมง โดยปรับปรุง แก้ไข และออกใหม่กฎหมายฉบับรอง 18 ฉบับ ทำให้การบังคับกฎหมาย สอดคล้องกับบริบทการทำประมงและลดภาระให้กับชาวประมง ตลอดจนเพิ่มวันทำการประมงเพื่อเปิดโอกาส ให้เกษตรกรสร้างรายได้เพิ่มการสร้างและขยายโอกาส

บริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกร โดยประกาศใช้ ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2 ฉบับ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เพื่อยกระดับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร และมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 9,820 ราย 11,060 แปลง เนื้อที่จำนวน 107,284 ไร่

สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย รมว.กษ. กับผู้แทนระดับรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต และผู้นำภาครัฐและเอกชนของประเทศญี่ปุ่น จีน นอร์เวย์ มาเลเซีย และผู้แทน FAOการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สนับสนุนการขายคาร์บอนเครดิต และลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และบำบัดน้ำเสียเพื่อกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำ เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำผักตบชวาหมักด้วยสารเร่ง พด.1 รวม 34,744 ตัน คิดเป็นมูลค่า 104.23 ล้านบาท ส่งเสริมการทำคาร์บอนเครดิต ในสวนยาง นำร่อง 45,000 ไร่ ใน จ.จันทบุรี จ.เลย และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อขอยื่นรับรองมาตรฐาน T-VER

การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร เป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชน เจรจา 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มสมัชชาคนจน (สคจ.) 2) กลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) และกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรอีสาน (สพอ.) 3) กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และ 4) กลุ่มขบวนการ ประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด จำนวน 66 จังหวัด และดำเนินโครงการตรวจประเมินการควบคุมภายในเพื่อป้องกันความเสี่ยงการทุจริตด้านดิจิทัลใน สหกรณ์ เพื่อป้องปรามปัญหาการทุจริต ในสหกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สหกรณ์ภาคการเกษตรดำเนินการแล้ว 1,500 แห่ง

สำหรับงานสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการในระยะต่อไป จะยังคงมุ่งเน้นตามนโยบาย อย่างครอบคลุม อีกมากกว่า 30 โครงการ ประกอบด้วย นโยบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ เร่งเตรียม มาตรการรองรับภัยแล้งรวมถึงภัยพิบัติ ในโครงการประกันภัยภาคการเกษตร มุ่งสร้างรายได้ เสริมอาชีพ ระหว่างการพักหนี้ ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โครงการพัฒนาสมรรถนะและยก ระดับความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรและบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ ประโยชน์ และสนับสนุน BCG Economy Model ด้วยโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โครงการส่งเสริมการจัดตั้งและบริหารจัดการ วิสาหกิจเกษตรฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการศึกษา แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เกษตรชีวภาพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร ในโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สินค้าเกษตรนโยบายระยะกลาง และระยะยาว“สร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต” ได้แก่ การสร้างรายได้ภาคเกษตร มุ่งลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยดำเนินโครงการสร้างผู้ประกอบการ เพื่อให้บริการทางการเกษตรอัจฉริยะ โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (ASP) โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตร โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้าน ประมง โครงการศูนย์แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพสูง โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรเมืองร้อน มูลค่าสูง สู่ตลาดโลก รวมถึงส่งเสริมการบริหารจัดการแบบแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ ด้วยโครงการยก

ระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ โครงการ พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ โครงการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ในสถาบันเกษตรกร โครงการ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง

,

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง
นำเทคโนโลยีพัฒนาระบบ ยกระดับด้านความปลอดภัยลดการสูญเสียชีวิต-ทรัพย์สินบนท้องถนนทุกเส้นทาง

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2566 สมาคมเวชศาสตร์การจราจร หัวข้อ “ภาพใหม่เชิงระบบสู่งานเวชศาสตร์การจราจร เทคโนโลยี การจัดการ และเวชปฏิบัติ” (New Ecology of Traffic Medicine: Technology, Management & Clinical practice) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะงานเวชศาสตร์การจราจร ทั้งด้านเทคโนโลยียานยนต์และการขนส่ง รูปแบบการจัดการจราจรยุคใหม่ นวัตกรรมด้านความปลอดภัย วิทยาการทางการแพทย์ด้านการป้องกันและการรักษาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรของประเทศไทย โดยมี นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมเวชศาสตร์การจราจร กรรมการบริหารสมาคม คณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุและความปลอดภัยทางถนน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า เวชศาสตร์การจราจรเป็นวิทยาการทางการแพทย์เน้นการศึกษาวิเคราะห์ ระบบการป้องกันความเสี่ยงภัยจากความปลอดภัยทางการจราจรและการตรวจประเมินสมรรถนะทางร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการขับขี่ยานยนต์ ก่อนให้การรับรองทางการแพทย์หรือให้คำแนะนำ เพื่อการรักษาหรือป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแขนงความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่ท้าทายการพัฒนาให้เท่าทันกับยุคสมัยที่ระบบการจราจรมีปริมาณและความชับซ้อนมากขึ้น ตามความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม การมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การจราจรที่มีความรู้ความสามารถ และมีจำนวนที่เพียงพอทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการลดปัญหาการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจราจรได้

“การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร สร้างความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาของ TDRI ในปี 2562 พบว่า มีมูลค่าความสูญเสียรวม 642,743 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ GDP และในปีเดียวกันนี้ พบว่า มูลค่าความเสียหายต่อรายกรณีเสียชีวิต มีมูลค่าสูงได้ถึง 6.7ล้านบาทต่อราย และกรณีบาดเจ็บ 2 ล้านบาทต่อราย เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราการตายจากการจราจรทั้งโลกอยู่ที่ 15 ต่อแสนประชากร โดยประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจร 25 ต่อแสนประชากร สูงเป็นอันดับที่ 21 ของโลก แต่ถ้านับจากผู้เสียชีวิตที่มีจำนวน 18,218 คน จะอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งดีขึ้นกว่าสถานการณ์ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้”

“กระทรวงสาธารสุขเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจรปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของระบบการฝึกอบรม และการสนับสนุนให้มีจำนวนสถาบันฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น ครอบคลุมทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ หรือทุกหน่วยงาน ทั้งจราจรทางหลวง ทางด่วน ทางหลวงชนบท เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชน ให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและรวดเร็ว ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุน้อยลง”

นายสันติ กล่าวอีกว่า หากมีการอบรมบุคลากรในชนบท ทั้งตำรวจ ฝ่ายปกครอง ให้มีความพร้อมทางเวชศาสตร์การจราจรก็จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะแนวคิดที่งานเวชศาสตร์การจราจรกระจายตัวไปยังภูมิภาคต่าง ก็จะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้กับนักท่องเที่ยวได้ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุยังมีการเตรียมความพร้อม ความรวมเร็วในการรักษาชีวิตไว้ได้ เพราะการท่องเที่ยวต้องอาศัยการเดินทางเป็นหลัก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส. อัครแสนคีรี” จี้ รัฐ เปิดเผยต้นทุนนำเข้าก๊าซผลิตไฟฟ้า พร้อม ถาม เกษตร-คนหาเช้ากินค่ำ เป็นกลุ่มคนเปราะบางหรือไม่ หลัง ครม.เคาะตรึงราคาค่าไฟ

,

“สส. อัครแสนคีรี” จี้ รัฐ เปิดเผยต้นทุนนำเข้าก๊าซผลิตไฟฟ้า พร้อม ถาม เกษตร-คนหาเช้ากินค่ำ เป็นกลุ่มคนเปราะบางหรือไม่ หลัง ครม.เคาะตรึงราคาค่าไฟ

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าไฟหลายรอบ ซึ่งเคยขึ้นสูงสุดแตะที่ 4.78 บาท/หน่วย และล่าสุดทางคณะรัฐมนตรีได้ เรื่องค่าไฟไม่เกิน 4.20 บาท/หน่วย รวมถึงตรึงราคาค่าไฟสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ 3.99 บาท/หน่วย ตนมีข้อสงสัยและข้อเสนอแนะว่า เรื่องราคาก๊าซที่ประเทศไทยจัดหาที่มีบริษัท ปตท.จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อนำมาจำหน่ายให้โรงไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้ากว่า 55 % เป็นโรงไฟฟ้าประเภทก๊าซ ดังนั้น คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ได้สั่งให้ ปตท. ปรับลดค่าก๊าซธรรมชาติจากการผลิตไฟฟ้าจาก 323 บาท/หน่วย เหลือไม่เกิน 304 บาทต่อล้านบีทียู

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ดังนั้น จึงควรเปิดเผยรายละเอียดการนำเข้าต้นทุนก๊าซ เพื่อให้ประชาชนทราบว่ายังสามารถปรับลดค่าก๊าซได้อีกหรือไม่ และสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ ครม.ได้ตรึงค่าไฟนั้น อยากทราบว่ากลุ่มเกษตรกรและคนหาเช้ากินค่ำมีสิทธิ์หรือไม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

เปิดแล้ว เทศกาล “หนาวนี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติ” “พัชรวาท” เชิญชวนท่องเที่ยวอุทยานไทย กระตุ้นเศรษฐกิจ ผลักดันสร้างรายได้ แบบ Quick – Win หวังไตรมาสสุดท้าย ดึงยอด นทท.ต่างชาติ 28 ล้านคน โกยรายได้สู่ชุมชน

,

เปิดแล้ว เทศกาล “หนาวนี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติ” “พัชรวาท” เชิญชวนท่องเที่ยวอุทยานไทย กระตุ้นเศรษฐกิจ ผลักดันสร้างรายได้ แบบ Quick – Win หวังไตรมาสสุดท้าย ดึงยอด นทท.ต่างชาติ 28 ล้านคน โกยรายได้สู่ชุมชน

วันนี้ 15 ธันวาคม 2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดงานเทศกาล “หนาวนี้ เที่ยวอุทยานแห่งชาติ National Parks Winter Festival” บริเวณโถงห้องที่ 1 อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย โดยมีพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาเป็นประธานในพิธี ร่วมกับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และผู้บริหารของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ

พล.ต.อ.พัชรวาทกล่าวว่า การจัดงานหนาวนี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติ National Parks to Remember Winter Festival เพื่อเป็นการรองรับนโยบายของรัฐบาล ในการกระตุ้นเศรษฐกิจผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในระยะสั้น Quick – Win ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 ให้ได้ 28 ล้านคน ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้จัดเตรียมความพร้อมในเรื่องของสถานที่ ความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามแนววิถีใหม่ ภายใต้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืน”

นายอรรถพลกล่าวว่า อุทยานแห่งชาติมีคุณค่าความงดงามและความโดดเด่นของทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย จึงมีศักยภาพสูงสำหรับใช้เป็นฐานในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น เกิดการกระจายรายได้สู่ชนบท รวมถึงเศรษฐกิจต่อชุมชนท้องถิ่นและในระดับชาติ สำหรับงาน “หนาวนี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติ National Parks to Remember Winter Festival” มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทางภาคเหนือตอนบน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจด้านการท่องเที่ยวของ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สาธารณชนได้รับทราบ

สำหรับการจัดงานที่อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ส่วนหนึ่งเป็นการหวลรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 13 หมูป่าติดถ้ำ การเสียสละของจ่าแซมวีรบุรุษถ้ำหลวง อีกทั้งจังหวัดเชียงรายอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศไทย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน เป็นเมืองแห่งศิลปะ และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ภายในงานนอกจากจะมีพิธีระลึกถึงนาวาตรีสมาน กุนัน (จ่าแซม) นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร (ผู้ว่าฯ หมูป่า) และนายดวงเพชร พรหมเทพ (น้องดอม) ยังมีกิจกรรมเปิดการท่องเที่ยวถ้ำหลวง บริเวณโถงที่ 2 และ 3 การมอบเกียรติบัตรแก่ผู้นำเที่ยวท้องถิ่น การออกร้านค้า ร้านอาหาร และนิทรรศการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลต์ในช่วงฤดูหนาวนี้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ธันวาคม 2566

“สส. จำลอง”ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายถนนเส้นยุทธศาสตร์ เชื่อมอีสานใต้ไปอีสานเหนือ ให้กว้างขึ้น เพราะเป็นทางหลักขนอ้อย จนเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง

,

“สส. จำลอง”ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายถนนเส้นยุทธศาสตร์ เชื่อมอีสานใต้ไปอีสานเหนือ ให้กว้างขึ้น เพราะเป็นทางหลักขนอ้อย จนเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ถนนเส้น 2268 ซึ่งเป็นเส้นทางหลัก หรือเรียกว่าเป็นถนนยุทธศาสตร์ก็ได้ เพราะจะเชื่อมระหว่างอีสานใต้ไปยังอีสานเหนือ ถึงลุ่มแม่น้ำโขง ที่ผ่านมาได้รับการทะนุบำรุงถนน โดยการฉาบผิวใหม่ด้วยยางมะตอย จึงต้องขอขอบคุณ ผอ.แขวงการทาง แต่ยังมีประเด็นที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ก็คือ ควรต้องขยายถนนให้กว้างขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเป็นฤดูกาลตัดอ้อย ทำให้มีรถบรรทุกอ้อยจำนวนมากที่ต้องใช้เส้นทาง ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่บ่อยครั้ง จึงขอฝากให้เร่งดำเนินการด้วย

“ในเรื่องถนนยังมีถนนสายเชื่อมระหว่างตำบลหนองบัวตำบลหนองสรวง ยังไม่ได้รับการแก้ไข ถนนเชื่อมระหว่างตำบลโคกเครือ ตำบลดงมูล ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ายังไม่ได้รับการตอบรับจากกรมส่งเสริม”นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อถึงระบบการจัดสรรน้ำ ของกรมชลประทาน ในลุ่มเขื่อนลำปาวที่ท่วมที่ดินที่พี่น้องประชาชนได้เช่าไว้ โดยในตอนแรกที่ทำสัญญาเช่าระหว่างพี่น้องประชาชนกับธนารักษ์มีการระบุว่า ถ้าเกิดมีการกักเก็บน้ำเกินอัตราจนเกิดน้ำท่วมก็ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย จึงขอฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 ธันวาคม 2566