โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“สส.วันเพ็ญ”เร่งรัด“กรมชลฯ”แจงแผนสร้างฝาย 3 โครงการพื้นที่เพชรบูรณ์ สร้างความมั่นใจมีแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประชาชน

,

“สส.วันเพ็ญ”เร่งรัด“กรมชลฯ”แจงแผนสร้างฝาย 3 โครงการพื้นที่เพชรบูรณ์
สร้างความมั่นใจมีแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประชาชน

นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการประสานจากผู้บริหารของ อบต. ท่าแดง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยขอให้ประสานงานไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเร่งรัดขอทราบความคืบหน้า ในการทำโครงการ 3 โครงการ คือ
1.ฝ่ายคลองลำกง -บ้านท่าเยียม ตำบลท่าแดง
2.ฝ่ายบ้านท่าสวาย ตำบลท่าแดง
3.แก้มลิงบึงไผ่ขวาง – บ้านเนินคนธา พร้อมอาคารประกอบอำเภอท่าแดง อำเภอหนองไผ่

“โดยทั้ง 3 โครงการนี้ กรมชลประทานได้ออกสำรวจ ออกแบบ เพื่อจะพิจารณาในการก่อสร้างต่อไป แต่ว่าพี่น้องประชาชนไม่ทราบว่า ความคืบหน้าในการดำเนิน งานนี้จะได้งบประมาณมาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เมื่อใด จึงฝากให้ดิฉันมาเรียนถามว่า ทั้ง 3 โครงการนี้ยังดำเนินการที่จะก่อสร้างให้หรือไม่”นางวันเพ็ญ

นางวันเพ็ญ กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเดือดร้อนในปัจจุบันก็คือ ฝายบ้านท่าสวาย ตอนนี้การประปาหนองไผ่ ซึ่งใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการทำผลิตเป็นน้ำประปาหล่อเลี้ยงพี่น้องชาวอำเภอหนองไผ่ จึงขอเร่งรัดการดำเนินโครงการทั้ง3 นี้ไปถึงกรมชลประทานด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.คอซีย์”ขอ “รมว.คมนาคม”สั่งการกรมทางหลวง เร่งก่อสร้างถนนทางหลวงเส้นหลัก 3 จุดหลัก หลัง ปชช.ได้รับความเดือดร้อน

,

“สส.คอซีย์”ขอ “รมว.คมนาคม”สั่งการกรมทางหลวง เร่งก่อสร้างถนนทางหลวงเส้นหลัก 3 จุดหลัก หลัง ปชช.ได้รับความเดือดร้อน

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึง ความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางคมนาคม ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ หนองจิก จังหวัดปัตตานี ทั้ง 3 จุด โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กรมทางหลวง ดำเนินการก่อสร้างเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีข้อเสนอจากพื้นที่แล้ว

จุดที่1 ขอให้เร่งรัดการก่อสร้าง ทางแยกต่างระดับ บริเวณทางหลวง หมายเลข 42 และ 43 สี่แยกตัดกัน หรือที่เรียกกันว่าสี่แยกดอนยาง ตำบลบ่อทองอำเภอ หนองจิก ที่ผ่านมาสี่แยกดังกล่าวมี อุบัติเหตุในปี 64 ถึงปี 66 จำนวน 29 ครั้ง ท่านนายกเทศมนตรีตำบล บ่อทอง พันจ่าเอกมาหามุ หวังจิ ได้เคยหารือ ร่วมกับหน่วยงานระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ขณะนี้รอเพียงการจัดสรรงบประมาณ จึงขอให้มีการเร่งรัดเป็นกรณีเร่งด่วน

จุดที่ 2 ขอให้เร่งรัดการขยายผิวจราจร ตอนนาจวก ถึงดอนยาง ช่วงบริเวณ แยกนาเกตุ ถึงศูนย์วิจัยข้าว ปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ กรมทางหลวง ได้มีการขยายช่องทางหลวง ถนนเดิมจาก 2 ช่องทางจราจร เป็น4 ช่องจราจรแล้ว บริเวณหน้าสนามบินบ่อทอง แต่ช่วงดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการ

จุดที่3 ขอให้เร่งรัดการขยายผิวจราจร ถนนสายทางหลวงหมายเลข 409 เป็น4 ช่องจราจร แยกนาเกตุถึง นาประดู่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ถนนสายดังกล่าว มีประชาชนใช้สัญจร จำนวนมากเพราะเป็น เส้นทางไปวัด ช้างให้น้ำตกทรายขาว มัสยิด 300 ปี และเป็นเส้นทาง สายเก่าไปยังจังหวัดยะลา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

พปชร.หนุนใช้มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ผ่านกลไก2 รมว.เข้มสกัดเผาพื้นที่เพาะปลูก ลดควันดำบนถนน

,

พปชร.หนุนใช้มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5
ผ่านกลไก2 รมว.เข้มสกัดเผาพื้นที่เพาะปลูก ลดควันดำบนถนน

21 ธันวาคม 2566 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) เขต 2 จ.ฉะเชิงเทรา ในฐานะโฆษกพรรค เปิดเผยว่า พรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน ถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ก่อน พรบ. อากาศสะอาด จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

นายอรรถกรกล่าวว่า พปชร.ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ได้ร่วมขับเคลื่อนการบริหารงาน เพื่อผลักดันการทำงานผ่านกลไกของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์วรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งทั้ง 2 กระทรวงได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการต่างๆ เร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอให้ช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอย่างถูกวิธี โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปปรับให้เหมาะสม นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท ในฐานะประธานการประชุมควบคุมฝุ่นละอองจากภาคจราจร ได้ขอความร่วมมือให้เข้มงวดกวดขันเรื่องรถควันดำ และควรมีการจัดชุดปฏิบัติการตรวจให้มีความถี่ขึ้นและควรเพิ่มชุดตรวจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากการจราจรให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ในการก่อฝุ่นมลพิษ ที่พรรค จะมีการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหามาโดยตลอด จากนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพปชร. ที่ให้ความสำคัญในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

,

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ค่าความเค็มในแม่น้ำบางประกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตนจึงขอฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และกรมชลประทาน ให้ช่วยเตรียมรับมือกับค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ ตนยังได้รับการประสานงาน เรื่องถนนในหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ต.ศาลาแดง และช่วงคลอง 18 คลอง 19 ไฟถนนดับ เนื่องจากมีคนมาขโมยอุปกรณ์สายไฟ ซึ่งเรื่องนี้เกิดมานานแล้ว จึงขอฝากไปยังกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา ให้ส่งคนเข้าไปแก้ไขโดยด่วน

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับการร้องเรียน ให้เร่งสร้างประตูระบายน้ำหลังวัดจระเข้ตาย ที่อ. ราชสาส์น เนื่องจากเรื่องนี้มีการอนุมัติงบประมาณไปนานแล้วแต่มีความล่าช้า หลังจากอนุมัติงบประมาณแล้วมีการเปลี่ยนจุด ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนชุดก็ต้องเปลี่ยนแบบ และเมื่อมีการเปลี่ยนแบบแล้วก็ต้องหาผู้รับเหมา แม้ขนาดนี้จะได้ผู้รับเหมาแล้วแต่ ยังไม่ได้ลงมือทำ โดยเรื่องดังกล่าวค้างคามานานถึง 10 ปี หากเร่งสร้างประตูระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าวได้ จ่ายสามารถช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“พัชรวาท” ฟิต ถกแก้ฝุ่นพิษ 2 ชุดรวด จับมือ “ธรรมนัส” ประกาศสงคราม PM 2.5 และการเผา กำชับขนส่ง-จราจร คุมเข้มตั้งจุดตรวจรถควันดำ แนะเพิ่มความถี่ ขยายวงกว้าง

,

“พัชรวาท” ฟิต ถกแก้ฝุ่นพิษ 2 ชุดรวด จับมือ “ธรรมนัส” ประกาศสงคราม PM 2.5 และการเผา กำชับขนส่ง-จราจร คุมเข้มตั้งจุดตรวจรถควันดำ แนะเพิ่มความถี่ ขยายวงกว้าง

ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรม โดยชุดแรกได้เชิญ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีระดับเข้มข้นขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน จึงเชิญหน่วยที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อหาแนวทางรับมือร่วมกัน โดยเฉพาะภาคเกษตรที่จะเข้าสู่ฤดูกาลของการเผา

ในที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันว่า มาตรการที่เคยดำเนินการมาอาจจะไม่ได้ผล เพราะปริมาณฝุ่นไม่ลดลง
จึงเห็นควรประกาศสงครามกับ PM 2.5 และการเผา และควรมีการสื่อสารกับประชาชน ว่าการเผาผิดกฏหมายอาญาเข้าข่ายการวางเพลิงมีโทษสูง ทั้งถูกจับถูกปรับ และหากพบว่าในที่ดิน สปก.มีการเผาอาจจะมีการยกเลิกสิทธิ์ในการออกเป็นโฉนด รวมทั้งที่ดินจากคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติอาจจะถูกยึดคืน ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอให้มีการล็อกเป้าตรึงพื้นที่เกษตร ในช่วง 2-3 เดือนจากนี้ ไม่ควรมีการเผา เพราะเป็นช่วงวิกฤติ หรือให้มีการเผาน้อยที่สุด ควรมีมาตรการลดเผาตอซังข้าว โดยเสนอให้ช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ เช่น น้ำยาอีเอ็มช่วยย่อยสลาย หรืออาจร่วมมือกับเอกชนรับซื้อใบอ้อย ใบข้าวโพดมาอัดเป็นพลังงานชีวมวล การไม่รับซื้ออ้อยที่เผาไฟ เป็นต้น ซึ่งมาตรการทั้งหมดจะนำไปปรับแก้แล้วนำกลับเสนอให้คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนพิจารณาในวันที่ 21 ธ.ค.ต่อไป

หลังจากประชุมชุดแรกแล้วเสร็จ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เป็นประธานการประชุมควบคุมฝุ่นละอองจากภาคจราจร โดยมีตัวแทนจากกรมการขนส่งทางบก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. และผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม.

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า วันนี้ที่เชิญทุกหน่วยงานมา เพื่อขอความร่วมมือให้เข้มงวดกวดขันเรื่องรถควันดำ และควรมีการจัดชุดปฏิบัติการตรวจให้มีความถี่ขึ้นและควรเพิ่มชุดตรวจให้มากยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งต้องประสานความร่วมมือกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กับตำรวจจราจร ในการทำงานจะได้ไม่ซ้ำซ้อนในด้านพื้นที่ตรวจสอบรถควันดำ ขณะเดียวกันขอฝากผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจังหวัดปริมณฑลช่วยตรวจตราการเผาในพื้นที่เกษตรกรด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง

,

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง
นำเทคโนโลยีพัฒนาระบบ ยกระดับด้านความปลอดภัยลดการสูญเสียชีวิต-ทรัพย์สินบนท้องถนนทุกเส้นทาง

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2566 สมาคมเวชศาสตร์การจราจร หัวข้อ “ภาพใหม่เชิงระบบสู่งานเวชศาสตร์การจราจร เทคโนโลยี การจัดการ และเวชปฏิบัติ” (New Ecology of Traffic Medicine: Technology, Management & Clinical practice) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะงานเวชศาสตร์การจราจร ทั้งด้านเทคโนโลยียานยนต์และการขนส่ง รูปแบบการจัดการจราจรยุคใหม่ นวัตกรรมด้านความปลอดภัย วิทยาการทางการแพทย์ด้านการป้องกันและการรักษาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรของประเทศไทย โดยมี นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมเวชศาสตร์การจราจร กรรมการบริหารสมาคม คณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุและความปลอดภัยทางถนน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า เวชศาสตร์การจราจรเป็นวิทยาการทางการแพทย์เน้นการศึกษาวิเคราะห์ ระบบการป้องกันความเสี่ยงภัยจากความปลอดภัยทางการจราจรและการตรวจประเมินสมรรถนะทางร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการขับขี่ยานยนต์ ก่อนให้การรับรองทางการแพทย์หรือให้คำแนะนำ เพื่อการรักษาหรือป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแขนงความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่ท้าทายการพัฒนาให้เท่าทันกับยุคสมัยที่ระบบการจราจรมีปริมาณและความชับซ้อนมากขึ้น ตามความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม การมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การจราจรที่มีความรู้ความสามารถ และมีจำนวนที่เพียงพอทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการลดปัญหาการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจราจรได้

“การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร สร้างความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาของ TDRI ในปี 2562 พบว่า มีมูลค่าความสูญเสียรวม 642,743 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ GDP และในปีเดียวกันนี้ พบว่า มูลค่าความเสียหายต่อรายกรณีเสียชีวิต มีมูลค่าสูงได้ถึง 6.7ล้านบาทต่อราย และกรณีบาดเจ็บ 2 ล้านบาทต่อราย เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราการตายจากการจราจรทั้งโลกอยู่ที่ 15 ต่อแสนประชากร โดยประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจร 25 ต่อแสนประชากร สูงเป็นอันดับที่ 21 ของโลก แต่ถ้านับจากผู้เสียชีวิตที่มีจำนวน 18,218 คน จะอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งดีขึ้นกว่าสถานการณ์ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้”

“กระทรวงสาธารสุขเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจรปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของระบบการฝึกอบรม และการสนับสนุนให้มีจำนวนสถาบันฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น ครอบคลุมทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ หรือทุกหน่วยงาน ทั้งจราจรทางหลวง ทางด่วน ทางหลวงชนบท เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชน ให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและรวดเร็ว ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุน้อยลง”

นายสันติ กล่าวอีกว่า หากมีการอบรมบุคลากรในชนบท ทั้งตำรวจ ฝ่ายปกครอง ให้มีความพร้อมทางเวชศาสตร์การจราจรก็จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะแนวคิดที่งานเวชศาสตร์การจราจรกระจายตัวไปยังภูมิภาคต่าง ก็จะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้กับนักท่องเที่ยวได้ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุยังมีการเตรียมความพร้อม ความรวมเร็วในการรักษาชีวิตไว้ได้ เพราะการท่องเที่ยวต้องอาศัยการเดินทางเป็นหลัก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส. อัครแสนคีรี” จี้ รัฐ เปิดเผยต้นทุนนำเข้าก๊าซผลิตไฟฟ้า พร้อม ถาม เกษตร-คนหาเช้ากินค่ำ เป็นกลุ่มคนเปราะบางหรือไม่ หลัง ครม.เคาะตรึงราคาค่าไฟ

,

“สส. อัครแสนคีรี” จี้ รัฐ เปิดเผยต้นทุนนำเข้าก๊าซผลิตไฟฟ้า พร้อม ถาม เกษตร-คนหาเช้ากินค่ำ เป็นกลุ่มคนเปราะบางหรือไม่ หลัง ครม.เคาะตรึงราคาค่าไฟ

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าไฟหลายรอบ ซึ่งเคยขึ้นสูงสุดแตะที่ 4.78 บาท/หน่วย และล่าสุดทางคณะรัฐมนตรีได้ เรื่องค่าไฟไม่เกิน 4.20 บาท/หน่วย รวมถึงตรึงราคาค่าไฟสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ 3.99 บาท/หน่วย ตนมีข้อสงสัยและข้อเสนอแนะว่า เรื่องราคาก๊าซที่ประเทศไทยจัดหาที่มีบริษัท ปตท.จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อนำมาจำหน่ายให้โรงไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้ากว่า 55 % เป็นโรงไฟฟ้าประเภทก๊าซ ดังนั้น คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ได้สั่งให้ ปตท. ปรับลดค่าก๊าซธรรมชาติจากการผลิตไฟฟ้าจาก 323 บาท/หน่วย เหลือไม่เกิน 304 บาทต่อล้านบีทียู

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ดังนั้น จึงควรเปิดเผยรายละเอียดการนำเข้าต้นทุนก๊าซ เพื่อให้ประชาชนทราบว่ายังสามารถปรับลดค่าก๊าซได้อีกหรือไม่ และสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ ครม.ได้ตรึงค่าไฟนั้น อยากทราบว่ากลุ่มเกษตรกรและคนหาเช้ากินค่ำมีสิทธิ์หรือไม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส. ตรีนุช” เผย “พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงพื้นที่รับฟังปัญหาและข้อร้องเรียนของ ปชช.ที่ จ.เพชรบูรณ์-หนองคาย วันที่ 8 และ 12 ม.ค.67

,

“สส. ตรีนุช” เผย “พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงพื้นที่รับฟังปัญหาและข้อร้องเรียนของ ปชช.ที่ จ.เพชรบูรณ์-หนองคาย วันที่ 8 และ 12 ม.ค.67

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง สส.สระแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมการด้านกิจกรรมสัมพันธ์ กล่าวว่า พรรคมีแนวคิดในการจัดพรรคสัญจร เพื่อลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาต่างๆ ของประชาชนในแต่ละพื้นที่ โดยในวันที่ 8 ม.ค.67 จะลงพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ มอบโฉนดที่ดิน โดย พล.อ.ประวิตรและพรรคจะไปดูเรื่องน้ำและที่ดินทำกิน ซึ่งพรรคพลังประชารัฐได้ทำมาตลอด และ พล.อ.ประวิตรให้ความสำคัญตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง และนับตั้งแต่เดือน ม.ค.67 จะมีการขับเคลื่อนเรื่องแปลง ส.ป.ก. เป็นโฉนด หัวหน้าพรรคจึงต้องการลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อร้องเรียน โดย จ.เพชรบูรณ์ มีเรื่องร้องเรียนค่อนข้างมาก

“พล.อ.ประวิตร ต้องการไปรับฟังปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานในรัฐบาลที่ดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างราบรื่น และในวันที่ 12 ม.ค.67 จะลงพื้นที่ จ.หนองคาย เพื่อไปติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ ด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” นั่งประธานแก้ปัญหาประมงทะเลเห็นชอบเพิ่มวันทำประมงสูงสุด 50 วัน 
เตรียมเดินหน้าโครงการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน มุ่งแก้หนี้พี่น้องเกษตร

,

“รมว.ธรรมนัส” นั่งประธานแก้ปัญหาประมงทะเลเห็นชอบเพิ่มวันทำประมงสูงสุด 50 วัน

เตรียมเดินหน้าโครงการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน มุ่งแก้หนี้พี่น้องเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 2/2566 โดยมีนายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบการเพิ่มวันทำการประมงให้กับเรือที่ใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระหนี้สินของชาวประมง รวมถึงเป็นการนำสัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามค่าปริมาณสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตทำการประมง ปีการประมง 2566 โดยแบ่งเป็น 1)ฝั่งอ่าวไทย กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์หน้าดินเพิ่มวันทำการประมง 50 วัน กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำเพิ่มวันทำการประมง 50 วัน และกลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตักเพิ่มวันทำการประมง 30 วัน 2)ฝั่งอันดามัน กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์หน้าดินเพิ่มวันทำการประมง 20 วัน กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำเพิ่มวันทำการประมง 30 วัน และกลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตักเพิ่มวันทำการประมง 50 วัน ซึ่งการจัดสรรวันทำการประมงเพิ่มเติมสำหรับเรือประมงแต่ละลำขึ้นอยู่กับจำนวนวันทำการประมงที่เหลืออยู่ของเรือประมงลำนั้น นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) กฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับภาคการประมง จำนวน 9 ฉบับ พร้อมสั่งการให้เร่งดำเนินการออกประกาศกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องชาวประมงอีกด้วย

ทั้งนี้ รมว.ธรรมนัส ได้ให้ความสำคัญกับการกำจัดกลไกการลักลอบนำเข้าสินค้าประมงผิดกฎหมายสู่ราชอาณาจักรไทย โดยกำชับการเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้า และการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าประมงตกต่ำ พร้อมทั้งเตรียมจัดทำโครงการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน โดยมอบหมายให้กรมประมงหารือร่วมกับพี่น้องชาวประมงทั้งประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ธันวาคม 2566

“ส.ส.ปริญญา ฤกษ์หร่าย” งานวันกีฬาแห่งชาติ ปี 2566 พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการและร่วมสัมมนา ทิศทางกีฬาไทย ณ อาคารรัฐสภา

, ,

“ส.ส.ปริญญา ฤกษ์หร่าย” งานวันกีฬาแห่งชาติ ปี 2566 พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการและร่วมสัมมนา ทิศทางกีฬาไทย ณ อาคารรัฐสภา

18 ธค 2566 นายปริญญา ฤกษ์หร่าย สมาชิกสภาผู้แทยราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกีฬาชุดที่ 26 พร้อมด้วยที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ นายพรรษศรณ์ สาครเสถียร ร่วมงาน ทิศทางกีฬาไทย
ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 ธค 66 ณ.กิจกรรมชั้น B1 อาคาร รัฐสภา เพื่อสร้างโอกาสทางกีฬาให้กับเยาวชน และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้มีการมอบเกียรติบัตร แก่ ผู้ที่มีส่วน ร่วมสนับสนุนงานของ คณะกรรมาธิการกีฬา วุฒิสภาด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ธันวาคม 2566

“ส.ส.พปชร.นราธิวาส” ลงพื้นที่ปาเสมัส สุไหงโก-ลก นำถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ย้ำพล.อ.ประวิตร-เลขาฯ ห่วงใยปชช.สั่งการช่วยเหลือ ติดตาม-เฝ้าระวังสถานการณ์ใกล้ชิด

,

“ส.ส.พปชร.นราธิวาส” ลงพื้นที่ปาเสมัส สุไหงโก-ลก นำถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ย้ำพล.อ.ประวิตร-เลขาฯ ห่วงใยปชช.สั่งการช่วยเหลือ ติดตาม-เฝ้าระวังสถานการณ์ใกล้ชิด

18 ธค 2566 นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.เขต 3 จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ ร่วมกับนายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.เขต 2 จ.นราธิวาส นำถุงยังชีพ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียนมัสยิด และสถานที่ราชการ ใน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลปาเสมัส และตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำเพราะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งมีจำนวน 5 หมู่บ้าน มี 399 ครัวเรือน หรือ 2,067 คน ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

“จากเหตุการณ์ที่เกิดสร้างผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พปชร.และร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรค มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน ได้สั่งการให้ส.ส.สัมพันธ์ และผมลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือประชาชนและติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด พร้อมไปกับประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ“ นายอามินทร์กล่าว

โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จะเข้าไปช่วยเหลือ ประกอบด้วย 1. ต. ปาเสมัส หมู่ที่ 2 บ้านตือระ จำนวน 15 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 55 คน หมู่ที่ 3 บ้านกวาลอซีรา จำนวน 118 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 445 คน หมู่ที่ 4 บ้านมือบา จำนวน 64 ครัวเรือน ราษฏรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 315 คน หมู่ที่ 5 บ้านน้ำตก จำนวน 176 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 1,056 คน หมู่ที่ 7 บ้านกวาลอซีรอออก จำนวน 26 ครัวเรือน ราษฏรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 196 คน

2. ตำบลสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย – ชุมชนบือเร็ง จำนวน 10 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 43 คน ชุมชนบือเร็งใน จำนวน 20 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 92 คน ชุมชนโปฮงยามู จำนวน 180 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 810 คน ชุมชนท่าประปา จำนวน 83 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 381 คน ชุมชนท่าโรงเลื่อย จำนวน 70 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 322 คน ชุมชนท่ากอไผ่ จำนวน 30 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 138 คน ชุมชนหัวสะพาน จำนวน 86 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 387 คน ชุมชนกือดาบารู จำนวน 20 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 91 คน ชุมชนเสาสัญญาณ จำนวน 89 ครัวเรือน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 401 คน

สถานที่ราชการ/ศาสนสถาน ได้รับผลกระทบ จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
1.โรงเรียนบ้านตือระ หมู่ที่ 2 ตำบลปาเสมัส
2. ด่านกักกันสัตว์ หมู่ที่ 3 ตำบลปาเสมัส
3.โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซง หมู่ที่ 2 ตำบลมูโนะ
4.มัสยิดการีลมาติลอุลยา หมู่ที่ 5 ตำบลปาเสมัส

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ธันวาคม 2566

“สส. สัมพันธ์” เผย กมธ.แก้ปัญหาหนี้สินฯตั้ง 2 อนุ กมธ.เร่ง แก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน พร้อมติดตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

,

“สส. สัมพันธ์” เผย กมธ.แก้ปัญหาหนี้สินฯตั้ง 2 อนุ กมธ.เร่ง แก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน พร้อมติดตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) แก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตามที่ คณะ กมธ. ได้พิจารณาประเด็นหนี้ กยศ. หนี้สินเกษตรกร และหนี้นอกระบบ โดยได้เดินทางไปศึกษาดูงาน จำนวน 1 ครั้ง เรื่อง “การสร้างรายได้เพื่อลดปัญหาหนี้สิน ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา โดย กมธ.มีมติให้ตั้งคณะ อนุ กมธ. 2 คณะ คือ 1. คณะอนุ กมธ.ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน เนื่องจากปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเร่งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ และ 2.คณะอนุ กมธ. พิจารณาศึกษาปัญหาหนี้นอกระบบเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการและยั่งยืน ขึ้นเพื่อพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตลอดจนการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน 120 วัน และจัดทำรายงานผลการพิจารณาศึกษาต่อคณะ กมธ. และสภาผู้แทนราษฎร

นายสัมพันธ์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม กมธ.ได้กำหนดวาระการประชุมวันที่ 20 ธ.ค.66 โดยพิจารณา 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1. ติดตามการดำเนินงานโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Soft loan) โดยเชิญตัวแทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง 2. ปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัด ยะลา โดยเชิญตัวแทนจาก กรมป่าไม้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลอัยเยอร์เวง และ 3. ติดตามประเด็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 ตามความตกลงระหว่างประเทศ โดยเชิญ กระทรวงคมนาคม มาร่วมประชุม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ธันวาคม 2566