โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

“พล.อ.ประวิตร“ นำรมว.-สส.พปชร.ประชุมคึกคัก กำชับลูกพรรคทำหน้าที่ในสภา-กมธ.ให้เต็มที่ ด้าน ร.อ.ธรรมนัส แจงนโยบาย พปชร. “ปุ๋ยคนละครึ่ง” เตรียมส่งถึงมือเกษตรกร ไม่ล็อคสเปก ย้ำ คนละส่วนกับชดเชยไร่ละ 1,000 บาท ส่วนปมประเด็น“ทับลาน” ยึดหลักกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมทุกฝ่าย

,

“พล.อ.ประวิตร“ นำรมว.-สส.พปชร.ประชุมคึกคัก กำชับลูกพรรคทำหน้าที่ในสภา-กมธ.ให้เต็มที่ ด้าน ร.อ.ธรรมนัส แจงนโยบาย พปชร. “ปุ๋ยคนละครึ่ง” เตรียมส่งถึงมือเกษตรกร ไม่ล็อคสเปก ย้ำ คนละส่วนกับชดเชยไร่ละ 1,000 บาท ส่วนปมประเด็น“ทับลาน” ยึดหลักกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมทุกฝ่าย

เวลา 15.30 (9 กรกฎาคม 2567 )พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นประธานประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) โดยมีร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรองหัวหน้าพรรค , ,นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรฯ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ,พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค และนายทะเบียนพรรค นายอุตตม สาวนายน ประธานกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ นายวราเทพ รัตนากร ผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานยุทธศาสตร์ด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โดยกำชับให้ สส.ของพรรค ทำหน้าที่ในสภาฯ ใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. ใช้สิทธิในการอภิปรายหารือ ตั้งกระทู้ถามเสนอหรืออภิปราย ในญัตติต่างๆตามความเหมาะสมเพื่อที่จะได้ นำปัญหา ของประชาชนมาแจ้งต่อฝ่ายบริหารให้แก้ไข หรือร่วมแสดงความเห็นต่อเรื่องที่สำคัญ ในญัตติต่างๆ 2. ในส่วนของ คณะกรรมาธิการ ชุดต่างๆควรจะ เร่งประชุมหารือกันในเรื่องที่ กำลังพิจารณากันอยู่ เพื่อสรุปผลการดำเนินการ ให้แล้วเสร็จและส่งให้หน่วยงานรัฐ ที่รับผิดชอบรับไปพิจารณา ดำเนินการ ต่อไป 3. รวบรวม เรื่องความต้องการ และปัญหาต่างๆของพี่น้องประชาชน ในเขตพื้นที่มาหารือกันในคณะกรรมการภาค เพื่อสรุปปัญหาที่สำคัญๆเพื่อส่งให้รัฐมนตรีรวมทั้ง ฝ่ายวิชาการ และฝ่าย นโยบาย ของพรรคนำไปพิจารณา หาทางดำเนินการแก้ไขหรือกำหนดเป็น นโยบายของพรรคในโอกาส ต่อไป

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพปชร. ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานถึงความคืบหน้าโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของพรรค ในการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างแท้จริง ในการลดภาระต้นทุน และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้แข่งขันได้ ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจในโครงการนี้ โดยเรื่องนี้ได้มีการหยิบยกหารือในการประชุมครม.ที่ผ่านมา เพื่อการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกพรรค ซึ่งมั่นใจว่าระบบการบริหารจัดการ จะสามารถส่งถึงมือได้อย่างโปร่งใส ไม่สามารถเปิดโอกาสให้เกิดการคอรัปชั่นได้ เพราะเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ โดยเปิดให้เอกชนทุกรายสามารถเข้ามาร่วมโครงการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ผ่านกลไกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)

โครงการดังกล่าว สามารถช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง ถึง 16 ล้านราย เกษตรกรสามารถเลือกใช้ ปุ๋ย 15 สูตร ทั้งปุ๋ยเคมี ชีวภาพ และอินทรีย์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่การเพาะปลูกข้าว ในฤดูกาลผลิต 67/68 จะเร่ิมระยะเวลาเพาะปลูกไม่เหมือนกันในแต่ละภาค และแต่ละจังหวัด ซึ่งการเพาะปลูกจะเร่ิมตั้งแต่เดือนนี้ จนถึงธันวาคมปี 2567 ดังนั้น หากเกษตรกรรายใดที่ได้ผ่านการลงทะเบียน ผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถขอรับการสนับสนุนในโครงการได้ทันที โดยที่เกษตรกร ต้องมีการไถ หว่าน หรือดำนา ไปแล้ว 15 วัน

“โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เป็นหนึ่งใน 2 เรื่องที่พรรคหาเสียงไว้ โดยเรื่องแรก เรื่องเปลี่ยน “ส.ป.ก.4-01” เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และนโยบายปุ๋ย เป็นอีกนโยบาย ที่พรรคได้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรในการลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลผลิต ซึ่งเรื่องนี้อยากให้ประชาชนเข้าใจว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ 10 `%ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 %และที่สำคัญ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถเข้าถึงปุ๋ยคุณภาพในราคาถูก สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว และยกระดับคุณภาพข้าวเพื่อตอนบสนองความต้องการของตลาด

ร.อ. ธรรมนัส กล่าวในที่ประชุมว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง กับ โครงการชดเชยเยียวยาไร่ละ 1,000 บาท เป็นคนละโครงการกัน ซึ่งโครงการชดเชยเยียวยา 1,000 บาท มีมาสมัยรัฐบาลที่แล้ว ที่เติมให้ไร่ละ 1,000 บาทไม่เกิน 20 ไร่ เป็นโครงการช่วยเหลือในเหตุการณ์วิกฤติ ปีที่ผ่านมาที่ราคาข้าวอยู่ประมาณ 7,000-8,000 บาทต่อตัน แต่ปัจจุบันราคาข้าวดีขึ้นแล้ว จึงทำให้เกิดโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อลดต้นทุนของเกษตรกรชาวนา และเพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไร่ของข้าว ซึ่งเป็นโครงการที่มีความยั่งยืน และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เป็นสิ่งที่พูดคุยกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรอย่างแท้จริง

นายนภดล พลเสน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้รายงานต่อที่ประชุมถึงกรณี ที่ประชาชน ออกมาเรียกร้องถึงกรณีการแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนใน อ.ทับลาน จ.นครราชสีมา ว่า โดยพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ได้ให้นโยบายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการเร่งด่วน คือ
1.ให้พิจารณาสิทธิชาวบ้านในการถือครองที่ดิน ส.ป.ก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมืองถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน2.ให้ความเป็นธรรมชาวบ้าน ที่อยู่มาดั้งเดิมกว่า 20 ปี เพื่อให้ได้รับสิทธิที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน คาดว่ามีประมาณ 5 หมื่นไร่3.การจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านทำกิน ต้องไม่ตัดผืนป่าอุดมสมบูรณ์ ห้ามตัดพื้นที่ต้นน้ำ หรือที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ ไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไปเพราะต้องรักษาผืนป่าไว้อาจพิจารณาตัดแบ่งเฉพาะที่ประชาชนอาศัยและทำกินอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน

,

พัชรวาท สั่งการด่วน! วางกฎเหล็ก 3 ข้อ แก้ปมพิพาทเฉือนป่าทับลาน… คือ

1. ให้พิจารณาสิทธิชาวบ้านในการถือครองที่ดินซับซ้อน ส.ป.ก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมือง ถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน
2. ให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยมาดั้งเดิมกว่า 40 ปี เพื่อรับสิทธิที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพื่อจะกันพื้นที่ให้ชัดเจนลดความคัดแย้งที่มีมายาวนาน
3. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จะไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไป เพราะต้องรักษาผืนป่าไว้ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

บทสรุปคือ… พื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นที่เป็นชุมชนดั้งเดิม พื้นที่จะไม่ถึงกว่า 2.6 แสนไร่…. !!

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส. อนันต์”นำชาวคลองลานร่วมถก ‘ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ จัดงาน“วิถีถิ่นชาติพันธุ์คลองลาน”สร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นชูอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

,

“สส. อนันต์”นำชาวคลองลานร่วมถก ‘ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ จัดงาน“วิถีถิ่นชาติพันธุ์คลองลาน”สร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นชูอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

นายอนันต์ ผลอำนวย สส.กำแพงเพชร เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. ได้ร่วมกับนางยุวดี คงอินทร์ ประธานสภา อบจ.กำแพงเพชร,ดร. วิทยา ทัศนไพบูลย์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองลานพัฒนา , นายสุทธิพงษ์ หนูเนตร ปลัดอำเภอคลองลาน คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร และคณะกรรมการชาติพันธุ์ตำบลคลองลานพัฒนา ศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตการต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ……ในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ทรัพยากร และผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่การจัดการทุนทางวัฒนธรรม 6 ชนเผ่า เพื่อนำไปสู่การพิจารณาศึกษาและติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

นายอนันต์ กล่าวต่อว่า ตำบลคลองลานพัฒนา ถือเป็นตำบลที่มีชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดถึง 6 ชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น ปกาเกอะญอ ม้ง ลาหู่ อิ้วเมี่ยน ลัวะ และลีซู ซึ่งมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง มีความหลากหลายและความแตกต่างในด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

นายอนันต์ ยังกล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 5-7 ก.ค.ที่ผ่านมา ชาวตำบลคลองลานพัฒนา ยังได้จัดกิจกรรมถนนสายวัฒนธรรม วิถีถิ่นชาติพันธุ์คลองลาน ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อเน้นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่น ให้เห็นในคุณค่าความสำคัญของอัตลักษณ์ วิถีถิ่น ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กรกฎาคม 2567

“สส.คอซีย์”จับมือเครือข่ายในท้องถิ่นจัดแข่งขันฟุตซอล ปี67 หนุนกลไกกีฬาเชื่อมความสามัคคีสู่การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน

,

“สส.คอซีย์”จับมือเครือข่ายในท้องถิ่นจัดแข่งขันฟุตซอล ปี67
หนุนกลไกกีฬาเชื่อมความสามัคคีสู่การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน

นายคอซีย์ มามุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายอับดุลการิม ยีดำ นายอำเภอโคกโพธิ์ นายจอน สุกป่าน ปลัดอาวุโสอำเภอหนองจิก นายอุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกโพธิ์ และเครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชน ร่วมกันแถลงข่าวจัดการการแข่งขันฟุตซอล “กลุ่มเพื่อน สส.KORSEE CUP 1”ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริมความสามัคคี และสุขภาพของคนในชุมชน ในนาม”กลุ่มเพื่อน สส.คอซีย์ มามุ” ซึ่งการแข่งกีฬา จะนำไปสู่การมีความรัก สอนให้คนมีน้ำใจ อาศัยกลไกกีฬาในการสร้างพลังในท้องถิ่นให้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมการพัฒนาบ้านเมือง

ทั้งนี้การแข่งขันกีฬาจะเป็นเครื่องมือในการประสานพลังให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยการแข่งขันจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 – 18 สิงหาคม 2567 ทุกๆ วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตลอด 5 สัปดาห์ โดยมีทีมที่เข้าร่วมกันแข่งขันจำนวน 64 ทีม จาก 9 หน่วยราชการ จากอำเภอหนองจิกและอำเภอโคกโพธิ์

การแข่งขันฟุตซอล “กลุ่มเพื่อน สส.KORSEE CUP 1 ประจำปี 2567” ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมต.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท ผู้ชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท ผู้ชนะเลิศอันดับ 3 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท ผู้ชนะเลิศอันดับ 4 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก นายอับดุลการิม ยีดำ นายอำเภอโคกโพธิ์ พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท รางวัลชมเชยอันดับที่ 5-8 รางวัลละ 2,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ

“การแข่งฟุตซอลในครั้งนี้จะผลักดันให้บุคลากรในหน่วยงานทั้งสองอำเภอได้สานสัมพันธ์ทางมิตรภาพผ่านกลไกการแข่งขันกีฬา และจะเป็นพลังร่วมกันในการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ต่อไป “สส.คอซีย์ กล่าว”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กรกฎาคม 2567

“สส.จีรเดช”เผยข่าวดี โครงการก่อสร้างสนามบินพะเยาถูกบรรจุในงบปี 68 แล้ว ขอบคุณ“นายกฯรมต.คมนาคม-เกษตรฯ”ช่วยสานฝันให้ชาวพะเยา หนุนเศรษฐกิจจังหวัดเติบโต

,

“สส.จีรเดช”เผยข่าวดี โครงการก่อสร้างสนามบินพะเยาถูกบรรจุในงบปี 68 แล้ว ขอบคุณ“นายกฯรมต.คมนาคม-เกษตรฯ”ช่วยสานฝันให้ชาวพะเยา หนุนเศรษฐกิจจังหวัดเติบโต

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2568 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการงบประมาณนั้น ได้มีงบในส่วนของโครงการสนามบินพะเยา ที่ตนเฝ้าติดตามและสอบถา ความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงคมนาคมได้ตั้งงบประมาณเป็นค่าจ้างออกแบบ รวมทั้งค่าจ้างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ด้วยกรอบวงเงินงบประมาณกว่า 42 ล้านบาท นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความฝันที่พี่น้องชาวพะเยา ต่างรอคอยกันมาอย่างยาวนาน หลังจากที่โครงการรถไฟได้สำเร็จเสร็จสิ้นไปก่อนหน้านี้

“ผมต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ,ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ติดตามและประสานงานมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังมวลชนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และพี่น้องประชาชนที่ร่วมด้วยช่วยกันผลักดันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา”นายจีรเดช กล่าว

นายจีรเดช กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนหวังว่าหากโครงการนี้สำเร็จก็จะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับจังหวัดพะเยาให้เท่าเทียมกับจังหวัดอื่น ๆ เพราะสนามบินถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การสัญจร การขนส่งสินค้า ตลอดจนการท่องเที่ยว ซึ่งสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศอย่างมากมายมหาศาล รวมถึงจะสามารถเชื่อมโยงไปยังต่างจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กรกฎาคม 2567

“สส. กระแสร์” เผย น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมหนัก หลัง จ.หนองคายฝนตกต่อเนื่อง ต้องเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง บรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร พร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

,

“สส. กระแสร์” เผย น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมหนัก หลัง จ.หนองคายฝนตกต่อเนื่อง ต้องเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง บรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร พร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต1 พรรคพลังประารัฐ(พปชร.)ลงพื้นที่ต.หินโงม ต.ศรีกาย ต.บ้านเดื่อ จังหวัดหนองคาย เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนัก ต่อเนื่องติดต่อกันทำให้เกิดน้ำท่วมเข้าบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ชาวบ้านได้และเกษตรกรรับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปี เนื่องจากพื้นที่ ต.สีกาย และ ต.หินโงม จะมีลำน้ำสวย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่สำคัญไหลจากจังหวัดอุดรธานี มายังจังหวัดหนองคาย โดยผ่านพื้นที่ของ 2 ตำบลนี้ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ดังนั้นในแต่ละปีเมื่อฤดูฝน น้ำหลาก ปริมาณน้ำจะมีมากจนถึงขั้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตร แต่พอฤดูแล้ง ระดับน้ำลดต่ำลงจนเกิดปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร

นายกระแสร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประชาชนกำลังได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง อย่างเช่น เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อ.เมือง ได้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตรกรกว่า 2,000 ไร่แล้ว โดยสถานการณ์ในตอนนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเครื่องยนต์ขัดข้อง

“ผมได้ประสานกับท่านยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมทั้งหาทางระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกรและประชาชน รวมถึงมีการตรวจเช็คความเรียบร้อยขอวเครื่องสูบน้ำประจำจุดสูบน้ำภายในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ให้พร้อมใช้งานทันที” นายกระแสร์ กล่าว

ทั้งนี้ ทาง อบจ.หนองคายได้เตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน แก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งประชาชนสามารถขอรับการช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-686 9259,083-147 6329 และ 042-422 798

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กรกฎาคม 2567

“สส.สุธรรม” เผย กมธ.เกษตร สภาฯ ดูงานเวียดนาม แลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมสร้างโอกาสส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรของทั้ง 2 ประเทศ

,

“สส.สุธรรม” เผย กมธ.เกษตร สภาฯ ดูงานเวียดนาม แลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมสร้างโอกาสส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรของทั้ง 2 ประเทศ

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรฯ สภาผู้แทนราษฏร เปิดเผยว่า คณะ กมธ.เกษตรฯ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม โดยได้ไปเยี่ยมชมศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวที่เมืองเกิ่นเทอชื่อว่า “CUU LONG DELTA RICE RESEARCH INSTITUTE” ที่ก่อตั้งปี ค.ศ. 1977 มีพื้นที่ทั้งหมด 360 เฮกต้า หรือ 2,250 ไร่ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 134 คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 50% ส่วนที่เหลือศูนย์วิจัยหารายได้เอง

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวของเวียดนามมีแนวทางการวิจัยที่ชัดเจนตามเป้าหมายของรัฐบาลเช่น พัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้ดี ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยถึง 3 เท่า พัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น พัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่น้ำท่วมหรือน้ำเค็ม ใช้งานวิจัยเป็นการแก้ปัญหา เช่น ทำอย่างไรจะปลูกข้าวได้ปีละ 3 ครั้ง ก็พัฒนาสายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวได้ภายใน 85 วันขึ้นมา การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีวิตามิน A สูง เป็นต้น และตอนนี้เวียดนามกำลังคิดว่า การปลูกข้าวมีรายได้ต่ำกว่าผลไม้ จะเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกผลไม้แทน ซึ่งในอนาคตเวียดนามก็อาจชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากไทยเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ คณะ กมธ.เกษตรฯยังเข้าเยี่ยมชม GO! Mall สาขา An Lac เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่องทางการนำเข้า, หลักเกณฑ์และมาตรฐานในการพิจารณาคัดเลือกสินค้าประเภทสินค้าการเกษตรที่ต้องการจะนำเข้าเพื่อจัดจำหน่ายในธุรกิจค้าปลีกของเวียดนาม ตลอดจนถึงได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างโอกาสในการนำเสนอและส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรให้แก่ลูกค้าของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

“การดูงานที่ประเทศเวียดนามในครั้งนี้ กมธ.มีโอกาสประชุมกับส่วนราชการที่รับผิดชอบด้านการเกษตรของประเทศเวียดนามถึง 2 ครั้ง และได้ไปดูงานของภาคเอกชนเวียดนาม 4 ครั้ง ถือว่าคุ้มค่า และได้ประสบการณ์ ความรู้ กลับมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทภาคเกษตรของประเทศไทย” นายสุธรรม กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กรกฎาคม 2567

“สส.อามินทร์”เผย กมธ.การมั่นคงแห่งรัฐฯ เยือนโปแลนด์ ศึกษาแนวทางการรับมือผู้ลี้ภัย ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิธีการรับมือต่อเหตุความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน

,

“สส.อามินทร์”เผย กมธ.การมั่นคงแห่งรัฐฯ เยือนโปแลนด์ ศึกษาแนวทางการรับมือผู้ลี้ภัย ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิธีการรับมือต่อเหตุความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ ความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าตนได้เดินทางมาร่วมศึกษาดูงานกับคณะกรรมาธิการที่โปแลนด์-ยูเครน โดยได้เข้าพบกับสถานทูต และเข้าชมรัฐสภาของที่นี่ ซึ่งเป้าหมายหลักของการมาครั้งนี้คือต้องการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการชายแดนของโปแลนด์ ซึ่งถือเป็นขอบแดนของ EU ที่ประชิดยูเครน ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะสงครามและต้องรับผู้อพยพจำนวนมาก ถ้ารวมหลายๆด่านมีนับล้านคนที่ผ่านด่านในระยะเวลาสั้นๆ

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูงานครั้งนี้คือ เรื่องกิจการชายแดนที่ติดกับบริเวณการสู้รบ โดยที่นี่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมาก ระบบ Ai ระบบ ไบโอเมทริก ภายในด่านเจ้าหน้าที่ไม่มีการพกพาอาวุธ มั่นใจในระบบป้องกันด้านความมั่นคง การเดินทางเข้าออก ตรวจค้นอย่างละเอียด แต่ใช้เวลาต่อคันเพียง 2 นาทีเท่านั้น ก็จะเสร็จสิ้นพิธีการทางศุลกากร สภาวะความไม่สงบของยูเครน ซึ่งติดกับโปแลนด์ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังต่อเนื่อง เหมือนเช่นกันกับประเทศเราที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์ การที่ได้มาดูงานถึงที่ทำให้เราได้เข้าใจหลายส่วนได้ลึกขึ้น และสามารถนำกลับไปพัฒนากิจการชายแดนของเราต้องเสริมหรือปรับอะไร เพื่อให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในจุดที่ปลอดภัยที่สุด

นายอามินทร์ ยังกล่าวต่อว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ กมธ.ยังได้ไปเยี่ยมเยียนกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ และกองกำลังพิทักษ์ชายแดนของโปแลนด์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระบบผู้แทนสภา ทั้งในมิติของการเตรียมความพร้อมทางการทหาร การพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมาธิการเห็นว่า ทั้ง 2 ประเทศสามารถนำประสบการณ์นี้มาปรับใช้กับประเทศไทยได้ และการเดินทางครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และพัฒนาความร่วมมือกันของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กรกฎาคม 2567

“สส.กาญจนา”ขอบคุณ“ พล.ต.อ.พัชรวาท”ไม่เคยลืมชาวชัยภูมิ หลังลงพื้นที่ อ. หนองบัวแดง ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ช่วยเกษตรกรมีน้ำต้นทุนทำเกษตรตลอดทั้งปี

,

“สส.กาญจนา”ขอบคุณ“ พล.ต.อ.พัชรวาท”ไม่เคยลืมชาวชัยภูมิ หลังลงพื้นที่
อ. หนองบัวแดง ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ช่วยเกษตรกรมีน้ำต้นทุนทำเกษตรตลอดทั้งปี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตอบกระทู้ของนายกฤช ศิลปชัย สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ที่สอบถามความคืบหน้าข้อเสนอนโยบายประมงทะเล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านไทย ว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้ฝากมาขอโทษที่ท่านไม่ได้มาตอบกระทู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจ แต่ท่านเล็งเห็นถึงความตั้งใจและให้ความสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง โดยเฉพาะพี่น้องประมงพื้นบ้าน และได้กำชับให้มาตอบกระทู้ของท่าน สส.

ทั้งนี้ต้องขอบคุณ สส.พรรคก้าวไกลที่มีความห่วงใยให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และท่านก็มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่ประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพของชาวประมงขณะนี้มีต้นทุนมากกว่า 50% โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตร ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาประมงทะเล และได้ทำการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1ชุด เพื่อที่จะพิจารณาข้อเสนอตามนโยบายการประมงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางกรมประมงได้เสนอช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 1,275 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ยังมีข้อกังวลในการสนับสนุนค่าน้ำมันสำหรับการดำเนินโครงการนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 45,000 ราย ใช้งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การใช้งบประมาณจะเกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวประมงที่รับเงินอุดหนุนแล้วจะนำไปซื้อน้ำมันจริง หากไม่ได้นำเงินไปซื้อน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของการอนุมัติโครงการนี้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า ควรจะให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ดังนั้นทางกรมประมง จึงผลักดันแนวทางในการที่จะสนับสนุนน้ำมันผ่านทางการเติมเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่อุดหนุนช่วยเหลือพี่น้องประมงพื้นบ้าน จะถูกนำไปซื้อน้ำมันตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

“ในเรื่องนี้ ร.อ.ธรรมนัส ท่านมีความกังวล และห่วงใย เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐเรามีการช่วยเหลือน้ำมันเขียว หรือว่าน้ำมันต่างๆที่มีราราคาถูกกว่าโดยเฉพาะให้กับผู้ประกอบการประมงที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ความช่วยเหลือดัวกล่าว ถ้าเทียบกับพี่น้องประมงพื้นบ้านแล้วความช่วยเหลือต่างๆมีความเหลื่อมล้ำพอสมควร ดังนั้นแนวทางการทำงานของกรมประมง จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประมงพื้นบ้านได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยกรมประมงจะนำประเด็นนี้ไปหารือกับคณะทำงานเพื่อดำเนิน โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงพื้นบ้านในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร โดยมีตัวแทน จากกรมประมงเข้าไปเป็นในคณะทำงานนี้ด้วย

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ จะนำไปหารือ สมาคม สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปรับฟังความเห็นจาก ถ้ามีความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าต่อได้เต็มที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ทำประมงพื้นบ้านด้วย รวมทั้งกระทรวงได้ตั้งงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดประสงค์เพื่อจะอุดหนุนไปยังองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมประมง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มการผลิตด้านประมง ซึ่งโครงการต่างๆ องค์กรชุมชน จะได้รับอุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ส่วนปี 2568 จะได้รับจัดสรรงบประมาณมาประมาณ 200 กองทุน ดังนั้นองค์กรชุมชนท้องถิ่นจะสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับสัตว์น้ำ เรื่องของธนาคารสัตว์น้ำ การพัฒนาอาชีพทางด้านการประมง หรือการเปลี่ยนและซ่อมแซมเครื่องมือประมงได้

“ในส่วนความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกในส่วนของกองทุนประกันภัยแก่ประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยเหลือในกรณีอุบัติเหตุหรือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขในกรมธรรม์อาจจะยังไม่เป็นที่พอใจสำหรับพี่น้องที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น การชดเชยความสูญเสียจากธรรมชาติหรือว่าภัยพิบัติ จะต้องดูในเรื่องของระเบียบทางราชการ ซึ่งต้องเป็นการประกาศภัยพิบัติระดับจังหวัดเท่านั้น ถ้าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ผมเชื่อว่าทางจังหวัดก็ไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติได้ ทำให้ไม่สามารถรับค่าสินไหมทดแทนได้ แต่ขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถครอบคลุม หรือว่าดูแลเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น“

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า กรมประมงกำลังทำร่างใหม่ เพื่อเสนอไปที่กรมบัญชีกลาง เช่น ชดเชยเวลาเกิดความเสียหาย ก็ชดเชยตามความยาวของเรือ แต่ที่เรากำลังจะนำเสนอเป็นการชดเชยตามปริมาตรความจุของเรือ หรือแม้แต่เรื่องของอัตราการช่วยเหลือในกรณีที่เสียหาย จะจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท แต่เราจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 การช่วยเหลือเยียวยาประมาณ 10,000 แล้วก็ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท หรือแม้แต่ในกรณีที่เรือจมนะที่สามารถจ่ายได้ไม่เกิน 66,000 บาท แต่ร่างใหม่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็นจ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น กรมประมงมีนโยบายในการที่จะดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านมาตลอด โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเหลือดำเนินการในพื้นที่ ๆ จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนแล้วก็พัฒนาให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารปูม้า สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมง สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมเรือ หรือแม้แต่กิจกรรมในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ เราจะต้องลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการหาทางออก ที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ โดยไม่ผิดกฎหมาย

“ร.อ.ธรรมนัส ให้ความสำคัญและลงไปประชุมกับพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องการที่จะขายเรืออยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่า อยู่ในกระบวนการในการที่จะหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก็คงจะใช้เวลาสักนิดนึง แต่ผมเรียนด้วยความเคารพว่า พวกผมก็ต้องต่อสู้ในฐานะเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัส ก็เป็นนักการเมือง เราก็ต่อสู้เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิ่งที่เขาสามารถได้รับกลับมาให้เหมาะสม ท่านไม่ต้องกังวลใจ เราในฐานะกระทรวงเกษตรฯ เราจะทำตรงนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและรอบคอบที่สุด” นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กรกฎาคม 2567

“สส.ไผ่ ลิกค์” ทำโครงนำร่องอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เร่งทำหมันหมาแมว ตามแนวทางรมว.เกษตรเตรียมขยายผลทั่วประเทศ

,

“สส.ไผ่ ลิกค์” ทำโครงนำร่องอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เร่งทำหมันหมาแมว ตามแนวทางรมว.เกษตรเตรียมขยายผลทั่วประเทศ

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ตนและนายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร ได้เปิดโครงการอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์และรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ในชุมชนเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ตามแนวทางของร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดโครงการในครั้งนี้ เนื่องจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในการทำหมันสัตว์ รวมทั้งเป็นการป้องกันการระบาดจากโรคที่มากับสัตว์ พร้อมเตรียมจะนำต้นแบบในจ.กำแพงเพชร ขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศต่อไป

อย่างไรก็ตามโครงการฉีดวัคซีนทางเทศบาลได้มีโครงการบริการแก่ประชาชนเป็นประจำอยู่แล้ว จึงได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับ รัฐมนตรีทั้ง 2 เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงประสานไปยังสำนักงานปศุสัตว์เขต 6 และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกำแพงเพชร รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่น และภาคสังคม แก้ปัญหาให้กับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

“สำนักงานปศุสัตร์เขต 6 และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการจัดอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์และรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ซึ่งจัดกิจกรรมปศุสัตว์เคลื่อนที่ออกหน่วยให้บริการประชาชนในพื้นที่ ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้ากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์เลี้ยง”นายไผ่ กล่าว

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงาน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร ประมงจังหวัด สำนักงานปฏิรูปที่ดิน ศูนย์เมล็ดพันธุ์พืช และสำนักงานพัฒนาที่ดิน และนายไผ่ ยังได้มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม มอบพันธุ์หญ้า (เนเปียร์รูซี่) ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมให้ความรู้และการให้บริการด้านปศุสัตว์แก่ประชาชน จากสำนักงานปศุสัตร์เขต 6 ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กรกฎาคม 2567

“รมช.อรรถกร” ตอบกระทู้ยัน กระทรวงเกษตรฯมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้ประมงพื้นบ้าน

,

“รมช.อรรถกร” ตอบกระทู้ยัน กระทรวงเกษตรฯมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้ประมงพื้นบ้าน เตรียมดันมาตรการสนับสนุนน้ำมันผ่านการเติมเงิน ย้ำพร้อมต่อสู้เพื่อ ปชช.เต็มที่

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตอบกระทู้ของนายกฤช ศิลปชัย สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ที่สอบถามความคืบหน้าข้อเสนอนโยบายประมงทะเล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านไทย ว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้ฝากมาขอโทษที่ท่านไม่ได้มาตอบกระทู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจ แต่ท่านเล็งเห็นถึงความตั้งใจและให้ความสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง โดยเฉพาะพี่น้องประมงพื้นบ้าน และได้กำชับให้มาตอบกระทู้ของท่าน สส.

ทั้งนี้ต้องขอบคุณ สส.พรรคก้าวไกลที่มีความห่วงใยให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และท่านก็มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่ประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพของชาวประมงขณะนี้มีต้นทุนมากกว่า 50% โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตร ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาประมงทะเล และได้ทำการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1ชุด เพื่อที่จะพิจารณาข้อเสนอตามนโยบายการประมงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางกรมประมงได้เสนอช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 1,275 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ยังมีข้อกังวลในการสนับสนุนค่าน้ำมันสำหรับการดำเนินโครงการนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 45,000 ราย ใช้งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การใช้งบประมาณจะเกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวประมงที่รับเงินอุดหนุนแล้วจะนำไปซื้อน้ำมันจริง หากไม่ได้นำเงินไปซื้อน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของการอนุมัติโครงการนี้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า ควรจะให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ดังนั้นทางกรมประมง จึงผลักดันแนวทางในการที่จะสนับสนุนน้ำมันผ่านทางการเติมเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่อุดหนุนช่วยเหลือพี่น้องประมงพื้นบ้าน จะถูกนำไปซื้อน้ำมันตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

“ในเรื่องนี้ ร.อ.ธรรมนัส ท่านมีความกังวล และห่วงใย เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐเรามีการช่วยเหลือน้ำมันเขียว หรือว่าน้ำมันต่างๆที่มีราราคาถูกกว่าโดยเฉพาะให้กับผู้ประกอบการประมงที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ความช่วยเหลือดัวกล่าว ถ้าเทียบกับพี่น้องประมงพื้นบ้านแล้วความช่วยเหลือต่างๆมีความเหลื่อมล้ำพอสมควร ดังนั้นแนวทางการทำงานของกรมประมง จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประมงพื้นบ้านได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยกรมประมงจะนำประเด็นนี้ไปหารือกับคณะทำงานเพื่อดำเนิน โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงพื้นบ้านในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร โดยมีตัวแทน จากกรมประมงเข้าไปเป็นในคณะทำงานนี้ด้วย

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ จะนำไปหารือ สมาคม สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปรับฟังความเห็นจาก ถ้ามีความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าต่อได้เต็มที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ทำประมงพื้นบ้านด้วย รวมทั้งกระทรวงได้ตั้งงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดประสงค์เพื่อจะอุดหนุนไปยังองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมประมง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มการผลิตด้านประมง ซึ่งโครงการต่างๆ องค์กรชุมชน จะได้รับอุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ส่วนปี 2568 จะได้รับจัดสรรงบประมาณมาประมาณ 200 กองทุน ดังนั้นองค์กรชุมชนท้องถิ่นจะสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับสัตว์น้ำ เรื่องของธนาคารสัตว์น้ำ การพัฒนาอาชีพทางด้านการประมง หรือการเปลี่ยนและซ่อมแซมเครื่องมือประมงได้

“ในส่วนความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกในส่วนของกองทุนประกันภัยแก่ประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยเหลือในกรณีอุบัติเหตุหรือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขในกรมธรรม์อาจจะยังไม่เป็นที่พอใจสำหรับพี่น้องที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น การชดเชยความสูญเสียจากธรรมชาติหรือว่าภัยพิบัติ จะต้องดูในเรื่องของระเบียบทางราชการ ซึ่งต้องเป็นการประกาศภัยพิบัติระดับจังหวัดเท่านั้น ถ้าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ผมเชื่อว่าทางจังหวัดก็ไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติได้ ทำให้ไม่สามารถรับค่าสินไหมทดแทนได้ แต่ขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถครอบคลุม หรือว่าดูแลเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น“

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า กรมประมงกำลังทำร่างใหม่ เพื่อเสนอไปที่กรมบัญชีกลาง เช่น ชดเชยเวลาเกิดความเสียหาย ก็ชดเชยตามความยาวของเรือ แต่ที่เรากำลังจะนำเสนอเป็นการชดเชยตามปริมาตรความจุของเรือ หรือแม้แต่เรื่องของอัตราการช่วยเหลือในกรณีที่เสียหาย จะจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท แต่เราจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 การช่วยเหลือเยียวยาประมาณ 10,000 แล้วก็ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท หรือแม้แต่ในกรณีที่เรือจมนะที่สามารถจ่ายได้ไม่เกิน 66,000 บาท แต่ร่างใหม่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็นจ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น กรมประมงมีนโยบายในการที่จะดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านมาตลอด โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเหลือดำเนินการในพื้นที่ ๆ จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนแล้วก็พัฒนาให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารปูม้า สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมง สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมเรือ หรือแม้แต่กิจกรรมในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ เราจะต้องลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการหาทางออก ที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ โดยไม่ผิดกฎหมาย

“ร.อ.ธรรมนัส ให้ความสำคัญและลงไปประชุมกับพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องการที่จะขายเรืออยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่า อยู่ในกระบวนการในการที่จะหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก็คงจะใช้เวลาสักนิดนึง แต่ผมเรียนด้วยความเคารพว่า พวกผมก็ต้องต่อสู้ในฐานะเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัส ก็เป็นนักการเมือง เราก็ต่อสู้เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิ่งที่เขาสามารถได้รับกลับมาให้เหมาะสม ท่านไม่ต้องกังวลใจ เราในฐานะกระทรวงเกษตรฯ เราจะทำตรงนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและรอบคอบที่สุด” นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 กรกฎาคม 2567

”อัครแสนคีรี“ ยื่นขอ สธ. เร่งจัดงบ ขยายรพ.คอนสวรรค์ 60 เตียง พร้อม รพ. อื่นทั่วจังหวัด หลังรองรับคนชัยภูมิไม่เพียงพอ

,

”อัครแสนคีรี“ ยื่นขอ สธ. เร่งจัดงบ ขยายรพ.คอนสวรรค์ 60 เตียง พร้อม รพ. อื่นทั่วจังหวัด หลังรองรับคนชัยภูมิไม่เพียงพอ

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ตั้งกระทู้ถามนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงแผนการก่อสร้างหรือขยายโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ก่อนอื่นตนต้องขอขอบพระคุณ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาเสียสละเวลามีค่าของท่านมาตอบกระทู้ของตนในวันนี้

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2529 เปิดให้บริการมา 38 ปีแล้ว มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุม 9 ตำบล 103 หมู่บ้าน ดูแลประชากรราว 54,654 รายและปัจจุบันมีเตียงรักษาผู้ป่วยอยู่เพียงแค่ 30 เตียง ที่ผ่านมา ตนได้ลงพื้นที่ไปสำรวจโรงพยาบาลพบว่า มีความแออัดค่อนข้างสูง ในส่วนของห้องฉุกเฉินผู้ป่วยก็ออกมานอนอยู่นอกห้อง จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน

“ที่ผ่านมา รพ.คอนสวรรค์ ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องของความแออัดของโรงพยาบาลมาตั้งแต่ ปี 64 งบประมาณ 44 ล้าน เพื่อที่จะก่อสร้างตึกผู้ป่วยจำนวน 60 เตียงตึกใหม่ขึ้นมา แต่ว่ายังไม่ได้รับงบประมาณและผมก็ยังทราบว่าในปี 68 ทางโรงพยาบาลคอนสวรรค์ก็ยังไม่ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างโรงพยาบาลประเภท 60 เตียง ผมจึงมีคำถามถึงรัฐมนตรีสมศักดิ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีแผนที่จะจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลนครสวรรค์เป็น 60 เตียงหรือไม่ และท่านคาดว่าจะสามารถจัดสรรงบประมาณได้ในปีงบประมาณใด“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ตนได้รับข้อมูลจากทางนายเชิงชาย ชาลีรินทร์ สส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นข้อมูลที่เตรียมโดยสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ว่าจังหวัดชัยภูมิมีความต้องการที่จะขอ 5 โครงการดังนี้คือ 1.อาคารไตเทียม,เคมีบำบัด,ผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยใน 7 ชั้น ของโรงพยาบาลจัตุรัส 2.อาคารพักเจ้าหน้าที่ 7 ชั้นโรงพยาบาลจัตุรัส 3.อาคารอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหนักไตเทียมและผ่าตัดโรงพยาบาลหนองบัวแดง 4.อาคารของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ประเภท 60 เตียง และ 5.อาคารส่งเสริมสุขภาพและกายภาพบำบัดโรงพยาบาลหนองบัวระเหว รวมแล้วค่าก่อสร้างใช้เงินประมาณ 469 ล้านบาท

“ผมอยากจะฝากท่านสมศักดิ์ ให้ช่วยพิจารณาจัดสรรวงเงินดังกล่าว เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชัยภูมิให้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก”นายอัครแสนคีรี กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบกระทู้ว่า ตนเห็นด้วยกับข้อมูลที่ สส.อัครแสนคีรีนำมาอภิปราย เนื่องจากโรงพยาบาลคอนสวรรค์เป็น รพ.ชุมชนขนาดกลาง 30 เตียง แต่มีผู้ป่วยใช้บริการถึง 45 เตียง และมีผู้ป่วยสุดท้ายที่ต้องการดูแลแบบประคับประคอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เป็น 60 เตียงตามที่ได้ท่านได้ร้องขอไว้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ทำเรื่อง ขอวงเงิน 44 ล้านบาทไปแล้ว แต่ว่าก็น่าเสียดายที่ถูกตัดทอนออกไป

“เรามีความเห็นใจ และก็ไม่ได้รีรอ จึงขอแปรญัตติในที่ประชุม โดยจะเสนอในช่วงของกลางเดือนนี้ โดยจะแบ่งเป็นงบลงทุน ปี 68 ประมาณ 8,800,000 บาท และงบผูกพันปี 69 อีก 35,400,000 บาท แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการแปรญัตติก็ไม่ได้ง่าย ๆ ผมก็เข้าใจความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากชัยภูมิทุกท่าน ซึ่งถ้าสามารถทำในระบบของการจัดสรรงบประมาณทางตรงได้ก็จะจัดสรรให้ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็มีแนวทางในเรื่องของการดำเนินการอาจจะเป็นรูปแบบอื่นที่หน่วยงานของรัฐ หรือกึ่งของรัฐที่มีทุนรอนในการดำเนินการจะเชิญชวนให้เอกชนมาร่วมลงทุน ในส่วนที่ไม่ขัดกับกฎระเบียบของทาง ตรงนี้ก็คิดอยู่ ซึ่งขณะนี้ได้ให้ผู้บริหารกระทรวงไปศึกษาการดำเนินการอยู่“นายสมศักดิ์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 กรกฎาคม 2567