โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าความร่วมมือพัฒนาลุ่มน้ำโขงเสริมสร้างใช้น้ำยั่งยืน ย้ำศึกษาประโยชน์ร่วมกันทุกมิติรอบครอบพร้อมสร้างการนับรู้กับ ปชช.

,

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าความร่วมมือพัฒนาลุ่มน้ำโขงเสริมสร้างใช้น้ำยั่งยืน
ย้ำศึกษาประโยชน์ร่วมกันทุกมิติรอบครอบพร้อมสร้างการนับรู้กับ ปชช.

เมื่อ 2 มี.ค.66 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบ ความคืบหน้ากระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า ภายใต้ระเบียบปฏิบัติ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อน สานะคาม สปป.ลาว ซึ่งฝ่ายไทยยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดน ซึ่งพล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้คณะอนุกรรมการวิชาการ พิจารณาข้อมูลของโครงการให้เกิดความรอบคอบ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพน้ำ ระบบนิเวศ การประมง ทางผ่านปลา รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานความคืบหน้า การขอรับการสนับสนุนโครงการจัดการประมงข้ามพรมแดน ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF ครั้งที่8) รวมทั้งรับทราบความคืบหน้า โครงการจัดตั้งกองทุนแม่โขง (Mekong Fund) เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ในการบรรเทาผลกระทบและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบข้ามพรมแดนจากการดำเนินการบนแม่น้ำโขง สายประธาน รวมทั้ง ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบ ร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 ภายใต้แนวคิดหลักร่วมกัน คือ “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง” ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ในการมุ่งเน้นการดำเนินงานตามพันธะกรณีของความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเห็นชอบร่างถ้อยแถลงสำหรับนายกรัฐมนตรีในการประชุม”สุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขง ตอนล่าง” ครั้งที่ 4และร่างประเด็นสำหรับการหารือในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช., ก.การต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการฯ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และความมั่นคงของประเทศชาติ ภายใต้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกฯ พร้อมทั้งให้มีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนคนไทยในพื้นที่ได้รับทราบ อย่างทั่วถึง ควบคู่กันไปด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 มีนาคม 2566

พล.อ.ประวิตร ไม่ประมาท เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำรอยปี65 ถอดบทเรียนฯ ใช้ 12 มาตรการ กำชับทุกหน่วยรับมือฤดูฝนปี66 มุ่งลดผลกระทบ ปชช.ได้ประโยชน์สูงสุด

,

พล.อ.ประวิตร ไม่ประมาท เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำรอยปี65 ถอดบทเรียนฯ ใช้ 12 มาตรการ
กำชับทุกหน่วยรับมือฤดูฝนปี66 มุ่งลดผลกระทบ ปชช.ได้ประโยชน์สูงสุด

ว่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. กล่าวว่าที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ระยะเร่งด่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ จากเหตุการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาปี2565 ส่งผลให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ราว 2.8 ล้านไร่ ใน 16 จังหวัด ภาคกลาง ซึ่ง สทนช.ได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่ และขอรับการสนุนงบประมาณประจำปี66 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ ก่อนเสนอ ครม. ต่อไป

จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง)มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 โดย สทนช. ได้นำผลการถอดบทเรียนฯมาปรับปรุงเป็น 12 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 การคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงช่วงฝนทิ้งช่วง
มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก
มาตรการที่ 3 ทบทวนปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ /เขื่อนระบายน้ำและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ
มาตรการที่ 4 เตรียมความพร้อมซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร ให้พร้อมใช้งานและปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ
มาตรการที่ 5 เตรียมพร้อม /วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือบุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง
มาตรการที่ 6 ตรวจความมั่นคงปลอดภัยคัน ทำนบ พนังกั้นน้ำ
มาตรการที่ 7 ขุดลอกคู คลอง และกำจัดผักตบชวา
มาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้า ก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ
มาตรการที่ 9 เร่งเก็บกักน้ำแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน
มาตรการที่ 10 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์
มาตรการที่ 11 การสร้างการรับรู้/ประชาสัมพันธ์ และ
มาตรการที่ 12 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย และได้เห็นชอบ แผนป้องกัน และแก้ไขภาวะน้ำท่วมปี 2566 ของลุ่มน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อม ไว้ด้วยต่อไป

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน ร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านน้ำ ในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ำ ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งไดักำชับให้ สทนช.เตรียมการวางแผนการกักเก็บน้ำในฤดูฝน ให้มากที่สุด เพื่อไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย และให้สร้างการรับรู้ และการแจ้งเตือนภัยสถานการณ์น้ำให้ ประชาชนทราบ อย่างทั่วถึง ทันเวลาและต่อเนื่อง นอกจากนั้น พล.อ.ประวิตร ยังได้ขอบคุณ สทนช. และหน่วยงานที่รับผิดชอบ 10 มาตรการฤดูแล้ง ที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชน ทั่วประเทศ ได้ผลเป็นอย่างดี ที่ผ่านมา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 มีนาคม 2566

“มีลุงป้อม ไม่มีแล้ง”!!! “พล.อ.ประวิตร” หนุนโครงการน้ำบาดาล จ.ตรัง ช่วยชุมชนให้มีน้ำดื่มฟรี ลดรายจ่ายครัวเรือน

,

“มีลุงป้อม ไม่มีแล้ง”!!! “พล.อ.ประวิตร” หนุนโครงการน้ำบาดาล จ.ตรัง ช่วยชุมชนให้มีน้ำดื่มฟรี ลดรายจ่ายครัวเรือน

เมื่อ 27 ก.พ.66 ,16.00น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. พร้อมด้วย รมว.ศธ. ,รมช.กห. และคณะ ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการต่อเนื่องจากช่วงเช้า-บ่าย ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานการประชุม กพต. และพบปะผู้นำศาสนา-ชุมชนในพื้นที่ จ.สตูล ต่อจากนั้นในช่วงเย็น พล.อ.ประวิตร และคณะได้เดินทางต่อไปยัง จ.ตรัง เพื่อติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ณ บ้านพรุท่อม ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง จ.ตรัง โดยมีนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผวจ.ตรัง ให้การต้อนรับ พร้อมรายงานภาพรวมในพื้นที่ของจังหวัด ต่อด้วย รองเลขาฯสทนช. นำเสนอแผนงานด้านทรัพยากรน้ำและการคาดการณ์สถานการน์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ และรองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รายงานสรุปโครงการพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ซึ่งเป็นโครงการน้ำบาดาลเพื่ออุปโภค-บริโภค งป.ปี65 ความลึกเจาะ 90 ม.ได้ปริมาณน้ำ กว่า 20 ลบ.ม./ชม. ช่วยประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายจากที่เคยซื้อน้ำดื่มได้ปีละ 1.8ล้านบาท 500 ครัวเรือน

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้มอบนโยบายที่สำคัญแก่ สทนช. ให้เร่งบูรณาการหน่วยงาน ติดตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง อย่างเคร่งครัด พร้อมกำชับ จังหวัด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมชลประทาน เร่งสำรวจพื้นที่เสี่ยงและจัดหาแหล่งน้ำสำรอง ทั้งบนดิน ใต้ดิน รองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคต เพื่อยกระดับความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนให้ทั่วถึง จากนั้นได้พบปะกับพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก และรับฟังข้อคิดเห็นจากชาวบ้าน อย่างใกล้ชิด สร้างความประทับใจให้กับประชาชน และรู้สึกดีใจ ที่ท่านใจดี ให้ความเป็นกันเอง ไม่ถือตัว โดยมีมวลชนจำนวนมาก เชียร์ให้กำลังใจ เพราะเห็นถึง ความทุ่มเท ตั้งใจ เสียสละ ทำงานหนักเพื่อประชาชน อย่างแท้จริง และอยากให้ท่านเป็นนายกฯ คนต่อไปด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2566

พล.อ.ประวิตร พบปะชาวบ้านอุดร-หนองคาย-เลย เร่งรัดแผนจัดการน้ำ ย้ำ อีสานต้องไม่มีพื้นที่แล้งอีกต่อไป มั่นใจเกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

,

พล.อ.ประวิตร พบปะชาวบ้านอุดร-หนองคาย-เลย เร่งรัดแผนจัดการน้ำ ย้ำ อีสานต้องไม่มีพื้นที่แล้งอีกต่อไป มั่นใจเกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

วันนี้ (24 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กอนช. พร้อมด้วย รมช.คลัง และคณะ ได้เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่ จ.อุดรราชธานี, จ.หนองคาย และจ.เลย เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด

โดยในช่วงเช้า เดินทางไปยัง โรงเรียนภูพานวิทยา ต.ขอนยูง อ.กุดจับ จ.อุดรฯ มีนาย วันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัด. ให้การต้อนรับและรับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ จ.อุดรฯ จากเลขาฯ สทนช. ซึ่ง จ.อุดรฯ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และลุ่มน้ำชี รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วม อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการปี 61-65 ประชาชนได้รับประโยชน์ 55,586 ครัวเรือน จากงบกลางปี65 ได้รับประโยชน์ 1,045 ครัวเรือน งบบูรณาการฯ ปี66 จะได้รับประโยชน์ 6,955 ครัวเรือน งบตามแผนปฏิบัติการปี 67 ประชาชนจะได้รับประโยชน์ 53,175 ครัวเรือน และโครงการสำคัญอีก 6แห่ง ประชาชนจะได้รับประโยชน์ 43,500 ครัวเรือน

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้มอบนโยบายให้ สทนช. กรมชลประทาน และจังหวัด เร่งบูรณาการบริหารจัดการน้ำให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะ 10 มาตรการฤดูแล้ง ให้เข้มงวดตามนโยบาย พร้อมเร่งรัดโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเชียง (ตอนบน) เพื่อช่วยยกระดับความมั่นคงด้านน้ำ ให้ชาวบ้านและเกษตรกรให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ตลอดปี ยั่งยืน

พล.อ.ประวิตร ยังได้เดินพบปะ และรับฟังข้อคิดเห็นจาก พี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับจำนวนมาก อย่างใกล้ชิด ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง พร้อมขอถ่ายรูปเซลฟี่กับ พล.อ.ประวิตร เป็นที่ระลึก สร้างความประทับใจให้กับชาวบ้าน ที่มาร่วมกิจกรรมในโอกาสนี้ นอกจากนั้น พล.อ.ประวิตร ยังได้ยืนยันกับชาวบ้าน ว่าจะไม่ให้มีพื้นที่ประสบภัยแล้งในอีสาน อีกต่อไป ซึ่งได้มีกลุ่มชาวบ้านถือป้ายชูให้กำลังใจลุงป้อม และ อยากหนุนให้เป็นนายกฯของคนอีสานด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2566

“ดร.ศันสนะ” ลุย เขตธนบุรี-คลองสาน พร้อมพัฒนายกระดับ ศักยภาพพื้นที่ เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดึงรายได้เข้าสู่ชุมชนสร้างศก.ประเทศ

,

“ดร.ศันสนะ” ลุย เขตธนบุรี-คลองสาน พร้อมพัฒนายกระดับ ศักยภาพพื้นที่
เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดึงรายได้เข้าสู่ชุมชนสร้างศก.ประเทศ

ดร.ศันสนะ สุริยะโยธิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การท่องเที่ยว ว่า ภายหลังจากจีนเปิดประเทศ และประเทศไทยคือจุดหมายปลายทางหลักที่นักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากให้ความสนใจที่จะเดินทางมา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญกับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่จะมีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ประเทศ และยังจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

ดร.ศันสนะ กล่าวต่อว่า ตนมองว่าการที่นักท่องเที่ยวจีนและอีกหลายประเทศเริ่มกลับเข้ามาในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีกับการท่องเที่ยวของไทย ที่จะทำให้เกิดเม็ดเงินไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่การท่องเที่ยวไทยต้องหยุดชะงักไปเพราะสถานการณ์โควิดมาหลายปี

“เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ผมจึงมีนโยบายเพื่อพัฒนาพื้นที่ในเขตธนบุรีและคลองสาน รวมถึงพื้นที่ทั่วทุกเขตในกรุงเทพฯให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก เพื่อสร้างอาชีพ และสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการผลักดัน softpower ด้านการท่องเที่ยวและทุนทางวัฒนธรรม ให้เกิดเป็นของดีฝั่งธนฯ โดยได้มีสร้างองค์ความรู้ภาษาจีน การจัดอบรมภาษาจีน การทำป้ายแหล่งท่องเที่ยวภาษาจีน รวมทั้งจัดอาสาสมัครไกด์ภาษาจีน เพื่อนำเที่ยวจุดต่างๆ ที่น่าสนใจทั่วกรุงเทพฯ โดยเฉพาะฝั่งธนบุรีที่เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ยาวนาน”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2566

“ตรีนุช” มั่นใจจังหวัดสระแก้วสร้างนวัตกรรมการศึกษาตอบโจทย์พื้นที่ พร้อมดึงทุกภาคส่วนวางระบบศึกษาสอดรับความต้องการในพื้นที่

,

“ตรีนุช” มั่นใจจังหวัดสระแก้วสร้างนวัตกรรมการศึกษาตอบโจทย์พื้นที่ พร้อมดึงทุกภาคส่วนวางระบบศึกษาสอดรับความต้องการในพื้นที่

วันนี้ (23 ก.พ. 66) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวเปิดประชุม “การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ว่า จังหวัดสระแก้วเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่จะต้องการปฏิรูปการบริหารการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ให้คนไทยได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ ตั้งเป้าให้พื้นที่หรือจังหวัดจัดระบบการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และมุ่งหวังให้โรงเรียนพัฒนาตนเอง ยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทั้ง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม เพื่อนำร่องการกระจายอำนาจ และ ให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า จังหวัดสระแก้วได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีสถานศึกษาจากทุกสังกัด จำนวน 73 แห่ง หรือ เท่ากับ 1 ใน 4 ของสถานศึกษาทั้งหมดในจังหวัดสระแก้ว สมัครเข้าเป็นสถานศึกษานำร่อง ซึ่งตนขอชื่นชมสถานศึกษาทุกแห่งที่สมัครเข้าเป็นสถานศึกษานำร่องนับเป็นความท้าทายต่อตัวเอง และเป็นความกล้าหาญ ที่พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาให้เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมาผู้ว่าราชการจังหวัด ทีมงานการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้ริเริ่มสิ่งดีๆ ด้านการศึกษาให้แก่จังหวัดมากมาย มีการขับเคลื่อนการศึกษา เช่น โครงการพาน้องกลับมาเรียน รวมถึงการดำเนินจัดการศึกษาช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างโดดเด่น และการที่จังหวัดสระแก้วได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ก็ถือเป็นโอกาสทองของจังหวัดที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ให้ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและยกระดับคุณภาพการศึกษาจังหวัด

“อย่างไรก็ตามช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้อิสระกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอาจต้องพบเจอปัญหา อุปสรรคการดำเนินงาน และอาจมีข้อคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้น จึงอยากให้ทุกฝ่ายมองเห็นถึงเป้าหมายทางการศึกษาร่วมกัน คือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ มีการเปิดกว้างทางความคิด มีความเป็นผู้นำ สร้างเอกภาพ เป็นทีมเวิร์ค เพื่อดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และขอฝากให้คณะกรรมการขับเคลื่อนของจังหวัดสระแก้ว ใช้ประสบการณ์ที่มีร่วมกับประสบการณ์ในการทำงานของพื้นที่นวัตกรรมรุ่นแรกของทีมส่วนกลาง ทำให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสระแก้วสามารถสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ของพื้นที่และขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างก้าวกระโดด และความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพศึกษาของจังหวัดสระแก้ว จะนำมาขยายผลเพื่อเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศได้ต่อไป” นางสาวตรีนุช กล่าว.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2566

“พลเอกประวิตร” นำว่าที่ผู้สมัคร กทม.ขึ้นรถแห่ปราศรัยเขตป้อมปราบฯ พบปะปชช ปักธงชิงคะแนนเสียง กทม.กวาด 12 ที่นั่ง วอน เลือก พปชร.เข้าสภาฯขจัดปัญหา

,

“พลเอกประวิตร” นำว่าที่ผู้สมัคร กทม.ขึ้นรถแห่ปราศรัยเขตป้อมปราบฯ พบปะปชช ปักธงชิงคะแนนเสียง กทม.กวาด 12 ที่นั่ง วอน เลือก พปชร.เข้าสภาฯขจัดปัญหา

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวพรรค พปชร.ใช้ฤกษ์วันวาเลนไทน์ นำผู้บริหารพรรค นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรค นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรค นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหารพรรค นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค ที่รับผิดชอบพื้นที่กทม. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ลงพื้นที่หาเสียงในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นพื้นที่แรก

ทังนี้ก่อนเคลื่อนขบวน พลเอกประวิตร ได้เข้าไปในวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) เพื่อสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 จุด เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีประชาชนที่มาทำบุญรอทักทายจำนวนมาก พร้อมกล่าวว่า “ลุงป้อมสู้”ต่อจากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้ขึ้นรถแห่ปราศรัยหาเสียง และขอให้ชาวกรุงเทพฯ เลือกผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ เข้ามาทำหน้าที่แทนประชาชน ในการขจัดปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย

ขบวนรถแห่ได้เคลื่อนตัวออกจาก ไปยังวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยตลอดเส้นทาง ได้ผ่านหน้า สน.พลับพลาไชย มุ่งหน้า ถ.หลวง เข้าแยกแม้นศรี เข้าวัดสระเกศฯ ด้านถนนจักรพรรดิพงษ์ โดยคณะของพล.อ.ประวิตร ได้ทักทาย พ่อค้า แม่ค้า ประชาชน ที่มาทำบุญ และจับจ่ายซื้อตลอดสองข้างทาง ซึ่งได้รับการต้อนรับที่ดีจาก กทม.ต่างโบกมือทักทาย พร้อมชูป้ายสนับสนุนให้ พล.อ.ประวิตร เป็นจำนวนมาก

พล.อ.ประวิตร กล่าวในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งว่า เป็นเป็นครั้งแรกที่ขึ้นรถปราศรัยหาเสียง ที่ลงพื้นที่ในวันนี้เพราะเป็นวันวาเลนไทน์ ต้องการให้ความรัก ก้าวข้ามความขัดแย้ง และแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นนโบบายของพรรคพลังประชารัฐ ในวันนี้ก็ได้รับการต้อนรับจากชาว กทม.เป็นอย่างดี ตนก็ต้องขอขอบคุณทุกคนด้วย ส่วนการเลือกตั้งในจังหวัด กทม.ตนตั้งใจไว้ว่าพรรคพลังประชารัฐจะได้ 12 คน แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ แต่เราพยายามคัดคนที่มีความรู้ ความสามารถ ที่จะเข้ามาทำงานให้กับประชาชน

ทั้งนี้ ว่าที่ผู้สมัคร กทม.ที่ร่วมขบวนการปราศรัยในวันนี้ ประกอบด้วย นายรังสรรค์ กียปัจจ์ , น.ส.ชญาภา ปรีดาพากย์ ,น.อ.บัญชาพล อรัณยะนาค ,น.ส.ณิรินทร์ เงินยวง , นายภูวกร ปรางภรพิทักษ์ , นายสาโรจน์ ซึ้งไพศาลกุล , นางนาถยา แดงบุหงา ,ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช ,พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง

นายกานต์ กิตติอำพน ,ดร.สฤษดิ์ ไพรทอง,นายปราโมทย์ เพ็ชรฤทธิ์ ,ภญ.นพวรรณ หัวใจมั่น,น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ,ดร.สุชาดา เวสารัชตระกูล ,นายศิริพงษ์ รัสมี ,นายพีระพงษ์ รัสมี

นายกิติภูมิ นีละไพจิตร์,นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา ,นายเอกชัย ผ่องจิตร์ ,น.ต.นิธิ บุญยรัตกลิน ,นางนฤมล รัตนาภิบาล ,นายศันสนะ สุริยะโยธิน , ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร, นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ ,ดร.นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล, นายพณิชย์ วิทยาภัทร์ ,ดร.ภูมิพิชัย ธารดำรงค์, นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ, นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายวันนี้ ควงว่าที่ผู้สมัครพบปะประชาชนเดินหน้าสู้ศึกเลือกตั้ง

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายวันนี้ ควงว่าที่ผู้สมัครพบปะประชาชนเดินหน้าสู้ศึกเลือกตั้ง

ภญ.นพวรรณ หัวใจมั่น ว่าที่ผู้สมัครส.ส.กทม.เขตบางเขน กล่าวว่า ในวันนี้ (14 ก.พ.2566) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยผู้บริหารพรรคพลังประชารัฐ และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. ส่งความรัก ส่งความห่วงใยให้ชาว กทม. ภายใต้แคมเปญ “รวมพลังส่งความรักถึงชาวกรุงเทพฯ” ที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งแต่เวลา 14.00-15.30 น. ซึ่งเป็นพื้นที่แรกของ ทีมพรรคพลังประชารัฐ ในการร่วมพลังหาเสียง ร่วมกับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ทั้งหมด นำทีมโดยนายสกลธี ภัททิยกุลกรรมการบริหารพรรค และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ กทม. โดยเส้นทางในแต่ละจุด ระหว่างเดินทางจะมีการพบปะ และทักทายกับพี่น้องประชาชน

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตรและว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. ได้เริ่มจุดพบปะพี่น้องประชาชน ที่วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) พร้อมสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นเคลื่อนขบวนไปที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร สักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ พระอุโบสถวัดสระเกศฯ (ผ่านเส้นทางหน้า สน.พลับพลาไชย มุ่งหน้าสู่ ถ.หลวง มุ่งหน้าสู่แยกแม้นศรี เพื่อเข้าวัดสระเกศฯ ด้านจักรพรรดิพงษ์) แล้วเคลื่อนขบวนสู่สวนสาธารณะ “ป้อมมหากาฬ” นับเป็นกิจกรรม หาเสียงของพปชร. ในพื้นที่กทม.ที่มีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ในสนามการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2566

ส.ส.ชลบุรี พปชร. ร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เร่งสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ตำบลหนองปรือ

,

ส.ส.ชลบุรี พปชร. ร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เร่งสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ตำบลหนองปรือ

นายรณเทพ อนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องมาจากปี 2543 พื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ของตำบลสระสี่เหลี่ยม หัวถนน หนองปรือ หนองเหียง นาวังหิน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และที่ดินในตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ของถนนทางหลวงหมายเลข 331 ชลบุรีไปจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปทั้งผืน ก็คือสปก 4-01 เนื่องจากทุกตำบลนั้นเรียงชิดติดกัน เป็นระยะทางที่ยาว และก็พร้อมที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้กับผู้เข้าครอบครองทำประโยชน์

นายรณเทพ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการปฏิรูปในเวลานั้นเข้าใจผิดคิดว่า พื้นที่ของหมู่ที่ 8 ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตของตำบลหนองเหียง จึงไม่ได้เดินสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ ทำให้ที่ดินที่ตำบลหนองปรือ นั้นเป็นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ตนขอเรียกร้องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ เนื่องจากว่าสภาพป่านั้นได้หมดสิ้นไปแล้ว

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #รณเทพอนุวัฒน์
Twitter :
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“สส. อรรถกร” เสนอกรมชลประทาน เร่งอนุมัติงบซ่อมสายยางคลองท่าลาด หลังมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปี

,

“สส. อรรถกร” เสนอกรมชลประทาน เร่งอนุมัติงบซ่อมสายยางคลองท่าลาด หลังมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาสายยางระเบิดที่คลองท่าลาด ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปีแล้ว โดยตนทราบมาว่า สายยางปกติจะมีระยะอายุการใช้งานประมาณ 10 ปีเท่านั้น

“เบื้องต้นผมทราบมาว่า เจ้าหน้าที่ของชลประทาน ผมขอไม่เอ่ยนาม ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คือนำถุงทรายมาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ซึ่งมันไม่เพียงพอ ผมขอฝากไปยังกรมชลประทาน ขอให้อนุมัติเร่งด่วนงบเหลือจ่ายในการซ่อมสายยางที่คลองท่าลาดด้วย”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรรถกรศิริลัทธยากร
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“สส.อรรถกร” แนะหาแหล่งต้นทุนเพิ่ม เดินหน้าแก้ไขปัญหาแล้งอย่างยั่งยืน

,

“สส.อรรถกร” แนะหาแหล่งต้นทุนเพิ่ม เดินหน้าแก้ไขปัญหาแล้งอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งในประเทศไทย เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา พอถึงหน้าน้ำแล้งก็จะรณรงค์ให้ใช้น้ำน้อยๆ แต่นั่นคือการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จะต้องหาแหล่งต้นทุนน้ำเพิ่มเติม ถึงจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน

นายอรรถกร กล่าวถึงปัญหาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีความต้องการการใช้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้น้ำจืดไล่น้ำเค็ม ใช้น้ำเค็ม ไล่น้ำจืด หรือว่าปัญหาประปาเป็นสีส้ม สีน้ำตาล ตนจึงขอเสนอคำว่า เราควรหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณการใช้น้ำในกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา

“อีกหนึ่งวิธี ก็คือ การผลักดันโครงการผลักน้ำจากอ่างเก็บน้ำพระสะทึง จังหวัดสระแก้ว มายังอ่างเก็บน้ำคลอง 4 ยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจังหวัดสระแก้วมีปริมาณน้ำฝนตก มากกว่าปริมาณความจุของอ่างเก็บน้ำ ดังนั้นถ้าเราสามารถวางท่อ และนำน้ำจากที่พักสะทึงสระแก้วมาเก็บไว้ที่ 4 ยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จะช่วยพี่น้องประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรรถกรศิริลัทธยากร
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

ได้ใจชาวนครฯ !!! “ศ.ดร.นฤมล”พาผู้สมัคร ส.ส.ลุยรับฟังปัญหา”ขยะ-ประมง” รับปากพปชร.ไม่ทิ้งชาวประมง “เร่งแก้น้ำเน่าจากขยะล้นเมืองทันที ไม่ต้องรอหลังเลือกตั้ง

,

ได้ใจชาวนครฯ !!! “ศ.ดร.นฤมล”พาผู้สมัคร ส.ส.ลุยรับฟังปัญหา”ขยะ-ประมง”
รับปากพปชร.ไม่ทิ้งชาวประมง “เร่งแก้น้ำเน่าจากขยะล้นเมืองทันที ไม่ต้องรอหลังเลือกตั้ง

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช เพื่อพบปะประชาชน และผู้นำชุมชน โดยมีว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ของพรรคพลังประชารัฐ เช่น นางสุภาพ ขุนศรี ,นายสุธรรม จริตงาม ,นายคมเดช มัชฌิมวงศ์ ,นายสุนทร รักษ์รงค์ เรือเอก ดร.นพ.พิชาญศักดิ์ บุญมาศ และนางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ให้การต้อนรับ โดย ศ.ดร.นฤมล ได้ร่วมประชุมว่าที่ผู้สมัครของพรรคเพื่อรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะ ในด้านต่างๆ ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ นำมาสู่การวางแผน และกำหนดนโยบายให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ศ.ดร.นฤมล ยังได้พบปะประชาชนที่มารอต้อนรับจำนวนมาก และได้กล่าวว่า วันนี้ได้มีการหารือกับว่าที่ผู้สมัครทุกเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ข้อสรุปว่า เราจะทำงานกันเป็นทีม แม้จะอยู่กันคนละเขตแต่เรามีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนเหมือนกัน ในการขับเคลื่อนครั้งนี้ พรรคพลังประชารัฐก็ได้กำลังสำคัญอย่าง นางฮูวัยดีย๊ะที่จะเข้ามาผลักดันในเรื่องของสิทธิสตรีชาวมุสลิมที่หลายพรรคยังไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้

ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า ถ้าตัวแทนของพรรคพลังประชารัฐทั้งหมดที่นั่งอยู่ที่นี่ ได้รับโอกาสจากพี่น้องให้เข้าไปทำหน้าที่แทน พรรคพลังประชารัฐจะดำเนินการเพิ่มเงินในบัตรประชารัฐเป็นจำนวนเงิน 700 บาทต่อเดือนทันที ตามนโยบายแรกที่เราได้ประกาศเอาไว้ ซึ่งนโยบายดังกล่าว เราได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชนว่า ในสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อ จำนวนเงิน 200 – 300 บาทนั้น ไม่เพียงพอต่อการจะดำรงชีพเบื้องต้นแล้ว ทางพรรคจึงออกมาเป็นสวัสดิการดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือประชาชน

นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังมีนโยบายอีกหลายอย่างที่จะเข้ามาช่วยเหลือประชาชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ก็ได้ทราบปัญหาของชาวใต้ที่สำคัญ ก็คือ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมในทุกๆปี ทางพรรค จะนำเรื่องนี้บรรจุเข้าไปเป็นนโยบาย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประมง ที่ในขณะนี้ผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐได้รับทราบแล้ว และกำลังนำเข้าบรรจุในนโยบายที่จะแก้ไขกฎหมาย และเร่งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ด้านนางฮูวัยดีย๊ะ กล่าวว่า จากอดีตตนเคยเป็น ส.ส.เขต 1 ที่จังหวัดนี้ กลับมาครั้งนี้เราก็จะมาร่วมจับมือกัน เพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลานของคนใต้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ของสตรี นครศรีธรรมราชของเรา มีผู้หญิงเข้าไปทำงานในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นายก อบต.,อบจ.ส.ส.หรือ รัฐมนตรี เรามีมาหมดแล้วอนี่คือมรดกของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ส่งต่อกันมา

“พรรคพลังประชารัฐ ได้ให้โอกาสตนเข้าไปผลักดันนโยบายเรื่องสิทธิสตรี เพราะปัจจุบันจำนวนเพศหญิงมีมาก และก็มีปัญหาตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการภาระดูแลครอบครัว หรือการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เช่นกรณีที่ผู้หญิงพี่ต้องดูแลลูกอยู่เพียงคนเดียว รัฐจะเข้าไปดูแลท่านทันที หรือผู้หญิงที่มีภาระในครอบครัวไม่สามารถออกไปทำมาหากินหาเงินเข้าบ้านได้พรรคการเมืองในอนาคตก็จะต้องเข้ามาดูแล รวมไปถึงปัญหายาเสพติดในสังคม รัฐก็จะต้องเข้าไปดูแลในรูปแบบของการอำนวยความสะดวก และการแก้ไขปัญหาของสังคม สิ่งเหล่านี้คือ ภาพตัวอย่างที่ตนจะเข้าไปผลักดันให้เป็นโครงการต่างๆ ที่จะมาแก้ปัญหาในชุมชน ผ่านทางแม่บ้าน ผ่านทางกลุ่มผู้หญิง นี่คือสิ่งที่เหตุผลที่ตนได้มาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ”

ด้านนางสุภาพ กล่าวว่า ตนได้มีโอกาสเสนอเรื่องนโยบายกับทางพรรคแทนชาว
นครฯทุกคน และมั่นใจว่า นโยบายทุกข้อที่พรรคพลังประชารัฐได้หาเสียงไว้กับประชาชน จะทำทันทีที่พรรคได้เข้าไปเป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารประเทศ อย่างเช่นปัญหาของอาชีพประมงพื้นบ้าน วันนี้ตนก็ได้ปรึกษากับ ศ.ดร.นฤมล ถึงปัญหานี้ร่วมกัน และเราจะหาทางออกในเรื่องนี้กันอย่างไร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดี เพราะพรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญกับชาวประมงทุกคนในประเทศไทย และจะนำปัญหานี้เข้าบรรจุเป็นนโยบายหลักของพรรคด้วย

ทั้งนี้ช่วงหนึ่งทางพรรคพลังประชารัฐได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยส่วนใหญ่ขอให้แก้ปัญหาการนำขยะจากพื้นที่ใกล้เคียงมาทิ้งไว้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง เน่าเสีย ปลาตาย ไม่สามารถจับปลาขายได้ รวมถึง ปัญหาชาวประมงที่ถูกบังคับด้วยกรอบกฎหมายเข้มงวด ไม่สอดคล้องกับบริบทความเป็นจริง และวิถีชีวิตของพี่น้องชาวประมง

ศ.ดร.นฤมล กล่าวกับพี่น้องประชาชนว่า ในเรื่องขยะที่ทำให้น้ำเน่าเสีย สามารถดำเนินการได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอถึงการเลือกตั้ง โดยจะผลักดันปัญหานี้ผ่านไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน แต่ในส่วนของปัญหาชาวประมง ทางพรรคพลังประชารัฐได้ติดตามมาโดยตลอด ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เรื่องหลักคือปัญหาด้านกฎหมาย สิ่งที่จะทำได้ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย แต่ในปัจจุบันมีผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วก็จำเป็นต้องมีการเยียวยาตามมา

“การแก้ไขกฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร ขอให้ทุกคนได้อดทนเอาไว้ก่อน วันนี้ไม่ว่าเราจะได้เข้าไปในสภา หรือไม่ได้เข้าไปเป็นรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐจะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้ให้กับชาวประมงให้ได้ ขอให้สัญญา ไม่จำเป็นว่าต้องเลือกเรา แล้วเราจะแก้ปัญหาให้ท่านเท่านั้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2566