โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“สส.คอซีย์”ขอ กรมโยธาฯกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนงานและงบประมาณแก้ปัญหาแนวตลิ่งคลองตุยงถูกน้ำกัดเซาะ พร้อมพัฒนาแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยางให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

,

“สส.คอซีย์” ขอ กรมโยธาฯกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนงานและงบประมาณแก้ปัญหาแนวตลิ่งคลองตุยงถูกน้ำกัดเซาะ พร้อมพัฒนาแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยางให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อพิจารณาจัดทำแผนงานแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน สืบเนื่องจากตนได้รับข้อร้องเรียนจากนายสะการียา หามะ นายก อบต. ดาโต๊ะ, นายฉัตรชัย เจะปอ นายก อบต. ลิปะสะโง, นายมะดารี เจ๊ะมะ นายก อบต.คอลอตันหยง, นายซานูซี วงศ์ปัตน นายก อบจ.ปุโละปุโย ได้แจ้งสภาพของแนวตลิ่งคลองตุยง ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะ พังทลาย ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข จะกระทบต่อพื้นที่การเกษตร และเส้นทางคมนาคมของพี่น้องประชาชน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงสำรวจ พร้อมจัดให้มีแผนงาน และงบประมาณแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้วางแนวทางพัฒนาพื้นที่ตำบลบ่อทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ่อทอง โดยมี พ.จ.อ.มาหามุ หวังจิ นายกเทศมนตรีตำบลบ่อทอง ขอให้พิจารณาพัฒนาพื้นที่ในแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยาง ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว จังหวัดปัตตานี ในแผนงานพัฒนาผังเมืองของกรมโยธาธิการและผังเมือง ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

“เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ดังกล่าว เป็นเหลี่ยมแรกที่จะพัฒนา เพื่อให้เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และตำบลบ่อทองยังเป็นประตูด่านแรกสู่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปยังปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หากมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้มีความสอดคล้องด้านวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยว จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิกและจังหวัดปัตตานี เป็นอย่างมาก จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาให้มีแผนงานและงบประมาณพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

,

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 และนายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ร่วมเสวนา เรื่อง “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมสุพจน์ มิเถาวัลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย สส.ทั้งสองท่านได้ร่วมกันเล่าถึงประวัติความเป็นมา บทบาทหน้าที่การทำงานทางการเมือง การทำงานในคณะกรรมาธิการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความเดือดร้อนของประชาชนไปสู่การแก้ไข

ด้านนางบุญยิ่ง ได้ร่วมกันอภิปรายถึงแนวคิดการมีส่วนทางการเมืองในมุมมองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักวิชาการว่า ถึงแม้ประชาชนทั่วไปจะไม่ได้มีบทบาทเป็นนักการเมือง แต่ก็สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยการใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ ประกอบกับติดตามสถานการณ์ทางสังคม หรือปัญหาในพื้นที่ของตนเอง และดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

ส่วนมุมมองของนักวิชาการ นางบุญยิ่ง มองว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พลเมืองสามารถรับข้อมูลข่าวสารแทบจะทันที แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาให้ตกผลึกเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรสร้างความตะหนักรู้ให้กับพลเมืองในการเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้ตั้งคำถามแลกเปลี่ยนในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ปัญหาในพื้นที่ ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่เยาวชนให้ความสนใจ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กรกฎาคม 2567

“สส.จีรเดช”เปิดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน มุ่งหวังเด็กไทยจะตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ตัวเอง ไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

,

“สส.จีรเดช”เปิดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน มุ่งหวังเด็กไทยจะตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ตัวเอง ไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภาคเหนือ ณ จังหวัดพะเยา โดย กล่าวในพิธีเปิดว่า เยาวชนในวันนี้จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากตำราในห้องเรียน โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบาท หน้าที่ของคณะ กมธ.สามัญ สภาผู้แทนราษฎร ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของเยาวชนตามรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนต่อไป

“ขอฝากถึงเยาวชนว่า จะต้องมีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง มุ่งศึกษาเรียนรู้เต็มความสามารถ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างชีวิตที่ดีในอนาคต ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม ไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมมีความสงบสุข พร้อมกล่าวขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา และคณะครู อาจารย์ วิทยากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการจัดโครงการครั้งนี้”

ทั้งนี้ นายจีรเดช ได้มอบของที่ระลึกให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ที่ได้จัดหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นนักเรียน จาก 18 โรงเรียน และมอบเอกสารชุดเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ให้กับโรงเรียนที่มาเข้าร่วมเพื่อแสดงความขอบคุณ

สำหรับการจัดอบรมโครงการรัฐสภาสัญจรฯ ดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในกระบวนการทางประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และเสริมสร้างความรู้ในเรื่องสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ และความรับผิดชอบของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการเป็น SMART Parliament ในด้านการให้บริการรูปแบบรัฐสภาดิจิทัล (Digital Parliament) ซึ่งการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากหลายฝ่าย เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ พลังของเยาวชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กรกฎาคม 2567

“รมช.สันติ” ชูนโยบายอาหารปลอดภัย ดึงภาคีเครือข่ายยกระดับสู่มาตรฐาน SAN เดินหน้าเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพรับตลาดท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่สร้างรายได้ปชช.

,

“รมช.สันติ” ชูนโยบายอาหารปลอดภัย ดึงภาคีเครือข่ายยกระดับสู่มาตรฐาน SAN เดินหน้าเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพรับตลาดท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่สร้างรายได้ปชช.

เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดและมอบนโยบายการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบกิจการอาหารไทย ปลอดภัย อนามัยดี “มี SAN ไม่มีเซ็ง” เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีความรู้ ความข้าใจ หลักเกณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ให้มีการจัดการสุขลักษณะที่ดีและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนมาตรฐาน SAN&SAN Plus และสื่อสารความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องไปสู่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การดูแลสุขาภิบาลอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วม ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญด้านการสร้างเศรษฐกิจสุขภาพ และนักท่องเที่ยวปลอดภัย ผ่านกลไกการพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขาภิบาลอาหาร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักเกณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบกิจการอาหาร ให้มีความสะอาด ปลอดภัย พร้อมยกระดับการสื่อสาร ความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยการควบคุม กำกับดูแล สุขลักษณะของสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ทั้งนี้ได้ขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหารแบบภาคีเครือข่าย ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่ เช่น ศูนย์อนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคประชาชน ตลอดจนสมาคมและชมรมผู้ประกอบกิจการ ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์ป้ายมาตรฐาน งานสุขาภิบาลอาหารให้สอดรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นที่จดจำง่ายแก่ผู้บริโภคภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ แซน (SAN) และแซนพลัส (SAN Plus)

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 กรกฎาคม 2567

ชาวนครศรีฯ ปลื้ม!“สส.สุธรรม”ขอบคุณ“พล.ต.อ.พัชรวาท”ห่วง ปชช.ที่ทำกินในป่าสงวนหลังกระทรวงทรัพย์ฯ มอบสมุดประจำตัวที่ดินทำกินกว่า 37,334 ไร่ ให้ชาวบ้านกว่า 1,972 ราย

,

ชาวนครศรีฯ ปลื้ม!“สส.สุธรรม”ขอบคุณ“พล.ต.อ.พัชรวาท”ห่วง ปชช.ที่ทำกินในป่าสงวนหลัง
กระทรวงทรัพย์ฯ มอบสมุดประจำตัวที่ดินทำกินกว่า 37,334 ไร่ ให้ชาวบ้านกว่า 1,972 ราย

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนได้เข้าร่วมพิธีมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 37,334 ไร่ ให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอทุ่งสง อำเภอบางขัน และอำเภอทุ่งใหญ่ จำนวน 1,972 ราย ณ โรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบให้กรมป่าไม้เร่งดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีพื้นที่ทำกินอย่างถูกต้องภายใต้ข้อกฎหมายกำหนด โดยการมอบสมุดประจำตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันนี้ทำให้พี่น้องประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยทำกิน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ควบคู่การส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พี่น้องประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ผมต้องขอขอบพระคุณ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการแก้ไขปัญหาสิทธิทำกินให้กับประชาชน และขอขอบคุณไปยังทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือให้งานในวันนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี”นายสุธรรม กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 กรกฎาคม 2567

“สส.สะถิระ”พูดแทนชาวสัตหีบขอความเป็นธรรม เท่าเทียมกับพื้นที่อื่น หลังต้องเสียค่าธรรมเนียมจ่ายค่าน้ำ 2 บาท แถมคุณภาพน้ำยังต่ำ เร่ง มท.แก้ปัญหาด่วน

,

“สส.สะถิระ”พูดแทนชาวสัตหีบขอความเป็นธรรม เท่าเทียมกับพื้นที่อื่น หลังต้องเสียค่าธรรมเนียมจ่ายค่าน้ำ 2 บาท แถมคุณภาพน้ำยังต่ำ เร่ง มท.แก้ปัญหาด่วน

นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ สส.ชลบุรี เขต 10 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของพี่น้องอำเภอสัตหีบ โดยมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 9 ม.ค.67 ซึ่งเป็นอีกครั้งที่มติ ครม.ลืมว่า ผู้ให้บริการของประเทศไทยของเราไม่ใช่มีแค่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง แต่ยังมีกิจการไฟฟ้าส่วนกลางสัมปทาน ของกองทัพเรือ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ประโยชน์ต่างๆ เมื่อมีมติ ครม.ชาวสัตหีบจะไม่ได้สิทธิประโยชน์นั้นๆ โดย มติครม.ได้มีการผ่อนผันให้ประชาชนที่อยู่ระหว่างพิสูจน์สิทธิ์สามารถขอใช้ไฟฟ้าและประปาชั่วคราวได้ โดยนำร่องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจันทบุรี

“อำเภอสัตหีบยังมีพี่น้องประชาชนที่ยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้อีก 1,000 ครัวเรือน จึงขอให้นายกรัฐมนตรี นำร่องที่อำเภอสัตหีบและจังหวัดชลบุรีด้วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้มานานเกือบ 40-50 ปีแล้ว”นายสะถิระ กล่าว

นายสะถิระ กล่าวต่อว่า ชาวอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ไม่ได้รับความยุติธรรมเกี่ยวกับการชำระค่าประปา
เมื่อเดือนที่แล้ว หรือปีที่แล้ว ไม่เสียค่าธรรมเนียม และไม่แค่นั้น พื้นที่อื่นๆนอกจากอำเภอสัตหีบแล้ว ก็ไม่เสียค่าธรรมเนียม ล่าสุด มาเดือนนี้ชาวพี่น้องอำเภอสัตหีบ ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจ่ายค่าน้ำประปาให้กับธนาคาร บิลละ 2 บาท มันไม่ใช่แค่เรื่องเงินแต่มันเป็นเรื่องของความยุติธรรม และความเท่าเทียมกัน กลับพื้นที่อื่นๆ จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดูแลเรื่องให้ด้วย รวมถึงการประปาภูมิภาคขอให้ปรับปรุงคุณภาพเรื่องน้ำขุ่นและเหลือง รวมถึงบริษัท อีสต์วอเตอร์ จำกัด มหาชน ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเร่งแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนชาวสัตหีบ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

”รมช.อรรถกร“ย้ำ ”รมว.ธรรมนัส ประกาศห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ เผย กรมประมง ตัดราก ถอนโคน เตรียม เหนี่ยวนำชุดโครโมโซมเป็น 4n ทำหมัน หยุดการแพร่พันธุ์ แก้ปัญหาการระบาดที่ต้นตอ

,

”รมช.อรรถกร“ย้ำ ”รมว.ธรรมนัส ประกาศห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ เผย กรมประมง ตัดราก ถอนโคน เตรียม เหนี่ยวนำชุดโครโมโซมเป็น 4n ทำหมัน หยุดการแพร่พันธุ์ แก้ปัญหาการระบาดที่ต้นตอ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม.พรรคก้าวไกล ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่สอบถามถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตปลาหมอคางดำ เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้หนักมาก ถือเป็นมหันตภัยร้ายที่สามารถทำลายมูลค่าทางเศรษฐกิจสัตว์น้ำไปปีหนึ่งหลาย 1,000 ล้านบาท

โดยนายอรรถกร กล่าวว่า เมื่อในวันที่ 6 พ.ค. ร.อ.ธรรมนัส ในฐานะเจ้ากระทรวงเกษตรฯ ตน และ สส.ณัฐชา ได้ลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาจากพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ แนวทางการทำงานของกระทรวงเกษตรฯเราจะไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีในการเลี้ยงเพิ่ม ต้องกำจัดอย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ตนยืนยันได้ โดยต้นตอปัญหามาจากเมื่อปี 2553 มีการขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำ สายพันธุ์เอเลี่ยน ซึ่งก็เป็นระยะเวลา 14 ปีก่อน โดยจากข้อมูลที่ตนได้รับจากกรมประมงว่า มีการนำเข้าปลาชนิดนี้อยู่ที่ 2000 ตัว จากบริษัทที่ตนเชื่อว่า พี่น้องคนไทยเคยได้ยินชื่อเป็นอย่างดี เราไม่สามารถปฏิเสธได้

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า วัตถุประสงค์ในการนำเข้า ตนเชื่อว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี ในการนำเข้ามาเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ให้เจ้าตัวปลาสามารถทนน้ำได้ดีกว่าเดิม ซึ่งกระบวนการเท่าที่ตนศึกษามาก็คงจะเป็นการไขว้สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้มันมีความคงทนยิ่งขึ้น เพื่อให้มันเกิดผลทางเศรษฐกิจ เราปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า ณ เวลานั้นในวันที่มีการนำเข้ามาทุกอย่างนั้นเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย มีการขออนุญาตถูกกฎหมายตาม พ.ร.บ.ประมงปี 2490 ซึ่งขณะนั้น ระบุไว้แต่เพียงว่า จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ในการนำสัตว์น้ำจากต่างประเทศเข้ามา ซึ่งมันมีเอกสารมติในที่ประชุมในระบุเลยว่า อนุญาตให้นำเข้า เนื่องจากเป็นเรื่องเดิมที่เคยขออนุญาตแล้ว ซึ่งก่อนปี 53 คงจะมีการขอนำเข้าประมาณ 5000 ตัว แต่นำเข้าจริง 2,000 ตัว ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ คือ ให้กรมประมงเก็บตัวอย่างครีบโดยไม่ทำให้ตาย อย่างน้อย 3 ตัว เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้ผู้ขอนำเข้า แจ้งผลการทดลองแก่กรมประมงและควรมีการป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองหลุดรอดไปในธรรมชาติ ในกรณีที่การทดลองได้ผลไม่ดีผู้ขอนำเข้าไม่ประสงค์จะใช้ปลาต่อไป ขอให้ทำลายและเก็บซากไว้ให้กรมประมงตรวจสอบ

“จากการตรวจสอบการระบาดของปลาสายพันธุ์นี้ในช่วงปี 2560 และหลังจากนั้นผมก็เชื่อได้ว่า มันเป็นปัญหาที่ลามมาจนถึงทุกวันนี้ ผมได้ให้กรมประมงตรวจสอบย้อนหลังว่า ผมและกรมประมงยืนยันว่า กรมประมงไม่พบหลักฐานของการนำส่งตัวอย่างของปลาสายพันธุ์นี้เข้ามา ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือเป็นน่าเสียดาย เพราะถ้าเรามีหลักฐานที่เคยเก็บไว้ ณ เวลานั้น การตรวจสอบย้อนกลับก็จะสามารถทำได้ จริงๆมองตาท่านผมก็รู้ว่าท่านคิดอย่างไร ท่านมองตาผม ท่านก็รู้ว่าผมคิดคล้ายกับท่าน แต่ด้วยเอกสารที่ขณะนี้กรมประมงมีค่อนข้างจำกัด ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องอ้างอิงไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมไม่สามารถระบุได้ว่า ในปี 60 การส่งมอบตัวอย่างเกิดขึ้นจริงหรือไม่ อาจจะเกิดขึ้นจริงแล้วไม่ได้มีหลักฐาน หรืออาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็ได้ ผมในฐานะที่อยู่ตรงนี้ เบื้องต้นผมก็ต้องเชื่อว่า กรมประมงไปค้นแล้วแต่ไม่มีหลักฐานในการรับตัวอย่างจริงๆ”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนเจ็บแค้นแทนพี่น้องประชาชนที่เขาได้รับความเดือดร้อน ตนมาอยู่ตรงนี้ก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกัน แต่การที่จะตรวจสอบหาต้นทางเราขาดแค่ตัวหลักฐานที่เป็นปลาตาย หรือว่าปลาอาจจะป่วย ที่ตามกฎหมายหรือเงื่อนไขนำเข้าจะต้องส่ง ณ เวลานั้น แต่วันนี้เราหาต้นตอไม่เจอ มีข่าวว่า มีคนลักลอบนำเข้าก่อนปี 49 หรือ 53 โดยเป็นการลักลอบนำเข้า ที่จะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ตรงนี้เป็นเพียงหลักฐานที่เป็นพยานบุคคล เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมา แต่ว่ามีคนพบเห็น เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า ต้นตอจริงๆ แล้วที่มันเกิดโรคระบาดมาจากไหน แต่ตนก็พยายามหาต้นตอ เพราะถ้าเราสามารถพิสูจน์ได้จริง ๆ คนที่ทำผิดก็ควรจะรับผิดชอบต่อความเสียหายระดับประเทศ

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อว่า ตนขออ้างอิงการศึกษาการวิจัยที่ตอกย้ำว่า ระยะห่างทางพันธุศาสตร์ของประชากรปลาหมอคางดำทั้งหมดมีค่าที่ต่ำ แสดงให้เห็นว่าแต่ละประชากรย่อยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก หมายความว่า การแพร่ระบาดน่าจะมาจากแหล่งประชากรเดียวกัน แต่ตนก็ไม่สามารถฟันธงได้ 100 เปอร์เซ็นต์ คือถ้าเราไม่มีหลักฐานที่มันชี้เฉพาะเจาะจงว่า การระบาดมันเกิดมาจากใคร เกิดมาจากบริษัทไหน มันเกิดมาจากที่ใด เราก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อได้ แต่โชคดีที่ สส.ณัฐชา มีเอกสารอีกฉบับหนึ่งที่จะมาค้านกับสิ่งที่ตนรับรู้ รับทราบ มาจากกรมประมง ตนยินดีที่จะเอาเอกสารของ สส.ณัฐชา ไปพิจารณาร่วมกับสิ่งที่กรมประมงมี แล้วเราจะดำเนินการต่อไป เรื่องนี้การที่เราจะไปถึงจุดที่ต้องการได้ เราต้องอาศัยความร่วมมือในการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่เราจะมาหาทางออกนี้ร่วมกัน

ในส่วนของมาตรการของกรมประมงหลายมาตรการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกประกาศห้ามเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ เลี้ยงในบ่อ รณรงค์ให้ช่วยกันจับการประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ ผมเชื่อว่า กรมประมงทำอย่างเดียวไม่ได้ สส.ทุกท่าน ก็สามารถช่วยแนวทางการทำงานของกระทรวงเกษตรกร ที่ ร.อ.ธรรมนัส ได้ประกาศว่า ห้ามส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์นี้เพราะว่าปลาหมอคางดำเป็นสัตว์ที่ทำลายระบบนิเวศไปอย่างย่อยยับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาทำแบบเดิมๆ แต่วันนี้ผมสามารถยืนยันได้ว่า ร่างของแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ จะนำไปประชุมใครคณะกรรมการการแก้ไขปัญหาหมอปลาคางดำในอาทิตย์หน้า ขณะนี้เราจะมี 5 มาตรการ 13 กิจกรรมย่อย หนึ่งในนั้นที่กรมประมงได้เร่งทำอยู่ก็คือ การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ ซึ่งเราเชื่อว่า การทำให้โครโมโซมจาก 2n เปลี่ยนเป็น 4n จะทำให้โครโมโซมในปลาชนิดนี้เปลี่ยน จากนั้นเราก็ปล่อยลงแหล่งน้ำ ทะเล พอมันไปผสมพันธุ์กัน นอกจากตัวมันที่จะเป็นหมันแล้ว ก็จะทำให้เพื่อนของมันเป็นหมันตามไปด้วย นี่คือการทำงานของผู้เชี่ยวชาญของกรมประมง และเราคาดว่า ปลาที่จะผ่านการเหนียวนำชุดโครโมโซมเป็น 4n จะกระโดดลงน้ำครั้งแรกภายในสิ้นปีนี้“นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

“สส.ปกรณ์”ขอบคุณ“รมว.ธรรมนัส-พล.ต.อ.พัชรวาท”ช่วยผลักดันหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ให้ ปชช.พร้อมวอน สนช.คืนพื้นที่ทับซ้อนให้ชาวบ้านปางหมู

,

“สส.ปกรณ์”ขอบคุณ“รมว.ธรรมนัส-พล.ต.อ.พัชรวาท”ช่วยผลักดันหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ให้ ปชช.พร้อมวอน สนช.คืนพื้นที่ทับซ้อนให้ชาวบ้านปางหมู

นายปกรณ์ จีนาคำ สส.แม่ฮ่องสอน เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางรัฐบาล โดยร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ผลักดันโครงการปุ๋ยคนละครึ่งให้กับพี่น้องชาวนาในประเทศไทยของเรา ซึ่งตนเชื่อว่า โครงการนี้จะสามารถลดต้นทุนการผลิต และจะทำให้พี่น้องประชาชนชาวนาได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก

นายปกรณ์ กล่าวต่อว่า ตนขอขอบคุณพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ท่านได้ผลักดัน เรื่องการกระจายอำนาจในการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า โดยท่านได้กระจายอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารอุทยานในระดับจังหวัด สามารถอนุญาตใช้พื้นที่ป่าได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาในพื้นที่นั้นมีความสะดวกรวดเร็ว ยิ่งขึ้นและพี่น้องประชาชน ก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น

นายปกรณ์ ยังกล่าวต่อว่า ตนขอติดตามเรื่องที่ดินที่ซับซ้อนของตำรวจชายแดนที่ 336 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทับซ้อนกับพี่น้องประชาชน บ้านปางหมู หมู่ที่ 1 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทางตำรวจชายแดนนั้นต้องคืนพื้นที่บางส่วนให้กับพี่น้องประชาชน บ้านปางหมู เรื่องนี้ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ตนจึงขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่กำกับดูแลตำรวจตระเวรชายแดนเร่งดำเนินการคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กับพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ เรื่องการซ่อมสร้างสะพานบนถนนหมายเลข 1095 พื้นที่บ้านห้วยผา หมู่ที่1 ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ถูกอุทกภัย ตั้งแต่เดือน กันยายน 2566 โดยสะพานเส้นนี้อยู่บนถนนสายหลักที่จะมุ่งเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันยังเป็นสะพานชั่วคราวอยู่ ยังไม่มีการดำเนินการอย่างไร และยังไม่มีวี่แววว่า จะมีการสร้างสะพานใหม่ รวมถึงยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณ จึงขอให้กระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวง ช่วยเร่งดำเนินการด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

“สส.จำลอง”เผย ดีใจแทนเกษตรกรทั่วประเทศ ได้มีโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ช่วยลดต้นทุนการผลิต มั่นใจ“นายกฯ-รมว.ธรรมนัส”ดูแล ปชช.อย่างดี

,

“สส.จำลอง”เผย ดีใจแทนเกษตรกรทั่วประเทศ ได้มีโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ช่วยลดต้นทุนการผลิต มั่นใจ“นายกฯ-รมว.ธรรมนัส”ดูแล ปชช.อย่างดี

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า พี่น้องประชาชนฝากความห่วงใยมายังรัฐบาลในเรื่องปุ๋ยคนละครึ่ง ซึ่งตนต้องกราบขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร โดยตนได้นำปัญหาชาวบ้านไปปรึกษาท่าน ในฐานะที่อยู่พรรคเดียวกันนะครับท่านนายกรัฐมนตรี โครงการปุ๋ยคนละครึ่งเป็นกระบวนการในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิต ตนดีใจแทนพี่น้องประชาชน ส่วนขั้นตอนการลงทะเบียน ท่านรัฐมนตรีบอกว่าจะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนทุกกระบวนการจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และ สะดวกสบาย อย่างแน่นอน

“ส่วนมีสมาชิกผู้ทรงเกียรติเป็นห่วงเป็นใยเรื่องเงินเยียวยาที่เคยได้รับไร่ละ 1,000 หรือขอเป็นไร่ละ 500 บ้าง อันนี้ไม่ต้องห่วง รัฐบาลโดยการนำของท่านเศรษฐา ทวีสิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า มีความเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชนอย่างดีอยู่แล้ว และมีมาตรการเยียวยาอย่างแน่นอน”

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องที่มีความเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชนมากที่สุดคือ เรื่องยาเสพติด โชคดีที่วานนี้(10 ก.ค.)กระบวนในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อลดละเลิกยาเสพติดของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 ได้เริ่มจัดทำที่จังหวัดอุดรธานี แต่สิ่งที่ตนอยากทราบคือ งบประมาณในการช่วยตำรวจในการปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกัน ปราบปราม และป้องปราม พี่น้องผู้ติดยาเสพติด เพราะจะเห็นได้ว่าตอนนี้ประชาชนผู้ติดยาเสพติด ไม่ได้มีเฉพาะวัยรุ่น ซึ่งปกติจะมีช่วงอายุ 18 – 24 ปี แต่ปัจจุบันอายุประมาณ 12 ก็เริ่มติดยาเสพติดแล้ว รวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่อายุตั้งแต่ 39 ปีขึ้นไป ก็มีการติดยาเสพติดมากขึ้นด้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

“สส.สะถิระ”แนะ สถาบัน วว.ต้องเน้นพัฒนาคน เห็นความสำคัญของวิทยาลัยอาชีวะ ส่งเสริมให้สร้างชื่อเสียงได้ มอง ควรลงทุนกับภูมิปัญญาชาวบ้าน สร้างฐาน ศก.จากระดับล่างก่อน

,

“สส.สะถิระ”แนะ สถาบัน วว.ต้องเน้นพัฒนาคน เห็นความสำคัญของวิทยาลัยอาชีวะ ส่งเสริมให้สร้างชื่อเสียงได้ มอง ควรลงทุนกับภูมิปัญญาชาวบ้าน สร้างฐาน ศก.จากระดับล่างก่อน

นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ สส.ชลบุรี เขต 10 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ.ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ในช่วง 10 ที่ผ่านมา ประเทศที่อยู่ฝั่งตะวันออกมีผู้คิดค้นนวัตกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งประเทศไทยคือหนึ่งในประเทศตะวันออก เพราะฉะนั้นประเทศไทยคือส่วนหนึ่งในการผลิตบุคลากรที่จะสร้างนวัตกรรมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ และสถาบันวิจัยฯก็คือ สถานที่ผลิตบุคลากรเหล่านี้

นายสะถิระ กล่าวต่อว่า หากดูจากร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยฯ ในมาตรา 7 มีแต่การพูดถึงเชิงพาณิชย์เชิงอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้พูดถึงการสร้างบุคลากรเลย ตนคิดว่า ประเทศเราควรวางแผนคน ก่อนวางแผนรบ บุคลากรนักวิจัยหลาย ๆ ท่าน จะเติบโตขึ้นมาได้อยู่ที่สถาบันวิจัยแห่งนี้ แล้วการลงทุนในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็น sme หรือห้างร้านสรรพสินค้าใหญ่ ๆ มันจำเป็นหรือไม่ อย่างไร

“ผมยกตัวอย่าง ถ้าท่านลงทุนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งผมเชื่อว่ามีนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่นกัน ที่สำคัญวิทยาลัยอาชีวะก็ไม่น้อยหน้าใครในโลก อย่างบ้านผมวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สามารถไปประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับโลกมาแล้ว หรือแม้กระทั่งโรงเรียนมัธยมระดับมัธยมศึกษา บ้านผม โรงเรียนพลูตาหลวง โรงเรียนสัตหีบ สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ ท่านได้เข้าไปร่วมลงทุนกับพวกเขาแล้วหรือยัง“นายสะถิระ กล่าว

นายสะถิระ กล่าวต่อว่า ประเทศในแถบตะวันตก เขาสนับสนุนการวิจัยตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ตนฝากคณะ วว.ว่า การวางแผนคนสำคัญไม่แพ้กับงานวิจัย การเข้าถึงขององค์กรปกครองท้องถิ่น เข้าถึงของวิทยาลัยอาชีวะ การเข้าถึงของระดับมัธยมศึกษา เข้าถึงท่านได้แล้วหรือยัง ตนเห็นควรว่า ท่านต้องเข้าหาเขา ไม่ใช่เขาเข้าหาท่าน เมื่อท่านมีงบประมาณ

นายสะถิระ ยังกล่าวต่อว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือเศรษฐกิจ นั่นคือระดับบน แต่ระดับล่าง เป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเช่นกัน คำว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือนวัตกรรมอย่างหนึ่งของประเทศไทย เช่น กำนันในหมู่บ้านสอนให้เอาท่อแปบ 2 ท่อไปเสียบไว้ที่ต้นโคนกล้วย เมื่อลองทำปรากฏว่า กล้วยขึ้นทุกต้น หรือ กะลาที่นำมาช่วยกายภาพบำบัดได้ เราต้องให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้านเช่นกัน

“คำถามอยู่ว่าท่านจะให้เขาเป็นพาร์ทเนอร์กับท่านได้อย่างไร บุคคล หรือองค์กรเหล่านี้ ซึ่งเป็นองค์กรที่ท่านบอกว่า อยู่ในชุมชนจะเข้าถึงท่านได้อย่างไร ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ท่านควรเข้าหาเขา อันนี้สิ่งสำคัญที่ท่านจะสร้างเศรษฐกิจจากระดับล่าง แล้วพี่น้องในพื้นที่ทุกพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากสถาบันของท่าน”นายสะถิระ กล่าวทิ้งท้าย

จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน 33 คน กำหนดแปรญัตติ 15 วัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

“สส.บุญชัย”ฝาก “กระทรวงคมนาคม-กรมเจ้าท่า”อนุมัติงบซ่อมแซมถนน พร้อมขุดลอกแม่น้ำป่าสัก บรรเทาน้ำท่วม น้ำแล้ง ให้ ปชช.

,

“สส.บุญชัย”ฝาก “กระทรวงคมนาคม-กรมเจ้าท่า”อนุมัติงบซ่อมแซมถนน พร้อมขุดลอกแม่น้ำป่าสัก บรรเทาน้ำท่วม น้ำแล้ง ให้ ปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯถึงความเดือนร้อนของพี่น้องในเขตพื้นที่ โดยตนได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านแก่งเสี้ยว ต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้รับความเดือนร้อนจากการสร้างฝาย กันลำน้ำพุง ของกรมทรัพยากรน้ำที่ 2 ผ่านมา 4 -5 ปีแล้ว ประตูฝายได้ชำรุดเปิด-ปิดไม่ได้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกักเก็บน้ำ และการระบายน้ำ จึงขอให้กรมทรัพยากรน้ำที่ 2 จังหวัดสระบุรี ช่วยจัดสรรงบประมาณซ่อมแซม นอกจากนี้ ยังมีความเดือดร้อนในการใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 12 กม.ที่ 286 ถึง 289 ระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่แคบและมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

“ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบขยายผิวทาง4 เลน ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ยังเหลืออีก 1.8 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่อันตรายและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้ทางกระทรวงกรมคมนาคมจัดสรรงบประมาณก่อสร้างให้แล้วเสร็จ” นายบุญชัย กล่าว

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า พื้นที่ตำบลศิลาและตำบลตาดกลอย อำเภอหล่มเก่า ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี จากแม่น้ำป่าสักที่ตื้นเขิน หลายสิบปีแล้ว แม่น้ำป่าสักสายนี้ไม่ได้ถูกการดูแล และการขุดลอกเลย น้ำมาปีไหนท่วมปีนั้น ถ้าแล้งก็แล้งหนัก พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ทั้งนี้ นายบุญชัยยังกล่าวขอบคุณกรมเจ้าท่าที่มาขุดลอกแม่น้ำป่าสัก ในตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก ระยะทาง 15 กิโลเมตร ในปีนี้ ซึ่งขุดไปแล้ว 10 กิโลเมตร ยังเหลืออีก 5 กิโลเมตร ทางพี่น้อง ตำบลสักหลง อำเภอสักหล่ม และขอฝากกรมเจ้าท่าช่วยจัดหางบประมาณ มาขุดลอกแม่น้ำป่าสักในตำบลสักหลงให้แล้วเสร็จ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส.องอาจ”ขอหน่วยงานราชการลดขั้นตอนขอใช้พื้นที่แก้ปัญหา“ถนนพังเสียหาย-ไฟฟ้าส่องสว่าง ให้ ปชช. ชี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่น

,

“สส.องอาจ”ขอหน่วยงานราชการลดขั้นตอนขอใช้พื้นที่แก้ปัญหา“ถนนพังเสียหาย-ไฟฟ้าส่องสว่าง ให้ ปชช. ชี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่น

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องอำเภอพระพุทธบาท นายอำเภอ สจ.ในพื้นที่ นายกเทศบาลตำบลห้วยป่าหวาย และกำนันตำบลห้วยป่าหวาย รวมถึงผู้นำชุมชน ร่วมกันลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ถนนพังเสียหายชำรุดอย่างหนักตลอดสายก็คือ ถนนเลียบคลองชลประทานฝั่งซ้าย เชื่อมระหว่างถนนทางหลวง 3034 สายหน้าพระลาน บ้านควน เชื่อมกับสาย 3250 สันประดู่ โดยถนนสายนี้เป็นถนนสายหลัก มีรถเล็ก รถบรรทุกวิ่งตลอดทั้งวัน ถนนแยกเกิดอุบัติเหตุรายวัน

นายองอาจ กล่าวต่อว่า ล่าสุดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แพทย์ประจำตำบล เกิดอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำก็สลบคาที่บนถนนเส้นนี้ ปัญหาก็คือ ท้องถิ่น อบจ.ตั้งใจที่จะมาซ่อมแซม ปรับปรุง สร้างใหม่ให้ก็ต้องใช้เวลานาน ทั้งๆที่มีงบประมาณ แต่ติดขัดเรื่องพิธีกรรมและระเบียบต่างๆ ในการขออนุญาตเจ้าของพื้นที่ อย่างกรมชลประทาน ทางหลวงชนบท จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเร่งรัด ซ่อมแซม ปรับปรุงถนนเส้นนี้โดยด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขระเบียบขั้นตอน เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดความล่าช้าในระบบราชการ อย่างเช่น เรื่องของขออนุญาตซึ่งเป็นอุปสรรคการพัฒนาท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน

นายองอาจ ยังกล่าวต่อถึงปัญหาถนนขาดไฟฟ้าส่องสว่าง มืดมิดยามค่ำคืน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้รถใช้ถนน ผู้สัญจรไปมา และเสี่ยงอันตรายในชีวิตและทรัพย์สินกับลูกหลานของเราเวลาเดินทางกลับบ้านช่วงกลางคืน อย่างเช่น ถนนบริเวณเลียบคลองตำบลห้วยป่าหวาย ถนนเส้นนี้ก็ขาดไฟฟ้าส่องสว่างตลอดสาย รวมถึงถนนสายหนองโดนน้อยหมู่ 9 ถึงประดู่หมู่ 5 ถนนสายนี้มีเสาไฟฟ้าโซล่าเซลล์ครบทุกอย่าง ขาดอย่างเดียว ขาดความสว่าง เพราะว่าไฟดับตลอดทั้งสายมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

นอกจากนี้ เสาไฟฟ้าบริเวณหลังวัดสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ ถูกรถยนต์ชนหัก ทำให้ไฟฟ้าบริเวณนี้ดับมาเป็นเวลาหลายเดือน โดยติดขัดเรื่องระเบียบเช่นกันเพราะถ้าจะติดตั้งใหม่ต้องมีขั้นตอนต่างๆ เรื่องของการแจ้งความ หาผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายเพื่อจะชดใช้ ถ้ารอก็คงใช้เวลาอีกนาน ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567