โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร” โชว์ผลปิดเว็ปภัยคุกคามปชช.138 เว็ป เพิ่มระดับความปลอดภัยปิดช่องหลอกลวงในโลกไซเบอร์

“พล.อ.ประวิตร” โชว์ผลปิดเว็ปภัยคุกคามปชช.138 เว็ป เพิ่มระดับความปลอดภัยปิดช่องหลอกลวงในโลกไซเบอร์

24 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรอง นายกรัฐมนตรี ได้รายงาน เหตุการณ์ภัยคุกคามที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-31ก.ค.65 พบว่ามี จำนวน 138 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่ เป็นเว็บการพนัน และการหลอกลวงประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการปิดเว็บดังกล่าวแล้ว พร้อมมีการเฝ้าระวัง อย่างต่อเนื่อง และรับทราบรายงานผลการลงนามบันทึกความเข้าใจของ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กับองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพไทย ,คณะอธิการบดีแห่งประเทศไทย ,สาธารณรัฐประชาชนจีน ,ประเทศอิสราเอล และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอชื่นชม กระทรวง ดีอีเอส ,กมช. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการที่มีความก้าวหน้าไปมาก อย่างน่าพอใจ พร้อมกำชับให้ เลขาธิการ กมช.และผู้บริหารที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ เร่งผลักดัน สานต่อบันทึกความร่วมมือไปสู่กิจกรรม ให้เป็นรูปธรรม มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ของหน่วยงานต่างๆและของประเทศ ให้สามารถรองรับภัยคุกคามไซเบอร์ ในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อย่างแน่นแฟ้นเพื่อปิดช่องว่างการคุกคามฯ และให้มีความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นการบริการให้กับประชาชน และประเทศชาติ ต่อไป

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบ แต่งตั้ง พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาฯขึ้นเป็นเลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ แทนคนเก่า ซึ่งครบวาระ(4ปี) ตั้งแต่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป พร้อม แต่งตั้งผู้บริหาร ตามที่กฎหมายกำหนด และเห็นชอบ(ร่าง)บันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติประเทศอินเดีย และร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมทั้ง ร่วมกับศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN – Japan Cybersecurity Capacity Building Centre) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างกัน ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ ,การผลิตกำลังคนเฉพาะด้าน ,การสนับสนุนการศึกษา วิจัย และร่วมกันเฝ้าระวังความเสี่ยง จากการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการเสริมสร้างศักยภาพ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการบริการดิจิทัลที่เชื่อถือได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 สิงหาคม 2565

" , ,