โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์” เสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันงบประมาณสร้างถนนใน จ. เพชรบูรณ์ ลดปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.

,

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์” เสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันงบประมาณสร้างถนนใน จ. เพชรบูรณ์ ลดปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึงปัญหาความล่าช้า ของการสร้างถนนเส้นอำเภอวังโป่ง อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าถนนเส้นนี้ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ มีแบบเรียบร้อยแล้ว จากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการของบประมาณไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในระยะทางก่อสร้างประมาณ 5400 เมตร เป็นถนนที่จะใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอวังโป่ง และอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถย่นระยะทางได้ประมาณ 30 กิโลเมตร

“ผมขอให้กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ช่วยผลักดันงบประมาณให้กับถนนเส้นรวมถึงโครงการต่างๆที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดปัญหา เรื่องการถ่ายโอนของถนน วันนี้อุทกภัยน้ำพัดผ่าน ถนนขาดหลายสาย ขอให้ช่วยเร่งและเห็นความสำคัญกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตชนบทด้วย เพราะถนนที่ขอมาเป็นเส้นทางสร้างคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ ที่ประชาชนต้องใช้เดินทุกวัน แต่วันนี้ถนนหลายสายในอำเภอชนแดน อำเภอโป่ง อำเภอหนองไผ่ และทั้งจังหวัด ผมคิดว่าทั้งประเทศก็เป็นเหมือนกัน ที่ยังไม่ได้รับการดูแล ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“พัชรวาท” สั่งด่วน ทุกหน่วยงานใน ทส. เข้าสนับสนุนให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย

,

“พัชรวาท” สั่งด่วน ทุกหน่วยงานใน ทส. เข้าสนับสนุนให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 // พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยหลายจังหวัดในขณะนี้เป็นการเร่งด่วน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่บรรเทาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้มอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อประสานงานและสั่งการ

ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแล้ว โดยให้นำเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น เรือ เครื่องสูบน้ำ รถลำเลียง รวมถึงกำลังพล ทั้งจากกรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมสนับสนุนกับทางจังหวัด เพื่อเร่งบรรเทาสถานการณ์ให้กับพี่น้องประชาชนโดยเร็ว พร้อมทั้งได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงานจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อให้การเข้าช่วยเหลือประชาชนและการสนับสนุนการปฏิบัติการในแต่ละพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ ยังได้ให้จัดเตรียมน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค – บริโภค นำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยเพื่อไม่ให้ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ด้วย

สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดดินโคลนถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ได้สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณี และกรมทรัพยากรน้ำ เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนภัยไปยังพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น ในช่วงนี้จึงขอให้อาสาสมัครเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในแต่ละพื้นที่ เฝ้าติดตามสถานการณ์และประสานงานร่วมกับแต่ละหน่วยงานอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ในส่วนพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว ยังได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ ประสานงานกับท้องถิ่น ติดตามสำรวจบ่อกำจัดขยะ เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ปัญหาขยะภายหลังสถานการณ์น้ำลดอีกด้วย นายจตุพร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 ตุลาคม 2566

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

,

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.จ.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ร่วมประชุมกับ น.ส.อัจฉรา อาษาสู้ นายอำเภอภักดีชุมพล และนายสมบัติ มีลักษณะสม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานชัยภูมิ ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงปัญหาอุปสรรค ที่จะนำไปสู่การวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากในขณะนี้ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่ ประกอบกับภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดชัน เมื่อมีปริมาณฝนที่สะสมมาก จะก่อให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในบางพื้นที่สร้างความเสียหายเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำฝนเป็นผลจากอิทธิพลของมรสุมที่พาดผ่าน และความผิดปกติของสภาวะอากาศในประเทศที่มาจากเอลนีโญ ซึ่งการบริหารจัดการจะมีความสำคัญมาก เนื่องจากในพื้นที่พี่น้องประชาชนมีความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภคในช่วงฤดูแล้ง และในช่วงฤดูฝน เนื่องจากไม่สามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

,

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายก อบต. ,กำนัน ต.ทุ่งรวงทอง,กำนัน ต.บ้านกาด อ.แม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากน้ำไหลหลากล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.66

นายนเรศ กล่าวว่า โดยหลังจากผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้รับเรื่องแล้ว จึงได้สั่งการให้หัวหน้าฝ่ายงานวิศวกรรม นายช่างชลประทาน หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เลขนานุการนายกเทศมนตรีตำบลแม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเร่งด่วน และแผนระยะยาวพื้นที่ 7 จุด ที่มีปัญหาในลำน้ำแม่วาง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

,

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชัยภูมิ ตนได้เดินทางไปพบปะกับพี่น้องประชาชนจังหวัดชัมภูมิ เพื่อสอบถามถึงปัญหาและข้อเรียกร้องของการเดินทางมาชุมนุมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดินจากโครงการสร้างเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้าและเป็นเก็บกักน้ำป้อนระบบชลประทาน ในเขตอำเภอแก้งคร้อ

“ผมได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อเร่งดำเนินการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินจากการสร้างเขื่อนลำปะทาว ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินตามมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงแจ้งเรื่องการทำหนังสือดังกล่าวกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับจะติดตามต่อไป“นายอัครแสนคีรี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” รับ-ส่งมอบไปทำลายซากสุกรเถื่อน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมรุกปราบสินค้าเกษตเถื่อนเข้าประเทศ สร้างความเขื่อมั่นให้ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” รับ-ส่งมอบไปทำลายซากสุกรเถื่อน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมรุกปราบสินค้าเกษตเถื่อนเข้าประเทศ สร้างความเขื่อมั่นให้ปชช.

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีส่งมอบ-รับมอบ และนำตู้สินค้าประเภทซากสุกรของตกค้างและของกลาง ในคดีพิเศษที่ 59/2566 จำนวน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ ไปทำลาย โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายอำนาจ เจริญศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายพชร อนันต์ศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียง ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายกำหนดมาตรการประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน มุ่งปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจัง จึงได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแก้ไขปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน ผลผลิตตกต่ำ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ รวมถึงการหลอกลวง สินค้าผิดกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งได้ประกาศการขับเคลื่อนยุทธการปราบปรามการลักลอบนำเข้า-ส่งออก สินค้าเกษตรผิดกฎหมายไปเมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา และในวันนี้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ ได้รับมอบตู้สินค้าของกลางฯ จำนวน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 4.3 ล้านกิโลกรัม มูลค่ากว่า 567 ล้านบาท จากกรมศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิบัติการของกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการท่าเรือสีขาว โดยได้เปิดตู้คอนเทนเนอร์สินค้าตกค้าง พบสินค้าผิดกฎหมายทั้งหมูเถื่อนและอื่น ๆ จากนี้จะดำเนินการทำลายของกลางฯ ดังกล่าวทิ้งให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและเรียกความเชื่อมั่นจากผู้เลี้ยงสุกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ว่ากระทรวงเกษตรฯ ได้เอาจริงเอาจังกับการปราบปรามสินค้าเกษตรที่ลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรต่อไปในอนาคต

“การรับมอบและเผาทำลายซากสุกรที่ลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย ในคดีพิเศษที่ 59/2566 เป็นการสะท้อนความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรมศุลกากร และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่แบบบูรณาการ ร่วมกันบังคับใช้กฎหมายปราบปรามและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้เลี้ยงสุกรได้รับความเป็นธรรม ไม่กระทบกลไกราคาสุกรในประเทศ รวมทั้งลดความเสี่ยงด้านโรคระบาดสัตว์ทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในอาชีพ ตลอดจนช่วยป้องกันอันตรายจากสารปนเปื้อนที่มาจากหมูเถื่อนไปสู่ผู้บริโภค สำหรับการทำลายซากสุกรเถื่อนที่ได้ตัดไฟเครื่องทำความเย็นในวันนี้ จะต้องทยอยทำลายให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ตุลาคมนี้ และเพื่อเป็นการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำอีก จะมีการขยายผลและตรวจสอบเส้นทางการเงินรวมทั้งดำเนินการยึดทรัพย์ด้วย โดยได้มอบหมายนายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการกำกับดูแลและบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้นขึ้นด้วย” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางไปยังสำนักชลประทานที่ 9 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อ KICK OFF เผาทำลายซากสุกรของกลางฯ ชุดแรกจำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยวิธีการเผาในเตาเผาระบบปิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับของกลางส่วนที่เหลือจะทยอยนำไปเผาทำลายเป็นชุด ๆ ด้วยการฝังกลบที่จังหวัดสระแก้วจนครบ 161 ตู้คอนเทนเนอร์ตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามมาตรฐานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) และดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย และตรวจสอบได้ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2566

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

,

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1 /2566 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ตลอดจนผู้บริหารของกระทรวงเข้าร่วม โดยมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 เรื่อง ซึ่งอยู่ในนโยบาย Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริ / โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 2. เศรษฐกิจสุขภาพ “น่าน โมเดล (NAN_MODELs)” 3. ด้านดิจิทัลสุขภาพ 4. โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 5. ด้านมะเร็งครบวงจร 6. การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร และ 7. ด้านสถานชีวาภิบาล

นายสันติ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง นั้นมองว่า บลูโซนเป็นคำจำกัดความที่สื่อถึงพื้นที่ต่างๆที่เอื้อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมีความปลอดในทุกรูปแบบ จึงอยากฝากแนวคิดว่า ถ้าตำบลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนายกระดับให้เป็นบลูโซน เมื่อนักท่องเที่ยวทางเข้ามาก็จะเกิดความสบายใจได้ทันทีว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ปลอดภัยในทุกๆด้าน ทั้งเรื่องอากาศ สาธารณสุข อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า หรือ ตลาดที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งหากมีแนวคิดนี้ออกไปทำให้กระทรวงสาธารณสุขดูเข้มแข็งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

,

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

นายคอชีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 (อ.หนองจิก และ อ.โคกโพธิ์)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาไปยังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นในความล่าช้าการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น เป็นเงินค่าเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ อีก4 อำเภอจังหวัดสงขลา

ในตอนที่ตนทำหน้าที่ประธานชมรมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ได้ยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐให้นำเสนอสวัสดิการการปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฤษฎีกาสวัสดิการปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยง พ.ศ. 2544 และแก้ไขปฏิบัติพื้นที่ 3 ปี 2560 ว่าด้วยบำเหน็จเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของชายแดนภาคใต้ ครั้งที่หนึ่งโดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานในการประชุม มีวาระเห็นชอบและสวัสดิการเบี้ยเสี่ยงภัยของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น

“วันนี้เข้ามาเดือนกันยายน ยังไม่มีการจ่ายเงินเสี่ยงภัย ให้กับสมาชิกสภาท้องถิ่น การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ผมจึงขอนำเรียนให้ท่านนายกเศรษฐา ได้มีบัญชาสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรีบดำเนินการให้กับผู้บริหารท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับความเท่าเทียมได้รับเบี้ยเสี่ยงภัยเหมือนกับหน่วยงานราชการอื่นด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เดินหน้าขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5ทั้งโครงสร้าง-ระบบ ดึงทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทุกมิติเพื่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ ยั่งยืน

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เดินหน้าขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5ทั้งโครงสร้าง-ระบบ ดึงทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทุกมิติเพื่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ ยั่งยืน

วันที่ 27 กันยายน 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทส. ได้พบปะประธานคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด นายบัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ โดยมี นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมผู้บริหาร ทส. เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นมิติภาพรวม ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ เพื่อลดปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง ทั้งด้านข้อจำกัดในการบริหารงานของภาครัฐ ด้านปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจนและเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร และด้านปัญหาการกำกับระบบตลาดเสรี

การประชุมหารือ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ 7 ข้อ ได้แก่ ด้านการระบบ Big Data เพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา PM2.5 ด้านการมีหน่วยงาน กลไกประสานและดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เป็นกลไกทำงานต่อเนื่อง ด้านการทำงานประสานเชื่อมโยงกับกระทรวง และคณะกรรมการตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้วิเคราะห์และปรับปรุงแนวทางแก้ปัญหา PM2.5 จากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ ด้านการสร้างระบบและเครือข่ายการทำงานกับภาคเอกชน และภาควิชาการ ด้านระบบงบประมาณเพื่อการป้องกัน เผชิญเหตุ และฟื้นฟู เยียวยา ทั้งในระยะเร่งด่วน เป็นการจัดสรรงบกลาง งบลงทุนภาคเอกชน และเงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และในระยะเร่งรัด มีงบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการทำงานตามแผนแม่บทและแผนปฏิบัติด้านฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการแก้ไข ปรับปรุง กฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ด้านการสื่อสารสาธารณะทุกช่องทาง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมความร่วมมือ ลดความสับสนของข้อมูลฝุ่น PM2.5 และปรับลดพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของ PM2.5

นอกจากนั้นยังมี 5 ข้อเสนอต่อการจัดการปัญหารายสาขาตามแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ทั้งภาคเกษตรกรรม กรณีข้าวโพด นาข้าว และอ้อย ภาคคมนาคมขนส่ง และฝุ่นควันข้ามแดน โดย ทส. มุ่งเป้าจัดการที่เป็นพื้นที่ไฟไหม้มากที่สุดในปี 2566 ไม่ให้เกิดไฟที่ลักลอบเผาในป่า สนับสนุนการขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด พร้อมดึงทุกภาคส่วนร่วมแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา PM2.5 แบบ Win-Win และ Quick Win ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวและเกิดความยั่งยืน โดย ทส.จะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดผลและขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

,

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึง ความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอกคำใต้ ซึ่งได้เสนอไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับคำร้องเรียน จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ร้องขอต่อกรมโยธาธิการ ไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่หลังสถานีประมง จังหวัดพะเยา ในช่วงฤดูฝน น้ำกว้านพะเยาเอ่อล้นก็ถูกระบายไปสู่แม่น้ำอิง ทำให้บริเวณบ้านฝั่งหมิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับประตูน้ำ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดปัญหาน้ำท่วมทะลักเข้าสู่บ้านเรือนที่พักอาศัย บางแห่งถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงตัวบ้าน ไม่รู้จะพังขึ้นมาเมื่อไหร่ ยิ่งอยู่ใกล้ประตูน้ำระบายด้วย ทีนี้ก็ลำบากก็ว้าวุ่นเลย ต้องหากระสอบทรายจำนวนมากนำมากั้นน้ำเป็นประจำทุกปี ขอฝากความเดือดร้อนนี้ไปยังกรมโยธาธิการ

นายจีรเดช กล่าวว่า อีกปัญหาที่ถูกเรียกร้องมามากก็คือ ปัญหาน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำร่องช้าง และอยู่ช่วงปลายน้ำที่แคบคอขวด ที่สำคัญปลายน้ำยังไม่ทะลุเชื่อมต่อไปถึงแม่น้ำอิงที่ไหลลงไปสู่แม่น้ำโขง ในช่วงหน้าฝน เกิดน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ไม่สามารถระบายได้ทันก็เอ่อล้นเข้าสู่บ้านเรือนพี่น้องชาวบ้าน ต้องขนเข้าของเครื่องใช้ ไปที่สูงเพื่อหนีน้ำ บางทีน้ำมาไว ก็ขนไม่ทัน สร้างความเสียหายอย่างหนัก และเกิดขึ้นซ้ำซาก ตั้งแต่ผมจำความได้

”ผมขอฝาก 2 เรื่องนี้ ไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยไปสำรวจตรวจสอบ หาแนวทางแก้ไข รวมทั้งรีบจัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน“นายจีรเดช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

,

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวนำเสนอญัตติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศไทย โดยเป็นญัตติที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เป็นผู้เสนอ

โดย นายอัครแสนคีรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สส.ไผ่ ลิกค์ ที่ได้ มอบหมายตนมานำเสนอในสภา บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีการขายซื้อง่าย ทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากเป็นที่แพร่นิยมของวัยรุ่น สาเหตุที่มีความนิยม ในกลุ่มผู้ใช้เป็นเพราะว่า มีรูปลักษณ์และกลิ่น ที่ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของผลไม้ หรือเป็นกลิ่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้มีความชื่นชอบและมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หลักๆ มี 4 หน่วยงาน คือ หน่วยงานพาณิชย์ ,คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค,พรบ.ควบคุมยาสูบ และกรมศุลกากร ซึ่งจะดูในส่วนของการนำเข้า ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานเหล่านี้ มีการ กำกับดูแล การออกกฏหมาย มีบทลงโทษที่ชัดเจน

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 6,408 ล้านบาทต่อปี และมีการเติบโตที่ร้อยละ 100 ต่อปี โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9 และที่สำคัญ มีการสูบตามเพื่อนฝูงถึง 92.2% พูดง่ายๆ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นเพื่อนใช้กันแล้วก็อยากใช้ตาม และที่สำคัญคือ ไม่ทราบว่าด้านในมีสาร นิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในประเทศไทย ดังนั้นการนำเข้ามาขาย รวมถึงการจัดจำหน่าย ก็เป็นการลักลอบเข้ามาจำหน่าย ส่วนประเทศทุกวันนี้ที่มี ฃการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้วมี ประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งจะมีบางประเทศที่สามารถจำหน่ายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เช่นออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา

“ผมได้ศึกษาเบื้องต้น จากตัวอย่างของประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างในประเทศจีน จะมีข้อกำหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การกำจัดอายุขั้นต่ำ,ห้ามขายใกล้สถานศึกษา,การห้ามจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง อย่างประเทศญี่ปุ่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินก็จะไม่สามารถขายได้ ส่วนเกาหลีเกาหลี อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีการเก็บภาษีที่สูง โดยสรุปในต่างประเทศก็จะมีกฎหมาย เพื่อเข้ามากำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบารากุและบุหรี่ไฟฟ้า หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 60 หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5000 บาท และ พรบ.ศุลกากรปี 60 ซึ่งมีการห้ามลักลอบนำเข้ามีบทลงโทษชัดเจน

“เราต่างทราบกันดีว่าข้อเท็จจริง แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกับไม่สอดคล้องกับเจตนาของกฎหมายที่มี ในปัจจุบัน นั่นก็คือยังมีการนำเข้า มีการจำหน่ายมีการสูบกันอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กฎหมายได้ห้ามเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางในการเก็บส่วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งด่าน หรือการจ่ายส่วย เพื่อจัดจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 60 พบว่า รายได้ภาษีกรมสรรพสามิต ยาสูบมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้า มีมูลค่ามากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ถ้าบุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายอยู่แบบนี้ รัฐย่อมไม่สามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลไกราคา ไม่สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อหาข้อสรุปว่า ข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบของการออกกฏหมายมาควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ก่อให้เกิดอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า หรือกฎหมายควบคุมผู้บริโภค การกำหนดอายุของผู้บริโภค ที่ชัดเจนรวมถึง การจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อการลดปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

”อนุรัตน์“ขอ ก.สาธารณสุข อนุมัติงบประมาณ ปรับปรุงอาคาร รพ.จุน และโรงบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอในการรองรับ ปชช.กว่า 7 ตำบล

,

”อนุรัตน์“ขอ ก.สาธารณสุข อนุมัติงบประมาณ ปรับปรุงอาคาร รพ.จุน และโรงบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอในการรองรับ ปชช.กว่า 7 ตำบล

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.เขต 2 จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาว่า ตนของบประมาณ สนับสนุนก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอจุน เพราะโรงพยาบาลอำเภอจุน ได้รับผิดชอบผู้ป่วยทั้งหมด 7 ตำบล ซึ่งโรงพยาบาลจุนนั้น ก่อตั้งในปี 2525 เป็นโรงพยาบาล 10 เตียง จากนั้นปี 2533 ได้ขยายเป็น 30 เตียง และปัจจุบันนี้โรงพยาบาลจุน สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 52 เตียง มีแพทย์ 8 อัตราหัตถกรรม ทันตแพทย์ 6 อัตรา เภสัชสกร 7 อัตรา และ พยาบาล 53 อัตรา จากสถิติการรับผู้ป่วยนอกรับต่อปี 119,382 คน/ปี ผู้ป่วยภายใน2,392 คน/ปี และแผนกทันตกรรม 23,374 คน/ปี จะเห็นได้ว่าจากสัดส่วนของผู้ป่วย ตัวอาคารของโรงพยาบาลนั้น ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดปัญหาผู้ป่วยที่อยู่ในอำเภอจุน ต้องไปใช้บริการโรงพยาบาลในตัวจังหวัดพะเยา อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง หรืออำเภอเชียงคำ

“ผมในฐานะที่วันนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมเองเกิดมาไม่มีบ้านอยู่ ผมเติบโตในโรงพยาบาลจุน แค่เพียงว่าโชคดีมีแม่เป็นแพทย์ ตั้งแต่ปี 2526 ถึงปี 2539 ได้เห็นปัญหาต่างๆ และปัญหาในโรงพยาบาลจุน ยังมีปัญหาเรื่องน้ำเสีย เพราะระบบบำบัดในโรงพยาบาลจุนนั้น เก่าเต็มที ผ่านมา 40 กว่าปี ไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนโรงบำบัดน้ำเสียให้แก่ประชาชนเลย“นายอนุรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ระบบไฟฟ้าในอาคารมีปัญหาติด ๆ ดับ ๆ ถ้าไฟดับ ก็ไม่มีสำรองไฟให้กับโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาลลำบากเป็นอย่างยิ่งขอ จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลจุน เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างทั่วถึง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566