“พล.อ.ประวิตร” ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค พปชร.ชุดใหม่
สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
เมื่อวันที่ 16 ส.ค.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ลงนามในคำสั่งพรรคพลังประชารัฐ ที่ 115/2566 แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคพลังประชารัฐ โดยเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของพรรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง โดยเฉพาะสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากวิกฤตทางด้านต่างๆ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อประชาคมโลก และนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ ผ่านช่องทาง สื่อสารออนไลน์ การครอบงำทางความคิด การสร้างทัศนคติ และการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นปัจจัยสำคัญทางการเมือง
ทั้งนี้ได้อาศัยอำนาจตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ. 2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5 พ.ศ.2566 ข้อ 17(1) (จ) (ช) จึงให้ยกเลิกคำสั่งพรรคพลังประชารัฐ ตามบัญชีแนบท้าย และให้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ดังนี้
1.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานกรรมการ
2.ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า
3.นายสันติ พร้อมพัฒน์ ฃฃ
4.นายวิรัช รัตนเศรษฐ
5.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
6.นายไพบูลย์ นิติตะวัน
7.นางสาวตรีนุช เทียนทอง
8.ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
9.พลเอกกฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์
10.นายอภิชัย เตชะอุบล
11.นายสกลธี ภัททิยกุล
12.พลเอกณัฐ อินทรเจริญ
13.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
14.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
15.นายอุตตม สาวนายน
16.นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
17.พลตำรวจเอกธรรมศักดิ์ วิชชารยะ
18.นายนพดล พลเสน
19.นายคณิศ แสงสุพรรณ
20.หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี
21.นายชาญกฤช เดชวิทักษ์
22.นายวราเทพ รัตนากร
23.นายบุรินทร์ สุขพิศาล
โดยมีหน้าที่และอำนาจดังนี้
1. กำหนดยุทธศาสตร์ นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของพรรคพลังประชา รัฐให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตเพื่อตอบสนองต่อ การพัฒนาประเทศ
2.กำหนดบทบาท ท่าทีและจุดยืนทางการเมืองของพรรค ทิศทางและแนวทางในการพัฒนาพรรค บุคคลากรของพรรค สมาชิกพรรค และการบริหารจัดการภายในพรรค เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง มีเสถียรภาพและเป็นที่ยอมรับเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน โดยให้สมาชิกพรรคและประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคอย่างเข้มแข็งและเป็นไปตามวิถีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมโดยตรง
3.ให้ความเห็นชอบ สั่งการ และติดตามประเมินผล กิจกรรมและแผนงานโครงการที่มอบหมายให้คณะกรรมการด้านต่างๆไปดำเนินการ รวมทั้งกิจกรรมของพรรคที่ดำเนินการร่วมกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การเสริมสร้างความข้มแข็งทางเศรษฐกิจภาพรวม การดูแลความเป็นอยู่และสวัสดิการของประชาชน การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคและประชาชน และการสร้างความนิยมทางการเมือง รวมทั้งการเสริมสร้างภาพลักษณ์ด้วยการสื่อสารและประชาสัมพันธ์สมัยใหม่
4.แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ที่ปรึกษา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
5.รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการต่อหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรค
และ 6.ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการและปฏิบัติงานอื่นตามที่หัวหน้าพรรคมอบหมาย
ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 สิงหาคม 2566