โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส บุญยิ่ง นิติกาญจนา

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

,

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 และนายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ร่วมเสวนา เรื่อง “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมสุพจน์ มิเถาวัลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย สส.ทั้งสองท่านได้ร่วมกันเล่าถึงประวัติความเป็นมา บทบาทหน้าที่การทำงานทางการเมือง การทำงานในคณะกรรมาธิการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความเดือดร้อนของประชาชนไปสู่การแก้ไข

ด้านนางบุญยิ่ง ได้ร่วมกันอภิปรายถึงแนวคิดการมีส่วนทางการเมืองในมุมมองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักวิชาการว่า ถึงแม้ประชาชนทั่วไปจะไม่ได้มีบทบาทเป็นนักการเมือง แต่ก็สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยการใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ ประกอบกับติดตามสถานการณ์ทางสังคม หรือปัญหาในพื้นที่ของตนเอง และดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

ส่วนมุมมองของนักวิชาการ นางบุญยิ่ง มองว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พลเมืองสามารถรับข้อมูลข่าวสารแทบจะทันที แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาให้ตกผลึกเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรสร้างความตะหนักรู้ให้กับพลเมืองในการเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้ตั้งคำถามแลกเปลี่ยนในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ปัญหาในพื้นที่ ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่เยาวชนให้ความสนใจ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กรกฎาคม 2567

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

,

“สส.บุญยิ่ง” ขอ กระทรวงศึกษาฯ เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ผลิตเยาวชนคุณภาพ ชี้ นโยบายยกเลิก- ยุบโรงเรียน ควรดูข้อมูลเป็นราย ๆ พร้อมคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ช่วงที่ผ่านมาถึงตนได้ลงพื้นที่และพบปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา
ในกลุ่มเยาวชนพื้นที่ห่างไกลในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดน เนื่องจากปัจจุบันนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีการยุบโรงเรียนในหลาย ๆ แห่งที่มีนักเรียนไม่เพียงพอกับการจัดสรรงบประมาณ ส่งผลให้เกิดภาระกับเด็กและเยาวชน ในการหาสถานที่ศึกษาแห่งใหม่ หลายๆแห่งอยู่ห่างไกลจากบ้านมาก จึงเป็นการเพิ่มภาระให้กับครอบครัวที่มีฐานะยากลาํบาก

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโรงเรียนต่างๆต้องอาศัยการช่วยเหลือกันของพี่น้องในหมู่บ้าน ด้วยการจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา ระหว่างวัด โรงเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน อีกทั้งยังขอความอนุเคราะห์จาก อบจ.ในจังหวัดนั้น ๆ และ หลายๆ อปท.ในตำบล เพื่อจ้างครูท้องถิ่นที่เรียนจบแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ มาบรรเทาปัญหาการขาดแคลนครู โดยครูจะได้รับค่าตอบแทน อยู่ที่ 6,000 และ 9,000 บาท หรือสูงสุดก็คือ 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาช่วยเหลือดูแลในเรื่องนี้ โดยเร่งผลิตบุคลากรครูให้เพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลนในโรงเรียน พร้อมทั้งเพิ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

“ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ปัญหาด้วยการกระจายอำนาจ เพื่อการศึกษาสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สามารถผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป รองรับการพัฒนาหมู่บ้าน จังหวัด ประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กกับคุณภาพผู้เรียนที่เราต้องการ พบว่า ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก กับคุณภาพผู้เรียน ที่เราต้องการพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กราว 15,000 โรงเรียนในอนาคตอาจะจะมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันอาจถูกยุบไปในที่สุด เนื่องด้วยอัตราการเกิดของประชากรลดลง รวมถึง ฃการอพยพเคลื่อนย้ายของ ประชากรวัยเรียนที่ย้ายติดตามผู้ปกครองไปรับจ้างทำงานต่างถิ่น ที่สำคัญคือ ค่านิยมของผู้ปกครองส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง และความพร้อม รวมไปถึงโรงเรียนเอกชน จึงทำให้โรงเรียนหลายแห่งถูกลดระดับกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในที่สุด

นางบุญยิ่ง ยังกล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ทำให้ใจหาย และเศร้าใจ โรงเรียนที่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ศึกษามาจนถึงรุ่นปัจจุบัน อยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนานต้องมาปิดตัวลง เพราะไม่มีนักเรียนหรือผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ที่สร้างมาจากหยาดเหงื่อ แรงงานภายในชุมชน จนเป็น “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้เป็นเพียงสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของชุมชนอีกด้วย การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนสูง ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี ปัญหาการขาดแคลนผู้บริหาร จำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนไม่เท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้

“คำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้โรงเรียนอยู่คู่กับชุมชนตลอดไปดิฉัน ขอเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดสรรงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาจากรัฐบาลให้เพียงพอ และพอเพียง และจัดสรรครู ให้เพียงพอสามารถจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุม และไม่หนักเกินกำลังของครู เพราะวันนี้โรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูกว่า 80% และควรจัดสรรเครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ให้เสถียร ครอบคลุมทุกชั้นเรียนเพื่อเป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้และ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดสรรสื่อ วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้นักเรียนทุกคน เพื่อสนับสนุนการทำงานของครู และจัดสรรเจ้าหน้าที่ธุรการ ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ทุกๆ โรงเรียน เพื่อลดภาระงานของครู”นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องจะยุบ จะรวม หรือเลิกโรงเรียนนั้นขอให้พิจารณาถึงความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น ให้ดูข้อมูลเป็นรายโรงเรียน รายพื้นที่ และความสามารถของชุมชนเป็นหลัก แต่ที่สุดแล้ว การบริหารจัดการ คือ การคงอยู่ของโรงเรียน ซึ่งเป็นสถาบันหลัก ของชุมชนเป็นสำคัญ ตนเห็นด้วยในภาพรวมกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ฉบับนี้ แต่ขอฝากคณะกรรมาธิการว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษา สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

“ดิฉันมีข้อคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบถึง พ.ร.บ.การกระจายอำนาจ ปี 2542 มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต.เทศบาล 20 กว่าปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาคุณภาพของท้องถิ่นในทุกมิติ เพราะทำเพื่อลูกหลาน เพื่อท้องถิ่น อย่างแท้จริง เราเริ่มเห็นถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน เรามีประปาหมู่บ้าน บ้านเรามีการขยายถนน มีการขยายแนวเขตไฟฟ้าให้เข้าถึงชุมชน ได้มากขึ้นและดีขึ้น ท้องถิ่นมีโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีศักยภาพสร้างเด็ก และเยาวชนให้มีความโดดเด่นเฉพาะทางหลายด้าน เช่น โรงเรียนกีฬา โรงเรียนดนตรี ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านมา 20 กว่าปี มีการกระจายอำนาจบ้าง ขอคืนอำนาจบ้างสลับปรับเปลี่ยนบ่อยมาก เช่น ให้จัดทำหลักสูตรได้เอง ต่อมา ให้จัดทำเอง เฉพาะหลักสูตรท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา ที่นับว่าดีมาก อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้” นางบุญยิ่ง กล่าว

นางบุญยิ่ง กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนขอเสนอความเห็นต่อกระทรวงศึกษาธิการว่า การปฏิรูปการศึกษา ควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษา ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ บริหารทั่วไป และอื่นๆกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าจะให้เกิดอะไรกับผู้เรียนนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงง่าย เหมือนปัจจุบัน พร้อมทั้งเร่งดำเนินการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมุ่งเน้นให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ดิฉันเชื่อมั่นว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษาจะเป็นแนวทางที่ดี ต่อการจัดการศึกษาให้กับลูกหลานไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

“ส.ส.บุญยิ่ง”ขอเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้ภาครัฐเข้าปรับปรุงซ่อมแซมถนนและใช้ลำห้วย หลังงบประมาณส่วนกลางมาแล้ว แต่ดำเนินการไม่ได้

,

“ส.ส.บุญยิ่ง”ขอเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้ภาครัฐเข้าปรับปรุงซ่อมแซมถนนและใช้ลำห้วย หลังงบประมาณส่วนกลางมาแล้ว แต่ดำเนินการไม่ได้

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้นำชุมชนพร้อมทั้งพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เนื่องด้วยถนนหลายสายใน 2 อำเภอนี้ ปัจจุบันนี้เสียหายมาก ไม่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมจากงบประมาณส่วนกลางที่อนุมัติมาแล้ว แต่ไม่สามารถนำงบประมาณมาใช้ได้ ที่เป็นปัญหาคือ เจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมถนน งบประมาณเหล่านี้ก็ตกไปแล้วทั้งสิ้นทุกๆสาย โดยทั้งอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา เป็นพื้นที่ชนบทและถนนหลายสายก็เสียหายเป็นจำนวนมาก เช่น ถนนเส้นทุ่งแฝก ฝ่ายน้ำล้นหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก ตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ค่างบประมาณ 3,423,900 บาท ขณะนี้ถนนเส้นนี้ งบประมาณตกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเนื่องจากเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้ซ่อมแซมและปรับปรุง นอกจากนี้ ถนน เส้นสายหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านถ้ำหิน หมู่ 5 บ้านถ้ำหิน ตำบลสวนผึ้งระยะทาง 1 กิโลเมตรงบประมาณ 5,240,100 บาท รอบนี้ก็ตกไปแล้วเช่นกัน เพราะเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้ปรับปรุงซ่อมแซม

นางบุญยิ่ง กล่าวต่อว่า โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทางน้ำลำห้วยผ่าน หมู่ 1 หมู่ 2 ของตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง 13 กิโลเมตรเศษนี้ เป็นลำห้วยบ่อที่ประชาชนใช้อุปโภคบริโภค และการเกษตร ถ้าได้ขุดลอกกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้สามารถใช้ทั้งปี ซึ่งขณะนี้ที่อำเภอสวนผึ้ง ฝนทิ้งช่วงไม่ตกตามฤดูกาล แห้งแล้งมาก ขอความกรุณาเจ้าของพื้นที่ช่วยเซ็นอนุญาตให้พวกเราประชาชนได้ใช้ลำห้วยที่มีน้ำ เพราะตอนนี้งบประมาณ 14,185,500 บาท ก็ตกไปแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ถนนสายบ้านท่ากุลา หมู่ 2 ตำบลตะนาวศรีระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ งบประมาณ 5,237,000 บาทก็ตกไปแล้วเช่นกัน นี่คือปัญหาของพี่น้องตำบลสวนผึ้ง ที่ได้งบประมาณส่วนกลางมาแล้วไม่สามารถซ่อมแซมและปรับปรุงถนน เช่นเดียวกับ พื้นที่ในอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ถนนสายช่องล่าง หมู่ 3 ตำบลหนองพันจันทร์ ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ งบประมาณ 3,711,000 บาท ก็ตกไปแล้ว งบประมาณของทั้ง 2 อำเภอคืออำเภอบ้านคา และอำเภอสวนผึ้ง 32,287,500 บาท ส่วนนี้คือตกไปที่เรียบร้อยแล้ว

“ดิฉันขอฝากท่านประธานสภาฯผ่านไปยังผู้มีอำนาจช่วยเซ็นอนุมัติอนุญาตให้ใช้พื้นที่ให้ได้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนของพวกเรา จังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคามีความปลอดภัยในการสัญจรไปมา และขอขอบพระคุณมาก ถ้าท่านได้เซ็นอนุญาตอนุมัติเหล่านี้ตรงนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในชนบทมากๆ”นางบุญยิ่ง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

บรรเทาทุกข์-บำรุงสุขชาวบ้าน จ.ราชบุรี ส.ส.บุญยิ่ง นิติกาญจนา

,

บรรเทาทุกข์-บำรุงสุขชาวบ้าน จ.ราชบุรี! “ส.ส.บุญยิ่ง นิติกาญจนา พปชร. จ.ราชบุรี”
ร่วมเปิดตลาดปันสุข อบจ.ไม่ทิ้งกัน จำหน่ายข้าวสารราคาพิเศษ แบ่งเบาภาระให้ชาวบ้านใน อ.สวนผึ้ง พร้อมเปิดโครงการ อบจ.ราชบุรี ร่วมใจท้องถิ่นพัฒนา ครั้งที่ 2 ประชุมผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ หาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น สร้างคุณภาพชีวิตให้พี่น้องประชาชน จ.ราชบุรี

#บุญยิ่งนิติกาญจนา
#สสราชบุรี
#พลังประชารัฐ
#พปชร
#https://pprp.or.th
#https://twitter.com/pr_pprpthailand
#https://www.blockdit.com/pprp

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 15 มิถุนายน 2565