โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ปี: 2024

‘บิ๊กป้อม’เปิดตัว’วัน อยู่บำรุง’อย่างเป็นทางการ ฉุนสื่อถาม’พปชร.’เป็นสาขาพรรคเพื่อไทย

,

‘บิ๊กป้อม’เปิดตัว’วัน อยู่บำรุง’อย่างเป็นทางการ ฉุนสื่อถาม’พปชร.’เป็นสาขาพรรคเพื่อไทย

“บิ๊กป้อม”เปิดตัว 7 สมาชิกใหม่พปชร. พร้อมสวมเสื้อเปิดตัว“วัน อยู่บำรุง”อย่างเป็นทางการ ฉุนสื่อถามเป็นพรรคสาขาเพื่อไทย ตะโกนลั่น “ไม่มี”

เมื่อเวลา 14.15 น.วันที่ 23 ก.ค.67 ที่อาคารรัชดาวัน ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) แถลงข่าวเปิดตัว 7 สมาชิกใหม่ ประกอบด้วย 1.นายวัน อยู่บำรุง อดีต สส.กทม. พรรคเพื่อไทย 2.นายพยม พรหมเพชร อดีต สส.สงขลา พรรคพลังประชารัฐ 3.ร.ต.ต.มณฑล โพธิ์คาย อดีต สส.กทม.พรรคอนาคตใหม่ ที่ย้ายไปอยู่กับพรรคภูมิใจไทย 4.นายอำพล ขำวิลัย 5.นายซอบรี หมัดหมัน 6.นายชารีฟุดดีน สารีมิง และ7.นายสุเนตตา แซ่โก๊ะ เข้าเป็นสมาชิกพรรค โดย พล.อ.ประวิตรได้สวมเสื้อพรรคให้กับทั้ง 7 คน จากนั้นได้ถ่ายรูปชูมือร่วมกัน

โดยช่วงหนึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้ใช้มือหยอกไปที่หน้านายพยม ซึ่งย้ายไปอยู่กับพรรครวมไทยสร้างชาติในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา และกลับมาอยู่กับพรรคพลังประชารัฐอีกครั้ง

ซึ่งภายหลังการสวมเสื้อให้กับสมาชิกทั้ง 7 คนเสร็จสิ้นพล.อ.ประวิตร ได้เดินทางกลับไปยังห้องประชุมทันที โดยระหว่างทาง ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถาม พล.อ.ประวิตร หลายคำถาม โดยเฉพาะเหตุผลที่รับนายวัน เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค รวมถึงพื้นที่ กทม.ของพรรคจะแข็งแรงขึ้นหรือไม่ แต่ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้ตอบคำถามใด ๆ

กระทั่งผู้สื่อข่าวถามถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าพรรคพลังประชารัฐจะเป็นพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ โดย พล.อ.ประวิตร ถึงกับทำเสียงขึงขังว่า “ไม่มี” และทำหน้าหงุดหงิด จากนั้นได้ขึ้นลิฟต์ไปห้องทำงาน โดยไม่พูดใด ๆ อีก

ที่มา: https://www.naewna.com/politic/818048#google_vignette
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่สมุทรสาคร รับข้อเสนอ 9 มาตรการ จากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

,

รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่สมุทรสาคร รับข้อเสนอ 9 มาตรการ จากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น.ของวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยมี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชัยวัฒน์ ตุนทกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร และผู้แทนสมาคมการประมงจาก 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ เข้าร่วม ณ สมาคมการประมงสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับข้อเสนอจากสมาคมใน 9 มาตรการ ประกอบด้วย 1.กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ,2.ออกประกาศให้มีการผ่อนผันเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการใช้จับปลาหมอคางดำได้ในแหล่งน้ำสาธารณะตามความจำเป็น, 3.ให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนที่แหล่งน้ำสาธารณะ รวมถึงพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีปลาหมอคางดำระบาดอยู่ เพื่อใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเป็นระบบ, 4.ให้รับลงทะเบียนเรือประมง ชาวประมง ที่จะมาเข้าร่วมโครงการกำจัดปลาหมอคางดำ,5.รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเร่งด่วนสนับสนุนในการกำจัดปลาหมอคางดำ ให้กับชาวประมง,6.ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในแต่ละจังหวัด,7.เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แจ้งข้อมูลการระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่เพาะเลี้ยงต่อคณะทำงานฯเพื่อการกำจัดปลาหมอคางดำ,8.จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจรับแจ้งข้อมูลการระบาดของปลาหมอคางดำ เพื่อประสานคณะทำงานฯ ดำเนินการกำจัดโดยเร่งด่วน และ 9.พื้นที่ไหนที่ได้มีการกำจัดปลาหมอคางดำจนเหลือน้อยแล้ว ให้เริ่มปล่อยปลานักล่าตัวใหญ่จำนวนมากพอลงไปใน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง เพื่อให้ปลานักล่ากินลูกปลาหมอคางดำเพื่อตัดวงจรชีวิตปลาหมอคางดำให้หมดไปโดยเร็วหลังจากนั้น ให้มีการส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์วิทยา ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบทั้ง 9 มาตรการ และได้มอบหมายกรมประมงนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยได้มอบหมาย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ พร้อมนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเป็นวาระแห่งชาติต่อไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงได้มีการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวฯ เป็นการเร่งด่วนผ่าน 5 มาตรการสำคัญ คือ 1) การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด 2) การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง 3) การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดได้ไปใช้ประโยชน์ 4) การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน และ 5) การสร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ นอกจากนี้ ยังบูรณาการร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินในการนำปลาหมอคางดำที่จับขึ้นมาได้ไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ และประสานความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ระบาดทุกแห่ง ซึ่งขณะนี้กรมประมงได้มีการรวบรวมแพปลาที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) กับกรมประมง ในพื้นที่ที่มีการระบาด 14 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมทั้งสิ้น 49 จุด สำหรับพิจารณาจัดตั้งเป็นจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ โดยการันตีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนรวบรวมปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ไปให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทยนำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางกว่า 200,000 ไร่ โดยจะเริ่มเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นี้ เป็นต้นไป

ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีรายงานการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นพื้นที่แรกและมีการระบาดมากที่สุด จึงได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม 5 มาตรการสำคัญ จนสามารถกำจัดปลาหมอคางดำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานปลาป่นและผู้ประกอบการเกี่ยวเนื่องได้มากกว่า 500 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดมากที่สุด กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงจึงได้มีการนำร่องจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ทั้งหมด 5 จุด ประกอบด้วย 1) แพธนูทอง โทร. 0804646479 2) แพนางจารุจันทร์ จารวิไพบูลย์ (แพมิตร) โทร. 0873647298 3) นายชัยพร กรุดทอง (บอย) โทร. 0626585323 4) นายเฉลิมพล เกิดปั้น โทร. 0871714414 และ 5. แพนายวิชาญ เหล็กดี โทร. 0971950564

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และคณะ ยังได้เดินทางไปที่ แพนายวิชาญ เหล็กดี ซึ่งเป็นสถานที่รับซื้อปลาหมอคางดำ นำส่งไปยังโรงงานปลาป่น ศิริแสงอารำพี โดยเข้าลงไปดูวิธีการนำปลาหมอคางดำขึ้นจากเรือ ไปยังแพด้านบนแล้วขึ้นรถไปส่งบริษัทผู้ผลิตปลาป่น อีกทั้งยังได้เยี่ยมชมการสาธิตกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำโดยสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาครได้มีการประสานในการรับซื้อปลาหมอคางดำสำหรับผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจนสูง) จำนวน 4,000 ลิตร โดยได้แจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ กลุ่มหมอดินอาสา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก ฝรั่ง ลำไย มะพร้าวน้ำหอม และพลู คิดเป็นพื้นที่ได้รับประโยชน์รวมกว่า 533 ไร่ อีกด้วย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งเสนอปัญหาดังกล่าวเข้าเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมต่างๆ ด้านประมง ร่วมเป็นคณะกรรมการในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ นอกจากนี้ยังเตรียมหารือการประกาศเขตภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสำหรับผู้ใดที่ฝ่าฝืนทำการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ จะถูกดำเนินคดีตามมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ตามประกาศกรมประมง เรื่องประชาสัมพันธ์ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากนำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร้อยเอกธรรมนัส ยังกล่าวอีกด้วยว่า สำหรับวันนี้เป็นการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ ตัวแทนของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และตัวแทนชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ 16 จังหวัด ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องระดมแนวทางในการแก้ไข โดยเบื้องต้นข้อเรียกร้องระยะเร่งด่วนจากตัวแทนชาวประมงก็มีอยู่ด้วยกัน 9 ข้อ ซึ่งทางเราก็ได้เห็นชอบกับข้อเสนอทั้ง 9 ข้อแล้ว จากนี้กรมประมงก็จะนำไปหารือกับกรมบัญชีกลาง โดยต้องใช้ระยะเวลาให้สั้นที่สุด เพื่อนำไปสู่การออกประกาศให้พี่น้องชาวประมงสามารถปฏิบัติได้

ที่มา: https://sanamkaw.com/archives/78594
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

3 สส.พปชร.ประกาศ รับซื้อ“ปลาหมอคางดำ 10 ตันจากกรมประมง ก่อนนำไปให้สหกรณ์ชุมชนแปรรูปเป็นปลาร้า และแจก ปชช.นำไปรับประทาน

,

3 สส.พปชร.ประกาศ รับซื้อ“ปลาหมอคางดำ 10 ตันจากกรมประมง ก่อนนำไปให้สหกรณ์ชุมชนแปรรูปเป็นปลาร้า และแจก ปชช.นำไปรับประทาน

วันนี้(17 ก.ค.) นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)โพสต์เฟสบุ๊คระบุว่า “สส.ไผ่, สส.ปอย, สส.อามินทร์ รับซื้อปลาหมอคางดำ 10 ตัน เพื่อนำมาแจก“จากการสอบถามนายไผ่ เปิดเผยว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่มีการขยายวงกว้างมากขึ้น สส.ของพรรคพลังประชารัฐ ได้แก่ ตน สส.อามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 และนางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ เพชรบูรณ์ เขต 1 จึงปรึกษากันถึงแนวทางเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยตนได้ประสานไปยังกรมประมง ขอรับซื้อซากปลาหมอคางดำที่ตายแล้ว จำนวน 10 ตัน เพื่อช่วยกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติและลดการแพร่ระบาด

“ปลาหมอคางดำที่เรารับซื้อมาจะนำไปจัดการเป็น 2 ส่วน 1 จังหวัดเพชรบูรณ์ จะส่งต่อให้กับสหกรณ์ชุมชนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นปลาร้า และส่วนที่ 2 ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร และนราธิวาส จะแจกจ่ายให้กับชาวบ้านทั่วไป เพื่อนำไปปรุงอาหารรับประทานต่อไป”

นายไผ่ กล่าวต่อว่า การดำเนินการครั้งนี้เพื่อสนับสนุนนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอรรถกร ศิริลัทธยากรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ จนทำลาบระบบนิเวศสัตว์น้ำของประเทศไทย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.วรโชติ”วอน กระทรวงมหาดไทย-ศึกษาธิการ อนุมัติงบซ่อมแซมถนน-โรงเรียน แก้ไขความเดือดร้อนให้ ปชช.ช่วงน้ำป่าไหลหลาก

,

“สส.วรโชติ”วอน กระทรวงมหาดไทย-ศึกษาธิการ อนุมัติงบซ่อมแซมถนน-โรงเรียน แก้ไขความเดือดร้อนให้ ปชช.ช่วงน้ำป่าไหลหลาก

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชน เรื่องแรกคือ เขื่อนป้องกันตลิ่งคลองนาลาว บ้านโรงบ่ม หมู่ 3 ตำบลนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อวานมีการมาชี้แจงในคณะกรรมการ ซึ่งมีการของบประมาณไปแล้วแต่ว่าไม่ได้รับการดูแลตั้งแต่ปี 65 ซึ่งวันนี้จังหวัดเพชรบูรณ์ โดนเตือนเรื่องน้ำป่าไหลหลากอีกแล้ว ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ บ้านเรือนราษฎรที่อยู่ข้างเคียงต้องหายหมดแน่ ขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดสรรงบประมาณให้กับ เทศบาลเฉลียงทองด้วย

นายวรโชติ กล่าวต่อถึงปัญหาของถนนสายซับพุทรา อำเภอชนแดน เชื่อมเทศบาลบัววัฒนา อำเภอหนองไผ่เชื่อมอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ถนนเส้นนี้เป็นถนนที่ถ่ายโอนมาจากทางหลวงชนบทให้กับการปกครองส่วนท้องถิ่น มีระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร แต่ก็เสียหายมาโดยตลอด และไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยเพื่อมาซ่อมแซมเลย

“วันนี้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนฝนตกทุกวัน ทำให้ถนนเส้นนี้โดนน้ำพัด พังเสียหาย ทางท้องถิ่นเองก็พยายามจัดสรรงบประมาณเข้าไปเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ผมฝากให้กระทรวงมหาดไทยช่วยดูแลถนนเส้นนี้ให้กับพี่น้องประชาชนด้วย”นายวรโชติ กล่าว

นายวรโชติ กล่าวต่อถึงกรณีน้ำป่าไหลหลากของจังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนวังโป่ง อนุบาลวังโป่ง ซึ่งตนเคยหารือไปแล้ว วันนี้โดนน้ำท่วมอีกแล้ว ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เมื่อเช้านี้ทางผู้อำนวยการโรงเรียน และนายกเทศมนตรี ได้ส่งรูปมาให้ดูว่าน้ำท่วม โรงเรียนอีกแล้ว รอความกรุณาจากกระทรวงศึกษาธิการ ช่วยจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนอนุบาลวังโป่งด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.คอซีย์”ขอ กรมโยธาฯกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนงานและงบประมาณแก้ปัญหาแนวตลิ่งคลองตุยงถูกน้ำกัดเซาะ พร้อมพัฒนาแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยางให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

,

“สส.คอซีย์” ขอ กรมโยธาฯกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนงานและงบประมาณแก้ปัญหาแนวตลิ่งคลองตุยงถูกน้ำกัดเซาะ พร้อมพัฒนาแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยางให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อพิจารณาจัดทำแผนงานแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน สืบเนื่องจากตนได้รับข้อร้องเรียนจากนายสะการียา หามะ นายก อบต. ดาโต๊ะ, นายฉัตรชัย เจะปอ นายก อบต. ลิปะสะโง, นายมะดารี เจ๊ะมะ นายก อบต.คอลอตันหยง, นายซานูซี วงศ์ปัตน นายก อบจ.ปุโละปุโย ได้แจ้งสภาพของแนวตลิ่งคลองตุยง ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะ พังทลาย ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข จะกระทบต่อพื้นที่การเกษตร และเส้นทางคมนาคมของพี่น้องประชาชน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงสำรวจ พร้อมจัดให้มีแผนงาน และงบประมาณแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้วางแนวทางพัฒนาพื้นที่ตำบลบ่อทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ่อทอง โดยมี พ.จ.อ.มาหามุ หวังจิ นายกเทศมนตรีตำบลบ่อทอง ขอให้พิจารณาพัฒนาพื้นที่ในแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยาง ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว จังหวัดปัตตานี ในแผนงานพัฒนาผังเมืองของกรมโยธาธิการและผังเมือง ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

“เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ดังกล่าว เป็นเหลี่ยมแรกที่จะพัฒนา เพื่อให้เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และตำบลบ่อทองยังเป็นประตูด่านแรกสู่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปยังปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หากมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้มีความสอดคล้องด้านวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยว จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิกและจังหวัดปัตตานี เป็นอย่างมาก จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาให้มีแผนงานและงบประมาณพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

,

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 และนายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ร่วมเสวนา เรื่อง “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมสุพจน์ มิเถาวัลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย สส.ทั้งสองท่านได้ร่วมกันเล่าถึงประวัติความเป็นมา บทบาทหน้าที่การทำงานทางการเมือง การทำงานในคณะกรรมาธิการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความเดือดร้อนของประชาชนไปสู่การแก้ไข

ด้านนางบุญยิ่ง ได้ร่วมกันอภิปรายถึงแนวคิดการมีส่วนทางการเมืองในมุมมองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักวิชาการว่า ถึงแม้ประชาชนทั่วไปจะไม่ได้มีบทบาทเป็นนักการเมือง แต่ก็สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยการใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ ประกอบกับติดตามสถานการณ์ทางสังคม หรือปัญหาในพื้นที่ของตนเอง และดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

ส่วนมุมมองของนักวิชาการ นางบุญยิ่ง มองว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พลเมืองสามารถรับข้อมูลข่าวสารแทบจะทันที แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาให้ตกผลึกเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรสร้างความตะหนักรู้ให้กับพลเมืองในการเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้ตั้งคำถามแลกเปลี่ยนในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ปัญหาในพื้นที่ ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่เยาวชนให้ความสนใจ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กรกฎาคม 2567

“สส.จีรเดช”เปิดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน มุ่งหวังเด็กไทยจะตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ตัวเอง ไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

,

“สส.จีรเดช”เปิดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน มุ่งหวังเด็กไทยจะตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ตัวเอง ไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภาคเหนือ ณ จังหวัดพะเยา โดย กล่าวในพิธีเปิดว่า เยาวชนในวันนี้จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากตำราในห้องเรียน โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบาท หน้าที่ของคณะ กมธ.สามัญ สภาผู้แทนราษฎร ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของเยาวชนตามรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนต่อไป

“ขอฝากถึงเยาวชนว่า จะต้องมีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง มุ่งศึกษาเรียนรู้เต็มความสามารถ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างชีวิตที่ดีในอนาคต ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม ไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมมีความสงบสุข พร้อมกล่าวขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา และคณะครู อาจารย์ วิทยากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการจัดโครงการครั้งนี้”

ทั้งนี้ นายจีรเดช ได้มอบของที่ระลึกให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ที่ได้จัดหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นนักเรียน จาก 18 โรงเรียน และมอบเอกสารชุดเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ให้กับโรงเรียนที่มาเข้าร่วมเพื่อแสดงความขอบคุณ

สำหรับการจัดอบรมโครงการรัฐสภาสัญจรฯ ดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในกระบวนการทางประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และเสริมสร้างความรู้ในเรื่องสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ และความรับผิดชอบของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการเป็น SMART Parliament ในด้านการให้บริการรูปแบบรัฐสภาดิจิทัล (Digital Parliament) ซึ่งการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากหลายฝ่าย เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ พลังของเยาวชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กรกฎาคม 2567

“พล.อ.ประวิตร”ลงนามตั้ง“พล.ต.ท.​ปิยะ”นั่งทีมโฆษก ขับเคลื่อนนโยบายพรรค ผสมบุคลากรรุ่นเก๋า-เจนใหม่ สร้างความเข้าใจให้ประชาชนทุกช่วงวัย

,

“พล.อ.ประวิตร”ลงนามตั้ง“พล.ต.ท.​ปิยะ”นั่งทีมโฆษก ขับเคลื่อนนโยบายพรรค ผสมบุคลากรรุ่นเก๋า-เจนใหม่ สร้างความเข้าใจให้ประชาชนทุกช่วงวัย

เวลา 15. 30 น. (16 กรกฎาคม 2567) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ( พปชร.) ในการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ประจำสัปดาห์ โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรองหัวหน้าพรรค นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ, นางสาวตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค ,พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค และนายทะเบียนพรรค นายอภิชัย เตชะอุบล กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ. และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานยุทธศาสตร์ด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ ที่ประชุมได้พิจารณาวาระต่างๆ ในการทำกิจกรรมของพรรคในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการดำเนินงานของรัฐมนตรีของพรรคในแต่ละกระทรวง ในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้พล.อ.ประวิตร ยังได้ประกาศรับสมาชิกใหม่ พร้อมแต่งตั้งเป็นทีมโฆษกเพิ่มเติม ในส่วน ฝ่ายกิจการพรรค เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนงานของพรรค ภายใต้สโลแกน “พรรคอนุรักษ์นิยมทันสมัย“ ที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชนทุกช่วงวัย ถึงแนวคิดและการทำงานทุกมิติ ด้วยส่วนผสมของบุคลากรคุณภาพ ทั้งที่มีประสบการณ์ และคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ พล.ต.ท.​ปิยะ เคยรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ก่อนเกษียณอายุราชการ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กรกฎาคม 2567

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมนำ พปชร. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส พระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

,

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมนำ พปชร. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส พระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

เวลา 15.00 น. (16 กรกฎาคม 2567) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ( พปชร.) เป็นประธานประชุมกรรมการบริหาร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ของพรรคโดยมี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองหัวหน้าพรรค นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ, นางสาวตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค ,พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรคและนายทะเบียนพรรค นายอภิชัย เตชะอุบล กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานยุทธศาสตร์ด้านวิชาการ

เนื่องด้วย เดือนกรกฎาคม เป็นเดือนมหามงคล ที่พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ จะได้ร่วมแสดงความจงรักภักดี ในงานพระราชพิธี มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา

โดยในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 พรรคพลังประชารัฐ มีกำหนดจัดพิธีถวายราชสักการะเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ ที่ทำการพรรค อาคารรัชดาวัน เพื่อร่วมถวายพระพรชัยมงคล และร่วมร้องเพลงสดุดีมหาราชา ซึ่งจะมีกรรมการบริหารพรรค สส. กรรมการยุทธศาสตร์พรรค และสมาชิกพรรค เข้าร่วมในพิธีฯ โดยพร้อมเพรียงกัน

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับในที่ประชุมว่า พปชร.เป็น พรรคอนุรักษ์นิยมทันสมัย สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักที่สำคัญสูงสุดของปวงชนชาวไทย ต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ จึงเน้นย้ำให้ทุกคน มาร่วมพิธีฯ กันอย่างพร้อมเพรียง ณ ที่ทำการพรรคตามกำหนดเวลา เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 กรกฎาคม 2567

“อดีต รมว.คลัง” หนุน “ปุ๋ยคนละครึ่ง” หวังลดต้นทุน เพิ่มรายได้เกษตรกร

,

“อดีต รมว.คลัง” หนุน “ปุ๋ยคนละครึ่ง” หวังลดต้นทุน เพิ่มรายได้เกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ( 11 ก.ค.67 ) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์กับ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง โดยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ดังกล่าว มาจาก เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่บอกว่านโยบายมีความไม่ชัดเจน และ เหมือนเป็นการโยนหินถามทาง

นอกจากนี้ นายธีระชัย ยังมองว่า โครงการดังกล่าว ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ไม่มีการล็อคสเป็กปุ๋ย เพื่อเอื้อให้กลุ่มนายทุน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกบริษัทเข้าร่วมโครงการ โดยลงทะเบียนผ่านกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย เป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรประเภทข้าว และ การคัดเลือกปุ๋ย อีกทางหนึ่ง จะดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส .)

ส่วนเมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว จะได้รับการช่วยเหลือด้านใดบ้างนั้น นายธีระชัย กล่าวว่า  ตนในฐานะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เห็นว่านโยบายนี้ มาจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เท่าที่ตน ทราบข้อมูลมา อย่างแรก คือ ช่วยลดต้นทุนของเกษตร พอต้นทุนลดลง ขายได้ในราคาตลาด กำไรของเกษตรกร ก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าการเกษตร เราจะไม่ปรับราคาให้สูงขึ้น คงไว้ที่ตามราคาตลาด

นายธีระชัย กล่าวต่ออีกว่า นโยบายปุ๋ยคนละครึ่ง จะไม่ซ้ำรอยกับ โครงการรับจำนำข้าว เพราะ โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ไม่มีการเวียนคืน ไม่มีการเก็บรักษา ไม่เหมือนกับโครงการจำนำข้าว ไม่มีความเสี่ยงในการทุจริต เพราะ ไม่เกิดการหมุนเวียนสินค้าเกษตร จึงไม่มีโอกาสเกิดการทุจริตในโครงการดังกล่าว

ตนไม่ขอพูดถึงโครงการอื่นของรัฐบาล ขอพูดแค่โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ที่ตนประเมินแล้ว โครงการนี้ เป็นโครงการที่ดี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกระทรวงที่เริ่มความคิด ซึ่งในวันที่ 15 ก.ค.นี้ จะเริ่มเปิดให้เกษตรกรลงทะเบียนผ่านทาง ธ.ก.ส. ส่วนในแง่ของการส่งออกสินค้าเกษตร ยอมรับว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง คงไม่ได้ช่วยกระตุ้นในเรื่องนี้ได้มากขนาดนั้น เพราะ ในแง่ของราคาตลาดโลก หรือ ตลาดภายในประเทศ เราไปแทรกแซงไม่ได้” นายธีระชัย ระบุ

นายธีระชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรต่ำ ก็จะสามารถมีกำไรเพิ่มขึ้น สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ตนยืนยันได้ว่า จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.kaohoon.com/news/685043

“รมช.สันติ” ชูนโยบายอาหารปลอดภัย ดึงภาคีเครือข่ายยกระดับสู่มาตรฐาน SAN เดินหน้าเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพรับตลาดท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่สร้างรายได้ปชช.

,

“รมช.สันติ” ชูนโยบายอาหารปลอดภัย ดึงภาคีเครือข่ายยกระดับสู่มาตรฐาน SAN เดินหน้าเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพรับตลาดท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่สร้างรายได้ปชช.

เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดและมอบนโยบายการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบกิจการอาหารไทย ปลอดภัย อนามัยดี “มี SAN ไม่มีเซ็ง” เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีความรู้ ความข้าใจ หลักเกณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ให้มีการจัดการสุขลักษณะที่ดีและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนมาตรฐาน SAN&SAN Plus และสื่อสารความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องไปสู่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การดูแลสุขาภิบาลอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วม ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญด้านการสร้างเศรษฐกิจสุขภาพ และนักท่องเที่ยวปลอดภัย ผ่านกลไกการพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขาภิบาลอาหาร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักเกณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบกิจการอาหาร ให้มีความสะอาด ปลอดภัย พร้อมยกระดับการสื่อสาร ความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยการควบคุม กำกับดูแล สุขลักษณะของสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ทั้งนี้ได้ขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหารแบบภาคีเครือข่าย ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่ เช่น ศูนย์อนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคประชาชน ตลอดจนสมาคมและชมรมผู้ประกอบกิจการ ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์ป้ายมาตรฐาน งานสุขาภิบาลอาหารให้สอดรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นที่จดจำง่ายแก่ผู้บริโภคภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ แซน (SAN) และแซนพลัส (SAN Plus)

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 กรกฎาคม 2567