โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“พัชรินทร์” ตอบ “เพื่อไทย” อย่าโยนความผิดน้ำท่วม 54 ให้รัฐบาลอื่น ยัน “ลุงป้อม” แก้น้ำท่วมจริงจัง กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ออก 13 มาตรการ รับมือฤดูฝน 65 ก่อนน้ำมา

“พัชรินทร์” ตอบ “เพื่อไทย” อย่าโยนความผิดน้ำท่วม 54 ให้รัฐบาลอื่น ยัน “ลุงป้อม” แก้น้ำท่วมจริงจัง กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ออก 13 มาตรการ รับมือฤดูฝน 65 ก่อนน้ำมา

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต 2 ในฐานะโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ชี้แจงถึงกรณีที่ฝ่ายค้านตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี ถึงปัญหาน้ำท่วม ที่มี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาตอบกระทู้ ซึ่ง นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเหตุการณ์น้ำท่วมปี 54 ว่า “น้ำท่วมสูงเหมือนสั่งได้ เหมือนรับน้อง รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์” ทั้งนี้ ตนมองว่าเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ ในครั้งนั้น เป็นผลที่เกิดจากการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเอง ขออย่าเบี่ยงเบน โยนความผิดให้รัฐบาลอื่น และใช้พื้นที่ของสภาฯ ให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช้วาทะกรรม เพื่อบิดเบือนข้อมูล ต่อการรับรู้ของประชาชน

ส่วนที่ตั้งคำถามถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ว่ารัฐบาลมองปัญหาการบริหารจัดการน้ำ สำคัญแค่ไหน และการบริหารจัดการน้ำ ขอยืนยันว่า รัฐบาล ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งได้ตั้งศูนย์อำนวยการแก้น้ำท่วมส่วนหน้า เพื่อรับมือก่อนน้ำมา และสั่งการให้มีการฟื้นฟูเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน อย่างที่ถูกกล่าวอ้าง

ส่วนข้อคำถามที่ว่า รัฐบาลเคยนำผลศึกษาที่ผ่านมาในอดีต มาดำเนินการต่อหรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า พล.อ.ประวิตร ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำ ด้วยตนเองทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ ตั้งแต่รับหน้าที่ และได้บูรณาการ ร่วมกับส่วนราชการ นักวิชาการ เพื่อศึกษา และประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อรับมือในระยะเร่งด่วน และวางแผนในระยะยาวจนส่งผลให้ตลอด 3 ปี ที่ผ่านมา เราไม่เจอกับปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากการบริหารน้ำต้นทุน ที่มีประสิทธิผล และได้นำการศึกษาในอดีตมาปรับใช้ ออกแบบแนวทางรับมือ จนออกเป็น 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565
เช่น การจัดทำแผนการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงเพื่อรองรับน้ำหลาก และเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ 1ในช่วงฤดูน้ำหลาก จัดทำแผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง ในช่วงภาวะวิกฤต ตรวจความมั่นคงและปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของคันกั้นน้ำ ทำนบ และพนังกั้นน้ำ และซ่อมแซม ปรับปรุงให้มีสภาพดี ทั้งนี้เชื่อว่ารัฐบาลพร้อมเรียนรู้ข้อบกพร่องในอดีต มาปรับใช้กับปัจจุบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนให้ได้มากที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 กันยายน 2565

" ,