โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“ดร.นฤมล”มองศก.ไทยไม่เสี่ยงเกิดต้มยำกุ้ง หนุนมาตการพลิกฟื้นเศรษฐกิจรับวิกฤติโลก

“ดร.นฤมล”มองศก.ไทยไม่เสี่ยงเกิดต้มยำกุ้ง หนุนมาตการพลิกฟื้นเศรษฐกิจรับวิกฤติโลก

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ได้โพสต์ Facebook ส่วนตัวแสดงความถึงกรณีเมื่อวาน(5ส.ค.) ธนาคารกลางอังกฤษ(BoE) ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ไปอยู่ที่ 1.75% เป็นการเพิ่มสูงสุดในรอบ 27 ปี เพื่อจัดการกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 9.4% และคาดว่าเดือนตุลาคมนี้ อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษจะไปแตะระดับสูงสุดที่ 13.3% แล้วจะค่อยๆลดลงสู่กรอบเงินเฟ้อ 2% ในเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า

เมื่อหันกลับมาพิจารณาของไทยคงหนีไม่พ้นที่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแน่ แต่จะขึ้นเท่าไร คงต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการผลิต( กนง.) ในสัปดาห์หน้า เพราะล่าสุดวันนี้(5ส.ค.) กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศอัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยมาอยู่ที่ 7.61% ต่ำกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 8.0%

เมื่อดูตัวเลขแล้ว หลายคนถามมาว่า เศรษฐกิจโลกถดถอย เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น หลายประเทศสถานะทางการคลังย่ำแย่ ของไทยเราจะเกิดวิกฤติเหมือนปี 2540 อีกหรือไม่ ซึ่งในการบริหารความเสี่ยง เราต้องมองทั้งด้านบวกและด้านลบ

ด้านลบที่เป็นจุดเปราะบาง คือ หนี้ครัวเรือน ดอกเบี้ยขาขึ้น นำไปสู่ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นที่ฉุดรั้งกำลังซื้อในตลาด และเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย(NPL) ก็ได้เห็นความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือให้ความรู้และแนะนำแนวทางป้องกันหนี้เสียให้ภาคครัวเรือนในระดับหนึ่งแล้ว
หันมาดูความแตกต่างที่เป็นด้านบวก ในสถานการณ์ปัจจุบันของไทยมีปัจจัยบวกสองจุดสำคัญ ที่จะไม่ทำให้ไทยเกิดวิกฤตแบบปี 2540 คือ

1. เงินบาทตอนช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งยังใช้ระบบ peg คือ ผูกกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแบบตายตัว แต่วันนี้ ค่าเงินบาทลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตอนนั้นอ่อนค่ามาก แต่ปัจจุบันเงินดอลลาร์กลับแข็งค่า

2. สถาบันการเงินของไทยยังมีผลการดำเนินงานและสถานะการเงินที่เข้มแข็ง อัตราส่วนที่วัดค่าความเสี่ยงด้านต่างๆของธนาคารยังอยู่ในระดับที่ดีมาก ไม่ได้มีอาการที่จะเสี่ยงล้มเหมือนเช่นในอดีต

แต่ในครั้งนี้ สองจุดต่างที่ว่า หากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าใจ และพิจารณา นำมากำหนดนโยบายการเงินการคลังที่เหมาะสม พร้อมกับวางนโยบายเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นตัวในระยะยาวมากกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า เศรษฐกิจไทยคงไม่มีต้มยำกุ้ง แต่อาจจะเป็นต้มข่าไก่ ที่เศษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบ

“ดร.นฤมล”มองศก.ไทยไม่เสี่ยงเกิดต้มยำกุ้ง หนุนมาตการพลิกฟื้นเศรษฐกิจรับวิกฤติโลก

ที่มา: ทีมข่าว พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 สิงหาคม 2565

"