โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส.​ปกรณ์ จีนาคำ

“สส.ปกรณ์ สส.พปชร.” รุดเข้าพื้นที่อุทกภัยอำเภอเมืองดูแลประชาชน เก็บข้อมูลประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหา ป้องภัยธรรมชาติ

,

“สส.ปกรณ์ สส.พปชร.” รุดเข้าพื้นที่อุทกภัยอำเภอเมืองดูแลประชาชน เก็บข้อมูลประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหา ป้องภัยธรรมชาติ

นายปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขต 1 จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อให้กำลังและเยี่ยมพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมทั้งได้มอบ นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ ยังได้สอบถามปัญหาเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อนำไปประสานกับหน่วยงาน หาแนวทาฃช่วยเหลือและแก้ปัญหาระยะยาวให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไป

ทั้งนี้ ในพื้นที่จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลจากลมมรสุม มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ที่พัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในช่วงวันที่ 5,8และ14 กันยายนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณสะสมในพื้นที่สูง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน และทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กันยายน 2566

“ปกรณ์”ขอเป็นตัวแทนชาวแม่ฮ่องสอน เรียกร้องเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์พบขาดแคลนอย่างหนัก วอน กระทรวงสาธารณสุขเร่งหามาตรการแก้ปัญหาด่วน

,

“ปกรณ์”ขอเป็นตัวแทนชาวแม่ฮ่องสอน เรียกร้องเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์พบขาดแคลนอย่างหนัก วอน กระทรวงสาธารณสุขเร่งหามาตรการแก้ปัญหาด่วน

นายปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร) กล่าวหารือความเดือดร้อนของประชาชนในที่ประชุมสภาฯถึงปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน อย่างรุนแรง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมี 7 อำเภอ และมี7 โรงพยาบาลของรัฐ และไม่มีโรงพยาบาลของเอกชนเลย ซึ่งมีประชากร 280,000 กว่าคนเศษ แต่มีแพทย์ปฏิบัติการเพียงแค่ 74 คนเท่านั้น ถ้าดูอัตราเฉลี่ยแล้วแพทย์หนึ่งคน ต้องดูแลพี่น้องประชากรกว่า 3000 คน ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของระบบสาธารณสุขของไทย ที่จะต้องมีแพทย์ 1 คน เพื่อดูแลประชากรอยู่ที่1600 คนเศษเท่านั้น

นายปกรณ์ กล่าวต่อว่า บางโรงพยาบาลในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีแพทย์เพียงสองคนเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบกับการดูแลรักษาพี่น้องประชาชน ที่อาจจะ ไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึง ที่สำคัญคือ ความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีอัตราที่ลาออกและโยกย้ายออกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ค่อนข้างมาก สาเหตุมีหลายประการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ในเรื่องของงบประมาณ และสวัสดิการที่ไม่เพียงพอ ตนขอฝากให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้ามากำกับดูแล และแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยด่วนด้วย

นายปกรณ์ ยังกล่าวถึง ปัญหาเรื่องหนังสือรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกิน ตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่อันดับ 8 ของ ประเทศไทย กว่า 95% เป็นพื้นที่ป่า ซึ่งในปี 2558 รัฐบาลมีโครงการแก้ปัญหาที่ดินคือ โครงการ ครช. จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือจังหวัดหนึ่งที่เป็นจังหวัดเป้าหมาย มีเป้าหมาย 70,000 กว่าไร่ ที่จะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยในปี 2560 สามารถตรวจสอบและอนุมัติพื้นที่ได้ 36,000 กว่าไร่ มีผู้ยื่นขอรับสิทธิ์ 12,000 กว่าคน แต่ปัจจุบันนี้ออกเอกสารได้เพียง 6800 กว่าไร่ และผู้ได้รับสิทธิ์เพียง 3900 กว่าราย เท่านั้นยังตกหล่นอีก 28,000 กว่าไร่ ยังมีผู้ไม่ได้รับสิทธิ์อีก 8000 กว่าราย ตนขอฝากไปยังกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ช่วยกำกับ ดูแล และเร่งรัดในการออกเอกสารสิทธิ์ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 สิงหาคม 2566

“ปกรณ์ จีนาคำ” เดินสายขอบคุณ ปชช. พร้อมทำงานพัฒนา จ.แม่ฮ่องสอน เล็งผลักดันเสนอยกจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็น “จังหวัดพิเศษ” เพื่อลดปัญหารายได้ต่อหัวต่ำ และแรงงานฝีมือ รวมถึงข้าราชการขาดแคลน

,

“ปกรณ์ จีนาคำ” เดินสายขอบคุณ ปชช. พร้อมทำงานพัฒนา จ.แม่ฮ่องสอน เล็งผลักดันเสนอยกจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็น “จังหวัดพิเศษ” เพื่อลดปัญหารายได้ต่อหัวต่ำ และแรงงานฝีมือ รวมถึงข้าราชการขาดแคลน

นายปกรณ์ จีนาคำ ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.แม่ฮ่องสอน เขต 1 เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่ขอบคุณประชาชนในทุกอำเภอที่ให้ความไว้วางใจตนเอง ซึ่งขณะนี้กำลังรอการรับรองผลอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต. ) เมื่อรับรองแล้ว ตนจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการขาดแคลนบุคลากรของหน่วยราชการ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการขับเคลื่อนจังหวัด ด้วยข้อจำกัดของภูมิศาสตร์ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้บุคลากรที่จะมาบรรจุทำงานในพื้นที่มีไม่มาก และไม่เพียงพอต่อการบริหารงานด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ตนจึงตั้งใจว่า ทันทีที่เปิดสภาฯ จะเร่งเสนอให้มีการยกฐานะของจังหวัด เป็นเมืองพิเศษ เช่นเดียวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นมากขึ้น

“จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากร ของหน่วยราชการ ที่จะเข้ามาให้บริการประชาชน ผมต้องการให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีข้าราชการเพียงพอต่อการพัฒนาพื้นที่ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัย เพื่อให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ ผมเห็นว่า ควรมีการผ่อนผันข้อบังคับระบบราชการ โดยการสร้างแรงจูงใจ การปฎิบัติหน้าที่ของบุคลากร ที่จะเข้ามาบรรจุในพื้นที่ และควรมีระยะเวลาทำงานในพื้นที่ได้นานขึ้น การพิจารณาความเหมาะสม ของค่าตอบแทน ค่าเดินทาง พร้อมทั้งเพิ่มอำนาจการอนุมัติให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด การใช้พื้นที่ป่า เพื่อการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า ถนน เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น”นายปกรณ์ กล่าว

นายปกรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาในเรื่องของที่ทำกิน จะต้องเร่งผลักดันให้มีการออกใบอนุญาตโดยเร็ว เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะปัจจุบันมีประชาชน กว่า 2 หมื่นครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตในการเข้าทำกินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ตามนโยบายคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เพื่อเป็นการลดปัญหาการบุกรุกป่า เพราะพื้นที่แม่ฮ่องสอนมีประชาชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธ์หลากหลาย เน้นทำการเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่สูงซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า ดังนั้นควรส่งเสริมให้เกิดอาชีพที่มั่นคง และลดกระทำผิดทางกฎหมาย พร้อมให้เป็นแนวร่วมในการดูแลฟื้นฟูป่าให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้นไปพร้อมกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 มิถุนายน 2566