โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“ชัยวุฒิ” นำสส.โชติวุฒิ พปชร. รุดลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยไฟไหม้ตลาด 100 ปี อินทร์บุรี ประสานหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ ลดผลกระทบประชาชน

,

“ชัยวุฒิ” นำสส.โชติวุฒิ พปชร. รุดลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยไฟไหม้ตลาด 100 ปี อินทร์บุรี ประสานหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ ลดผลกระทบประชาชน

วันนี้ (20 ส.ค.66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส. จ.สิงห์บุรี เขต1 ได้เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ประสบเหตุอัคคีภัย เกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ในช่วงค่ำที่ผ่านมาในตลาดอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ประสานทางจังหวัดในการเข้าดูแลความช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย

“เหตุการณ์ครั้งนี้พบว่า มีผู้ประสบอัคคีภัย 34 หลังคาเรือน ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้เข้าช่วยเหลือในการระงับเหตุ และบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าสืบสวนหาสาเหตุ การเยียวยาในอนาคต ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย เข้าช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ซึ่งตลาดแห่งนี้ เป็นตลาดสด เปิดในช่วงเช้า เป็นย่านชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี จำเป็นอย่างยิ่งต้องหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำในอนาคตต่อไป”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 สิงหาคม 2566

“บุญชัย สส.เพชรบูรณ์”หารือหลายปัญหาของชาวเพชรบูรณ์ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งคลี่คลาย แก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

,

“บุญชัย สส.เพชรบูรณ์”หารือหลายปัญหาของชาวเพชรบูรณ์ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งคลี่คลาย แก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

นายบุญชัย กิตติยาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาช้างป่าว่า ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมามีช้างป่าจากภูหลวง จังหวัดเลย ได้ออกมาหากินบริเวณหมู่บ้านของพี่น้องประชาชน ในตำบลศิลา ตำบลตาดกลอย อ.หล่มเก่า และทำลายพืชผลทางการเกษตร ของประชาชา รวมถึงที่อยู่อาศัย จึงฝากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยผลักดันช้างป่าให้กลับไปอยู่ในป่าดังเดิม

นายบุญชัย กล่าวต่อถึงปัญหาของถนนทางหลวงหมายเลข 21 ตอนสักหลงถึงกกกะทอน ช่วงหลักกิโลที่ 286+700 ถึง289+700 ระยะทาง 3 กิโลเมตร มีระยะทางแคบ มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และในเวลากลางคืนจะมืดมาก ไม่มีไฟฟ้าข้างทาง ทั้งที่เป็นเขตชุมชน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ทำให้เกิดความสูญเสีย ทรัพย์สินและชีวิตของผู้ใช้ถนนเส้นนี้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการขยายถนนเป็นสี่เลนด้วย

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านไฟฟ้าแสงสว่าง และสัญญาณจราจร ที่สามแยกบ้านกกกะทอน บนทางหลวงหมายเลข 21 ตัดกับถนนทางหลวง หมายเลข 2216 ซึ่งเป็นบริเวณชุมชนมีจำนวนประชากร ที่ใช้เส้นทางจราจรอย่างหนาแน่น และมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากให้กรมทางหลวง ช่วยดำเนินการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรและไฟฟ้าสว่าง
ทั้งนี้เรื่องถนนถ่ายโอนหลายพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะเขต3 ได้ถ่ายโอนถนนมาหลายเส้น เช่น อำเภอหล่มสักทางหลวงหมายเลข 20110100 ตอนแยกทางหลวง 203 ซึ่งเป็นถนนที่ใช้ระหว่าง บ้านหนองสว่าง ถึงบ้านฝ่ายนาแซง ระยะทาง 3-4 กิโลเมตร และสภาพถนนมีรอยแตกร้าวและเป็นหลุมเป็นบ่อ ขอให้ กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยจัดงบประมาณปรับปรุงถนนเส้นนี้ด้วย

นายบุญชัย ยังกล่าวถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำทางตอนเหนือ ของอำเภอหล่มเก่า ซึ่งเป็นต้นน้ำ ของแม่น้ำป่าสักในฤดูฝน มีน้ำจำนวนมากไหลผ่าน จากอำเภอหล่มเก่า ผ่านอำเภอหล่มสัก ถึงอำเภอเมือง และหลายอำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่ พอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ เพราะเป็นที่ลาดชันสูง จึงอยากให้กรมชลประทานเร่งรัดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ห้วยน้ำเลา ตำบลตาดกลอย อ่างเก็บน้ำห้วยผักกรูด อ่างเก็บน้ำห้วยหินโง่น ตำบลศิลา จะได้ช่วยลดปัญหาน้ำท่วม และเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรใช้ สร้างเศรษฐกิจให้เกษตรกร และยังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”ขอการปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำให้ชาวบ้าน หลังถูกเวนคืนไปสร้างเขื่อนลำปาว ทำให้ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ พร้อม วอน รัฐรวบรัดขั้นตอน ไม่ให้ล่าช้า

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”ขอการปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำให้ชาวบ้าน หลังถูกเวนคืนไปสร้างเขื่อนลำปาว ทำให้ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ พร้อม วอน รัฐรวบรัดขั้นตอน ไม่ให้ล่าช้า

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ ที่ถูกเวนคืนสร้างเขื่อนลำปาว เป็นระยะเวลานานแล้วที่ประชาชน ได้รับผลกระทบในการทำมาหากิน และนำน้ำขึ้นมาใช้ อย่างบ้านตนอยู่ฝั่งตะวันตกของเขื่อนลำปาว แต่ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ โดยการปกครองส่วนท้องถิ่น อบต.หรือเทศบาลได้ร่วมมือกันเสนอโครงการขึ้นมาเพื่อขอใช้น้ำ ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ซึ่งได้อนุมัติโครงการไป 76 ล้าน ในขณะนี้ตนกังวงว่าโครงการดังกล่าวจะถูกตีตกไป จึงนำมาหารือไว้ก่อน

นายจำลอง ยังกล่าวถึงปัญหาของถนนทางหลวงเส้นอำเภอหนองสี อำเภอหนองวัดโพธิ์ เส้น 2009 มีความคับแคบ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตนได้เสนอให้มีการแก้ไขมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด ซึ่งในพื้นที่ประชาชนมีอาชีพเกษตรกร ทำไร่อ้อย รถ 10 ล้อเยอะ รถเล็กสัญจรไปมาไม่สะดวก ควรจะมีไหลทาง มาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นอกจากนี้ การประปาท้องถิ่นที่ทางพื้นที่ได้ขอใช้น้ำปรากฏว่า เกิดความล่าช้า ด้วยสำนักงานน้ำแห่งชาติ โดยพลเอกประวิตร ในฐานะประธานนโยบายน้ำแห่งชาติ ได้อนุมัติโครงการไป 8 โครงการ แต่อีก 2 โครงการต้องใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามสภาพธรรมชาติ มีการสงวนหวงห้ามตามกฎหมายการใช้ประโยชน์ร่วมกันของราษฎร หรือโดยการอุทิศให้ ซึ่งเป็นที่มาของการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หรือ น.ส.ล.จึงต้องผ่านคณะกรรมการหลายคณะ
จึงเกิดความล่าช้ามาก

“ผมขอให้รวบรัดขั้นตอน ให้อยู่ที่เดียวกัน เพราะถ้ามีขั้นตอนเยอะ ก็จะทำให้เกิดความล่าช้า ผลประโยชน์ไม่ตกไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ทันที รวดเร็ว ทันใจ”นายจำลอง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566

“อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์”วอน หน่วยงาทที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย แนะ เพิ่มแหล่งเก็บน้ำ และขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

,

“อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์”วอน หน่วยงาทที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย แนะ เพิ่มแหล่งเก็บน้ำ และขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เราปฎิเสธไม่ได้ว่าน้ำ เป็นต้นกำเนิดทุกสิ่ง น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่เราใช้บริโภคอุปโภคกันทุกคน แต่เมื่อน้ำน้อยเกินไปก็เกิดปัญหาภัยแล้ง เมื่อน้ำมากเกินไปก็เกิดปัญหาอุทกภัย 2 ปัญหานี้เกิดขึ้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำป่าสักเป็นหัวใจหลัก ซึ่งมีความยาวราว 350 กิโลเมตร ไหลผ่านตั้งแต่เหนือสุดไปถึงใต้สุดของจังหวัด ปัญหาคือความลาดชันของแม่น้ำป่าสัก จุดสูงสุดของความลาดชันอยู่ที่ 190 เมตรส่วน จุดต่ำสุดอยู่ที่อำเภอศรีเทพ อยู่ที่ประมาณ 40 เมตร จากความลาดชันนี้ทำให้อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ ไม่สามารถเก็บกักได้จากแม่น้ำป่าสักและไหลออกไปจังหวัดอื่นเกือบหมด

นายอัคร กล่าวต่อว่า ตนจึงอยากหารือ2 ประเด็นหลักคือ ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วม สำหรับปัญหาภัยแล้ง จังหวัดเพชรบูรณ์มีครัวเรือนทั้งหมดเกือบ 300,000 ครัวเรือน โดยทำอาชีพเกษตรกรรมไปแล้วเกือบ 100,000 ครัวเรือน คิดเป็น 38% ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ ทุกคนต่างหวังว่าน้ำฝนจะตกมาในปริมาณที่พอเพียง และตกตามฤดูกาล แต่ฝนกลับไม่ตกและ น้ำก็กักเก็บไม่พอ เช่น พื้นที่ในอำเภอวิเชียรมี พืชผลเสียหายทางการเกษตรกว่าพันไร่ เกษตรกรเสียหายหนัก โดยเฉพาะข้าว ข้าวโพด เช่น ตำบลทรัพย์สมบูรณ์ตำบล วัดประดู่และตำบลพุเตย ถ้าประเมินค่าความเสียหายถ้าเป็นข้าวก็ตกประมาณ 1000 ไร่ ตกอยู่ที่ 7.9 ล้านบาท ถ้าเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ตกอยู่ที่ 11.2 ล้านบาท

“สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าเกษตรกรมีรายได้ลดลงจากการขายพืชผลทางการเกษตร แทนที่มีเงินจะไปจ่ายค่าเทอมลูก แทนที่จะมีเงินไปจ่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือว่าจ่ายหนี้สิน ผมจึงฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเพิ่มแหล่งเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ถ้ามีวิธีที่ไวกว่านี้ผมก็ยินดีอย่างยิ่ง”นายอัคร กล่าว

นายอัคร กล่าวต่อถึงปัญหาอุทกภัย อาจจะดูย้อนแย้งจากปัญหาแรก แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง แต่ในหลายปีที่ผ่านมาความรุนแรงของปัญหานี้ทวีคูณยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของอำเภอเชียรบุรีและอำเภอศรีเทพ ตั้งอยู่ช่วงทางผ่านน้ำ และเป็นจุดที่ต่ำกว่าอำเภออื่นๆ ทำให้น้ำจากตอนเหนือไหลลงมาท่วม 2 อำเภอนี้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับแม่น้ำป่าสักนั้นตื้นเขิน จึงไม่สามารถจุน้ำทั้งหมดไว้ได้ การระบายน้ำจึงเป็นไปได้ยากและช้ามาก รถไม่สามารถสัญจรได้ ต้องใช้เรือในการนำส่งอาหาร และส่งของใช้จำเป็น จากเหตุการณ์นี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของบ้านเรือน พืชผลทางการเกษตร ผมจึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566

พรรคพลังประชารัฐ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัยอย่างหนักในพื้นที่จ.ตาก ภายใต้กิจกรรม”พลังน้ำใจ พลังประชารัฐ กำลังใจให้คนตาก”เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนโดยเร็ว

,

พรรคพลังประชารัฐ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัยอย่างหนักในพื้นที่จ.ตาก ภายใต้กิจกรรม”พลังน้ำใจ พลังประชารัฐ กำลังใจให้คนตาก”เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนโดยเร็ว

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะเลขาธิการ พปชร. กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากติดต่อกันหลายวันในจังหวัดตากและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะหมู่บ้านตามแนวตะเข็บชายแดนที่ติดแม่น้ำเมย และพื้นที่บนภูเขา เกิดดินถล่มเส้นทางถูกตัดขาด เป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านเรือนประชาชนเสียหาย เส้นทางทรุดหนักเป็นบริเวณกว้าง รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่าน ไป – มาได้อย่างสะดวกนั้น

ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐมีความห่วงใยประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมาก จึงดำริให้ตนเองเร่งระดมความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างเร่งด่วน ภายใต้กิจกรรมชื่อ”พลังน้ำใจ พลังประชารัฐ กำลังใจให้คนตาก”ซึ่งขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิธรรมนัสพรหมเผ่า เพื่อการกุศล สมาคมการค้าแลกเปลี่ยนเศรฐกิจไทย-เอเชีย นำถุงยังชีพอุปโภคบริโภคจำเป็นไปมอบให้ประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

โดยเบื้องต้น ทางพรรคฯได้มอบหมายให้สส.ของพรรคในพื้นที่ ได้แก่นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สส.จังหวัดตาก และนายปกรณ์ จีนาคำ สส.จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นตัวแทนลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ พร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันยังเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดูแลซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเสียหายเพื่อให้ประชาชนสัญจรอย่างปลอดภัย

ด้านนายภาคภูมิ กล่าวว่า ขอบคุณพรรคพลังประชารัฐและทุกภาคส่วนที่ร่วมช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ขอพี่น้องประชาชนระมัดระวังในการเดินทาง เฝ้าดูสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตนเองขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน ซึ่งใน วันพุธ 16 สิงหาคม นี้ มีประชุมสภาฯตน จะนำเรื่องนี้หารือต่อสภา เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วนต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 สิงหาคม 2566

ส.ส.อนุรัตน์ ตันบรรจง รุดเยี่ยมให้กำลังใจชาวบ้านที่ป่วยสู้โรคร้าย พร้อมเร่งสร้างต่อเติมบ้านพักอาศัยให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

,

ส.ส.อนุรัตน์ ตันบรรจง รุดเยี่ยมให้กำลังใจชาวบ้านที่ป่วยสู้โรคร้าย พร้อมเร่งสร้างต่อเติมบ้านพักอาศัยให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)เขต 2 จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ นางทองดี พรหมจันทร์ อายุ 61 ปี ณ บ้านเลขที่ 150 หมู่ 3ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ซึ่งนางทองดี เป็นผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก และไร้ที่อยู่อาศัยโดยนายอนุรัตน์ได้พูดคุยถึงสภาพความเป็นอยู่และให้กำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้าย ขณะเดียวกันได้มีชาวบ้านนำสิ่งของอุปโภคบริโภคมาร่วมบริจาคเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังได้มอบเงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่งเพื่อสมทบทุนในการสร้างต่อเติมบ้านให้นางทองดี พร้อมทั้งกำชับ ให้ผู้นำท้องที่ท้องถิ่นดูแลเป็นอย่างดี ตนเอง จะไม่ทอดทิ้งพี่น้องประชาชนในเขต 2 พะเยาอย่างเด็ดขาด

จากนั้น สส.ออม ยังได้เดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดป้ายที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา โดยมี นายสิทธิพงษ์ ปัญญาราช ผู้ใหญ่บ้านหมู4ให้การต้อนรับและพูดคุย ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่นและเป็นกันเองแบบญาติพี่น้อง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 สิงหาคม 2566

“ส.ส.นราธิวาส”พปชร.อภิปรายน้ำตาซึม ขอบคุณแทนชาวมูโนะสำหรับความช่วยเหลือเยียวยาที่ทุกฝ่ายมอบให้ จี้ เร่งสอบเอาผิด หากพบใครรับส่วย ต้องจัดการเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นใคร

,

“ส.ส.นราธิวาส”พปชร.อภิปรายน้ำตาซึม ขอบคุณแทนชาวมูโนะสำหรับความช่วยเหลือเยียวยาที่ทุกฝ่ายมอบให้ จี้ เร่งสอบเอาผิด หากพบใครรับส่วย ต้องจัดการเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นใคร

วันที่ 3 สิงหาคม 2566 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในการประชุม นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๔ (๑) เกี่ยวกับเหตุการณ์พลุระเบิด ที่ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบพิจารณาเรื่องดังกล่าว

โดย นายอามินทร์ กล่าวว่า ตนอยู่ในพื้นที่มา 4 วัน 4 คืน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มีบ้านเรือนเสียหาย จำนวน 681 หลังคาเรือน ผู้เสียชีวิตจำนวน 10+2 สาเหตุที่ต้อง +2 เพราะยังพิสูจน์อัตลักษณ์ไม่ได้ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 290 ราย บ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย 100 เต็มๆ ไม่เหลือซากอะไรเลยจำนวน 59 หลังคาเรือน จำนวนรถยนต์ 69 คัน และรถจักรยานยนต์อีก 107 คัน และทรัพย์สินอย่างอื่น ประเมินค่าได้อีกนับไม่ถ้วน สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับพี่น้องชาวมูโนะ

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนนำมาพูดในวันนี้เพื่อต้องการให้เกิดการเยียวยาให้กับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบ ในเรื่องของวงเงินที่จะให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และความเร่งด่วนในการจัดการแก้ไขปัญหา เนื่องจากในพื้นที่ภาคใต้ ใกล้จากเข้าช่วงฤดูมรสุม หมายความว่าจะมีฝนตก ทุกวันตั้งแต่เดือน สิงหาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนอย่างสาหัส จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่สภาแห่งนี้จะได้ร่วมกันพิจารณาและร่วมหาทางออก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบ้านเรือน สถานที่ราชการอย่าง เช่น โรงเรียน ที่ทำการ อบต. ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักหนาเช่นกัน

“ไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอก สิ่งที่เจ้าหน้าที่และภาครัฐต้องรับผิดชอบ ต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ของการจัดการเก็บพลุดอกไม้ไฟ ต่างๆตามกฏหมาย ถ้าโรงงานหรือโกดัง มีรั้วล้อมรอบตัว อาคารต้องอยู่ห่างจากรั้วไม่ต่ำกว่า 20 เมตร สำหรับโรงงานหรือโกดัง ที่ไม่มีรั้วล้อมรอบ ต้องอยู่ห่างจากชุมชน 35 ถึง 55 เมตร แต่โกดังดังกล่าวกลับมี บ้านเรือนล้อมรอบในระยะไม่เกิน 3 เมตร นี่คือความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของเจ้าของโกดัง ท่านต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ที่ประเมินค่าไม่ได้นี้ ที่จริงเราไม่ควรมองเพียงแค่การจัดเก็บ เราต้องมองตั้งแต่เรื่องการขนส่งมาถึงมูโนะ ได้อย่างไรกัน สถานที่เกิดเหตุห่างจากสถานีตำรวจเพียง 100 เมตร ห่างจากโรงเรียนเพียง 700 เมตร ห่างจากที่ทำการ อบต.เพียง 500 เมตร สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไม่ว่า จากหน่วยงานใดก็ตาม ต้องมีการเร่งรัด การสอบสวนอย่างเร่งด่วน หากสืบทราบแล้วว่า ผู้ที่มีส่วนรู้เห็น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน เจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลใดก็ตาม หรือแม้แต่ตัวผมเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบนหรือ ส่วย จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด”

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ตนขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ร่วมลงพื้นที่ให้กำลังใจ และเดินทางมายังที่เกิดเหตุให้กำลังใจผู้ประสบเหตุ และได้เยียวยาบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น สุดท้ายตนขอนำสารจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ที่ฝากผมมาให้พูดในสภาฯอันทรงเกียรติแห่งนี้ ว่าพวกเราชาวตำบลมูโนะ ขอขอบคุณรักษาการนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีหลายกระทรวง ทุกๆหน่วยงาน ทุกๆองค์กร พรรคการเมืองทุกๆพรรค ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือพี่น้องชาวตำบลมูโนะ อย่างทันท่วงที และไม่ขาดสาย ขอขอบคุณที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีในยามที่ยากลำบาก

ทั้งนี้ ระหว่างการอภิปรายนายอามินทร์ได้มีการเปิดคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นภาพความเสียหายและความสูญเสียขอพี่น้องประชาชน ซึ่งในช่วงที่เปิดคลิปดังกล่าวนายอามินทร์และนายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ต่างนั่งดูแบบน้ำตาซึม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 สิงหาคม 2566

“ปกรณ์”ขอเป็นตัวแทนชาวแม่ฮ่องสอน เรียกร้องเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์พบขาดแคลนอย่างหนัก วอน กระทรวงสาธารณสุขเร่งหามาตรการแก้ปัญหาด่วน

,

“ปกรณ์”ขอเป็นตัวแทนชาวแม่ฮ่องสอน เรียกร้องเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์พบขาดแคลนอย่างหนัก วอน กระทรวงสาธารณสุขเร่งหามาตรการแก้ปัญหาด่วน

นายปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร) กล่าวหารือความเดือดร้อนของประชาชนในที่ประชุมสภาฯถึงปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน อย่างรุนแรง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมี 7 อำเภอ และมี7 โรงพยาบาลของรัฐ และไม่มีโรงพยาบาลของเอกชนเลย ซึ่งมีประชากร 280,000 กว่าคนเศษ แต่มีแพทย์ปฏิบัติการเพียงแค่ 74 คนเท่านั้น ถ้าดูอัตราเฉลี่ยแล้วแพทย์หนึ่งคน ต้องดูแลพี่น้องประชากรกว่า 3000 คน ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของระบบสาธารณสุขของไทย ที่จะต้องมีแพทย์ 1 คน เพื่อดูแลประชากรอยู่ที่1600 คนเศษเท่านั้น

นายปกรณ์ กล่าวต่อว่า บางโรงพยาบาลในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีแพทย์เพียงสองคนเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบกับการดูแลรักษาพี่น้องประชาชน ที่อาจจะ ไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึง ที่สำคัญคือ ความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีอัตราที่ลาออกและโยกย้ายออกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ค่อนข้างมาก สาเหตุมีหลายประการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ในเรื่องของงบประมาณ และสวัสดิการที่ไม่เพียงพอ ตนขอฝากให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้ามากำกับดูแล และแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยด่วนด้วย

นายปกรณ์ ยังกล่าวถึง ปัญหาเรื่องหนังสือรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกิน ตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่อันดับ 8 ของ ประเทศไทย กว่า 95% เป็นพื้นที่ป่า ซึ่งในปี 2558 รัฐบาลมีโครงการแก้ปัญหาที่ดินคือ โครงการ ครช. จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือจังหวัดหนึ่งที่เป็นจังหวัดเป้าหมาย มีเป้าหมาย 70,000 กว่าไร่ ที่จะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยในปี 2560 สามารถตรวจสอบและอนุมัติพื้นที่ได้ 36,000 กว่าไร่ มีผู้ยื่นขอรับสิทธิ์ 12,000 กว่าคน แต่ปัจจุบันนี้ออกเอกสารได้เพียง 6800 กว่าไร่ และผู้ได้รับสิทธิ์เพียง 3900 กว่าราย เท่านั้นยังตกหล่นอีก 28,000 กว่าไร่ ยังมีผู้ไม่ได้รับสิทธิ์อีก 8000 กว่าราย ตนขอฝากไปยังกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ช่วยกำกับ ดูแล และเร่งรัดในการออกเอกสารสิทธิ์ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 สิงหาคม 2566

“วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ “ขอเพิ่มงบประมาณซ่อมแซมถนนชำรุด เสียหาย อย่าปล่อยให้จังหวัดกับอบต.มีปัญหากันเอง

,

“วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ “ขอเพิ่มงบประมาณซ่อมแซมถนนชำรุด เสียหาย อย่าปล่อยให้จังหวัดกับอบต.มีปัญหากันเอง

นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ส.ส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในที่ประชุมสภาฯถึงเรื่องถนนชำรุด เสียหาย มีงบประมาณไปยังท้องถิ่นไม่เพียงพอ เช่น งบประมาณในการซ่อมแซมถนนทาง พช 92-006 จากสามแยกทางหลวง ถึงหมายเลข 225 ช่วง กม. 155+150 หมู่ที่ 6 บ้านซับกะโซ่ ตำบล ย่างสาว อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะทางตรงนี้ประมาณ 2.9 กิโลเมตร ถนนเส้นนี้จะเป็นการใช้งานร่วมกันของหมู่ที่ 13 ของบ้านทรัพย์เจริญ

ส่วนโครงการที่ 2 ก็คือทาง พช ที่ 2 ถึง92-004 สามแยก ทางหลวง 225 กม.ที่ 148 -400 บ้านพึ่งรางวัดหมู่ที่ 3 ไปบ้านหนองแดง หมู่ที่ 15 ตำบล ย่างสาว อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ปัจจุบันถนนเส้นนี้ หลังจากถ่ายโอนมาจากทางหลวงชนบท ไม่เห็นผิวจราจรเดิม คือลาดยาง หรือคอนกรีตเลย เห็นแต่ถนนดินลูกรังหรือหินคลุก ตอนนี้ถนนดินลูกรังหรือหินคลุกตลอดทุกเส้นทาง เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ทั้ง 2 หมู่บ้านเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ อบต.สามแยก อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัด เพชรบูรณ์ ขอให้สนับสนุนงบประมาณ ในการก่อสร้างถนนสาย พชถ 116 -010 ถนนสายฝูงนกเป้า หมู่ที่10 ตำบลสามแยก วิเชียรบุรี ระยะทาง 3.75 กิโลเมตร เดิมถนนเส้นดังกล่าวนี้ เป็นเส้นทางหลวงชนบท ชื่อบ้านทรัพย์ตะเคียน ถึงบ้านดงเข็ม ระยะทาง ถ่ายโอนตั้งแต่ หลายปีก่อน 7.061 กิโลเมตร ประเภทผิวการจราจร เป็นถนนลาดยาง แต่พอได้ถ่ายโอนแล้วก็แบ่ง ออกเป็น 2 ช่วง เป็นความรับผิดชอบของ อบต. สามแยก ตนขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่วนกลาง ขอเพิ่มงบประมาน ไปที่จังหวัด ไม่ใช่ปล่อยให้ จังหวัดหรือ อบต.ไป เถียงกันในจังหวัดของตัวเอง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 สิงหาคม 2566

“สส.สัมพันธ” “สส.อามินทร์” นำคณะ“มท.1” และ “รมว.ศึกษาฯ” ลงพื้นที่ ต.มูโนะ ให้กำลังใจผู้ประสบเหตุระเบิด “โกดังเก็บพลุดอกไม้ไฟ”

,

“สส.สัมพันธ” “สส.อามินทร์” นำคณะ“มท.1” และ “รมว.ศึกษาฯ” ลงพื้นที่ ต.มูโนะ ให้กำลังใจผู้ประสบเหตุระเบิด “โกดังเก็บพลุดอกไม้ไฟ”

วานนี้ 1 สิงหาคม 2566 นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ (บีลา) กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต 3 และ นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต 2 ร่วมต้อนรับ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมต.ว่าการกระทรวงมหาดไทย และ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมต.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องชาวมูโนะที่ประสบเหตุระเบิด “โกดังเก็บพลุดอกไม้ไฟ” ณ ตลาดมูโนะ ต.มูโนะ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

พร้อมกันนี้ได้ร่วมประชุมหารือรับมอบนโยบายและข้อราชการต่างๆ และติดตามสถานการณ์โกดังเก็บดอกไม้ไฟระเบิด โดยมีนายนริศ ขำนุรักษ์ รมต.ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสนั่น พงษ์อักษร ผวจ.นราธิวาส, รอง ผวจ.นราธิวาส, หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาและช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบเหตุให้ได้รับการเยียวยาให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ทางด้านกลุ่มเพื่อน “สส.บีลา-สส.อามินทร์” ได้รับการสนับสนุนจากผู้หลักผู้ใหญ่ร่วมกันสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัสดุ”กระเบื้องหลังคา” เพื่อแจกจ่ายมอบใ้หกับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งส่งผลให้อาคารบ้านเรือนและหลังคาได้รับความเสียหาย โดยมีพี่น้องมาลงทะเบียนกว่า 500 ราย เพื่อมาขอรับการช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยทีมงานกลุ่มเพื่อน “สส.บีลา-สส.อามินทร์” ได้บริการจัดส่งถึงบ้านเรือนของพี่น้องยังความประทับใจและขอบคุณพร้อมให้กำลังใจซึ่งกันและกันดั่งคำว่า “คนไทยที่ไหนเดือดร้อน..คนไทยย่อมไม่ทิ้งกัน” ทางทีมงานกลุ่มเพื่อน “สส.บีลา-สส.อามินทร์” ซาบซึ้งในน้ำใจจากพี่น้องทั่วสารทิศ ทั่วไทย จึงขอขอบคุณทุกน้ำใจทุกท่าน มา ในโอกาสนี้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 สิงหาคม 2566

“ส.ส.สะถิระ”เสนอสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทาง โอนย้ายบริการไฟฟ้าของชาวสัตหีบ จากไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ไปให้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดูแลแทนบรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

,

“ส.ส.สะถิระ”เสนอสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทาง โอนย้ายบริการไฟฟ้าของชาวสัตหีบ จากไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ไปให้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดูแลแทนบรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้เสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการมอบหน้าที่การให้บริการไฟฟ้า อำเภอสัตหีบ จากกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทาน กองทัพเรือ ไปเป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยตรง เพราะในตอนนี้พี่น้องประชาชน อำเภอสัตหีบ ทั้ง ๕ ตำบล ตำบลแสมสาร ตำบลพลูตาหลวง ตำบลสัตหีบ ตำบลบางเสร่ และตำบลนาจอมเทียน ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการไฟฟ้า โดยกิจการไฟฟ้าสวัสติการสัมปทานกองทัพเรือ ทั้งการขยายเขตไฟฟ้า ไฟดับ ไฟตก ค่าไฟ รวมถึง สิทธิประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

นายสะถิระ กล่าวต่อว่า การขยายเขตไฟฟ้าพี่น้องประชาชนอำเภอสัตหีบ ยังไม่มีไฟฟ้าถาวรใช้อีกหลายครัวเรือน รวมถึงการเพิ่มขนาดกระแสไฟฟ้าในแต่ละครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันกระแสไฟฟ้าในอำเภอสัตหีบตกบ่อยมาก ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับความเสียหาย ทำให้พี่น้องประชาชนอำเภอสัตหีบ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

“การให้บริการไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นการให้บริการไฟฟ้าหลักของคนไทยทั้งประเทศ ควรเข้ามาให้บริการไฟฟ้าประชาชนอำเภอสัตหีบ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ผมจึงขอเสนอญัตติด่วนดังกล่าว เพื่อตั้ง กมธ.ศึกษาให้ประชาชนอำเภอสัตหีบได้รับการบริการสาธารณะชั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับคนไทยทั้งประเทศ และเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน”นายสะถิระ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 สิงหาคม 2566

“ส.ส อรรถกร”ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯตั้ง กมธ.แก้ไขราคากุ้งตกต่ำ หาทางช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้าจาก ตปท.ย้ำ รัฐต้องเร่งจัดการก่อนปัญหาบานปลาย

,

“ส.ส อรรถกร”ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯตั้ง กมธ.แก้ไขราคากุ้งตกต่ำ หาทางช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้าจาก ตปท.ย้ำ รัฐต้องเร่งจัดการก่อนปัญหาบานปลาย

31 กรกฎาคม 2566 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้เสนอญัตติด่วน เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากในขณะนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งหลังจากการที่ คณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียเข้ามา โดยอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

“ปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สิน”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า แม้ราคากุ้งจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) แต่ราคาของจริงไม่ได้ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด จึงต้องการให้รัฐช่วยลดภาระต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เช่น ค่าอาหารกุ้ง ค่าปู่น ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หากภาครัฐไม่ดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาอาจบานปลายได้

“ผมจึงขอให้สภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยโดยเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดินและประชาชนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะรักษาความมั่นคง ของประเทศในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยญัตติที่ผมเสนอไปได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภาฯเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผมหวังว่าจะสามารถช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ทันท่วงที”นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 กรกฎาคม 2566