โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส.จำลอง ภูนวนทา

”สส.จำลอง”วอน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหายาเสพติดแพร่ระบาด หลังสถิติผู้ป่วยเพิ่มสูง หวั่น เป็นจุดเริ่มต้นของอาชญากรในสังคม

,

”สส.จำลอง”วอน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหายาเสพติดแพร่ระบาด หลังสถิติผู้ป่วยเพิ่มสูง หวั่น เป็นจุดเริ่มต้นของอาชญากรในสังคม

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ปัจจุบันยาเสพติดได้แพร่ระบาดไปทุกหย่อมหญ้าของสังคมไทย จากสถิติเมื่อปี พ.ศ 2566 มีผู้ป่วย 195,604 คน และปี 2567 ซึ่งยังไม่ถึงสิ้นปียังมีผู้ป่วยสะสม 46,566 คน จากแค่ 2 ปี มียอดผู้ติดยาเสพติดถึง 241,210 คน

“ผมได้ไปสอบถามตัวเลขสถิตินี้จากสาธารณสุขจังหวัด
และได้รับคำตอบว่า สถิติผู้ที่มารักษาในโรงพยาบาล ต้องคูณด้วย 10 เท่า ลองคิดดูว่าสังคมจะเป็นอย่างไร
ในอนาคต“นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ในพื้นที่ของตนเกิดเหตุฆาตกรรมที่อำเภอท่าคันโท โดยชายชรา อายุ 74 ปี ถูกฆาตกรรม โดยเยาวชนที่ติดยาเสพติด แล้วเกิดอาการอาละวาด จนเกิดเหตุสลดขึ้น นอกจากนี้ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมผู้ปกครองของเด็กในพื้นที่ได้ปรึกษาตนว่า อยากมีอาวุธปืน ตนจึงถามว่า จะเอาไปทำไม เพราะว่าเป็นเกษตรกรไม่จำเป็นต้องพกอาวุธ ซึ่งชาวบ้านบอกว่า ลูกมาอาละวาดเกือบทุกวันเพราะติดยาเสพติด จะทำร้ายพ่อ จึงต้องการขอมีใบอนุญาตพกพาอาวุธ เพื่อป้องกันตนเอง จึงขอฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการ แก้ไขปัญหายาเสพติดด้วย“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2567

“สส.จำลอง” กระทุ้งกระทรวงพาณิชย์ ประกันราคามันสำปะหลัง 3 บาทต่อกก. แจงต้นทุนเกษตรกรยังถึงจุดไม่คุ้มทุน หวั่นผู้ปลูกมันฯรายได้ติดลบกระทบอาชีพ

,

“สส.จำลอง” กระทุ้งกระทรวงพาณิชย์ ประกันราคามันสำปะหลัง 3 บาทต่อกก.
แจงต้นทุนเกษตรกรยังถึงจุดไม่คุ้มทุน หวั่นผู้ปลูกมันฯรายได้ติดลบกระทบอาชีพ

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงสถานการณ์ปัญหามันสำปะหลังว่า ได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบพบว่า ราคารับซื้อมันสำปะหลังตกต่ำที่สุดในรอบ 9 ปี โดยต้นทุนการผลิตของผู้ปลูกมันสำปะหลัง ไม่คุ้มกับราคาต้นทุน ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์ราคามันสำปะหลังอยู่ที่ 1 บาทกว่า ไม่ถึง 2 บาท ซึ่งต้นทุนการผลิต จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 3 บาท เพราะต้องมีค่าไถ 750 บาทต่อไร่ ,ค่าพันธุ์ 500 บาทต่อไร่,ค่าปลูก 800 บาทต่อไร่,ค่าดายหญ้า 800 บาทต่อไร่,ค่าปุ๋ย ค่าแรง 1,100 บาทต่อไร่,ค่าไถกลบไถเบิก 500 บาทต่อไร่,ค่ารักษาโรคใบด่าง โรคใบหยิก 200 บาท,ค่าโดรนฉีดยาอีกไร่ละ 100 บาท,ค่าเก็บผลผลิตไร่ละ 600 บาท

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ส่วนค่าเช่าที่ธนารักษ์สำคัญ ในพื้นที่ท้ายเขื่อนห้วยเม็กหนองกุงศรีท่าคันโท ที่อยู่ท้ายเขื่อนลำปาว ปีไหนที่น้ำหลาก เขาเก็บน้ำเยอะก็ปรากฏว่า น้ำท่วมแต่ไม่ได้รับการชดเชย เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลตระหนักว่า ถ้าพี่น้องเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังอยู่ท้ายเขื่อนถูกน้ำท่วมก็ให้ชดเชยด้วย ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายรวมเบ็ดเสร็จอยู่ที่ 7,185. 65 บาท นี่คือต้นทุน ปัจจุบันนี้ถ้ากิโลละ 2 บาท ไร่ละประมาณ 3 ตันคิดเป็น 6,000 บาทจะติดลบอยู่ 1,185.65 บาท เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังติดลบ ส่งผลต่อผลผลิตเสียหาย

“ผมมีวิธีแก้ไขคือ ลดต้นทุนการผลิตและขอกราบเรียนนโยบายรัฐบาลที่แพลนออกมาว่าปุ๋ยขึ้นราคา จริงๆแล้วเป็นประโยชน์ เป็นการลดต้นทุนปุ๋ย ที่ผ่านมาปุ๋ยถุงละ 60 บาท ปัจจุบันนี้ถุงละ 1,000กว่าบาท รวมถึง ประกันราคามันสำปะหลังเกษตรกรผู้ปลูกมัน 3 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ พี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่ไม่ได้รับการชดเชยในการเช่าที่ธนารักษ์ ซึ่งควรจะชดเชยให้เขา เพราะธนารักษ์เอาค่าเช่ากับเขาไปแล้ว”นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า หากย้อนไปในอดีต ปัญหาราคาสำปะหลัง ถึงขั้นมีการปิดรัฐสภาที่ถนนอู่ทองใน เพราะพี่น้องเกษตรกรเกิดความเดือดร้อนจึงเกิดความวุ่นวาย จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือเยียวยาในการประกันราคามันสำปะหลังให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างน้อยกิโลกรัมละ 3 บาท ถึงจะมีกำไรและจุดคุ้มทุนอยู่ตรงนั้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 สิงหาคม 2567

“สส.จำลอง” แนะ ใช้ต้นสะเดากำจัดแมลง วอน ”ก.พาณิชย์-เกษตรฯ“พัฒนานวัตกรรมชีวมวล แก้ปัญหาให้เกษตรกรโดยด่วน

,

“สส.จำลอง” แนะ ใช้ต้นสะเดากำจัดแมลง วอน ”ก.พาณิชย์-เกษตรฯ“พัฒนานวัตกรรมชีวมวล แก้ปัญหาให้เกษตรกรโดยด่วน

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหามันสำปะหลัง โดยตนได้ลงพื้นที่สำรวจ ที่รับซื้อมันสำปะหลังในพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับราคาที่ตกต่ำ ไม่คุ้มกับการลงทุน และยังมีโรคระบาด หรือเรียกว่า โรคใบด่าง ซึ่งเกิดจากแมลงชนิดหนึ่ง เป็นไวรัสแพร่ระบาดในโรคในแมลงหวี่ขาวยาสูบหรือที่เรียกว่า Bemisia tabaci โรคนี้จะทำให้ต้นมันสำปะหลังแคระ แกน แล้วก็ง่อย ใบมันจะหด และก็จะทำให้แป้งมันไม่มีคุณภาพ ผลผลิตที่ได้รับก็ถูกปฏิเสธจากการรับซื้อ หรือไม่ได้ประโยชน์เลย

“ผมขอฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ราคามันสำปะหลังไม่ดียังไม่พอ แถบบ้านผมอยู่ท้ายเขื่อนลำปาว น้ำชลประทานก็จะมาท่วม อีกทั้งพี่น้องประชาชนก็เช่าที่กรมธนารักษ์ในการทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันนี้กรมธนารักษ์ก็ปรับราคาการเช่าที่ทำกินกับพี่น้องประชาชนขึ้นมาอีก ทำให้พี่น้องเกษตรกรขาดทุนในการทำไร่มันสำปะหลังอย่างยิ่ง“นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า อีกปัญหาหนึ่งที่ชาวบ้านเดือดร้อนคือ การกำจัดแมลงจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ซึ่งตนไปหาข้อมูลมาแล้วพบว่า ต้นสะเดาสามารถกำจัดแมลงนี้ได้ ตนจึงอยากฝากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมั่นใจว่าท่านรัฐมนตรีใส่ใจเรื่องนี้อยู่แล้ว และให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว ในรัฐบาลชุดนี้

“ผมอยากมีการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับชีวมวล เพราะปัจจุบันนี้ พี่น้องเกษตรกรใช้โดรนฉีดสารเคมี ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง จึงขอให้รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯทั้ง 2 กระทรวง พิจารณาให้มีการรีบๆแก้ไขให้กับพี่น้องเกษตรกรโดยด่วน”นายจำลอง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 กรกฎาคม 2567

“สส.จำลอง”เผย ดีใจแทนเกษตรกรทั่วประเทศ ได้มีโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ช่วยลดต้นทุนการผลิต มั่นใจ“นายกฯ-รมว.ธรรมนัส”ดูแล ปชช.อย่างดี

,

“สส.จำลอง”เผย ดีใจแทนเกษตรกรทั่วประเทศ ได้มีโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ช่วยลดต้นทุนการผลิต มั่นใจ“นายกฯ-รมว.ธรรมนัส”ดูแล ปชช.อย่างดี

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า พี่น้องประชาชนฝากความห่วงใยมายังรัฐบาลในเรื่องปุ๋ยคนละครึ่ง ซึ่งตนต้องกราบขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร โดยตนได้นำปัญหาชาวบ้านไปปรึกษาท่าน ในฐานะที่อยู่พรรคเดียวกันนะครับท่านนายกรัฐมนตรี โครงการปุ๋ยคนละครึ่งเป็นกระบวนการในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิต ตนดีใจแทนพี่น้องประชาชน ส่วนขั้นตอนการลงทะเบียน ท่านรัฐมนตรีบอกว่าจะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนทุกกระบวนการจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และ สะดวกสบาย อย่างแน่นอน

“ส่วนมีสมาชิกผู้ทรงเกียรติเป็นห่วงเป็นใยเรื่องเงินเยียวยาที่เคยได้รับไร่ละ 1,000 หรือขอเป็นไร่ละ 500 บ้าง อันนี้ไม่ต้องห่วง รัฐบาลโดยการนำของท่านเศรษฐา ทวีสิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า มีความเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชนอย่างดีอยู่แล้ว และมีมาตรการเยียวยาอย่างแน่นอน”

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องที่มีความเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชนมากที่สุดคือ เรื่องยาเสพติด โชคดีที่วานนี้(10 ก.ค.)กระบวนในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อลดละเลิกยาเสพติดของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 ได้เริ่มจัดทำที่จังหวัดอุดรธานี แต่สิ่งที่ตนอยากทราบคือ งบประมาณในการช่วยตำรวจในการปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกัน ปราบปราม และป้องปราม พี่น้องผู้ติดยาเสพติด เพราะจะเห็นได้ว่าตอนนี้ประชาชนผู้ติดยาเสพติด ไม่ได้มีเฉพาะวัยรุ่น ซึ่งปกติจะมีช่วงอายุ 18 – 24 ปี แต่ปัจจุบันอายุประมาณ 12 ก็เริ่มติดยาเสพติดแล้ว รวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่อายุตั้งแต่ 39 ปีขึ้นไป ก็มีการติดยาเสพติดมากขึ้นด้ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

“สส.จำลอง”ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งซ่อมแซมถนนเชื่อมระหว่าง อ.โคกเครือ-ต.ดงมูล ชี้ ช่วงหน้าฝนเกิดน้ำท่วมขังชาวบ้านสัญจรลำบาก

“สส.จำลอง”ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งซ่อมแซมถนนเชื่อมระหว่าง อ.โคกเครือ-ต.ดงมูล ชี้ ช่วงหน้าฝนเกิดน้ำท่วมขังชาวบ้านสัญจรลำบาก

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาถนนเชื่อมระหว่างอำเภอโคกเครือ กับตำบลดงมูล เนื่องจากเวลาหน้าฝนพื้นถนนที่ใช้สัญจรที่เป็นหลุมเป็นบ่อจะถูกน้ำท่วมขังจำนวนมาก ประชาชนประมาณ 200 ครัวเรือนต้องใช้เส้นทางสายนี้เป็นประจำทุกเวลาที่ต้องไปประกอบภารกิจ ซึ่งก็ได้นายก อบจ. กาฬสินธุ์ ที่สนับสนุนงบประมาณจำนวน 500,000 บาท มาทำถนนคอนกรีตระยะทาง 167 เมตร
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

“ทางนายก อบจ.ได้ใช้เงินเหลือจ่ายที่ได้จากถนนเส้นอื่น ประมาณ 1,700,000 บาท มาบรรเทาก่อน โดยถนนเส้นนี้ ที่ผมเคยหารือกับท่านประธานว่าต้องใช้งบประมาณอยู่ประมาณกว่า 8,000,000 บาทตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ 6,000,000 บาท เมื่อไหร่ถนนเส้นนี้ จะแล้วเสร็จ“นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า เรื่องการสัญจรของสนามบินใน กทม.ซึ่งตนได้รับผลกระทบกับตัวเอง ไม่ต่างอะไรจากขนส่งหมอชิตที่ตนเคยใช้มาก่อน รถแท็กซี่ห้ามเข้า แม้ส่งและรับผู้โดยสาร ทำให้ต้องเดินจากสนามบินมาชั้นสอง ปัญหาของตนคือประตูทางเข้า ห้ามออกจากสนามบิน ถ้าจะกรุณาควรจะทำทางออกออกจากสนามบินให้ด้วยจะเป็นพระคุณกับพี่น้องประชาชนผู้สัญจรไปมา โดยการใช้การเดินทางอากาศหรือเครื่องบิน จะเป็นคุณูปการแก่พี่น้องประชาชน

“ ปัญหาดังกล่าวตนได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านที่เดินทางมาด้วยกัน วันนี้สนามบินมีสภาพไม่แตกต่างจากมาเฟีย ประเทศไทยวันนี้เดินมาถึงจุดที่ศรีวิไลแล้วในสายตาผม เรื่องเหล่านี้ไม่ควรจะมีในสังคมสังคมไทย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กรกฎาคม 2567

“สส.จำลอง” ขอ รบ.เห็นความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล วอน เพิ่มงบให้กระทรวงศึกษาดูแลเด็กให้ดี เผย ไม่ติดใจเรื่องกู้เงิน หากเป็นประโยชน์กับ ปชช.

,

“สส.จำลอง” ขอ รบ.เห็นความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล วอน เพิ่มงบให้กระทรวงศึกษาดูแลเด็กให้ดี เผย ไม่ติดใจเรื่องกู้เงิน หากเป็นประโยชน์กับ ปชช.

วันนี้ (19 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นายจำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า เมื่อนำพ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ไปเทียบกับ 2567 ตนติดใจหลายกระทรวง แต่ว่าขอพูดถึง 2-3 กระทรวง ที่เป็นหลักในการดูแลประชาชน เช่น กระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับการจัดงบประมาณจำนวน 340,584.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,413.8 ล้านบาท คิดเป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ปัญหาในวงการการศึกษา ในฐานะที่ตนเป็นกรรมาธิการศึกษา คือการสร้างคนดี การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับสังคมของประชาชนปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาเหล่านี้คือ การพัฒนาเด็ก และบุคลากรของชาติออกสู่สังคม การที่ทรัพยากรบุคคลของประเทศจะมีสติสัมปชัญญะ จะมีสติปัญญา ก็คือการใส่ใจในการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้จะมีคุณภาพได้จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่งบอาหารกลางวันของเด็ก ๆ ปัจจุบันนี้ได้งบอยู่ที่หัวละ 22 บาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในปัจจุบันราคาอาหารจานหนึ่ง 60 – 80 บาท และเด็กต้องดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร งบประมาณที่ได้ไปนับว่าน้อย ซึ่ง สส.ไม่สามารถที่จะแปรงบประมาณเพิ่มได้ จึงต้องขอให้รัฐบาลดูแลให้เด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอ

“ปัจจุบันนี้บางโรงเรียนต้องจัดผ้าป่า เพื่อหาเงินบริจาคมาช่วยเหลือเด็กในโรงเรียน ซึ่งผมคิดว่าไม่เหมาะสมรัฐบาลน่าจะจัดสรรงบงบประมาณให้กระทรวงศึกษาให้มากขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนอัตรา 16,500 บาท และได้เพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ค.67 เป็น 18,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายถ้าในประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะดูแลบุคลากรทางการศึกษาอย่างดีเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ ผมขอฝากไปยังรัฐบาลให้ดูแลบุคลากรทางการศึกษาด้วย“นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหายาเสพติดในสถานที่ศึกษา มีการให้งบประมาณในการแก้ไขปัญหานี้เฉลี่ยโรงเรียนละ 1,600 บาทเท่านั้น ตนมองว่าจะเป็นการสุ่มเสี่ยงในการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในโรงเรียนอย่างมาก เนืองจากขาดงบประมาณในการบริหารจัดการ

นายจำลอง ยังกล่าวถึงงบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า เป็นกระทรวงที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องมีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องสภาพภูมิอากาศ PM 2.5 ซึ่งปัจจุบันไม่เห็นเดินหน้าอย่างไรเลย ขอฝากไปยังรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนด้วย รวมถึงโครงการกำจัดขยะมูลฝอย โครงการก๊าซเรือนกระจก งบประมาณก็น้อย ถ้าเทียบกับกระทรวงเกษตรแล้วต่างกันเยอะ ทั้งที่ 2 กระทรวงนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในส่วนของกระทรวงที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยมากที่สุดคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 123,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 จำนวน 4,726.2 ล้านบาท แต่ทำประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวขค้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังใช้งบประมาณขาดดุล การกู้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเรากู้มาลงทุนเพื่อสร้างประเทศ กู้เงินมาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอยู่ดีกินดี หรือแม้กระทั่งการกู้มาเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ถ้าเกิดประโยชน์กับประชาชน ผมสนับสนุน และขอให้ สส.ทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลอย่านึกถึงตัวเอง ขอให้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 ให้ผ่านไปด้วยดี เพื่อความสุขของประชาชน” นายจำลอง กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 มิถุนายน 2567

“สส.จำลอง” น้อมรับ 4 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฝาก กมธ.ปลูกจิตสำนึกร่วมมือกันหาก รธน.ถูกฉีกอีก เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย วอน อย่าก้าวล่วงแตะหมวด 1,2

,

“สส.จำลอง” น้อมรับ 4 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฝาก กมธ.ปลูกจิตสำนึกร่วมมือกันหาก รธน.ถูกฉีกอีก เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย วอน อย่าก้าวล่วงแตะหมวด 1,2

วันนี้ (18 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เป็นพิเศษ มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. โดยมีผู้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว รวม 4 ฉบับ คือ ฉบับของคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคภูมิใจไทย

นายจำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)อภิปรายว่า ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ว่า การทำประชามติมีมาหลายยุคหลายสมัย การเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ประมุขนั้นใน รัฐธรรมนูญต้องออกมาเพื่อประชาชน โดยประชาชน และทำเพื่อ ประชาชนการทำประชามติทุกครั้งที่ตนได้สัมผัส รัฐธรรมนูญปี 2540 , 2550 , 2560 ถามว่า เราทำไปแล้วได้อะไร

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ตนไม่คัดค้าน ยอมรับเสียงข้างมาก ให้ความเคารพ แต่เราทำแล้วได้อะไร ถึงวันหนึ่งมีรัฐธรรมนูญออกมา เสร็จก็ฉีกแล้ว ฉีกเล่า นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะเป็นนักรัฐศาสตร์ อ่านกฎหมายได้ ดูกฎหมายเป็น สรรพสิ่งเกี่ยวกับบริบทของรัฐธรรมนูญไทยนั้นจะมาจากประชาชน หรือมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาอันทรงเกรียติแห่งนี้ จะวิเศษ วิโสแค่ไหนก็ตาม โดยส่วนตัวตนมองว่า ความสำคัญที่สุดของการแก้ไขรัฐธรรมนูญไทยและการทำประชามติ ตนอยากฝากถึงกรรมาธิการที่จะมีขึ้น ว่า ท่านจะใส่ข้อมูลหรือใส่องค์ความรู้ตรงไหนลงไปให้ประชาชนได้เข้าใจว่า เจตจำนงร่วมที่มอบให้กับบริบทของสังคมไทยไปนั้นจะไม่ถูกฉีก และเราจะยอมรับ“

“เราจะป้องกันเจตจำนงร่วมที่มอบให้กับสังคมไทยไปอย่างไร เช่น มีการฉีกรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น ผู้ที่ออกเสียงประชามติจะแสดงท่าทีอย่างไรกับการกระทำนั้น นี่คือเรื่องสำคัญที่สุดของการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญที่ออกมามันผ่านประชามติมาเกือบทุกฉบับ แต่ก็ถูกฉีก จึงเกิดคำถามว่า เรามีความสำคัญอย่างไรต้องทำประชามติ ผมไม่ขัดแย้ง ไม่ขัดข้อง ที่จะน้อมรับเสียงข้างมาก และไม่ขัดแย้งว่า ไม่เห็นด้วย ผมยอมรับทั้ง 4 ร่าง โดยเฉพาะของอาจารย์ชูศักดิ์” นายจำลอง กล่าว

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ประเทศไทยปกครองด้วยสถาบันหลักของชาติจะต้องไม่ถูกแตะ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งตนให้ความเคารพและศรัทธามาตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นตนอยากจะฝากคณะกรรมาธิการ ได้โปรดอย่าเสี่ยงไปแตะต้องในหมวด 1 และ 2 เพราะประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งแยกไม่ได้

บริบทของสังคมไทยที่ผ่านมาขาดจิตสำนึก ตนจึงอยากจะให้ผู้ที่รับผิดชอบในการกล่อมเกลาบุคลากรของชาติก็คือ กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนที่จะทำประชามติ ควรจะต้องสร้างให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึก ไม่ก้าวร้าว เคารพสิทธิของผู้อื่น รวมถึงน้อมรับฟังความเห็นของคนอื่น ดังนั้น เราควรจะสร้างจิตสำนึกให้ผู้ออกเสียงประชามติว่า หากแก้รัฐธรรมนูญแล้วมีการฉีกรัฐธรรมนูญ เราต้องออกมาต่อสู้ ไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 มิถุนายน 2567

“สส.จำลอง”ขอไฟแดงที่สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ให้ ปชช.หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พร้อมขอ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

,

“สส.จำลอง”ขอไฟแดงที่สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ให้ ปชช.หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
พร้อมขอ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากนายกเทศบาลตำบลกุดจิกว่า สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ช่วงบ้านกุด ขอนแก่น เป็นสี่แยกวัดใจ อันเกิดจากการสัญจร ของประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ มีการล้มตายบ่อย ถนนเส้นนี้เป็นทางลัดจากอีสานกลางไปสู่อีสานเหนือ ไปลุ่มน้ำโขงได้ คนสัญจรจากกรุงเทพก็ชอบใช้เส้นทางนี้ ทำให้มีปริมาณรถเยอะมาก และไม่มีไฟแดง จึงขอให้ทางหลวง แขวงการทางไปติดตั้งไฟแดง ณ สี่แยกตรงนี้ด้วย

นายจำลอง ยังกล่าวต่อถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง โดยตอนนี้โครงการที่เสนอเกี่ยวกับน้ำ ที่จะลงทะเบียนใช้ระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูล
สำหรับบูรณาการแผนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ หรือ Thai Water Plan โดยเมื่อมีเปิดการลงทะเบียนกลับลงไม่ทัน จึงอยากฝากให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.บุญชัย”ร่วมหารือปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ร่วมประชุมติดตามรับฟัง เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)ในเขตพื้นที่เพชรบูรณ์ เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

โดยมีนายชัชวาล เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการประชุม ,นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ,นายเจษฎา โทศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 10 พร้อมด้วยข้าราชการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ณ โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พผชร.) เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือเชิญ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เพื่อรับฟังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ให้กับประชาชน หลังจากที่ได้ร่วมหารือกับกลุ่มเกษตรกร 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลอ่างทอง ตำบลน้ำแวน ตำบลเชียงบาน อ.เชียงคำ เพื่อหาแนวทางการผันน้ำและการบริหารจัดการน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร

“โดยระหว่างนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับพี่น้องเกษตร ผมจึงได้จัดเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนให้พี่น้องประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และ ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรในพื้นที่ ส่งผลให้ต้นข้าวกำลังยืนต้นตาย“นายอนุรัตน์ กล่าว

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนยังได้ลงพื้นที่ ต.หงส์หิน อ.จุน เพื่อมอบข้าวสารให้แก่ประชาชน พร้อมรายงานความคืบหน้าการตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าให้กับทุกคนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการแก้ไขปัญหา การติดตั้งเครื่องสูญน้ำในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาการใช้สถานที่ในการติดตั้งอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ จึงจะมีการเจรจาหาทางออกร่วมกันอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

,

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา พร้อมเตรียมแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก ควบคู่ไปกับการรับมือปรากฎการณ์เอลนีโญ ณ เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

รมว.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการที่ฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้เข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝนของพื้นที่ตอนบน จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และเร่งเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาที่มีปริมาณการใช้น้ำสูง เพื่อรองรับปรากฏการณ์เอลนีโญ และ
การใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และในวันที่ 1 พฤสจิกายน 2566 ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมหารือการบริหารจัดการน้ำกันอีกรอบ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเรงด่วน จึงอยากจะขอความร่วมมือจากพี่น้อง
ชาวนา ในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ก.ย. 66) ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,166 ลบ .ม./วินาที แนโน้มลดลง กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ระดับ 16.80 เมตร (รทก.) สูงกว่าระดับปกติประมาณ 0.30
เมตร เพื่อยกระดับน้ำเข้าสูคลองต่างๆที่อยู่ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุด โดยไม่กระ ทบต่อพื้นที่ริมคลอง และสามารถรองรับฝนที่อาจตกลงมาในพื้นที่ได้อีกด้วย พร้อมกันนี้ ยังได้ผันน้ำเข้าระบบชลประทาน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองชัยนาท-
ป่าสัก และ คลองชัยนาท-อยุธยา และผันน้ำบางส่วนไปลงคลองพระองค์ไซยยานุชิต เพื่อสูบผันน้ำไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตก จะผันเข้าทางแม่น้ำท่จีน แม่น้ำน้อย และคลองมะขามเฒ่า อู่ทองไปกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำต่างๆ รวมไปถึง
คลองส่งน้ำในพื้นที่ชลประทาน เพื่อสำรองไว้ใช้อุปโภคบริโภค ในช่วงฤดูแล้ง การเพาะปลูกพืชใข้น้ำน้อย ตลอดจนไม้ยินต้น และรักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก

สำหรับปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่คงเหลือจากการส่งน้ำเข้าระบบชลประทานเพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูแล้งนั้น ได้วางแผนการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเพื่อความมั่นคงของตัวเขื่อน โดยจะควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 1,000 ลบ.ม/วินาที ปัจจุบัน (25 ก.ย. 66) มีการระบายน้ำสูงสุดอยู่ที่ 802 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำที่ระบายท้ายเขื่อนนี้ บางส่วนจะถูกนำไปเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำและพื้นที่แก้มลิง ในเขตจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี รวมทั้งสนับสนุการผลิตประปาของการประปานครหลวง และการรักษาคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้มีการเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติด้านเกษตร ได้แก่ 1) เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลกว่า 1 13 รายการ ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำ จำนวน 38 เครื่อง รถขุด จำนวน 6 คัน เรือกำจัดวัชพีช จำนวน 25 ลำ รถแทรกเตอร์ จำนวน 2 คัน รถทรลเลอร์ จำนวน 3 คัน รถบรรทุกและยานพาหนะจำนวน 20 คัน และรถบรรทุกน้ำ จำนวน 19 คัน 2) เตรียมจัดตั้งคลังสำรองทรัพยากร ได้แก่ การสำรองเสบียงอาหารสัตว์ (หญ้าแห้งอัดฟ่อน) ตามศูนย์/สถานี จำนวน 30 ตัน ซึ่งเกษตรกรขอรับได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาทและศูนย์ดงเกณฑ์หลวง อ.วัดสิงห์สำรองเวชภัณฑ์ยา และวัดนสำหรับสัตว์ต่าง ๆ 3) ด้านการผลิตทางการเกษตร แบ่งออกเป็น ด้านพืช จะจัดทำการประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งปี 2564/2565 โดยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2ส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย และให้ปลูกพืซหลากหลายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์แนวโน้มการระบาดศัตรูพืชในช่วงฤดูแล้ง สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่ประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง และเร่งรัดจัดทำข้อมูลสถานการณ์เนื้อที่เพาะปลูก และเนื้อที่เสียหายผ่านระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (รต) เป็นประ จำทุกเดือน 2) ด้านประมง มีการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร อาสาเฝ้าระวังภัยแล้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำใน 8 อำเภอ ทยอยจับสัตว์น้ำที่มีขนาดโต หรือได้ขนาดขึ้นมาจำหน่าย/บริโภคเพื่อลดความเสี่ยง และ 3) ด้านปสุสัตว์
สนับสนุนหญ้าแห้งเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกร 30 ตัน และเวชภัณฑ์สัตว์ต่าง ๆ ทำการผลิตสำรองเสบียงอาหารสัตว์ตามศูนย์/สถานีอาหารสัตว์ 30,000 กิโลกรัม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“สส.จำลอง”ลุยมอบถุงยังชีพช่วยประชาชนบรรเทาความเดือดร้อน จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่เป็นวงกว้าง

,

“สส.จำลอง”ลุยมอบถุงยังชีพช่วยประชาชนบรรเทาความเดือดร้อน จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่เป็นวงกว้าง

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้ส่งทีมงานกระจายลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ 4 หมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ส่งผลให้ในพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จนเกิดภาวะน้ำท่วมไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน กินพื้นที่เป็นวงกว้าง

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ทีมงานของตนได้ไปพบปะพี่น้องประชาชนอาทิ บ้านคำศรี หมู่13 ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และมอบถุงยังชีพให้จำนวน 30 ครัวเรือน, บ้านทับปลา ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี มอบถุงยังชีพให้จำนวน 32 ครัวเรือน,บ้านนาตาล ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จำนวน 40 ครัวเรือน และบ้านคำบอน หมู่5 ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จำนวน 30 ครัวเรือน ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งเพื่อช่วยเหลือฃบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทุกคน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กันยายน 2566